ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด...

20
ปีท่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 53 ผลของกิจกรรมกลุมตอความฉลาดทางอารมณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี : การศึกษาเบื้องตน* Effect of Group Activity on Emotional Quotient of Mattayom Suksa 6 students at Chonkanyanukoon School, Chonburi Province : A Preliminary Study อาร มั่งคั่ง** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีท่ 6 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนความฉลาดทาง อารมณ์รวมต่ำกว่า 138 คะแนนซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติและมีความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มจำนวน 15 คน โดยนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นเวลา 6 สัปดาห์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มที่มีการวัดตัวแปรตามก่อนและหลัง การทดลอง (One group pretest-posttest design)โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินก่อนและหลัง การทดลอง แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังจาก นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์ กิจกรรมกลุ่ม นักเรียนมัธยมศึกษาปีท่6 * การศึกษาอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ** มหาบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา รุ่นที่ 38

Transcript of ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด...

Page 1: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 53

ผลของกิจกรรมกลุมตอความฉลาดทางอารมณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6

โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี : การศึกษาเบื้องตน*

Effect of Group Activity on Emotional Quotient of Mattayom Suksa 6 students at Chonkanyanukoon School,

Chonburi Province : A Preliminary Study

อารี มั่งคั่ง**

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนความฉลาดทาง

อารมณ์รวมต่ำกว่า 138 คะแนนซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติและมีความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

กลุ่มจำนวน 15 คน โดยนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน

12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นเวลา 6 สัปดาห์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi

experimental research) โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มที่มีการวัดตัวแปรตามก่อนและหลัง

การทดลอง (One group pretest-posttest design)โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินก่อนและหลัง

การทดลองแลว้นำคะแนนทีไ่ดม้าวเิคราะหข์อ้มลูโดยใช้independentt-testผลการวจิยัพบวา่หลงัจาก

นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่า

ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์กิจกรรมกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6

* การศึกษาอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง** มหาบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษารุ่นที่38

Page 2: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 54

Abstract

The purpose of this researchwas to study the effect of group activity on the

emotionalquotientofMattayomSuksa6studentsatChonkanyanukoonSchool,Chonburi

province.ThesampleusedinthisstudywasfifteenvolunteerMattayomsuksa6students,

academicyear2012,atChonkanyanukoonSchool,whoseEQscoreswerelessthan138,

which was below standard. All of them participated in group activities for developing

emotionalquotient (EQ)12 timesof50minuteseachoveracourseofsixweeks.This

research isquasiexperimentalresearch,usingaonegrouppretest-posttestdesign.The

methodologywasapretestandaposttestcompletedby15studentswiththetestresults

analysedusingindependentt-tests.Theresultwasasfollows.

AfterparticipatingingroupactivitiesfordevelopingEmotionalQuotient(EQ),the

students’EmotionalQuotient(EQ)washigherthanbeforeatthesignificantlevelof.05.

Keywords: EmotionalQuotient,groupactivity,MattayomSuksa6

บทนำ

ในชว่ง3ทศวรรษทีผ่า่นมาผูท้ีม่คีวามฉลาด

ทางสติปัญญาเพียงอย่างเดียว มักล้มเหลวในชีวิต

การทำงานเพราะขาดความเข้าใจมนุษย์ขาดการ

ปฏิสัมพันธ์ อาจถึงขั้นเกิดความไม่พึงพอใจในชีวิต

ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง จากการวิเคราะห์

ข้อมูลพื้นฐานพบว่า บุคคลที่ไม่มีความฉลาดทาง

อารมณ์ มักจะมองโลกในแง่ร้าย ไม่มีพลังในการ

ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ไม่สามารถสร้างกำลังใจให้

กับตัวเองในยามล้มเหลวหรือมีปัญหาได้

ความฉลาดทางอารมณเ์ปน็ปจัจยัประการ

สำคัญที่บ่งชี้ความสำเร็จของบุคคล ทั้งในด้าน

การงานและการดำรงตนอยูใ่นสงัคมอยา่งมคีวามสขุ

เพราะบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะเป็น

บุคคลที่มีแผนในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม

รู้จักแสวงหาความสุขให้ตนเองได้ตามอัตภาพ

สามารถเผชิญกับปัญหาได้อย่างสุขุม รอบคอบ

สมเหตุสมผล มีความเมตตากรุณา มีอารมณ์ขัน

มีแนวคิดเชิงบวก มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่อยู่

รอบข้างและสามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อม

ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม (มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช. 2548) ซึ่งสอดคล้องกับ ทศพร

ประเสริฐสุข (2543 : 89) กล่าวว่า ผู้ที่มีความ

ฉลาดทางอารมณ์สูงจะประสบความสำเร็จในด้าน

การเรียน และด้านการงาน เป็นที่ยอมรับของ

สังคมสามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้ดีมองโลกในแง่

ดีและดำเนินชีวิตด้วยความสุขในทางกลับกันหาก

Page 3: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 55

มคีวามฉลาดทางอารมณต์ำ่จะเปน็คนทีไ่มส่ามารถ

ควบคุมอารมณ์และความขัดแย้งภายในตนเองได้

ไม่มีความสุข เอาตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ค่อยเป็นมิตร

วิตกกังวล คิดมาก ว้าเหว่ เหงา ขาดมิตร มี

ปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับตัวให้เข้ากับ

สิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ

มากมาย

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถ

พัฒนาได้เพราะความฉลาดทางอารมณ์ส่วนใหญ่

เกิดจากการเรียนรู้และการมีปฏิสัมพันธ์ เป็นที่

ยอมรับกันแล้วว่าความฉลาดทางอารมณ์มีส่วน

สำคัญในการทำให้บุคคลประสบความสำเร็จหรือ

ล้มเหลวในการดำรงชีวิตประจำวันหรือการทำงาน

ดังนั้นบุคคลจึงควรมีการพัฒนาให้ตนเองมีความ

ฉลาดทางอารมณ์เพื่อที่จะได้อยู่ในสังคมอย่างมี

ความสุขและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

คมเพชรฉัตรศุภกุล(2546:15-17)ได้

กล่าวว่า กิจกรรมกลุ่มมีคุณค่า ด้านการพัฒนา

การด้านอารมณ์และสังคม เช่น การควบคุมการ

แสดงออกของอารมณ์นอกเหนือจากนี้ยังมีคุณค่า

ต่อการพัฒนาการด้านทัศนคติ ความสนใจ ความ

สามารถ มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเจริญงอกงาม

ด้านความรู้และทักษะต่างๆ เช่น พัฒนาความ

สามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคลและ ความสามารถ

ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ด้านจิตใจของ

บุคคลได้ดีขึ้น

กิจกรรมกลุ่มเป็นเทคนิควิธีการที่จะช่วย

พัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะการคิดและแก้

ปัญหา ทักษะการพูดการฟัง เสริมสร้างระเบียบ

วินัยคุณธรรมจริยธรรมพร้อมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่

สังคมยอมรับให้กับสมาชิก สมาชิกกลุ่มจะมีการ

ค้นพบตัวเองเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและ

มองผู้อื่นว่ามีคุณค่า สมาชิกได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

เกิดความรู้สึกที่อบอุ่น สามารถเข้าใจตนเองและ

ผู้อื่นได้ ไว้วางใจซึ่งกันและกันนำไปสู่การเปิดเผย

ปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งช่วยให้สมาชิกแสวงหา

ปัญหาที่แท้จริง

นกัเรยีนทกุระดบัอายคุวรไดร้บัการพฒันา

ความฉลาดทางอารมณ์โดยเฉพาะวัยรุ่น เพราะ

ในมิติทางจิตวิทยามองวัยรุ่นว่า เป็นวัยที่อยู่ใน

สภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งชีวิตที่จะต้องมีการปรับ

ตัวต่อสิ่งแวดล้อม ใหม่ๆ รวมทั้งจะต้องมีการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบเด็กให้ไปสู่การเป็น

ผู้ใหญ่ ซึ่งสังคมแต่ละแห่งจะเป็นตัวกำหนดแบบ

ฉบับแห่งพฤติกรรมเหล่านั้นนอกจากนี้พัฒนาการ

ทางอารมณ์ของวัยรุ่นยังมีลักษณะเปลี่ยนแปลง

ง่าย สับสน อ่อนไหว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์

ได้มากนัก และพัฒนาการทางสังคมที่มีลักษณะ

การยึดติดกับสังคมกลุ่มเพื่อนเป็นสำคัญ

ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการในช่วง

วัยรุ่นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อบุคลิกภาพ

ในช่วงวัยผู้ใหญ่ ความสามารถตระหนักในตนเอง

การนับถือตนเองความภาคภูมิใจในตนเองความ

สามารถในการจัดการกับอารมณ์ ความเครียด

และสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสมกับบุคคลอื่น

จะช่วยส่งเสริมความสามารถของวัยรุ่นให้มี

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัย อีกทั้ง

พัฒนาศักยภาพในการแก้ ไขปัญหา อยู่ ใน

Page 4: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 56

สถานการณ์ทางสังคมที่มีปัญหาได้อย่างเป็นสุข

มีความสำเร็จในชีวิต ในอดีตสังคมให้ความสำคัญ

กับความเก่ง (Intelligence Quotient--IQ) เป็น

อย่างมากโดยเชื่อว่า ความเป็นคนเก่งจะทำให้ลูก

หลาน หรือพนักงานในองค์กรประสบความสำเร็จ

ทำให้หน่วยงานเจริญก้าวหน้า ประเทศชาติมั่นคง

แต่ปัจจุบันสภาพปัญหาที่พบเห็นจากสื่อ ต่างๆ

รวมถึงประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมที่เกิด

ขึ้นกับวัยรุ่นของไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ทำให้

ได้ข้อสรุปประการหนึ่งว่า คนเก่งใช่ว่าจะประสบ

ความสำเร็จ หรือมีความสุขในชีวิตการเรียนหรือ

การทำงานเสมอไป ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์

ประกอบด้วยทักษะทางอารมณ์ที่จะช่วยเสริม

กระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเป้าหมายสำคัญ

กล่าวคือ เป็นคนดีมีความสุข ดำเนินชีวิตอย่างมี

คุณค่าและมีเป้าหมายจากการศึกษาทางจิตวิทยา

พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์จะเป็นสิ่งที่นำเรา

ไปพบกับความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง ความ

ฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งที่ฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะได้

และส่งผลดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่โดยให้เด็กเติบโตเป็น

คนที่พบกับความสำเร็จทั้งด้านชีวิตส่วนตัวและ

การงาน

จากข้อสรุปดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยซึ่งเป็น

ครูแนะแนวของโรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัด

ชลบุรี ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา

นักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งทางด้าน

อารมณ์สงัคมจติใจและสตปิญัญาดงัทีจ่ดุมุง่หมาย

ในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา

แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เน้นย้ำว่าการจัดการศึกษา

ตอ้งเปน็ไปเพือ่พฒันาคนไทยใหเ้ปน็มนษุยท์ีส่มบรูณ์

ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และ

คุณธรรม มีจริยธรรม วัฒนธรรม สามารถดำรง

ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โรงเรียน

ชลกันยานุกูลเป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง

นักเรียนส่วนใหญ่มีความฉลาดทางสติปัญญา แต่

ด้วยวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพ

แวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พบว่า

นักเรียนควรมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ซึง่จะนำไปสูก่ารพฒันาตนเองและประเทศทีย่ัง่ยนื

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นช่วงวัย

ที่อารมณ์ยังคงมีการเปลี่ยนแปลง อ่อนไหวต่อ

สถานการณ์และสภาพแวดล้อมกดดันใกล้ตัว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวในสถานการณ์

การแข่งขันเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

ความเครียดจากการเตรียมตัวสอบคัดเลือกสภาพ

แวดล้อมที่กดดันในการศึกษา แรงกดดันจาก

ความคาดหวังของครอบครัว สิ่งเหล่านี้อาจส่งผล

ต่อการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

ของนักเรียนผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง

ผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัด

ชลบุรีซึ่งผลการวิจัยนี้เป็นส่วนสำคัญที่ครูและ

ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการ

ส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีความฉลาดทาง

อารมณ์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถใน

การควบคุมอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมของ

ตนเองได้ดียิ่งขึ้น เป็นแนวทางในการพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวนักเรียน

และสังคมต่อไป

Page 5: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 57

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มที่มี

ต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล

จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษาเขต18

สมมติฐานการวิจัย

นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้น

หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

วิธีดำเนินการวิจัย

การออกแบบการวิจัยใช้แบบแผนการ

วิจัยแบบ One Group Pretest – Posttest

Design (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 60) ซึ่งมี

แบบแผนการทดลองดังนี้

วัดก่อน ทดลอง วัดหลัง

T1 X T

2

เมื่อ T1 แทน การวัดความฉลาดทางอารมณ์

ก่อนการทดลอง

X แทน การทดลองโดยจัดกิจกรรมกลุ่ม

เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

T2 แทน การวัดความฉลาดทางอารมณ์

หลังการทดลอง

ประชากร ที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554

โรงเรียนชลกัน ยานุกูล จังหวัดชลบุรี จำนวน

500คน

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554

โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนน

ความฉลาดทางอารมณ์รวมต่ำกว่า 138 คะแนน

ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติและมีความสมัคร

ใจเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มจำนวน15คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย

1. แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์

ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขสำหรับ

วัยรุ่น (อายุ18-25ปี)ลักษณะแบบประเมินเป็น

การรายงานตนเองแบบมาตราส่วนประเมินค่า

4 ระดับ คือ ไม่จริง จริงบางครั้ง ค่อนข้างจริง

และจริงมาก จำนวน 52 ข้อ แบ่งเป็น 3 องค์

ประกอบดังนี้

1.1 ด้านดีจำนวน18ข้อคำถามได้แก่

ข้อ 1-18 แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบย่อย คือ

ควบคุมอารมณ์ตนเอง จำนวน 6 ข้อคำถาม

ได้แก่ข้อ 1-6 เห็นใจผู้อื่น จำนวน 6 ข้อคำถาม

ได้แก่ข้อ 7-12 และ รับผิดชอบ จำนวน 6 ข้อ

คำถามได้แก่ข้อ13-18

1.2 ด้านเก่ง จำนวน 18 ข้อคำถาม

ได้แก่ข้อ 19-36 แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ

ย่อยคือมีแรงจูงใจจำนวน6ข้อคำถาม ได้แก่

ข้อ 19-24 ตัดสินใจแก้ปัญหา จำนวน 6 ข้อ

คำถามไดแ้กข่อ้25-30และสมัพนัธภาพกบัผูอ้ืน่

จำนวน6ข้อคำถามได้แก่ข้อ31-36

1.3 ด้านสุข จำนวน 16 ข้อคำถาม

ได้แก่ข้อ 37-52 แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ

ย่อย คือ ภูมิใจในตนเอง จำนวน 4 ข้อคำถาม

Page 6: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 58

ได้แก่ข้อ 37-40 พึงพอใจในชีวิต จำนวน 6 ข้อ

คำถาม ได้แก่ข้อ 41-46 และสุขสงบทางใจ

จำนวน6ข้อคำถามได้แก่ข้อ47-52

เกณฑ์การให้คะแนนข้อคำถามจากแบบ

ประเมินแบ่งออกเป็น2กลุ่มดังต่อไปนี้

กลุ่มที่1 ข้อคำถามเชิงนิมานได้แก่ข้อ

1,4,6,7,10,12,14,15,17,20,22,23,25,

28, 31, 32, 34, 36, 38, 39, 41, 42, 43, 44,

46, 48, 49,และ50แต่ละข้อคำถามให้คะแนน

ดังต่อไปนี้

ไม่จริง ให้1คะแนน

จริงบางครั้ง ให้2คะแนน

ค่อนข้างจริง ให้3คะแนน

จริงมาก ให้4คะแนน

กลุ่มที่2 ข้อคำถามเชิงนิเสธ ได้แก่ ข้อ

2,3,5,8,9,11,13,16,18,19,21,24,26,

27,29,30,33,35,37,40,45,47,51,และ

52แต่ละข้อคำถามให้คะแนนดังต่อไปนี้

ไม่จริง ให้4คะแนน

จริงบางครั้ง ให้3คะแนน

ค่อนข้างจริง ให้2คะแนน

จริงมาก ให้1คะแนน

การแปลผลให้รวมคะแนนแต่ละข้อ

คำถามตามองค์ประกอบของความฉลาดทาง

อารมณ์ดังนี้

ด้าน องค์ประกอบความฉลาด

ทางอารมณ์

การรวมคะแนน ผลรวมของคะแนน

ดี 1.1ควบคุมอารมณ์ ข้อ1-6

1.2เห็นใจผู้อื่น ข้อ7-12

1.3รับผิดชอบ ข้อ13-18

เก่ง 2.1มีแรงจูงใจ ข้อ19-24

2.2ตัดสินใจแก้ปัญหา ข้อ25-30

2.3สัมพันธภาพกับผู้อื่น ข้อ31-36

มีสุข 3.1ภูมิใจในตนเอง ข้อ37-40

3.2พึงพอใจในชีวิต ข้อ41-46

3.3สุขสงบทางใจ ข้อ47-52

Page 7: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 59

จากนั้ นนำคะแนนจากการทำแบบ

ประเมินความฉลาดทางอารมณ์ไปเปรียบเทียบกับ

เกณฑป์กตขิองคะแนนความฉลาดทางอารมณข์อง

กลุ่มตัวอย่างอายุ 18-25 ปี ซึ่งจัดระดับการแปล

ความหมายไว้3ประเภทคอืบคุคลทีม่คีวามฉลาด

ทางอารมณ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ บุคคลที่มีความ

ฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ และบุคคลที่มี

ความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าเกณฑ์ปกติดังนี้

องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ ต่ำกว่าปกติ เกณฑ์ปกติ สูงกว่าปกติ

คะแนนความฉลาดทางอารมณ์รวม <138 138-170 >170

1.องค์ประกอบด้านดี <48 48-58 >58

1.1ควบคุมอารมณ์ <14 14-18 >18

1.2เห็นใจผู้อื่น <16 16-20 >20

1.3รับผิดชอบ <17 17-23 >23

2.องค์ประกอบด้านเก่ง <45 45-59 >59

2.1มีแรงจูงใจ <15 15-21 >21

2.2ตัดสินใจและแก้ปัญหา <14 14-20 >20

2.3สัมพันธภาพกับผู้อื่น <15 15-21 >21

3.องค์ประกอบด้านสุข <42 42-56 >56

3.1ภูมิใจในตนเอง <9 9-13 >13

3.2พึงพอใจในชีวิต <16 16-22 >22

3.3สุขสงบทางใจ <15 15-21 >21

2. กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาด

ทางอารมณ์ โดยผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนการสร้าง

ดังนี้

1. ศึกษาตำรา เอกสาร และงาน

วิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความฉลาดทาง

อารมณ์ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการในวัยของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 องค์ประกอบของ

ความฉลาดทางอารมณ์ และการจัดกิจกรรมกลุ่ม

เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดแนวความคิด วิธี

การและขั้นตอนของการสร้างกิจกรรมเพื่อให้

สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2. ผูว้จิยัศกึษานยิามความหมายและ

องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อนำ

มาจัดทำเนื้อหาและสร้างกิจกรรมกลุ่ม

Page 8: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 60

3. ผู้ วิ จั ยสร้ างกิจกรรมกลุ่มโดย

ดัดแปลงมาจากของ อัจฉรา สุขารมณ์ (2548 :

38-94) และอาทิตย์ คุณยศยิ่ง (2549 : 71-88)

และตรวจสอบความถูกต้องโดยพิจารณาความ

สอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กิจกรรมเนื้อหา

ทีม่คีวามสอดคลอ้งกบัองคป์ระกอบของความฉลาด

ทางอารมณ์วิธีดำเนินการและการประเมินผล

4. เสนอกิจกรรมกลุ่มที่สร้างขึ้นต่อ

ผูเ้ชีย่วชาญจำนวน3ทา่นคอืผูช้ว่ยศาสตราจารย์

ดร.วงศพ์กัตร์ภูพ่นัธศ์รีนางสาวสมุนาอศัวปยกุตก์ลุ

ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญสาขาแนะแนว และนาง

สกุญัญาพรพบิลูย์ ครวูทิยฐานะชำนาญการพเิศษ

สาขาแนะแนว เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง

เนื้อหา (content validity) ความสอดคล้องกับ

นิยามศัพท์เฉพาะจุดมุ่งหมายวิธีดำเนินกิจกรรม

5. นำขอ้เสนอแนะทีไ่ดจ้ากผูเ้ชีย่วชาญ

ไปปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมและสมบูรณ์

ขึ้นและนำเสนอผลการแก้ไขต่อผู้เชี่ยวชาญ

6. ผู้วิจัยนำกิจกรรมกลุ่มที่สร้างขึ้น

ไปทดลองใช้(tryout)กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ซึ่ง

ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของ

กิจกรรมกลุ่มในด้านเนื้อหา วิธีดำเนินการ ระยะ

เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ความเหมาะสมตลอด

จนปัญหาและอุปสรรคจากการทดลองใช้กิจกรรม

กลุ่ม

7. ทบทวนแก้ไขและจดัทำโปรแกรม

กิจกรรมกลุ่มให้สมบูรณ์ และนำไปใช้กับกลุ่ม

ตัวอย่างเพื่อดำเนินการวิจัยต่อไป

3. แบบประเมนิการเขา้รว่มกจิกรรมกลุม่

เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สร้างขึ้นเพื่อ

ให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเป็นผู้ตอบแบบ

ประเมินนี้ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการของ

กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

จำนวน 12 ครั้ง ลักษณะของแบบประเมินแบ่ง

เป็น3ตอนคือ

ตอนที่1 การประเมินการจัดกิจกรรม

กลุ่ม ลักษณะแบบประเมินเป็นประเภท มาตรา

ส่วนประเมินค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก

ปานกลางน้อยและน้อยที่สุดจำนวน10ข้อ

ตอนที่2 การประเมินการเรียนรู้ที่ได้รับ

จากการเขา้รว่มกจิกรรมกลุม่ลกัษณะแบบประเมนิ

เป็นประเภทมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ คือ

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด

จำนวน10ข้อ

ตอนที่3 การเสนอแนะสิ่งต่างๆ หลัง

จากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เป็นการให้ผู้ตอบได้

แสดงความคิดเห็น เจตคติและความรู้สึกของ

ผู้ตอบที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ผู้ตอบ

สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แบบ

ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนการสร้าง

ดังนี้

1. ศกึษาเอกสารและงานวจิยัทีเ่กีย่ว

ข้องเพื่อเป็นแนวทางการสร้างแบบประเมิน

2. กำหนดขอบเขตและประเด็นหลัก

ของการประเมินได้แก่ ประเมินการจัดกิจกรรม

กลุ่ม ประเมินการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วม

Page 9: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 61

กิจกรรมกลุ่ม และข้อเสนอแนะต่างๆ หลังจาก

การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาด

ทางอารมณ์ นำมาสร้างแบบประเมินการเข้าร่วม

กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

โดยดัดแปลงมาจาก เจษฎา บุญมาโฮม (2544:

77-78) นำแบบประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์นำเสนอต่อ

ผูเ้ชีย่วชาญจำนวน3ทา่นคอืผูช้ว่ยศาสตราจารย์

ดร.วงศพ์กัตร์ภูพ่นัธศ์รีนางสาวสมุนาอศัวปยกุตก์ลุ

ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญสาขาแนะแนว และนาง

สุกัญญา พรพิบูลย์ ครูวิทยฐานะชำนาญการ

พิเศษสาขาแนะแนว ตรวจสอบความเที่ยงตรง

เชิงเนื้อหา(contentvalidity)

3. นำขอ้เสนอแนะทีไ่ดจ้ากผูเ้ชีย่วชาญ

ไปปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมและสมบูรณ์

ขึ้นและนำเสนอผลการแก้ไขต่อผู้เชี่ยวชาญ

4. นำแบบประเมินการเข้ าร่ วม

กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ประเมินหลังจากเสร็จสิ้นการ

ร่วมกิจกรรมกลุ่มจำนวน12ครั้ง

ตัวอย่างของแบบประเมินมีดังนี้

ตอนที่1การประเมนิการจดักจิกรรมกลุม่

ตัวอย่างของแบบประเมินมีดังนี้

ข้อคำถาม ระดับความคิดเห็น

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1. นักเรียนตระหนักถึงความ

สำคัญของความฉลาดทางอารมณ์

2. นักเรียนภูมิใจในคุณค่าของตนเอง

ตอนที่2ประเมินการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

ข้อคำถาม ระดับความคิดเห็น

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1. ครูผู้จัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นักเรียน

แสดงความคิดเห็นและดูแลเอาใจใส่

นักเรียนอย่างทั่วถึง

2. ครูผู้จัดกิจกรรมสามารถอธิบายเนื้อหา

ให้นักเรียนเข้าใจได้

Page 10: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 62

วิธีการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้ง

นี้ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้คือ

ขั้นก่อนการทดลอง

1. ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้การแปล

ความหมายของของแบบประเมินความฉลาดทาง

อารมณ์และนำแบบประเมินความฉลาดทาง

อารมณ์ไปทดลองใช้เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ซึ่งได้ค่าความ

เชื่อมั่นเท่ากับ0.85

2. นำแบบประเมินความฉลาดทาง

อารมณ์ไปประเมินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนชลกันยานุกูลปีการศึกษา2554จำนวน

500 คน และนำไปตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่

กำหนดแล้วนำคะแนนของนักเรียนแต่ละคนมาจัด

เรียงพิจารณาคะแนนรวมความฉลาดทางอารมณ์

ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 138 ซึ่งมีนักเรียนที่มี

คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ปกติจำนวน105คน

3. ประชาสมัพนัธข์อ้มลูเกีย่วกบัการรว่ม

กิจกรรมกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ซึ่งมีนักเรียนสนใจสมัครร่วมกิจกรรมจำนวน

15คน

ขั้นดำเนินการทดลอง

4. ผู้วิจัยชี้แจงกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับ

วัตถุประสงค์ ระยะเวลา สถานที่ในการร่วม

กจิกรรมหลกัเกณฑใ์นการรว่มกจิกรรมประโยชน์

การร่วมกิจกรรม

5. ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบ

ประเมินความฉลาดทางอารมณ์และนำไปตรวจให้

คะแนนแล้วเก็บไว้เป็นคะแนนก่อนการทดลอง

6. ดำเนนิการจดักจิกรรมกลุม่เพือ่พฒันา

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นเวลา 6 สัปดาห์

สัปดาห์ละ2ครั้งครั้งละ50นาทีรวม12ครั้ง

โดยจะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มในวันอังคารและวัน

พฤหัสบดีเวลา 14.30 – 15.20 น. ณ ห้อง

แนะแนว โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี

ตั้งแต่วันที่15พฤศจิกายน2554–22ธันวาคม

2554

ขั้นหลังการทดลอง

7. เมื่อเสร็จสิ้นการร่วมกิจกรรมกลุ่ม

เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้นักเรียนกลุ่ม

ตัวอย่างทำแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์

ชุดเดียวกับก่อนการทดลองแล้วนำไปตรวจให้

คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนหลังการทดลองและตอบ

แบบประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์เพื่อแสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม

คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติต่างๆ

ดังนี้

1. หาคา่เฉลีย่(X–)และคา่ความเบีย่งเบน

มาตรฐาน (S.D.) คะแนนความฉลาดทางอารมณ์

ก่อนและหลังการทดลอง

2. เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์

ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ dependent

t-test

3. หาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียน

ที่มีต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทาง

อารมณ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

Page 11: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 63

ผลการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบ่งเป็น

2ตอนดังนี้

1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (X–) และค่า

ความเบีย่งเบนมาตรฐาน(SD)คะแนนความฉลาด

ทางอารมณ์ของนักเรียนก่อนและหลังการทดลอง

ตาราง 1 เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์

ด้านดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6โรงเรียน

ชลกันยานุกูล ปีการศึกษา 2554 ก่อนและหลัง

การใช้กิจกรรมกลุ่ม

ความฉลาดทางอารมณ์

ด้านดี

ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง

X– SD ระดับ X– SD ระดับ t

ควบคุมตนเอง 13.60 1.50 ต่ำ 17.26 0.70 ปกติ 10.55

เห็นใจผู้อื่น 14.26 1.48 ต่ำ 18.80 0.94 ปกติ 10.42

รับผิดชอบ 15.13 1.18 ต่ำ 15.13 1.18 ปกติ 13.12

รวม 43.00 2.64 ต่ำ 57.13 1.18 ปกติ 22.65*

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง1พบ

ว่า หลังการทดลองนักเรียนมีความฉลาดทาง

อารมณ์ด้านดี (X– = 57.13) สูงกว่าก่อนการ

ทดลอง (X–=43.00)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ.05

ตาราง2เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ด้าน

เก่ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน

ชลกันยานุกูล ปีการศึกษา 2554 ก่อนและหลัง

การใช้กิจกรรมกลุ่ม

ความฉลาดทางอารมณ์

ด้านเก่ง

ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง

X– SD ระดับ X– SD ระดับ t

มีแรงจูงใจ 13.33 1.44 ต่ำ 18.53 1.35 ปกติ 9.24

ตัดสินใจแก้ปัญหา 12.73 1.22 ต่ำ 19.40 0.91 ปกติ 17.83

สัมพันธภาพกับผู้อื่น 13.80 1.26 ต่ำ 17.80 1.08 ปกติ 12.35

รวม 39.86 2.61 ต่ำ 55.73 1.90 ปกติ 24.27*

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Page 12: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 64

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง2พบ

ว่า หลังการทดลองนักเรียนมีความฉลาดทาง

อารมณ์ด้านเก่ง (X– = 55.73) สูงกว่าก่อนการ

ทดลอง (X–=39.86)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ.05

ตาราง 3 เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์

ด้านสุข ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนชลกันยานุกูล ปีการศึกษา 2554 ก่อน

และหลังการใช้กิจกรรมกลุ่ม

ความฉลาดทางอารมณ์

ด้านสุข

ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง

X– SD ระดับ X– SD ระดับ t

ภูมิใจตนเอง 8.86 1.06 ต่ำ 12.80 0.86 ปกติ 10.24

พึงพอใจชีวิต 15.53 1.33 ต่ำ 21.26 1.66 ปกติ 10.82

สุขสงบทางใจ 14.86 1.12 ต่ำ 19.40 0.73 ปกติ 11.31

รวม 39.26 2.28 ต่ำ 53.46 2.35 ปกติ 16.04*

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง3พบ

ว่า หลังการทดลองนักเรียนมีความฉลาดทาง

อารมณ์ด้านสุข (X– = 53.46) สูงกว่าก่อนการ

ทดลอง (X–=39.26)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ.05

ตาราง 4 เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์

รวมทุกด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนชลกันยานุกูล ปีการศึกษา 2554 ก่อน

และหลังการใช้กิจกรรมกลุ่ม

ความฉลาดทางอารมณ์

ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง

X– SD ระดับ X– SD ระดับ t

ด้านดี 43.00 2.64 ต่ำ 57.13 1.18 ปกติ 22.65*

ด้านเก่ง 39.86 2.61 ต่ำ 55.73 1.90 ปกติ 24.27*

ด้านสุข 39.26 2.28 ต่ำ 53.46 2.35 ปกติ 16.04*

รวม 122.13 3.79 ต่ำ 166.33 2.71 ปกติ 37.45*

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Page 13: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 65

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง4พบ

ว่า ค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมทั้ง

ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข หลังการทดลอง (X–

=166.33)สูงกว่าก่อนการทดลอง(X–=122.13)

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ตาราง 5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ความคิดเห็นของนักเรียนต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อ

พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในประเด็นการจัด

กิจกรรมกลุ่ม

ข้อคำถาม X– SD ระดับ

1.ครูจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดง

ความคิดเห็นและดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างทั่วถึง

4.66 0.49 มากที่สุด

2.ครูจัดกิจกรรมสามารถอธิบายเนื้อหาให้นักเรียน

เข้าใจได้

4.73 0.46 มากที่สุด

3.ครูจัดกิจกรรมใช้สื่ออุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติ

กิจกรรมได้เหมาะสมและน่าสนใจ

4.53 0.64 มากที่สุด

4.นักเรียนคิดว่าเนื้อหาและกิจกรรมเหมาะสมกับผู้เรียน 4.60 0.50 มากที่สุด

5.นักเรียนคิดว่าจำนวนสมาชิกที่ร่วมกิจกรรม

มีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติกิจกรรม

4.73 0.46 มากที่สุด

6.นักเรียนคิดว่าระยะเวลาและจำนวนครั้ง

ในการปฏิบัติกิจกรรมมีความเหมาะสม

4.80 0.41 มากที่สุด

7.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมและช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มได้ 4.60 0.74 มากที่สุด

8.นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม 4.53 0.64 มากที่สุด

9.นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม

ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.66 0.49 มากที่สุด

10.นักเรียนพอใจและมีความสุขกับการเข้าร่วม

กิจกรรม

4.87 0.35 มากที่สุด

รวม 4.67 0.47 มากที่สุด

Page 14: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 66

จากตาราง 5 พบว่า ความคิดเห็นของ

นักเรียนต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนา ความฉลาด

ทางอารมณ์ในประเด็นการจัดกิจกรรมกลุ่มโดย

รวมอยู่ ในระดับมากที่สุด (X– = 4.67) เมื่อ

พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความคิดเห็นอยู่ใน

ระดับมากที่สุดทุกข้อและโดยเฉพาะในข้อที่ 10

นักเรียนพอใจและมีความสุขกับการเข้าร่วม

กิจกรรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าทุกข้อ

ตาราง 6 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ความคิดเห็นของนักเรียนต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อ

พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในประเด็นการ

เรียนรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

ข้อคำถาม X– SD ระดับ

1.นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของความฉลาด

ทางอารมณ์

4.80 0.52 มากที่สุด

2.นักเรียนภูมิใจในคุณค่าของตนเอง 4.60 0.51 มากที่สุด

3.นักเรียนควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตนเอง

ได้อย่างเหมาะสม

4.53 0.42 มากที่สุด

4.นักเรียนตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม 4.67 0.49 มากที่สุด

5.นักเรียนสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ 4.53 0.52 มากที่สุด

6.นักเรียนตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

4.67 0.49 มากที่สุด

7.นักเรียนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

ของตนเองและผู้อื่น

4.47 0.64 มาก

8.นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 4.53 0.51 มากที่สุด

9.นักเรียนผ่อนคลายความวิตกกังวลความกลัวและ

ความเครียดของตนเองได้

4.53 0.64 มากที่สุด

10.นักเรียนรู้จักวิธีแสวงหาความสุขทางจิตใจ

ที่เหมาะสม

4.80 0.41 มากที่สุด

รวม 4.61 0.51 มากที่สุด

Page 15: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 67

จากตาราง 6 พบว่า ความคิดเห็นของ

นักเรียนต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนา ความฉลาด

ทางอารมณ์ในประเด็นการเรียนรู้ที่ได้รับจากการ

เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

(X–=4.61)เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าความ

คิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 9 ข้อ และ

ระดับมากจำนวน 1ข้อคือนักเรียนตระหนักถึง

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองและผู้อื่น

อภิปรายผลการวิจัย

สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้รับการสนับสนุนคือ

หลังจากนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์นักเรียนมีความฉลาดทาง

อารมณ์โดยรวมทั้งด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข

(X– = 166.33) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

(X– = 122.13) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ

.05 ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการร่วมกิจกรรม

กลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ใน

ประเด็นการจัดกิจกรรมกลุ่มมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ

4.67 (X– = 4.67,SD = 0.47) อยู่ในระดับมาก

ที่สุดและในประเด็นการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเข้า

ร่วมกิจกรรมกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 (X– =

4.61,SD=0.51)อยู่ในระดับมากที่สุด

หลังจากนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนเข้า

ร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ทั้งรายด้านและโดยรวม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย

ของศิริสุดาลดาวัลย์ณอยุธยา (2548)ศึกษา

เรื่อง ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทาง

อารมณ์ที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตแห่ง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนา

การศึกษา พบว่า (1) นักเรียนที่ ได้ เข้าร่วม

โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์มี

ความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างจากความฉลาด

ทางอารมณ์ของนักเรียน ที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความ

ฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วม

โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ก่อน

และหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตก

ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ

(3) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ได้เข้า

ร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์

ก่อนและหลังการทดลองและระยะติดตามผลแตก

ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า การเข้า

ร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทาง

อารมณ์ช่วยให้นักเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติตน

ให้สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ ซึ่ง

พอสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและ

ยอมรับตนเอง และผู้อื่นทั้งนี้ยังสามารถพัฒนา

ทักษะทางสังคมตลอดจนสามารถปรับตัวอยู่ร่วม

กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมซึ่งมีองค์ประกอบย่อย

คือ การควบคุมอารมณ์ของตนเอง การเห็นใจ

ผู้อื่น รับผิดชอบมีแรงจูงใจในตนเอง ตัดสินใจ

และแก้ไขปัญหา มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ภูมิใจ

ในตนเอง พึงพอใจในชีวิตและมีความสุขสงบ

Page 16: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 68

ทางใจได้ และเมื่อพิจารณาแต่องค์ประกอบย่อย

ของความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนพบว่า

1. หลังการทดลองนักเรียนมีความฉลาด

ทางอารมณ์ด้านดี (X– = 57.13) สูงกว่าก่อนการ

ทดลอง (X– = 43.00)ความฉลาดทางอารมณ์ด้าน

ดี องค์ประกอบย่อยได้แก่ การควบคุมอารมณ์

การเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ กิจกรรมกลุ่ม

เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาความฉลาดทาง

อารมณ์ด้านการควบคุมอารมณ์ของนักเรียน

มัธยมศึกษา ปีที่ 6 ได้ดี ซึ่งอาจเนื่องมาจาก

นักเรียนเกิดการเรียนรู้หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรม

กลุ่มทำให้นักเรียนรู้จักการควบคุมตนเองสามารถ

ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนและความ

ต้องการของตนเองทำให้แสดงออกทางอารมณ์ได้

อย่างเหมาะสมดังที่ กระทรวงสาธารณสุข กรม

สุขภาพจิต (2543ก: 52-55) กล่าวว่า กิจกรรม

กลุ่มจะให้ผลส่งเสริมสร้างสรรค์ทางด้านจิตวิทยา

กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยา การ

เปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในการควบคุม

ความรู้สึกต่างๆ ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ

ศุภวดี บุญญวงศ์ (2527 : 3-4) ได้กล่าวถึง

คุณค่าของกิจกรรมกลุ่มด้านการพัฒนาทางด้าน

สังคมและอารมณ์ของนักเรียนช่วยให้เกิดความ

เห็นอกเห็นใจยอมรับผู้อื่นเรียนรู้กระบวนการให้

และการรับซึ่งเป็นพื้นฐาน ความเข้าใจเบื้องต้น

ของการอยู่ร่วมกันในสังคม รู้จักวิธีการควบคุม

อารมณ์ของตน มีความอดทน มองโลกในแง่ดีมี

น้ำใจเป็นนักกีฬา และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่น

ได้ และมีความรับผิดชอบ กิจกรรมกลุ่มยังเป็นวิธี

การหนึ่งที่สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ด้านความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่6ได้

2. หลังการทดลองนักเรียนมีความฉลาด

ทางอารมณ์ด้านเก่ง(X–=55.73)สูงกว่าก่อนการ

ทดลอง(X–=39.86)ความฉลาดทางอารมณ์ด้าน

เก่ง องค์ประกอบย่อยได้แก่ มีแรงจูงใจในตนเอง

ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาและมีสัมพันธภาพกับ

ผู้อื่น กิจกรรมกลุ่มเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถ

พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งมีแรงจูงใจ

ในตนเอง ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา และมี

สัมพันธภาพกับผู้อื่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่6ได้ดังที่Rogers(1970:121-122)กล่าว

ว่า กิจกรรมกลุ่มจะให้ผลส่งเสริมสร้างสรรค์ทาง

ด้านจิตวิทยามาก กล่าวคือจะมีการเปลี่ยนแปลง

ทางด้านการรับรู้ ความรู้สึก ได้ตระหนักถึงความ

รู้สึกของตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ตลอดจนเปิดเผย

ความรูส้กึ มคีวามจรงิใจและเปน็ไปอยา่งธรรมชาติ

มกีารเปลีย่นแปลงทางความสามารถในการควบคมุ

ความรู้สึกต่างๆของตนเองมีการแสดงพฤติกรรม

ที่ตรงกับความรู้สึกของตนเองมีแนวทางในการ

สรา้งแรงจงูใจหมายถงึการเขา้ใจตนเองการรูจ้กั

ตัดสินใจด้วยตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน

ทัศนคติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หมายความว่า

บุคคลจะยอมรับตนเองพัฒนาในเรื่องคุณค่าของ

ตนเอง เข้าใจตนเองและมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ลด

การสั่งสอนและควบคุมผู้อื่น ได้แก่ การใช้อำนาจ

ลดน้อยลงและมีความรู้สึกพึ่งพากันและกัน เชื่อ

ในความสามารถของบุคคล มีการแก้ปัญหาโดย

การทำงานเป็นกลุ่มและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

Page 17: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 69

3. หลังการทดลองนักเรียนมีความฉลาด

ทางอารมณ์ด้านสุข (X– = 53.46) สูงกว่าก่อน

การทดลอง(X–=39.26)ความฉลาดทางอารมณ์

ด้านสุข องค์ประกอบย่อยได้แก่ ภูมิใจในตนเอง

พึงพอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ

กิจกรรมกลุ่มเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุข ภูมิใจในตนเอง

พึงพอใจในชีวิตและมีความสุขสงบทางใจของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ ทั้งนี้อาจเป็น

เพราะว่าการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทำให้สมาชิกมี

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีการพัฒนาตนเองให้

มีความอดทน มองโลกในแง่ดี ดังแนวคิดของ

บุหงา วชิระศักดิ์มงคล (2542 : 19-21) ที่ว่า

กิจกรรมกลุ่มทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านสังคม

และอารมณ์ ทำให้รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง

มีความอดทนมองโลกในแง่ดีและสามารถปรับตัว

เข้ากับผู้อื่น จากผลการวิจัยแสดงให้ เห็นว่า

กิจกรรมกลุ่มเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยม

ศึกษาปีที่ 6 ได้ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ จัด

กิจกรรมกลุ่มพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยให้

นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเกิดการเรียนรู้โดย

ใช้เทคนิคต่างๆ ได้แก่ กลุ่มย่อย บทบาทสมมติ

กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จำลอง กลุ่มย่อยการ

อภิปราย มีการสังเกต แสดงความคิดเห็นและให้

ข้อมูลย้อนกลับแก่กันและกัน มีการสรุปวิเคราะห์

ไดพ้ยายามมุง่เนน้ใหน้กัเรยีนมสีว่นรว่มใหน้กัเรยีน

เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด โดย

พยายามสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง

สนิทสนมคุ้นเคย มีความจริงใจ หลีกเลี่ยงการ

ติเตียน ใช้วิธีการยกย่องหรือชมเชยแทน ทำให้

เกิดความสนุกสนาน มีความตั้งใจและกระตือ

รือร้นที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมเป็นอย่างดี

นอกจากนี้นักเรียนแต่ละคนยังได้รับข้อคิดเห็น

ข้อเสนอแนะและการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิต

ประจำวัน รวมถึงการปรับปรุงพฤติกรรมของ

ตนเอง ทำให้แต่ละคนสามารถพัฒนาความฉลาด

ทางอารมณ์ได้ ส่วนขั้นตอนในการดำเนินการจัด

กิจกรรมกลุ่มคือขั้นที่ 1ขั้นการมีส่วนร่วม โดย

ให้นักเรียนกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในฐานะสมาชิก

กลุ่ม ขั้นที่ 2 ขั้นการวิเคราะห์ นักเรียนได้แลก

เปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมแสดงความคิดเห็น

และ ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปและประยุกต์หลักการ

นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมและผู้วิจัย

สรุปเพิ่มเติมโดยแต่ละขั้นตอน นักเรียนได้ลงมือ

ปฏิบัติด้วยตนเอง ที่ช่วยส่งผลต่อการอภิปราย

แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม ทำให้เกิดการเรียน

รู้เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์สามารถเข้าใจ

ตนเองและผู้อื่น ตลอดจนดำเนินชีวิตได้อย่างมี

ความสุข

ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียน

ต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ในประเด็นการจัดกิจกรรมกลุ่มอยู่ในระดับมาก

ที่สุด (X– = 4.67) และผลการประเมินความคิด

เห็นของนักเรียนต่อกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ ในประเด็นการเรียนรู้ที่ได้รับ

จากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับ

มากที่สุด (X– = 4.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ

พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน

Page 18: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 70

9 ข้อ และระดับมากจำนวน 1 ข้อคือนักเรียน

ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ

ตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้หากพิจารณาถึง

พัฒนาการทางสังคมของนักเรียนพบว่า การที่

สมาชิกในกลุ่มซึ่งเป็นนักเรียนในวัยเดียวกันและ

สมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม จะเอื้อให้

สมาชิกเกิดปฏิสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนความคิด

เห็น และเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม อันเป็น

ปัจจัยที่จะทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น ส่วนข้อคิด

เห็น/ข้อเสนอแนะ นักเรียนได้ให้ความคิดเห็น

ว่าการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครั้งนี้ได้รับความรู้

ประโยชน์สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ของตนเองได้ดีขึ้น มีสติคิดก่อนทำมากขึ้น ได้รับ

ความสนุกสนาน สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิต

ประจำวันได้และมีความต้องการให้จัดกิจกรรมใน

ลักษณะนี้อีก และควรจัดให้กับนักเรียนระดับชั้น

อื่นด้วย

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการทำวิจัย

1. การนำกิจกรรมกลุ่มไปใช้พัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน เพื่อความต่อเนื่อง

ของวยัและพฒันาการควรมกีารพฒันาตัง้แตร่ะดบั

ประถมศึกษา

2. การจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความ

ฉลาดทางอารมณ์ควรได้มีการพัฒนากิจกรรมให้

นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของ

ตนเองในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เมื่อ

อยู่ที่บ้านและโรงเรียนไปพร้อมกัน

3. การจัดกิจกรรมกลุ่มต้องการระยะ

เวลาที่ต่อเนื่องในการทำกิจกรรมตลอดจนความ

ร่วมมือของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้า

ร่วมกิจกรรมกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา

ตนเองทีจ่ะปรบัตวัใหอ้ยูใ่นสงัคมไดอ้ยา่งเหมาะสม

ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรศึกษาวิจัยการพัฒนาความฉลาด

ทางอารมณ์ไปใช้กับนักเรียนที่มีคุณลักษณะพิเศษ

เชน่นกัเรยีนทีม่ผีลสมัฤทธิท์างการเรยีนตำ่นกัเรยีน

ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ

2. ควรศึกษาโดยการทดลองกับนักเรียน

ในระดับชั้นอื่นๆ เช่น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา

ตอนต้น อาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาต่อไป

ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการพัฒนากิจกรรมกลุ่ม หรือวิธี

การที่หลากหลายในการพัฒนาความฉลาดทาง

อารมณ์มากยิ่งขึ้น

\[

Page 19: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 วารสาร มฉก.วิชาการ 71

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต. (2539) คู่มือกลุ่มจิตบำบัดสำหรับนักสุขภาพจิต. นนทบุรี :

กรม.กระทรวง.

____.(2541)คู่มือกลุ่มบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับกลุ่มเสี่ยง.นนทบุรี:กรม.กระทรวง.

____.(2543ก) การประชุมวิชาการสุขภาพจิต ปี 2543 สุขภาพจิตดีด้วยอีคิว. นนทบุรี : กรม.

กระทรวง.

____.(2543ข)อีคิว : ความฉลาดทางอารมณ์.นนทบุรี:กรม.กระทรวง.

กิตติพร เอื้อวิศวกุล. (2547) ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ของเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านมิตรภาพอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา.

การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.(จิตวิทยาการให้-คำปรึกษา) มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คมเพชรฉัตรศุภกุล.(2546)กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน.กรุงเทพมหานคร:ธนรัชการพิมพ์.

เจษสุดา ศิริจันทร์. (2553) ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านการจัดการกับ

อารมณ์ของตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม

กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทศพร ประเสริฐสุข. (2543) “ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา” ใน อัจฉรา สุขารมณ์,

วิลาสลักษณ์ชัววัลลีและอรพินธ์ชูชม,บรรณาธิการ.รวมบทความทางวิชาการ EQ.หน้า

89-119.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์Desktop.

บุหงา วชิระศักดิ์มงคล. (2542) กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชา

การศึกษา.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543) วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2548)เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาความฉลาด

ทางอารมณ์ให้เด็ก.นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Page 20: ผลของกิจกรรมกลุ มต อความฉลาด ...journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/บทที่ 4.pdf · 2013. 7. 24. · ปีที่ 16 ฉบับที่

วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 32 มกราคม - มิถุนายน 2556 72

ศิริสุดา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2548) ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความ

ฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา :วิทยานิพนธ์วท.ม.(จิตวิทยาพัฒนาการ)

กรุงเทพมหานคร:บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภวดี บุญญวงศ์. (2527) กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. สงขลา: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยา

การศึกษา.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ:วิทยาเขตสงขลา.

Button, L. (1974)Developing group work with adolescents. London: University of

LondonPress.

Rogers,C.R.(1970)Encounter groups.NewYork:Harper&Row.