Download - Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

Transcript
Page 1: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 15ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

Growth of Home Schooling in ThailandRudjanee Engchun

Ed.D.(EducationalAdministration),DoctoralstudentDepartmentofEducationalAdministration,FacultyofEducation

PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampusEkkarin Sungtong

Ph.D.(EducationalLeadershipandPolicyAnalysis),AssistanceProfessorDepartmentofEducationalAdministration,FacultyofEducation

PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampusTheera Haruthaithanasan

Ph.D.(EducationalPolicyStudies),LecturerDepartmentofEducationalAdministration,FacultyofEducation

PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampus

Abstract TheobjectiveofthisarticlewastodepictthegrowthofhomeschoolinginThailand.Contentanalysistechniquewasemployedtoanalyzerelatedarticlesandliteraturesaimingtoreflectawholepictureandimportantaspectsfromthepastuntilnow.Thedefinition,typesofhomeschoolingmanagement,socialdrivesinducingThaihomeschooling,thegrowthinseveralaspectsofThaihomeschooling,relatedlaws,andconclusionwereaddressed.Thearticleshowedthatnowadaysthetypesofhomeschoolingmanagementweremuchmorevariousbasedonneedsoflearnersandfamilies.Typicaltypesofhomeschoolingincluded1)asinglefamily,2)coordinatingnetworkfamilies,3)networkingandestablishingalearningcenter,and4)familyhavingamutualagreementwithaschool.DistinctivesocialdrivesthatpushedhomeschoolinginThailandstemmedfrommanyunsolvedproblemsinformaleducation;1)themismatchbetweentheeducationalachievement,needsoffamiliesinreallife,andeachdifferentcompetencyofthevariouslearners,2)theworkingproblemsingovernmentsystem,3)decadenceoffamilyunit,and4)achangeofnewsocialparadigm.Thosementionedproblemsencouragedfamilies’decisionmakingtochooseahomeschoolingpath.ThegrowthofhomeschoolinginThailanddividedinto3periodssincebefore1997till2014.Atthebeginning,itstartedwithuniquenessoffamily,thenbecameunificationoffewhomeschoolingfamilies,andtheirnumberwasincreasingmoreuntilbecomingstrongerandmorewell-knownlookasThaihomeschoolingnetwork.ItsfunctionwasfororganizingseveralconcreteactivitiestogetherandcoordinatingwiththeAlternativeEducationNetwork.Ithelpedfamiliesgetmoreattentionandcooperationfromgovernmentagencies,alsoraisingbettermutualrelationship,andtakingaparticipationinThaieducationreformatpresenttogetherwithasupportingpolicybygovernmentunderNationalCouncilforPeaceandOrder.Includingbetterdevelopmentofhomeschoolinglaws,itchangedfromnoanylawssupportinghomeschoolinginthepasttobelegallypermittedbygovernmentatpresent,becauseoffamilies’effortforverylongtime.Hence,familieshaverightsandfreedomasequalasformaleducation.Although,therearemanyunsolvedproblemsinpracticeandtimeconsumingforunderstandingtogether,whenspiritandastronghomeschoolingnetworkalongwithawarenessfromgovernmentsectorareconsidered.ThosewillenhanceThaihomeschoolinginthefuture.

Keywords:Homeschooling,Alternativeeducation,Families,Growth

Page 2: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี16 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

พัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทย

รุจนี เอ้งฉ้วนศษ.ด.(การบริหารการศึกษา),นักศึกษาปริญญาเอก

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีเอกรินทร์ สังข์ทอง

Ph.D.(EducationalLeadershipandPolicyAnalysis),ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

ธีร หฤทัยธนาสันติ์Ph.D.(EducationalPolicyStudies),อาจารย์

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ บทความนี้น�าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทยโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาบทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมและประเด็นส�าคัญต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซ่ึงประกอบด้วยค�านิยามรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวแรงผลักดันทางสังคมที่ท�าให้เกิดการจัดการศึกษาโดยครอบครัวไทยพัฒนาการในด้านต่างๆในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและกฎหมายที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งน�าเสนอบทสรุปผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันนี้มีรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่มีความหลากหลายมากขึ้นสอดคล้องกับความเหมาะสมของผู้เรียนและครอบครัวท้ังแบบครอบครัวเดี่ยวแบบข่ายประสานงานแบบรวมศูนย์การจัดการในท่ีเดียวและแบบมีข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียนในประเด็นแรงผลักดันทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาจากการศึกษาในระบบผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ไม่ตอบสนองกับชีวิตจริงและศักยภาพที่แตกต่างกันของผู้เรียนปัญหาจากการท�างานของระบบราชการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าความเส่ือมโทรมของสถาบันครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเส้นทางการจัดการศึกษาโดยครอบครัวส่วนพัฒนาการในสังคมไทยนั้นแบ่งเป็น3ช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2540จนถึงพ.ศ.2557เมื่อแรกเริ่มโฮมสคูลเกิดขึ้นในรูปแบบต่างคนต่างท�าต่อมาเกิดการรวมตัวกันของครอบครัวจ�านวนน้อยแล้วค่อยๆขยายจ�านวนมากขึ้นจนเป็นเครือข่ายบ้านเรียนท่ีเข้มแข็งและเป็นที่รู้จักมากขึ้นเพื่อด�าเนินการกิจกรรมต่างๆร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมรวมทั้งประสานงานกับกลุ่มเครือข่ายการศึกษาทางเลือกท�าให้ครอบครัวได้รับความสนใจและความร่วมมือจากหน่วยงานทางราชการมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนและมีแนวโน้มท�าให้ความสัมพันธ์ซ่ึงกันและกันดีขึ้นทั้งได้มีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันพร้อมกับการประกาศนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติควบคู่กับการพัฒนาสิทธิทางด้านกฎหมายท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่เพิ่มขึ้นจากไม่มีข้อกฎหมายใดรองรับไปสู่การรองรับอย่างถูกต้องตามกฎหมายในปัจจุบันเนื่องจากความมุมานะพยายามของครอบครัวตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท�าให้ครอบครัวมีสิทธิเสรีภาพเทียบเท่ากับการศึกษาในระบบแม้ในทางปฏิบัติจะยังคงมีปัญหาหลายประการที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้และต้องการเวลาในการท�าความเข้าใจร่วมกันแต่เมื่อพิจารณาถึงความมุ่งมั่นของเครือข่ายบ้านเรียนที่เข้มแข็งและความใส่ใจที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐสิ่งเหล่านี้จะช่วยเป็นพลังส่งเสริมให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยพัฒนาก้าวไกลไปได้ในอนาคต

คำาสำาคัญ:การจัดการศึกษาโดยครอบครัวการศึกษาทางเลือกครอบครัวพัฒนาการ

Page 3: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 17ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

บทนำา ในปัจจุบันนี้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลนับได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการศึกษาที่หลากหลายและเป็นท่ีรู ้จักมากขึ้นในสังคมอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ในมาตรา12ที่ระบุว่า“นอกเหนือจากรัฐเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินให้บุคคลครอบครัวองค์กรชุมชนองค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดโอกาสทางการศึกษาเพ่ือให้ภาคส่วนอ่ืนได้มีส่วนร่วมจัดการศึกษาและสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่ก�าหนดในกฎกระทรวง”(กระทรวงศึกษาธิการ,2546)ซ่ึงเป็นส่วนส�าคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมและเปิดกว้างให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายเปลี่ยนแปลงไปสู่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญอย่างแท้จริงมิใช่แค่เพียงการเรียนในโรงเรียนเท่านั้นอีกต่อไปการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการเรียนรู้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้สูงสุดเต็มตามศักยภาพของตน(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2551:4;นิภาพรรณเจนสันติกุล,2554:37)ท�าให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตมากนักแต่กว่าจะถึงณจุดนี้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวผ่านประสบการณ์ที่น่าสนใจอันสะท้อนให้เห็นพลังกายพลังใจและพลังสติปัญญาของครอบครัวเพ่ือบุกเบิกฝ่าฟันและประคับประคองการศึกษาแนวนี้ให้สามารถเติบโตขึ้นได้อย่างแข็งแรงภายใต้ระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยจนถึงปัจจุบันน้ีด้วยเหตุน้ีจึงท�าให้ผู้เขียนสนใจพัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่เกิดขึ้นในสังคมไทยโดยในบทความนี้จะกล่าวถึงค�านิยามรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวแรงผลักดันทางสังคมที่น�าไปสู่การจัดการศึกษาโดยครอบครัวพัฒนาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมเก่ียวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

คำานิยามของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ในปัจจุบันการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลเป็นที่รู ้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นโดยผ่านสื่อ

เทคโนโลยีหลากหลายช่องทางทั้งนี้ในสังคมไทยค�าว่า“การศึกษาโดยครอบครัว”ถือเป็นชื่ออย่างเป็นทางการหรือ“โฮมสคูล”ที่กล่าวตามการจัดการศึกษาในต่างประเทศหรือค�าที่ครอบครัวผู้จัดการศึกษานิยมใช้กันคือ“การศึกษาบ้านเรียน“หรือ”“บ้านเรียน”ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาการโดยคุรุสภาเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นไทยและการศึกษาที่มีบ้านเป็นพื้นฐานตามบริบทของสังคมบ้านเรา(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2549:3)ท�าให้การศึกษารูปแบบนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกันในเหล่านักวิชาการหลายท่านจากวงการการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศจึงได้ให้ความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวไว้อย่างหลากหลาย(ยุทธชัย-อุทัยวรรณเฉลิมชัยและกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร,2543:20;นุชสิริโค้นหล่อ,2545:16;ยุทธชัยเฉลิมชัยและคณะ,2547;วิลาวัลย์มาคุ้ม,2550:64;Vahid&Vahid,2007:8;Berger,200:308;ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,2555:4)อันพอจะสรุปได้ดังนี้การศึกษาโดยครอบครัวคือการศึกษาข้ันพื้นฐานที่ครอบครัวจัดขึ้นตามสิทธิคุ้มครองของกฎหมายโดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบของการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้ทั้งสามารถด�าเนินการในสถานศึกษาประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับโรงเรียนและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนั้นจึงมีสถานภาพสิทธิหน้าที่และข้อปฏิบัติต่างๆอย่างเท่าเทียมกันโดยมีบิดามารดาหรือผู้จัดการศึกษาที่ได้รับมอบหมายจัดการศึกษาให้กับบุตรที่บ ้านอาจจัดการศึกษาเองทั้งหมดหรือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการอ�านวยการจัดการศึกษาในรูปแบบที่มีข้อตกลงร่วมกับโรงเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยเน้นการให้ความส�าคัญถึงธรรมชาติที่มีความแตกต่างกันของผู้เรียนนอกจากน้ีความหมายแบบไทยยังครอบคลุมถึงหลักการจัดการศึกษาที่มีพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยที่สถาบันครอบครัวเป็นรากฐานส�าคัญที่สุดของชีวิตอันมีสมาชิกหลากหลายวัยเช่นปู่ย่าตายายใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในบริบทของสังคมที่เชื่อมโยงในการด�าเนินวิถีชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นว่าครอบครัวมิได้จัดการศึกษาไปตามกระแสของชาติตะวันตกแต่ได้มีการปรับให้เข้ากับบริบทสังคมไทยทั้งนี้Griffith(2010a:xi)ยังให้ขยาย

Page 4: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี18 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

มุมมองกว้างขึ้นโดยเชื่อมโยงไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในการจัดการศึกษาในครอบครัวทั้งครอบคลุมไปยังเรื่องกระบวนการทางการศึกษาและสมาชิกในครอบครัวท้ังหมดไม่ได้จ�ากัดแค่ผู้เรียนและผู้ปกครองเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีค�าศัพท์ที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้องกับโฮมสคูลที่มักจะได้ยินบ่อยครั้งและมีความหมายท่ีเหลื่อมล�้ากันซ่ึงอาจท�าให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้จึงขอน�าเสนอเพิ่มเติมเพื่อขยายความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นในต่างประเทศนั้นมีค�าที่สังคมนิยมน�ามาใช้เก่ียวข้องกับโฮมสคูล(Takahashi,2008:iii;Dodd,2009:3;Griffith,2010a:x;Griffith,2010b;Linsenbach,2010:71)อันได้แก่ค�าว่า“unschooling”ซึ่งมีผู้กล่าวถึงอย่างหลากหลายบางท่านถือเป็นรูปแบบหน่ึงของโฮมสคูลแต่มีแบบแผนน้อยกว่าโดยจัดการศึกษาให้บุตรนอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียนแต่บางท่านก็ให้ความหมายที่ต่างไปโดยกล่าวว่าเป็นการเรียนรู้โลกผ่านวิธีการที่หลากหลายในโลกแห่งความเป็นจริงท�าได้มากเท่าที่ผู้เรียนและครอบครัวจะสามารถท�าได้หรือเป็นการเรียนรู้ไปตามแรงขับที่มนุษย์มีมาตั้งแต่เกิดซ่ึงประเด็นที่คล้ายคลึงกันคือการเรียนรู้ในโลกแห่งชีวิตจริงเน้นจัดการเรียนรู้ตามความสนใจและรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กแม้ว่าผู้เรียนประเภทนี้ทุกคนถือเป็นผู้เรียนบ้านเรียนแต่ไม่ใช่ผู ้เรียนโฮมสคูลทุกคนจ�าเป็นต้องเป็นผู ้เรียนunschoolingและค�าว่า“deschooling”ที่นิยมกล่าวถึงกระบวนหรือช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านเพื่อท�าความคุ้นเคยกับโฮมสคูลเป็นการส�ารวจความเป็นไปได้ในการเรียนรู้เป็นเวลาที่ครอบครัวและเด็กออกจากสภาพแวดล้อมโรงเรียนในระบบและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือกิจวัตรแบบโฮมสคูลช่วงเวลานี้เด็กได้ผ่อนคลายมีอิสระที่จะค้นหาจังหวะชีวิตและเป้าหมายของตนหรือการจัดการศึกษาโฮมสคูลที่ไม่ยึดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามระเบียบที่รัฐก�าหนดใช้ก�ากับในระบบโรงเรียนผู้เรียนประเภทนี้จึงมีแนวโน้มเป็นผู้เรียนunschooling โดยความหมายท้ังหมดกล่าวข้างต้นพอจะสรุปความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองได้รับสิทธิและเสรีภาพในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรท่ีบ้านโดยมีสิทธิต่างๆเทียบเท่ากับสถานศึกษาในปัจจุบันสามารถเลือกรูปแบบการจัดตามความเหมาะสมของครอบครัวเพ่ือให้สอดคล้องกับธรรมชาติท่ีแตกต่างกันของผู้เรียน

รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เมื่อสังคมเปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษามากขึ้นรูปแบบในการด�าเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยจึงมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งสามารถตอบสนองกับความต้องการของครอบครัวได้อย่างดีโดยมี4รูปแบบ(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2549:27;ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:28;มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว,2551)ดังนี้ 1. แบบครอบครัวเดี่ยวเป็นรูปแบบที่พ่อแม่ด�าเนินการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนด้วยตนเองทั้งหมดตามความเหมาะสมของสภาพครอบครัวในช่วงแรกของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยที่เกิดขึ้นจะเป็นรูปแบบนี้มากที่สุดเพราะมีความคล่องตัวและไม่ติดกับข้อจ�ากัดใดๆได้แก่ครอบครัวคุณสมพรพึ่งอุดม 2.แบบข่ายประสานงานเป็นการจัดการศึกษาของครอบครัวตนเองร่วมกับครอบครัวอื่นๆตามสัดส่วนที่เหมาะสมในช่วงเวลาตามความพร้อมความสนใจและข้อจ�ากัดของแต่ละครอบครัวในลักษณะท่ีต่อเน่ืองและจริงจังการจัดการศึกษาเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้านของแต่ละครอบครัวและตามที่นัดหมายของกลุ่ม 3.แบบรวมศูนย์การจัดการในที่เดียวเป็นรูปแบบที่หลายๆครอบครัวมาร่วมกันจัดการศึกษาให้เด็กในสถานที่แห่งหนึ่งโดยจัดต้ังเป็นโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนที่มีครอบครัวท�าหน้าที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาก�ากับดูแลนโยบายและการบริหารจัดการอาจจะจดทะเบียนกิจการเป็นองค์กรสาธารณกุศลในการด�าเนินงานมีการมอบหมายหรือจ้างคณะท�างานบริหารจัดการเต็มตัวมีครูที่รับผิดชอบเรื่องการเรียนการสอนพ่อแม่ในกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอาจจะร่วมเป็นครูหรือทีมงานบริหารได้รูปแบบการด�าเนินการในลักษณะนี้มีความเหมาะสมกับกลุ่มครอบครัวที่ยังไม่พร้อมจะจัดการศึกษาด้วยตนเองได้แก่ครอบครัวพันธุ์โอสถและกลุ่มสถาบันปัญโญทัยกลุ่มบ้านเรียนดวงตะวันจังหวัดขอนแก่นเป็นต้น 4. แบบมีข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียนเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่มีข้อตกลงร่วมกันโรงเรียนยังคงเป็นหลักในการให้การศึกษาพ่อแม่มีส่วนในการจัดการศึกษาเพียงส่วนหนึ่งโดยที่เด็กยังคงมีสถานภาพเป็นนักเรียนของโรงเรียนอาจเป็นการฝากช่ือหรือจดทะเบียนกับโรงเรียนเช ่นโรงเรียนหมู ่บ ้านเด็กโรงเรียนรุ่งอรุณเป็นต้น

Page 5: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 19ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

อย่างรอบด้านความรู้ไม่ได้เกิดข้ึนแต่โรงเรียนอีกต่อไปแต่การเรียนรู้ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดอยู่ในชีวิตของคนเราอยู่แล้วตั้งแต่เกิดจนตายเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงจากการศึกษาพบว่าในปีพ.ศ.2551ผู้จบระดับปริญญาตรีมีจ�านวนผู้ท่ีจบการศึกษาและพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุดในขณะที่ผู ้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยที่สุดทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วภาคอุตสาหกรรมต่างๆมีความต้องการแรงงานในระดับอาชีวศึกษามากกว่าข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการศึกษาในระบบไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของครอบครัวที่แท้จริงและไม่ได้สอดรับกับการด�ารงชีวิตของคนไทยในสังคมตามความเป็นจริงเป็นเพียงค่านิยมที่ไม่ถูกต้องที่ยังคงสืบทอดกันตลอดมาเน่ืองจากเม่ือพิจารณาถึงส่ิงที่ครอบครัวต้องการจากการศึกษาน่ันคือการมีหน้าท่ีการงานที่มั่นคงและมีรายได้ที่สามารถเล้ียงดูตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดีมิใช่จบออกมาเพ่ือว่างงานเช่นในปัจจุบัน 3. การปฏิรูปการศึกษายังมีปัญหาในการน�าไปปฏิบัติจริงจะเห็นได้ว่าแม้จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ที่มีสาระส�าคัญไม่ต่างจากแนวคิดของการศึกษาทางเลือกแต่ความจริงแล้วยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนส�าหรับครอบครัวและหน่วยงานที่รับผิดชอบเพราะยังมุ่งผลการด�าเนินงานเพียงการศึกษาในระบบเป็นหลักเช่นเดิมและถึงแม้จะมีมาตราที่12ที่ประกาศออกมาให้สิทธิแก่ครอบครัวแต่ในทางปฏิบัติจ�าเป็นต้องผ่านกฎกระทรวงอีกต่อหนึ่งจึงท�าให้สิทธิของการจัดการศึกษาในครอบครัวยังที่ได้รับยังคงเหลื่อมล�้ากับการศึกษาในระบบเช่นเดิมและท�าให้การติดต่อประสานงานระหว่างครอบครัวกับหน่วยงานราชการมีความยุ่งยากซับซ้อนและยังเป็นปัญหาที่ครอบครัวจ�าเป็นต้องร่วมกันแก้ไขอยู่เสมอตลอดมา 4. ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถท�าให้เกิดการสื่อสารหลากหลายระดับและท�าให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนรู้รูปแบบต่างๆทั้งจากในประเทศและต่างประเทศได้อย่างไร้พรมแดนซึ่งสามารถท�าได้จริงในเชิงปฏิบัติเข้ามาปรับเปล่ียนโฉมหน้าของการศึกษาได้เปิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางช่วยน�าทางไปถึงส่ิงที่ต้องการรู้อย่างรวดเร็วหรือน�าเราไปสู่การ

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวนั้นเปิดกว้างมากขึ้นโดยครอบครัวสามารถพิจารณาให้เหมาะกับบริบทของครอบครัวและความต้องการของผู้เรียนอาจเรียนร่วมกับโรงเรียนพ่อแม่จัดด้วยตนเองเรียนร่วมกับครอบครัวอื่นหรือจัดเป็นศูนย์การเรียนก็ย่อมได้ท�าให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันทางสังคมที่นำาไปสู่การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เมื่อกระแสสังคมเปลี่ยนไปความคิดของคนก็ย่อมปรับเปลี่ยนตามไปด้วยเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาจากวัดหรือครอบครัวไปสู่การยอมรับแนวคิดเรื่องโรงเรียนจากชาติตะวันตกเรื่องนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาของคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกฎหมายการศึกษาภาคบังคับเกิดขึ้นจึงท�าให้โรงเรียนกลายเป็นระบบหลักทางการศึกษา(ยุทธชัยเฉลิมชัย,อุทัยวรรณเฉลิมชัย,และกลุ ่มบ้านเรียนปัญญากร,2543:14-15)กาลเวลาท่ีผ่านมาได้สร้างค่านิยมและความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับการศึกษาในระบบขณะเดียวกันปัญหาด้านการศึกษาต่างๆที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนท�าให้เกิดข้อกังขามากมายในสังคมจึงท�าให้เกิดการค้นหาการศึกษารูปแบบอื่นเพ่ือสร้างให้เกิดคุณค่าของการศึกษาที่แท้จริงทั้งนี้พอจะสรุปประเด็นต่างๆที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการจัดการศึกษาโดยครอบครัว(สุชาดาจักรพิสุทธิ์และคณะ,2548:17-34;ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:25-26;ส�านักงานปฏิรูป,2555:23;มิ่งสรรพ์ขาวสะอาดและณัฎฐาภรณ์เลียมจรัสกุล(บรรณาธิการ),2556:16;ประเวศวะสี,2557:7-8)ได้ดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาจากการศึกษาในระบบการตระหนักว่าความรู้ไม่ได้อยู่เพียงแต่ในโรงเรียนเท่านั้นในอดีตเครื่องมือเดียวที่ถูกน�ามาใช้เพื่อสร้างความรู้ให้กับคนในชาติคือการศึกษาในระบบหรือโรงเรียนเม่ือผ่านเวลาหลายชั่วคนท�าให้นิยามการศึกษาหมายถึงแค่การไปโรงเรียนและการเรียนหนังสือท�าให้เกิดความเชื่อว่าโรงเรียนสร้างคนได้ดีกว่าครอบครัวและชุมชนจนน�ามาสู่ปัญหาใหญ่ท่ีเกิดขึ้นกับผู้เรียนท่ีว่าการเรียนรู้ท่ีเกิดข้ึนในโรงเรียนไม่สอดคล้องกับปัญหาและชีวิตจริงแต่เป็นการเรียนแบบท่องจ�าสร้างนิสัยการแข่งขันและการแบ่งแยกข้ึนมาโดยไม่รู้ตัวทั้งท่ีกระแสด้านการศึกษาในโลกนี้เปลี่ยนไปแล้ว

Page 6: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี20 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เดินทางเพ่ือเรียนรู้ทักษะใหม่ๆและเรียนรู้จากมุมมองใหม่ๆและยังสามารถสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์เพื่อการร่วมมือร่วมใจท�ากิจกรรมต่างๆกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติข้ึนได้แม้จะอยู่ห่างไกลก็ตาม(พงษ์วิเศษสังข์,2554:128)ระบบนี้จึงช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวสร้างสังคมออนไลน์ของโฮมสคูลซ่ึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส�าคัญของผู้ปกครองและผู ้ เ รียนจุดเด ่นคือสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซ่ึงกันและกันได้ไม่จ�ากัดเวลาและสถานที่ 5.สถาบันครอบครัวเริ่มเสื่อมโทรมลงจากรายงานโครงการชีวิตคนไทยในสองทศวรรษแห่งการพัฒนาเผยให้เห็นว่า20ปีที่ผ่านมาครอบครัวไทยเพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ11.9ล้านครัวเรือนในปีพ.ศ.2529เป็น19.8ล้านครัวเรือนในปีพ.ศ.2552โดยการเปลี่ยนแปลงที่ส�าคัญได้แก่ครอบครัวที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกันมีน้อยลงพ่อแม่ที่อยู่ในวัยท�างานมักจะอพยพไปท�างานในเมืองแล้วฝากลูกไว้ให้ผู้สูงอายุช่วยดูแลแต่ในแง่การศึกษาการที่เด็กไม่อยู่กับพ่อแม่ก็จะท�าให้มีปัญหาขาดความอบอุ ่นขาดคนคอยดูแลเรื่องการเรียนหนังสือโดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใหญ่ในบ้านไม่รู้หนังสือหรือแยกตัวออกมาเป็นครอบครัวเด่ียวเราจึงควรตระหนักถึงความส�าคัญของครอบครัวมากขึ้นการจัดการศึกษาโดยครอบครัวจะช่วยสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้นได้ผ่านการเรียนรู้และการใช้เวลาอยู่ร่วมกันของสมาชิกในบ้านมากขึ้น 6.การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมวิวัฒนาการของสังคมมนุษย ์ก� าลั ง เคลื่อนตัวจากกระบวนทัศน์และระบบท่ีผิดพลาดไปสู ่การให้คุณค่าความหมายใหม่ต่อชีวิตเปล่ียนผ่านเพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เป็นอิสระและสอดคล้องกับธรรมชาติความเป็นมนุษย์ให้โอกาสทางเลือกด้านการศึกษาและส่งเสริมการตระหนักถึงคุณค่าความแตกต่างและธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนก�าลังก้าวข้ามจากการศึกษาท่ีมุ่งเพียงพัฒนามนุษย์ไปเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ที่แท้จริงซ่ึงสอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว จะเห็นได้ว่าแรงผลักดันทางสังคมที่เกิดขึ้นล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในวิถีชีวิตผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงปัญหาในการน�าข้อกฎหมายไปปฏิบัติความก้าวล�้าน�าสมัยของ

เทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันครอบครัวที่ลดความส�าคัญลงอย่างน่าเป็นห่วงและกระบวนทัศน์ทางสังคมที่ก�าลังเปล่ียนผ่านประเด็นเหล่านี้กลายเป็นส่ิงที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อมจนน�าไปสู่แนวคิดที่จะเปล่ียนแปลงเพื่อโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นของบุตรหลาน

พัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว การจัดการศึกษาโดยครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทยมาช้านานพร้อมๆกับการพัฒนาสังคมมนุษย์เรื่อยมาครั้นเมื่อเข้าสู่การพัฒนาแนวคิดทางการศึกษาในโลกยุคใหม่ที่เชื่อมโยงกับการจัดการระบบทางเศรษฐกิจและสังคมในศตวรรษท่ีผ่านมาจึงท�าให้การศึกษาโดยครอบครัวถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาแม้ว่าสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาในกฎหมายนานาประเทศทุกกาลสมัยน้ันยังคงถือร่วมกันว่าการศึกษาเป็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติและเป็นการรักษาวัฒนธรรมความสัมพันธ์ของครอบครัวโดยการจัดการศึกษาให้กับลูกแต่ค�าว่าเสรีภาพทางการศึกษายังถือเป็นเร่ืองใหม่ที่เกิดข้ึนเพ่ือคงรักษาสิทธิมนุษยชนหลังจากเกิดระบบการศึกษากระแสหลักรูปแบบโรงเรียนขึ้นท่ัวโลกรวมท้ังประเทศไทยภายในเวลาเพียงไม่ก่ีศตวรรษการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยจึงถูกฟื ้นคืนสิทธิเสรีภาพขึ้นอีกครั้งท่ามกลางสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งได้สร้างความเชื่อในค่านิยมตามระบบการศึกษากระแสหลักมาระยะหน่ึงแล้วจึงท�าให้คนส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจมากนักและเห็นว่าเสรีภาพทางการศึกษาเป็นเร่ืองใหม่และเป็นแนวคิดนอกกรอบท�าให้คนทั่วไปมองว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดขัดแย้งกับกระแสหลัก(“การศึกษาทางเลือก”,2555:48)แต่การรื้อฟื้นเรื่องเก่ามาเล่าใหม่เช่นนี้นั้นมิใช่เรื่องง่ายเส้นทางของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยก็เช่นกันดังนั้นเพื่อให้เห็นภาพรวมในที่นี้จึงขอสรุปพัฒนาการการศึกษาทางเลือกในสังคมไทยโดยแบ่งเป็นช่วงเวลา(ยุทธชัยเฉลิมชัย,อุทัยวรรณเฉลิมชัย,และกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร,2543:18-31;สกศ.,2547;สุชาดาจักรพิสุทธิ์และคณะ,2548:27-28;ยุทธชัยเฉลิมชัย,2549:114-117;ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:32;มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ,2553;“การศึกษาทางเลือก”,2555:46-51)ดังนี้

Page 7: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 21ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

1. ช่วงก่อนปีพ.ศ.2540 เพื่อความเข้าใจถึงความเป็นมาของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวยิ่งขึ้นจึงขอกล่าวย้อนไปถึงการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกจึงได้น�าการจัดการศึกษาแนวใหม่คือโรงเรียนเข้ามาใช้ในสังคมไทยโดยเกิดขึ้นในพ.ศ.2427การศึกษารูปแบบนี้มุ่งเน้นให้คนเข้ารับราชการในส่วนกลางท�าให้เกิดการละทิ้งถิ่นฐานเดิมของตนซึ่งขัดแย้งกับวิถีชีวิตของคนไทยแต่ดั้งเดิมทั้งนี้ในอดีตนั้นพ่อแม่มีสิทธิสามารถเลือกได้ว่าจะส่งลูกเข้าโรงเรียนหรือไม่มิได้มีการบังคับอย่างจริงจังจนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับแรกขึ้นเมื่อพ.ศ.2464ท่ีมีข้อก�าหนดให้ส่งเด็กอายุ7-14ปีต้องเข้าโรงเรียนพร้อมทั้งมีบทลงโทษหากเกิดการขัดขืนและระบุข้อยกเว้นเมื่อมีเหตุอันสมควรจวบจนพระราชบัญญัติประถมศึกษาเม่ือพ.ศ.2523ท่ีได้ยกเลิกสิทธิในการเลือกรูปแบบการศึกษาของพ่อแม่อย่างสิ้นเชิงเป็นท่ีรับทราบทั่วกันว่าเด็กทุกคนต้องเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนของรัฐเท่านั้น การจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในสังคมไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนช่วงพ.ศ.2530ในยุคนั้นการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้กับบุตรท่ีอยู่ในช่วงวัยภาคการศึกษาภาคบังคับถือว่ามีความหม่ินเหม่ต่อการท�าผิดกฎหมายบ้านเมืองท้ังน้ีคนรอบข้างสังคมไม่เว้นแม้แต่ญาติสนิทมิตรสหายก็ยังตั้งข้อสงสัยต่อแนวปฏิบัติเช่นนี้ของครอบครัวกลุ่มหน่ึงท่ีได้ตัดสินใจเร่ิมจัดการศึกษาให้กับบุตรของตนเองแล้วโดยถือว่าเป็นครอบครัวรุ่นบุกเบิกในสังคมไทยอย่างแท้จริงและจากงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกของสุชาดาจักรพิสุทธ์ิและคณะ(2548:51)แสดงให้เห็นว่าในเวลาน้ันการศึกษาทางเลือกยังไม่ได้เป็นที่รู ้จักมากนักเผยแพร่ในรูปบทความทางวิชาการและบทความทางการศึกษาในฐานะเป็นนวัตกรรมการศึกษาอยู ่ในวารสารทางการศึกษาบางเล่มเช่นสังคมศาสตร์ปริทัศน์,ปาจารยสาร,วารสารครุศาสตร์เป็นต้นเสนอปรัชญาแนวการศึกษาเรียนรู้ในเชิงนวัตกรรมส�าหรับผู้อ่านที่สนใจจ�านวนหนึ่งเท่านั้น แต่แล้วเมื่อปี2522เริ่มเกิดการจัดตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กของมูลนิธิเด็กโดยพิภพและรัชนีธงไชยที่จัดการศึกษาให้เด็กยากจนด้อยโอกาสโดยใช้ปรัชญาการศึกษาของซัมเมอร์ฮิลล์ที่เน้นความรักเสรีภาพและ

แนวทางการเรียนรู้อย่างใหม่และยังได้จัดการศึกษาโดยครอบครัวให้กับบุตรชายท้ังสองคนโดยมีการจัดกิจกรรมการศึกษาร่วมกับโรงเรียนหมู่บ้านเด็กด้วยซึ่งเป็นการริเริ่มส่งเสริมบทบาทของครอบครัวในเรื่องการศึกษาขึ้นมาอีกครั้งหลังจากนั้นไม่นานและในราวปีพ.ศ.2528นพ.โชติช่วงชุตินธรได้จัดการศึกษาให้บุตรด้วยตนเองในแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างแท้จริงจนเป็นข่าวแพร่หลายไปทั่วโดยทั้งสองครอบครัวถือเป็นครอบครัวแรกที่ริเร่ิมการศึกษารูปแบบนี้อย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย ในช่วงระยะเวลานั้นปี2537โครงการการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีดร.สิปปนนท์เกตุทัตเป็นประธานและมีธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นภาคเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุนทุนเพื่อท�าการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาทางออกใหม่ๆให้กับการศึกษาไทยได้น�าเสนอหนังสือ2ชุดชื่อความฝันของแผ่นดินและความจริงของแผ่นดินเพื่อเป็นพื้นฐานความคิดที่ท�าให้ทุกคนรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องปฏิรูปการศึกษาส่วนสภาพสังคมไทยในขณะนั้นก็เกิดปัญหาหลากหลายประการที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงรุมเร้าประชาชนทุกคนท�าให้เกิดแรงผลักดันอย่างกว้างขวางเพ่ือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนอย่างลึกซึ้งจึงท�าให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540ที่ส่งเสริมสนับสนุนและให้สิทธิเสรีภาพของประชาชน 2. ช่วงปีพ.ศ.2541-2549 จากการมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540เกิดขึ้นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับน้ีคือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย3ประการคือการขยายสิทธิเสรีภาพและส่วนร่วมพลเมืองในการเมืองคือการเพิ่มการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยประชาชนเพ่ือให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมืองและการท�าให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพรวมทั้งการมีวาระที่สังคมตั้งค�าถามและร่วมใจกันพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวต่อไปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540ได้มอบสิทธิเสรีภาพในการจัดการศึกษาแก่ประชาชนอย่างชัดเจนน�าไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรกซ่ึงได้เริ่มต้นในปีน้ีและสองปีต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ซ่ึงถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย

Page 8: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี22 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

กระทั่งปลายปีพ.ศ.2543หลายครอบครัวรวมตัวกันจนเกิดเครือข่ายในชื่อศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว(ศปศค.)นับเป็นองค์กรเครือข่ายการศึกษาโดยครอบครัวแห่งแรกที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการต่อมาในปีพ.ศ.2546องค์กรก็เติบโตข้ึนเรื่อยๆมีการท�างานอย่างมีโครงสร้างและเป็นระบบมากขึ้นเพื่อปฏิบัติงานต่างๆในฐานะตัวแทนเครือข่ายการศึกษาโดยครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและได้เปลี่ยนชื่อเป็น“สถาบันบ้านเรียนไทย”(สบท.)โดยการสนับสนุนจากส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติหรือสกศ.(ม.ป.ป.) ส่วนในช่วงพ.ศ.2547-2548พบว่าครอบครัวบ้านเรียนในขอบเขตทั่วประเทศเกิดการขยายตัวเป็นอย่างมากแต่เมื่อพิจารณาจากประเภทการจดทะเบียนกับส�านักเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)แล้วทั้งนี้พบว่าจ�านวนน้อยกว่าท่ีคาดการณ์เนื่องจากความเข้าใจที่แตกต่างกันของภาครัฐและเจ้าหน้าท่ีจึงท�าให้ส่วนใหญ่ยังเลือกจดทะเบียนกับหมู่บ้านเด็กเช่นเดิม(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:32)ขณะเดียวกันเครือข่ายการศึกษาได้พัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่งโดยสามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็น“สมาคมบ้านเรียนไทย”เมื่อวันท่ี9พฤศจิกายนพ.ศ.2548โดยมีนายยุทธชัยเฉลิมชัยท�าหน้าที่เป็นนายกสมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนและให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในไทยท้ังยังร่วมประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการด�าเนินงานของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวจึงท�าให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนความเข้าใจซ่ึงกันและกันอย่างกว้างขวางผ่านความพยายามในหลากหลายรูปแบบท้ังการประชุมร่วมกันการจัดท�าคู่มือเพื่อครอบครัวและเจ้าหน้าที่ของรัฐจนท�าให้มีครอบครัวไปจดทะเบียนที่ส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้นในปี2549ท้ังมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในการประสานงานร่วมกัน ทั้งนี้ขณะเดียวกันด้านภาครัฐหน่วยงานของรัฐเริ่มเข้ามามีบทบาทและพยายามสร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและครอบครัวมากข้ึนซ่ึงถือได้ว่าเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆในด้านการบริหารจัดการโดยจะเห็นจากท่ีขณะยกร่างจนถึงประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ซ่ึงถือเป็นช่วงของการปฏิรูปการศึกษาหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติหรือที่เปลี่ยนชื่อต่อมา

เป็นส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ได้จัดพิมพ์หนังสือและรายงานการศึกษาวิจัยออกมาหลายเล่มเก่ียวกับรูปแบบการศึกษานอกระบบโรงเรียนแต่ให้ความส�าคัญเป็นพิเศษได้แก่เรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลไทยและการศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนของสถานประกอบการ 3. ช่วงปีพ.ศ.2550-ปัจจุบัน ในระยะเวลานี้เป็นช่วงหลังจากการประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550ซ่ึงการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในฐานะการศึกษาทางเลือกของประชาชนมีการรับรองทางกฎหมายอย่างเป็นทางการอยู ่ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา49ระบุถึงการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐท�าให้เป็นที่รู ้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นจ�านวนความต้องการของครอบครัวผู้จัดก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาส�าหรับผู้สนใจนั้นเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครอบครัวรุ่นแรกในช่วงท่ีผ่านมาและความร่วมมือร่วมใจในการแบ่งปันความรู ้โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายครอบครัวผ่านสมาคมบ้านเรียนไทยอย่างเข้มแข็งในขณะเดียวกันสืบเน่ืองจากการท�างานของภาครัฐซ่ึงมีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันมาท�างานเรื่องโฮมสคูลตลอดทุกปีท�าให้เจ้าหน้าที่ใหม่ที่รับผิดชอบงานการศึกษาโดยครอบครัวเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิทางกฎหมายและสิทธิทางวิชาการเนื่องจากในระยะเริ่มต้นของช่วงปีนี้กระทรวงศึกษาธิการมุ่งให้ความสนใจในการจัดท�าและประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551และปรับเปล่ียนระเบียบเพื่อรองรับหลักสูตรการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนจ�านวนมากในระบบโรงเรียนและน�ามาใช้กับระบบการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนรายบุคคลโดยครอบครัวซึ่งท�าให้เกิดผลกระทบทางสิทธิครอบครัวและผู้เรียนมากขึ้นในช่วงกลางในห้วงเวลานี้คือนับแต่ปีการศึกษา2553เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปีพ.ศ.2553เป็นต้นมากรณีท่ีจดทะเบียนกับส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาในทางปฏิบัติก็ยังคงมีข้อจ�ากัดที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันแม้จะมีความพยายามช่วยเหลือและส่งเสริมอยู ่เสมอแต่ประเด็นเหล่านี้ยังคงต้องใช้เวลาอีกพอควร(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:36-37;สมาคมบ้าน

Page 9: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 23ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เรียนไทย,2555:4-7;ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,2555:2-3)เช่นความไม่ชัดเจนในเรื่องศูนย์การเรียนผู้รับผิดชอบระดับปฏิบัติการยังขาดความมั่นใจในการตัดสินใจที่ส�าคัญคือทัศนคติที่แตกต่างกันในการตัดสินคุณภาพการจัดการศึกษาโดยครอบครัวขาดแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนรวมถึงการที่ครอบครัวยังไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ในหลายพื้นที่จนเกิดปัญหาเรื่องการปรับระดับชั้นของเด็กบ้านเรียนจาก17ครอบครัวจนกระทั่งบางครอบครัวต้องด�าเนินการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและศาลปกครองโดยท่ีสมาคมบ้านเรียนไทยจ�าต้องด�าเนินการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งส�านักกฎหมายและฟ้องคดีและส�านักตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเพื่อขอความคุ้มครองและตรวจสอบการด�าเนินงานของส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เพื่อสร้างแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวในส่วนการท�างานของภาครัฐสพฐ.ได้ด�าเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานในโครงการพิเศษเข้ามารับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวน�าร่องกลุ่มการศึกษาทางเลือกอื่นๆภายใต้ความรับผิดชอบของส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและเพื่อท�าให้หลายๆฝ่ายเล็งเห็นถึงความส�าคัญเหล่านี้จึงได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจร่วมกันอยู่เป็นระยะๆโดยใช้การประชุมการพูดคุยปรึกษากันและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ทั้งนี้ยังท�าให้เกิดภาคีบ้านเรียนจัดตั้งโดยภาครัฐในพื้นท่ีน�าร่องจังหวัดเดียวอันประกอบด้วย3ฝ่ายคือ1)ครอบครัว2)ส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาท่ีเป็นผู้ก�ากับดูแลสนับสนุนการจัดการศึกษาและ3)เครือข่ายบ้านเรียนภาคเหนือซึ่งมีบทบาทประสานในการท�างานร่วมกันจึงท�าให้เกิดความเข้าใจอันดีและเกิดความสัมพันธ์ฉันท์กัลยาณมิตรและโครงการน�าร่องนี้ไม่เกิดความต่อเนื่องเนื่องจากเป็นกลไกที่ขาดหลักการมีส่วนร่วมในพื้นท่ีจ�ากัดซ่ึงไม่รองรับการปฏิบัติงานอย่างเสมอภาคบนความหลากหลายของกลุ่มบ้านเรียนทั่วประเทศโดยภาครัฐให้เหตุผลว่าไม่มีนโยบายและขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในขณะที่อีกหลายพื้นท่ีที่มีปัญหาได้เกิดภาคีเครือข่ายบ้านเรียนประกอบด้วย2ฝ่ายคือภาคีเครือข่ายบ้านเรียนรุ่นพี่และภาคีเครือข่ายบ้านเรียนรุ่นน้องจัดตั้งโดยความร่วมมือ

ของครอบครัวผู้จัดการศึกษาเพื่อเข้าร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ครอบครัวยังคงได้รับปัญหาเช่นเดิมๆจากเจ้าหน้าที่รัฐทั่วทุกภูมิภาคโดยมีการประสานขอความร่วมมือไปยังส�านักนวัตกรรมการจัดการศึกษาซ่ึงรับผิดชอบดูแลเรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่สพฐ.เป็นระยะๆ ทั้งน้ีคุณกนกพรสบายใจ(สัมภาษณ์,28ตุลาคม2557)ซึ่งในอดีตเป็นผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวระหว่างปีพ.ศ.2542–พ.ศ.2555และด�ารงต�าแหน่งที่ปรึกษานายกสมาคมบ้านเรียนไทยระหว่างปีพ.ศ.2553–พ.ศ.2556ปัจจุบันด�ารงต�าแหน่งรองเลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยเครือข่ายบ้านเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ.2553–ปัจจุบันได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการระหว่างปีแห่งการทวงคืนสิทธิในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวโดยพอจะสรุปได้ดังนี้ในปี2553เป็นต้นมาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมีการประสานงานร่วมกับสภาการศึกษาทางเลือกในการท�ากิจกรรมต่างๆจนถึงต้นปี2554หลายครอบครัวประสบปัญหาเรื้อรังจากการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิผู้เรียนจนท�าให้ครอบครัวและผู้เรียนได้รับความเดือดร้อนอย่างมากและเกิดความท้อแท้ในการจัดการศึกษาต่อเครือข่ายบ้านเรียนจึงได้ร่วมด�าเนินงานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ศาลปกครองและได้ส่งหนังสือเพื่อติดตามความก้าวหน้าจากสพฐ.ในความพยายามด�าเนินการรักษาและเรียกร้องสิทธิการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้ปรากฏในสังคมไทยพร้อมกันน้ันได้จัดให้มีการประชุม4ภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิทางกฎหมายและวิชาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในปี2554เป็นต้นมาจึงถือได้ว่าเป็นปีแห่งการเริ่มต้นต่อสู้ในการคืนสิทธิบ้านเรียน ในห้วง2-3ปีที่ผ่านมาเครือข่ายบ้านเรียนได้เข้าร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาเครือข่ายการศึกษาทางเลือกร่วมกับสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยซ่ึงได้เกิดงานวิจัยเรื่องหน่ึงท่ีแสดงว่าแนวทางการด�าเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐไม่สอดคล้องต่อเป้าหมายในการจัดการศึกษาทางเลือกตามสิทธิในกฎหมายการศึกษาจึงน�าไปสู่การจัดท�า“หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551ส�าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ”ซึ่งเป็นระเบียบที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

Page 10: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี24 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เข้าใจตรงกันและมีแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นแต่ทางภาครัฐก็ไม่ได้มีการประชุมท�าความเข้าใจร่วมกับผู้จัดการศึกษาบนหลักการมีส่วนร่วมจึงท�าให้เจ้าหน้าท่ีผู้รับผิดชอบงานโฮมสคูลยังท�างานบนความขัดแย้งทางความคิดกับครอบครัวใหม่ๆต่อมาแต่ขณะเดียวกับท่ีมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆที่ครอบคลุมรวดเร็วมากข้ึนในสังคมเช่นอินเทอร์เน็ตเฟสบุ๊คเว็บไซต์เครือข่ายบ้านเรียนโดยการสนับสนุนของทุนวิจัยจากสสส.ให้กับสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยทางเครือข ่ายบ ้านเ รียนจึงด�าเ นินการจัดตั้ ง เว็บไซต ์Homeschool Network .o rg และ เฟสบุ ๊ คชื่ อHomeschoolNetworkเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกระจายความรู้สู่กลุ่มพ่อแม่ที่สนใจจัดโฮมสคูลและเช่ือมโยงความสัมพันธ ์ของครอบครัวโฮมสคูลสังคมไทยได้กว้างขวางมากข้ึนท�าให้การด�าเนินงานแก้ไขปัญหาร่วมกับครอบครัวในพื้นที่จัดการศึกษาเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น จนกระทั่งในปีพ.ศ.2556เป็นผลท�าให้มีกลุ่มครอบครัวสนใจจัดการศึกษามากข้ึนแบบก้าวกระโดดโดยขณะที่สพฐ.ยังไม่มีมาตรการและกลไกใหม่ในการท�าให้การท�างานระหว่างครอบครัวและส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาราบรื่นข้ึนสมาคมบ้านเรียนไทยจึงตัดสินใจเปิดช่องทางการจดทะเบียนโฮมสคูลร่วมกับโรงเรียนรุ่งอรุณซึ่งเป็นเครือข่ายการศึกษาทางเลือกในปีแรกน้ีมีครอบครัวใหม่ที่สนใจจดทะเบียนร่วมกับโรงเรียนรุ่งอรุณจ�านวนเกือบร้อยครอบครัว ในต้นปีเดียวกันภาคีเครือข่ายการศึกษาทางเลือกได้ร่วมรณรงค์ให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกนโยบายการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กเป็นผลส�าเร็จจนในที่สุดได้มีภาคประชาชนในฐานะตัวแทนกลุ่มการศึกษาทางเลือกได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในกระทรวง

ศึกษาธิการรวมทั้งผู้แทนเครือข่ายบ้านเรียนและท�าให้พบว่าระเบียบที่บังคับเจ้าหน้ารัฐด�าเนินงานหลายเรื่องไม่รองรับสิทธิภาคประชาชนในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและไม่สามารถส่งเสริมการกระจายอ�านาจการบริหารจัดการศึกษาไปถึงภาคประชาชนได้อย่างแท้จริงแม้การมีส่วนร่วมในการประชุมกับภาครัฐจะส่งเสริมความเป็นมิตรและเข้าใจซ่ึงกันและกันมากขึ้นแต่การด�าเนินงานของภาครัฐยังติดขัดเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคประชาชนไม่มีการแก้ไขปัญหาร่วมกันบนหลักการกระจายอ�านาจบริหารจัดการศึกษาและไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณในการท�างานแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ส่วนในปัจจุบันน้ีเม่ือเข้าสู่รัฐบาลภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)มีการประกาศนโยบายสนับสนุนการศึกษาทางเลือกเนื่องจากกระแสการขับเคล่ือนการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลกท�าให้ภาคีเครือข่ายบ้านเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งการแก้ไขแนวทางการปฏิบัติงานของส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาการท�างานด้านกฎหมายและการขับเคลื่อนพลังทางสังคมเพื่อการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นการสร้างความร่วมมือในการร่วมแก้ไขปัญหาการศึกษาโดยครอบครัวของประเทศในภาพรวมร่วมกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆเพื่อตรวจสอบการท�างานของเจ้าหน้าท่ีรัฐขณะเดียวกันก็ส่งเสริมเครือข่ายให้เข้มแข็งยิ่งข้ึนท�าให้บรรยากาศในการร่วมมือกันของทุกฝ่ายมีแนวโน้มไปในทิศทางของความจ�าเป็นต้องร่วมมือกันพัฒนาให้ดีขึ้นและคาดว่าในอนาคตจะช่วยกันน�าพาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้ก้าวไกลและยั่งยืนในสังคมไทย จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นอาจพอสรุปเป็นตารางจากรายงานการวิจัยรูปแบบและพัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยและขอน�าเสนอให้เห็นตามล�าดับของช่วงเวลาดังนี้

Page 11: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 25ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

ช่วงเวลา พัฒนาการ

1.ช่วงก่อนปีพ.ศ.2540

ก่อนปีพ.ศ.2528 ครอบครัวรุ่นบุกเบิก2ครอบครัวได้แก่ครอบครัวคุณพิภพ–รัชนีธงไชยและครอบครัวนายแพทย์โชติช่วงชุตินธร

หลังปีพ.ศ.2535 ครอบครัวมีจ�านวนเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในวงจ�ากัดได้แก่ครอบครัวนายแพทย์พรพันธุ์โอสถครอบครัวคุณสมพรพึ่งอุดมครอบครัวคุณนิราพรเหลืองแจ่มครอบครัวคุณสาทรสมพงศ์ครอบครัวครูบาสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์เป็นต้น

ช่วงรอยต่อของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542

-ประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540-ครอบครัวคุณกนกพรสบายใจครอบครัวคุณอาทิตย์แดงพวงไพบูลย์ครอบครัวคุณพรสรวงคุณวัฒนการครอบครัวกลุ่มบ้านเรียนปัญญากรเป็นต้น

2.ช่วงปีพ.ศ.2541-2549

หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542

-ครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกเป็นจ�านวนหลายสิบครอบครัว-ในพ.ศ.2543ได้มีการจัดตั้ง“ศูนย์ประสานงานการศึกษาโดยครอบครัว”(ศปศค.)นับเป็นองค์กรเครือข่ายการศึกษาโดยครอบครัวแห่งแรกของสังคมไทย

ภายหลังการใช้ประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวพ.ศ.2547

-เริ่มมีครอบครัวไปจดทะเบียนขออนุมัติจัดการศึกษากับส�านักเขตพื้นฐานการศึกษาตามภูมิล�าเนาและจ�านวนครอบครัวที่สนใจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

2548 -มีการจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสมาคมบ้านเรียนไทยเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นในการท�างาน-เครือข่ายบ้านเรียนสามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม“สมาคมบ้านเรียนไทย”-สพฐ.เชิญผู้แทนสมาคมบ้านเรียนไทยเข้าร่วมการประชุมการจัดท�าแนวปฏิบัติในการด�าเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

2549 - สพฐ. ประกาศใช้แนวปฏิบัติในการดำาเนินงานการจัดการศึกษา

โดยครอบครัว และเริ่มมีครอบครัวเริ่มดำาเนินการจดทะเบียนจัดการ

ศึกษากับสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Page 12: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี26 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

ช่วงเวลา พัฒนาการ

3.ช่วงปีพ.ศ.2550-ปัจจุบัน

2550-2554 - เผยแพร่สารสมาคมบ้านเรียนไทย (ปี 2550)- ปี 2551 ประกาศใช้ “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ.2551”- ปี 2552 พบว่า มีครอบครัวที่จดทะเบียนแล้ว 106 ครอบครัว 

เป็นเด็กผู้เรียนทั้งหมด 144 คน ใน 40 เขตการศึกษาทั่วประเทศ (จากทั้งหมด 185 เขต)

- ปี 2553 เป็นต้นมา เริ่มเกิดปัญหากระทบสิทธิผู้เรียนในการที่สำานักงานไม่ดำาเนินการประเมินผลให้กับผู้เรียนบ้านเรียน จำานวน 17 คน

- ปี 2554 ครอบครัวบ้านเรียนและภาคีเครือข่ายบ้านเรียนดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม

- เกิดเครือข่ายภาคีบ้านเรียนนำาร่อง ตามคำาแนะนำาของภาคีเครือข่ายครอบครัวบ้านเรียน อันประกอบด้วยครอบครัว สพท. และเครือข่ายบ้านเรียน โดยการจัดตั้งของ สพฐ. และยุติไปเนื่องจากไม่มีงบประมาณ

- ปี 2554 ประกาศใช้ “หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” และจัดประชุมเพื่อแก้ไขแนวปฏิบัติในการดำาเนินงานจัดการศึกษาโดยครอบครัว

2555จนปัจจุบัน - จัดทำาเว็บไซต์ HomeschoolNetwork.org หรือ “เครือข่าย

บ้านเรียน”

- สพฐ.ประกาศใช้คู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดย

ครอบครัว ปี 2555

- ปี 2555 ถือเป็นปีแห่งการต่อสู้ในการคืนสิทธิบ้านเรียน

- ปี 2556 สมาคมบ้านเรียนเปิดช่องทางใหม่ในการจดทะเบียน

โฮมสคูล ร่วมกับ โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายการ

ศึกษาทางเลือก

2557 - อยู่ระหว่างการแก้ไขแนวปฏิบัติในการดำาเนินงานจัดการศึกษา

โดยครอบครัว เล่มที่ 3

- ภาคีเครือข่ายบ้านเรียนมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน

พลังทางสังคมในการปฏิรูปการศึกษาไทย

- คสช.ประกาศนโยบายสนับสนุนการศึกษาทางเลือก

*ปรับปรุงจากยุทธชัย-อุทัยวรรณเฉลิมชัยและกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร(2543:28-29)

Page 13: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 27ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

โดยสรุปเมื่อกล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยจะเห็นได้ว่าเร่ิมต้นจากกลุ่มคนจ�านวนน้อยที่เลือกเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของตนเองก่อนเท่านั้นจากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มจ�านวนมากขึ้นเรื่อยๆท�าให้เกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายครอบครัวท้ังทางตรงและทางอ้อมและเมื่อด�าเนินการจัดการศึกษาแต่ละครอบครัวได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งด้านที่ดีและข้อจ�ากัดรวมถึงปัญหาอุปสรรคทั้งนี้ด้วยความรู้สึกอันแรงกล้าเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับจนกลายเป็นสมาคมบ้านเรียนไทยที่ท�าหน้าท่ีแทนครอบครัวคอยช่วยเหลือให้ค�าแนะน�าและร้องเรียนเรื่องสิทธิและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆรวมทั้งเกิดภาคีเครือข่ายครอบครัวบ้านเรียนในพื้นท่ีจังหวัดต่างๆทั้ง4ภูมิภาคขณะเดียวกันความส�าเร็จส่วนหน่ึงเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศท�าให้ครอบครัวติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดนจึงส่งผลให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคงในสังคมไทยและเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมทั้งขยายกระบวนทัศน์สร้างความเข้าใจให้กับสังคมได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากมายนักน�าไปสู่อนาคตท่ีมุ่งหวังให้มีพื้นที่การท�างานร่วมกันอย่างมีไมตรีจิตเพื่อให้ถึงจุดหมายของการร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยดังที่ทุกฝ่ายต้องการ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว จากพัฒนาการท่ีกล่าวมาน้ันช้ีให้เห็นว่าการด�าเนินการต่างๆล้วนแล้วแต่เก่ียวข้องกับกฎหมายหลากหลายฉบับเพื่อให้ครอบครัวสามารถน�ามาปฏิบัติได้ในความเป็นจริงโดยการใช้สิทธิเสรีภาพตามหลักกฎหมายของประเทศไทยช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้อย่างภาคภูมิซึ่งพอจะสรุปให้เห็นภาพรวม(ส�านักงานเลขาธิการวุฒิสภา,2554:21-22;ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,2555:5-6)ได้ดังนี้ เริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองและรับรองสิทธิเสรีภาพในการศึกษาของประชาชนสิทธิในการจัดการศึกษาทางเลือกการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตท่ีจะต้องได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่

เหมาะสมจากรัฐและได้เน้นย�้าเจตนารมณ์เรื่องสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในบทบัญญัติมาตรา49วรรคหนึ่งที่ก�าหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายซ่ึงครอบคลุมประชาชนทุกคนและในวรรคที่สามกล่าวถึงการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐรวมถึงมาตรา50ที่กล่าวถึงการมีเสรีภาพในทางวิชาการที่เป็นไปอย่างเหมาะสมเท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็จะได้รับการคุ้มครองเช่นกัน จากหลักการข้างต้นจึงได้กลายมาเป็นเจตนารมณ์และหลักการส�าคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545(ฉบับที่3)พ.ศ.2553ซ่ึงเป็นกฎหมายน�าสู่การปฏิรูปการศึกษาปฏิรูปการเรียนรู ้เปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันในสังคมส่งผลอันท�าให้ระบบการศึกษาไทยจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้มีบทบัญญัติส่งเสริมสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของครอบครัวในการจัดการศึกษาอยู่หลายมาตราโดยเฉพาะในมาตรา11และ12บิดามารดาและผู้ปกครองมีหน้าที่จัดได้บุตรหลานได้รับการศึกษาโดยให้สิทธิครอบครัวสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับบุตรของตนเองได้ส่วนในมาตรา13และ14ครอบครัวที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับบุตรมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางการศึกษาอื่นๆส่วนมาตรา15และ18ได้รับรองให้ครอบครัวสามารถจัดการศึกษาได้อย่างหลากหลายยืดหยุ่นแตกต่างกันไปรวมทั้งรับรองการเป็นสถานศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนตามกฎหมายโดยยึดแนวทางการจัดการศึกษาตามหมวด4ต้ังแต่มาตรา22ถึง30รวมถึงมาตรา34,37และ38ที่กล่าวถึงการส่งเสริมสนับสนุนของส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย นอกจากน้ียังมีกฎหมายท่ีมีบทบาทส�าหรับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่มีผลบังคับใช้ได้อย่างจริงทั้งในระดับครอบครัวและหน่วยงานราชการนั่นคือกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว

Page 14: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี28 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

พ.ศ.2547ที่ให้ค�าจ�ากัดความและแนวทางการด�าเนินงานส�าหรับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวท่ีช่วยก�าหนดแนวทางในการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ชัดเจนมากขึ้นรวมถึงรายละเอียดในการยื่นค�าขออนุญาตจัดการศึกษาต่อส�านักงานเขตพื้นที่ตามภูมิล�าเนาและหลักปฏิบัติส�าคัญส�าหรับครอบครัวและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถึงแม้กฎหมายฉบับนี้สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยสามารถน�าไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานทั้งฝ่ายผู ้จัดและเจ้าหน้าที่ของรัฐในส�านักเขตพื้นที่การศึกษาแต่ข้อก�าหนดในกฎกระทรวงล้วนเป็นการด�าเนินงานก�ากับควบคุมโดยภาครัฐเป็นส่วนมากซึ่งขาดหลักการกระจายอ�านาจการบริหารจัดการศึกษาให้กับผู้จัดการศึกษาได้อย่างแท้จริงรวมทั้งขาดวิธีการการท�างานบนหลักประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมซึ่งจะต้องด�าเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อการปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนผู้จัดการศึกษาต่อไป หลังจากมีการน�ากฎหมายไปประยุกต์ใช้จริงก็พบปัญหาต่างๆระหว่างครอบครัวและส�านักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาทั้งในส่วนการด�าเนินการและการตีความของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนกระบวนทัศน์การส่งเสริมการศึกษาที่แตกต่างกันจึงท�าให้การศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยและส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจ�าเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นสมาคมบ้านเรียนไทยและสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยจึงร่วมผลักดันให้เกิดการพิจารณาใช้ข้อกฎหมายที่เป็นธรรมและช่วยประสานงานกับภาครัฐในการด�าเนินการรับรองสิทธิการจัดการศึกษาโดยครอบครัวร่วมกันกับส�านักงานพัฒนานวัตกรรมการศึกษา(2555:8)ซ่ึงเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้จัดท�าคู่มือในการด�าเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551ส�าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551โดยเกี่ยวข้องกับมาตรา3ถึงมาตรา9เป็นกฎหมายส�าหรับให้สถานศึกษาและเครือข่ายด�าเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเป็นการสร้าง

ความเข้าใจให้กับสถานศึกษาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยช่วยส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดดังกล่าวที่จะส่งผลให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้ง่ายขึ้นเพ่ือท�าให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้ตามศักยภาพ โดยสรุปแล้วสิทธิในการจัดการศึกษาในครอบครัวในสังคมไทยเกิดขึ้นจากการผลักดันจากภาคประชาชนหรือผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างแท้จริงตั้งแต่เริ่มต้นจากการไม่มีกฎหมายใดๆรองรับอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปัจจุบันที่มีกฎหมายหลายฉบับประกาศใช้เพื่อรองรับสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้ของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งสองฉบับกฎกระทรวงฯและพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551ซึ่งความส�าเร็จเหล่าน้ีเกิดจากความพยายามของครอบครัวรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ยังไม่ละความเพียรเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับผู้เรียนจนไปถึงเป้าหมายคือการศึกษาตลอดชีวิตทั้งอีกมุมหนึ่งก็แสดงให้เห็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐที่จะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ต่อการเปิดกว้างในการท�างานเพิ่มขึ้นจากในอดีตเช่นกัน

บทสรุป การจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยมีแนวโน้มท่ีดีขึ้นสังเกตได้จากการได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักของสังคมมากข้ึนผู้คนในหลากหลายแวดวงเข้าใจถึงความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองได้รับสิทธิและเสรีภาพในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรที่บ้านได้รับสิทธิและเสรีภาพต่างๆเท่ากับสถานศึกษาในปัจจุบันสามารถเลือกรูปแบบการจัดตามความเหมาะสมของครอบครัวและธรรมชาติของผู้เรียนได้อย่างยืดหยุ่นเมื่อก้าวสู่ศตวรรษที่21ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวของเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงครอบครัวจึงสามารถส่งเสริมให้ผู ้เรียนปรับตัวเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้นและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างคล่องตัวท�าให้รูปแบบในการจัดการศึกษาก็หลากหลายมากขึ้นเช่นกันจากอดีตที่เป็นเพียงครอบครัวเดี่ยวพัฒนาเรื่อยมาจนมีลักษณะการเรียนรู้แบบกลุ่มเช่นการเรียนร่วมกับโรงเรียนการเรียนร่วมกับครอบครัว

Page 15: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 29ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

อื่นหรือจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ซึ่งสามารถน�ามาใช้ปฏิบัติได้จริงทั้งนี้การที่ครอบครัวจะเปลี่ยนจากการศึกษาในระบบมาเป็นการศึกษาโดยครอบครัวนั้นย่อมมีเหตุปัจจัยทางสังคมที่ผลักดันให้ครอบครัวเลือกเข้าสู ่การศึกษารูปแบบนี้ในยุคสมัยท่ีวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วและกว้างขวางท�าให้ความรู้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจนท�าให้ผู้คนตระหนักว่าการศึกษาควรอยู่ในวิถีชีวิตของเรามิใช่จ�ากัดเพียงในห้องเรียนอีกต่อไปการเข้าใจถึงปัญหาจากการศึกษาในระบบซ่ึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงและศักยภาพผู้เรียนที่มีคุณค่าหลากหลายกระบวนทัศน์ทางสังคมจึงก�าลังเปลี่ยนแปลงไปให้คุณค่าต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นและการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์รวมถึงสถาบันครอบครัวที่เริ่มเสื่อมโทรมลงจนอาจน�าไปสู่ปัญหาสังคมในวงกว้างถึงแม้ว่าการน�าข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติจริงยังมีป ัญหาที่ เรื้อรังกับกระบวนทัศน์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เก่ียวข้องและคงเป็นโอกาสที่ดีในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในทิศทางใหม่ร่วมกับการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศไทย แรงผลักดันเหล่านี้ล ้วนสัมพันธ์กับการสร้างพัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในแต่ละช่วงเวลาเมื่อเริ่มแรกเป็นเพียงครอบครัวจ�านวนน้อยที่จัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของตนเองโดยจ�ากัดอยู่ในวงแคบและยังไม่มีกฎหมายใดออกมารองรับอย่างถูกต้องในสังคมไทยถือเป็นยุคบุกเบิกอย่างแท้จริงเมื่อเข้าสู่ช่วงระยะที่สองหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ที่รัฐได้มอบโอกาสและสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนท�าให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสามารถด�าเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมายเม่ือครอบครัวผู้จัดเพิ่มจ�านวนมากขึ้นท�าให้เกิดเป็นลักษณะเครือข่ายครอบครัวเกิดพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันผ่านกลุ่มครอบครัวร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติกับหน่วยงาน

ของรัฐเครือข่ายครอบครัวพัฒนาเรื่อยมาอย่างเข้มแข็งและเติบโตขึ้นจนเมื่อปลายปี2548มีการจดทะเบียนเป็นสมาคมบ้านเรียนไทยท่ีคอยสนับสนุนและให้ค�าแนะน�าแก่พ่อแม่รวมท้ังด�าเนินการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐในเร่ืองสิทธิให้ครอบครัวส่วนในช่วงที่สามการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นที่รู ้จักอย่างกว้างขวางการประสานงานระหว่างครอบครัวและการแลกเปล่ียนประสบการณ์การเรียนรู้ท�าได้ง่ายและรวดเร็วมากข้ึนผ่านเครือข่ายครอบครัวและอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเฟสบุ๊คและเว็บไซต์โดยตรงของเครือข่ายบ้านเรียนเกิดภาคีเครือข่ายครอบครัวบ้านเรียนขึ้นทั้ง4ภูมิภาคมีการด�าเนินการร่วมกันเพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติสนับสนุนช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถน�าข้อกฎหมายและความรู้ทางวิชาการไปปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นรูปธรรมมากข้ึนรวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อท�างานร่วมกันในช่วงปลายถือได้ว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นในด้านการบริหารจัดการเนื่องจากเกิดการร้องเรียนตามกระบวนการยุติรรมจึงมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีการท�างานร่วมกัน นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ต่างๆท่ีเกิดขึ้นน้ันเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายของประเทศตลอดเวลาเพื่อให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นที่ยอมรับและมีที่ยืนในสังคมอย่างถูกต้องเทียบเท่าการศึกษาในระบบเช่นเดียวกับการผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องซ่ึงล้วนเกิดขึ้นจากการร่วมขับเคลื่อนจากเครือข่ายผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างแท้จริงตั้งแต่เริ่มแรกที่ยังไม่มีกฎหมายใดๆรองรับอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปัจจุบันที่มีกฎหมายหลายฉบับประกาศใช้เพื่อรองรับสิทธิเสรีภาพของครอบครัวโดยเฉพาะของผู้เรียนขณะเดียวกันก็ช่วยเป็นแนวทางในการด�าเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานของรัฐแม้ในการด�าเนินการจัดการศึกษาจะยังคงมีปัญหาอยู่บ้างแต่ถือได้ว่าบรรยากาศในการร่วมมือกันของทุกฝ่ายเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและจะท�าให้มีความหวังว่าการศึกษาโดยครอบครัวให้จะได้รับการพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต

Page 16: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี30 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เอกสารอ้างอิง กนกพรสบายใจ.ผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัว, อดีตที่ปรึกษานายกสมาคมบ้านเรียนไทย, รองเลขาธิการสมาคม สภาการศึกษาทางเลือกไทย เครือข่ายบ้านเรียน.(28ตุลาคม2557).สัมภาษณ์.การศึกษาทางเลือก...เส้นทางที่งดงามด้วยความต่าง.(2555).วารสารสื่อพลัง.20(1),46-51.กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: กระทรวง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,ส�านักงาน.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.นิภาพรรณเจนสันติกุล.(2554).การเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญ:บทพิสูจน์ทางทฤษฏี.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.22(1),34-49.นุชสิริโค้นหล่อ.(2545).การพัฒนาตัวบ่งชี้มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกของการจัดการ ศึกษาโดยครอบครัว.วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ประเวศวะสี.(2557).อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย.กรุงเทพฯ:บริษัทมาตาจ�ากัด.พงษ์วิเศษสังข์.(2554).เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม.วารสารนักบริหาร.31(1),124-130.มิ่งสรรพ์ขาวสะอาดและณัฎฐาภรณ์เลียมจรัสกุล,(บรรณาธิการ).(2556).ชีวิตคนไทยในสองทศวรรษแห่งการ พัฒนา.เชียงใหม่:แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี(นสธ.)สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว.(2551).การจัดการศึกษาโดยครอบครัว(HomeSchool).สืบค้น10ตุลาคมพ.ศ.2557 จากhttp://www.familynetwork.or.th/content/การจัดการศึกษาโดยครอบครัว-home-school.มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.(2553).แกะรอยเส้นทางการศึกษาทางเลือกไทย.สืบค้น10ตุลาคมพ.ศ.2557จาก http://ppvoice.thainhf.org/index.php?module=article&page=detail&id=710.ยุทธชัยเฉลิมชัย.(2549).ชวนลูกหนีโรงเรียน บทบันทึกของคนเป็นพ่อบนเส้นทางโฮมสคูลไทย.กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจ�ากัด.ยุทธชัยเฉลิมชัย,อุทัยวรรณเฉลิมชัย,และกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร.(2543).รายงานการศึกษาวิจัยรูปแบบและ พัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.วิลาวัลย์มาคุ้ม.(กุมภาพันธ์2550).HomeSchoolทางเลือกใหม่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง.วารสารการศึกษาไทย. 4(29),61-66.สมาคมบ้านเรียนไทย.(2555).เอกสารวิชาการว่าด้วยองค์ความรู้เก่ียวกับสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย ครอบครัว “สภาพการณ์การจัดการศึกษาโดยครอบครัว ปี ๒๕๕๔”.ม.ป.พ.;สมาคมบ้านเรียนไทย.ส�านักงานปฏิรูป.(2555).ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปประเทศไทย.กรุงเทพฯ:บริษัททีคิวพีจ�ากัด.ส�านักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2554).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550:แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่2)พุทธศักราช2550.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ:ส�านักงานเลขาธิการวุฒิสภา.ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2547).รายงานการวิจัยสภาพการณ์และฐานข้อมูลการจัดการศึกษาโดย ครอบครัวในสังคมไทย.สืบค้น20ตุลาคมพ.ศ.2557จากhttp://onec.go.th/onec_backoffice/ uploads/Book/123-file.pdf._____________.(2549).คู่มือครอบครัว ก้าวแรกสู่บ้านเรียน : หลักคิดและกระบวนการเข้าสู่การศึกษาโดยครอบครัว (Home School).กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.

Page 17: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 31ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

_____________.(2550).รายงานการวิจัยภาคีบ้านเรียน การจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างครอบครัวสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเครือข่าย.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด._____________.(2551).ประสบการณ์การจัดการศึกษาโดยครอบครัว.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.ส�านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.(2551).เอกสารสาระหลักการและแนวคิด ประกอบการดำาเนินงาน กศน.: คัมภีร์ กศน.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจ�ากัดเอ็น.เอ.รัตนเทรดดิ้ง.ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.(2555).คู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) 2555.สืบค้น20ตุลาคมพ.ศ.2557จากhttp://www.homeschoolnetwork.org/upload/Homeschool/ homeschool-handbook-2555.pdfโฮมสคูลทางเลือกใหม่การศึกษาไทย.(ม.ป.ป.).หอข่าว.สืบค้น20ตุลาคมพ.ศ.2557จากhttp://utcc2.utcc.ac.th/ faculties/comarts/webjrshow/web%20horkor2%5B46%5D/ed3.htm.Berger,E.H.(2008).Parents As Partners in Education: Families and Schools Working Together. (7thed.).NewJersey:PearsonEducation,Inc.Dodd,S.(2009).Sandra Dodd’s big book of unschooling.AlbuquerqueN.M.:Lulu.com.Griffith,M.(2010a).The Homeschooling Handbook: From Preschool to High School, A Parent’s Guide to: Making the Decision; Discovering your child’s learning style; Getting Started; Creating an Effective.(2nded.).NewYork:RandomHouseLLC.Griffith,M.(2010b).The Unschooling Handbook: How to Use the Whole World As Your Child’s Classroom.NewYork:RandomHouseLLC.Linsenbach,S.(2010). The Everything Homeschooling Book: All you need to create the best curriculum and learning environment for your child.(2nded.).MA:EverythingBooks.Takahashi,T.(2008).Deschooling gently: a step by step guide to fearless homeschooling. LosAngeles,Calif.:HuntPress.Vahid,A.S.,&Vahid,F.(2007).Homeschooling: A Path Rediscovered for Socialization, Education, and Family.S.l.:Lulu.com