แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 ·...

18
1 แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 1 หัวข้อเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความสาคัญของ ประวัติศาสตร์และพัฒนาการงานสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม การศึกษาทฤษฎีและมาตรฐานสากลที่ใช้ในการเขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง รวมถึงแบบก่อสร้างมาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ และประเภท ของแผ่นงาน วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บรรยายความสาคัญของการศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม 2. บรรยายความสาคัญของมาตรฐานในการเขียนแบบก่อสร้าง 3. บอกรายละเอียดในแผ่นงานแบบก่อสร้าง 4. นาความรู้เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้างไปใช้ในการอ่านแบบได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม 5. การเรียนรู้งานวัสดุอาคาร และเทคโนโลยีอาคาร จากการศึกษาดูงาน มาผนวกใช้ในการ อ่านแบบ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. วิธีสอน 1.1 วิธีสอนแบบบรรยาย 1.2 วิธีการสอนแบบอภิปราย 1.3 วิธีการสอนแบบเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1.4 วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู2. กิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 แบ่งกลุ่มอภิปราย ทบทวนความรู้เรื่อง การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและ วิศวกรรม ผู้สอนนาอภิปรายสู่การสรุปด้วยคาถาม 2.2 ใช้คาถามกระตุ้นผู้เรียนใช้ความคิดและตอบคาถามเกี่ยวกับมาตรฐานงานเขียน แบบ โดยนาตัวอย่างแบบก่อสร้าง ให้ผู้เรียนศึกษา และสังเกต 2.3 ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการการศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม และทารายงานสรุปด้วยคาพูดของตนเองแบบบรรยาย 2.4 ผู้เรียนและผู้สอนช่วยกันสรุปเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยคาพูดตัวเองแบบบรรยาย

Transcript of แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 ·...

Page 1: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

1

แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1

หัวข้อเนื้อหา เพ่ือให้นักศึกษาทราบถึงความส าคัญของ ประวัติศาสตร์และพัฒนาการงานสถาปัตยกรรม

และวิศวกรรม การศึกษาทฤษฎีและมาตรฐานสากลที่ใช้ในการเขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง รวมถึงแบบก่อสร้างมาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ และประเภทของแผ่นงาน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บรรยายความส าคัญของการศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม 2. บรรยายความส าคัญของมาตรฐานในการเขียนแบบก่อสร้าง 3. บอกรายละเอียดในแผ่นงานแบบก่อสร้าง 4. น าความรู้เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้างไปใช้ในการอ่านแบบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 5. การเรียนรู้งานวัสดุอาคาร และเทคโนโลยีอาคาร จากการศึกษาดูงาน มาผนวกใช้ในการอ่านแบบ

วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. วิธีสอน

1.1 วิธีสอนแบบบรรยาย 1.2 วิธีการสอนแบบอภิปราย 1.3 วิธีการสอนแบบเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1.4 วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

2. กิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 แบ่งกลุ่มอภิปราย ทบทวนความรู้เรื่อง การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและ

วิศวกรรม ผู้สอนน าอภิปรายสู่การสรุปด้วยค าถาม 2.2 ใช้ค าถามกระตุ้นผู้เรียนใช้ความคิดและตอบค าถามเกี่ยวกับมาตรฐานงานเขียน

แบบ โดยน าตัวอย่างแบบก่อสร้าง ให้ผู้เรียนศึกษา และสังเกต 2.3 ศึกษาเพ่ิมเติมจากหนังสือท่ีเกี่ยวข้องกับการการศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม

และวิศวกรรม และท ารายงานสรุปด้วยค าพูดของตนเองแบบบรรยาย 2.4 ผู้เรียนและผู้สอนช่วยกันสรุปเนื้อหาเพ่ิมเติมด้วยค าพูดตัวเองแบบบรรยาย

Page 2: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

2

2.5 กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารทรัพยากรอาคารเพ่ิมเติม ซึ่งมีท้ังงานวิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร และการบ ารุงรักษา แล้วท ารายงานสรุปด้วยค าพูดของตนเองแบบบรรยาย

สื่อการเรียนการสอน 1. ตัวอย่างแบบก่อสร้าง 2. ใบปฏิบัติการประจ าบท 3. หนังสือ ต ารา เอกสาร ที่เก่ียวข้อง

Page 3: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

3

บทที่ 1 ความส าคัญของการศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม

การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ส าหรับนักบริหารทรัพยากรอาคารนั้น มีวัตถุประสงค์เพ่ือ เป็นพ้ืนฐานในการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอาคารแก่นักศึกษาด้านการบริหารทรัพยากรอาคาร ให้มีความรู้และความเข้าใจในทฤษฎีและมาตรฐานในการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ตามหลักสากล และตามมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้างขององค์กรวิชาชีพ ตามหลักสากล และสามารถใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือในการเขียนแบบได้ สามารถอ่านแบบและวิเคราะห์แบบได้ มีความรู้ความเข้าใจสัญลักษณ์และรายละเอียดต่าง ๆ ที่ระบุในแบบ พร้อมทั้งสามารถเข้าใจรายละเอียดในรายการประกอบแบบ ทั้งนี้เพ่ือให้สามารถด าเนินงานและประสานงานกับสถาปนิกและวิศวกร รวมถึงบุคลากรอ่ืนๆในสายวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติศาสตร์และพัฒนาการงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม การศึกษาข้อมูลงานสถาปัตยกรรม ความรู้ที่นักบริหารทรัพยากรต้องให้ท าการศึกษาใน

แนวคิดและกระบวนการงานออกแบบ เพ่ือให้เข้าใจในวิธีคิด วิธีการท างานของสถาปนิก ซึ่งจะท าให้มีเข้าใจตรงกัน และสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการก่อสร้างอาคาร การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างที่ดี ให้สอดคล้องกับงานสถาปัตยกรรมนั้น เกิดจากการศึกษางานก่อสร้างที่สร้างมาก่อน ท าให้เรียนรู้หลักการที่ดี ถูกต้อง การได้เห็นอาคารจริง ได้ศึกษารูปแบบอาคาร ท าให้เรียนรู้ได้เร็ว และทราบข้อผิดพลาดจากการท างานในชิ้นนั้นๆ เพ่ือน ามาเป็นบทเรียนในการแก้ไขงานชิ้นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ มั่นคง สวยงาม ความเข้าใจในงานแบบก่อสร้าง ควรมีพ้ืนฐานความเข้าใจในงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ดังนี้

1. ความหมายของงานสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้วย(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ย่อหน้าที่ 1)

นอกจากนี้ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ยังให้นิยามเพ่ิมเติมอีกว่า การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อ่ืนสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพ่ือให้มี

Page 4: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

4

ความเข้าใจในผลงานร่วมกัน แบบที่คิดออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นลักษณะเพ่ือฝัน เป็นเพียงนามธรรมก็ได้ ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า นักออกแบบ ซึ่งหมายถึงคนที่ท างานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น นักออกแบบแฟชั่น , นักออกแบบแนวความคิด หรือนักออกแบบเว็บไซต์

2. ความหมายของงานวิศวกรรม วิศวกรรม (engineering) หมายถึง หลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์เพ่ือการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง , เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือกระบวนการผลิต หรืองานเพ่ือการใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดดๆหรือประยุกต์เข้าด้วยกัน (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ย่อหน้าที่ 2) ซึ่งในสายงานก่อสร้าง เราเรียกว่า งานวิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอ่ืน ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ย่อหน้าที่ 1)

3. พัฒนาการของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน วิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน งานสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในด้านประโยชน์ใช้สอย แต่ความรู้ความสามารถในการก่อสร้าง การลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาความวิบัติของโครงสร้าง ครั้งแล้วครั้งเล่าจนกว่าจะประสบความส าเร็จ ด้วยผลจากการคิดค้นทางเทคโนโลยีและการประดิษฐ์ทางอุตสาหกรรม เกิดพัฒนาการผ่านวัสดุและกรรมวิธีในการก่อสร้าง เพ่ือส่งผ่านความพึงพอใจที่ไม่สิ้นสุดของมนุษย์

4. ความหมายของโครงสร้าง องค์ประกอบของอาคารที่ส าคัญที่สุด คือ โครงสร้าง ลักษณะของโครงสร้างอาคารที่ดีนั้นต้องมีขนาดที่เหมาะสมตามลักษณะของอาคารที่ก่อสร้างด้วย เพ่ือให้อาคารสามารถคงอยู่ได้ภายใต้สภาวะแรงดึงดูดของโลก และแรงกระท าอ่ืนๆ อาทิ แรงลม แรงกระท าจากแผ่นดินไหว

4.1 หน้าที่ของโครงสร้าง ในระบบของโครงสร้างธรรมชาติ แรงและน้ าหนักบรรทุกจะเป็นตัวจัดระเบียบรูปทรงโครงสร้างให้มีลักษณะที่แตกต่างกันตามหน้าที่อย่างเหมาะสมที่สุด ดังนั้นการไม่ฝืนกฎธรรมชาติย่อมท าให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ง่ายต่อการสร้างประกอบขึ้นรูป ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรออกแบบโครงสร้างให้สอดคล้องกับแรงที่บรรทุกน้ าหนักให้มากที่สุด มีการถ่ายทอดน้ าหนักกันเป็นทอดๆอย่างต่อเนื่องตรงไปตรงมา ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด (ชลธี อิ่มอุดม, 2550) ดังนั้น อาจนิยามความหมายของโครงสร้างได้ว่า คือ “สิ่งที่สร้างประกอบขึ้นมา มีหน้าที่รับน้ าหนักถ่ายทอดต่อๆกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทรงตัวอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ” ในอาคาร 1 หลัง จะประกอบไปด้วยโครงสร้างย่อยๆหลายส่วน เช่น เสา คาน ฐานราก ซึ่งโครงสร้างแต่ละ

Page 5: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

5

ชิ้นจะมีหน้าที่ต่างกัน และมีการถ่ายทอดน้ าหนักกันเป็นทอดๆให้โครงสร้างอยู่ได้อย่างมั่นคง ดังนั้นเมื่อต้องใช้วัสดุต่างกันในการก่อสร้าง ก็ต้องใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับแรงนั้นๆด้วย

ด้วยวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน งานสถาปัตยกรรม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในด้านประโยชน์ใช้สอย หากแต่ในด้านวิศวกรรมโครงสร้าง มนุษย์มีพัฒนาการในความรู้ความสามารถในการก่อสร้าง มีการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาความวิบัติของโครงสร้าง ครั้งแล้วครั้งเล่าจนประสบความส าเร็จ ด้วยผลจากการคิดค้นทางเทคโนโลยีการก่อสร้าง และความก้าวหน้าในระบบวัสดุอาคาร ท าให้เกิดพัฒนาการผ่านวัสดุและกรรมวิธีในการก่อสร้าง เกิดเป็นผลงานที่สวยงาม มีความน่าสนใจทั้งรูปแบบอาคารและโครงสร้าง

จากภาพที่ 1.1 เป็นการเปรียบเทียบพัฒนาการในระบบการก่อสร้าง ระหว่างงานก่อสร้างอาคารในอดีต กับเทคโนโลยีสร้างสมัยใหม่ สังเกตุได้ว่า ปิโตรนาส ทาวเวอร์ (Petronas Twin Towers, KLCC) ในมาเลเซีย (ซึ่งเคยจัดอยู่ในอันดับที่สูงที่สุดในโลก) มีความสูงถึง 3 เท่าของ ปิรามิดชีออบส์ (Pyramid of Cheops) ที่ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทั้งที่วัสดุก่อสร้างหลักที่มนุษย์ใช้สอยคือ ไม้ หิน และวัสดุก่อพวกอิฐ ซึ่งมีคุณสมบัติ และหน้าที่ของมันคงเดิม มีความคล้ายคลึงกับวัสดุที่บรรพบุรุษของเราใช้เมื่อหลายศตวรรษก่อน

ภาพที่ 1.1 แสดงความแตกต่างในพัฒนาการการก่อสร้างอาคารในอดีต และปัจจุบัน

ที่มา : http://sites.google.com/site/museumrenaissance

ในขณะที่เมื่อเทียบกับในเรื่องน้ าหนักของอาคารแล้ว ยังมีแตกต่างกันคือ วัสดุสมัยใหม่มีขนาดที่เล็กและน้ าหนักเบากว่ามาก ซึ่งเห็นได้จาก โดมของวิหารเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก มีช่วงพาด(span) 42 เมตร ประกอบด้วยโดมก่ออิฐหนัก 700 กิโลกรัม/ตารางเมตร ในขณะที่โดมของ CNIT ซึ่งเป็นอาคาร

Page 6: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

6

แสดงสินค้าและนิทรรศการในกรุงปารีส โดมท าด้วยคอนกรีตมีช่วงพาด(span) กว้างกว่าโดมของเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก ถึง 5 เท่า แต่มีหนักเพียง 134 กิโลกรัม/ตารางเมตรเท่านั้น

ภาพที่ 1.2 แสดงรูปแบบสถาปัตยกรรม วิหารเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก ที่มีน้ าหนักมาก

อันเนื่องจากระบบของโครงสร้าง ที่มา : http://sites.google.com

ภาพที่ 1.3 แสดงแปลน และภาพตัดภายใน วิหารเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก

ที่มา : http://sites.google.com

Page 7: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

7

ภาพที่ 1.4 แสดงรูปแบบสถาปัตยกรรมภายนอกและภายในของโดม CNIT ซึ่งเป็นอาคารแสดงสินค้า

และนิทรรศการในกรุงปารีส ที่ใช้โครงสร้างน้ าหนักเบา ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Center_of_New_Industries_and_Technologies

4.2 โครงสร้าง และประโยชน์ใช้สอย จุดประสงค์ของอาคารก็เพ่ือตอบสนองประโยชน์ใช้สอย (ชลธี อ่ิมอุดม, 2550) ซึ่งประโยชน์ใช้สอยเกือบทั้งหมด คือ การปกป้องผู้ใช้อาคารจากสภาพแวดล้อมโดยการประดิษฐ์เปลือกอาคาร แต่ยังคงมีพ้ืนที่ว่างให้เชื่อมต่อกันภายใน พ้ืนที่อาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป อาทิ พ้ืนที่ว่างมีจ านวนมาก แต่ขนาดเล็ก เช่น ในบ้านแบบอพาร์ตเม้นต์ หรือ มีพ้ืนที่ว่างจ านวนน้อยแบบที่ว่างเดียว เช่น โบสถ์ วิหาร หรือ โรงละคร ประโยชน์ใช้สอยของอาคารแบ่งออกเป็นภายในและภายนอก ประกอบด้วยการก่อสร้างในแนวระนาบและแนวดิ่ง ได้แก่ พ้ืนผนัง และหลังคา โดยในแนวระนาบเชื่อมต่อถงึกันด้วยประตูในขณะที่แนวดิ่งเชื่อมต่อกันด้วยบันไดและลิฟต์

เฉลิม สุจริต (วัสดุและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม, 2540)ได้กล่าวไว้ว่า ชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารนั้นจะยืนอยู่ได้ก็ด้วย เสา คาน และโครงสร้างพ้ืน ในอดีตมนุษย์เรียนรู้การคงอยู่ได้ของโครงสร้างจากธรรมชาติ เช่นล าต้นพืช และโครงกระดูกของสัตว์ ซึ่งก็คล้ายกับร่างกายของมนุษย์ ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล่านี้เรียกว่า “โครงกระดูกหรือโครง(Skeleton or Frame) ของอาคาร”

Page 8: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

8

จากความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เราจะเห็นว่าธรรมชาติสร้างรูปทรงทางโครงสร้างที่ได้รับการวิวัฒนาการ พัฒนาการจนเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีสีสันและความงาม ซึ่งรูปทรงเหล่านี้ เราสามารถแบ่งเนื้อวัสดุที่ประกอบเป็นโครงสร้างของรูปร่างตามธรรมชาติ ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1) เนื้อวัสดุมีลักษณะเป็นเสี้ยน โครงพรุนโปร่ง (Fiber cellular character) เช่น กาบมะพร้าว ปล้องไม่ไผ่ รังบวบ รังนก กระดูก ใบไม้ เป็นต้น

2) เนื้อวัสดุมีลักษณะเป็นเนื้อแน่นรวมตัวชิดกันอยู่ (Inert cellular character) เช่น เปลือกไข่ เปลือกหอย เป็นต้น ทั้ง 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังกล่าวนี้ เนื้อวัสดุถูกธรรมชาติจัดวางอยู่อย่างดี มีประสิทธิภาพดีเลิศ สามารถท าหน้าที่ต้านแรง ต่อสู้ รับ บรรทุก แรงที่กระท าโดยประหยัดเนื้อวัสดุที่สุด

ภาพที่ 1.5 แสดงภาพตัดโครงสร้างทางพฤกษศาสตร์ในแต่ละชั้นเซลล์

ที่มา : สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. พฤกษศาสตร์ , 2537

ภาพที่ 1.6 แสดงภาพผลึกทรงพีระมิดขนาดนาโนของ Cu2O

ที่มา : เฉลิม สุจริต. วัสดุและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม, 2540

Page 9: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

9

ภาพที่ 1.7 แสดงภาพพีระมิดของชนเผ่ามายา

ที่มา : เฉลิม สุจริต. วัสดุและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม, 2540 ผลึกทรงพีระมิดขนาดนาโนของ Cu2O ที่มีลักษณะคล้ายกับพีระมิดของชนเผ่ามายา

โครงสร้างดังกล่าวสังเคราะห์ขึ้นจากการออกซิเดชันฟิล์มบางของทองแดงที่อุณหภูมิประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส (ผลงานของ Liang Wang และ Guangwen Zhou จาก University of Pittsburgh)

การศึกษารูปทรงจากธรรมชาตินับว่ามีประโยชน์มากโดยการวิเคราะห์โครงสร้างตามธรรมชาตินั้นเกี่ยวกับการรับแรง หน้าที่ใช้สอย ลักษณะของเนื้อวัสดุ การประกอบเป็นรูปทรง ขนาด ปริมาตร การศึกษาสิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลและหลักเกณฑ์พ้ืนฐานในการวิเคราะห์และออกแบบรูปทรงใหม่โดยใช้เทคนิคใหม่เป็นแนวทาง

นอกจากนี้การพัฒนาออกแบบรูปทรงโครงสร้างโดยอาศัยการวิเคราะห์รูปทรงธรรมชาติ จะช่วยให้สถาปนิกและวิศวกรมีทางออกแบบงานได้กว้างขึ้น ทั้งนี้รูปทรงโครงสร้างเส้นขอบและเส้นจบ(Vanishing line) ในรูปทรงธรรมชาติ จะช่วยเป็นหลักให้สถาปนิกและวิศวกรออกแบบงานได้เช่นกัน

Page 10: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

10

การศึกษาทฤษฎีและมาตรฐานสากลที่ใช้ในการเขียนแบบสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม มาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง

1. ความเป็นมาของมาตรฐานการเขียนแบบ (Standard Drawing) ในปี 1990 สมาคมสถาปนิกอเมริกัน (American Institute of Architects – AIA) ได้จัดท าเอกสาร CAD Layer Guidelines เพ่ือการจัดกลุ่ม จัดระเบียบข้อมูลของงานอาคาร และงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลเชิงอีเลค โทรนิคส์ของ CAD Files ด้วย และในปีเดียวกันนั้นเอง Construction Specifications Institute (CSI) ก็ได้จัดพิมพ์เอกสาร ทางเทคนิคคือ Standard Reference Symbols ขึ้น ต่อมาในปี 1994 ก็ได้พัฒนา Uniform Drawing System (UDS) ขึ้น มาส าหรับการจัดระเบียบ จัดระบบให้กับงานแบบทั้งหมด มีระบบ Master Format ส าหรับการจัดหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง ที่รู้จักกันในชื่อของ Sixteen-division คือการแบ่งกลุ่มวัสดุ ผลิตภัณฑ์ทางการก่อสร้างออกเป็น 16 หมวดด้วยกัน และสร้างระบบการตั้งรหัส เพ่ือการอ้างอิงถึงวัสดุในหมวดต่างๆ เหล่านั้น

ที่ผ่านมามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการการก าหนดมาตรฐานการจัดท าเอกสารการก่อสร้าง (Drawing Documentation) หลายหน่วยงานด้วยกัน หน่วยงานหลักๆ ก็ได้แก่ AIA, CSI, Tri-Service CADD/GIS Technology ของ U.S. Army Corps of Engineers และ ISO ส าหรับ 3 หน่วยงานแรก ก็มีการท าความตกลงร่วมมือกันผลิตมาตรฐาน ร่วมกัน ที่เรียกว่า National CAD Standard ขึ้น ส่วน ISO ก็มีมาตรฐาน ISO 13567 ที่เกี่ยวเนื่องกับ Technical Drawing ทั้ง 2 ระบบก็มีความแตกต่างกันบ้างในบางส่วน แต่โดยรวมก็สามารถปรับใช้ร่วมกันได้หากจ าเป็น เครื่องมือการสื่อสารระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบก่อสร้างที่ส าคัญนั้นก็คือ การเขียนแบบ(Drawing) เพราะการเขียนแบบก่อสร้างนั้นเป็นการถ่ายทอดความคิดในการออกแบบของสถาปนิก วิศวกร ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากการเขียนแบบมีการระบุระยะ ต าแหน่งพิกัดของสิ่งที่ต้องการปลูกสร้างพร้อมกับระบุวัสดุที่ใช้อย่างชัดเจน ท าให้ง่ายในการเข้าใจความหมายของผู้ออกแบบได้อย่างถูกต้อง แต่การเขียนแบบก่อสร้างนอกจากสถาปนิกจะต้องสื่อสารไปยังผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องอ่ืนๆนั้น ระหว่างขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกนั้น จ าเป็นอย่างยิ่งจะต้องสื่อสารกันระหว่างทีมงานออกแบบด้วยกัน เช่น ทีมออกแบบโครงสร้าง ทีมออกแบบงานไฟฟ้า งานระบบ ทีมออกแบบตกแต่งภายใน หรือ แม้กระท่ังทีมออกแบบสถาปัตยกรรมด้วยกัน ปัจจุบันสถาปนิกผู้ออกแบบแต่ละคนหรือแต่ละองค์กรนั้น มักจะสร้างมาตรฐานการเขียนแบบขึ้นมาใช้เองเฉพาะการท างานในส่วนของตนเอง ท าให้เกิดปัญหาในการประสานงานกันระหว่างองค์กร หรือ ในทีมงานเดียวกันก็ตาม เพราะมีการก าหนดขนาดกระดาษ ชื่อแฟ้ม ชื่อหัวแบบ ตัวอักษร

Page 11: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

11

สัญลักษณ์ การก าหนดสีและเบอร์ปากกา การก าหนดเลเยอร์ การจัดองค์ประกอบของแผ่นงาน เป็นต้น ที่มีความแตกต่างกัน ท าให้ง่ายในการสับสนในการท างาน และใช้ไฟล์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ยาก ดังนั้น จึงมีองค์กรวิชาชีพในต่างประเทศได้มีการก าหนดมาตรฐานการเขียนแบบขึ้นมา เรียกว่า National CAD Standard โดยเรียกระบบมาตรฐานนี้ว่า Uniform Drawing System เวอร์ชั่น 3.0 เพ่ือให้ง่ายในการปรับปรุงให้ทันสมัยภายหลัง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนามาตรฐานนี้มีอยู่ 4 หน่วยงาน คือ

Uniform Drawing System

The American Institute of Architects

The U.S. CADD/GIS Technology Center

The Construction Specifications Institute

ภาพที่ 1.8 แสดงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนามาตรฐานการเขียนแบบ ที่มา : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, 2554

ส าหรับในประเทศไทยเรานั้น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดท า คู่มือมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง ฉบับ 2549 และ ฉบับปรับปรุง 2554 ขึ้นมาเพ่ือให้สถาปนิกและผู้เกี่ยวข้องการกับเขียนแบบก่อสร้างท างานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการพัฒนานี้อ้างอิงจาก National Cad Standard Version 3.0 มาตรฐาน มอก. ของส านักมาตรฐานอุตสาหกรรม รวมจนถึงความคิดเห็นเสนอแนะของกลุ่มทดลองของผู้ใช้งานในประเทศ เพ่ือให้สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับการท างานในประเทศไทย

2. คู่มือมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้างฉบับปี 2554 มีจ านวน 221 หน้า ได้แบ่งเป็น 16 บท โดยมีเนื้อหาดังนี้

2.1 บทที่ 1 แนวความคิดในการจัดท าคู่มือ อธิบายถึงที่มาที่ไปของการจัดท าคู่มือแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐาน ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นเหตุผลความจ าเป็นที่จะต้องมีมาตรฐาน

Page 12: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

12

2.2 บทที่ 2 ความเป็นมา อธิบายถึงมาตรฐานปัจจุบันที่มีอยู่ การพัฒนาการของมาตรฐานต่างๆ

2.3 บทที่ 3 กระบวนการท างาน อธิบายถึงกระบวนการท างานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และกระบวนการที่สอดคล้องกับการจัดท ามาตรฐาน

2.4 บทที4่ การจัดชุดของแบบ อ้างอิงมาจากโมดูล 1 Drawing Set Organization ของ National CAD Standard ver.3 อธิบายถึงการแบ่งแยกการเรียงล าดับชุดของแบบ การเรียงชื่อต่างๆ การจัดหมวดหมู่ของแฟ้มข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอีเลคโทรนิคส์

2.5 บทที่5 การตั้งชื่อแฟ้ม อ้างอิงมาจากโมดูลที่1 Drawing Set Organization ของ National CAD Standard ver.3 อธิบายถึงมาตรฐานวิธีการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลที่เป้ฯตัวเนื้องานที่เรียกว่า Model File

2.6 บทที่ 6 ชื่อเลเยอร์ อธิบายถึงมาตรฐาน วิธีการจัดกลุ่มของชื่อตารางตั้งชื่อเลเยอร์ต่างๆ โดยแบ่งแยกตามกลุ่มสาขา (Discipline) เป็นหลักเพ่ือสะดวกต่อการค้นหา โดยชื่อเลเยอร์จะอ้างอิงมาจากมาตรฐานของAIA Layer Guidelines ver.3 ส่วนมาตรฐานการใช้สีจะอ้างอิงมาจากมาตรฐานของ Tri-service

2.7 บทที่ 7 การจัดองค์ประกอบของแผ่นงาน อ้างอิงจากโมดูล ที่ 2 Sheet Organization ของ National CAD Standard ver.3 อธิบายถึงขนาดมาตรฐานของกระดาษ การจัดแบ่งพ้ืนที่บนหน้ากระดาษ ต าแหน่งที่เหมาะสมในการวางองค์ประกอบต่างๆไม่ว่าจะเป็นตัวแบบค าอธิบาย เป็นต้น

2.8 บทที่ 8 มาตรฐานการเขียนแบบ อ้างอิงมาจากโมดูลที่4 Drafting Convention ของ National CAD Standard ver.3 รูปลักษณ์ของการเขียนแบบ น าเสนอเป็นข้อสรุป ทั้งนี้รายละเอียดสามารถค้นหาเติ่มได้จากเอกสาร CAD Standard ดังกล่าวข้างต้น

2.9 บทที่ 9 เปรีบยเทียบมาตรฐานของ CAD Standard กับมาตรฐาน มอก. ที่ใช้อยู่ในบ้านเรา

2.10 บทที่ 10 สัญลักษณ์ในแบบ อ้างอิงมาจากโมดูลที่ 6 Symbol ของ CAD Standard ver.3 สัญลักษณ์ วิธีการอ้างอิง และตัวอย่างมาตรฐานสัญลักษณ์ หลักๆที่ใช้ โดยอ้างอิงจาก Module ที่ ของ National CAD Standard ver.3

2.11 บทที่ 11 การให้ค าอธิบาย อ้างอิงมาจากโมดูลที่ 7 National ของ National CAD Standard ver.3 อธิบายถึงรูปแบบการให้ค าบรรยายในแบบ ต าแหน่งล าดับก่อนหลังที่ควรเป็น โดยอ้างอิงจาก Module ที่ของเอกสาร NCS

Page 13: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

13

2.12 บทที่ 12 ข้อมูลเชิงตาราง อ้างอิงมาจากโมดูลที่ 3 schedule ของ National CAD Standard ver.3 อธิบายถึงรูปแบบการจัดท า schedule วิธิการมาตรฐานในการแบ่งช่องของตารางโดยอ้างอิงจาก Module ที่มาตรฐานของ NCS

2.13 บทที่ 13 มาตรฐานการใช้สี อธิบายถึงมาตรฐานการใช้สี และขนาดน้ าหนักเส้นโดยอ้างอิงจากมาตรฐานของ Tri service ทั้งนี้ผู้ใช้ไม่จ าเป็นต้องปรับมาตรฐานการใช้สีของหน่วยงานเลย เพราะสามารถใช้มาตรฐานเลเยอร์มาใช้ควบคุมได้ อย่างไรก็ตามได้เสนอข้อมูลไว้เพ่ืออ้างอิงเท่านั้น หากมีความจ าเป็นต้องท างานร่วมกับต่างประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้อยู่

2.14 บทที่ 14 ค าย่อ อ้างอิงมาจากโมดูลที่ 5 Terms and Abbreviations ของ National CAD Standard ver.3 อธิบายถึงตัวย่อภาษาอังกฤษที่มักใช้ในแบบค าบรรยาย โดยอ้างอิง Module ที่ 5 ของ NCS ประกอบกับเอกสารที่ใช้อยู่ในบ้านเรา

2.15 บทที่ 15 นิยามศัพท์ เนื่องจากมีข้อมูลหลายส่วนที่น ามาจากภาษาอังกฤษเพ่ือความเข้าใจที่ตรงกัน จึงได้แสดงค าภาษาไทยที่ใช้ในเอกสารว่ามาจากค าใดในภาษาอังกฤษ โดยอ้างอิงจากราชบัณฑิตยสภา เป็นหลัก

2.16 บทที่ 16 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับผลจากกลุ่มทดลอง รวมทั้งข้อเสนอแนะจากคณะท างาน เพ่ือเป็นแนวทางในการด าเนินงานต่อไปในอนาคต

2.17 ภาคผนวก ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารที่อ้างอิงที่ใช้ในคู่มือนี้ และองค์ประกอบที่มีในแผ่นซีดีที่แนบมากับคู่มือนี้ รวมไปถึงวิธีการน าข้อมูลในแผ่นซีดีไปปรับใช้ในหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ผู้ใช้สามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบมาตรฐานได้สะดวกข้ึน

แบบก่อสร้าง และมาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ

แบบก่อสร้าง (Construction Drawing) การเขียนแบบก่อสร้างนั้นเป็นแบบที่เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้สามารถน าไปใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้างได้ตรงตามรูปแบบที่ก าหนดไว้ทุกประการ รวมไปถึงการน าไปงานใช้งานอื่นๆได้แก่ การยื่นขออนุญาตต่อทางราชการ, การประมาณราคาก่อสร้าง, การประกวดราคา, เป็นเอกสารส าคัญที่ใช้ในการท างานร่วมกัน การท าความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย อาทิ เจ้าของโครงการ, ผู้ออกแบบ และวิศวกรด้านต่างๆ, ผู้ควบคุมงาน, ช่างก่อสร้าง ก็ล้วนแต่อาศัยแบบก่อสร้างเป็นเครื่องมือส าคัญทั้งสิ้น

Page 14: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

14

ภาพที่1.9 แสดงตัวอย่างแบบสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นแสดงวัตถุ สัญลักษณ์ ข้อความ และตาราง

ทีม่า: โครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน กรมโยธาธิการ

มาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ (Drafting Convention) คือ การรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบมาตรฐานส าหรับข้อมูลทั้งที่เป็นกราฟิกและข้อความที่ปรากฏในแบบ เพ่ือความสะดวกในการอ้างอิง การสืบค้นข้อมูล และการสื่อสารที่ชัดเจนส าหรับผู้ท าแบบและผู้ใช้แบบก่อสร้าง ดังนั้นจึงต้องมีลักษณะ ระบบวิธี ที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เหล่าผู้เกี่ยวข้องนั้นมีความเข้าใจร่วมกันในสาระข้อมูลต่างๆ ในแบบก่อสร้าง ซึ่งมาตรฐานในงานแบบสถาปัตยกรรมนั้นประกอบด้วยส่วนที่เป็นเส้นแสดงวัตถุ

ผู้เขียนแบบ เป็นผู้ก าหนดรูปร่าง ลักษณะของโครงสร้างทั่วไป โดยทั่วไปจะแสดงเป็นภาพ 2 มิติ โดยใช้หลักการของภาพฉาย (Orthographic Projection) และ ภาพตัด หรือบางครั้งอาจแสดงด้วยภาพสามมิติที่วัดจากแกนสามแกนมุมรวมกัน 360 องศา (axonometric) ร่วมด้วยก็ได้ ประกอบกับภาพที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ โดยแสดงเป็นมาตราส่วนย่อ มีสัดส่วนตามที่เป็นจริง มาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ แจกแจงรายละเอียดดังนี้

1. สัญลักษณ์แสดงทิศเหนือ 2. ทิศทางการจัดวางแบบในแผ่นงาน 3. ระบบกริด (Grid System) 4. ระบบพิกัด (Coordinate System) 5. การจัดวางแบบในแผ่นงาน (Sheet Layout) 6. มาตราส่วน (Scale)

Page 15: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

15

7. ชนิดของเส้น (Common Line Types) 8. ความหนาของเส้น 9. มิติ (Dimensions) 10. มิติของผัง (Plan Dimensions) 11. การให้มิติในแนวดิ่ง (Vertical Dimensions) 12. สัญลักษณ์ของวัสดุ (Material Indications Symbols) 13. การตั้งชื่อชั้น พ้ืนที่ใช้สอยและวัตถุ 14. รูปแบบของตัวหนังสือและข้อความ 15. ชื่อของแบบ (Drawing Identification) 16. ประเภทของแผ่นงาน (Sheet Types)

กล่าวโดยสรุปได้ว่า แบบก่อสร้างนั้นประกอบ 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนที่เป็นภาพที่แสดง

รายละเอียดของการแสดงแผ่นงานประเภทต่างๆ เช่น ผังพ้ืน , รูปตัด รูปด้าน แบบขยายงานสถาปัตยกรรม และโครงสร้าง และส่วนที่เป็นมิติ สัญลักษณ์รายละเอียดต่างๆ

ภาพที่1.1 ตัวอย่างการแสดงแบบก่อสร้างเป็นภาพสามมิติ แบบ axonometric

ทีม่า : https://dsignsomething.com

Page 16: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

16

ประเภทของแผ่นงาน แบบที่แสดงในแผ่นงาน(Sheet Types) แบ่งออกเป็นแบบที่มีมาตราส่วนและแบบที่ไม่มี

มาตราส่วน แบบที่มีมาตราส่วน ได้แก่ ผัง รูปด้าน รูปตัด แบบขยายผังพ้ืน และแบบแสดงรายละเอียด (details) ส่วนแบบที่ไม่มีมาตราส่วน ได้แก่ แผนภาพ (diagram) แบบสามมิติ และ schedule ประเภทของแบบแบ่งได้เป็น 10 ประเภทดังนี้คือ

ประเภทที่ 0 - ข้อมูลทั่วไป ประเภทที่ 1 - ผัง ประเภทที่ 2 - รูปด้าน ประเภทที่ 3 - รูปตัด ประเภทที่ 5 - แบบขยายรายละเอียด ประเภทที่ 6 - Schedule และแผนภาพ ประเภทที่ 7 - ผู้ใช้ก าหนดขึ้นเอง ประเภทที่ 8 - ผู้ใช้ก าหนดขึ้นเอง ประเภทที่ 9 – แบบสามมิติ

สรุปความส าคัญ

การที่นักบริหารทรัพยากรอาคาร มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาในแบบก่อสร้างทั้งแบบสถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรมภายใน และแบบวิศวกรรมทุกระบบอาคาร ทั้งตัวแบบรูปและรายการ วัสดุ สัญลักษณ์ในงาน ที่ได้มาตรฐาน และสามารถวิเคราะห์และอ่านแบบได้ยิ่งดีมากเท่าไร ยิ่งช่วยในการปฏิบัติงาน และสื่อสารที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในงาน ทั้งสถาปนิก วิศวกร ช่างและผู้ควบคุมงานที่ด าเนินงานในพ้ืนที่/อาคารในความรับผิดชอบของนักบริหารทรัพยากรอาคาร ซึ่งจะช่วยลด หรือป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดข้ึนในการท างานร่วมกัน

อาจกล่าวได้ว่าเป็นความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่ท างานด้านอาคารจะต้องศึกษา ลักษณะวิธีและมาตรฐานในการเขียนแบบ รวมทั้งฝึกฝนให้มีประสบการณ์ ความช านาญ ในการเขียนแบบ เพ่ือที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เราซึ่งเป็นผู้ออกแบบ ได้น าองค์ความความรู้ มาก าหนดเป็น ผัง, รายละเอียด (Detail) ต่างๆ เพ่ือที่จะได้ถ่ายทอดความคิดการตัดสินใจเพ่ือให้น าไปใช้งานได้จริง ตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบ มิฉะนั้นหากเราไม่รู้ ไม่เข้าใจในวิธีการอ่านแบบ และเขียนแบบแล้ว สาระสื่อส าคัญในแบบก่อสร้างก็อาจจะตกไปอยู่ใต้อ านาจตัดสินใจของช่างเขียนแบบโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็อาจจะท าให้มีข้อผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องได้อยู่มาก เนื่องจากเราไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิธีในการ

Page 17: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

17

ถ่ายทอดความคิดออกมาในเชิงการเขียนแบบ เนื่องจากการเขียนแบบนั้นเป็นภาษาสากลที่มีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ทั้งการเขียนแบบด้วยมือ หรือการใช้ Software ประเภท CAD (Computer-aided Design)

โปรแกรมช่วยออกแบบ เป็นเพียงเครื่องมือในการท างานให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น แต่เนื้อหาสาระส าคัญยังต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจในพ้ืนฐานการเขียนแบบ และความเข้าใจในเรื่องโครงสร้าง การออกแบบ วัสดุ อุปกรณ์ การเผยแพร่ และส่งต่อข้อมูล นักศึกษา ซึ่งจะกลายเป็นนักบริหารทรัพยากรอาคารในอนาคต จ าเป็นต้องใฝ่รู้ ค้นคว้า ศึกษาเทคโนโลยี และงานวัสดุอาคารและการบ ารุงรักษาอยู่เสมอ เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจะช่วยให้มองภาพกระบวนการท างาน และสามารถวิเคราะห์ความถูกผิดในงานแบบที่พบได้ดียิ่งขึ้น เพ่ือเพ่ิมศักยภาพของตนเองต่อไป

ค าถามทบทวน

1. การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีความส าคัญต่อนักบริหารทรัพยากรอาคารอย่างไร

2. สถาปัตยกรรม คืออะไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ 3. วิศวกรรมโยธา คืออะไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ 4. โครงสร้างอาคาร กับธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร 5. การศึกษามาตรฐานในการเขียนแบบก่อสร้าง มีความส าคัญต่อนักบริหารทรัพยากร

อาคารอย่างไร 6. ให้บอกรายละเอียดมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง โดยสังเขป 7. แบบก่อสร้าง คือ อะไร 8. การใช้โปรแกรม AutoCAD มีประโยชน์อย่างไรในการจัดการงานแบบก่อสร้าง 9. มาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ คือ อะไร 10. แผ่นงานมีประเภท อะไรบ้าง

Page 18: แผนบริหารการสอนประจ าบทที่ 1 · 2017-09-05 · วิชาชีพ เทคโนโลยี และงานแสดงวัสดุอาคาร

18

เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ). (2547). แบบก่อสร้างประกอบการวิจัยบ้าน

อยู่สบายประหยัดพลังงาน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

จรัลพัฒน์ ภูวนันท์. (2541). การเขียนแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2, โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิม รัตนทัศนีย. (2542). การเขียนแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

รัตนา พงษธา. (2530). เขียนแบบช่างก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สถาปัตยกรรม สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, วิศวกรรมกรรม สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, วิศวกรรมโยธา สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org สุขสม เสนานาญ. (2537). เขียนแบบก่อสร้าง. พิมพ์ครั้งที ่1, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญึ่ปุ่น). สุขสม เสนานาญ. (2559). อ่านแบบ เขียนแบบงานสถาปัตยกรรม, รหัสวิชา 2106-2002 สาขาวิชา

ช่างก่อสร้าง หลักสูตร ปวช. พ.ศ. 2556, สอศ., พิมพ์ครั้งที่ 1 , สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญึ่ปุ่น).

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.(2554). คู่มือมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.(2552). รายการประกอบแบบมาตรฐาน Neufert, Ernst. (1999). Architect’s Data (2nd.Ed) , Oxford, BSP Professional Book.