การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

6
CIVIL ENGINEERING MAGAZINE 41 ศวกรรม : คอนกรีต ดร.สำเริงรักซ้อน 1 ศ.ดร.ปริญญาจินดาประเสริฐ์ 2 1 มหาวทยาลยเทคโนโลยราชมงคลพระนคร, 2 มหาวทยาลยขอนแกน 1.บทนำ เหตุที่ส่งผลให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเสื่อม คุณภาพอย่างหนึ่ง คือ การกัดกร่อนของเหล็กเสริม กระบวนการกัดกร่อนแบ่งออกเป็น2ช่วงได้แก่ ช่วงเริ่มต้น (Initiation period) โดยช่วงนี้ไอออน คลอไรด์จะแทรกซึมถึงเหล็กเสริมจนมีความเข้มข้น เกินค่าวิกฤต(Criticalconcentration)ทำให้ ชั้นฟิล์มออกไซด์บางๆ ที่เคลือบอยู่ถูกทำลายส่งผล ทำให้เหล็กเกิดสนิม และช่วงที่สองของการกัดกร่อน (Corrosion period) ซึ่งระยะเวลาของกระบวนการ กัดกร่อนมีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นในการ ออกแบบส่วนผสมคอนกรีตจึงควรพิจารณาถึง ปัจจัยต่างๆ เช่น พิจารณาผลของการซึมน้ำ อัตราส่วนน้ำต่อสารซีเมนต์ระยะหุ้มของคอนกรีต กับเหล็กเสริมคอนกรีตหรือการใช้สารประเภท Fillerเพื่อให้โครงสร้างมีความทึบแน่นมากขึ้น สำหรับปฏิกิริยาทางเคมีของกระบวนการกัดกร่อน ของเหล็กเสริมสามารถแสดงในสมการที่(1) (1) Fe 0 = Fe ++ +2e - การกัดกร่อนของเหล็กเสริมใน คอนกรีต Corrosion of reinforcement in Concrete

Transcript of การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

Page 1: การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

C I V I L E N G I N E E R I N G M AG A Z I N E 41

วิศวกรรม : คอนกรีต ดร. สำเริง รักซ้อน1 ศ. ดร. ปริญญา จินดาประเสริฐ์2

1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1. บทนำเหตุที่ส่งผลให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเสื่อมคณุภาพอยา่งหนึง่ คอื การกดักรอ่นของเหลก็เสรมิ กระบวนการกัดกร่อนแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเริ่มต้น (Initiation period) โดยช่วงนี้ไอออนคลอไรด์จะแทรกซึมถึงเหล็กเสริมจนมีความเข้มข้นเกินค่าวิกฤต (Critical concentration) ทำให้ ชั้นฟิล์มออกไซด์บางๆ ที่เคลือบอยู่ถูกทำลายส่งผลทำให้เหล็กเกิดสนิม และช่วงที่สองของการกัดกร่อน (Corrosion period) ซึ่งระยะเวลาของกระบวนการกัดกร่อนมีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของโครงสร้ างคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่ างๆ เช่น พิจารณาผลของการซึมน้ ำ อัตราส่วนน้ำต่อสารซีเมนต์ ระยะหุ้มของคอนกรีต กับเหล็กเสริมคอนกรีต หรือการใช้สารประเภท Filler เพื่อให้โครงสร้างมีความทึบแน่นมากขึ้น สำหรับปฏิกิริยาทางเคมีของกระบวนการกัดกร่อนของเหล็กเสริมสามารถแสดงในสมการที่ (1) (1)Fe0 = Fe++ +2e-

การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

Corrosion of reinforcement in Concrete

Page 2: การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

42 โ ย ธ า ส า ร

มีงานวิจัยมากมายที่นำวัสดุปอซโซลานมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนทั้งนี้ด้วยเหตุผลก็เพื่อพยายามศึกษาถึงคุณสมบัติของคอนกรีตที่ผสมด้วยวัสดุปอซโซลานเพื่อหาทางป้องกันการกัดกร่อนตลอดทั้งหาวิธีออกแบบเพื่อให้คอนกรีตใช้งานได้ยาวนานอย่างเช่น Choi et al.[1] ได ้ศ ึกษาพฤติกรรมการก ัดกร ่อนของ เหล็กเสริมคอนกรีตที่ผสมด้วยเถ้าลอยภายใต้สภาวะการแช่ด้วยโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 3.5 การวัดค่าประมาณการกัดกร่อนของเหล็กเสริมใช้วิธีทางไฟฟ้าประกอบด้วย open circuit potential, polarization resistance และ electrochemical impedance spectroscopy ส่วนการต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ใช้วิธีตามมาตรฐาน ASTM C1202 [2] เถ้าลอยที่ใช้ในการทดสอบมีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 2.27 และมีพื ้นที ่ผิวจำเพาะเท่ากับ 3375 ตาราง เซนติเมตรต่อกรัม เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ ในปริมาณร้อยละ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50, 0.35 และ 0.31 ตามลำดับการต้านทานการกัดกร่อนเพ่ิมข้ึนด้วยการลดอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานนอกจากนั้นยังพบอีกว่าการใช้เถ้าลอยสามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดีเนื่องจากการใช้เถ้าลอยสามารถลดการซ ึมผ ่านคลอไรด ์ของตัวอย่างทดสอบได้ดี 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกัดกร่อน การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีตอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความเข้มข้นไอออนไฮดรอกไซด์และระดับค่า pH ของน้ำ ในโพรง หรือสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมต่อการเกิดการกัดกร่อน และดังได้กล่าวมาแล้วว่าเหล็กเสริมคอนกรีตปกติจะถูกป้องจากการกัดกร่อนด้วยชั้นฟิล์มบางๆ ที่เคลือบผิวอยู่ [1] และมีสภาพความเป็นด่างของน้ำในโพรงสูง

ปกติแล้วน้ำในโพรงมีค่า pH ประมาณ 13 [1,3] การเกิดการกัดกร่อนของเหล็กเสริมมันอันตรายต่อโครงสร้างคอนกรีต เสริมสองทางประกอบด้วย ทางแรกเป็นการลดพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริม และประการที่สองเป็นการเพิ่มปริมาตรของสนิมจากเดิมทำให้คอนกรีตเกิดแตกร้าว อย่างไรก็ตามกระบวนการ ดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2.1 อิทธิพลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน

เมื่อพิจารณาตารางที่ 9 [1] เป็นส่วนผสมของคอนกรีตที่ใช้ในการทดสอบการต้านทานการกัดกร่อนที่ความแตกต่างของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน นำไปหล่อเป็นตัวอย่างทดสอบตามรูปที่ 1 [1] ผลการทดสอบด้วย Open circuit potential อ้างอิงด้วย ASTM C876 [4] ดังแสดงในรูปที่ 2-3 [1] มีแนวโน้มชี้ให้เห็นว่า ส่วนผสมคอนกรีตด้วยการใช้ W/B ที่ค่าต่ำๆ สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับ W/B ที่มีค่าสูง เนื ่องจาก การลดอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์หรือวัสดุประสานทำให้มีปรับปรุงความพรุนของคอนกรีตให้ลดลง ส่งผลให้คอนกรีตมีเนื้อทึบแน่น มีค่ากำลังอัดที่สูง [5,6] และสามารถลดการแพร่กระจายหรือ ลดการซึมผ่านได้

ตารางที่ 9 ส่วนผสมคอนกรีตแทนที่ด้วยเถ้าถ่านหิน

Concrete Water Cement Fly Fine Coarse W/B type ash aggregate aggregate

OPC – 0.50 185 370 - 754 969 0.50

FA20 – 0.50 185 296 74 744 956 0.50

OPC – 0.35 158 450 - 672 1061 0.35

FA20 – 0.35 158 360 90 661 1042 0.35

OPC – 0.31 155 500 - 626 1074 0.31

FA20 – 0.31 155 400 100 614 1054 0.31

วิศวกรรม : คอนกรีต การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต Corrosion of reinforcement in Concrete

Page 3: การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

C I V I L E N G I N E E R I N G M AG A Z I N E 43

2.2 อิทธิพลของชนิดและปริมาณวัสดุระสาน

การกัดกร่อนเกิดขึ้นได้อันเนื่องจากกระบวนการแทรกซึมหร ือซ ึมผ่านคาร ์บอเนชันหร ือคลอไรด์ในคอนกรีตหรือมอร์ต้าร์ [7] ฉะนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการกัดกร ่อนของเหล็กเสร ิมเนื ่องจาก คาร์บอเนชันหรือคลอไรด์ ต้องพิจารณาถึงปัจจัยหรืออิทธิพลที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับอิทธิพลที่มีผลต่อ

รูปที่3 Potential ตัวอย่างคอนกรีตผสมเถ้าลอย [1]

รูปที่ 1 ขนาดและรูปแบบของตัวอย่างคอนกรีต [1]

epoxy coated steel

unpainted steel concrete 12 mm steel bar

240 mm

150 mm 50 mm 55 mm

การแทรกซึมคาร์บอเนชันหรือคลอไรด์ในข้างต้นเช่นกัน ในหัวข้อนี้กล่าวถึงเพียงอิทธิพลของชนิดและปริมาณวัสดุประสานต่อการกัดกร่อนเนื่องจากการแทรกซึมของคลอไรด์เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงหลักเบื้องต้นของการกัดกร่อนด้วยวัสดุปอซโซลาน โดยเริ่มจากงานวิจัยของ

Batis et al . [8] ศ ึกษาผลกระทบของดินขาวเผา (Metakaolin) ต่อการกัดกร่อนเหล็กเสริมในมอร์ต้าร์ซีเมนต์ การศึกษานี้ใช้ Metakaolin สองชนิดด้วยกัน ประกอบด้วยดินขาวที่มีปริมาณร้อยละของ kaolinite ต่ำและนำมาบดละเอียด และดินขาวชนิดท่ีมีความสะอาดสงูไม ่ม ีส ิ ่งเจ ือปนซึ ่งให ้ช ื ่อท ั ้งสองชนิดว ่า MK และ MKC ตามลำดับ สัดส่วนผสมมอร์ต้าร์ใช้ MK แทนที่ ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 10 และ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และใช้ MKC แทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.60 หลังจากถอดแบบนำตัวอย่างแช่น้ำ 1 วัน นำไปแช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ในปริมาณความเข้มข้นร้อยละ 3.5 เท่ากับ 8 เดือน ในรูปที่ 4 [8] พบว่าดินขาวเผาให้ผลที่ดีในด้านการต้านทานการกัดกร่อนด้วยการแทนที ่ในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน [8] เช่นเดียวกับงานวิจัย ของ Parande et al. [9] ที่พบว่าการใช้ดินขาวแทนที่ ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 15 ด้วยอัตราส่วนน้ำ ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 สามารถต้านทานการ กัดกร่อนได้ดีในทุกอายุการทดสอบที่ 90 และ 150 วัน ส่วนที่อายุทดสอบ 210 และ 270 วัน ต้านทานการกัดกร่อนได้ด้วยปริมาณแทนที่ร้อยละ 10 ดังแสดงในรูปที่ 5 [9]

รูปที่ 2 Potential ตัวอย่างซีเมนต์คอนกรีต [1]

-200

lmmersion time (day) 0 50 100 150 200 250

-273mvsce

-400

-600Pote

ntia

l (m

V vs

. SCE)

OPC-0.50 OPC-0.35 OPC-0.31

FA20-0.50 FA20-0.35 FA20-0.31

-273mvsce

lmmersion time (day) 0 50 100 150 200 250

Pote

ntia

l (m

V v

s. S

CE)

-200

-400

-600

Page 4: การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

44 โ ย ธ า ส า ร

เถ้าแกลบเมื ่อนำบดละเอียดสามารถใช้แทนที ่ ปูนซีเมนต์และพัฒนาการต้านทานคาร์บอเนชันและ คลอไรด์ได้ดี [10] งานวิจัยของ Saraswathy & Song [11] ได้ศึกษาการต้านทานการกัดกร่อนของคอนกรีตผสมด้วยเถ ้าแกลบ (Rice husk ash) โดยใช้แทนที ่ใน ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.53 ผลการศึกษาพบว่าการใช้เถ้าแกลบแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 30 ต้านทานการกัดกร่อนได้ดี ทั้งนี้เนื ่องจากผลของการลดสัมประสิทธิ์การซึมผ ่านน้ำ ลดความพรุนและเพิ ่มความทึบแน่นของตัวอย ่างทดสอบ [11] Saraswathy & Song [11]

รูปที่ 5 อัตราการกัดกร่อนในมอร์ต้าร์ผสมดินขาวเผา [9]

รูปที่ 4 การกัดกร่อนของเหล็กเสริมมอร์ต้าร์ผสมดินขาวเผา [8]

PC MKC-C20 MK-S10 MK-S20 MK-S30 MK-C10 MK-C20

Time (months) 0 1 2 3 4 5 6 7 8

Cor

rosi

on p

oten

tial (

mV) 0

-100

-200

-300

-400

-500

-600

-700

ได้สรุปไว้ว่า สามารถใช้เถ้าแกลบแทนที ่ปูนซีเมนต์ ได้ในปริมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักวัสดุประสาน ดังแสดงในรูปที ่ 6 เนื ่องจากผลของความละเอียดสามารถเข้าไปอุดช่องระหว่างโพรงและลดขนาดช่องว่างของโพรง Saraswathy [11] ศึกษาอิทธิพลของการเร่งปฏิกิริยาของเถ้าลอยต่อกำลังอัดและการต้านทานการกัดกร่อน เถ้าลอยนำมาร่อนผ่านตะแกรงและนำส่วนละเอียดมาบด เก็บไว้ในอุณหภูมิเท่ากับ 800–1000 องศาเซลเซียส ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเร่งปฏิกิริยาเคมีด้วยสาร ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ใช้ความเข้มข้นร้อยละ 5

Control 5%MK 10%MK 15%MK 20%MK

Time (day) 90Days 150Days 210Days 270Days

Corr

osio

n ra

te (m

mpy

) 0.002 0.0018 0.0016 0.0014 0.0012 0.001

0.0008 0.0006 0.0004 0.0002

0

Weight loss (mortars)

รูปที่ 6 การกัดกร่อนในคอนกรีตผสมเถ้าแกลบ [11]

แทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าลอยในปริมาณร้อยละ 10, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน อัตราส่วนน้ำ ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45 และอัตราส่วนวัสดุ ประสานต่อมวลรวมเท่ากับ 1 ต่อ 3 หลังจากถอดแบบ 1 วัน บ่มตัวอย่างในน้ำกลั ่น 28 วัน จากนั้นนำไปทดสอบด้วยการแช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 3 การเร่งปฏิกิริยาเคมีให้ผลการทดสอบดีกว่าวิธีอื ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังอัดและ การต้านทานการกัดกร่อน

0 50 100 150 200

Ope

n Ci

rcui

t Po

tent

ial m

V vs

. SCE

-500

-400

-300

-200

-100

0Exposure period / days

OPC 5%RHA 10%RHA 15%RHA 20%RHA 25%RHA 30%RHA

วิศวกรรม : คอนกรีต การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต Corrosion of reinforcement in Concrete

Page 5: การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

C I V I L E N G I N E E R I N G M AG A Z I N E 4�

Montimor et al. [12] ได้ศึกษาผลกระทบของเถ้าลอยต่อการกัดกร่อนของเหล็กเสริมคอนกรีตด้วยการใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 0–50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานใช้เท่ากับ 0.57 ศึกษาด้วยการนำตัวอย่างทดสอบแช่แบบจมทั ้งหมดและแช่แบบบางส่วนในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ตัวอย่างทดสอบบ่มชื้นที่อายุ 1 สัปดาห์ก่อนแช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ การทดสอบแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าลอยมีค่าความต้นทานไฟฟ้าสูงทั ้งการทดสอบแบบแช่จมทั้งหมดและแช่บางส่วนของตัวอย่างทดสอบในสารละลาย ในการแช่บางส่วนที่แทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าลอยในปริมาณร้อยละ 30 ลดอัตราการกัดกร่อนในตัวอย่างคอนกรีต งานวิจ ัยที ่ผ ่านมานอกจากจะใช้ว ัสด ุประสานดังกล่าวในข้างต้นแล้ว วัสดุปอซโซลานอีกชนิดหนึ่งที่รู้จักคือ Volcanic ash ซึ่งเหตุที่จัดเป็นวัสดุปอซโซลานเน่ืองจากสามารถทำปฏิกริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์เนื ่องจากปฏิกิริยาไฮเดรชันได้ Hossain & Lachemi [13] ศึกษาการต้านทานการกัดกร่อนและสัมประสิทธิ์การแพร่กระจายคลอไรด์ในมอร์ต้าร์ซีเมนต์ผสมด้วย Volcanic ash (VA) ซึ่งใช้ VA ที่มีความละเอียดเท่ากับ 285 ตารางเมตรต่อกิโลกรัม (m2/kg) แทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 20 และ 40 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน ด้วยอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.55 ผลการทดสอบ สรุปไว้ว่าการใช้ VA แทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณ ร้อยละ 40 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน ทำให้มอร์ต้าร์สามารถต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และการกัดกร่อนได้ดี ดังแสดงในรูปที่ 7 [13]

รูปที่ 7 การกัดกร่อนในมอร์ต้าร์ผสม Volcanic ash [13]

เนื่องจากการใช้ VA สามารถเข้าไปจัดรูปแบบของโพรงภายในมอร์ต้าร์ ส่วนโพรงของมอร์ต้าร์มีค่าเล็กกว่า 20 นาโนเมตร (nm) ด้วยการเพิ่มปริมาณการแทนที่ของ VA นอกจากนั้นยังพบว่าปริมาณโพรงทั ้งหมดลดลงด้วยการเพิ ่มระยะเวลาการบ่ม ดังแสดงในรูปที่ 8 [13]

รูปที่ 8 Total pore volume ของมอร์ต้าร์ผสม volcanic ash [13]

40%VA 20%VA 0%VA

Duration (days) 0 50 100 150 200

Hal

f ce

ll po

tent

ial (

mV)

SCE

0

-200

-400

-600

-800

40%VA 20%VA 0%VA

Curing time (days) 0 50 100 150 200

Tota

l por

e vo

lum

e (x

10-3 c

m3 /g

) 500

400

300

200

100

Page 6: การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต

4� โ ย ธ า ส า ร

3. บทสรุป งานวิจัยดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่านักวิจัยศึกษาวัสดุ

ปอซโซลานเพียงบางส่วน อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยอื่นที่ได้ นำวัสดุปอซโซลาน ประกอบด้วย เถ้าลอยแยกขนาด (Fly ash) เถ้าแกลบบดละเอียด (Rice husk ash) และเถ้าปาล์มน้ำมัน

บดละเอียด (Palm oil fuel ash) มาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนสำหรับศึกษาคุณสมบัติในด้านการต้านทานการกัดกร่อน ของเหล็กเสริม ทั้งนี้ อาจได้กล่าวในโอกาสต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. Choi YS, Kim JG, Lee KM. Corrosion behavior of steel bar

embedded in fly ash concrete. Corrosion Science 2006; 48(7): 1733-45.

2. ASTM C1202, Standard Test Method for Electrical Indication

of Concrete’s Ability to Resist Chloride Ion Penetration, ASTM C1202-97,

Annual Book of ASTM Standard 2001; 04.02: 646-51.

3. Montemor MF, Cunha MP, Ferreira MG, Simoes AM.

Corrosion behavior of rebars in fly ash mortar exposed to carbon dioxide

and chlorides. Cement and Concrete Composites 2002; 24(1): 45-53.

4. ASTM C876, Standard Test Method for Half Cell Potential of

Reinforce Steel in Concrete, ASTM C876-91, Annual Book of ASTM

Standard 1998; 04.02: 430-5.

5. Chindaprasirt P, Rukzon S. Strength, porosity and corrosion

resistance of ternary blend Portland cement, rice husk ash and fly ash

mortar. Construction and Building Materials. In press.

6. Poon CS, Kou SC, Lam L. Compressive strength, chloride

diffusivity and pore structure of high performance metakaolin and silica

fume concrete. Construction and Building Materials 2006; 20(10):

858-65.

7. Zivica V. Corrosion of reinforcement induced by environment

containing chloride and carbon dioxide. Building and Materials 2003;

26(6): 605-8.

8. Batis G, Pantazopoulou P, Tsivilis S, Badogiannis E. The

effect of metakaolin on the corrosion behavior of cement mortars

Cement and Concrete Composites 2005; 27(1): 125-30.

9. Parande AK, Ramesh Babu K, Aswin Karthik M. Study on

strength and corrosion performance for steel imbedded in metakaolin

blended concrete/mortar. Construction and Building Materials. In

press.

10. Gastaldini ALG, Isaia GC, Gomes NS, Sperb JEK. Chloride

penetration and carbonation in concrete with rice husk ash and chemical

activators. Cement and Concrete Composites. In press.

11. Saraswathy V, Song H-W. Corrosion performance of rice husk

ash blended concrete. Construction and Building Materials 2007;

21(8): 1779-84

12. Montemor MF, Cunha MP, Ferreira MG, Simoes AM.

Corrosion behavior of rebars in fly ash mortar exposed to carbon dioxide

and chlorides. Cement and Concrete Composites 2002; 24(1): 45-53.

13. Hossain KMA, Lachemi M. Corrosion resistance and chloride

diffusivity of volcanic ash blended cement mortar. Cement and

Concrete Research 2004; 34(4): 695-702.

วิศวกรรม : คอนกรีต การกัดกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต Corrosion of reinforcement in Concrete