การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย...

14
การพัฒนานโยบายสาธารณะโดยกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ: แนวคิด รูปแบบ และขoอสังเกตบางประการ PUBLIC POLICY DEVELOPMENT THROUGH DELIBERATIVE DEMOCRATIC METHODS: THEORIES, MODELS, AND OBSERVATIONS ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผูoชํานาญการประจําสํานักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกลoา วิชุดา สาธิตพร อาจารยrประจําสํานักนวัตกรรมการเรียนรูoมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทคัดยnอ บทความนี้มุnงอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะทั่วไปของแนวคิดประชาธิปไตยแบบ ปรึกษาหารือ ผnานการศึกษารูปแบบและวิธีการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ถูกพัฒนาขึ้นจนเป}นที่ยอมรับและมี การนําไปประยุกตrใชoอยnางกวoางขวาง 3 รูปแบบ ไดoแกn กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens Jury) สภาพลเมือง (Citizens Assemblies) และการประชุมเมือง (Town Meeting) เพื่อเป}นแนวทางในการพิจารณาแนวทางและประเด็นสําคัญในการ พิจารณาออกแบบหรือประยุกตrใชoกระบวนการที ่อาศัยหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในการพัฒนานโยบาย สาธารณะสําหรับประเทศไทย บทความนี้มีขoอสังเกตเบื้องตoนวnาการนํารูปแบบการปรึกษาหารือสาธารณะมาใชoจําเป}นตoอง ใหoความสําคัญกับ (1) การคัดเลือกตัวแทนประชาชนเขoาสูnกระบวนการใหoครอบคลุมทั้งในเชิงพื้นที่และประเด็นป{ญหา (2) การจัดกระบวนการปรึกษาหารือตoองอาศัยรูปแบบและวิธีการการสรoางการมีสnวนรnวมที่เหมาะสมและหลากหลาย (3) การ ดําเนินกระบวนการที่มีลักษณะเปdดกวoางและมีขoอมูลสนับสนุนอยnางรอบดoานและเพียงพอแกnการตัดสินใจ (4) การนําผลที่ไดo จากกระบวนการปรึกษาหารือไปใชoกําหนดเป}นแผนการพัฒนาหรือนโยบายสาธารณะอยnางเป}นรูปธรรม คําสําคัญ: ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ การพัฒนานโยบายสาธารณะ ABSTRACT This article discusses definitions and characteristics of deliberative democracy as a concept used in current public policy process worldwide. It presents the three well-known methods of public deliberation—Citizens Jury, Citizens Assemblies, and Town Meeting, and used them as case studies for considering a proper model of public deliberation that may apply to the Thai context. This article claims that the key principles required for making public deliberation success include: (1) a recruitment process that can assemble a large and diverse critical mass of citizens; (2) a combination of formats concerning a meaningful participation throughout the process; (3) a deliberative process that provides the participants with a great opportunity to consider a range of views and policy options; and (4) a result from the process that will be usefully applied to policy and planning decisions. Keywords: Deliberative democracy, Public deliberation process, Public policy development

Transcript of การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย...

Page 1: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

การพัฒนานโยบายสาธารณะโดยกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ:

แนวคิด รูปแบบ และขอสังเกตบางประการ

PUBLIC POLICY DEVELOPMENT THROUGH DELIBERATIVE DEMOCRATIC METHODS: THEORIES, MODELS, AND OBSERVATIONS

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผชูํานาญการประจําสํานักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกลา

วิชุดา สาธิตพร อาจารยประจําสํานักนวตักรรมการเรยีนรูมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดยอ

บทความน้ีมุงอธิบายโดยสังเขปเก่ียวกับความหมายและคุณลักษณะทั่วไปของแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ผานการศึกษารูปแบบและวิธีการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ถูกพัฒนาขึ้นจนเปนที่ยอมรับและมีการนําไปประยุกตใชอยางกวางขวาง 3 รูปแบบ ไดแก กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens Jury) สภาพลเมือง (Citizens Assemblies) และการประชุมเมือง (Town Meeting) เพื่อเปนแนวทางในการพิจารณาแนวทางและประเด็นสําคัญในการพิจารณาออกแบบหรือประยุกตใชกระบวนการที่อาศัยหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในการพัฒนานโยบายสาธารณะสําหรับประเทศไทย บทความน้ีมีขอสังเกตเบื้องตนวาการนํารูปแบบการปรึกษาหารือสาธารณะมาใชจําเปนตองใหความสําคัญกับ (1) การคัดเลือกตัวแทนประชาชนเขาสูกระบวนการใหครอบคลุมทั้งในเชิงพื้นที่และประเด็นปญหา (2) การจัดกระบวนการปรึกษาหารือตองอาศัยรูปแบบและวิธีการการสรางการมีสวนรวมที่เหมาะสมและหลากหลาย (3) การดําเนินกระบวนการที่มีลักษณะเปดกวางและมีขอมูลสนับสนุนอยางรอบดานและเพียงพอแกการตัดสินใจ (4) การนําผลที่ไดจากกระบวนการปรึกษาหารือไปใชกําหนดเปนแผนการพัฒนาหรือนโยบายสาธารณะอยางเปนรูปธรรม คําสําคัญ: ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ การพัฒนานโยบายสาธารณะ

ABSTRACT

This article discusses definitions and characteristics of deliberative democracy as a concept used in current public policy process worldwide. It presents the three well-known methods of public deliberation—Citizens Jury, Citizens Assemblies, and Town Meeting, and used them as case studies for considering a proper model of public deliberation that may apply to the Thai context. This article claims that the key principles required for making public deliberation success include: (1) a recruitment process that can assemble a large and diverse critical mass of citizens; (2) a combination of formats concerning a meaningful participation throughout the process; (3) a deliberative process that provides the participants with a great opportunity to consider a range of views and policy options; and (4) a result from the process that will be usefully applied to policy and planning decisions.

Keywords: Deliberative democracy, Public deliberation process, Public policy development

Page 2: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

2 บทความวิชาการ

1ดู เชน บูฆอรี ยีหมะ (2551) พัชรี สิโรรส (2550) พิชญ พงษสวัสด์ิ (2549) ไชยันต ไชยพร (2549ก; 2549ข)

บทนํา

หลายศตวรรษที่ผานมาไดมีความพยายามที่จะหาแนวทางที่ลงตัวในการสรางประชาธิปไตยที่ประชาชนเปนเจาของและสามารถเขามีสวนรวมในการตัดสินใจสาธารณะโดยตรงมากขึ้น และคําตอบที่ไดรับความสนใจมากแนวทางหน่ึง คือ การทําใหประชาธิปไตยกอผลเปนรูปธรรมผานกระบวนการที่นําเอาผูเก่ียวของทุกฝายตั้งแตนักการเมือง เจาหนาที่รัฐ ผูมีสวนไดสวนเสียและประชาชนทั่วไปเขามารวมประชุม พูดคุย ปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกจากปญหาหรือประเด็นสาธารณะยากๆ รวมกันที่เรียกวา “deliberative democracy” (Dryzek, 2000; 2006; Goodin, 2003) ซึ่งในบทความนี้ใชคําภาษาไทยวา “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ” ดังที่นักรัฐศาสตรในประเทศไทยหลายทานนิยมใชกัน1

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือถือเปนแนวคิดที่นักวิชาการและนักพัฒนาประชาธิปไตยในระยะหลังๆ เร่ิมเห็นสอดคลองกันวาเปนแนวทางที่ตองสงเสริมและนํามาประยุกตใชในกระบวนการตัดสินใจสาธารณะ (Goodin, 2012: 2) อยางไรก็ตาม ขอถกเถียงเก่ียวกับผลสัมฤทธิ์ในการนําแนวคิดไปประยุกตใชยังคงปรากฏอยูอยางตอเน่ืองแมแตในวงวิชาการตะวันตกที่แนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไดถูกนําเสนอมานานหลายทศวรรษเองก็ตาม กลาวคือ ในแงหน่ึง ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือถือเปนแนวคิดที่นักวิชาการในยุคปจจุบันจํานวนมากยอมรับวาเปนตัวแบบที่ดีและมีความเปนไปไดสําหรับการนําไปใชสรรคสรางระบอบประชาธิปไตยใหมีความเขมแข็งและยั่งยืน ในขณะที่ นักวิชาการอีกจํานวนหน่ึงตั้งคําถามเก่ียวกับการนําประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปใชประ โยชน เปนตนวาวิ ธี ก ารห รือกระบวนการ นํ าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปใชที่ “ดี” ควรเปนอยางไร ใครบางที่ควรเขามารวมในกระบวนการดังกลาว หัวขอหรือประเด็นปญหาใดบางที่เหมาะสมกับเคร่ืองมือหรือกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ตลอดจนอะไรคือส่ิงที่ตองทําเมื่อไดผลจากการจัดกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือแลว

บทความน้ีมีความมุงหมายหลัก 3 ประการ คือ ประการแรก อธิบายโดยสังเขปเก่ียวกับความหมายและ

คุณลักษณะทั่ ว ไปของแนว คิดประชาธิป ไตยแบบปรึกษาหารือ ความแตกตางของแนวคิดเมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดอ่ืนๆ ตลอดจนประโยชนและ ขอจํากัดในการนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปสูการปฏิบัติ ประการที่ สอง นํ า เ สนอ รูปแบบและวิ ธี ก า รของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ถูกพัฒนาขึ้นจนเปนที่ยอมรับและมีการนําไปประยุกตใชอยางกวางขวาง 3 รูปแบบ ไดแก กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens Jury) สภาพลเมือง (Citizens Assemblies) และการประชุมเมือง (Town Meeting) เพื่อพิจารณาความแตกตางของกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือแตละรูปแบบ และบริบทที่เหมาะสมในการนํากระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือแตละรูปแบบไปประยุกตใช ประการที่สาม สังเคราะหบทเรียนและใหขอเสนอแนะแนวทางและประเด็นสํ าคั ญ ในการพิ จ า รณาออกแบ บห รื อปร ะยุ ก ต ใ ชกระบวนการที่ อ าศั ยห ลักการประชาธิ ป ไตยแบบปรึกษาหารือในการพัฒนานโยบายสาธารณะสําหรับประเทศไทย

แนวคิดวาดวยประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

หัวใจสําคัญของแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือการพยายามหลอมรวมเอาหลักการประชาธิปไตยที่สําคัญๆ เชน หลักการในเร่ืองสิทธิเสรีภาพ โอกาสและความเทาเทียมกันของปจเจกบุคคล ฯลฯ มาไวอยางเต็มเปยมในทุกขั้นตอน (Gutmann and Thompson, 2004) ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจึงเปนแนวคิดที่แตกตางไปจากคานิยมและวิธีปฏิบัติอ่ืนๆ ในการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยโดยทั่วไป น่ันคือ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะเนนการกระตุนใหประชาชนมีความหวงกังวลไมเฉพาะแตผลประโยชนของตนเองเทาน้ัน แตยังมุงใหประชาชนเรียนรูที่จะรับฟงผูอ่ืนและมองผลประโยชนของผู อ่ืนเปนสวนห น่ึงการแสวงหาทางออก (ห รือทางเลือก) ที่เปนธรรมใหกับสังคมดวย (Fishkin, 2009)

ความหมายและคุณลักษณะของแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเกิดขึ้นจากแนวคิดพื้นฐานที่เชื่อวาการตัดสินใจทางการเมืองจะมี

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

&

Page 3: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

3

คุณคาสามารถนําไปใชประโยชนไดจริงก็ตอเมื่อการตดัสินใจน้ันไดผานกระบวนการที่รวบรวมเอาผลประโยชนและมุมมองของสมาชิกทั้งหมดในสังคมการเมืองมาวินิจฉัยไตรตรองอยางครบถวนแลวเทาน้ัน (Valadez, 2010: 60) ในความหมายทั่วไปและพื้นฐานที่สุด ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือวิธีการทางการเมืองสมัยใหมที่มุงใหประชาชนโดยไมจํากัดวาจะตองเปนผูเชี่ยวชาญหรือนักการเมืองสามารถเขามามีสวนรวมในกระบวนการตัดสินใจสาธารณะและแกปญหาตางๆ อยางเขมขน ผานกระบวนการสนทนา พูดคุย แลกเปล่ียนความคิดเห็นกับคนอ่ืนๆ ในสังคมซ่ึงอาจจะเปนประชาชน ผูเชี่ยวชาญ ผูกําหนดนโยบาย (Carcasson and Sprain, 2010: 1-2; Chick, 2013: 187) และดวยเหตุที่ผลประโยชนและมุมมองของประชาชนมีความสําคัญตอการตัดสินใจสาธารณะดังที่กลาวมาขางตน การจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ (public deliberation) ภายใตบรรยากาศที่เปดกวางและใหความสนใจกับทุกๆ ผลประโยชนและทุกๆ มุมมองอยางเทาเทียมกันนับวามีความสําคัญอยางยิ่ง ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในความหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น จึงถูกนิยามใหครอบคลุมถึง “รูปแบบของการปกครองที่เปดกวางใหประชาชนผูมีสิทธิเสรีภาพและความเทาเทียมกันสามารถเขาสูกระบวนการพิจารณาตัดสินใจในเชิงนโยบายรวมกับตัวแทนผู ใช อํานาจ รัฐ โดยทั้ งสองฝายตางแลกเปล่ียนความคิดเห็นกันดวยเหตุผลที่ทุกฝายยอมรับและคนทั่วไปสามารถเขาใจได เพื่อนําไปสูขอสรุปที่เหมาะสมที่สุดสําหรับสังคมในสถานการณปจจุบันและไมปดโอกาสใหมีการปรับปรุงแกไขใหดียิ่งขึ้นในอนาคต” (Gutmann and Thompson, 2004: 7)

ภายใตนิยามดังกลาว ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจึงมีคุณลักษณะที่สําคัญอยางนอย 4 ประการ (Gutmann and Thompson, 2004: 3-6) ไดแก ประการแรก ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเปนกระบวนการของก า ร ต ก ล ง ร ว ม กั น ด ว ย เ ห ตุ ผ ล ( reason-giving requirement) ระหวางพลเมืองและตัวแทนผูใชอํานาจรัฐ โดยเหตุผลที่ทั้งสองฝายแสดงตอกันน้ันมิไดเปนไปเพื่อมุงพิทักษรักษาผลประโยชนของตัวเองหรือมุงหักลางเหตุผลของฝายตรงขาม แตเปนเหตุผลที่ใชภายใตคานิยมที่ยอมรับและเคารพในหลักการเร่ืองเสรีภาพและความเทาเทียมกันของบุคคล และมีจุดมุงหมายสําคัญเพื่อแสวงหาความรวมมือระหวางกัน

ประการที่ สอง เหตุผลที่ ใชในกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะตองเปนเหตุผลที่พลเมืองทุกคนสามารถเขาถึงได (accessible) หรืออีกนัยหน่ึงคือเปนเหตุผลที่เปน “สาธารณะ” และเปนสาธารณะในอยางนอยสองความหมาย กลาวคือ (1) ในความหมายที่วากระบวนการปรึกษาหารือโดยตัวของมันเองจะตองเปนกระบวนการที่กระทําอยางเปดเผยในพื้นที่สาธารณะมใิชในพื้นที่สวนตัว เชน ภายในจิตใจของใครคนใดคนหน่ึง และ (2) เหตุผลที่ใชในกระบวนการปรึกษาหารือจะตองเปนเร่ืองที่สังคมมีความหวงใยและคนทั่วไปสามารถเขาใจในเน้ือหาสาระได น่ันหมายความวา ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะไมสามารถเ ร่ิมตนกระบวนการใดๆ ไดเลยหากสาธารณชนยังไมมีความเขาใจอยางชัดเจนในเน้ือหาของเหตุผลหรือประเด็นที่สังคมหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกัน

ประการที่สาม ผลผลิตที่การจัดกระบวนการตามแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมุงหมายคือการตัดสินใจที่เปนขอผูกมัด (binding) ใหเกิดการปฏิบัติตาม (อยางนอยในชวงระยะเวลาหน่ึง) ในความหมายน้ี ผู เ ข า รวมกระบวนการป รึกษาหา รือจึ ง มิ ได เข า สูกระบวนการเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือเพื่อเรียกรองผลประโยชนสวนตัว หากแตการอภิปรายถกเถียงซ่ึงเปนวิธีการสําคัญของกระบวนการปรึกษาหารือของผูเขารวมกระบวนการน้ันเปนไปเพื่อทําใหเกิดขอสรุปรวมกัน และขอสรุปดังกลาวจะตองมีอิทธิพลตอการตัดสินใจ (หรือกระบวนการที่เก่ียวของกับการตัดสินใจ) ของตัวแทนการใชอํานาจรัฐในอันที่จะกระทําหรือไมกระทําการอยางใดอยางหน่ึงซ่ึงเก่ียวพันกับอนาคตของสังคมและผูคนในวงกวาง

ประการสุดทาย กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเปนกระบวนการที่เปนพลวัตร (dynamic) คือเปนกระบวนการที่ไมยึดติดตายตัวกับขอสรุปหรือการตัดสินใจอันเปนผลจากกระบวนการปรึกษาหารือคร้ังหน่ึงคร้ังใดจนไมอาจยอมรับการปรับปรุงหรือเปล่ียนแปลงใดๆ เลย การเปดกวางใหมีกระบวนการสานเสวนาอยางตอเน่ืองเพื่อรับฟงความคิดเห็นใหมๆ ไมวาความเห็นเหลา น้ันจะ เปนขอวิพากษวิจารณ ขอทวงติ งห รือขอเสนอแนะถือเปนคุณลักษณะสําคัญของแนวคิดในอันที่จะทําใหกระบวนการปรึกษาหารือนําไปสูขอตกลงที่เหมาะสมและเปนที่ยอมรับรวมกันของผูเก่ียวของทุกฝาย

คุณลักษณะของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือทั้งส่ีประการ สะทอนใหเห็นถึงความพยายามที่มุงทําใหคํา

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

&

&

Page 4: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

4 บทความวิชาการ

2 อยางไรก็ตาม การสนทนากลุมโดยอาศัยเทคนิคและวิธีการในลักษณะเดียวกับกระบวนการสานเสวนาถือเปนสวนประกอบสําคัญของกระบวนการที่จัดขึน้ตามหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือแทบทุกรปูแบบ

จํากัดความอยางงายของประชาธิปไตยที่วา “คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” มีความหมายและปฏิบัติไดจริงมากยิ่งขึ้นผานการจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะที่เปน “ของประชาชน” คือ เปนกระบวนการที่สมาชิกในสังคมมารวมกันคิด รวมกันหาทางออก ผานการรวมกันพิจารณาทางเลือกตางๆ เพื่อหาแนวทางที่เปนผลประโยชนรวมกันของสังคม “โดยประชาชน” ที่มีตระหนักถึงความสามารถทางการเมืองของตนเอง และมีความเชื่อมั่นวาตัวเองมีศักยภาพในการเขาถึงทรัพยากรทางการเมืองตางๆ ไดเทาเทียมกับประชาชนคนอ่ืนๆ และ “เพื่อประชาชน” คือ ผลที่ไดจากกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะน้ัน มุงตอบสนองความตองการและสรางความพึงพอใจใหแกประชาชนโดยภาพรวม (Cohen, 1997: 68-69; Fishkin, 2009: 80-84) ดวยเหตุน้ี การจัดกระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือหรือการปรึกษาหารือสาธารณะ จึงมีความแตกตางอยางชัดเจนจากการจัดกระบวนการตามแนวคิดอ่ืนๆ ที่อาศัยหลักการและวิธีการใกลเคียงกัน เชน การเจรจาตอรอง (negotiation) การสานเสวนา (dialogue) ประชาพิจารณ (public hearing) การลงประชามติ (referendum) เปนตน

คว ามแตกตา ง ร ะ ห ว า ง ก ร ะ บวนก า รปรึกษาหารือสาธารณะกับกระบวนการตัดสินใจสาธารณะแบบอื่นๆ

ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย แ บ บ ป รึ ก ษ า ห า รื อ มุ ง จั ดกระบวนการที่นําเอาผูเก่ียวของทุกฝายมารวมสนทนา พูดคุย และแลกเปล่ียนความคิดเห็นกับคนอ่ืนๆ ในสังคม จึงมีความแตกตางจากการการเจรจาตอรอง (negotiation) ซ่ึงเปนกระบวนการที่ใหคูกรณีมาพูดคุยเพื่อหาขอตกลงหรือยุติปญหา (Mansbridge et al., 2010: 64) แตกตางจากการสานเสวนา (dialogue) โดยทั่วไป2 ที่จัดกระบวนการสรางความเขาใจ ปรับความสัมพันธ สรางความเห็นอกเห็นใจซ่ึงกันและกันภายในและระหวางกลุมผูมีสวนไดสวนเสียตางๆ ซ่ึงอาจดําเนินการในลักษณะที่มิไดมุงใหเกิดขอสรุปหรือขอผูกมัดใดๆ จากการสนทนาพูดคุยก็ได (Escobar, 2011: 20-21) ทางออกหรือแนวทางที่ไดจากกระบวนการที่จัดขึ้นตามหลักการประชาธิปไตยแบบ

ปรึกษาหารือที่มุงทําใหเกิดผลผูกพันตอผูเก่ียวของและเปนที่ยอมรับของสังคมโดยรวม จึงมีความแตกตางอยางชัดเจนจากขอตกลงที่ไดจากการเจรจาตอรองซ่ึงเปนการตกลงยินยอมยุติปญหาของคูกรณี และยังมีความแตกตางจากขอตกลงของการสานเสวนาที่เกิดจากการกําหนดเน้ือหาที่ควรจะเปนโดยกลุมผูมีสวนไดสวนเสียเทาน้ัน

นอกจากน้ี ถึงแมวากระบวนการที่จัดขึ้นตามหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะมุงใหประชาชนและผู เ ก่ียวของมารวมกันตัดสินใจในทางสาธารณะ เชนเดียวกับการทําประชาพิจารณที่เนนการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนในเ ร่ืองที่มีผลกระทบชีวิตของประชาชนทุกคน และการลงประชามติที่เปนการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในระดับชุมชน จังหวัด ภาคหรือประเทศวาจะเห็นดวยหรือไมกับประเด็นการเมืองการปกครอง กฎหมาย หรือนโยบายสาธารณะเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง (LeDuc, 2006: 2) แตกระบวนการที่จัดขึ้นตามหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือน้ันจะใหความสําคัญกับกระบวนการที่ เ กิดขึ้นกอนที่ประชาชนหรือผูเขารวมกิจกรรมจะตองตัดสินใจอยางใดอยางหน่ึงมากกวา ทั้งในแงระยะเวลาที่ยาวนานกวา การใหขอมูลที่จําเปนตอการตัดสินใจที่เปนระบบ ลึกซ้ึงและรอบดานมากกวา ดังน้ัน ผลการตัดสินใจของประชาชนที่ไดจากกระบวนการที่จัดขึ้นตามหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจึงเปนที่ยอมรับมากกวา และทําใหทุกฝายไดรับประโยชนรวมกันโดยไม รู สึกวามีฝายห น่ึงฝายใด “ได” ห รือ “ เ สีย ” ผลประโยชนไปทั้งหมด

ประโยชนของการนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปประยุกตใช

นั ก วิ ช า ก า ร ที่ ส นั บ ส นุ น ก า ร นํ า แ น ว คิ ดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปประยุกตใชเชื่อวาสังคมประชาธิปไตยในปจจุบันประกอบดวยสมาชิกที่มีคานิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เมื่อนําสมาชิกของสังคมการเมืองเหลาน้ีเขามาสูกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ การใหเหตุผลตอทางเลือกเชิงนโยบายตางๆ ของสมาชิกแตละคนมักจะมิ ใชเหตุผลที่ ว างอยูบนผลประโยชนและมุมมองของสมาชิกคนน้ันเองเทาน้ัน แตมักจะมีเหตุผลที่วางอยูบนผลประโยชนและมุมมองของ

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 5: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

5

สมาชิกคนอ่ืนๆ ปะปนอยูดวย (Valadez, 2010: 61) ภายใตสภาวะอันเปนธรรมชาติของการนําสมาชิกในสังคมเดียวกันมาพูดคุยแลกเปล่ียนความคิดเห็นกันเชนน้ีเอง ทํ า ใ ห ก ร ะ บ ว น ก า ร ป ร ึก ษ า ห า ร ือ ส า ธ า ร ณ ะ อ า จ กอคุณประโยชนในขอบเขตที่กวางขวาง ตั้งแตการสรางความเคารพนับถือ ซ่ึง กันและกันระหวางผู เขารวมกระบวนการ (Gutmann and Thompson, 1996; Schneiderhan and Khan, 2008) การไดแนวทางในการแกไขปญหาที่เกิดจากฉันทามติของผูเขารวมกระบวนการ (Dryzek and Niemeyer, 2006) ไปจนถึงการสรางความสมดุลกันระหวางความเชื่อหรือผลประโยชนของบุคคลกับผลลัพธซ่ึงเปนผลประโยชนสวนรวมที่ปฏิบัติใชไดจริงอยางมีคุณภาพ (Carcasson and Sprain, 2010; Gastil and Di l lard,1999 ) กลาวอีกนัยหนึ่ง การ นําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปประยุกตใชอาจ กอคุณประโยชนในหลายระดับตั้งแตประชาชนผูเขารวมกระบวนการ ผูรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย ตลอดจนประ เ ด็นปญหาห รือนโยบายสาธ ารณะที่ นํ า เข า สูกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ

ในสวนของประชาชนผูเขารวมกระบวนการ การนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปประยกุตใชจะชวยเสริมสรางใหพลเมืองและกระบวนการทางการเมืองมีความเขมแข็งขึ้นในอยางนอยที่สุด 4 ประการดวยกัน (Gutmann and Thompson, 2004: 10-13) นั่นคือ ประการแรก ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือชวยสงเสริมใหการตัดสินใจรวมกันของผูคนในสังคมการเมืองมีความชอบธรรมมากขึ้นโดยเฉพาะในสถานการณที่สังคมกําลังเผชิญกับปญหาที่ไมมีทางออกที่ชัดเจนและยากตอการหาคําตอบที่นาพึงพอใจใหแกคนทุกฝาย ดวยเหตุที่ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเปนแนวคิดที่เชื่อในเร่ืองการโตแยงกันดวยหลักเหตผุล และเหตุผลที่ใชก็มุงแสวงหาความรวมมือที่เปนธรรมแกทุกฝายมากกวามุงเอาชนะคะคานกัน การตั ด สิน ใจรวมกันผานกระบวนการปรึกษาหารือจึงเปนกระบวนการที่พิจารณาทางเลือกและความเปนไปไดในการแกไขปญหาอยางรอบดานผานการรับฟงเสียงสะทอนของสมาชิกในสังคมอยางทั่วถึงและเทาเทียม

ประการตอมา ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือชวยปลุกจิตวิญญาณสาธารณะ (public spirited perspectives) ของผูคนในสังคมโดยการกระตุนใหมีการถกเถียงพูดคุยเก่ียวกับประเด็นสาธารณะตางๆ อยางกวางขวาง ทําให

ประชาชนเร่ิมหันมาพิจารณาเก่ียวกับผลประโยชนของสังคมโดยสวนรวมมากขึ้น อยางไรก็ตาม การพูดคุยเก่ียวกับนโยบายสาธารณะเพียงอยางเดียวมิไดทําใหพลเมืองมีสํานึกรับผิดชอบตอสวนรวมเพิ่มมากขึ้นในทุกกรณี การออกแบบกระบวนการปรึกษาหารือที่เหมาะสมจึงมี ค ว า ม สํ า คั ญ อ ย า ง ม า ก โ ด ย ใ น ทั ศ น ะ ข อ ง กัตแมนและธอมปสันกระบวนการปรึกษาหารือที่ดีน้ันจะตองเปนกระบวนการที่ (1) ใหความสําคัญกับเร่ืองผลประโยชนสวนรวมมากกวาผลประโยชนสวนตัว (หรือเฉพาะกลุม) (2) รวมเอาผูคนที่มีความแตกตางหลากหลายจากทุกกลุมในสังคมมาพูดคุยกัน และ (3) มุงรักษาความดีงามในสังคมมากกวาอํานาจตอรองทางการเมือง

ประการที่สาม ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือชวยสงเสริมกระบวนการตัดสินใจที่ทุกฝายเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน กลาวคือ ถึงแมวาการทําใหคนที่มีคานิยมหรือความเชื่อ (โดยเฉพาะในเร่ืองที่เก่ียวของกับความถูกผิดทางศีลธรรม) ที่แตกตางกันสามารถตกลงกันไดเปนเร่ืองยาก แตการไดเขารวมแลกเปล่ียนความคิดเห็นกับผู อ่ืนดวยเหตุและผลในฐานะพลเมืองที่มีจิตเปนสาธารณะผานกระบวนการปรึกษาหารือจะชวยใหผูเขารวมกระบวนการทั้งในสวนที่เปนประชาชนทั่วไปและเจาหนาที่รัฐมีโอกาสรับรูและเขาใจถึงแงมุมที่ดีของขอมูล ความคิดเห็น หรือความรูสึกของผูอ่ืนซ่ึงแตกตางไปจากของตัวเอง การเรียนรูที่จะเปดใจ (อดทน) รับฟงความคิดเห็นที่แตกตางและแบงปนความรูสึกกับคนอ่ืนน้ีเองที่กัตแมนและธอมปสันเชื่อวาจะนําไปสูขอตกลงหรือการตัดสินใจที่เปนธรรมแกทุกฝายไดในที่สุด

ประการสุดทาย ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือชวยแกไขขอผิดพลาดในอดีตที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจห รื อการ ดํ า เ นินนโยบายสาธ า รณะได เ น่ื อ ง จ ากประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเปนแนวคิดที่มองการกําหนดนโยบายสาธารณะเปนกระบวนการที่เปนพลวัตร การเรียนรูรวมกันอยางตอเน่ืองถึงผลจากการนําขอตกลงหรือการตัดสินใจรวมกันไปสูการปฏิบัติภายใตกระบวนการที่เอาผลประโยชนสวนรวมเปนตัวตั้งและใหความสําคัญกับการเคารพซ่ึงกันและกันจะชวยใหคนในสังคมมีโอกาสมองเห็นขอผิดพลาดตางๆ ไดงายขึ้นและเขารวมแกไขขอผิดพลาดเหลาน้ันดวยความเต็มใจ

ในสวนของผูรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหา รือไป

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

&

&

&

&

&

&

Page 6: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

6 บทความวิชาการ

ประยุกตใชถือเปนโอกาสอันดี สําห รับผูมีหนาที่ ในกระบวนการนโยบายสาธารณะจะไดทบทวนเก่ียวกับบทบาทและแนวทางการทํางานที่ผานๆ มาเพื่อแสวงหาแนวทางใหมที่ดีกวา (Carcasson and Sprain, 2010: 4) เมื่อนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปสูการปฏิบัติ ผูรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายมีโอกาสในการเรียนรูและทดลองเคร่ืองมือใหมๆ ที่สามารถรองรับตอการเปล่ียนแปลงของสังคมที่นับวันมีแตจะซับซอนยิ่งขึ้น และสามารถตอบสนองตอความตองการอันหลากหลายของประชาชนไดอยางเหมาะสมทันการณ (Robert, 2004: 324; Warren, 1996: 241-270) เน่ืองจากแนวนโยบายที่ไดจากกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะเปนแนวทางที่ไมกอใหเกิดความแตกแยกทางความคิดและเปนมิตรกับความคิดเห็นของฝายตรงขาม เปนแนวทางที่วางบนหลักเหตุผลมากกวาความเห็นของใครคนใดคนหน่ึง และเปนการตัดสินใจรวมกันของทุกฝายที่เก่ียวของ ทําใหผูนโยบายมีขอมูลเชิงลึกวาประชาชนมีความวิตกหวงใยเร่ืองใดบาง และตองการใหมีการดําเนินการเพื่อจัดการกับความวิตกหวงใยเหลาน้ันอยางไร ซ่ึงการเลือกตั้ง (ประชาธิปไตยแบบตัวแทน) ไมสามารถทําหนาที่ น้ีได กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะจึงเปนเคร่ืองมือที่มีประสิทธิผลสําหรับผูกําหนดนโยบายในการปรึกษาหารือโดยตรงกับประชาชนเก่ียวกับแนวทางการแกไขปญหาและการออกแบบนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม (Fishkin, 2009: 13-15)

การนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมาประยุกตใชนอกจากจะมีคุณประโยชนตอประชาชนผูเขารวมกระบวนการและผูรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายแลว ยังมีสวนสําคัญในการทําใหประเด็นปญหาหรือนโยบายสาธารณะที่นําเขาสูกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะน้ันมีความชอบธรรม และสามารถขอจํากัดที่กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบเดิมๆ ไมสามารถทําไดดวย (Carcasson and Sprain, 2010: 4) กลาวคือ ประการแรก เน่ืองจากประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมีแนวคิดพื้นฐานที่เชื่อวาการตัดสินใจทางการเมืองที่ ดีที่ สุด คือ การการตัดสินใจที่กระทําผานกระบวนการที่รวบรวมเอาผลประโยชนและมุมมองของผู เ ก่ียวของทุกฝายมาพิ นิจพิจารณาอยางครบถวน กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะจึงเปนกระบวนการสรางความชอบธรรมและการยอมรับใหแกนโยบาย

สาธารณะซ่ึงเปนผลผลิตสําคัญของกระบวนการดังกลาวไดดีกวาวิธีการตัดสินใจสาธารณะแบบอ่ืนๆ เชน การเลือกตั้ง การตอสูแขงขันผานการเมืองเร่ืองผลประโยชน การชุมนุมเรียกรอง ฯลฯ ประการที่สอง กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะสามารถกอใหเกิดแนวทางการแกไขปญหาและนโยบายสาธารณะที่พึงปรารถนาของสังคม เน่ืองจากเปนแนวทางหรือแนวนโยบายที่ไดจากการนําเอาตัวแทนของประชาชนซ่ึงเปนตัวแทนของผูมีสวนไดสวนเสียเขามารวมกันพิจารณาไตตรองขอเท็จจริงและคุณประโยชนของทางเลือกสาธารณะที่นําเสนอผานมุมมองที่หลากหลาย รับฟงซ่ึงกันและกันเพื่อพินิจพิเคราะหเก่ียวกับทางเลือกตางๆ ทั้งขอดี ขอจํากัด และความเปนไปไดกอนที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางใดแนวทางหน่ึงโดยความเห็นพองตองกันบนเหตุผลที่คํานึงถึงผลประโยชนสวนรวมเปนที่ตั้ง พรอมไปกับการมีขอสรุปเก่ียวกับส่ิงที่ตองรวมกันดําเนินการเพื่อบรรลุผลตามแนวทางที่ไดตัดสินใจเลือกน้ัน

ขอจาํกัดของการนําแนวคิดประชาธปิไตยแบบปรึกษาหารือไปประยุกตใช

ขอวิพากษวิจารณที่มีตอประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่สําคัญมักพุงเปาไปที่ความเปนอุดมคติของแนวคิดดังกลาว สงผลใหการจัดกระบวนการปรึกษาหารือมักถูกตั้งคําถามทั้งในเชิงหลักการและวิธีการ ในเชิงหลักการ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ถูกตั้งคําถามถึงส่ิงที่แนวคิดคาดหวังจากการจัดกระบวนการ โดยเฉพาะผลลัพธในลักษณะที่เปนทางออกหรือแนวทางเชิงนโยบายที่เกิดจากความเห็นพองตองกันของผูเขารวมกระบวนการ เน่ืองจากกระบวนการที่อาศัยหลักการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ มิไดนําไปสูขอสรุปที่เปนความเห็นพองตองกันเสมอไปในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในสถานการณที่มีองคประกอบดานขนาดของตัวแทนผูเขารวมกระบวนการจํานวนมาก ถึงแมวากระบวนการปรึกษาหารือที่มีคุณภาพจะชวยเปล่ียนมุมมองของประชาชนตอประเด็นปญหาไดจริง และมีสวนอยางมากตอกระบวนการเรียนรูของผูเขารวมกระบวนการในการที่จะไดเขาใจถึงความคิด ความเชื่อ และความตองการของประชาชนอ่ืนๆ ที่แตกตางไปจากตัวเองก็ตาม แตการเปล่ียนมุมมองและความเขาใจดังกลาวก็มิไดนําไปสูการเห็นพองตองกันอยางสมบูรณ ในขณะที่ความไมเห็นพองตองกันยังคงปรากฏใหเห็นอยูตลอดระยะเวลาที่มีการสนทนาแลกเปล่ียนความคิดเห็นกัน

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

&

&

Page 7: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

7

ทําใหกลุมไมอาจตัดสินใจไดเองโดยไมมีวิธีการอ่ืนๆ มาชวยในการตัดสินใจ เชน การออกเสียง (พัชรี สิโรรส, ม.ป.ป.: 11-12) หรือที่บางกระบวนการเล่ียงไปใชคําอ่ืนๆ เชน กา รออกความ เห็น โดยใชจุ ดประชาธิ ป ไตย (democracy dot) ซ่ึงอาศัยหลักการเสียงขางมากมากกวาความเห็นพองตองกันตามอุดมคติของการจัดกระบวนการปรึกษาหารือ เปนตน

นอกจากขอจํากัดอันเกิดจากขนาดที่มากเกินไปของผูเขารวมกระบวนการปรึกษาหารือดังที่กลาวมาแลว ขนาดของผูเขารวมที่นอยเกินไปก็อาจทําใหกระบวนการปรึกษาหารือถูกตั้งคําถามไดดวยเชนกัน โดยเฉพาะคําถามตอผลลัพธที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวามีความชอบธรรมเพียงพอหรือไมที่ผูกําหนดนโยบายจะนําไปปฏิบัติตาม เน่ืองจากจํานวนผูที่ เขามารวมในกระบวนการปรึกษาหารือน้ันมีนอยกวาจํานวนผูออกไปใชสิทธิเลือกตั้ง และตัวแทนผูเขารวมกระบวนการดังกลาวเปนตัวแทนที่ชอบธรรมของใคร (Sanders, 1997: 347) หลักการที่เชื่อว าผ ลผ ลิ ต จ ากก า ร จั ด ก ร ะ บ ว น กา ร ต า ม แ น ว คิ ดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะเปนการตัดสินใจสาธารณะที่เปนขอผูกมัดใหเกิดการปฏิบัติตาม หรืออยางนอยที่สุดคือมีอิทธิพลตอการตัดสินใจของตัวแทนการใชอํานาจรัฐจึงอาจไมเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ

ขอจํากัดอีกประการหน่ึงของการนําหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมาประยุกตใชคือความไมคุมคา ภายใตโลกปจจุบันที่กลไกภาครัฐมีขนาดใหญและมีโครงสรางที่ ซับซอน รูปแบบการปกครองที่ใชอยูจึงมีขอบเขตการทํางานที่กวางขวางเกินกวาจะมาสนับสนุนกระบวนการที่อาศัยการสนทนาพูดคุยที่ผูคนมากหนาหลายตาตองมาประชุมรวมกันไดในทุกๆ ประเด็นปญหา (Fishkin, 1991; Stivers, 1990) การจัดกระบวนการปรึกษาหารือจึงเปนรูปแบบการทํางานที่มีคาใชจายสูง ตองใชเวลา และมีความยุงยากในการที่จะทําใหทุกคนเขามาเก่ียวของกับการดําเนินกิจการภาครัฐในขณะที่หนวยงานภาครัฐเองก็ยังตองมีภาระหนาที่ที่ตองทําในกระบวนการดังกลาวดวย (Robert, 2004: 325) การจัดกระบวนการปรึกษาหารือจึงมักถูกมองวาเปนภาระที่เพิ่มขึ้นมากกวาเปนการแบงเบาภาระของผูกําหนดนโยบาย

ในแงวิธีการ การจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะมักถูกตั้งคําถาม เชน ทําอยางไรใหคนสองฝายที่มีความคิดเห็นที่สงผลใหแตกตางกันอยางสุดขั้วสามารถมา

น่ังพูดคุยกันไดดวยเหตุและผล ทําอยางไรที่จะทําใหคนที่มีความแตกตางกันในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สามารถมาพูดคุยถกเถียงกันไดโดยที่ไมมีใครรูสึกวาตนเองมีศักด์ิศรีความเปนมนุษยสูงหรือดอยกวาคนอ่ืน ทําอยางไรใหคนที่พูดนอยโดยธรรมชาติสามารถรวมแสดงความคิดเห็นในกระบวนการปรึกษาหารือไดโดยไมถูกครอบงําทางความคิดโดยคนอ่ืนที่อาจจะชางพูดมากกวาหรือมีวาทศิลปในการชักจูงผูคนไดมากกวา และทําอยางไรใหตัวแทนการใชอํานาจรัฐเคารพในขอตกลงรวมกันอันเปนผลผลิตจากกระบวนการปรึกษาหารือ และนําขอตกลงเหลาน้ันไปปฏิบัติ ใหเกิดผลสมตามเจตนารมณของผู เ ก่ียวของทุกฝายไดอยางแทจริง (Sanders,1997 ; Simon, 1999; Young, 2001)

อยางไรก็ตาม คําถามเหลาน้ีลวนนาสนใจแตเกือบทั้งหมดเปนความหวงกังวลตอวิธีการมากกวาหลักการ จึ ง ไมใช เ ร่ืองยากที่ ผู ตองการนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปใชจะอาศัยเทคนิคการสรางการมีสวนรวมและเทคโนโลยีตางๆ เชน การใชบัตรคํา การใชคอมพิวเตอรบันทึกขอมูล ฯลฯ มาประยุกตใชในกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อลดชองวางในเร่ืองทักษะทางการส่ือสารของผูเขารวม และทําใหกระบวนการประชาเสวนาหาทางออกกลายเปนพื้นที่ที่ทุกเสียงไดรับการรับฟงอยางเสมอภาค

รู ป แ บ บ ต า ง ๆ ข อ ง ป ระ ช า ธิ ป ไ ตย แ บ บปรึกษาหารือ

ในปจจุบัน มีการจัดเวทีถกแถลงและกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะจํานวนมาก เกิดขึ้นทั่วโลกโดยการจัดขององคกรหลากหลายระดับตั้งแตองคกรภาคประชาสังคมไปจนถึงหนวยงานภาครัฐ ทั้งในรูปแบบที่ผูเขารวมการไตรตรองสาธารณะมาพบหนาคาตากัน (face-to-face) และผานระบบออนไลน (online) บทความน้ีนําเสนอรูปแบบกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ 3 รูปแบบ เพื่ อ แสดงตั ว อยา ง รูปแบบกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่มีขนาดของผูเขารวมกระบวนการแตกตางกัน 3 ขนาด ดังน้ี

1) กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens Jury)เปนตัวอยางรูปแบบกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือแบบกลุมขนาดเล็ก (กําหนดจํานวนผูเขารวมประมาณ 12-24 คน)

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 8: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

8 บทความวิชาการ

2) สภาพลเมือง (Citizens Assemblies) เปนตั วอยาง รูปแบบกระบวนการประชาธิป ไตยแบบปรึกษาหารือแบบกลุมขนาดกลาง (กําหนดจํานวนผูเขารวมไมเกินหลักรอย) และ

3) การประชุมเมือง (Town Meeting) เปนตั วอยาง รูปแบบกระบวนการประชาธิป ไตยแบบปรึกษาหารือแบบกลุมขนาดใหญ (รองรับผูเขารวมไดหลายพันคน)

1) กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens Jury)

กระบวนการลูกขุนพลเมืองเปนเทคนิคที่ใชในสหรัฐอเมริกา มาตั้งแตทศวรรษที่ 1970s พัฒนาขึ้นโดย Ned Crosby ที่พยายามนําวิธีการน้ีไปใชอยางแพรหลายในดานการเกษตร การจัดการทรัพยากรนํ้า และนโยบายสวัสดิการในระดับมลรัฐ และนโยบายการปฏิรูประบบสาธารณสุขในระดับชาติ การจัดสรรงบประมาณของประเทศ ถือเปนกระบวนการที่อาศัยแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ไดรับความนิยมมากกระบวนการหน่ึง (Smith and Corinne, 2000) การจัดกระบวนการลูกขุนพลเมือง จะมีการคัดเลือกผูเขารวมจํานวน 12-24 คน ที่จะมีบทบาทเปนคณะลูกขุน (juries) และมีระยะเวลาในการทํางานหลายวัน สําหรับการพิจาณาแตละกรณี จะมีหลักเกณฑตางๆ เชน ผูที่ถูกคัดเลือกเปนลูกขุน จะเปนตัวแทนระดับยอยของชุมชน (microcosm of the community) ไดแก จากหมูบาน เมืองและประเทศ โดยเปนตัวแทนของอายุ เพศ การศึกษา ถิ่นที่อยูอาศัย คณะลูกขุนจะน่ังฟงการใหการของพยานฝายตางๆ ที่มาใหการ เชน หนวยงานเจาของโครงการ ผูที่ไดรับความเดือดรอนจากโครงการ ผูเชี่ยวชาญที่จะใหแงมุมทางเทคนิควิชาการ เปนตน วัตถุประสงคในการจัดคณะลูกขุนพลเมืองก็เพื่อตองการสรางความสมดุล ทั้งในดานผูเขารวมเปนคณะลูกขุน พยาน การใชเวลาใหปากคําของแตละฝาย เปนตน หลังจากรับฟงคําใหการอยางทั่วถึงแลว จะมีการอภิปรายโดยใชเหตุผลและมีการตัดสินใจรวมกันในหมูคณะลูกขุนเพื่อจัดทําขอเสนอแนะตอประเด็นปญหาที่ไดรับมอบหมายน้ัน (Crosby and Nethercut, 2005) คณะลูกขุนพลเมือง จึงเปนการสะทอนใหเห็นหลักการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เชื่อวาพลเมืองธรรมดาๆ ที่มาจากการสุมเลือก สามารถใชเหตุผลในการตัดสินใจอยางเสมอภาคเทาเทียมผานการไดรับขอมูลที่เพียงพอและรอบดาน

กระบวนการลูกขุนพลเมือง เปนวิธีการหน่ึงซ่ึงมีประสิทธิภาพในการจะนําประชาชนเขามามีสวนรวมในการเสนอทางออกใหกับประเด็นปญหาสาธารณะโดยผานกระบวนการรับฟงขอมูลและความคิดเห็นอยางละเอียดรอบดานและมีการพิจารณาหารือรวมกันอยางรอบคอบ คุณลักษณะพิเศษของกระบวนการลูกขุนพลเมือง คือการใชเทคนิคทางสถิติในการสุมเลือกคณะลูกขุนจากกลุมประชากรทั้งหมดที่เก่ียวของกับประเด็นที่จะนําเขาสูการพิจารณา ดวยวิธีการคัดเลือกอยางเปนระบบตามหลักความนาจะเปนทางสถิติ คณะลูกขุนจึงมีความเปนตัวแทนของสาธารณะในภาพกวางไดเปนอยางดี นอกจากน้ี การจัดใหมีผูใหขอมูลแกลูกขุนที่เรียกวาพยานเขามาชวยฉายภาพและแสดงทัศนะมุมมองที่หลากหลายแกลูกขุน มีการวางพยานอยางถวงดุลนํ้าหนักกัน ใหพยานเปนตัวแทนของขอมูลและความคิดเห็นที่รอบดาน เปดโอกาสใหลูกขุนซักถาม และพูดคุยกับพยานไดอยางเต็มที่ทําใหลูกขุนมีโอกาสเขาถึงขอมูลที่เก่ียวของกับการตัดสินใจไดอยางลึกซ้ึง ยิ่งไปกวาน้ัน ตลอดทั้งกระบวนการ คณะลูกขุนพลเมืองยังมีโอกาสไดรวมกันไตรตรองผานรูปแบบการสนทนา พูดคุย และปรึกษาหารือหลากหลายรูปแบบ เพื่อใหลูกขุนมีเวลามากพอสําหรับการพิจารณาขอมูลที่ไดรับ ตลอดจนทุกๆ ความเห็นของลูกขุนแตละคนอยางละเอียดถี่ถวน

องคประกอบและโครงสรางหลักในการทํางานสําหรับการจัดกระบวนการลูกขุนพลเมืองโดยทั่วไปน้ัน ประกอบดวย (The Jefferson Center, 2004: 5-9)

(1 ) ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ที่ ป รึ ก ษ า ( advisory

committee) จํานวน 4-10 คน ซ่ึงเปนผูมีความรูในประเด็นที่ตองการใหมีการไตรตรองรวมกัน เปนตัวแทนมุมมองและความคิดที่หลากหลาย และสามารถเขามาชวยใหแงคิดและแจกแจงรายละเอียดสําคัญๆ เก่ียวกับประเด็นได โดยในกระบวนการ คณะกรรมการที่ปรึกษาจะทําหนาที่เปนผูใหคําปรึกษาในเร่ืองที่เก่ียวกับการตั้งประเด็น กําหนดวาระ และการคัดเลือกพยาน

(2) การคัดเลือกคณะลูกขุน (jury selection) คณะลูกขุนพลเมืองมาจากการคัดเลือกโดยการสุมตัวอยางจากประชากรกลุมตางๆ เพื่อใหคณะลูกขุนเปนตัวแทนของประชาชนในประเด็นที่ตองการใหมีการไตรตรองรวมกันโดยภาพรวมไดอยางแทจริง โดยในการสุมตัวอยางนั้นมักจะคํานึงถึงตัวแปรพื้นฐานทางประชากรศาสตร 5 ตัว

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

&

&

Page 9: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

9

3 รายะละเอียดเกี่ยวกับสภาพลเมืองของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย และรายงานผลการดําเนินการสามารถดูเพิ่มเติมไดในรายงานฉบับสมบูรณของ British Columbia Citizens’ Assembly on Electoral Reform (2004) และทางเว็บไซต www.citizensassembly.bc.ca/public

แปร ไดแก เพศ อายุ ระดับการศึกษา ชาติพันธุ และที่อยูอาศัยตามภูมิศาสตร และตัวแปรเชิงทัศนคติ/ประสบการณที่ เ ก่ี ยวของ กับประ เ ด็นที่ จ ะ นํ า เขา สูกระบวนการปรึกษาหารืออีก 1 ตัวแปร (ซ่ึงสวนใหญจะเปนตัวแปรที่ไดจากคําแนะนําของคณะกรรมการที่ปรึกษา) เชน ในประเด็นที่เก่ียวของกับการจัดระบบเพื่อดูแลผูสูงอายุ การมีหรือไมมีประสบการณในการดูแลผูสูงอายุ รวมถึงการมีหรือไมมีผูสูงอายุอาศัยอยูรวมกันในบาน อาจทําใหคนมีทัศนคติหรือโลกทัศนตอการดูแลผูสูงอายุที่แตกตางกันออกไป ในการสุมตัวอยางเพื่อคัดเลือกคณะลูกขุนจึงอาจนําตัวแปรดังกลาวมาพิจารณารวมกับตัวแปรพื้นฐานทางประชากรศาสตรอ่ืนๆ ดวย

(3) การคัดเลือกพยาน (witness selection) ประกอบไปดวยผูใหขอมูลที่เปนกลาง ผูมีสวนไดสวนเสีย และผูขับเคล่ือนผลักดันประเด็นสาธารณะที่เก่ียวของจากภาคสวนตางๆ ซ่ึงไดรับการเลือกสรรอยางระมัดระวังเพื่อนําเสนอภาพของประเด็นที่มีความสมบูรณและถวงดุลกัน โดยบทบาทหลักของพยานในกระบวนการลูกขุนพลเมือง คือ การอธิบายจุดยืนของตนเอง ดังน้ัน คณะทํางานจะตองมั่นใจวาคณะลูกขุนจะไดรับฟงพยานจากหลากหลายกลุม และเปนตัวแทนของมุมมองที่แตกตางกันในประเด็นปญหาที่นํามาพิจารณา

(4) หนาที่ความรับผิดชอบ (charge) เปนส่ิงที่คณะลูกขุนพลเมืองไดรับมอบหมาย ซ่ึงมักจะอยูในรูปของคําถามหรือชุดของคําถามที่ลูกขุนจะตองพิจารณาและตอบ หนาที่ความรับผิดชอบจะเปนตัวกําหนดขอบเขตของการดําเนินกระบวนการ และเปนตัวชวยชี้แนะแนวทางในการทํางานของลูกขุนและการใหการของพยาน หนาที่ความรับผิดชอบจึงเปนองคประกอบที่มีความสําคัญตอการดําเนินกระบวนการใหเปนไปอยางราบร่ืน ในลักษณะที่จะชวยใหลูกขุนมีกรอบในการพิจารณาประเด็นปญหาและสามารถพัฒนาขอเสนอแนะไดอยางเหมาะสม ดังน้ัน จึงจําเปนตองมีการเอาใจใสในการกําหนดหนาที่ความรับผิดชอบไมใหกวางหรือแคบจนเกินไป

(5) ขั้นตอนการรับฟง (hearings) คณะทํางาน (project staff) จะวางวาระ (agenda) ของการรับฟงอยางรอบคอบ ซ่ึงรวมถึงการวางลําดับของพยาน ชวงเวลาของ

การพิจารณาไตรตรอง ชวงพักรับประทานอาหารและชวงพักผอน เปนตน ซ่ึงโดยทั่วไป กระบวนการลูกขุนพลเมืองมักจัดใหมีขั้นตอนการรับฟง เปนระยะเวลา 5 วันตอเน่ืองกัน คณะทํางานตองกําหนดใหชัดเจนวาจะตองทําอะไรบางในแตละวัน

(6) ขอเสนอแนะ (recommendation) ในตอนบายของวันสุดทายของการจัดกระบวนการรับฟง คณะลูกขุนพลเมืองจะออกรายงานขั้นตนที่มีเน้ือหาประกอบดวยขอคนพบและขอเสนอแนะที่เปดเผยตอสาธารณะได โดยคณะลูกขุนจะสงตัวแทนออกมานําเสนอขอเสนอแนะตอที่ประชุมซ่ึงมีผูเขารวมตั้งแตผูใหการสนับสนุนโครงการ ประชาชนที่สนใจ ไปจนถึงส่ือมวลชนและเจาหนาที่ของรัฐ หลังจากนั้นภายใน 3 สัปดาห รายงานฉบับสมบูรณ (final report) ซ่ึงมีขอมูลเพิ่มเติมเก่ียวกับโครงการ และขอเสนอแนะของคณะลูกขุนในประเด็นที่พิจารณา ที่มีการกล่ันกรองในเชิงเน้ือหาและภาษา รวมทั้งไดรับการรับรองจากคณะลูกขุน จะถูกนําเผยแพรตอสาธารณชนทั่วไป

(7) การประเมินผลกระบวนการ (evaluation) ลูกขุนพลเมืองจะเปนผูประเมินกระบวนการและการทํางานสวนตางๆ รวมไปถึงคณะทํางาน โดยส่ิงสําคัญที่สุดที่กระบวนการตองการเสียงสะทอนจากลูกขุนแตละคน คือ ความรูสึกตอกระบวนการ โดยเฉพาะความรู สึกวากระบวนการมีอคติแอบแฝงอยูหรือไม ผลของการประเมินและความคิดเห็นของลูกขุนแตละคนจะถูกบรรจุเปนเน้ือหาสวนหน่ึงของรายงานฉบับสมบูรณดวย

ปจจุบันการใชคณะลูกขุนพลเมืองแพรหลายอยใูนหลายประ เทศ ตั้ ง แต อั งกฤษ สวี เดน เอสโท เ นีย เนเธอรแลนด แคนาดา สหรัฐอเมริกา บางเมืองในอินเดีย ออสเตรเลีย บราซิล นิวซีแลนด เกาหลีใต ครอบคลุมขอบเขตตั้งแตเมืองเล็กๆ ไปจนถึงปญหาระหวางประเทศ อยางการจัดการ ลุม นํ้า ในสวี เดน เอสโทเ นีย และเนเธอรแลนด

2) สภาพลเมือง (Citizens Assemblies)

สภาพลเมืองพัฒนาขึ้นโดยพรรคเสรี (Liberal Party) ของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา3 เพื่อใชในกระบวนการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง โดยการนําตัวแทนประชาชนที่ไดจากการสุมตัวอยางตามหลักความนาจะเปน

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 10: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

10 บทความวิชาการ

(random sampling) ประกอบดวยผูชาย 1 คน ผูหญิง 1 คน จากทุกเขตเลือกตั้งภายในมลรัฐ ซ่ึงในกรณีการประปฏิรูประบบเลือกตั้งของมลรัฐบริติชโคลัมเบียมีผูไดรับการสุมเลือกมาทั้งส้ิน 161 คน (รวมโควตาที่จัดสรรใหกับตัวแทนประชาชนที่ เปนชนเผาพื้นเมือง 2 ที่ น่ัง และประธานสภาอีก 1 คน)

กระบวนการคัดเลือกสมาชิกสภาพลเมืองมีขั้นตอน ดังน้ี

(1) การสุมตัวอยางแบบชวงชั้นโดยใชอายุเปนเกณฑกําหนด (age stratified) จากประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้งในแตละเขต และเชิญประชาชนที่ไดรับการสุมเลือกเขารวมประชุมซ่ึงจัดขึ้นในเขตเลือกตั้งน้ันๆ

(2) ในการประชุม คณะทํางานที่รับผิดชอบการจัดกระบวนการสภาพลเมืองจะทําการชี้แจงวัตถุประสงค รูปแบบ วิธีการ และขอมูลสําคัญเก่ียวกับสภาพลเมือง โดยเนนย้ําใหผูไดรับการสุมเลือกทราบวา สมาชิกสภาพลเมืองตองเขารวมกิจกรรมและปฏิบัติหนาที่ในชวงวันหยุดสุดสัปดาหเปนเวลา 12 สัปดาห โดยการประชุมและกิจกรรมตางๆ จะจัดขึ้นที่เมืองแวนคูเวอร

(3) เมื่อประชาชนที่ไดรับเชิญไดรับทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนตางๆ อยางครบถวนแลว รายชื่อของประชาชนที่สมัครใจเขารวมเปนสมาชิกสภาพลเมืองจะถูกใสลงในหมวก จากน้ันจะมีการจับชื่อผูไดรับเลือกเปนสมาชิกสภาพลเมืองของเขตเลือกตั้งน้ันๆ ขึ้นมาเปนชาย 1 คน และหญิง 1 คน

(4) กระบวนการตั้งแตขอ 1-3 จะถูกดําเนินการในรูปแบบเดียวกันในทุกเขตเลือกตั้งจนครบทั้ง 79 เขต

กระบวนการสุมเลือกสมาชิกสภาพลเมืองหลายขั้นตอนที่กลาวมา ทําใหมั่นใจไดวาสภาพลเมืองที่จัดตั้งขึ้นประกอบดวยสัดสวนสมาชิกที่มีการกระจายไปตามชวงอายุและอาชีพซ่ึงเปนภาพจําลององคประกอบของประชาชนในมลรัฐไดในระดับหน่ึง นอกจากน้ี การกําหนดใหมีตัวแทนผูชาย 1 คน ผูหญิง 1 คน เทากันในแตละเขต สะทอนถึงการคํานึงถึงความเสมอภาคกันของหญิง-ชายไดเปนอยางดี ยิ่งไปกวาน้ัน ขั้นตอนที่เปดโอกาสใหประชาชนที่ไดรับการสุมเลือกแสดงเจตจํานงของตนเองโดยความสมัครใจเขารวมกระบวนการที่ตองใชเวลาตลอดทั้งปทั้งการเขารวมศึกษาเรียนรู พิจารณาไตรตรอง และตัดสินใจในชวงสุดสัปดาหถึง 12 คร้ัง และการเขารวมเวทีรับฟงความคิดเห็นประชาชนอีกหลายคร้ัง แสดงใหเห็นวาสมาชิกสภาพลเมือง

ทุกคนที่ไดรับเลือกจากกระบวนการมีความยินดีและเต็มใจในการทําหนาที่และปฏิบัติภารกิจอันหนักหนาน้ี

กระบวนการของสภาพลเมืองมีการแบงการดําเนินการเปน 3 ระยะ ดังน้ี

ระยะที่ 1 การเรียนรู (learning) เปนชวงที่ประชาชนที่ไดจากการสุมตัวอยางเขามาเปนสมาชิกสภาพลเมื อง เขา สูกระบวนการแลกเป ล่ียน เ รียน รู กับผูเชี่ยวชาญในดานตางๆ ที่เก่ียวของ

ระยะที่ 2 การรับฟงความคิดเห็นจากประชาชน (public hearing) เปนชวงที่สมาชิกสภาพลเมืองจะไดเรียนรูเก่ียวกับปญหาตางๆ ในบริบทของแตละทองถิ่นผานกรระบวนการรับฟงความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที ่

ระยะที่ 3 การปรึกษาหารือ (deliberation) เปนชวงเวลาที่สมาชิกสภาพลเมืองมารวมพูดคุยเพื่อสังเคราะหส่ิงที่สมาชิกไดเรียนรูจากระยะที่ 1 และ 2 และจัดทําขอเสนอแนะตอสาธารณะ เพื่อนําไปสูการลงคะแนนเสียงตอไป

ในกรณีสภาพลเมืองเพื่อการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ.2004 การดําเนินการระยะที่ 1 เกิดขึ้นในชวง 3 เดือนแรก โดยสมาชิกสภาพลเมืองเขาสูกระบวนการเรียนรูในเร่ืองระบบการเลือกตั้งและกระบวนการทางการเมืองการปกครองในชวงสุดสัปดาห รวม 6 คร้ัง จากน้ันในชวง 6 เดือนตอมา สมาชิกสภาพลเมืองแตละคนไดไปเขารวมเวทีสาธารณะซ่ึงจัดขึ้นในพื้นที่ตางๆ ทั่วทั้งมลรัฐ เพื่อรับฟงความคิดเห็นของประชาชนที่เขารวมเวทีและนําขอเสนอที่ประชาชนสงใหแกสภาพลเมืองมาพิจารณา ในชวงสามเดือนสุดทายของป สมาชิกสภาพลเมืองใชเวลามารวมกระบวนการปรึกษาหารือในชวงสุดสัปดาห อีก 6 คร้ัง เพื่อตัดสินใจวามลรัฐบริติชโคลัมเบียตองการระบบการเลือกตั้งใหมหรือไม และถาระบบการเลือกตั้งใหมเปนส่ิงจําเปน ระบบใดที่มีความเหมาะสมและสมควรนํามาใช

การจัดกระบวนการในรูปแบบสภาพลเมืองอาจถูกวิจารณโดยเฉพาะในเร่ืองความรูความสามารถของสมาชิกสภาพลเมืองที่เกือบทั้งหมดเปนประชาชนธรรมดาที่อาจจะไมมีความรูในเร่ืองที่ไดรับมอบหมายใหเรียนรู รับฟง และตัดสินใจมากนัก ดังเชนกรณีของมลรัฐบริติชโคลัมเบียที่ เปนการพิจารณาเร่ืองระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสม ซ่ึงเปนเร่ืองที่ซับซอนและตองการความรูทาง

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 11: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

11

วิชาการคอนขางมาก ในชวงแรกของการดําเนินการ สภาพลเมืองของมลรัฐบริติชโคลัมเบียถูกตั้ งคําถามจากส่ือมวลชนเก่ียวกับความสามารถของสมาชิกในการเรียนรูและทําความเขาใจกับความซับซอนของระบบการเลือกตั้งและผลลัพธของการนําระบบการเลือกตั้งแตละระบบมาใช อยางไรก็ตาม เมื่อกระบวนการตางๆ ของสภาพลเมืองขับเคล่ือนไป เสียงวิพากษวิจารณจากส่ือมวลชนคอยๆ เปล่ียนไปในทางชื่นชมและประทับใจกับประเด็นสาระที่สภาพลเมืองหยิบยกขึ้นมาอภิปราย ทําใหความเชื่อถือศรัทธาในความสามารถของประชาชนธรรมดาๆ ที่เขามาทําหนาที่สมาชิกสภาพลเมืองคอยๆ เพิ่มมากขึ้นตามลําดับ สะทอนใหเห็นวาทัศนคติเชิงบวกที่สาธารณะมีตอสมาชิกและกระบวนการของสภาพลเมืองเปนปจจัยที่มคีวามสําคญัยิ่งในการชี้วัดความสําเร็จของสภาพลเมือง

ประสบการณการนํากระบวนการสภาพลเมืองไปใชเร่ิมปรากฏเพิ่มขึ้นเร่ือยๆ ในพื้นที่อ่ืนๆ ของประเทศแคนาดาเชน โตรอนโต และทั่วโลก เชน เนเธอรแลนด

3) การประชมุเมอืง (Town Meeting)

การประชุม เมื อง ในฐานะ รูปแบบหน่ึงของกระบวนการไตรตรองรวมกันสาธารณะในที่น้ีมีความหมายเฉพาะ ครอบคลุมกระบวนการที่มีชื่อวา 21st Century Town Meeting4 ซ่ึงพัฒนาขึ้นโดย AmericSpeaks Center ใหเปนรูปแบบที่เปนการนําประชาชนกลุมตางๆ ที่มีความหลากหลายทางประชากร และ เปนต ัวแทนก ลุมผลประโยชน/กลุมตามสภาพปญหาจํานวนมากตั้งแตหลายรอยคนจนถึงประมาณ 5,000 คนเขามารวมอภิปรายเก่ียวกับประเด็นปญหาและพิจารณาหาทางออกในการประชุมกลุมยอย ซ่ึงโดยทั่วไปจะใชเวลา 1 วันเต็ม โดยในการประชุมจะมีการเตรียมขอมูลพื้นฐานเก่ียวกับปญหาที่เปนกลางและมีความสมดุลกันของแหลงขอมูล เพื่อใหผูเขารวมประชุมนําไปใชประกอบการอภิปรายและพิจารณาทางเลือก พรอมทั้งมีการเชิญผูเชี่ยวชาญและผูกําหนดนโยบายมานําเสนอขอมูลดังกลาวตอผูเขารวมประชุมในแตละกลุมยอยดวย ผลจากการสนทนาอภิปรายเลือกเปล่ียนความคิดเห็นกันในแตละกลุมจะมีการแบงปนใหกลุมใหญไดรับทราบผานระบบเชื่อมโยงโครงขายจากเคร่ืองคอมพิวเตอรที่มีการติดตั้งประจําในแตละกลุมยอย ซ่ึงที่เคร่ืองคอมพิวเตอรจะมีการตดิตั้งแปนพิมพแบบไรสาย

สําหรับลงมติ (wireless keypad polling) ไวดวย จากน้ันจะมีการประมวลผลขอมูล จัดลําดับความสําคัญ และรายงานตอผูกําหนดนโยบายเมื่อการพูดคุยในวันดังกลาวส้ินสุดลง

การประชุมเมืองเหมาะสําหรับใชระหวางที่นโยบายสาธารณะกําลังอยูระหวางการพิจารณา ซ่ึงเปนชวงเวลาที่พื้นที่ทางการเมืองกําลังเปดโอกาสสําหรับใหทุกคนสามารถแสดงความตองการ ผานการสํารวจความคิดเห็นของคนกลุมตางๆ (cross section of public) ทําใหไดขอมูลเชิงลึกที่เก่ียวพันกับประเด็นสาธารณะ การสํารวจความคิดเห็นของประชาชนที่เขารวมกระบวนการทุกคนยังทําใหทุกคนมั่นใจวาเสียงของพวกเขาซ่ึงเปนเสียงสวนใหญไดรับฟงและเปนเสียงประชามติที่แทจริง ไมมีเร่ืองพรรคพวก เพื่อนพอง หรือนักการเมืองเขามาเก่ียวของ การประชุมเมืองจึงเปนแนวคิดในการเปดพื้นที่สําหรับการพูดคุย ถกเถียง และอภิปรายที่เสียงของผูเขามามีสวนรวมทุกคนมีความเทาเทียมกัน

นอกจากน้ี เมื่อพิจารณาจากบริบท การประชุมเมืองจะเปนประโยชนอยางมากเมื่อนําไปใชในการตัดสินใจรวมกันของทุกฝายที่อาจอยูกระจัดกระจายไปตามสภาพภูมิประเทศขนาดใหญ โดยการนําเทคโนโลยีการส่ือสารทางโทรศัพทผานกลองวีดีโอระบบดาวเทียมมาใช ทําใหสามารถเชื่อมโยงและจัดการประชุมไดในเวลาเดียวกัน และสามารถแลกเปล่ียนขอมูลพรอมๆ กันไดในหลายจุด ซ่ึงนําไปสูกระบวนการปรึกษาหารือพรอมกันได

ขั้นตอนของการจัดการประชุมเมืองมี 4 ขั้นตอน เร่ิมจาก (1) การจัดเตรียมขอมูลเชิงบริบท (2) การกําหนดความสําคัญของปญหา (3) การพัฒนาขอเสนอแนะ และ (4) การนําเสนอรายงานสรุปผลการประชุม ในตอนทายของการประชุม ความคิดเห็นที่แสดงออกมาจะถูกจัดเปนกลุมใหญตามตัวแทนของประชากรทั้งหมด ซ่ึงเปนกลุมยอยระหวางกลุม มีการบันทึกในประวัติการทํางาน และการใชงานตามจริงของผูประชุมในการประชุมเมืองทั้งหมด ไมวาจะเปนผูประชุมที่เลิกประชุมกอน หรือ ผูประชุมที่มีสวนรวมในการประชุมตลอดงาน ขณะที่ผูมีอํานาจในการตัดสินใจที่ เขามารวมประชุม จะเปนผูใหคําแนะนํา ขอเสนอแนะ

ในวันงานประชุม (Town Hall Event) การประชุม4 รายะละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ 21st Century Town Meeting สามารถดูเพิ่มเติมไดใน Lukensmeyer (2005) และทางเว็บไซต www.kbs-frb.be และ www.viWTA.be

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 12: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

12 บทความวิชาการ

เมืองจะเร่ิมตนดวยการตอนรับผูสนับสนุน การกลาวเปดเวทีส้ันๆ โดยผูนําทางการเมืองเพื่อทําความเขาใจเบื้องตนเก่ียวกับประเด็นที่จะนําเขาสูกระบวนการปรึกษาหารือรวมกัน จากน้ันผูเขาประชุมทําการตอบคําถามขอมูลประชากรโดยใชปุมกดสําหรับลงมติ (keypad polling) เพื่อสรางความคุนเคยกับเคร่ืองมือที่จะนํามาใชในกระบวนการ พรอมๆ ไปกับการทําใหผูเขารวมการประชุมไดทราบขอมูลในเบื้องตนวามีใครที่เขามาอยูในหองประชุมรวมกับตนบาง จําแนกตามอายุ เพศ เชื้อชาติ รายได ภูมิประเทศ และตัวแปรอ่ืนๆ ที่เก่ียวของกับประเด็นที่จะอภิปราย

กอนที่จะทํากระบวนการปรึกษาหารือจะตองมีการกําหนดความชัดเจนวา อะไรคือประเด็นหัวขอที่สําคัญที่กําลังพิจารณา กลาวคือ การประชุมเมืองตองการกําหนดลําดับแนวคิด และความสนใจของผูเขาประชุมกอน-หลัง รูปแบบของการประชุมเมืองน้ัน จะมีอุปสรรคมากถาผูเขารวมประชุมไมสามารถเขาใจประเด็นไดอยางชัดเจน การอภิปรายเพื่อทําความเขาใจกับประเด็นจะอยูบนพื้นฐานของกระบวนการปรึกษาหารือประมาณ 4-5 ชั่วโมง

ระหวางการจัดการประชุมตามรูปแบบการประชุมเมือง ผูเขารวมประชุมจะอยูในกลุมเล็กแบงตามโตะอภิปราย ซ่ึงโตะอภิปรายจะมีผูประชุมที่หลากหลาย แบงตามระดับอาชีพ ขนาดของกลุม (10-12 คนตอ 1 โตะ) มีพื้นที่ปลอดภัย (safe space) ในการเรียนรูซ่ึงกันและกัน สามารถโตตอบแนวคิด รับรูขอเท็จจริงจากการแสดงความคิดเห็น และสุดทายที่เปนความคาดหวังของสูงสุดของงาน คือการไดแนวคิดรวมกัน (collective view) ซ่ึงเปนการแสดงถึงการบูรณาการมุมมอง และแนวความคิดของแตละคน ดังน้ัน ผูเอ้ือกระบวนการ (facilitator) ตองมั่นใจไดวาทุกคนที่เขารวมประชุมมีโอกาสในการแสดงการมีสวนรวมตามกระบวนการความเปนประชาธิปไตย

อาสาสมัครจะดําเนินการจดบันทึกการประชุมโดยใชเครือขายคอมพิวเตอรที่มีอยูตามแตละโตะประชุม มีกระดาน Flipchart อิเล็กทรอนิกส เพื่อทําการบันทึกแนวความคิดที่ เกิดขึ้นตลอดเวลาในชวงการอภิปราย ขอมูลที่เก็บไดจะสงผานระบบคอมพิวเตอรไปยังทีมสรุปประเด็นซ่ึงจะทําการจัดลําดับขอมูลกอน-หลัง ขอแนะนําที่บงชี้เจาะจงจะไดรับการจัดเก็บตลอดการประชุม จะเปนกระบวนการทํางานแบบตอบสนอง และโตตอบ เพื่อใหเกิดความชัดเจนและมีการปรับเปล่ียนเปนระยะ ซ่ึงนําไปสูกระบวนการสุดทาย คือ การออกเสียง (voting) การสาน

เสวนาระหวางกลุมขนาดเล็ก และใหญจะอยูในลักษณะ “กลับไป-กลับมา” (Back and Forth) ตอเน่ืองตลอดเวลา เพื่อนําไปสูการพัฒนาขอแนะนํา

การออกเสียงของผูเขาประชุมผานระบบการออกเสียงแบบไรสายดวยปุมกดจะมีขึ้นตั้งแตการประชุม ปุมกด (keypad) จะถูกใชในหลายๆ กิจกรรมที่เก่ียวของกับการออกเสียงตลอดการประชุม เชน ผูเขาประชุมระบุหัวขอคําแนะนําที่พึงพอใจ การตัดสินใจในประเด็นหัวขอที่จะประชุมคร้ังตอไป การเก็บขอมูลทางประชากร และการประเมินผลการประชุม คอมพิวเตอรและปุมกดเพื่อออกเสียงที่ทํางานรวมกันจะชวยใหไดขอมูลที่สามารถจําแนกตามกลุมประชากร ซ่ึงมีคุณคาอยางยิ่งสําหรับผูมีอํานาจตัดสินใจ และสะดวกสําหรับส่ือมวลชนในการนําไปพัฒนาเปนเร่ืองราวเพื่อเผยแพรตอสาธารณะในวงกวางตอไป นอกจากน้ี ปุมกดเพื่อออกเสียงยังทําใหเกิดความโปรงใสตลอดการประชุม และสามารถทําใหผูเขาประชุมไดเห็นวาเสียง (voices) หรือความตองการของพวกเขากําลังไดรับฟงจากผูมีอํานาจตัดสินใจและผูเขารวมประชุมคนอ่ืนๆ

ผูเอ้ือกระบวนการจะเปนผูนําโครงการ ตั้งแตการจัดเวทีที่ตองมีจอภาพวีดีโอขนาดใหญสามารถแสดงขอมูลโครงการประเด็นหัวขอหรือสาระสําคัญ (theme) ขอมูลจะแสดงผล และเก็บขอมูลทันที เมื่อขอมูลของผูเขาประชุมแสดงบนจอภาพ ผูเขาประชุมจะไดรับ feedback ทันที ผลการประชุมจากโตะอภิปรายจะถูกปรับใหเหมาะสมตลอดการประชุม การใชจอภาพขนาดใหญจะทําใหทุกคนสามารถเขาถึง และเห็นขอมูลทั้งหมดพรอมกัน ทําใหสามารถพัฒนาเน้ือหารวมกันไดอยางละเอียด ทีละเล็กละนอยไดตลอดทั้งวัน

การแสดงรายงานการประชุม จะใชเวลา 30 นาทีในการประเมินตอวัน และมีการทบทวนขั้นตอนตอไป รวมทั้งมีเวลาใหแกผูมีอํานาจในการตัดสินใจ เพื่อแสดงความคิดเห็นวาอะไรที่พวกเขาไดยินจากผูเขาประชุม ในการปดการประชุม ทีมงานที่ทําหนาที่เก็บประเด็นจะรางรายงานเบื้องตนจากขอคนพบ ประกอบดวยรายละเอียดของผลการประชุม และประเด็นที่เกิดขึ้นจากผูเขารวมประชุมผานการกดปุมเพื่อออกเสียง ทั้งน้ี ผูเขาประชุมทุกคน ผูมีอํานาจตัดสินใจ และนักหนังสือพิมพจะไดรับรายงานดังกลาวทันทเีมื่อออกจากการประชุม

ที่ผานมา มีการนํา 21st Century Town Meeting ไปใชในกระบวนการรวมไตตรองนโยบายสาธารณะที่

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 13: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

13

คอนขางหลากหลาย เชน การเสวนาระดับชาติเร่ืองการประกันสังคม การวางแผนฟนฟูและพัฒนาพื้นที่ตึก World Trade Center ในมหานครนิวยอรก และการจัดประชุมวางแผนยุทธศาสตรของวอชิงตัน ดี.ซี. (ที่จัดขึ้นเปนประจําปละ 2 คร้ัง) เปนตน สรุป: บทเรียนและแงคิดสําหรับการพัฒนานโยบายสาธารณะในประเทศไทย

บทเรียนที่ไดรับจากการสํารวจและประมวลองคความรูเก่ียวกับกระบวนการและเคร่ืองมือที่อาศัยหลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือทั้งสามรูปแบบ แสดงใหเห็นคุณลักษณะสําคัญที่กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะทุกรูปแบบมีเหมือนกันอยางนอย 5 ประการ กลาวคือ ประการแรก กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะตองมีการนําเน้ือหาสาระที่เปนกลางและสมดุลเขาสูกระบวนการตัดสินใจอยางเพียงพอ ประการที่สอง ถึงแมวากระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะแตละรูปแบบจะกําหนดจํานวนผูเขารวมไวไมเทากัน แตในการดําเนินกระบวนการปรึกษาหารือรวมกันจําเปนตองอาศัยการจัดกระบวนการพูดคุยในกลุมขนาดเล็ก เพื่อใหผูเขารวมกระบวนการไดมีสวนรวมอยางเต็มที่และทั่วถึงในการแสดงความคิดเห็น รับฟง และทํางานรวมกับผูอ่ืน ประการที่สาม กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะทั้งสามรูปแบบมุง เนนใหผู เขารวมทําการพิจารณาไตรตรองผานกระบวนการเรียนรูจากแงคิดมุมมองที่รอบดานกอนตัดสินใจ ประการที่สี่ กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะจําเปนตองมีการนําเสนอองคความรูใหมๆ ใหแกผูเขารวมกระบวนการอยางครบถวน และลึกซ้ึง กอนที่จะมีการกําหนดมาตรการการแกไขปญหาหรือใหขอเสนอแนะตอประเด็นปญหาที่รวมกันพิจารณาน้ัน ประการสุดทาย กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะทั้งสามรูปแบบมีการเผยแพรผลที่ไดจากกระบวนการตอผูเ ก่ียวของ และสาธารณชนในวงกวางเพื่อการเรียนรูรวมกัน

ดังน้ัน ในการพิจารณาประยุกตใชรูปแบบของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือกับบริบทของประเทศไทยในประเด็นตางๆ จําเปนตองรักษาคุณลักษณะสําคัญทั้งหาประการไว ในกระบวนการ เสมอ นอกจาก น้ี จ ากประสบการณการนํากระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะแตละรูปแบบไปใชในประเทศตางๆ แสดงใหเห็นถึงส่ิงที่ผูที่

ตองการนําแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปสูการปฏิบัติตองคํานึงถึงอยูหลายประการ ดังน้ี

1) การคัดเลือกตัวแทนประชาชนเขาสูกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะจําเปนอยางยิ่งที่จะตองดําเนินการผานกลุม องคกร และเครือขายที่หลากหลายในพื้นที่ตามแตระดับของปญหาที่ดําเนินการอยู เพื่อใหเกิดการยอมรับในความเปนตัวแทนของบุคคลที่ไดรับการคัดเลือก และทําใหกระบวนการปรึกษาหารือที่เกิดขึ้นเปนที่รวมของประชาชนที่หลากหลายในพื้นที่น้ันๆ อยางแทจริง

2) การจัดกระบวนการปรึกษาหารือตองอาศัยรูปแบบและวิธีการการสรางการมีสวนรวมที่เหมาะสมและหลากหลาย ตั้งแตการจัดเตรียมขอมูลที่จําเปนสําหรับการตัดสินใจอยางเปนระบบและสามารถนําเสนอใหผูเขารวมกระบวนการเกิดความเขาใจไดงาย การระดมความคิดเห็นในกลุมขนาดเล็กเพื่อความลึกซ้ึงในการแลกเปล่ียนเรียนรูระหวางผูเขารวมกระบวนการ การสนทนาแลกเปล่ียนความคิดเห็นในกลุมใหญ ไปจนถึงการมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการนําผลของกระบวนการปรึกษาหารือไปสูการปฏิบัติ

3) การจัดกระบวนการที่เปดกวางและเปดโอกาสใหผูเขารวมสามารถเปรียบเทียบความรู ประสบการณ และคานิยมของตัวเองกับประชาชนคนอ่ืน สามารถชั่งนํ้าหนักขอดี-ขอเสียของทางเลือกเชิงนโยบายที่มีขอมูลสนับสนุนอยางรอบดานและเพียงพอแกการตัดสินใจ

4) ผลที่ไดจากกระบวนการปรึกษาหารือตองมีความหมายและนําไปสูการเปล่ียนแปลงซ่ึงมีผลกระทบในวงกวาง ซ่ึงการเปล่ียนแปลงดังกลาวอาจเกิดขึ้นไดโดยหลายวิธี เชน การผลักดันขอเรียกรองและความตองการของประชาชนเขาสูกระบวนการนโยบายสาธารณะและการวางแผนพัฒนาตางๆ การกระตุนใหเกิดการเปล่ียนแปลงเชิงโครงสรางในองคกรที่เก่ียวของ การสรางคณะทํางานขึ้นมาเพื่อทําหนาที่อยางใดอยางหน่ึงเก่ียวกับส่ิงที่ไดตัดสินใจรวมกัน ซ่ึงจะเปนการสรางแรงบันดาลใจและเปนชองทางเชื่อมโยงประชาชนผูมีจิตอาสาใหเขามาทํางานรวมกันโดยไมตองรอการตอบสนองจากผูกําหนดนโยบายภาครัฐ

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Page 14: การพัฒนานโยบายสาธารณะโดย ...sms-stou.org/pr/media/journal/article/57-2/57-2-article1.pdf2 บทความว ชาการ 1ด

14 บทความวิชาการ

บรรณานุกรม

บูฆอรี ยีหมะ. (2551). การบริหารจัดการทองถิ่นดวยแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ. วารสารพัฒนาทองถิ่น, 3 (2), 11–24.

พัชรี สิโรรส. (ม.ป.ป.)การเสริมสรางประชาธิปไตยแบบปรึกษา หารือ (deliberative democracy). คนเม่ือ 1 สิงหาคม 2557, จาก www.polsci.tu.ac.th/epa/p3.pdf

พิชญ พงษสวัสด์ิ. (8 กุมภาพันธ 2549). ประชาธปิไตยแบบปรึกษาหารือ: บททดลองเสนอ. คม ชัด ลึก, 5, หนา 4.

ไชยันต ไชยพร. (20 พฤศจิกายน 2549). แนวคิด Deliberative Democracy and Deliberative Polls (1). กรุงเทพธุรกิจ, 19, หนา 15.

ไชยันต ไชยพร. (4 ธันวาคม 2549). แนวคิด Deliberative Democracy and Deliberative Polls (2). กรุงเทพธุรกิจ,19, หนา 12.

British Columbia Citizens’ Assembly on Electoral Reform. (2004). Making Every Vote Count: the Case for Electoral Reform in British Columbia. British Columbia, Vancouver: British Columbia Citizens’ Assembly on Electoral Reform.

Carcasson, M. & Sprain, L. (2010). Key Aspects of the Deliberative Democracy Movement. Public Sector Digest (July 2010), Center for Public Deliberation, Colorado State University.

Chick, M. (2013). Deliberation and Civic Studies. Good Society Journal, 22(2), 187-200.

Cohen, J. (1997). Deliberation and Democratic Legitimacy. In Deliberative Democracy: Essays on Reason and Politics, eds. James Bohman and William Rehg. Cambridge, MA: The MIT Press, 67-91.

Crosby, N. & Nethercut, D. (2005). Citizens Juries: Creating a Trustworthy Voice of the People. In Gastil J. & Levine P., (eds). The Deliberative Democracy Handbook: Strategies for Effective Civic Engagement in Twenty-First Century, 111-119. San Francisco: Wiley J. & Sons, Inc.

Dryzek, J. S. (2000). Deliberative Democracy and Beyond: Liberals, Critics, Contestations. Oxford: Oxford University Press.

Dryzek, J. S. & Niemeyer, S. J. (2006). Reconciling pluralism and consensus as political ideals. American Journal of Political Science, 50(3), 634-649.

Escobar, O. (2011). Public Dialogue and Deliberation: A communication perspective for public engagement practitioners. Edinburgh: Edinburgh Beltane, University of Edinburgh.

Fishkin, J. S. (1991). Democracy and deliberation: New directions for democratic reform. New Haven, CT: Yale University Press.

Fishkin, J. S. (2009). When the People Speak: Deliberative Democracy and Public Consultation. New York: University Press.

Gastil, J. & Dillard, J. P. (1999). Increasing political sophistication through public deliberation. Political Communication, 16 (1), 3-23.

Goodin, R. (2003). Reflective Democracy. Oxford: Oxford University Press.

_______ (2012). Innovative Democracy: Democratic Theory and Practice after the Deliberative Turn.

Le Duc, L. (2006). Referendums and Deliberative Democracy. Paper presented to the World Congress of the International Political Science Association, Fukuoka, Japan.

Lukensmeyer, C. J. (2005). Participatory Methods Toolkit: A Practitioner’s Manual. Retrieved August 12, 2014, from http://www.kbs-frb.be/uploadedFiles/KBS-FRB/Files/EN/PUB_1540_Toolkit_1_21stCenturyTownMeeting.pdf

Mansbridge, J., Bohman, J., Chambers, S., Estlund, D., Føllesdal, A., Fung, A., et al. (2010). The Place of Self-Interest and the Role of Power in Deliberative Democracy. The Journal of Political Philosophy, 18 (1), 64-100.

Robert, N. (2004). Public Deliberation in an Age of Direct Citizen Participation. The American Review of Public Administration, 34 (4), 315-353.

Sanders, L. M. (1997). Against Deliberation. Political Theory, 25 (3), 347-375.

Schneiderhan, E. & Khan, S. (2008). Reasons and inclusion: The foundation of deliberation. Sociological Theory, 26 (1), 1-24.

วารสารการจัดการสมัยใหม ปที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2557

Why Deliberative Democracy?

Democracy a Di a reeme t

Democracy a Di a reeme t

Why Deliberative Democracy?

msasbthi
Marked set by msasbthi