บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... ·...

17
เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ วัตถุประสงค์ ในการเรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียน นักศึกษาสามารถ 1. บอกหลักการช่วยในการเตรียมตรวจทางการแพทย์ได้ 2. บอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมตรวจทางการแพทย์ได้ หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ หมายถึง การเตรียมผู้ป่วยพร้อมรับการตรวจเพื่อประกอบหรือ สนับสนุนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ประกอบด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีบริการตรวจใน โรงพยาบาล การตรวจทางรังสีวินิจฉัยและคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจระบบประสาท การตรวจสมรรถภาพ ปอดและหัวใจ การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น หอผู้ป่วย หมายถึง หอผู้ป่วยที่รับผู้ป่วยไว้ดูแลและรักษาพยาบาล ผู้ป่วย หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจและแพทย์ลงความเห็นว่าสมควรพักรักษาตัวในหอผู้ป่วย แพทย์เจ้าของไข้หมายถึง แพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยปฏิบัติงานเฉพาะทางของกลุ่มงาน ซึ่งแตละกลุ่มงานจะมีผู้ป่วยอยู่ตามหอผู้ป่วยต่างๆ แพทย์ที่ปรึกษา หมายถึง แพทย์ที่ปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงาน (ตารางเวร) ที่จัดไว้แต่ละกลุ่ม งานให้คาปรึกษาแก่แพทย์เจ้าของไข้ ทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ / พยาบาลเทคนิค / พนักงานช่วยเหลือคนไข้ที่ขึ้น ปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงาน (ตารางเวร) ที่จัดไว้แต่ละหอผู้ป่วย แผนการรักษา หมายถึง คาสั่งการรักษาของแพทย์ที่เขียนไว้ในใบคาสั่งการรักษาและการเปลี่ยนแปลง โรค หัตถการ หมายถึง กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่ปฏิบัติโดยแพทย์และ/หรือ พยาบาลที่กระทาต่อผู้ป่วย ในการตรวจวินิจฉัยหรือเพื่อการรักษา การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. การเตรียมตรวจที่ทาหัตถการโดยแพทย์เจ้าของไข้ /แพทย์ที่ปรึกษา ที่หอผู้ป่วย 2. การเตรียมตรวจที่ทาหัตถการโดยแพทย์เจ้าของไข้ /แพทย์ที่ปรึกษา ที่นอกหอผู้ป่วย 1.การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ในหอผู้ป่วยที่พบในหอผู้ป่วย การเจาะปอด ( Thoracentesis ) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อบรรเทาอาการหายใจลาบากในผู้ป่วยที่มีน้าหรืออากาศอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด 2. เพื่อนาสิ่งที่ได้ส่งตรวจสาหรับการวินิจฉัยโรค

Transcript of บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... ·...

Page 1: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

บทท่ี 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

วัตถุประสงค์ ในการเรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียน นักศึกษาสามารถ

1. บอกหลักการช่วยในการเตรียมตรวจทางการแพทย์ได้

2. บอกอุปกรณ์ท่ีใช้ในการเตรียมตรวจทางการแพทย์ได้

หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์

การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ หมายถึง การเตรียมผู้ป่วยพร้อมรับการตรวจเพื่อประกอบหรือ

สนับสนุนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ประกอบด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่มีบริการตรวจใน

โรงพยาบาล การตรวจทางรังสีวินิจฉัยและคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจระบบประสาท การตรวจสมรรถภาพ

ปอดและหัวใจ การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

หอผู้ป่วย หมายถึง หอผู้ป่วยที่รับผู้ป่วยไว้ดูแลและรักษาพยาบาล

ผู้ป่วย หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจและแพทย์ลงความเห็นว่าสมควรพักรักษาตัวในหอผู้ป่วย

แพทย์เจ้าของไข้หมายถึง แพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยปฏิบัติงานเฉพาะทางของกลุ่มงาน ซึ่งแต่

ละกลุ่มงานจะมีผู้ป่วยอยู่ตามหอผู้ป่วยต่างๆ

แพทย์ที่ปรึกษา หมายถึง แพทย์ที่ปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงาน (ตารางเวร) ที่จัดไว้แต่ละกลุ่ม

งานให้ค าปรึกษาแก่แพทย์เจ้าของไข้

ทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ / พยาบาลเทคนิค / พนักงานช่วยเหลือคนไข้ท่ีขึ้น

ปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงาน (ตารางเวร) ที่จัดไว้แต่ละหอผู้ป่วย

แผนการรักษา หมายถึง ค าสั่งการรักษาของแพทย์ที่เขียนไว้ในใบค าสั่งการรักษาและการเปลี่ยนแปลง

โรค

หัตถการ หมายถึง กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่ปฏิบัติโดยแพทย์และ/หรือ พยาบาลที่กระท าต่อผู้ป่วย

ในการตรวจวินิจฉัยหรือเพ่ือการรักษา

การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. การเตรียมตรวจที่ท าหัตถการโดยแพทย์เจ้าของไข้ /แพทย์ที่ปรึกษา ที่หอผู้ป่วย

2. การเตรียมตรวจที่ท าหัตถการโดยแพทย์เจ้าของไข้ /แพทย์ที่ปรึกษา ที่นอกหอผู้ป่วย

1.การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์ในหอผู้ป่วยที่พบในหอผู้ป่วย

การเจาะปอด ( Thoracentesis )

วัตถุประสงค์

1. เพ่ือบรรเทาอาการหายใจล าบากในผู้ป่วยที่มีน้ าหรืออากาศอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด

2. เพ่ือน าสิ่งที่ได้ส่งตรวจส าหรับการวินิจฉัยโรค

Page 2: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

2

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ข้อห้าม

- สารน้ าในโพรงเยื่อหุ้มปอด มีปริมาณน้อย

- มีเลือดออกผิดปกติ

- ผู้ป่วยยังใช้เครื่องช่วยหายใจ

- มีการติดเชื้อรุนแรงที่ผิวหนังบริเวณท่ีจะเจาะ

อุปกรณ์

1. Betadine solution/ Aseptic Solution

2. 1% Xylocaine without adrenaline

3. ส าลี , Gauze ตามความเหมาะสม

4. ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง

5. Syringe ขนาด 5 cc

6. เข็มเบอร์18 , 24

7. IV Catheter เบอร์18 ส าหรับเจาะปอด

8. Set IV ส าหรับต่อลงขวด

9. ขวด Sterile 1000 cc 1 ขวด

Page 3: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

3

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

10. พลาสเตอร์ปิดแผล

11. Three – Way + สายยางส าหรับต่อระบายขวด

12. Syringe ขนาด 20/50 cc

13. ถุงมือสะอาด 1 คู่

ขั้นตอนปฏิบัติ

ขั้นตอนก่อนเจาะ

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ

2. จัดท่าผู้ป่วยซึ่งข้ึนอยู่กับสภาพของผู้ป่วย

- ท่านั่งบนเตียงเหยียดเท้าและฟุบบนโต๊ะ

- ท่านั่งเก้าอ้ี หันหน้าเข้าหาพนักพิงและวางแขนลงบนพนักเก้าอ้ี

- ท่านอนราบอยู่บนเตียงยกแขนข้างที่แพทย์ท าการเจาะสูงขึ้นไขว้มือไว้เหนือศีรษะ

ขั้นตอนปฏิบัติขณะแพทย์ท าหัตถการ

1. ก่อนเจาะทาผิวหนังบริเวณที่จะเจาะด้วย Betadine solution

2. ปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางและฉีดยา 1% Xylocaine without adrenaline บริเวณท่ีจะเจาะ

3. แทงเข็มเจาะปอดเข้าในช่องเยื่อหุ้มปอดตรงต าแหน่งที่ต้องการ พยาบาลผู้ช่วยบอกให้ผู้ป่วยไม่

เคลื่อนไหวร่างกาย

4. เมื่อดูดน้ าได้ให้ต่อ Set IV ต่อ Three – Way และ Syringe ขนาด 50 cc + Set IV ต่อลง

ขวด

การพยาบาลหลังเจาะปอด

1) กรณีท่ีเมื่อเจาะเสร็จแล้วดึงเข็มออกกดแผลไว้สักครู่ ปิดแผลด้วยผ้า Gauze

2) จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงข้างที่เจาะ นอนทับบริเวณแผลที่เจาะอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

3) บันทึกจ านวนลักษณะของน้ า สี กลิ่น และเก็บน้ าเจาะปอดส่งตรวจ

4) วัดและบันทึกสัญญาณชีพจนกว่าจะเป็นปกติ

ข้อควรระวัง

1) ขณะเจาะควรระวังผู้ป่วยอาจมีอาการ เป็นลม เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก ชีพจรเบาเร็ว เหนื่อยหอบ

2) ขณะเจาะให้ผู้ป่วยนั่ง/นอน นิ่งๆ เพราะเข็มอาจแทงทะลุเข้าไปในเนื้อปอดได้

3) การติดเชื้อบริเวณแผลที่เจาะ

การเจาะช่องท้อง ( Abdominal Paracentesis/Abdominal Tapping )

วัตถุประสงค์

1. เพื่อบรรเทาอาการแน่นท้อง ระบายอยู่ในช่องท้อง

Page 4: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

4

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

2. เพื่อน าสิ่งที่ได้ส่งตรวจส าหรับการวินิจฉัยโรค

ข้อห้าม

- สารน้ าในช่องท้อง มีปริมาณน้อย

- มีเลือดออกผิดปกติ

- มีการติดเชื้อรุนแรงที่ผิวหนังบริเวณท่ีจะเจาะ

อุปกรณ์

1. Betadine solution/ Aseptic Solution

2. 1% Xylocaine without adrenaline

3. ส าลี, Gauze ตามความเหมาะสม

4. ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง

5. Syringe ขนาด 5 cc

6. เข็มเบอร์18 , 24

7. IV Catheter เบอร์18 ส าหรับเจาะปอด

8. Set IV ส าหรับต่อลงขวด

9. ขวด Sterile 1000 cc 1 ขวด

10. พลาสเตอร์ปิดแผล

11. Three – Way + สายยางส าหรับต่อระบายขวด

Page 5: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

5

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

12. Syringe ขนาด 20/50 cc

13. ถุงมือสะอาด 1 คู่

ขั้นตอนปฏิบัติขณะแพทย์ท าหัตการ

1. ก่อนเจาะทาผิวหนังบริเวณท่ีจะเจาะด้วย Betadine solution

2. ปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางและฉีดยา 1% Xylocaine without adrenaline บริเวณท่ีจะเจาะ

3. แทงเข็มเจาะท้องตรงต าแหน่งที่ต้องการ พยาบาลผู้ช่วยบอกให้ผู้ป่วยไม่ เคลื่อนไหวร่างกาย

4. เมื่อดูดน้ าได้ให้ต่อ Set IV ต่อ Three – Way และ Syringe ขนาด 50 cc + Set IV ต่อลงขวด

5. ส าหรับการเจาะดูดสารน้ า เพ่ือลดปริมาณและความดันในช่องท้องควรใช้เข็มขนาดใหญ่เบอร์ 18 ให้

ต่อเข็มเข้ากับสายยางลงในขวดปราศจากเชื้อแล้วใช้พลาสเตอร์ยึดเข็มไว้กับหน้าท้องผู้ป่วย เพื่อกันเข็ม

เลื่อนเข้าออก สารน้ าจะค่อยๆ ไหลลงขวดเองช้าๆ ปริมาณสารน้ าที่เจาะออกควรจะไม่มากนักในแต่ละ

ครั้ง (ไม่ควรเกิน 2-4 ลิตร) โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม.

6. ผู้ป่วยมี Ascites มากจนผนังหน้าท้องตึง ซึ่งจะมีโอกาสเกิดน้ าในท้องรั่วซึมออกมาท่ีผนังหน้าท้อง

หลังการเจาะได้ในกรณีนี้แพทย์จะใช้เทคนิคการเจาะเป็น “Z Tract” เทคนิคนี้ท าได้โดยถือเข็มเจาะ

ด้วยมือขวา ส่วนนิ้วหัวแม่โป้งมือซ้ายกดและดึงผนังหน้าท้องให้ต่ าลงมาประมาณ 2 cm. หลังจากนั้นจึง

ค่อยๆแทงเข็มผ่านผนัง หน้าท้องจนดูดน้ าได้ตามต้องการ หลังจากนั้นจึงดึงเข็มออกและ คลายการดึง

ผิวหนังของหัวแม่มือซ้าย วิธีนี้จะได้แนวเจาะของเข็ม เป็นรูปตัว “Z” ซึ่งจะป้องกันการรั่วซึมของ

Ascites ได ้

7. การท า Large Volume Paracenthesis คือ การเจาะน้ าออกในปริมาณมากกว่า 5 ลิตร ควรให้

Albumin ทดแทนก่อนทุกครั้ง โดย ให้ Human Albumin ทางหลอดเลือดด า 8-10 กรัมต่อลิตรของ

ปริมาณน้ าที่เจาะออกมา

การพยาบาลหลังเจาะท้อง

1) กรณีท่ีเมื่อเจาะเสร็จแล้วดึงเข็มออกกดแผลไว้สักครู่ ปิดแผลด้วยผ้า Gauze

2) จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงข้างที่เจาะ นอนทับบริเวณแผลที่เจาะอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

3) บันทึกจ านวนลักษณะของน้ า สี กลิ่น และเก็บน้ าก่อนส่งตรวจ

4) วัดและบันทึกสัญญาณชีพจนกว่าจะเป็นปกติ

การเจาะตรวจน้ าไขสันหลัง (Lumbar Puncture)

เป็นหัตถการที่ท าเพ่ือการวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง และ subarachnoid

hemorrhage นอกจากนี้ยังเพ่ือการรักษาโดยการให้ยาเข้าน้ าไขสันหลัง เช่น ยาเคมีบ าบัด ยาระงับปวด สาร

ทึบแสง เป็นต้น หรือใช้ระบายน้ าไขสันหลังเพ่ือรักษาภาวะความดันในช่องกะโหลกศีรษะ

ข้อห้าม

Page 6: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

6

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

- สงสัยภาวะไขสันหลังได้รับภยันตรายหรือถูกกด

- มีการติดเชื้อของผิวหนังในต าแหน่งที่เจาะตรวจ

- ภาวะความดันในกะโหลกสูง (increase intracranial pressure) หรือ space-occupying lesion ซ่ึง

มีความเสี่ยงต่อการเกิด cerebral herniation สูง

- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติอย่างมาก หรือปริมาณเกล็ดเลือดต่ ากว่า 100,000/mm3 หาก

จ าเป็นต้องเจาะหลังควรให้สารประกอบของเลือดเพ่ือแก้ไขความผิดปกติก่อนท าการเจาะหลัง

อุปกรณ์

1. Betadine solution

2. 1% Xylocaine without adrenaline

3. ส าลี, Gauze ตามความเหมาะสม

4. ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง

5. Tooth Forceps

6. ถ้วยใส่น้ ายา

7. Syringe ขนาด 5 cc

8. เข็มเบอร์18 , 24

9. เข็มเจาะน้ าไขสันหลัง แบบที่มี stylet (ขนาดตามตาราง) ส าหรับเจาะ

ตารางขนาดเข็มเจาะน้ าไขสันหลังที่เหมาะสมตามอายุ

Page 7: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

7

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

อายุ ขนาดเข็มเจาะน้ าไขสันหลัง ทารกก่อนก าหนด 22 gauge หรือเล็กกว่า ยาว 1.5 นิ้ว

ทารกแรกเกิด - 2 ปี 22 gauge ยาว 1.5 นิ้ว 2 - 12 ปี 22 gauge ยาว 2.5 นิ้ว

มากกว่า 12 ป ี 20 หรือ 22 gauge ยาว 3.5 นิ้ว

10.ขวดปลอดเชื้อ ส าหรับใส่น้ าไขสันหลัง

11.พลาสเตอร์ปิดแผล

12.หลอดวัดความดันน้ าไขสันหลัง และท่อต่อ 3 ทาง (three-way stopcock)

13.Syringe ขนาด 20 cc

ขั้นตอนปฏิบัติ

การเตรียมผู้ป่วยก่อนเจาะ

1. จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เพ่ือให้ช่องระหว่าง lamina กว้างขึ้น โดยให้เด็กนอนตะแคงชิด

ขอบโต๊ะ ช้อนแขนใต้ศีรษะเด็กให้ก้มคางชิดหน้าอก สอดแขนอีกข้างใต้เข่าเด็ก และงอเข่าขึ้นมาชิดหน้า

ท้อง ผู้ช่วยจับข้อมือของตัวเองให้แน่น จะท าให้สามารถจับเด็กได้อย่างมั่นคง (ภาพที่ 1) และดูแลให้

ไหล่และสะโพกของเด็กตั้งฉากกับพ้ืนและจัดท่าผู้ใหญ่ในท่าตะแคงตัวกอดเข่า (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 1 แสดง การจัดท่าเด็กเล็กเพ่ือการเจาะน้ าไขสันหลัง ที่มา

https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_551/Basic_pediatric_procedure/index10.

html

Page 8: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

8

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ภาพที่ 2 แสดง การจัดท่าผู้ใหญ่เพ่ือการเจาะน้ าไขสันหลัง ที่มา

https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_551/Basic_pediatric_procedure/index10.

html

2. คล าต าแหน่ง posterior superior iliac crests ลากเส้นสมมุติตรงลงมาที่กระดูกสันหลังจะอยู่ตรง

กับช่องกระดูกสันหลังที่ L3-L4 เลือกเจาะน้ าไขสันหลังที่ระดับ L3-L4 หรือ L4-L5 เด็กทารกอาจเลือก

ที่ระดับ L2-L3 ได้

3. ท าความสะอาดผิวหนังด้วยน้ ายาฆ่าเชื้อ เริ่มจากตรงกลางวนไปรอบ ๆ เป็นบริเวณกว้าง ปูผ้าเจาะ

กลาง

4. ฉีด 1% lidocaine ที่ต าแหน่งที่ต้องการ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ยานอนหลับร่วมด้วย

5. ใช้เข็มเจาะหลังแทงเข้าตรงกลางช่อง ตัวเข็มให้ตั้งฉากกับผิวหนัง ปลายเข็มชี้ไปท่ีสะดือ ขณะแทงเข็ม

ผ่าน ligamentum flavum และ dura (ภาพที่ 3) จะรู้สึกว่ามีความหนืดต้านอยู่ ทันทีที่ทะลุผ่าน dura

แรงต้านจะหายไป ให้เอา stylet ออก ตรวจสอบว่ามีน้ าไขสันหลังออกมาหรือไม่

Page 9: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

9

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ภาพที่ 3 กายวิภาคของกระดูกสันหลังและโพรงน้ าไขสันหลัง ที่มา

https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_551/Basic_pediatric_procedure/index10.

html

6. ถ้าไม่มีน้ าไหลออกมาให้ลองหมุนเข็ม 90 องศา ถ้ายังไม่มีน้ าไหลให้ใส่ stylet กลับเข้าไป แล้วเลื่อน

เข็มเข้าไปอีกเล็กน้อย ตรวจสอบอีกครั้ง ถ้ายังไม่ไหลให้ดึงเข็มที่มี stylet ออกมา ให้ปลายเข็มอยู่ใต้

ผิวหนังแล้วสอดเข็ม โดยเปลี่ยนทิศทางใหม่ ถ้าน้ าไขสันหลังมีเลือดปน อาจเป็น traumatic tap ถ้าไม่

ไหลหรือมี clot ให้เปลี่ยนเข็มและอาจเปลี่ยนช่องไขสันหลังในระดับที่สูงขึ้น

7. วัด opening pressure โดยใช้ manometer ควรท าทุกรายถ้าท าได้ เด็กท่ีดิ้นมาก ไม่ให้ความ

ร่วมมือ ค่าที่วัดได้อาจคลาดเคลื่อน ค่าท่ีวัดได้จะถูกต้องถ้าเด็กอยู่ในท่านอนตะแคง ไม่เกร็ง และน้ าไข

สันหลังไหลดี ต่อเข็มเจาะน้ าไขสันหลังกับ manometer ผ่านท่อต่อ 3 ทาง จนระดับน้ าขึ้นได้สูงสุดใน

manometer และขยับขึ้นลงตามการหายใจ ความดันปกติอยู่ที่ 5-20 เซนติเมตรน้ า ถ้าขาและศีรษะ

เหยียดออก และถ้าผู้ป่วยอยู่ในท่าก้มศีรษะและงอขา ความดันปกติจะอยู่ที่ 10-20 เซนติเมตรน้ า

8. เก็บน้ าไขสันหลังจ านวนเท่าที่ต้องการส่งตรวจ

9. วัด closing pressure จากนั้นใส่ stylet และเอาเข็มออก เช็ดผิวหนัง ปิดแผล

การพยาบาลหลังเจาะตรวจน้ าไขสันหลัง

1) กรณีท่ีเมื่อเจาะเสร็จแล้วดึงเข็มออกกดแผลไว้สักครู่ ปิดแผลด้วยผ้า Gauze

2) จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงข้างที่เจาะ นอนทับบริเวณแผลที่เจาะอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

3) บันทึกจ านวนลักษณะของน้ า สี กลิ่น และเก็บน้ าก่อนส่งตรวจ

4) วัดและบันทึกสัญญาณชีพจนกว่าจะเป็นปกติ

ภาวะแทรกซ้อน

1. ปวดหลัง มักไม่รุนแรง

2. Paresthesia เนื่องจากปลายเข็มถูก cauda equina เมื่อขยับเข็มอาการมักจะหายไป

3. ปวดศีรษะ ร่วมกับ vertigo, tinnitus และ diplopia ซึ่งเกิดจากการซึมของน้ าไขสันหลังผ่านรู dura

ควรป้องกันโดยใช้เข็มเจาะขนาดเล็กและระบายน้ าไขสันหลังออกครั้งละน้อย

4. ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอ่ืนๆ ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น LP-induced meningitis, subdural/epidural

hematoma, epidermoid tumor, disk herniation, retroperitoneal abscess, spinal cord

hematoma และ cerebral herniation

การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง ( handling ) :

1.) น้ าเจาะจากช่องต่าง ๆ ควรน าส่งตรวจให้ถึงห้องปฏิบัติการภายในเวลาครึ่งชั่วโมง

Page 10: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

10

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

2.) น้ าเจาะจากช่องปอด ช่องท้อง และช่องหัวใจ หากส่งตรวจไม่ได้ทันทีให้น าเข้าตู้เย็น 4°C ได้เป็นเวลา

48 ชั่วโมง

3.) น้ าเจาะจากข้อหากไม่สามารถส่งตรวจทันทีให้เก็บท่ีอุณหภูมิห้องได้ 2-3 ชั่วโมงการเจาะ

2. การเตรียมตรวจพิเศษทางการแพทย์นอกหอผู้ป่วย(ต่างแผนก/นอกโรงพยาบาล)

การตรวจทางรังสีวินิจฉัยพิเศษท่ีพบบ่อย การตรวจพิเศษทางรังสี ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจซึ่ง

การให้บริการตรวจพิเศษทางรังสี มี 3 ประเภท คือ

1) การตรวจด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound/Ultrasound Doppler)

2) การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Intra-Venous Pyelography)

3) การตรวจล าไส้ใหญ่ (Barium Enema) การตรวจกระเพาะอาหาร (Upper GI) และ การตรวจ

หลอดอาหาร (Barium Swallowing)

1) การตรวจด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound/Ultrasound Doppler)

Ultrasound

เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถ่ีสูง เกินระดับที่หูของคนเราจะได้ยิน เป็นคลื่นเสียงที่ไม่ก่อให้เกิด

อันตรายใดๆ ทั้งสิ้น ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับ ,ตับอ่อน,ม้าม,ถุงน้ าด,ีไต,ท่อ

ไต,กระเพาะปัสสาวะ,ต่อมลูกหมาก,มดลูก และทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังสามารถดูความผิดปกติของหลอด

เลือดได้อีกด้วย โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดบริเวณท่ีตรวจ นอกเหนือไปจากแรงกดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ข้อแนะน าในการเตรียมตัวก่อนตรวจ Ultrasound

การเตรียมตัวเพื่อตรวจก้อนบริเวณผิวหนัง ,เต้านม หรือต่อมไทรอยด์ งดทาแป้ง หรือโลชั่น

บริเวณส่วนที่ตรวจ

การเตรียมตัวเพื่อตรวจอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)

- งดอาหารและเครื่องดื่มท่ีไม่มีไขมันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง

- ก่อนตรวจ 1 ชม. ให้ดื่มน้ าเปล่าประมาณ 1 ขวด (ขนาด 500 ซีซี ขึ้นไป) และกลั่นปัสสาวะไว้

- การตรวจต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะเต็มที่ (จะตรวจขณะที่กระเพาะปัสสาวะขยายตัวเต็มที่)

การเตรียมตัวเพื่อตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)

- งดอาหารและเครื่องดื่มท่ีไม่มีไขมันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง

การเตรียมตัวเพื่อตรวจช่องท้องส่วนล่าง(Ultrasound Lower Abdomen) และระบบ

ทางเดินปัสสาวะ(Ultrasound KUB)

-ทานอาหารได้ตามปกติ

- ก่อนตรวจ 1 ชม. ให้ดื่มน้ าเปล่าประมาณ 1 ขวด (ขนาด 500 ซีซี ขึ้นไป) และกลั่นปัสสาวะไว้

Page 11: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

11

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

- การตรวจต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะเต็มที่ (จะตรวจขณะที่กระเพาะปัสสาวะขยายตัวเต็มที่)

เพ่ือจะได้เห็นกระเพาะปัสสาวะได้อย่างชัดเจน

การตรวจทางหัวใจ

การตรวจพื้นฐาน

1) การตรวจร่างกาย เพ่ือดูน้ าหนัก ส่วนสูง BMI การจับชีพจร อัตราและความสม่ าเสมอของการ

เต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติไหม เช่น เสียงสาม เสียงสี่ หรือ เสียง

ฟู นอกจากนั้นแล้วแพทย์จะตรวจร่างกาย ทุกระบบด้วย เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ และ

ดูโรคอ่ืนๆที่อาจพบรวมด้วย

2) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ(แต่ไม่ดี

นัก) บอกโรคของเยื้อหุ้มหัวใจบางชนิด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หลายคนคิดว่าการตรวจ

คลื่นไฟฟา้หัวใจเป็นการ"เช็ค" หัวใจ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็

ต่อเมื่อมีโรคหัวใจที่รุนแรง เช่น หัวใจขาดเลือดรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้น ผิดจังหวะ

เป็นต้น ต้องเข้าใจว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ไม่ไต้หมายความว่าไม่ไต้เป็นโรคหัวใจ

3) เอกซเรย์ทรวงอก หรือเรียคงยว่าเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะเห็นทั้งปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การ

กระจายของเลือดในปอต ภาวะน้ าท่วมปอดหรือ หัวใจลัมเหลว เงาของหัวใจซึ่งบอกขนาดหัวใจได้

ดีพอควร

4) ตรวจเลือด การตรวจหาระตับสารต่างๆในเลือต ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง แต่เป็น

การดูเพ่ือหาปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค

และ การใช้ยาต่างๆ (เพ่ือลดปัญหาแทรกซ้อนจากยา)

การตรวจพิเศษ

I. Echocardiogram หรือ อัลตราซาวน์หัวใจ

ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจโดยหัวตรวจ

ชนิดพิเศษ เมือคลืนเสียงความถ่ีสูง ผ่านอวัยวะต่างๆจะเกิดสัญญาณสะทอ้นกลับ ซึ่งแตกต่างกัน

ระหว่างน้ า เนื้อเยื้อ คอมพิวเตอร์น าเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างภาพดังนั้น ภาพที่เห็นก็คือหัวใจของ

ผู้ป่วย Echocardiogram จึงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุแรง

ติดตามผลการรักษาโรคหัวใจและ หลอดเลือดไต้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหัวใจ

แตก่ าเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะ

ไม่เห็นหลอดเลือดหัวใจโดยตรง และอาจได้ภาพไม่ชัดเจนในผู้ป่วยที่อ้วนหรือผอมมาก หรือมีถุงลม

โป่งพอง เนื่องจากไขมันและอากาศขัดขวางคลื่นเสียงความถี่สูง

II. Exercise Stress Test การเดนิสายพาน

Page 12: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

12

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

หลักการ คือ ให้ผู้ป่วย(หรือผู้ที่ต้องการตรวจ) ออกก าลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไป

เรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน) เมื่อออกก าลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจ าเป็นต้องได้รับ

เลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่ส ามารถ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้

เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และ มีการเปลี่ยนแปลของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้

ยังช่วย บอกแพทยด้์วยว่าผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และ ใช้ในการติดตามผู้ป่วยภายหลัง

ไต้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือการขยายหลอดเลือต หรือการผ่าตัด โดยการให้ผู้รับการ

ทดสอบเดินบนสายพาน ต่อขั้วและสายน าไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computer

ในขณะที่เดินอยู่ เครื่อง Computer จะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นน าไฟฟ้าภายในหัวใจ

พร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลาในขณะทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชัน ของเครื่อง

เป็นระยะๆ ตามโปรแกรมที่จะเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบ โดย เฉพาะเป็นรายๆไป

เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบสามารถทราบผลการทดสอบจากแพทย์ ซึ่งจะเฝ้าสังเกตอาการอยู่

ด้วยตลอดการทดสอบได้ทันที

การเตรียมตัวส าหรับผู้ป่วยที่มารับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

1. งดน้ าและอาหารก่อนการตรวจ 6 ชั่วโมง

2. แจ้งเจ้าหน้าที่เวลามานัดหรือก่อนรับการตรวจในกรณีต่อไปนี้

สตรีตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์

ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีมาก่อน

ผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารทะเล

ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาอ่ืนๆ

ผู้ป่วยมีประวัติโรคประจ า ตัวต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และลมชัก เป็นต้น

3. ในกรณีผู้ป่วยที่ท าการตรวจระบบช่องท้องส่วนล่างและช่องท้องทั้งหมด ผู้ป่วยต้องดื่มน้ า ที่มี

ส่วนผสมของสารทึบรังสี ตามค าแนะน า ของเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ

4. ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสี อาหารทะเล โรคหอบหืด ให้รับประทานยาแก้แพ้ตามแพทย์สั่ง

5. ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปหรือมีโรคประจ าตัวควรมีผลค่าการท างานของไตก่อนการตรวจไม่ 7

วัน

6. ผู้ป่วยทุกอายุที่งดอาหารและน้ าทุกชนิด สามารถรับประทานยาประจ าตัว โดย ดื่มน้ าเปล่าได้ไม่เกิน

1 / 4 ของแก้วน้ าปกติ ก่อนเข้ารับการตรวจ 2 ชั่วโมง

7. หากท่านมีข้อสงสัย สามารถสอบถามจากทางเจ้าหน้าที่ได้

Page 13: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

13

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

การเตรียมทางรังสีวินิจฉัยอื่นๆ

การตรวจสวนแป้งแบเรียม ( Barium Enema)

เป็นวิธีการตรวจทางรังสีวิทยาเพ่ือหาความผิดปกติของล าไส้ใหญ่ โดยการสวนแป้งแบเรียมและลมเข้าทาง

ทวารหนัก จากนั้นจึงท าการเอกซเรย์

ประโยชน์ของการสวนแป้งแบเรียม คือ การสวนแป้งแบเรียมใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของล าไส้ใหญ่ เช่น

เนื้องอก มะเร็ง หรือการอุดตันในล าไส้ใหญ่

การเตรียมตัวเข้ารับการสวนแป้งแบเรียม

แจ้งข้อมูลให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจ าตัว ประวัติการแพ้ยา/สารเคมี ยาที่รับประทานเป็น

ประจ า และประวัติการผ่าตัด

ผู้ป่วยต้องมีการจ ากัดอาหาร โดยรับประทานอาหารอ่อนๆ ที่มีกากน้อยล่วงหน้าก่อนการตรวจ 2 วัน

ท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ในคืนก่อนตรวจ ซึ่งท าได้หลายวิธี โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการดื่มของเหลวเข้า

ไปเพื่อช่วยกระตุ้นล าไส้และถ่ายท้อง ในบางกรณีอาจมีการผสมน้ ามันละหุ่งซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบายให้

ดื่มด้วย หรืออาจใช้วิธีอ่ืน เช่น การรับประทานอาหารบางชนิดเพ่ือให้ถ่ายท้อง หรือการสวนทวารหนัก

การเตรียมล าไส้เป็นเป็นขั้นตอนที่ส าคัญมาก เนื่องจากส่งผลต่อความแม่นย าของการตรวจ

งดรับประทานอาหารเช้าในวันที่เข้ารับการตรวจ

ขั้นตอนของการสวนแป้งแบเรียม

ผู้ป่วยจะต้องเปลี่ยนเป็นชุดของโรงพยาบาล จากนั้นจึงท าการใส่สายสวนและแป้งแบเรียมเข้าทางทวาร

หนัก เพื่อให้แป้งไปเคลือบที่ผนังล าไส้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่มักจะต้องใส่ลมเข้าไปด้วย เพื่อให้ล าไส้ขยายตัว ท าให้

เห็นผนังล าไส้ได้ชัดเจน แล้วจึงถ่ายภาพเอกซเรย์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

แป้งแบเรียมอาจท าให้เกิดอาการท้องผูกได้ หลังการตรวจ ผู้ป่วยควรดื่มน้ าและรับประทานผักผลไม้

มากๆ ในกรณีท่ีผู้ป่วยเคยมีประวัติท้องผูกก่อนหน้านี้ แพทย์อาจพิจารณาสั่งจ่ายยาระบายให้ในกรณีที่

จ าเป็น

ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการแพ้สารแบเรียม แต่พบได้น้อย หากผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ ควรปรึกษารังสี

แพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจ

ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ไม่ควรเข้ารับการตรวจด้วยวิธีนี้ เนื่องจากต้องใช้การเอกซเรย์

ในการตรวจด้วย

ผู้ป่วยบางรายอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดล าไส้ทะลุ แต่เกิดได้น้อย ท าให้แบเรียมไหลจากล าไส้ใหญ่เข้าสู่

ช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์จะพิจารณาใช้สารทึบรังสีชนิดละลายน้ า

หรือใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยอื่น

Page 14: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

14

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

การตรวจกลืนแป้งแบเรียม( Barium Swallow)

การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และล าไส้ส่วนต้น (Upper gastrointestinal series) เป็น

การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและล าไส้ส่วนต้น โดยเน้นการตรวจกระเพาะอาหารเป็นส าคัญ ผู้ป่วย

จะต้องดื่มสารทึบรังสีหรือกลืนแป้งแบเรียมซัลเฟต เพ่ือเคลือบกระเพาะอาหารและล าไส้ในระหว่างการ

ถ่ายภาพเอกซเรย์ เพ่ือให้เห็นพยาธิสภาพของทางเดินอาหารส่วนต้นทั้งหมด

วัตถุประสงค์

1.เพ่ือตรวจดูว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติเหล่านี้หรือไม่ เช่น ไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatus hernia) กระเปาะ

ของล าไส้ใหญ่ (Diverticulum) และมีเลือดออก (Varices)

2.เพ่ือตรวจดูต าแหน่งของการตีบตันแผล ก้อนเนื้องอก การอักเสบ หรือบริเวณที่มีการดูดซึมไม่ดี

3.เพ่ือตรวจดูการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและล าไส้ว่าผิดปกติหรือไม่

การเตรียมผู้ป่วย

1.บอกผู้ป่วยว่าจะต้องกลืนแป้งแบเรียมแล้วตามด้วยการเอกซเรย์ เพ่ือตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะ

อาหารและล าไส้เล็ก

2.บอกผู้ป่วยให้รับประทานอาหารอ่อนที่มีกากน้อย งดสูบบุหรี่ 2 – 3 ชั่วโมงก่อนตรวจ และงดอาหาร

และน้ าดื่มหลังเที่ยงคืน

3.บอกผู้ป่วยเรื่องการตรวจ ผู้ดูแล และสถานที่ตรวจ

4.ให้ผู้ป่วยถอดของมีค่าท่ีเป็นโลหะออก

5.แจ้งผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยจะต้องอยู่ในที่ที่มีโต๊ะเอกซเรย์ ซึ่งจะหมุนได้หลายทิศทาง เช่น แนวดิ่ง

แนวขนาน แนวเอียง เป็นต้น

6.บอกผู้ป่วยว่าในการตรวจนี้จะต้องกลืนแป้งแบเรียม ซึ่งคล้ายกับโอวัลติน ประมาณ 500-600

มิลลิลิตร รสชาติจะไม่อร่อย และอาจจะรู้สึกแน่น ๆ ท้อง ไม่สบายในท้อง เนื่องจากมีแป้งไปฉาบผนังใน

ช่องท้องและล าไส้ไว้

7.บอกผู้ป่วยว่าจะต้องงดรับประทานอาหารหลังเที่ยงคืน และยานอนหลับเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะ

ยาเหล่านี้จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของล าไส้เล็ก ยาลดกรดชนิด H2 receptor antagonists และ

proton pump inhibitors อาจจะงดด้วยหากมีการขย้อนในกระเพาะอาหาร

8.ก่อนตรวจให้ผู้ป่วยสวมเสื้อคลุม ถอดของมีค่าออก ถอดฟันปลอมออก และสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลต่อการ

เอกซเรย์

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ

1.ให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงเอกซเรย์ ที่เอียงจนตั้งตรงและเอกซเรย์หัวใจปอด และท้อง

2.ให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม

Page 15: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

15

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

3.เอกซเรย์ผู้ป่วยตั้งแต่หลอดอาหารจากมุมด้านบนจากขวาและซ้าย ด้านหน้าและด้านหลัง

4.เมื่อแป้งแบเรียมผ่านเข้าไปยังกระเพาะอาหาร คล าหรือกดหน้าท้องดูให้แน่ใจว่าแป้งแบเรียมเข้าไป

ฉาบผนังกระเพาะอาหารพอแล้ว

5.ให้ผู้ป่วยค่อย ๆ กลืนแป้งแบเรียมอีกครั้ง และถ่ายเอกซเรย์กระเพาะอาหารและล าไส้ จากหลังไปหน้า

หน้าไปหลัง ด้านข้าง และด้านเฉียง ในท่าตั้งตรงและท่านอนหงาย

6.แป้งแบเรียมผ่านเข้าไปยังล าไส้เล็ก เอกซเรย์ให้ได้ภาพในระหว่าง 30 ถึง 60 นาท ีจนกระท่ังแป้งผ่าน

เข้าไปถึงวาล์วของล าไส้เล็กต่อล าไส้ใหญ่ (ileocecal valve) หากพบความผิดปกติของล าไส้เล็ก ให้คล า

และกดบริเวณนั้น เพ่ือช่วยตรวจให้ชัดเจน ยิ่งขึ้นและถ่ายภาพไว้ การตรวจจะสิ้นสุดเมื่อแป้งเคลื่อนไป

ยังล าไส้ใหญ่

7.ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารดื่มน้ า หรือรับประทานยา ต้องแน่ใจว่าไม่ต้องเอกซเรย์อีกแล้ว

8.ให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ดื่มน้ าทีละน้อย (ยกเว้นมีข้อห้าม) เพ่ือช่วยขจัดแป้งแบเรียม

9.ให้ยาระบายหรือสวนอุจจาระให้ผู้ป่วย บอกผู้ป่วยว่าอุจจาระจะมีสีขาวเป็นเวลา 24 – 72 ชั่วโมง

บันทึกจ านวนและลักษณะอุจจาระขณะที่อยู่โรงพยาบาล การคั่งค้างของแป้งแบเรียมในล าไส้อาจเป็น

สาเหตุของการอุดตันหรืออุจจาระไม่ออก ดังนั้น ต้องรายงานให้แพทย์ทราบถ้าผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายเอา

แป้งแบเรียมออกได้ใน 2 – 3 วัน เพราะมีผลต่อการตรวจทางเดินอาหารอ่ืน ๆ ได้

ข้อควรระวัง

1.การตรวจนี้อาจเป็นข้อห้าม ในผู้ป่วยที่มีการอุดตัน หรือมีการทะลุของทางเดินอาหาร แป้งแบเรียม

อาจท าให้เพ่ิมการอุดตันมากข้ึนหรือท าให้มีการไหลซึมเข้าไปในช่องท้อง

2.การตรวจนี้ห้ามท าในหญิงตั้งครรภ์ เพราะสารทึบรังสีจะมีผลต่อทารกในครรภ์

Page 16: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

16

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

เอกสารอ้างอิง

I. คณาจารย์และพยาบาลภาควิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.คู่มือปฏิบัติการพยาบาล พิมพ์

ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ,มิตรเจริญการพิมพ์ 2534

II. ร.อ.กุสุมา ค้าวร ภาควิชาการพยาบาลเบื้องต้น การเจาะปอด.สืบค้นวันที่ 17 ก.ย.2562 เวลา 19.00

น.จาก https://rtanc.ac.th/

III. คณาจารย์และพยาบาลภาควิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.การตรวจน้ าเจาะจากช่องต่างๆ

( Body Fluid) สืบค้นวันที่ 17 ก.ย.2562 เวลา 19.00 น.จาก

https://www.si.mahidol.ac.th/th/manual/Project/Document/B/body%20fluids.htm

l

IV. คณาจารย์และพยาบาลภาควิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเจาะช่องท้อง .สืบค้น

วันที่ 17 ก.ย.2562 เวลา 19.00 น.จาก http://portal.nurse.cmu.ac.th/E-

Learning/Lists/List/Attachments/133/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0

%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%

B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8

%AD%E0%B8%87.PDF?Mobile=1

V. คณาจารย์และพยาบาลภาควิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเจาะน้ าไขสันหลัง

สืบค้นวันที่ 17 ก.ย.2562 เวลา 19.00 น.จาก

https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_551/Basic_pediatric_procedure/in

dex10.html

VI. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. การตรวจทางหัวใจ. สืบค้นวันที่ 30

ก.ย.2562 เวลา 19.00 น.จาก

http://www.thaiheart.org/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E

0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0

%B8%88/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%

B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8

%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88.html

VII. Thailand Online Hospital.การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและล าไส้ส่วนต้น (Upper

gastrointestinal (G.I.) series).สืบค้นวันที่ 30 ก.ย.2562 เวลา 19.00 น.จาก

https://thailandonlinehospital.com/th/diagnostic/view/85?n=%E0%B8%81%E0%B8%B2

%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AB%

Page 17: บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียม ... · 2020-05-29 · บทที่ 2 หลักการช่วยในการเตรียมตรวจพิเศษต่างๆ

17

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การชว่ยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0

%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%

B8%9E%E0%B8%

VIII. Bumrungrad International Hospital.การสวนแป้งแบเรียม.สืบค้นวันที่ 30 ก.ย.2562 เวลา

19.00 น.จาก https://www.bumrungrad.com/th/treatments/barium-enema