uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา...

7
054 For Quality Vol.15 No.130 Q uality S haring >>> ดร.วินัย ปิติยนต์ ฝ่ายวิชาการ ห้องปฏิบัติการกลาง Central Lab พระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิด ขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑* พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้า พ.ศ. ๒๕๕๑* พระราชบัญญัติพันธุ์พืช แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑* กล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติเหล่านี้ ผ่านสภาฯ ออกมาใชใกล้ ๆ กัน คือ ประมาณต้นปี พ.ศ.2551 และคงเป็นการยากท่จะ ออกมาได้หากอยู่ในสมัยการเมืองปกติ อันเนื่องมาจากแต่ละ พ.ร.บ. เป็นกฎหมายเชิงสาธารณะซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชน วงกว้าง ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคล มากบ้างน้อยบ้าง และบาง- นับจากที่คณะปฏิรูปปกครองแผ่นดินอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้มีการจัดตั้ง รัฐบาลระหว่างปี พ.ศ.2549-2551 ได้ออกกฎหมาย ที่สำคัญ ๆ หลายฉบับ นอกจากรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550 แล้ว ยังมกฎหมายอีกหลายฉบับที่ออกมาและจะเริ่มบังคับใช้ ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ.2551 ที่จะถึงนี้ซึ่งจะมี ผลต่อพวกเราโดยตรงมากขึ้น สมควรที่เราจะต้องรูตัวอย่างพระราชบัญญัติเหล่านั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ คุณภาพสินค้า พระราชบัญญัติ ใหม่ กับ

Transcript of uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา...

Page 1: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

054 For Quality Vol.15 No.130

Quality Sharing

>>> ดร.วินัย ปิติยนต์

ฝ่ายวิชาการ ห้องปฏิบัติการกลาง Central Lab

● พระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิด

ขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑*

● พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้า พ.ศ. ๒๕๕๑*

● พระราชบัญญัติพันธุ์พืช แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)

พ.ศ. ๒๕๕๐

● พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑

● พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ.

๒๕๕๑*

กล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติเหล่านี้ ผ่านสภาฯ ออกมาใช้

ใกล้ ๆ กัน คือ ประมาณต้นปี พ.ศ.2551 และคงเป็นการยากที่จะ

ออกมาได้หากอยู่ในสมัยการเมืองปกติ อันเนื่องมาจากแต่ละ

พ.ร.บ. เป็นกฎหมายเชิงสาธารณะซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชน

วงกว้าง ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคล มากบ้างน้อยบ้าง และบาง-

นับจากที่คณะปฏิรูปปกครองแผ่นดินอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้มีการจัดตั้ง

รัฐบาลระหว่างปี พ.ศ.2549-2551 ได้ออกกฎหมาย

ที่สำคัญ ๆ หลายฉบับ นอกจากรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550 แล้ว ยังมี

กฎหมายอีกหลายฉบับที่ออกมาและจะเริ่มบังคับใช้

ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ.2551 ที่จะถึงนี้ซึ่งจะมี

ผลต่อพวกเราโดยตรงมากขึ้น สมควรที่เราจะต้องรู้

ตัวอย่างพระราชบัญญัติเหล่านั้น ได้แก่

● พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.

๒๕๕๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑

● พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐

คุณภาพสินค้า

พระราชบัญญัตใิหม่ กับ

Page 2: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

For Quality August 2008 055

Quality Sharing

พ.ร.บ. มีการดำเนินการขอข้อคิดเห็นที่ให้ระยะเวลาศึกษาตัว

กฎหมายน้อยเกินไป ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถแสดง

ข้อคิดเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีทั้งผู้ได้และสูญเสีย

ผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมนับเป็นการปรับปรุงกฎ-

หมายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกันตัว

กฎหมายประกอบ พ.ร.บ. ต่าง ๆ ก็กำลังอยู่ในระหว่างการยกร่าง หรือ

ปรับปรุงให้สอดคล้องกับตัว พ.ร.บ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

สามารถปฏิบัติงานได้เพื่อให้การส่งผ่านงานจากกฎหมายเดิมเป็น

กฎหมายใหม่เป็นไปด้วยความราบรื่น

แนวความคิดในการปรับปรุงกฎหมายคุณภาพสินค้า

โดยทั่วไปการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ จะเนื่องจากมีการ

ใช้งานมานาน ในขณะที่ปัจจัยต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง

รวดเร็ว ดังนั้น การเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงให้เข้ากับสถาน-

การณ์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นหากมองในมิติของความใหม่ มีเพียง 3

ฉบับที่ถูกยกร่างขึ้นมาใหม่ ได้แก่ พระราชบัญญัติความรับผิด

ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑

พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้า พ.ศ. ๒๕๕๑ และ พระราชบัญญัติ

คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่ ฉบับแรก ซึ่งที่

จริงก็ไม่ใหม่นัก มีการยกร่างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 และค้างอยู่

จนถึงคณะปฏิรูปฯ จึงได้หยิบยกมาพิจารณา และประกาศใช้ในปี

นี้เองโดยจะครอบคลุมสินค้าที่เป็นอาหาร และอื่น ๆ

ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความไม่ปลอดภัยแก่

ผู้ใช้ หรือผู้บริโภคสามารถพิสูจน์ทราบได้ทางวิทยา-

ศาสตร์ หรือที่เรียกว่า Product Liability Law หรือ

PL Law ที่จริงแล้วเป็นความต้องการของประชาชน

อย่างมากที่จะมีผู้มารับผิดตรงส่วนนี้ หากมีความ

เสียหายที่มีหลักฐานชัดแจ้งก็สามารถฟ้องร้องคดี

แพ่งได้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ที่ประกาศ

ใช้กฎหมายนี้ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งแน่นอน ย่อมมีทั้ง

ปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้และต้องมี

การปรับปรุงเป็นกรณี ๆ ไป กฎหมายนี้มีนายกรัฐ-

มนตรีเป็นผู้ดูแล โดยจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

ส่วนอีก 2 ฉบับ เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า

เกษตรและอาหาร ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าเกษตรที่

ผลิตในประเทศ หรือสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จะ

ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม “มาตรฐานบังคับ” และ

“มาตรฐานทั่วไป” โดยที่ มาตรฐานบังคับ หมายถึง

มาตรฐานของสินค้าที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้ต้อง

เป็นไปตามมาตรฐาน และ มาตรฐานทั่วไป หมาย-

ถึง มาตรฐานที่มีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้า

เกษตรให้ได้มาตรฐาน ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบ ได้แก่

ผู้ผลิต ผู้ส่งออก/นำเข้า ผู้ตรวจสอบรับรอง และเจ้า-

หน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการ รวมทั้งห้องปฏิบัติการที่

สามารถตัดสินความได้ภายใต้ห้องปฏิบัติการอ้างอิง

ของประเทศ National Referent Laboratory: NRL

กฎหมายนี้มีสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ

อาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นผู้ดูแล

ในส่วน พระราชบัญญัติคณะกรรมการ

อาหารแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็น พ.ร.บ. ที่ควบคุม

การดำเนินการเกี่ยวกับอาหารภาพกว้างในระดับ

นโยบาย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตาม

พระราชบัญญัตินี้ สาระของกฎหมายจะสรรหาคณะ-

กรรมการอาหารแห่งชาติจากหน่วยงานต่าง ๆ มา

ดูแลในเรื่องห่วงโซ่อาหาร คุณภาพอาหาร ความ-

ปลอดภัย และมั่นคงของอาหาร รวมทั้งอาหาร

Page 3: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

Quality Sharing

056 For Quality Vol.15 No.130

ศึกษา โดยการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้มีการ

บริโภคอย่างถูกต้องและถูกหลักโภชนาการ

ทั้ง 3 ฉบับ กล่าวได้ว่า พระราชบัญญัติ

ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่

ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลกระทบสูงสุดต่อ

องคาพยพของประเทศ ดังนั้น จึงจะขอกล่าวใน

รายละเอียดต่อไป

ความเป็นมาของพระราชบัญญัติความ

รับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก

สินค้าที่ ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑

ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก

สินค้าที่ไม่ปลอดภัย (product liability) นั้น ประ-

กอบด้วยถ้อยคำสำคัญที่ใช้ มีความหมายต่าง ๆ

ได้แก่

● สินค้า หมายถึง สังหาริมทรัพย์ทุกชนิด

ที่ผลิต หรือนำเข้ามาขาย รวมทั้งผลิตผลเกษตร-

กรรม และให้หมายรวมถึง กระแสไฟฟ้า ยกเว้น

สินค้าที่กำหนดในกฎกระทรวง

● ผลิตผลเกษตรกรรม หมายถึง ผลิตผล

อันเกิดจากเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น การทำนา ทำสวน

เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงไหม เลี้ยงครั่ง เพาะเห็ด

แต่ไม่รวมถึงผลิตผลที่เกิดจากธรรมชาติ?

● ผลิต หมายถึง ทำ ผสม ปรุงแต่ง

ประกอบ ประดิษฐ์ แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ดัดแปลง

คัดเลือก แบ่งบรรจุ แช่เยือกแข็ง หรือฉายรังสี รวม-

ถึงการใด ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

● ความเสียหาย หมายถึง ความเสียหายที่

เกิดจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความ

เสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ หรือ

ทรัพย์สิน ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่

ไม่ปลอดภัยนั้น

● ความเสียหายต่อจิตใจ หมายถึง ความ

เจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความ

เศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อ

จิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

● สินค้าที่ไม่ปลอดภัย หมายถึง สินค้าที่ก่อ หรืออาจก่อ

ให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุของความ

บกพร่องในการผลิต หรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีการใช้

วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่

ไม่ถูกต้อง หรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพสินค้า

รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของ

สินค้าอันพึงคาดหมายได้

ในเบื้องต้นความรับผิดทางแพ่งของผู้ผลิต และจำหน่าย

สินค้าต่อความเสียหายในชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือทรัพย์สินอื่น

ฯลฯ ของบุคคล อันเกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผู้บริโภค

สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางกฎหมายได้และผู้ผลิตไม่

ต้องรับผิดชอบ หากพิสูจน์ได้ว่าสินค้าเหล่านั้นปลอดภัย หรือ

ผู้บริโภครู้แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยอยู่แล้วแต่

ต้องการบริโภคสินค้านั้น หรือผู้บริโภคไปซื้อสินค้าที่มีความเสีย-

หายอันเนื่องมาจากสภาพการเก็บรักษาสินค้าไม่ถูกต้องตามวิธีการ

หรือคำเตือน หรือมีข้อมูลของสินค้าที่ระบุอยู่แล้ว

ทำไมต้องมี พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหาย

ที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ ไม่ปลอดภัยฯ

กฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก

สินค้าที่ไม่ปลอดภัยเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทยแต่เป็นสิ่งที่

เกิดนานแล้วในประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งมีกฎหมายนี้ใช้บังคับ

โดยที่สินค้าไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายในประเทศที่มีกฎหมายนี้ก็

ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ PL Law ของประเทศนั้น ๆ แนวความคิด

และกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก

สินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาก่อน ต่อมาจึงได้

แพร่เข้าไปในยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย แต่

เดิมยังไม่มีกฎหมายนี้ สินค้าจากต่างประเทศที่เข้ามาจำหน่ายใน

ประเทศไทย จึงมีความได้เปรียบที่ไม่ต้องเข้ากรอบของกฎหมาย

ในปัจจุบันมีสินค้าทั้งที่ผลิตขึ้นทั้งภายในประเทศ หรือนำ-

เข้ามาจากต่างประเทศ มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนขึ้น มีการใช้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้น ผู้บริโภคยากที่จะ

ตรวจสอบถึงความไม่ปลอดภัยในสินค้านั้น ๆ เมื่อผู้บริโภคนำสินค้า

ที่ไม่ปลอดภัยไปใช้งานโดยไม่ทราบ ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ

Page 4: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

For Quality August 2008 057

Quality Sharing

ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สินของผู้บริโภค

หรือบุคคลอื่นได้ แต่การฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายในอดีตมี

ความยุ่งยากมาก เนื่องจากภาระในการพิสูจน์ถึงความจงใจ หรือ

ประมาทเลินเล่อ ในการกระทำผิดของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า จะต้อง

เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายตามหลักกฎหมายทั่วไป เพราะยังไม่มี

กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค ที่ได้รับความเสียหายที่

เกิดขึ้นจากสินค้านั้น ใน PL Law มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิด

ในความเสียหายของผู้ผลิตหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไว้โดยตรง โดยนำหลัก

ความรับผิดชอบโดยเคร่งครัด (strict liability) มาใช้ จะมีผลให้

ผู้เสียหายไม่มีภาระต้องพิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า และ

ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็นธรรม จึงเป็นที่มาของ พ.ร.บ.

นี้

ร่าง PL Law เริ่มต้นจากการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มองเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายนี้

ขึ้นมาใช้บังคับในประเทศไทยเพื่อให้เป็นหลักประกันของผู้บริโภค

จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณายกร่าง พ.ร.บ. ขึ้น โดยมี

ผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วมอยู่

ด้วย คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. นี้ในปี พ.ศ.2543

และส่งต่อไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา

หลังจากนั้นก็ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงาน

สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งถูกนำมาบรรจุไว้ในระเบียบวาระเพื่อ

รอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและติดสภาวะอึมครึม

ทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2548-2549 และมาประกาศใช้จริงใน

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา

เนื้อหาสาระของ PL Law

ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มี 16 มาตรา สาระสำคัญของ

ร่าง พ.ร.บ.นี้ คือ

1. สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ สินค้าที่กล่าวข้างต้น

2. ความเสียหาย ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัจจัย

ต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งความเสียหายทางด้าน จิตใจ เป็นสิ่งที่

น่าสนใจว่าจะนำมาฟ้องร้องกันได้ขนาดไหน

3. ผู้ประกอบการที่อยู่ในข่ายที่จะต้องรับผิดต่อความเสีย-

หายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย คือ ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้

ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้

ผลิต หรือผู้นำเข้า ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่อง-

หมายการค้า เครื่องหมาย ข้อความ หรือแสดงด้วย

วิธีใด ๆ อันทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่า

จ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า

4. ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิด-

ชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่า

ความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ

หรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการก็ตาม

5. สินค้าที่อยู่ภายใต้ร่าง พ.ร.บ. นี้ก็คือ

สังหาริมทรัพย์ทุกชนิด ที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย

รวมทั้งผลิตผลเกษตรกรรม (ไม่รวมถึงผลิตผลที่เกิด

จากธรรมชาติ!) กระแสไฟฟ้า ยกเว้นสินค้าตามที่

กำหนดในกฎกระทรวง

6. ผู้มีสิทธิฟ้องคดี ได้แก่ ผู้ได้รับความเสีย-

หายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งจะเป็นผู้ซื้อ

หรือไม่ใช่ผู้ซื้อก็ได้ หรืออาจเป็นผู้ใช้หรือไม่ใช้สินค้า

ก็ได้

คณะกรรมการผู้บริโภค สมาคม และมูลนิธิ

ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตาม

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้อง-

คดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหาย

7. ค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดโดยศาล

ได้แก่

● ค่าสินไหมทดแทนตามที่กำหนดไว้ใน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

● ค่าเสียหายแก่จิตใจ อันเป็นผลเนื่องมา

จากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย

และหากผู้เสียหายถึงแก่ความตาย สามี ภริยา

บุพการี หรือผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นชอบที่จะได้

รับค่าเสียหาย สำหรับความเสียหายทางจิตใจ

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษผู้ประกอบ

การ หากว่าผู้ประกอบการได้ผลิต นำเข้า หรือขาย

สินค้า โดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือไม่ได้

ล่วงรู้เพราะความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง

Page 5: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

Quality Sharing

058 For Quality Vol.15 No.130

หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัย ภายหลังจากการผลิต

นำเข้า หรือขายสินค้านั้นแล้ว ไม่ดำเนินการใด ๆ

ตามสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

ศาลอาจให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 2 เท่าของ

ความเสียหายที่แท้จริง

ในกรณีที่ผู้ เสียหายมีส่วนผิดอยู่ด้วยให้

สามารถนำความผิดของผู้เสียหายมาคำนวณลด

ค่าสินไหมทดแทนด้วย

8. ภาระการพิสูจน์ ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ว่า

ได้รับความเสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบการ

และการใช้ หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตาม

ปกติธรรมดาหรือตามที่ระบุบนฉลาก

9. ข้อยกเว้นความรับผิด

● สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

● ผู้เสียหายได้รู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็น

สินค้าที่ไม่ปลอดภัย

● ความเสียหายเกิดขึ้นจากการใช้ หรือเก็บรักษาสินค้า

ไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับ

สินค้าที่ผู้ประกอบการได้กำหนดไว้อย่างถูกต้อง และชัดเจนตาม

สมควรแล้ว

● ในกรณีของการว่าจ้างให้ผลิต ผู้ผลิตไม่ต้องรับผิดชอบ

หากพิสูจน์ได้ว่า ความไม่ปลอดภัยของสินค้า เกิดจากการออกแบบ

ของผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือจากการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้

ผลิต และผู้ผลิตไม่ได้คาดเห็น และไม่ควรจะได้คาดเห็นถึงความ

ไม่ปลอดภัย

● ผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้าไม่ต้องรับผิดชอบหาก

พิสูจน์ได้ว่า ความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบ

หรือการประกอบ หรือการกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือ

การให้ข้อมูล หรือการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของผู้ผลิตสินค้านั้น

10. อายุความ

● สิทธิเรียกร้องมีระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้

ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด แต่ไม่เกิน

Page 6: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

For Quality August 2008 059

Quality Sharing

10 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย

● ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่าย ระหว่างผู้-

ประกอบการและผู้เสียหาย หรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทน ตามมาตรา

๑๐ ให้หยุดการนับอายุความในระหว่างนั้น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

จะบอกเลิกการเจรจา

11. พ.ร.บ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่

วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551) หรือ

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 และ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ใช้กับสินค้า

ที่ขายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายฉบับนี้

เนื่องจากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายใหม่สำหรับ

ประเทศไทยซึ่งจะมีผลในปีหน้า (กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552) แต่ใน

ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป

ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น นั้น ได้มีกฎหมายนี้ใช้บังคับมาเป็นเวลา

นานแล้ว ซึ่งแน่นอนย่อมก่อให้เกิดผลกระทบแก่ ผู้ประกอบการ

ผู้รักษากฎหมาย และผู้บริโภค ที่สำคัญและเห็นได้อย่างชัดเจน

ก็คือ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงของผู้ประกอบการผลิตที่

อาจสูงขึ้น การบังคับใช้ PL Law จะต้องพยายามให้เกิดความ

สมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้มีส่วนได้เสีย

อื่น ๆ ในสังคม และที่สำคัญต้องมีการพัฒนาระบบการประกันภัย

ประกันสังคม และประกันสุขภาพ ควบคู่ไป หากมองใน ด้านดี จะ

เป็นการปกป้องผู้บริโภค และผู้ผลิตก็จะยกระดับคุณภาพของ

ผลผลิตให้มีมาตรฐาน เพราะโดยสถานะผู้ผลิตก็อาจเป็นผู้บริโภค

และผู้บริโภคก็อาจเป็นผู้ผลิตในสินค้าที่แตกต่างกัน

ในเบื้องต้นอาจกระทบต่อต้นทุนบ้างแต่ในระยะยาว

ก็จะสามารถปรับตัวได้ สินค้านำเข้าก็จะต้องปฏิบัติ

เช่นเดียวกัน ผลใน ด้านลบ อาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

ทำให้ส่งออกได้น้อยลง มีการฟ้องร้องมากขึ้น ผู้-

บริโภคตื่นตัวมากขึ้น ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจมี

ต้นทุนสูง ผู้ประกอบการด้านการประกันภัยจะมี

บทบาทมากขึ้น ขณะนี้มีการจัดอบรม ประชุม และ

สัมมนาเพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม คงต้องเฝ้าดูสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ต่อไปอย่างใกล้ชิด (อย่างที่ทราบคนของเรามีความ

เป็นหัวหมออยู่มาก)

ผู้ประกอบการและผู้บริโภค

จะทำตัวอย่างไร?

ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการ

1. ต้องทำฉลากสินค้าให้ถูกต้อง และชัดเจน

มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน

2. ผู้ผลิตสินค้าตามการออกแบบ ต้องมี

การทบทวนตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิต

3. สินค้าต่าง ๆ ที่ผลิตต้องสามารถสอบ-

ย้อนกลับได้

4. ต้องมีการศึกษา และวางแผนเกี่ยวกับ

การศึกษาความไม่ปลอดภัยของสินค้า และจะต้อง

รีบทักท้วง หรือเรียกคืนเมื่อเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้น

5. ผู้ประกอบการจะต้องมีข้อมูลของสินค้า

และต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้านั้นมิใช่สินค้าที่ไม่

ปลอดภัย

ผู้บริโภค จะต้องทราบว่า

1. เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหาย อันเกิดจาก

สินค้าที่ไม่ปลอดภัยของผู้ประกอบการ โดยที่การใช้

หรือการเก็บรักษาสินค้านั้น เป็นไปตามฉลากระบุ

ปกติธรรมดา

2. เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ผู้บริโภคมีสิทธิขอ

ให้บังคับใช้ตามกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองตนตาม

Page 7: uality Sharing ใหม่Q uality S haring 056 For Quality Vol.15 No.130 ศ กษา โดยการให ความร แก ผ บร โภค เพ อให ม การ

Quality Sharing

060 For Quality Vol.15 No.130

พ.ร.บ. นี้ รวมทั้งมีสิทธิได้รับการชดเชยความเสีย-

หายต่าง ๆ รวมทั้งต่อ จิตใจ อันเป็นผลมาจากความ

เสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้เสีย-

หายด้วย

3. มีสิทธิขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริ-

โภค และสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

รับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

เป็นผู้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการแทน

ตนได้ โดยได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมด

4. มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าที่

ไม่ปลอดภัย โดยมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสีย-

หายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้อง

รับผิด หรือ 10 ปี นับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้นไป

ตัวอย่างของสินค้าบางชนิด ในสหรัฐอเมริกา

มีการเก็บตัวเลขความเสียหาย อันเนื่องมาจาก

ความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น

● ในปี พ.ศ.2549 มีเด็กที่ต้องเข้าโรง-

พยาบาลฉุกเฉินมากกว่า 200,000 คน เนื่องจาก

การบาดเจ็บจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นต่าง ๆ (http://www.

cpsc.gov/)

● ในปี พ.ศ.2548 มีประชาชนมากกว่า 40,000 คน ต้อง

เข้าโรงพยาบาลฉุกเฉินจากการบาดเจ็บในการเล่นสกู๊ทเตอร์

● ลวด สร้อยคอ ริบบิ้น หรือวัสดุเล็ก ๆ อาจเป็นอันตราย

ต่อเด็กทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

● เชือก หรือริบบิ้นที่รูดตามเสื้อแจ็กเก็ตต้องยาวไม่เกิน 3

นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกี่ยวกับประตูรถ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

● เด็ก 8,000-10,000 คน ได้รับบาดเจ็บจากแง่มุมของ

เฟอร์นิเจอร์ที่ยื่นออกมา

● เด็กอายุน้อยกว่า 15 เดือน มากกว่า 20,000 คน หกล้ม

หรือตกบันไดทำให้บาดเจ็บ หรืออาจเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการ-

หัดเดิน

● ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเสียชีวิต

จากการจมน้ำในอ่างอาบน้ำในบ้าน การควบคุมการใช้ และปิด

เมื่อไม่ใช้ และเอาไว้ให้ห่างจากเด็กเป็นเรื่องสำคัญ

● ของเล่นต่าง ๆ สำหรับเด็ก ต้องมีฉลาก หรือเครื่องชี้บ่ง

ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก

● ลูกโป่งที่ทำจากน้ำยางสังเคราะห์ หรือของเด็กเล่นต้อง

มีฉลากกำกับ

● พลุและดอกไม้ไฟต่าง ๆ คาร์บอนมอนนอกไซด์ในพื้นที่

ปิด หรือไฟไหม้

● อุปกรณ์ทำครัวต่าง ๆ

● ฯลฯ

ดังนั้น ทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคต้องหันมา

ร่วมมือกันให้มากขึ้น ไม่ได้มองแต่ประโยชน์ที่จะได้ฝ่ายเดียว

ประเทศชาติก็จะมีความสงบสุขอย่างยั่งยืน