การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้...

12
1 การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาล นครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก กิ่งกาญจน์ ทิพย์สุขุม 1 ต่อตระกูล อุบลวัตร 2 บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นทีเทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก เป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ผ่านสื่อใหม่ การมี ส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่า สงขลาสู่เมืองมรดกโลก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนคร สงขลา จานวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและนามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ เชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน ( Smart Phone) ร้อยละ 80.25 โดยมีการเปิดรับสื่อเฟสบุ๊ค ( Facebook) มากที่สุด รองลงมาคือ ไลน์ ( Line) ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. และใช้อุปกรณ์ต่ากว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม และความก้าวหน้าของโครงการ ฯ อยู่ในระดับน้อยที่สุด (xˉ =1.32) มีการรับทราบข้อมูลและข่าวสาร โครงการ ฯ จากป้ายไฟวิ่งของเทศบาลนครสงขลาและสามารถนาไปเผยแพร่ต่อ การรับรู้และเข้าใจใน ข้อมูลโครงการ ฯ อยู่ในระดับปานกลาง ( xˉ =2.10) และการส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างต่อโครงการ ฯ อยู่ในระดับปานกลาง ( xˉ =3.11) สาหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปิดรับสื่อใหม่มีมี ความสัมพันธ์กับการรับรู้โครงการ ฯ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้มีความสัมพันธ์ กับการมีส่วนร่วมโครงการ ฯ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการเปิดรับสื่อใหม่มี ความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมโครงการ ฯ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คาสาคัญ: การเปิดรับสื่อใหม, การรับรู, การมีส่วนร่วมของประชาชน -------------------------------------------------------------------------------------------------------- 1 นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Transcript of การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้...

Page 1: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

1

การเปิดรบัสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นท่ีเทศบาล นครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

กิ่งกาญจน์ ทิพย์สุขุม1

ต่อตระกูล อุบลวัตร2

บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก เป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ผ่านสื่อใหม่ การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา จ านวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและน ามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ร้อยละ 80.25 โดยมีการเปิดรับสื่อเฟสบุ๊ค (Facebook) มากที่สุด รองลงมาคือ ไลน์ (Line) ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. และใช้อุปกรณ์ต่ ากว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม

และความก้าวหน้าของโครงการ ฯ อยู่ในระดับน้อยที่สุด (xˉ =1.32) มีการรับทราบข้อมูลและข่าวสารโครงการ ฯ จากป้ายไฟวิ่งของเทศบาลนครสงขลาและสามารถน าไปเผยแพร่ต่อ การรับรู้และเข้าใจใน

ข้อมูลโครงการ ฯ อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ =2.10) และการส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างต่อโครงการ ฯ

อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ =3.11) ส าหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปิดรับสื่อใหม่มีมีความสัมพันธ์กับการรับรู้โครงการ ฯ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมโครงการ ฯ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการเปิดรับสื่อใหม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมโครงการ ฯ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค าส าคัญ: การเปิดรับสื่อใหม,่ การรับรู,้ การมีส่วนร่วมของประชาชน -------------------------------------------------------------------------------------------------------- 1 นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Page 2: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

2

New Media Exposure, Perception and Participation of People in Songkhla Municipality Area to The Development Songkhla Towards

World Heritage Project. Kingkarn Tipsukhum1

Tortrakool Ubolwatra2 Abstract

The study of new media exposure, perception and participation of people in Songkhla municipality area to the development Songkhla towards world heritage project is the quantitatively study with the purpose to study the new media exposure, perception of this project, and participation of the people in Songkhla municipality area in this project and study of the relations between the new media exposure, perception and participation of the people in Songkhla municipality area in this project. The sample are the people living in the Songkhla municipality area 400 people. The analysis data with descriptive statistics such as the frequency, the percentage, the average, the standard deviation and the Inferential Statistics hypothesis testing is the correlation sample statistics.

The most of the people used Smart phones around 80.25 % about Facebook and Line Application during the time of 24.00 to 18.01hrs. in the less than 3 hours per day. The

new media exposure for present activities and progress of the project is minimal levels (xˉ =1.32). The most of the people got the information and news development about Songkhla towards world heritage project engaged in development projects from LED display and they got the information of Songkhla towards world heritage project engaged

in development projects low level (xˉ = 2.10). The participation of Songkhla towards

world heritage project engaged in development projects medium level (xˉ = 3.11). The new media exposure was not relation of the perception of people in Songkhla municipality area to the development Songkhla towards world heritage project in statistically significant .05. The perception of people in Songkhla municipality area to the development Songkhla towards world heritage project was relation of participation of people in Songkhla municipality area to the development Songkhla towards world heritage project in statistically significant .01 The new media exposure was relation of participation of people in Songkhla municipality area to the development Songkhla towards world heritage project in statistically significant .01.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 1 Student in Master Degree of Communication Arts, Kasem Bundit University 2 Assistant Professor of Communication Arts, Ph.D.: Advisor

Page 3: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

3

บทน า

ปัจจัยพื้นฐานในการด ารงชีวิตของมนุ ษย์ ด้ วยการอ านวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ในยุคปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตในอนาคตเกือบทุก ๆ ด้านมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันในสังคม เมื่ อความก้าวหน้ าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ก็ยิ่งช่วยเชื่ อ ม โย งป ระช าก รทั่ ว โล ก ให้ ส าม ารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกสบายภายในระยะเวลาอันสั้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยใช้ เทคโนโลยีที่ ก้ าวหน้าและทันสมัย ประหยัดงบประมาณและเวลา และยังเสริมประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารให้เกิดความเสถียรภาพมากยิง่ขึ้น

ก า ร ติ ด ต่ อ สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า รประชาสัมพันธ์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านการเชื่อมต่อด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารด้วยสื่อใหม่ (New Media) ยิ่งท าให้การติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์สามารถด าเนินการได้ข้ามทวีปอย่างไร้ข้ อจ ากัด จึ งปฏิ เสธไม่ ได้ ว่ ารู ป แ บ บ ก า ร ติ ด ต่ อ สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า รป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ผ่ า น ร ะ บ บ เค รื อ ข่ า ยอินเตอร์เน็ตเป็นรูปแบบหนึ่ งของสื่อใหม่ (New Media) ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมอย่างมากจากบุคคล หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เมื่ อมีจ านวนผู้ ใช้ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารเพิ่ม

มากขึ้น การพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล หรือการติดต่อระหว่างบุคคลกับองค์กร หรือการติดต่อระหว่างองค์กรกับองค์กร จึงจ าเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการอย่างต่อเนื่อง เช่น สื่อใหม่ (New Media) ในรูปแบบของโปรแกรมซอฟแวร์ (Software) อาทิ สื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) หรือทวิตเตอร์ (Twitter) รวมทั้งโปรแกรมเสริมหรือแอพพลิ เคชั่ น (Application) เช่น ไลน์ (Line) ที่ใช้งานกับสื่อใหม่ (New Media) ในรูปแบบของตัวอุปกรณ์ (Hardware) อย่างสมาร์ทโฟน (Smartphone) และคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) เป็นต้น

ปัจจุบันองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจและน าสื่อใหม่ (New Media) มาเป็นหนึ่งในเครื่องมือการบริหารองค์กร โดยการน ามาปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การบริหารองค์กรบรรลุผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรอย่ างคุ้ มค่ ามากที่ สุ ด เช่ น การติดต่อสื่อสารผ่านเว็บไซต์ขององค์กร การส่งข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์โครงการหรื อกิ จกรรมขององค์ ก รผ่ านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือการบริการข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับบริการในรูปแบบการสื่อสารแบบสองทิศทาง (Two-way Communication) ที่ เป็ นการติ ดต่ อสื่ อสารที่ ผู้ รับ สารมี ก ารตอบสนองกับผู้ส่งสารอย่างกระดานสนทนา (Web Board) เป็นต้น

Page 4: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

4

การสื่อสารแบบสองทิศทาง (Two-way Communication) ผ่านสื่อใหม่ (New Media) ใน รู ป แบ บ ตั วอุ ป ก รณ์ รู ป แบ บโปรแกรมซอฟแวร์ และรูปแบบเครือข่ายการสื่อสารของเทศบาลนครสงขลากับโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกที่ก าลังด าเนินการอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นการสื่อสารระหว่างเทศบาลนครสงขลาร่วมและภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ความก้าวหน้าในการด าเนินกิจกรรมของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกโลกในอนาคตร่วมกัน ดังนั้น สื่อและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของประชาชนจึงเป็นตัวแปรส าคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการนี ้

จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น ท าให้ผู้วิจัยมีความสนใจว่า การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมื อ ง เก่ า ส ง ข ล า สู่ เ มื อ ง ม ร ด ก โล ก มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ รวมถึงลักษณะทางประชากรของประชาชนที่มีความแตกต่างกัน จะท าให้การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่ เมืองมรดกโลกแตกต่างกันหรือไม่ เพื่ อเทศบาลนครสงขลาจะได้น าผลการวิจัยและข้อเสนอแนะจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลนครสงขลาไปพัฒนาด้านสื่อการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก และโครงการอื่น ๆ ข อ ง เท ศ บ าล ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ แ ล ะมีประสิทธิผลสูงสุดตามเป้าหมายของเทศบาลนครสงขลา รวมทั้ งห น่ วย งานอื่ น ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถน าผลการศึกษาในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์อ่ืน ๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์การศึกษา 1. เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อใหม่ของ

ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา 2. เพื่ อศึ กษาการรับ รู้ ผ่ านสื่ อของ

ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

3 . เพื่ อ ศึ ก ษ าก ารมี ส่ วน ร่ วม ขอ งประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก

สมมติฐานของการศึกษา

1. การเปิดรับสื่อใหม่กับการรับรู้ของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกมีความสัมพันธ์กัน

2. การรับ รู้ กั บ การมี ส่ วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกมีความสัมพันธ์กัน

3. การเปิดรับสื่อใหม่กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกมีความสัมพันธ์กัน

ขอบเขตของการศึกษา

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.1 ลั ก ษ ณ ะ ท า ง ป ร ะ ช า ก ร

ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา อาชพี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

1.2 การเปิดรับสื่อใหม่ ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ใช้เปิดรับสื่อ ประเภทสื่อที่เปิดรับ

Page 5: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

5

ช่วงเวลาที่เปิดรับสื่อ ระยะเวลาที่เปิดรับสื่อ และความถี่ในการเปิดรับสื่อ

1.3 การรับ รู้ ป ระกอบด้ วย การรับทราบโครงการ การเลือกรับโครงการ การจดจ าโครงการ และการท าความ เข้ าใจโครงการ

1.4 การมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ด้านการประสานงานและการประชาสัมพันธ์ และด้านการรับประโยชน์ร่วมกัน

2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรในเขตเทศบาลนครสงขลา จ านวน 67,637 คน (ที่มา: แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครสงขลา พ.ศ. 2557-2562: 6)

2.2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มจากประชากรทั้ งหมด โดยใช้แนวคิดการก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane (1973: 125) และก าหนดความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.05 จากสมการได้กลุ่มตัวอย่างจ านวน 400 คน หลังจากนั้นจะสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วนตามจ านวนเขตของพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ระเบียบวิธีวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา อาชีพ และรายได้ เฉลี่ยต่อเดือน แบบสอบถามส่วนนี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการรับรู้ การตีความ และการเข้าใจในการสื่อสารของกิติมา สุรสนธิ (2541: 15-17) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อใหม่ ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้เปิดรับสื่อ ประเภทสื่อที่ เปิดรับ ช่วงเวลาที่ เปิดรับสื่อ ระยะเวลาที่ เปิดรับสื่อ และความถี่ ในการ

เปิดรับสื่อ แบบสอบถามส่วนนี้ถูกดัดแปลงมาจากแ บ บ สอบ การรับ รู้ สื่ อ ดิ จิ ต อ ลขอ งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในมุมมองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ในภาคตะวันออกของธียุตย์ กนกธร (2553: 171-172) ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ ได้แก่ การรับทราบโครงการ การเลือกรับโครงการ การจดจ าโครงการ และการท าความเข้าใจโครงการ แบบสอบถามส่วนนี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดการรับรู้ข่าวสารของเสรี วงษ์มณฑา (2548: 88) ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่ วนร่วมของประชาชน ได้แ ก่ ด้ านการสนับสนุนทรัพยากร ด้านการประสานงานและก า รป ระ ช าสั ม พั น ธ์ แ ล ะ ด้ า น ก า ร รั บผลประโยชน์ร่วมกัน แบบสอบถามส่วนนี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบทของปรัชญา เวสารัชช์ (2528: 5) การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเ ชิ ง พ ร ร ณ น า (Descriptive Statistics) ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ก า ร แ จ ก แ จ ง ค ว า ม ถี่ (Frequencies) และค านวณหาค่าร้อยละ (Percentage) โดยน าเสนอในรูปแบบตารางประกอบการอธิบาย ส่วนที่ 2 การเปิดรับสื่อใหม่ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequencies) และค านวณหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยน าเสนอในรูปแบบตารางประกอบการอธิบาย ส่วนที่ 3 การรับรู้ ใช้สถิติ ในการวิ เค ร าะ ห์ ข้ อมู ล คื อ สถิ ติ เชิ งพ รรณ นา

Page 6: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

6

(Descriptive Statistics) ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequencies) และค านวณหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยน าเสนอในรูปแบบตารางประกอบการอธิบาย ส่วนที่ 4 การมีส่วนร่วม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โ ด ย น า เส น อ ใ นรูปแบบตารางประกอบการอธิบาย ส่วนที่ 5 การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐาน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก โดยใช้การทดสอบสถิติค่าสั ม ป ระ สิ ท ธิ์ ส ห สั ม พั น ธ์ ข อ ง เพี ย ร์ สั น ( Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) (วรรณี แกมเกตุ , 2551: 376) สรุปผลการศึกษา การศึกษาการเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกของประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ เทศบาลนครสงขลา สามารถสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการศึกษาซึ่งปรากฏผลดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่ 3 (วัดหัวป้อม วังเขียว-วังขาว บ่อหว้า ท่าสะอ้าน กุโบร์ วัดศาลาหัวยาง นอกสวน วชิรา ซอยคู่) มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 40-49 ปี จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพรับราชการที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท

2. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ในการเปิดรับสื่อเฟสบุ๊ค (Facebook) รองลงมาคือ ไลน์ (Line) โดยใช้อุปกรณ์ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. แต่ละครั้งจะใช้อุปกรณ์ต่ ากว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน โดยวันจันทร์ถึงวันศุกร์จะใช้สื่อประเภทเฟสบุ๊คในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. มากที่สุด ส าหรับวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดจะใช้สื่อประเภทไลน์ (Line) ในช่วงเวลา 12.01-18.00 น. มากที่สุด มีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่ เมืองมรดกโลก อยู่ในระดับน้อยที่สุด (xˉ =1.32)

3. กลุ่ มตั วอย่ างที่ ศึ กษา ส่ วน ใหญ่รับทราบข้อมูลและข่าวสารโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกจากป้ายไฟวิ่งของเทศบาลนครสงขลา และน าข้อมูลข่าวสารของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ ที่ได้รับจากป้ายไฟวิ่งไปเผยแพร่ต่อ เพราะข้อมูลข่าวสารของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ ที่ได้รับจากป้ายไฟวิ่งสามารถจดจ าได้สะดวกกว่าสื่อประเภทอื่น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้และเข้าใจในข้อมูลโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ =2.10)

4. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ =3.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้ า น พ บ ว่ า ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ใน ก า ร รั บผลประโยชน์ร่วมกันมีค่ าเฉลี่ ยสู งสุด (xˉ =3.49)

5. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อให ม่ ก ารรั บ รู้ แ ล ะก ารมี ส่ วน ร่ วม ขอ งประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก ปรากฏผลดังตารางที่ 1-3 ดังนี ้ อภิปรายผล

Page 7: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

7

1. ประชาชนส่วนใหญ่ใช้สื่อใหม่อย่างอุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) เพื่ อเปิดรับการติดต่อสื่อสาร มากที่สุด เนื่องจากอุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็นโท ร ศั พ ท์ เค ลื่ อ น ที่ ที่ มี ค ว า ม ส าม า ร ถนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือทั่ วไป เป็นค อ ม พิ ว เต อ ร์ พ ก พ า ใน ลั ก ษ ณ ะ ข อ งโท รศั พ ท์ เค ลื่ อ น ที่ ที่ ส าม ารถ เชื่ อ ม ต่ อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือร่วมกับโป ร แ ก ร ม เส ริ ม ห รื อ แ อ ป พ ลิ เค ชั่ น (Application) ของโทรศัพท์ได้ด้วยผู้ใช้งานเอ ง ต า ม รู ป แ บ บ ข อ ง โท ร ศั พ ท์ แ ล ะระบบปฏิบัติการที่เลือกใช้ กล่าวคือ เป็นทั้งอุปกรณ์การสื่อสารระหว่างตัวบุคคลและอุปกรณ์ที่มีโปรแกรมซอฟแวร์ (Software) ที่มีเครือข่ายการสื่อสารในรูปแบบการจัดส่งข้อมูลเนื้อหาแบบดิจิตอล (ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน , 2556: 6) ด้วยความสามารถที่เพิ่มขึ้นจากโทรศัพท์มือถือทั่วไปประกอบกับประโยชน์จากสมาร์ทโฟนสามารถตอบสนองความต้ อ งการของผู้ บ ริ โภคได้ จึ งท าให้ประชาชนส่วนใหญ่ เลือกใช้สื่อใหม่อย่างส ม า ร์ ท โฟ น เข้ า ม า เป็ น ส่ ว น ห นึ่ ง ข อ งชีวิตประจ าวันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลการศึกษามูลค่าตลาดสื่อสารของประเทศไทย ประจ าปี 2557 และประมาณการ ปี 2558 ของส านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ย ง กิ จ ก า ร โท ร ทั ศ น์ แ ล ะ กิ จ ก า รโทรคมนาคมแห่งชาติ (ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ: สวทช., 2558: 21) ที่พบว่า ตลาดเครื่องโทรศัพท์ปี 2557 มีมูลค่าทั้งสิ้น 93,358 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 32.1 โดยประมาณการว่าในปี 2558 ตลาดเครื่องโทรศัพท์จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 19.7 หรือมีมูลค่า 111,762 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาตลาดเครื่องโทรศัพท์จ าแนกเป็นรายประเภทพบว่ามีทิศทางการเติบโตที่สวนทางกันระหว่างตลาดเครื่องโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีการเติบโต

สู ง ข ณ ะ ที่ อุ ป ก ร ณ์ อื่ น ๆ ใ น ต ล า ดเครื่องโทรศัพท์มีมูลค่าตลาดหดตัวลงซึ่งเป็นไปตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ความต้องการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ใช้งานหน้าใหม่ การลดลงของราคาเครื่องโทรศัพท์สมาร์ทโฟน การให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ที่ครอบคลุมประชากรมากขึ้น ตลอดจนการเร่งเคลื่ อ น ย้ ายฐาน ลู กค้ าขอ งผู้ ให้ บ ริ ก ารโทรศัพท์ เคลื่อนที่ จากโครงข่ายที่อยู่ภายใต้สั ญ ญ าสั ม ป ท าน ไป สู่ โค ร งข่ า ยภ าย ใต้ใบ อ นุ ญ า ต จึ ง ท า ให้ เกิ ด ก า ร ใช้ ง า นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทดแทนโทรศัพท์ประจ าที่เกือบสมบูรณ์ส าหรับการใช้งานส่วนตัว โปรแกรมเสริมหรือแอปพลิเคชั่น (Application) จากสื่ อ ใหม่ อย่ างอุ ป กรณ์สมาร์ทโฟนที่ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาเลือกใช้สองอันดับแรก คือ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างเฟสบุ๊ค (Facebook) และไลน์ (Line) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของบุหงา ชัยสุวรรณ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร (2558) ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นที่ศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเปิดรับสื่อใหม่ประเภทไลน์ (Line) และเฟซบุ๊ค (Facebook) ผ่านสมาร์ทโฟน (Smartphone) มากที่สุด ส าหรับประเทศไทยมีสถิติการใช้ เฟสบุ๊ ค (Facebook) มากเป็นอันดับ 3 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ (Zocialinc, 2558 ณ วันที่ 17 เมษายน 2558) ซึ่งเป็นผลการส ารวจและเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของประชากรเฟสบุ๊คทั่ วโลกจากเว็บไซต์ Zocial Rank เว็บ ไซต์ จั ดอั นดั บสื่ อสั งคมออนไลน์ (Social Media) โดยประชาชนในพื้นที่ เขตเทศบาลนครสงขลาส่วนใหญ่จะเลือกใช้สื่อออนไลน์ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. ครั้งละประมาณต่ ากว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่ง

Page 8: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

8

ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์จะใช้สื่อต่างจากวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด กล่าวคือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์จะใช้เฟสบุ๊คในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. แต่วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดใช้สื่อสั งคมออนไลน์อย่ างประเภทไลน์ (Line) ในช่วงเวลา 12.01-18.00 น.

2. การรับรู้การประชาสัมพันธ์และการรายงานความก้าวหน้าการด าเนินโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกของเทศบาลนครสงขลาผ่านสื่อใหม่ไม่ได้มีเฉพาะช่องทางรับจากอุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือสื่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังมีก า ร ติ ด ต่ อ สื่ อ ส า ร กั บ ป ร ะ ช า ช น เพื่ อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ ผ่านสื่อใหม่อีกประเภท นั่นคือ ป้ายไฟวิ่ง (LED Display) ซึ่ งจากผลการศึกษาครั้ งนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่การรับทราบข้อมูลและข่าวสารโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ จากเทศบาลนครสงขลานั้นผ่านสื่อใหม่อย่างป้ายไฟวิ่งมากที่สุด รวมถึงมีการน าข้อมูลข่าวสารของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ ที่ได้รับจากป้ายไฟวิ่งไปเผยแพร่ต่ออีกด้วย เนื่องจากสื่อใหม่อย่างป้ายไฟวิ่งอาจมีความสะดวกต่อประชาชนผู้พบเห็นในการรับข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ กว่าสื่อประเภทอื่น ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการรับรู้และเข้าใจในข้อมูลโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ =2.10) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวีระดา ประเสริฐ (2558) ที่ศึกษาการเปิดรับและการรับรู้การสื่อสารการตลาดโครงการนกแฟนคลับของผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ช่องทางการเปิดรับการสื่อสารการตลาดโครงการนกแฟนคลับจากสปอตโฆษณา 7 th Anniversary Nok Air มากที่สุด 3. การส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก อยู่ในระดับปานกลาง (x ̄=3.11) สอดคล้องกับผลการศึกษาของพิเชษฐ

พิมพ์เจริญ (2557) ที่ศึกษาการรับรู้ การมีส่วนร่วม การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้ อ่ านผ่ าน เครือข่ ายสั งคมออนไลน์ ของนิตยสารไทย ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้อ่านผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิตยสารไทยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมกับแฟนเพจของนิตยสารอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ =2.74) เมื่อพิจารณาการส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาเป็นรายด้ านพบว่า การมีส่ วนร่วมในการรับผลประโยชน์ร่วมกันมีค่ าเฉลี่ ยสู งสุด (xˉ =3.49) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของรัฐ กันภัย (2558) ที่ศึกษาการรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขต องค์การบริหารส่วนต าบล จังหวัดภาคตะวันตกตอนล่าง ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในองค์การบริหารส่วนต าบลเขตจังหวัดภาคตะวันตกตอนล่างมีการรับรู้ข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์และมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนามากที่สุด 4. การเปิดรับสื่อใหม่โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกกับการรับรู้โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกของประชาชนไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนั ยส าคัญ ท างสถิ ติ ที่ ระดั บ 0 .05 ซึ่ ง ไม่สอดคล้องกับการศึกษาของวีระดา ประเสริฐ (2558) ที่ศึกษาการเปิดรับและการรับรู้การสื่อสารการตลาดโครงการนกแฟนคลับของผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้การสื่อสารการตลาดโครงการนกแฟนคลับของผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์ ส่วนการรับรู้โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกกับการมีส่วนร่วมโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่

Page 9: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

9

ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของชลดา ทองสุกนอก (2540) ที่ศึกษาการเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานของเจ้าของอาคารและโรงงานควบคุม ซึ่งผลการศึกษา พบว่า การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน ส่วนการเปิดรับสื่อมวลชนจากนิตยสารอินเตอร์เน็ตและสื่อบุคคลจากผู้สัมมนาและผู้เข้าร่วมสัมมนา พนักงานในที่ท างาน และความตระหนักต่อการอนุรักษ์พลังงานยังเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการท านายเรื่องการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานในเชิงบวก นอกจากนนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของรัฐ กันภัย (2558) ที่ศึกษาการรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขต องค์ การบริห ารส่ วนต าบล จั งห วัดภาคตะวันตกตอนล่าง ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนต าบลเขตจังหวัดภาคตะวันตกตอนล่างมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ส าหรับการเปิดรับสื่อใหม่โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ กับการมีส่วนร่วมโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของก าพล ดวงพรประเสริฐ. (2558) ที่ศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่า การเปิดรับข่าวสาร การมีความรู้และทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการแก้ ไขปัญ หาที่ เกิ ดจากการดื่ ม เครื่ อ งดื่ มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน และ

สอดคล้องกับงานวิจัยของชลดา ทองสุกนอก (2540) ที่ศึกษาการเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานของเจ้าของอาคารและโรงงานควบคุม ซึ่งผลการศึกษา พบว่าการเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการเปิดรับสื่อมวลชนจากนิตยสารอินเตอร์เน็ตและสื่อบุคคลจากผู้สัมมนาและผู้เข้าร่วมสัมมนา พนักงานในที่ท างานและความตระหนักต่อการอนุรักษ์พลังงานเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลในการท านายเรื่องการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานในเชิงบวกได ้ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป 1.1 ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนมากถึงร้อยละ 80.25 ดังนั้น เทศบาลนครสงขลาควรเพิ่ ม ช่ อ งท างการสื่ อสารข้ อมู ลและความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่ เมืองมรดกโลกกับประชาชนผ่านโป ร แ ก ร ม เส ริ ม ห รื อ แ อ ป พ ลิ เค ชั่ น (Application) น อ ก เห นื อ จ า ก เว็ บ ไซ ต์ (Website) เฟสบุ๊ ค (Facebook) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) กระดานสนทนา ( Web Board) ข อ ง เ ท ศ บ า ล เ ช่ น แอปพลิเคช่ันไลน์ (Line) ของเทศบาล เป็นต้น

1.2 เทศบาลควรมีการวางแผนการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาเมืองเก่ าสงขลาสู่ เมืองมรดกโลก เพื่ อ ให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้า รวมทั้งผลการด าเนินกิจกรรมของโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลโครงการเพิ่มขึ้น

1.3 เทศบาลควรจัดกิจกรรมเพื่ อรณรงค์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่

Page 10: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

10

เทศบาลนครสงขลามีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกมากขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมร่วมกับกับหน่วยงานอื่นที่ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ อย่างภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมที่เป็นศูนย์กลางคนรักเมืองสงขลาที่ร่วมน าเสนอความคิด ประสบการณ์ ความภาคภูมิใจในคุณค่าของเมืองที่อาศัย และร่วมผลักดันการอนุรักษ์เมืองสงขลา เป็นต้น 2. ข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งต่อไป 2.1 ควรเพิ่มการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยการสัมภาษณ์และสนทนาเจาะประเด็นการเปิดรับสื่ อ ใหม่ เทศบาลของประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ การรับรู้โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ ของประชาชน และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลาร่วมถกปัญหา อภิปราย และแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ฯ มากยิ่งขึ้น

2.2 นอกจากการศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์แล้ว ควรมีการต่อยอดการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเนื้อหาที่ใช้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออีกปัจจัยหนึ่ง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิ งปริมาณ ด้วยแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept-Interview) หรือการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ครอบคลุมการเปิดรับสื่อและการรับรู้ผ่านสื่อมากยิ่งขึ้น

2.3 การศึกษาและการวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารของเทศบาลเกี่ยวกับการส่ งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมและโครงการของเทศบาล จะท าให้ก า ร ว า ง แ ผ น ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า รประชาสัมพันธ์กิจกรรมและโครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกและโครงการอื่น ๆ ของเทศบาลมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

Page 11: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

11

บรรณานุกรม กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ก าพล ดวงพรประเสริฐ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการแก้ไข

ปัญหาที่ เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558, (1-8).

ชลดา ทองสุกนอก. (2540). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานของเจ้าของอาคารและโรงงานควบคุม. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิเทศศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยใน

เขตกรุงเทพมหานคร. รายงานทุนอุดหนุนจากศูนย์วิจัย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์เทศบาลนครสงขลา. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครสงขลา พ.ศ. 2557-2562 (ทบทวน พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2562). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.songkhlacity.go.th/develop_plan. (วันที่ค้นข้อมูล: 27 กรกฎาคม 2558).

ธียุตย์ กนกธร. (2553). การรับรู้สื่อดิจิตอลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในมุมมองของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ในภาคตะวันออก. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. บุหงา ชัยสุวรรณ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุ ระหว่าง 10-19 ปี. งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) และส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). วารสารการสื่อสาร และการจัดการ นิด้า ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน). (31-57). ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พิเชษฐ พิมพ์เจริญ. (2557). การรับรู้ การมีส่วนร่วม การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของ ผู้อ่านผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิตยสารไทย. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557, (17-33). รัฐ กันภัย. (2558). การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนา ท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนต าบล จังหวัดภาคตะวันตกตอนล่าง. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยี อีสเทิร์น. วีระดา ประเสริฐ. (2558). การเปิดรับและการรับรู้การสื่อสารการตลาดโครงการนกแฟนคลับของ ผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์. หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร ์ การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. เสรี วงษ์มณฑา. (2548). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. เอกสารประกอบการสอน. นนทบุรี:

Page 12: การเปิดรับสื่อใหม่ การรับรู้ ...grad.kbu.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/mba-commu4.pdf · 2018-07-24 · โครงการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดก

12

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2558). ผลการศึกษามูลค่าตลาดสื่อสารของ ประเทศไทย ประจ าปี 2557 และประมาณการปี 2558. ปทุมธานี: ส านักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วรรณี แกมเกตุ. (2551). วธิีวิทยาการวิจยัทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรงุเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Yamane, Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York : Harper and Row Publication. Zocialinc. (2558). ผลการส ารวจและเปรียบเทยีบอัตราการเติบโตของประชากรเฟสบุค๊ทั่วโลก ณ วันที่ 17 เมษายน 2558. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.it24hrs.com/2015/) facebook-population-aec-2015/. (วันทีค่้น ข้อมูล: 20 พฤษภาคม 2559).