การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร...

6
1 การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจาก สภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่ม เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลาง (Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to Climate Change on Agricultural Sector: Case Studies of Good Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand) โดย เชิญ ไกรนรา Choen Krainara สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2 พฤษภาคม 2557

description

 

Transcript of การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร...

Page 1: การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

1

การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณศีึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่ม

เกษตรกรรายย่อยในพื้นท่ีภาคกลาง (Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to

Climate Change on Agricultural Sector: Case Studies of Good Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand)

โดย

เชิญ ไกรนรา Choen Krainara

ส านักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง

ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2 พฤษภาคม 2557

Page 2: การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

2

การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุม่เกษตรกรรายย่อยในพ้ืนที่ภาคกลาง

(Enhancing Community-Based Mitigation and Adaptation to Climate Change on Agricultural Sector: Case Studies of Good Practices by Small Farmers in Central Region of Thailand)

ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ก าลังเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายด้านและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมากเนื่องจากหากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้ าที่เพิ่มขึ้น และสภาพอากาศที่แปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตเกษตร รายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด บทความนี้จึงใคร่ขอเสนอกรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลางซึ่งได้ค้นคว้าแนวทางการบรรเทาและปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนระดับชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 1.สถานการณ์สภาวะโลกร้อนในประเทศไทย ประเทศไทยก าลังประสบปัญหาสภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 31 ของโลก หรืออันดับ 4 ของอาเซียน โดย ณ ปี พ.ศ.2548 ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดร้อยละ 56.1 รองลงมาเป็นภาคเกษตรกรรมร้อยละ 24.1 การปล่อยจากภาคของเสียร้อยละ 7.8 การปล่อยจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ท่ีดินและภาคป่าไม้ร้อยละ 6.6 และการปล่อยจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมร้อยละ 5.4 จึงส่งผลให้จ านวนวันที่ร้อนกว่า 35 องศาเซลเซียสมีมากขึ้น โดยภาคที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงกลางวันคือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิประมาณ 42-43 องศาเซลเซียส ส่วนคืนที่เย็นจะ

หายไปเรื่อยๆ โดยพื้นท่ีอากาศเย็นจะเหลือเพียงพื้นที่เทือกเขาสูง ปริมาณน้ าฝนโดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไม่มาก ระดับน้ าทะเลมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2 เซนติเมตร/ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา เป็นเหตุให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยถึงขั้นวิกฤติ ตลอดทั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากน้ีมีการประมาณการณ์ว่าหากประเทศไทยไม่มีมาตรการแก้ไขผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน จะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อปปีระมาณร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2.การพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง ภาคกลางมีพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมจ านวน 31.13 ล้านไร่ โดยแบ่งการใช้ประโยชน์ทีดินออกเป็น นาข้าว 10.21 ล้านไร่ พืชไร่ 9 ล้านไร่ สวนผลไม้/ไม้ยืนต้น 7.39 ล้านไร่ สวนผัก ไม้ดอก/ไม้ประดับ 0.51 ล้านไร่ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ 4.02 ล้านไร่ ผู้ประกอบการเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งถือครองท่ีดินเฉลี่ย 36.85 ไร่ ต่อครัวเรือน (ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ 25.42 ไร่ ต่อครัวเรือน) พื้นที่ภาคกลางมีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานมากที่สุดในประเทศประมาณ 13.70 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของพื้นที่เกษตรทั้งภาคภาคกลาง และยังมีพื้นที่ศักยภาพเพื่อการพัฒนาชลประทานอีกประมาณ 3.60 ล้านไร่ ในปี 2553 ภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้จ านวน 329,229 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของรายได้ทั้งภาคกลาง แต่กระนั้นก็ตามสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคกลางมีบทบาทส าคัญคิดเป็นประมาณร้อยละ 28 ของรายได้จากภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ

Page 3: การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

3

3.ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกรรมในพ้ืนที่ภาคกลาง 3.1 ผลกระทบโดยทั่วไป ภาคเกษตรกรรมเป็นทั้งผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นแหล่งดูดซับพร้อมกับได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคาดการณ์ว่าปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยต่อปีจะลดลงจาก 960-1,290 มิลลิเมตรเหลือ 800-900 มิลลิเมตร และปริมาณน้ าฝนต่อปีจะมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละจุด ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเกษตรในประเทศซึ่งมีลักษณะเป็นการเกษตรตามฤดูกาล รวมทั้งจ านวนวันฝนตกจะเปลี่ยนแปลงและมีความแตกต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ โดยทั่วไปกลุ่มเกษตรกรที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากกลุ่มเกษตรเหล่านี้มีวิถีทางการผลิตที่เช่ือมโยงกับสภาพแวดล้อมอย่างมาก และมีข้อจ ากัดในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาวะโลกร้อนทั้งในด้านศักยภาพและองค์ความรู้ ส าหรับผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชมีสองส่วนหลักคือ ผลกระทบโดยตรงจากการที่อุณหภูมิมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งสามารถวัดผลกระทบในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจน และผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศซึ่งวัดและคาดการณ์ได้ยากกว่าทั้งเรื่องเวลาและระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วความเสียหายจะรุนแรงกว่ากรณีแรก จากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยพบว่าสภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรโดยมี 3 ตัวแปรส าคัญ

ประกอบด้วย (1) ปริมาณผลผลิต ผลการศึกษาแบบจ าลองสภาพภูมิอากาศพบว่าในระยะ 20 ปี ต่อจากนี้ไปอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่ าสุดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับในปัจจุบันมากนัก แต่ในระยะ 90 ปีจะเพิ่มขึ้น งานวิจัยด้านพืชพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับผลผลิตไม่เป็นเส้นตรง บางพืชอาจจะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในระยะแรกแต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลผลิตจะลดลง ดังนั้นผลกระทบของอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิเริ่มต้นเป็นเท่าไรและเป็นพืชชนดิใด (2) ราคาผลผลิต เป็นตัวแปรที่คาดการณ์ได้ยากซึ่งการวิเคราะห์ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อผลผลิตเกษตรมีบริบทของสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าผลผลิตเกษตรของไทยลดลงในขณะที่ผลผลิตของโลกก็ลดลงด้วย สภาวะโลกร้อนก็อาจจะไม่กระทบต่อรายรับของเกษตรกรไทยมากเพราะราคาสินค้าเกษตรจะสูงขึ้น แต่รัฐบาลอาจจะเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหาร จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าในอนาคตทั้งประเทศอินเดีย จีน และมาเลเซีย สามารถผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 20 บังคลาเทศสามารถผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 ขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไร อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นยิ่งท าให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น การศึกษาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อประเทศในเขตอบอุ่น เช่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา พบว่าผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มขึ้น ส าหรับประเทศไทยถ้าผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น หรือในกรณีที่ผลผลิตข้าวไทยลดลงแต่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้นมาก ราคาข้าวจะลดลงตามกลไกตลาด และรายได้เกษตรกรก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์ผลกระทบรายพืชหลักทั้งของไทยและคู่แข่งจึงมีความส าคัญต่อการก าหนดทิศทางการส่งเสริมการเพาะปลูกพืช นอกจากน้ีผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อกิจกรรมการเกษตรยังมีนัยส าคัญต่อความมั่งคงทางอาหารของประเทศอื่นๆ ด้วยเนื่องจากหลายประเทศได้น าเข้าผลผลิตจากประเทศไทยเป็นหลัก ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้อาจจะต้องประสบกับภาวะราคาผลผลิตเกษตรที่สูงขึ้น และ (3) ต้นทุนการผลิต สภาวะโลกร้อนอาจท าให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นท้ังต้นทุนท่ีเกษตรกรสมัครใจท่ีจะจ่ายเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการผลิตเพื่อท่ีจะรักษาระดับการผลิตให้อยู่ในระดับท่ีต้องการ หรือต้นทุนท่ีเป็นผลมาจากแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอก เช่น ข้อตกลงในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยในระยะหลังได้มีการหารือกันถึงการมีส่วนร่วมของภาคเกษตรในการลดก๊าซ

Page 4: การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

4

3.2 ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ 4 ชนิดในพื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย 1) ข้าว ข้าวบางสายพันธ์ุมีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ โดยท าให้อายุข้าวสั้นลงและผลผลิตลดลง รวมทั้งอาจจะมีผลต่อการระบาดของแมลงและโรคของข้าว การขาดน้ าท าให้การผสมเกสรลดลงและลดผลผลิตข้าวได้ ข้าวนาปีมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ในอนาคตแม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นแต่ข้าวส่วนใหญ่ก็ยังสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ปริมาณน้ าฝนรายปีที่ลดลงในพื้นที่ภาคกลางอาจส่งผลต่อการผลิตข้าวบ้าง แต่ปัจจัยที่ส าคัญคือการเริ่มต้นของฤดูฝน หากการแปรปรวนของภูมิอากาศท าให้ฝนมาล่า ช้า จะท าให้เกษตรกรไม่สามารถเตรียมแปลงกล้าได้ ความแปรปรวนของภูมิอากาศและพายุที่อาจมีมากข้ึน อาจจะท าให้เกิดภาวะน้ าท่วมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ข้าวนาปรังมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานในภาคกลาง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลกระทบค่อนข้างน้อยต่อผลผลิตข้าวในเขตชลประทาน แต่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลผลิตข้าวที่อยู่นอกระบบชลประทาน และระบบการผลิตมีความอ่อนไหวต่อการควบคุมและระบายน้ าของภาครัฐซึ่งมีทั้งเพื่อการชลประทานในฤดูแล้งและการจัดการน้ าท่วมในฤดูฝน

2) มันส าปะหลัง การศึกษาการผลิตมันส าปะหลังเป็นระยะเวลานานท าให้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภูมิอากาศที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมีพอสมควร การใช้แบบจ าลองท าให้คาดการณ์ได้ว่ามันส าปะหลังปลูกในพื้นที่ดอนของพื้นที่ผลิตหลักในประเทศอาจได้รับปริมาณน้ าฝนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวมันส าปะหลังมีโอกาสเน่าเสียได้ง่ายขึ้นและให้ผลผลิตลดลง อุณหภูมิและความช้ืนในอากาศและในดินที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอาจท าให้ศัตรูของมันส าปะหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว ไรแดง ปลวกและแมลงนูนหลวง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้โดยตรง 3) อ้อย อ้อยโรงงานจะประสบปัญหาช่วงหน้าแล้งท่ียาวมากขึ้น ท าให้อ้อยอาจขาดน้ าและปริมาณและความหนาแน่นของอ้อยต่อพื้นที่ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตลดลงด้วย นอกจากนี้ในฤดูฝนซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณฝนมากขึ้น อาจจะท าให้อ้อยประสบปัญหาภาวะน ้าขัง ท าให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ นอกจากนี้ศัตรูของอ้อย เช่น หนอนกอด้วงหนวดยาวและปลวก ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน 4) ข้าวโพด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกโดยอาศัยน้ าฝนจะประสบปัญหาความไม่แน่นอนของวันเริ่มต้นของฤดูฝน ความแปรปรวนของฝนในฤดูการผลิตอาจท าให้ข้าวโพดเสี่ยงต่อการระบาดของแมลงและโรคข้าวโพดอีกด้วย อย่างไรก็ตามนักวิชาการคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก 4.กรณีศึกษาการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาสภาวะโลกร้อนระดับชุมชนโดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพ้ืนที่ภาคกลาง กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคกลางได้ตระหนักถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและได้ค้นคว้าแนวทางการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนแบบพึ่งพาตนเองโดยใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีกรณีศึกษาซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ดีระดับชุมชนจ านวน 2 กลุ่มเกษตรกรรายย่อยคือ 4.1 กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ อ าเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คิดค้นวิธีการท านาหยอดแบบไถชักร่อง และพบว่าการปลูกด้วยวิธีนี้มีข้อดี คือ ประหยัดเมล็ดพันธ์ุ รากแตกกอได้ดี และรากลึกกว่านาหว่าน ไม่ต้องใช้น้ ามากท าให้ไม่ต้องรอฝน วิธีการท านาหยอดคือ ใช้ไม้ไผ่เจาะหลุมตามเชือกที่ขึงไว้แล้วหยอดเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งจะท าให้สามารถจัดการหญ้าได้ง่ายขึ้นด้วยการถอนหญ้าตามแปลงข้าว โดยเว้นระยะห่างระหว่างหลุม 50 - 100 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความใหญ่ของกอข้าวของแต่ละสายพันธุ์ และระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร สาเหตุที่เกษตรกรสนใจวิธีการท านาหยอด เพราะการท านาหว่านที่

Page 5: การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

5

ผ่านมาใช้เมล็ดพันธุ์ในปริมาณมากและประสบปัญหาความแปรปรวนของการตกของฝน เมื่อปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา โดยเฉพาะกับนาท่ีมีพื้นท่ีขนาดใหญ่ สมาชิกของกลุ่มจึงได้ค้นหาวิธีการปลกูแบบใหม่ด้วยการท านาหยอดแบบไถชักร่อง เมื่อทดลองแล้วพบว่าวิธีการนี้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแล้งได้ 4.2 กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรสวนผัก-ผลไม้ คลองจินดา อ าเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัวรับมือโลกร้อน โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยการยกร่องท านา ปลูกผักและผลไม้ ในอดีตมีการท าคันล้อมหากเป็นฤดูน้ าหลากก็จะปล่อยให้น้ าท่วมเข้าสวนไปเลย แล้วจึงสูบออกภายหลังเพราะการที่ปล่อยให้น้ าท่วมปีละครั้งเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากน้ าจะพัดพาโรคและแมลงออกไปจากสวน แต่ปัจจุบันเกษตรกรที่มีฐานะดีจะท าคันดินได้สูงกว่าชาวสวนที่มีฐานะยากจนกว่า ท าให้น้ าที่ไหลบ่าจะท่วมขังที่สวนของคนท่ีคันดินต่ ากว่า อย่างไรก็ตามการท าคันล้อมที่มีประสิทธิภาพคือการปลูกพืชเสริมให้รากยึดเกาะบนคันดินเพื่อสร้างความแข็งแรงของคันดิน ชุมชนคลองจินดามีการปลูกพืชผสมผสานกันมากกว่า 50 ชนิด โดยมีการเลือกชนิดของพืชที่ปลูกและวิธีการปลูกที่คาดว่าสามารถรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศได้ และส่งเสริมการปลกูพืชที่มีความเกื้อกูลซึ่งกัน เช่น บนคันร่องจะปลูกหญ้าน้ านมราชสีห์ หญ้าเล็บนก ต้นฝรั่งที่เคยปลูกบนหลังแปลงก็ปรับมาปลูกข้างๆ แปลงสองข้างและให้ต้นโน้มลงมาทางร่องน้ า ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถลดปัญหาเรื่องอากาศร้อนให้กับต้นฝรั่งได้ระดับหนึ่ง (อากาศร้อนมากๆ จะท าให้ผลฝรั่งร่วง) ผลลัพธ์ที่ได้จากการท างานร่วมกันของชาวคลองจินดาคือการเรียนรู้เยี่ยมเยียนสวนของเพื่อนๆ ในชุมชน ท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วิธีการปรับตัวกับสภาวะโลกร้อนของแต่ละสวน เพื่อนน าไปปรับใช้กับสวนตนเอง ในอดีตชาวคลองจินดามักไม่มีเวลาที่จะสนใจเพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่จะยุ่งอยู่กับการดูแลสวนของตนเอง นอกจากนี้ผู้น าชุมชนยังได้ร่วมกันจัดท าแผนที่ความเสี่ยงน้ าท่วมในคลองจินดา ผลลัพธ์ที่ได้ท าให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์พื้นท่ีเสี่ยงภัยน้ าท่วม วางแนวทางป้องกัน แก้ปัญหาร่วมกันในระหว่างประสบอุทกภัยเมื่อปี 2554 โดยมีการระดมเครื่องสูบน้ า รวมทั้งร่วมสมทบงบประมาณเพื่อเป็นค่าบริหารจัดการและค่าน้ ามัน 5.ข้อเสนอแนะเพ่ือส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตร แม้ว่าภาครัฐได้พยายามจัดท าแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร แต่ภารกิจส่วนใหญ่เน้นบทบาทของภาครัฐในการจัดการและแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนจากบนลงล่าง นโยบายของภาครัฐให้ความส าคัญกับการพัฒนามาตรการในการจัดการภัยพิบัติจากสภาพอากาศมากกว่าการเน้นผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เป็นปัญหาผลกระทบท่ีอาจไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติ แต่ได้สร้างผลกระทบและความเสียหายแก่เกษตรกร ตลอดทั้งยังค่อนข้างขาดแนวทางสนับสนุนการบรรเทาและปรับตัวระดับชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรดังนี ้5.1 ภาครัฐควรกระจายข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้แก่เกษตรกร พัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง การตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างกลไกตลาดที่จะช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยตนเอง ซึ่งจะสนับสนุนให้การตัดสินใจของเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่และและการจัดการเกษตรในแต่ละพื้นท่ีเพาะปลูก 5.2 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคเกษตรที่ยังมีความไม่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นฐานการปรับตัวให้ชุมชนที่มีความเปราะบางต่อสภาพอากาศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่ดินท ากินของเกษตรกรรายย่อย เพราะเป็นปัจจัยส าคัญพื้นฐานในการที่จะช่วย ให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการปรับตัว 5.3 ควรส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อการแปลงแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่ปฏิบัติ เพื่อให้การด าเนินงานมีประสิทธิภาพจึงควรกระจายอ านาจให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการปฏิบัติให้มากขึ้น

Page 6: การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากสภาวะโลกร้อนต่อภาคเกษตรกร

6

5.4 ควรมีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของชุมชน 5.5 ควรจัดท าการวิจัยเชิงพื้นที่และสนับสนุนชุมชนให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะในส่วนที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกรและชุมชน 5.6 ควรพัฒนาศูนย์พยากรณ์อากาศระดับชุมชน โดยการสื่อสารข้อมูลของศูนย์โดยการเช่ือมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้กับเกษตรกร ภายใต้เงื่อนไขความต้องการของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนและปรับการผลิตได้อย่างทันท่วงท ี 6.บทสรุป ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ก าลังเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายด้านและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมากเนื่องจากหากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้ าที่เพิ่มขึ้น และสภาพอากาศที่แปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตเกษตร รวมทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้านเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่พ่ึงพาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมาก นอกจากน้ียังอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารทั้งระดับชุมชน ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการบรรเทาและการปรับตัวของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและระดับครัวเรือนของเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยให้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อน าไปสู่เป้าหมายการพัฒนาชนบทในพื้นที่ภาคกลางอย่างยั่งยืนภายใต้บริบทสภาวะโลกร้อน

เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการนโยบายการเปลีย่นแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ.2551.ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศ พ.ศ.2551-2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.2550.แผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร.2555.ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2555 http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=380&filename=index เข้าถึงเมื่อวันท่ี 24 มีนาคม 2557 http://www.thaihealth.or.th/Content/23034 เข้าถึงเมื่อวันท่ี 24 มีนาคม 2557 http://www.greennet.or.th/news/1230 เข้าถึงเมื่อวันท่ี 24 มีนาคม 2557 http://www.environnet.in.th/?p=3062 เข้าถึงเมื่อวันท่ี 29 เมษายน 2557 http://www.thaiclimatejustice.org/topics/agriculture เข้าถึงเมื่อวันท่ี 2 พฤษภาคม 2557