uality ips EICC-Electronics Industry Code of Conduct ... · Q uality T ips 136 For Quality Vol.15...

4
For Quality July 2008 135 Q uality T ips Q uality T ips >>> ปิยภัทร โตสัจจวงศ์ บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย มาตรฐานใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ในวงการอิเล็กทรอ- นิกส์ นั่นคือ IECC ที่มียักษ์ใหญ่ในวงการนี้ เช่น IBM (Lenovo), Sony, Apple, AMD, Dell และ Microsoft บังคับให้ Supplier นำ ระบบนี้มาใช้ และแน่นอนการตรวจประเมินให้การรับรองจะมี ตามมาทั้งในรูปแบบ Global Contact หรือแบบสมัครใจให้ CB ตรวจให้เอง เริ่มบรรจุขวด เมื่อ 26 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์จับมือกันชู ภาพลักษณ์เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อแรงงาน ส่งผลให้กลุ่ม บริษัทผู้ผลิตตลอดสายอุปทาน (supply chain) ภายใต้ร่มเงาของ ตราสินค้ายอดนิยมเหล่านั้นต้องขยับเนื้อขยับตัวนำระบบบริหาร ใหม่ด้านสังคม หรือแรงงานมาใช้กันอย่างจริงจังมากขึ้น จาก ข้อกำหนดที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการสินค้า Brand Name คือ Code of Conduct ถูกปัดฝุ่นขัดเงาแล้วนำมาเรียกกันใหมเฉพาะวงการนี้คือ EICC จากชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Electronics Industry Code of Conduct ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้แรงงาน สุขภาพ และความปลอดภัยของแรงงาน สิ่งแวดล้อมและการ ประกอบธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา (ethical initiative) ทั้งนี้กลุ่ม บริษัททั้ง 26 ราย ได้แก่ Adobe, AMD, Apple, Dell, Celestica, Cisco Systems, Flextronics, Foxconn, HP, IBM, Intel, Jabil Circuit, Kodak, Lenovo, Microsoft, Philips, Quanta, Sanmina-SCI, Seagate Solection, Sony, ST Micro และ Xerox เป็นต้น ได้ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานกลางขึ้นมา เพื่อจัดทำร่างมาตรฐานและปรับปรุงมาตรฐานนี้ให้ทันสมัยอยูตลอดเวลา EICC-Electronics Industry Code of Conduct “เหล้าเก่าในขวดใหม่” ทำไมต้องเปลี่ยนขวด เริ่มจากคำถามที่ว่าผู้ผลิตหรือ Supplier ของบริษัทในกลุ่มนี้ดีพอหรือยัง พวกที่ดีแล้วยังต้อง ปรับปรุงอีกไหม (เป็นที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปผู้ผลิต หรือ Supplier ของบริษัทในกลุ่มนี้มีมาตรฐาน ISO 9001 กันแล้วเป็นพื้นฐานและส่วนใหญ่มีมาตรฐาน ISO 14001 หรือมีการควบคุมสารต้องห้ามตาม RoHS Directive) คำตอบที่ได้ คือ ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ แรงงานที่ต้องมีการปรับปรุงอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำ ให้เกิดการจับมือกันทำมาตรฐาน EICC ดังกล่าว วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ คือ การประยุกต์ใช้ข้อกำ- หนดเป็นแบบอย่างเดียวกันทั่วโลกเพื่อปรับปรุงประ- สิทธิผลในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงจะครอบคลุมสภาพการจ้าง สภาพ- แวดล้อมในการทำงาน ผลิตภาพของผู้ผลิตและ สิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชนรอบข้าง (ผู้เขียนมองว่า ภาพรวมก็ไม่ต่างจาก QCDSMEE ที่เคยถูกนำเสนอ เป็นแนวคิดขององค์การแบบ Good Government เมื่อประมาณ 10-15 ปีท่แล้ว) วางขึ้นชั้นโชว์ จากการทำงานร่วมกันภายใต้แนวคิด Global e-Sustainability Initiative: GeSI สิ่งที่จำเป็นต้อง ใช้ในระบบบริหารจัดการ ได้แก่ ข้อกำหนด วิธีการ แนวปฏิบัติ ตลอดจนเครื่องมือประกอบมาตรฐาน EICC ได้ถูกจัดทำขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบ-

Transcript of uality ips EICC-Electronics Industry Code of Conduct ... · Q uality T ips 136 For Quality Vol.15...

For Quality July 2008 135

Quality TipsQuality Tips

>>> ปิยภัทร โตสัจจวงศ์

บริษัทบูโรเวอริทัสเซอทิฟิเคชั่นประเทศไทย

มาตรฐานใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ในวงการอิเล็กทรอ-

นกิส ์นั่นคือ IECC ที่มียักษ์ใหญ่ในวงการนี้ เช่น IBM (Lenovo),

Sony, Apple, AMD, Dell และ Microsoft บังคับให้ Supplier นำ

ระบบนี้มาใช้ และแน่นอนการตรวจประเมินให้การรับรองจะมี

ตามมาทั้งในรูปแบบ Global Contact หรือแบบสมัครใจให้ CB

ตรวจให้เอง

เริ่มบรรจุขวด

เมื่อ 26 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์จับมือกันชู

ภาพลักษณ์เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อแรงงาน ส่งผลให้กลุ่ม

บริษัทผู้ผลิตตลอดสายอุปทาน (supply chain) ภายใต้ร่มเงาของ

ตราสินค้ายอดนิยมเหล่านั้นต้องขยับเนื้อขยับตัวนำระบบบริหาร

ใหม่ด้านสังคม หรือแรงงานมาใช้กันอย่างจริงจังมากขึ้น จาก

ข้อกำหนดที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการสินค้า Brand Name

คือ Code of Conduct ถูกปัดฝุ่นขัดเงาแล้วนำมาเรียกกันใหม่

เฉพาะวงการนี้คือ EICC จากชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Electronics

Industry Code of Conduct ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้แรงงาน

สุขภาพ และความปลอดภัยของแรงงาน สิ่งแวดล้อมและการ

ประกอบธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา (ethical initiative) ทั้งนี้กลุ่ม

บริษัททั้ง 26 ราย ได้แก่ Adobe, AMD, Apple, Dell, Celestica,

Cisco Systems, Flextronics, Foxconn, HP, IBM, Intel, Jabil

Circuit, Kodak, Lenovo, Microsoft, Philips, Quanta,

Sanmina-SCI, Seagate Solection, Sony, ST Micro และ

Xerox เป็นต้น ได้ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานกลางขึ้นมา

เพื่อจัดทำร่างมาตรฐานและปรับปรุงมาตรฐานนี้ให้ทันสมัยอยู่

ตลอดเวลา

EICC-Electronics Industry

Code of Conduct

“เหล้าเก่าในขวดใหม่”

ทำไมต้องเปลี่ยนขวด

เริ่มจากคำถามที่ว่าผู้ผลิตหรือ Supplier

ของบริษัทในกลุ่มนี้ดีพอหรือยัง พวกที่ดีแล้วยังต้อง

ปรับปรุงอีกไหม (เป็นที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปผู้ผลิต

หรือ Supplier ของบริษัทในกลุ่มนี้มีมาตรฐาน ISO

9001 กันแล้วเป็นพื้นฐานและส่วนใหญ่มีมาตรฐาน

ISO 14001 หรือมีการควบคุมสารต้องห้ามตาม

RoHS Directive) คำตอบที่ได้ คือ ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ

แรงงานที่ต้องมีการปรับปรุงอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำ

ให้เกิดการจับมือกันทำมาตรฐาน EICC ดังกล่าว

วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ คือ การประยุกต์ใช้ข้อกำ-

หนดเป็นแบบอย่างเดียวกันทั่วโลกเพื่อปรับปรุงประ-

สิทธิผลในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

โดยการปรับปรุงจะครอบคลุมสภาพการจ้าง สภาพ-

แวดล้อมในการทำงาน ผลิตภาพของผู้ผลิตและ

สิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชนรอบข้าง (ผู้เขียนมองว่า

ภาพรวมก็ไม่ต่างจาก QCDSMEE ที่เคยถูกนำเสนอ

เป็นแนวคิดขององค์การแบบ Good Government

เมื่อประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว)

วางขึ้นชั้นโชว์

จากการทำงานร่วมกันภายใต้แนวคิด Global

e-Sustainability Initiative: GeSI สิ่งที่จำเป็นต้อง

ใช้ในระบบบริหารจัดการ ได้แก่ ข้อกำหนด วิธีการ

แนวปฏิบัติ ตลอดจนเครื่องมือประกอบมาตรฐาน

EICC ได้ถูกจัดทำขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบ-

Quality Tips

136 For Quality Vol.15 No.129

สอบถามทั่วไปและแนวการตรวจประเมินตามข้อ-

กำหนด นอกจากนี้คณะทำงานมีโครงการนำร่องที่

ผู้ตรวจประเมินภาคีที่ 3 (third party auditor หรือ

certification body) ตรวจประเมินผู้ผลิตในกลุ่ม

ธุรกิจนี้ตามข้อกำหนด EICC เพื่อนำผลการตรวจ-

ประเมินมาแจกจ่ายให้สมาชิกในกลุ่มทบทวนกัน

ว่ามาตรฐานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่าง

มีประสิทธิผลเพียงไร

ผลจากการตรวจประเมินทั้งที่ดำเนินการ

โดยผู้ตรวจประเมินมือที่สามและการตรวจประเมิน

ตนเองขององค์การ (self assessment) จะได้รับการ

รวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่สมาชิกสามารถ

เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้โดยมีการรักษาความลับ

ขององค์การที่รับการตรวจไว้เป็นอย่างดี เมื่อเป็น

เช่นนี้ทั้งผู้ผลิต ผู้รับจ้าง และลูกค้าตลอดสาย

อุปทานสามารถทวนสอบข้อมูลซึ่งกันและกันได้

รวมทั้งสามารถนำส่วนที่เป็น Best Practice ไปใช้

เป็นแบบอย่างของระบบบริหารขององค์การเองได้

ด้วย

ทั้งนี้คณะทำงาน EICC มองว่าการตรวจ-

ประเมินแบบเดิมที่ไม่มีการแชร์ข้อมูลของผู้รับการ

ตรวจประเมิน มีแต่การการันตีในเชิงองค์การตาม

ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ยังไม่สามารถ

แสดงถึงการปรับปรุงอย่างยั่งยืนขององค์การที่รับ

ตรวจได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การดำเนินการตรวจ-

ประเมินและแบ่งปันข้อมูลผลการตรวจกันในกลุ่ม

จะส่งผลให้เกิดกระแสการปรับตัวอย่างสูงในบรรดา

บริษัทในสายอุปทานโดยมีระบบบริหารจัดการใน

พื้นฐานเดียวกัน

จากการทำงานร่วมกันของกลุ่ม EICC ใน

ช่วงเวลาสั้น ๆ EICC สามารถบรรลุเป้าหมายของ

กลุ่มผู้ถือหุ้นในระดับที่น่าพอใจ รวมทั้งสามารถ

กำหนดแนวการดำเนินงานที่ชัดเจนของโครงการนี้

ให้กับองค์การในกลุ่มได้ ในลำดับต่อไปกลุ่ม EICC

จะทำงานอย่างต่อเนื่องในการให้ข้อมูลความคืบหน้า

ของโครงการทั้งในเชิงของการประยุกต์ใช้ Code ให้แก่องค์การ

สมาชิกในกลุ่มและการจัดทำเครื่องมือต่าง ๆ ให้แก่กลุ่มเพื่อ

ประโยชน์ในการนำข้อกำหนด IECC ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Brad Bennett ประธานกลุ่ม EICC กล่าวว่า “เมื่อ EICC

เริ่มต้นทำงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 องค์การผู้ก่อตั้งตระหนักดีว่าเรา

ต่างมาจากหลากหลายที่มา แต่เราสามารถบรรลุความสำเร็จ

ในเชิงของการพัฒนาได้เช่นเดียวกันด้วยการทำงานร่วมกัน

จากความตั้งใจจริงนี้เราจึงให้ความสำคัญกับความต้องการพื้น-

ฐานในความรับผิดชอบด้านสังคมและการรวมตัวกันครั้งนี้ไม่ได้

เกิดเนื่องจากความแตกต่างของเรา แต่เป็นความต้องการที่จะ

เจริญเติบโตต่อไปต่างหาก”

ข้อกำหนดด้านแรงงาน

● สภาพการจ้างงานต้องเป็นไปโดยสมัครใจ องค์การ

ต้องไม่สนับสนุนและไม่บังคับแรงงานทั้งโดยตรงด้วยการใช้

แรงงานทาส แรงงานนักโทษ หรือโดยอ้อมด้วยการยึดเอกสาร

สำคัญประจำตัว

● องค์การต้องไม่ใช้และไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก

ทั้งนี้แรงงานเด็ก คือ ผู้ที่เป็นเด็กตามที่กฎหมายในประเทศ

กำหนด ทั้งนี้รวมถึงไม่มีการจ้างฝึกงานแทนการจ้างงานจริง

ตามกฎหมาย สำหรับแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องไม่

ทำงานในสภาพอันตราย งานกลางคืน รวมทั้งได้รับการ

สนับสนุนให้เรียนตามที่กฎหมายกำหนดเป็นภาค-

บังคับ

● เวลาทำงานต้องไม่เกินจากที่กฎหมาย

ท้องถิ่นกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ชั่วโมงทำงานต้อง

ไม่เกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยคิดเวลาทำงาน

ปกติรวมกับล่วงเวลา ยกเว้นกรณีจำเป็น วันหยุดใน

รอบสัปดาห์ 1 วันเป็นอย่างน้อย

ข้อกำหนดด้านแรงงาน

● การจ่ายค่าตอบแทนต้อง

เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ค่า-

ตอบแทนในการทำงานล่วงเวลาต้อง

เป็นไปอัตราพิเศษตามกฎหมาย

For Quality July 2008 137

Quality Tips

กำหนด องค์การไม่สามารถหักค่าตอบแทนเพื่อเป็นการลงโทษ

นอกจากนี้องค์การต้องแจงรายละเอียดของค่าตอบแทนเป็น

เอกสาร

● การลงโทษต้องไม่ทำโดยการทำร้ายร่างกาย ต้องไม่

กระทำ หรือสนับสนุนการกดขี่ข่มเหงทางร่ายกายและจิตใจ

ตลอดจนการกดขี่ทางเพศ

● องค์การต้องไม่กระทำ หรือสนับสนุนให้มีการแบ่งแยก

หรือเลือกที่รักมักที่ชังโดยเชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว อายุ เพศ ความ-

นิยมทางเพศ เผ่าพันธุ์ ความบกพร่องทางร่างกาย การตั้งครรภ์

ศาสนา การเป็นสมาชิกภาพและสถานภาพสมรส โดยส่งผลให้

เกิดความเหลี่ยมล้ำกันในสภาพการจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง การ

โยกย้าย การให้รางวัลตลอดจนการให้การอบรม นอกจากนี้

องค์การต้องไม่ใช้ผลตรวจร่างกายในการแบ่งแยก หรือเลือกปฏิบัติ

เช่นกัน

● พนักงานมีสิทธิในการชุมนุม รวมกลุ่มและการสื่อสาร

กันอย่างเปิดเผยโดยไม่ได้รับการกีดกันจากองค์การ ทั้งนี้ภายใต้

เสรีภาพที่กฎหมายกำหนด องค์การต้องจัดการให้มีการสื่อสาร

กับพนักงานได้อย่างมีประสิทธิผลเพื่อแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน

โดยพนักงานต้องไม่ตกอยู่ภายใต้สภาพบังคับ

ข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย

● องค์การต้องจัดการให้เกิดความปลอดภัยใน

การทำงาน โดยพนักงานที่ทำงานท่ีมีความเสี่ยงอันตราย

ต้องได้รับการป้องกันอย่างเหมาะสม หากจุดอันตราย

ไม่สามารถป้องกันได้ทางวิศวกรรม ขั้นตอนการทำงาน

การบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน หรือการใช้สัญลักษณ์

พนักงานต้องได้รับการป้องกันด้วย PPE ทั้งนี้พนักงาน

ต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

● องค์การต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับ

สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยการระบุเหตุฉุกเฉินและ

การตรวจประเมินความเสี่ยง องค์การ

ต้องจัดทำแผนรับเหตุฉุกเฉินตลอดจน

จัดการซ้อมแผนฉุกเฉินและแผน-

อพยพ ตลอดจนจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจ

จับและระงับเหตุตามความเหมาะสม

● องค์การต้องจัดการตรวจติดตามและ

รายงานเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน ซึ่งประกอบ

ด้วยการรายงานเกี่ยวกับสุขภาพและโรค การแยก

ประเภทโรค การรักษาและบำบัด การประเมินสาเหตุ

และการแก้ไขที่ต้นเหตุ ตลอดจนการกลับเข้าทำงาน

● องค์การต้องระบุการทำงานเกี่ยวกับ

สารเคมี ชีวภาพและกายภาพ ประเมินความเสี่ยง

และควบคุม หากไม่สามารถควบคุมสภาพแวด-

ล้อมในการทำงานกับสภาพอันตรายได้ พนักงาน

ต้องได้รับการสนับสนุน PPE

ข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย

● การทำงานด้านกายภาพที่มีความเสี่ยง

ได้แก่ การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานบนที่สูง

การยกของหนัก ประดาน้ำ ตลอดจนงานที่ต้องยืน

เป็นเวลานานต้องได้รับการทบทวนและควบคุม

● องค์การต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน

เครื่องจักร สวิทช์ตัดการทำงาน ตลอดจนการบำรุง

รักษาตามความเหมาะสม

● องค์การต้องจัดให้มีห้องน้ำสะอาด น้ำ-

ดื่มสะอาด อาหารสะอาด และตู้เก็บสัมภาระ หาก

มีการจัดหอพักให้พนักงาน หอพักต้องสะอาด

ปลอดภัย ตลอดจนมีทางออกฉุกเฉิน การระบาย

อากาศที่ดีและไม่แออัด

ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม

● การขออนุญาตและการจดทะเบียนเพื่อ

ดำเนินการใดที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมต้องเป็นไปตาม

กฎหมาย การตรวจติดตามและรายงานผลต้อง

ดำเนินการตามเวลาที่กำหนด

● ต้องมีแผนลด ละ เลิกของเสียทุกประเภท

รวมทั้งการใช้น้ำและพลังงาน โดยการปรับปรุงกระ-

บวนการผลิต การบำรุงรักษา การใช้วัสดุทดแทน

การใช้ให้คุ้มค่า การนำกลับมาใช้ใหม่ตลอดจนการ

Recycle

Quality Tips

138 For Quality Vol.15 No.129

ฉบับหน้าอ่านต่อ

● หากมีการใช้วัสดุอันตรายและสารเคมี

องค์การต้องกำหนดการจัดการ การเคลื่อนย้าย

การจัดเก็บ การนำกลับมาใช้ รวมทั้งการทำลาย

● องค์การต้องควบคุมและบำบัดก่อนการ

ปล่อยก๊าซหรือไอระเหยของสารประเภท VOC กัด-

กร่อน CFC ตลอดจนสารไวไฟ

● องค์การต้องติดป้าย หรือแสดงด้วยวิธี-

การใดเพื่อให้ทราบถึงสารต้องห้ามตามข้อกำหนด

หรือข้อกฎหมาย ตลอดจนการแสดงการกำจัด หรือ

การนำกลับมาใช้ใหม่ การแสดงดังกล่าวต้องเป็น

ไปตามที่ลูกค้ากำหนดเช่นกัน

ข้อกำหนดด้านการบริหาร

● องค์การต้องแสดงความรับผิดชอบต่อ

สิ่งแวดล้อมและสังคมโดยมุ่งมั่นให้การบริหาร

สอดคล้องต่อข้อกำหนดและมีการปรับปรุงอย่าง

ต่อเนื่อง

● มีผู้บริหาร หรือตัวแทนที่ทำหน้าที่รักษา

ความสอดคล้องของระบบและทบทวนประสิทธิผล

ของระบบบริหารตามระยะเวลาที่กำหนด

● ระบุ ติดตามการเปลี่ยนแปลงและ

ปฏิบัติตามข้อกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

● ระบุและประเมินประเด็นด้านสิ่งแวด-

ล้อมและความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ดำเนินการควบคุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและ

ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ตลอดจนให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดที่

เกี่ยวข้อง

ข้อกำหนดด้านการบริหาร

● องค์การต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ

เกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุ

วัตถุประสงค์ และเป้าหมายนั้น

● ฝึกอบรมพนักงานให้เป็นไปตามนโยบายและบรรลุ-

วัตถุประสงค์

● จัดการสื่อสารให้เหมาะสมทั้งพนักงาน และผู้รับเหมา-

ช่วงให้เป็นไปตามนโยบายและบรรลุวัตถุประสงค์

● มีกระบวนการในรับฟังความเห็นของพนักงานเพื่อให้

สอดคล้องกับข้อกำหนด EICC และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

● จัดการตรวจประเมินภายในเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอด-

คล้องต่อข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

● จัดให้มีขั้นตอนการแก้ไขความไม่สอดคล้องต่อข้อ-

กำหนดที่สาเหตุ (corrective action)

● จัดให้มีเอกสารและบันทึกที่แสดงความสอดคล้องต่อ

ข้อกำหนดและกฎหมาย

ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ

● ยึดถือมาตรฐานสูงสุดในการดำเนินธุรกิจให้มั่นคงโดย

ปราศจากการทุจริต คอร์รัปชัน

● ดำเนินธุรกิจโดยปราศจากการให้ หรือรับสินบนตลอด-

จนการเอารัดเอาเปรียบในลักษณะดังกล่าว

● ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจ

และการเงินตามกฎหมายกำหนด

● ดำเนินธุรกิจโดยไม่ล่วงละเมิดลิขสิทธิ์

● ดำเนินธุรกิจอย่างตรงไปตรงมาทั้งการแข่งขัน และ

ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งดูแลความลับของลูกค้า

● รักษาความลับของพนักงานและผู้รับเหมาช่วง

● สนับสนุนชุมชนเพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจและ

สังคม

เอกสารอ้างอิง

EICC version 2/October 2005