Growth of Home Schooling in...

17
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 15 ปีท่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558 Growth of Home Schooling in Thailand Rudjanee Engchun Ed.D. (Educational Administration), Doctoral student Department of Educational Administration, Faculty of Education Prince of Songkla University, Pattani Campus Ekkarin Sungtong Ph.D. (Educational Leadership and Policy Analysis), Assistance Professor Department of Educational Administration, Faculty of Education Prince of Songkla University, Pattani Campus Theera Haruthaithanasan Ph.D. (Educational Policy Studies), Lecturer Department of Educational Administration, Faculty of Education Prince of Songkla University, Pattani Campus Abstract The objective of this article was to depict the growth of home schooling in Thailand. Content analysis technique was employed to analyze related articles and literatures aiming to reflect a whole picture and important aspects from the past until now. The definition, types of home schooling management, social drives inducing Thai home schooling, the growth in several aspects of Thai home schooling, related laws, and conclusion were addressed. The article showed that nowadays the types of home schooling management were much more various based on needs of learners and families. Typical types of home schooling included 1) a single family, 2) coordinating network families, 3) networking and establishing a learning center, and 4) family having a mutual agreement with a school. Distinctive social drives that pushed home schooling in Thailand stemmed from many unsolved problems in formal education; 1) the mismatch between the educational achievement, needs of families in real life, and each different competency of the various learners, 2) the working problems in government system, 3) decadence of family unit, and 4) a change of new social paradigm. Those mentioned problems encouraged families’ decision making to choose a home schooling path. The growth of home schooling in Thailand divided into 3 periods since before 1997 till 2014. At the beginning, it started with uniqueness of family, then became unification of few home schooling families, and their number was increasing more until becoming stronger and more well-known look as Thai home schooling network. Its function was for organizing several concrete activities together and coordinating with the Alternative Education Network. It helped families get more attention and cooperation from government agencies, also raising better mutual relationship, and taking a participation in Thai education reform at present together with a supporting policy by government under National Council for Peace and Order. Including better development of home schooling laws, it changed from no any laws supporting home schooling in the past to be legally permitted by government at present, because of families’ effort for very long time. Hence, families have rights and freedom as equal as formal education. Although, there are many unsolved problems in practice and time consuming for understanding together, when spirit and a strong home schooling network along with awareness from government sector are considered. Those will enhance Thai home schooling in the future. Keywords: Home schooling, Alternative education, Families, Growth

Transcript of Growth of Home Schooling in...

Page 1: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 15ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

Growth of Home Schooling in ThailandRudjanee Engchun

Ed.D.(EducationalAdministration),DoctoralstudentDepartmentofEducationalAdministration,FacultyofEducation

PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampusEkkarin Sungtong

Ph.D.(EducationalLeadershipandPolicyAnalysis),AssistanceProfessorDepartmentofEducationalAdministration,FacultyofEducation

PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampusTheera Haruthaithanasan

Ph.D.(EducationalPolicyStudies),LecturerDepartmentofEducationalAdministration,FacultyofEducation

PrinceofSongklaUniversity,PattaniCampus

Abstract TheobjectiveofthisarticlewastodepictthegrowthofhomeschoolinginThailand.Contentanalysistechniquewasemployedtoanalyzerelatedarticlesandliteraturesaimingtoreflectawholepictureandimportantaspectsfromthepastuntilnow.Thedefinition,typesofhomeschoolingmanagement,socialdrivesinducingThaihomeschooling,thegrowthinseveralaspectsofThaihomeschooling,relatedlaws,andconclusionwereaddressed.Thearticleshowedthatnowadaysthetypesofhomeschoolingmanagementweremuchmorevariousbasedonneedsoflearnersandfamilies.Typicaltypesofhomeschoolingincluded1)asinglefamily,2)coordinatingnetworkfamilies,3)networkingandestablishingalearningcenter,and4)familyhavingamutualagreementwithaschool.DistinctivesocialdrivesthatpushedhomeschoolinginThailandstemmedfrommanyunsolvedproblemsinformaleducation;1)themismatchbetweentheeducationalachievement,needsoffamiliesinreallife,andeachdifferentcompetencyofthevariouslearners,2)theworkingproblemsingovernmentsystem,3)decadenceoffamilyunit,and4)achangeofnewsocialparadigm.Thosementionedproblemsencouragedfamilies’decisionmakingtochooseahomeschoolingpath.ThegrowthofhomeschoolinginThailanddividedinto3periodssincebefore1997till2014.Atthebeginning,itstartedwithuniquenessoffamily,thenbecameunificationoffewhomeschoolingfamilies,andtheirnumberwasincreasingmoreuntilbecomingstrongerandmorewell-knownlookasThaihomeschoolingnetwork.ItsfunctionwasfororganizingseveralconcreteactivitiestogetherandcoordinatingwiththeAlternativeEducationNetwork.Ithelpedfamiliesgetmoreattentionandcooperationfromgovernmentagencies,alsoraisingbettermutualrelationship,andtakingaparticipationinThaieducationreformatpresenttogetherwithasupportingpolicybygovernmentunderNationalCouncilforPeaceandOrder.Includingbetterdevelopmentofhomeschoolinglaws,itchangedfromnoanylawssupportinghomeschoolinginthepasttobelegallypermittedbygovernmentatpresent,becauseoffamilies’effortforverylongtime.Hence,familieshaverightsandfreedomasequalasformaleducation.Although,therearemanyunsolvedproblemsinpracticeandtimeconsumingforunderstandingtogether,whenspiritandastronghomeschoolingnetworkalongwithawarenessfromgovernmentsectorareconsidered.ThosewillenhanceThaihomeschoolinginthefuture.

Keywords:Homeschooling,Alternativeeducation,Families,Growth

Page 2: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี16 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

พัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทย

รุจนี เอ้งฉ้วนศษ.ด.(การบริหารการศึกษา),นักศึกษาปริญญาเอก

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีเอกรินทร์ สังข์ทอง

Ph.D.(EducationalLeadershipandPolicyAnalysis),ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

ธีร หฤทัยธนาสันติ์Ph.D.(EducationalPolicyStudies),อาจารย์

ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ บทความนี้น�าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทยโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาบทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมและประเด็นส�าคัญต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซ่ึงประกอบด้วยค�านิยามรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวแรงผลักดันทางสังคมที่ท�าให้เกิดการจัดการศึกษาโดยครอบครัวไทยพัฒนาการในด้านต่างๆในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและกฎหมายที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งน�าเสนอบทสรุปผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันนี้มีรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่มีความหลากหลายมากขึ้นสอดคล้องกับความเหมาะสมของผู้เรียนและครอบครัวท้ังแบบครอบครัวเดี่ยวแบบข่ายประสานงานแบบรวมศูนย์การจัดการในท่ีเดียวและแบบมีข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียนในประเด็นแรงผลักดันทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาจากการศึกษาในระบบผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ไม่ตอบสนองกับชีวิตจริงและศักยภาพที่แตกต่างกันของผู้เรียนปัญหาจากการท�างานของระบบราชการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าความเส่ือมโทรมของสถาบันครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเส้นทางการจัดการศึกษาโดยครอบครัวส่วนพัฒนาการในสังคมไทยนั้นแบ่งเป็น3ช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2540จนถึงพ.ศ.2557เมื่อแรกเริ่มโฮมสคูลเกิดขึ้นในรูปแบบต่างคนต่างท�าต่อมาเกิดการรวมตัวกันของครอบครัวจ�านวนน้อยแล้วค่อยๆขยายจ�านวนมากขึ้นจนเป็นเครือข่ายบ้านเรียนท่ีเข้มแข็งและเป็นที่รู้จักมากขึ้นเพื่อด�าเนินการกิจกรรมต่างๆร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมรวมทั้งประสานงานกับกลุ่มเครือข่ายการศึกษาทางเลือกท�าให้ครอบครัวได้รับความสนใจและความร่วมมือจากหน่วยงานทางราชการมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนและมีแนวโน้มท�าให้ความสัมพันธ์ซ่ึงกันและกันดีขึ้นทั้งได้มีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันพร้อมกับการประกาศนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติควบคู่กับการพัฒนาสิทธิทางด้านกฎหมายท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่เพิ่มขึ้นจากไม่มีข้อกฎหมายใดรองรับไปสู่การรองรับอย่างถูกต้องตามกฎหมายในปัจจุบันเนื่องจากความมุมานะพยายามของครอบครัวตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท�าให้ครอบครัวมีสิทธิเสรีภาพเทียบเท่ากับการศึกษาในระบบแม้ในทางปฏิบัติจะยังคงมีปัญหาหลายประการที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้และต้องการเวลาในการท�าความเข้าใจร่วมกันแต่เมื่อพิจารณาถึงความมุ่งมั่นของเครือข่ายบ้านเรียนที่เข้มแข็งและความใส่ใจที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐสิ่งเหล่านี้จะช่วยเป็นพลังส่งเสริมให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยพัฒนาก้าวไกลไปได้ในอนาคต

คำาสำาคัญ:การจัดการศึกษาโดยครอบครัวการศึกษาทางเลือกครอบครัวพัฒนาการ

Page 3: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 17ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

บทนำา ในปัจจุบันนี้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลนับได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการศึกษาที่หลากหลายและเป็นท่ีรู ้จักมากขึ้นในสังคมอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ในมาตรา12ที่ระบุว่า“นอกเหนือจากรัฐเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินให้บุคคลครอบครัวองค์กรชุมชนองค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดโอกาสทางการศึกษาเพ่ือให้ภาคส่วนอ่ืนได้มีส่วนร่วมจัดการศึกษาและสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่ก�าหนดในกฎกระทรวง”(กระทรวงศึกษาธิการ,2546)ซ่ึงเป็นส่วนส�าคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมและเปิดกว้างให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายเปลี่ยนแปลงไปสู่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญอย่างแท้จริงมิใช่แค่เพียงการเรียนในโรงเรียนเท่านั้นอีกต่อไปการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการเรียนรู้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้สูงสุดเต็มตามศักยภาพของตน(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2551:4;นิภาพรรณเจนสันติกุล,2554:37)ท�าให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตมากนักแต่กว่าจะถึงณจุดนี้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวผ่านประสบการณ์ที่น่าสนใจอันสะท้อนให้เห็นพลังกายพลังใจและพลังสติปัญญาของครอบครัวเพ่ือบุกเบิกฝ่าฟันและประคับประคองการศึกษาแนวนี้ให้สามารถเติบโตขึ้นได้อย่างแข็งแรงภายใต้ระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยจนถึงปัจจุบันน้ีด้วยเหตุน้ีจึงท�าให้ผู้เขียนสนใจพัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่เกิดขึ้นในสังคมไทยโดยในบทความนี้จะกล่าวถึงค�านิยามรูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวแรงผลักดันทางสังคมที่น�าไปสู่การจัดการศึกษาโดยครอบครัวพัฒนาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมเก่ียวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

คำานิยามของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ในปัจจุบันการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลเป็นที่รู ้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นโดยผ่านสื่อ

เทคโนโลยีหลากหลายช่องทางทั้งนี้ในสังคมไทยค�าว่า“การศึกษาโดยครอบครัว”ถือเป็นชื่ออย่างเป็นทางการหรือ“โฮมสคูล”ที่กล่าวตามการจัดการศึกษาในต่างประเทศหรือค�าที่ครอบครัวผู้จัดการศึกษานิยมใช้กันคือ“การศึกษาบ้านเรียน“หรือ”“บ้านเรียน”ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาการโดยคุรุสภาเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นไทยและการศึกษาที่มีบ้านเป็นพื้นฐานตามบริบทของสังคมบ้านเรา(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2549:3)ท�าให้การศึกษารูปแบบนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกันในเหล่านักวิชาการหลายท่านจากวงการการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศจึงได้ให้ความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวไว้อย่างหลากหลาย(ยุทธชัย-อุทัยวรรณเฉลิมชัยและกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร,2543:20;นุชสิริโค้นหล่อ,2545:16;ยุทธชัยเฉลิมชัยและคณะ,2547;วิลาวัลย์มาคุ้ม,2550:64;Vahid&Vahid,2007:8;Berger,200:308;ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,2555:4)อันพอจะสรุปได้ดังนี้การศึกษาโดยครอบครัวคือการศึกษาข้ันพื้นฐานที่ครอบครัวจัดขึ้นตามสิทธิคุ้มครองของกฎหมายโดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบของการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้ทั้งสามารถด�าเนินการในสถานศึกษาประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับโรงเรียนและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนั้นจึงมีสถานภาพสิทธิหน้าที่และข้อปฏิบัติต่างๆอย่างเท่าเทียมกันโดยมีบิดามารดาหรือผู้จัดการศึกษาที่ได้รับมอบหมายจัดการศึกษาให้กับบุตรที่บ ้านอาจจัดการศึกษาเองทั้งหมดหรือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการอ�านวยการจัดการศึกษาในรูปแบบที่มีข้อตกลงร่วมกับโรงเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยเน้นการให้ความส�าคัญถึงธรรมชาติที่มีความแตกต่างกันของผู้เรียนนอกจากน้ีความหมายแบบไทยยังครอบคลุมถึงหลักการจัดการศึกษาที่มีพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยที่สถาบันครอบครัวเป็นรากฐานส�าคัญที่สุดของชีวิตอันมีสมาชิกหลากหลายวัยเช่นปู่ย่าตายายใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในบริบทของสังคมที่เชื่อมโยงในการด�าเนินวิถีชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นว่าครอบครัวมิได้จัดการศึกษาไปตามกระแสของชาติตะวันตกแต่ได้มีการปรับให้เข้ากับบริบทสังคมไทยทั้งนี้Griffith(2010a:xi)ยังให้ขยาย

Page 4: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี18 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

มุมมองกว้างขึ้นโดยเชื่อมโยงไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในการจัดการศึกษาในครอบครัวทั้งครอบคลุมไปยังเรื่องกระบวนการทางการศึกษาและสมาชิกในครอบครัวท้ังหมดไม่ได้จ�ากัดแค่ผู้เรียนและผู้ปกครองเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีค�าศัพท์ที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้องกับโฮมสคูลที่มักจะได้ยินบ่อยครั้งและมีความหมายท่ีเหลื่อมล�้ากันซ่ึงอาจท�าให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้จึงขอน�าเสนอเพิ่มเติมเพื่อขยายความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นในต่างประเทศนั้นมีค�าที่สังคมนิยมน�ามาใช้เก่ียวข้องกับโฮมสคูล(Takahashi,2008:iii;Dodd,2009:3;Griffith,2010a:x;Griffith,2010b;Linsenbach,2010:71)อันได้แก่ค�าว่า“unschooling”ซึ่งมีผู้กล่าวถึงอย่างหลากหลายบางท่านถือเป็นรูปแบบหน่ึงของโฮมสคูลแต่มีแบบแผนน้อยกว่าโดยจัดการศึกษาให้บุตรนอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียนแต่บางท่านก็ให้ความหมายที่ต่างไปโดยกล่าวว่าเป็นการเรียนรู้โลกผ่านวิธีการที่หลากหลายในโลกแห่งความเป็นจริงท�าได้มากเท่าที่ผู้เรียนและครอบครัวจะสามารถท�าได้หรือเป็นการเรียนรู้ไปตามแรงขับที่มนุษย์มีมาตั้งแต่เกิดซ่ึงประเด็นที่คล้ายคลึงกันคือการเรียนรู้ในโลกแห่งชีวิตจริงเน้นจัดการเรียนรู้ตามความสนใจและรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กแม้ว่าผู้เรียนประเภทนี้ทุกคนถือเป็นผู้เรียนบ้านเรียนแต่ไม่ใช่ผู ้เรียนโฮมสคูลทุกคนจ�าเป็นต้องเป็นผู ้เรียนunschoolingและค�าว่า“deschooling”ที่นิยมกล่าวถึงกระบวนหรือช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านเพื่อท�าความคุ้นเคยกับโฮมสคูลเป็นการส�ารวจความเป็นไปได้ในการเรียนรู้เป็นเวลาที่ครอบครัวและเด็กออกจากสภาพแวดล้อมโรงเรียนในระบบและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือกิจวัตรแบบโฮมสคูลช่วงเวลานี้เด็กได้ผ่อนคลายมีอิสระที่จะค้นหาจังหวะชีวิตและเป้าหมายของตนหรือการจัดการศึกษาโฮมสคูลที่ไม่ยึดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามระเบียบที่รัฐก�าหนดใช้ก�ากับในระบบโรงเรียนผู้เรียนประเภทนี้จึงมีแนวโน้มเป็นผู้เรียนunschooling โดยความหมายท้ังหมดกล่าวข้างต้นพอจะสรุปความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองได้รับสิทธิและเสรีภาพในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรท่ีบ้านโดยมีสิทธิต่างๆเทียบเท่ากับสถานศึกษาในปัจจุบันสามารถเลือกรูปแบบการจัดตามความเหมาะสมของครอบครัวเพ่ือให้สอดคล้องกับธรรมชาติท่ีแตกต่างกันของผู้เรียน

รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เมื่อสังคมเปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษามากขึ้นรูปแบบในการด�าเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยจึงมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งสามารถตอบสนองกับความต้องการของครอบครัวได้อย่างดีโดยมี4รูปแบบ(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2549:27;ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:28;มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว,2551)ดังนี้ 1. แบบครอบครัวเดี่ยวเป็นรูปแบบที่พ่อแม่ด�าเนินการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนด้วยตนเองทั้งหมดตามความเหมาะสมของสภาพครอบครัวในช่วงแรกของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยที่เกิดขึ้นจะเป็นรูปแบบนี้มากที่สุดเพราะมีความคล่องตัวและไม่ติดกับข้อจ�ากัดใดๆได้แก่ครอบครัวคุณสมพรพึ่งอุดม 2.แบบข่ายประสานงานเป็นการจัดการศึกษาของครอบครัวตนเองร่วมกับครอบครัวอื่นๆตามสัดส่วนที่เหมาะสมในช่วงเวลาตามความพร้อมความสนใจและข้อจ�ากัดของแต่ละครอบครัวในลักษณะท่ีต่อเน่ืองและจริงจังการจัดการศึกษาเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้านของแต่ละครอบครัวและตามที่นัดหมายของกลุ่ม 3.แบบรวมศูนย์การจัดการในที่เดียวเป็นรูปแบบที่หลายๆครอบครัวมาร่วมกันจัดการศึกษาให้เด็กในสถานที่แห่งหนึ่งโดยจัดต้ังเป็นโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนที่มีครอบครัวท�าหน้าที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาก�ากับดูแลนโยบายและการบริหารจัดการอาจจะจดทะเบียนกิจการเป็นองค์กรสาธารณกุศลในการด�าเนินงานมีการมอบหมายหรือจ้างคณะท�างานบริหารจัดการเต็มตัวมีครูที่รับผิดชอบเรื่องการเรียนการสอนพ่อแม่ในกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอาจจะร่วมเป็นครูหรือทีมงานบริหารได้รูปแบบการด�าเนินการในลักษณะนี้มีความเหมาะสมกับกลุ่มครอบครัวที่ยังไม่พร้อมจะจัดการศึกษาด้วยตนเองได้แก่ครอบครัวพันธุ์โอสถและกลุ่มสถาบันปัญโญทัยกลุ่มบ้านเรียนดวงตะวันจังหวัดขอนแก่นเป็นต้น 4. แบบมีข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียนเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่มีข้อตกลงร่วมกันโรงเรียนยังคงเป็นหลักในการให้การศึกษาพ่อแม่มีส่วนในการจัดการศึกษาเพียงส่วนหนึ่งโดยที่เด็กยังคงมีสถานภาพเป็นนักเรียนของโรงเรียนอาจเป็นการฝากช่ือหรือจดทะเบียนกับโรงเรียนเช ่นโรงเรียนหมู ่บ ้านเด็กโรงเรียนรุ่งอรุณเป็นต้น

Page 5: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 19ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

อย่างรอบด้านความรู้ไม่ได้เกิดข้ึนแต่โรงเรียนอีกต่อไปแต่การเรียนรู้ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดอยู่ในชีวิตของคนเราอยู่แล้วตั้งแต่เกิดจนตายเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงจากการศึกษาพบว่าในปีพ.ศ.2551ผู้จบระดับปริญญาตรีมีจ�านวนผู้ท่ีจบการศึกษาและพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุดในขณะที่ผู ้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยที่สุดทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วภาคอุตสาหกรรมต่างๆมีความต้องการแรงงานในระดับอาชีวศึกษามากกว่าข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการศึกษาในระบบไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของครอบครัวที่แท้จริงและไม่ได้สอดรับกับการด�ารงชีวิตของคนไทยในสังคมตามความเป็นจริงเป็นเพียงค่านิยมที่ไม่ถูกต้องที่ยังคงสืบทอดกันตลอดมาเน่ืองจากเม่ือพิจารณาถึงส่ิงที่ครอบครัวต้องการจากการศึกษาน่ันคือการมีหน้าท่ีการงานที่มั่นคงและมีรายได้ที่สามารถเล้ียงดูตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดีมิใช่จบออกมาเพ่ือว่างงานเช่นในปัจจุบัน 3. การปฏิรูปการศึกษายังมีปัญหาในการน�าไปปฏิบัติจริงจะเห็นได้ว่าแม้จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ที่มีสาระส�าคัญไม่ต่างจากแนวคิดของการศึกษาทางเลือกแต่ความจริงแล้วยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนส�าหรับครอบครัวและหน่วยงานที่รับผิดชอบเพราะยังมุ่งผลการด�าเนินงานเพียงการศึกษาในระบบเป็นหลักเช่นเดิมและถึงแม้จะมีมาตราที่12ที่ประกาศออกมาให้สิทธิแก่ครอบครัวแต่ในทางปฏิบัติจ�าเป็นต้องผ่านกฎกระทรวงอีกต่อหนึ่งจึงท�าให้สิทธิของการจัดการศึกษาในครอบครัวยังที่ได้รับยังคงเหลื่อมล�้ากับการศึกษาในระบบเช่นเดิมและท�าให้การติดต่อประสานงานระหว่างครอบครัวกับหน่วยงานราชการมีความยุ่งยากซับซ้อนและยังเป็นปัญหาที่ครอบครัวจ�าเป็นต้องร่วมกันแก้ไขอยู่เสมอตลอดมา 4. ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถท�าให้เกิดการสื่อสารหลากหลายระดับและท�าให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนรู้รูปแบบต่างๆทั้งจากในประเทศและต่างประเทศได้อย่างไร้พรมแดนซึ่งสามารถท�าได้จริงในเชิงปฏิบัติเข้ามาปรับเปล่ียนโฉมหน้าของการศึกษาได้เปิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางช่วยน�าทางไปถึงส่ิงที่ต้องการรู้อย่างรวดเร็วหรือน�าเราไปสู่การ

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวนั้นเปิดกว้างมากขึ้นโดยครอบครัวสามารถพิจารณาให้เหมาะกับบริบทของครอบครัวและความต้องการของผู้เรียนอาจเรียนร่วมกับโรงเรียนพ่อแม่จัดด้วยตนเองเรียนร่วมกับครอบครัวอื่นหรือจัดเป็นศูนย์การเรียนก็ย่อมได้ท�าให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันทางสังคมที่นำาไปสู่การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เมื่อกระแสสังคมเปลี่ยนไปความคิดของคนก็ย่อมปรับเปลี่ยนตามไปด้วยเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาจากวัดหรือครอบครัวไปสู่การยอมรับแนวคิดเรื่องโรงเรียนจากชาติตะวันตกเรื่องนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาของคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกฎหมายการศึกษาภาคบังคับเกิดขึ้นจึงท�าให้โรงเรียนกลายเป็นระบบหลักทางการศึกษา(ยุทธชัยเฉลิมชัย,อุทัยวรรณเฉลิมชัย,และกลุ ่มบ้านเรียนปัญญากร,2543:14-15)กาลเวลาท่ีผ่านมาได้สร้างค่านิยมและความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับการศึกษาในระบบขณะเดียวกันปัญหาด้านการศึกษาต่างๆที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนท�าให้เกิดข้อกังขามากมายในสังคมจึงท�าให้เกิดการค้นหาการศึกษารูปแบบอื่นเพ่ือสร้างให้เกิดคุณค่าของการศึกษาที่แท้จริงทั้งนี้พอจะสรุปประเด็นต่างๆที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการจัดการศึกษาโดยครอบครัว(สุชาดาจักรพิสุทธิ์และคณะ,2548:17-34;ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:25-26;ส�านักงานปฏิรูป,2555:23;มิ่งสรรพ์ขาวสะอาดและณัฎฐาภรณ์เลียมจรัสกุล(บรรณาธิการ),2556:16;ประเวศวะสี,2557:7-8)ได้ดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาจากการศึกษาในระบบการตระหนักว่าความรู้ไม่ได้อยู่เพียงแต่ในโรงเรียนเท่านั้นในอดีตเครื่องมือเดียวที่ถูกน�ามาใช้เพื่อสร้างความรู้ให้กับคนในชาติคือการศึกษาในระบบหรือโรงเรียนเม่ือผ่านเวลาหลายชั่วคนท�าให้นิยามการศึกษาหมายถึงแค่การไปโรงเรียนและการเรียนหนังสือท�าให้เกิดความเชื่อว่าโรงเรียนสร้างคนได้ดีกว่าครอบครัวและชุมชนจนน�ามาสู่ปัญหาใหญ่ท่ีเกิดขึ้นกับผู้เรียนท่ีว่าการเรียนรู้ท่ีเกิดข้ึนในโรงเรียนไม่สอดคล้องกับปัญหาและชีวิตจริงแต่เป็นการเรียนแบบท่องจ�าสร้างนิสัยการแข่งขันและการแบ่งแยกข้ึนมาโดยไม่รู้ตัวทั้งท่ีกระแสด้านการศึกษาในโลกนี้เปลี่ยนไปแล้ว

Page 6: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี20 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เดินทางเพ่ือเรียนรู้ทักษะใหม่ๆและเรียนรู้จากมุมมองใหม่ๆและยังสามารถสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์เพื่อการร่วมมือร่วมใจท�ากิจกรรมต่างๆกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติข้ึนได้แม้จะอยู่ห่างไกลก็ตาม(พงษ์วิเศษสังข์,2554:128)ระบบนี้จึงช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวสร้างสังคมออนไลน์ของโฮมสคูลซ่ึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส�าคัญของผู้ปกครองและผู ้ เ รียนจุดเด ่นคือสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซ่ึงกันและกันได้ไม่จ�ากัดเวลาและสถานที่ 5.สถาบันครอบครัวเริ่มเสื่อมโทรมลงจากรายงานโครงการชีวิตคนไทยในสองทศวรรษแห่งการพัฒนาเผยให้เห็นว่า20ปีที่ผ่านมาครอบครัวไทยเพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ11.9ล้านครัวเรือนในปีพ.ศ.2529เป็น19.8ล้านครัวเรือนในปีพ.ศ.2552โดยการเปลี่ยนแปลงที่ส�าคัญได้แก่ครอบครัวที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกันมีน้อยลงพ่อแม่ที่อยู่ในวัยท�างานมักจะอพยพไปท�างานในเมืองแล้วฝากลูกไว้ให้ผู้สูงอายุช่วยดูแลแต่ในแง่การศึกษาการที่เด็กไม่อยู่กับพ่อแม่ก็จะท�าให้มีปัญหาขาดความอบอุ ่นขาดคนคอยดูแลเรื่องการเรียนหนังสือโดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใหญ่ในบ้านไม่รู้หนังสือหรือแยกตัวออกมาเป็นครอบครัวเด่ียวเราจึงควรตระหนักถึงความส�าคัญของครอบครัวมากขึ้นการจัดการศึกษาโดยครอบครัวจะช่วยสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้นได้ผ่านการเรียนรู้และการใช้เวลาอยู่ร่วมกันของสมาชิกในบ้านมากขึ้น 6.การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมวิวัฒนาการของสังคมมนุษย ์ก� าลั ง เคลื่อนตัวจากกระบวนทัศน์และระบบท่ีผิดพลาดไปสู ่การให้คุณค่าความหมายใหม่ต่อชีวิตเปล่ียนผ่านเพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เป็นอิสระและสอดคล้องกับธรรมชาติความเป็นมนุษย์ให้โอกาสทางเลือกด้านการศึกษาและส่งเสริมการตระหนักถึงคุณค่าความแตกต่างและธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนก�าลังก้าวข้ามจากการศึกษาท่ีมุ่งเพียงพัฒนามนุษย์ไปเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ที่แท้จริงซ่ึงสอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว จะเห็นได้ว่าแรงผลักดันทางสังคมที่เกิดขึ้นล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในวิถีชีวิตผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงปัญหาในการน�าข้อกฎหมายไปปฏิบัติความก้าวล�้าน�าสมัยของ

เทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันครอบครัวที่ลดความส�าคัญลงอย่างน่าเป็นห่วงและกระบวนทัศน์ทางสังคมที่ก�าลังเปล่ียนผ่านประเด็นเหล่านี้กลายเป็นส่ิงที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อมจนน�าไปสู่แนวคิดที่จะเปล่ียนแปลงเพื่อโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นของบุตรหลาน

พัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว การจัดการศึกษาโดยครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทยมาช้านานพร้อมๆกับการพัฒนาสังคมมนุษย์เรื่อยมาครั้นเมื่อเข้าสู่การพัฒนาแนวคิดทางการศึกษาในโลกยุคใหม่ที่เชื่อมโยงกับการจัดการระบบทางเศรษฐกิจและสังคมในศตวรรษท่ีผ่านมาจึงท�าให้การศึกษาโดยครอบครัวถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาแม้ว่าสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาในกฎหมายนานาประเทศทุกกาลสมัยน้ันยังคงถือร่วมกันว่าการศึกษาเป็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติและเป็นการรักษาวัฒนธรรมความสัมพันธ์ของครอบครัวโดยการจัดการศึกษาให้กับลูกแต่ค�าว่าเสรีภาพทางการศึกษายังถือเป็นเร่ืองใหม่ที่เกิดข้ึนเพ่ือคงรักษาสิทธิมนุษยชนหลังจากเกิดระบบการศึกษากระแสหลักรูปแบบโรงเรียนขึ้นท่ัวโลกรวมท้ังประเทศไทยภายในเวลาเพียงไม่ก่ีศตวรรษการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยจึงถูกฟื ้นคืนสิทธิเสรีภาพขึ้นอีกครั้งท่ามกลางสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งได้สร้างความเชื่อในค่านิยมตามระบบการศึกษากระแสหลักมาระยะหน่ึงแล้วจึงท�าให้คนส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจมากนักและเห็นว่าเสรีภาพทางการศึกษาเป็นเร่ืองใหม่และเป็นแนวคิดนอกกรอบท�าให้คนทั่วไปมองว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดขัดแย้งกับกระแสหลัก(“การศึกษาทางเลือก”,2555:48)แต่การรื้อฟื้นเรื่องเก่ามาเล่าใหม่เช่นนี้นั้นมิใช่เรื่องง่ายเส้นทางของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยก็เช่นกันดังนั้นเพื่อให้เห็นภาพรวมในที่นี้จึงขอสรุปพัฒนาการการศึกษาทางเลือกในสังคมไทยโดยแบ่งเป็นช่วงเวลา(ยุทธชัยเฉลิมชัย,อุทัยวรรณเฉลิมชัย,และกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร,2543:18-31;สกศ.,2547;สุชาดาจักรพิสุทธิ์และคณะ,2548:27-28;ยุทธชัยเฉลิมชัย,2549:114-117;ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:32;มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ,2553;“การศึกษาทางเลือก”,2555:46-51)ดังนี้

Page 7: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 21ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

1. ช่วงก่อนปีพ.ศ.2540 เพื่อความเข้าใจถึงความเป็นมาของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวยิ่งขึ้นจึงขอกล่าวย้อนไปถึงการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกจึงได้น�าการจัดการศึกษาแนวใหม่คือโรงเรียนเข้ามาใช้ในสังคมไทยโดยเกิดขึ้นในพ.ศ.2427การศึกษารูปแบบนี้มุ่งเน้นให้คนเข้ารับราชการในส่วนกลางท�าให้เกิดการละทิ้งถิ่นฐานเดิมของตนซึ่งขัดแย้งกับวิถีชีวิตของคนไทยแต่ดั้งเดิมทั้งนี้ในอดีตนั้นพ่อแม่มีสิทธิสามารถเลือกได้ว่าจะส่งลูกเข้าโรงเรียนหรือไม่มิได้มีการบังคับอย่างจริงจังจนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับแรกขึ้นเมื่อพ.ศ.2464ท่ีมีข้อก�าหนดให้ส่งเด็กอายุ7-14ปีต้องเข้าโรงเรียนพร้อมทั้งมีบทลงโทษหากเกิดการขัดขืนและระบุข้อยกเว้นเมื่อมีเหตุอันสมควรจวบจนพระราชบัญญัติประถมศึกษาเม่ือพ.ศ.2523ท่ีได้ยกเลิกสิทธิในการเลือกรูปแบบการศึกษาของพ่อแม่อย่างสิ้นเชิงเป็นท่ีรับทราบทั่วกันว่าเด็กทุกคนต้องเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนของรัฐเท่านั้น การจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในสังคมไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนช่วงพ.ศ.2530ในยุคนั้นการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้กับบุตรท่ีอยู่ในช่วงวัยภาคการศึกษาภาคบังคับถือว่ามีความหม่ินเหม่ต่อการท�าผิดกฎหมายบ้านเมืองท้ังน้ีคนรอบข้างสังคมไม่เว้นแม้แต่ญาติสนิทมิตรสหายก็ยังตั้งข้อสงสัยต่อแนวปฏิบัติเช่นนี้ของครอบครัวกลุ่มหน่ึงท่ีได้ตัดสินใจเร่ิมจัดการศึกษาให้กับบุตรของตนเองแล้วโดยถือว่าเป็นครอบครัวรุ่นบุกเบิกในสังคมไทยอย่างแท้จริงและจากงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกของสุชาดาจักรพิสุทธ์ิและคณะ(2548:51)แสดงให้เห็นว่าในเวลาน้ันการศึกษาทางเลือกยังไม่ได้เป็นที่รู ้จักมากนักเผยแพร่ในรูปบทความทางวิชาการและบทความทางการศึกษาในฐานะเป็นนวัตกรรมการศึกษาอยู ่ในวารสารทางการศึกษาบางเล่มเช่นสังคมศาสตร์ปริทัศน์,ปาจารยสาร,วารสารครุศาสตร์เป็นต้นเสนอปรัชญาแนวการศึกษาเรียนรู้ในเชิงนวัตกรรมส�าหรับผู้อ่านที่สนใจจ�านวนหนึ่งเท่านั้น แต่แล้วเมื่อปี2522เริ่มเกิดการจัดตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กของมูลนิธิเด็กโดยพิภพและรัชนีธงไชยที่จัดการศึกษาให้เด็กยากจนด้อยโอกาสโดยใช้ปรัชญาการศึกษาของซัมเมอร์ฮิลล์ที่เน้นความรักเสรีภาพและ

แนวทางการเรียนรู้อย่างใหม่และยังได้จัดการศึกษาโดยครอบครัวให้กับบุตรชายท้ังสองคนโดยมีการจัดกิจกรรมการศึกษาร่วมกับโรงเรียนหมู่บ้านเด็กด้วยซึ่งเป็นการริเริ่มส่งเสริมบทบาทของครอบครัวในเรื่องการศึกษาขึ้นมาอีกครั้งหลังจากนั้นไม่นานและในราวปีพ.ศ.2528นพ.โชติช่วงชุตินธรได้จัดการศึกษาให้บุตรด้วยตนเองในแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างแท้จริงจนเป็นข่าวแพร่หลายไปทั่วโดยทั้งสองครอบครัวถือเป็นครอบครัวแรกที่ริเร่ิมการศึกษารูปแบบนี้อย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย ในช่วงระยะเวลานั้นปี2537โครงการการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีดร.สิปปนนท์เกตุทัตเป็นประธานและมีธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นภาคเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุนทุนเพื่อท�าการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาทางออกใหม่ๆให้กับการศึกษาไทยได้น�าเสนอหนังสือ2ชุดชื่อความฝันของแผ่นดินและความจริงของแผ่นดินเพื่อเป็นพื้นฐานความคิดที่ท�าให้ทุกคนรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องปฏิรูปการศึกษาส่วนสภาพสังคมไทยในขณะนั้นก็เกิดปัญหาหลากหลายประการที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงรุมเร้าประชาชนทุกคนท�าให้เกิดแรงผลักดันอย่างกว้างขวางเพ่ือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนอย่างลึกซึ้งจึงท�าให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540ที่ส่งเสริมสนับสนุนและให้สิทธิเสรีภาพของประชาชน 2. ช่วงปีพ.ศ.2541-2549 จากการมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540เกิดขึ้นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับน้ีคือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย3ประการคือการขยายสิทธิเสรีภาพและส่วนร่วมพลเมืองในการเมืองคือการเพิ่มการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยประชาชนเพ่ือให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมืองและการท�าให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพรวมทั้งการมีวาระที่สังคมตั้งค�าถามและร่วมใจกันพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวต่อไปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540ได้มอบสิทธิเสรีภาพในการจัดการศึกษาแก่ประชาชนอย่างชัดเจนน�าไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรกซ่ึงได้เริ่มต้นในปีน้ีและสองปีต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ซ่ึงถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย

Page 8: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี22 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

กระทั่งปลายปีพ.ศ.2543หลายครอบครัวรวมตัวกันจนเกิดเครือข่ายในชื่อศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว(ศปศค.)นับเป็นองค์กรเครือข่ายการศึกษาโดยครอบครัวแห่งแรกที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการต่อมาในปีพ.ศ.2546องค์กรก็เติบโตข้ึนเรื่อยๆมีการท�างานอย่างมีโครงสร้างและเป็นระบบมากขึ้นเพื่อปฏิบัติงานต่างๆในฐานะตัวแทนเครือข่ายการศึกษาโดยครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและได้เปลี่ยนชื่อเป็น“สถาบันบ้านเรียนไทย”(สบท.)โดยการสนับสนุนจากส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติหรือสกศ.(ม.ป.ป.) ส่วนในช่วงพ.ศ.2547-2548พบว่าครอบครัวบ้านเรียนในขอบเขตทั่วประเทศเกิดการขยายตัวเป็นอย่างมากแต่เมื่อพิจารณาจากประเภทการจดทะเบียนกับส�านักเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)แล้วทั้งนี้พบว่าจ�านวนน้อยกว่าท่ีคาดการณ์เนื่องจากความเข้าใจที่แตกต่างกันของภาครัฐและเจ้าหน้าท่ีจึงท�าให้ส่วนใหญ่ยังเลือกจดทะเบียนกับหมู่บ้านเด็กเช่นเดิม(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:32)ขณะเดียวกันเครือข่ายการศึกษาได้พัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่งโดยสามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็น“สมาคมบ้านเรียนไทย”เมื่อวันท่ี9พฤศจิกายนพ.ศ.2548โดยมีนายยุทธชัยเฉลิมชัยท�าหน้าที่เป็นนายกสมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนและให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในไทยท้ังยังร่วมประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการด�าเนินงานของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวจึงท�าให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนความเข้าใจซ่ึงกันและกันอย่างกว้างขวางผ่านความพยายามในหลากหลายรูปแบบท้ังการประชุมร่วมกันการจัดท�าคู่มือเพื่อครอบครัวและเจ้าหน้าที่ของรัฐจนท�าให้มีครอบครัวไปจดทะเบียนที่ส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้นในปี2549ท้ังมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในการประสานงานร่วมกัน ทั้งนี้ขณะเดียวกันด้านภาครัฐหน่วยงานของรัฐเริ่มเข้ามามีบทบาทและพยายามสร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและครอบครัวมากข้ึนซ่ึงถือได้ว่าเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆในด้านการบริหารจัดการโดยจะเห็นจากท่ีขณะยกร่างจนถึงประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ซ่ึงถือเป็นช่วงของการปฏิรูปการศึกษาหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติหรือที่เปลี่ยนชื่อต่อมา

เป็นส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ได้จัดพิมพ์หนังสือและรายงานการศึกษาวิจัยออกมาหลายเล่มเก่ียวกับรูปแบบการศึกษานอกระบบโรงเรียนแต่ให้ความส�าคัญเป็นพิเศษได้แก่เรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลไทยและการศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนของสถานประกอบการ 3. ช่วงปีพ.ศ.2550-ปัจจุบัน ในระยะเวลานี้เป็นช่วงหลังจากการประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550ซ่ึงการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในฐานะการศึกษาทางเลือกของประชาชนมีการรับรองทางกฎหมายอย่างเป็นทางการอยู ่ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา49ระบุถึงการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐท�าให้เป็นที่รู ้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นจ�านวนความต้องการของครอบครัวผู้จัดก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาส�าหรับผู้สนใจนั้นเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครอบครัวรุ่นแรกในช่วงท่ีผ่านมาและความร่วมมือร่วมใจในการแบ่งปันความรู ้โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายครอบครัวผ่านสมาคมบ้านเรียนไทยอย่างเข้มแข็งในขณะเดียวกันสืบเน่ืองจากการท�างานของภาครัฐซ่ึงมีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันมาท�างานเรื่องโฮมสคูลตลอดทุกปีท�าให้เจ้าหน้าที่ใหม่ที่รับผิดชอบงานการศึกษาโดยครอบครัวเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิทางกฎหมายและสิทธิทางวิชาการเนื่องจากในระยะเริ่มต้นของช่วงปีนี้กระทรวงศึกษาธิการมุ่งให้ความสนใจในการจัดท�าและประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551และปรับเปล่ียนระเบียบเพื่อรองรับหลักสูตรการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนจ�านวนมากในระบบโรงเรียนและน�ามาใช้กับระบบการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนรายบุคคลโดยครอบครัวซึ่งท�าให้เกิดผลกระทบทางสิทธิครอบครัวและผู้เรียนมากขึ้นในช่วงกลางในห้วงเวลานี้คือนับแต่ปีการศึกษา2553เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปีพ.ศ.2553เป็นต้นมากรณีท่ีจดทะเบียนกับส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาในทางปฏิบัติก็ยังคงมีข้อจ�ากัดที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันแม้จะมีความพยายามช่วยเหลือและส่งเสริมอยู ่เสมอแต่ประเด็นเหล่านี้ยังคงต้องใช้เวลาอีกพอควร(ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2550:36-37;สมาคมบ้าน

Page 9: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 23ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เรียนไทย,2555:4-7;ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,2555:2-3)เช่นความไม่ชัดเจนในเรื่องศูนย์การเรียนผู้รับผิดชอบระดับปฏิบัติการยังขาดความมั่นใจในการตัดสินใจที่ส�าคัญคือทัศนคติที่แตกต่างกันในการตัดสินคุณภาพการจัดการศึกษาโดยครอบครัวขาดแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนรวมถึงการที่ครอบครัวยังไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ในหลายพื้นที่จนเกิดปัญหาเรื่องการปรับระดับชั้นของเด็กบ้านเรียนจาก17ครอบครัวจนกระทั่งบางครอบครัวต้องด�าเนินการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและศาลปกครองโดยท่ีสมาคมบ้านเรียนไทยจ�าต้องด�าเนินการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งส�านักกฎหมายและฟ้องคดีและส�านักตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเพื่อขอความคุ้มครองและตรวจสอบการด�าเนินงานของส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เพื่อสร้างแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวในส่วนการท�างานของภาครัฐสพฐ.ได้ด�าเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานในโครงการพิเศษเข้ามารับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวน�าร่องกลุ่มการศึกษาทางเลือกอื่นๆภายใต้ความรับผิดชอบของส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและเพื่อท�าให้หลายๆฝ่ายเล็งเห็นถึงความส�าคัญเหล่านี้จึงได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจร่วมกันอยู่เป็นระยะๆโดยใช้การประชุมการพูดคุยปรึกษากันและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ทั้งนี้ยังท�าให้เกิดภาคีบ้านเรียนจัดตั้งโดยภาครัฐในพื้นท่ีน�าร่องจังหวัดเดียวอันประกอบด้วย3ฝ่ายคือ1)ครอบครัว2)ส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาท่ีเป็นผู้ก�ากับดูแลสนับสนุนการจัดการศึกษาและ3)เครือข่ายบ้านเรียนภาคเหนือซึ่งมีบทบาทประสานในการท�างานร่วมกันจึงท�าให้เกิดความเข้าใจอันดีและเกิดความสัมพันธ์ฉันท์กัลยาณมิตรและโครงการน�าร่องนี้ไม่เกิดความต่อเนื่องเนื่องจากเป็นกลไกที่ขาดหลักการมีส่วนร่วมในพื้นท่ีจ�ากัดซ่ึงไม่รองรับการปฏิบัติงานอย่างเสมอภาคบนความหลากหลายของกลุ่มบ้านเรียนทั่วประเทศโดยภาครัฐให้เหตุผลว่าไม่มีนโยบายและขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในขณะที่อีกหลายพื้นท่ีที่มีปัญหาได้เกิดภาคีเครือข่ายบ้านเรียนประกอบด้วย2ฝ่ายคือภาคีเครือข่ายบ้านเรียนรุ่นพี่และภาคีเครือข่ายบ้านเรียนรุ่นน้องจัดตั้งโดยความร่วมมือ

ของครอบครัวผู้จัดการศึกษาเพื่อเข้าร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ครอบครัวยังคงได้รับปัญหาเช่นเดิมๆจากเจ้าหน้าที่รัฐทั่วทุกภูมิภาคโดยมีการประสานขอความร่วมมือไปยังส�านักนวัตกรรมการจัดการศึกษาซ่ึงรับผิดชอบดูแลเรื่องการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่สพฐ.เป็นระยะๆ ทั้งน้ีคุณกนกพรสบายใจ(สัมภาษณ์,28ตุลาคม2557)ซึ่งในอดีตเป็นผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวระหว่างปีพ.ศ.2542–พ.ศ.2555และด�ารงต�าแหน่งที่ปรึกษานายกสมาคมบ้านเรียนไทยระหว่างปีพ.ศ.2553–พ.ศ.2556ปัจจุบันด�ารงต�าแหน่งรองเลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยเครือข่ายบ้านเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ.2553–ปัจจุบันได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการระหว่างปีแห่งการทวงคืนสิทธิในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวโดยพอจะสรุปได้ดังนี้ในปี2553เป็นต้นมาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมีการประสานงานร่วมกับสภาการศึกษาทางเลือกในการท�ากิจกรรมต่างๆจนถึงต้นปี2554หลายครอบครัวประสบปัญหาเรื้อรังจากการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิผู้เรียนจนท�าให้ครอบครัวและผู้เรียนได้รับความเดือดร้อนอย่างมากและเกิดความท้อแท้ในการจัดการศึกษาต่อเครือข่ายบ้านเรียนจึงได้ร่วมด�าเนินงานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ศาลปกครองและได้ส่งหนังสือเพื่อติดตามความก้าวหน้าจากสพฐ.ในความพยายามด�าเนินการรักษาและเรียกร้องสิทธิการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้ปรากฏในสังคมไทยพร้อมกันน้ันได้จัดให้มีการประชุม4ภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิทางกฎหมายและวิชาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในปี2554เป็นต้นมาจึงถือได้ว่าเป็นปีแห่งการเริ่มต้นต่อสู้ในการคืนสิทธิบ้านเรียน ในห้วง2-3ปีที่ผ่านมาเครือข่ายบ้านเรียนได้เข้าร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาเครือข่ายการศึกษาทางเลือกร่วมกับสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยซ่ึงได้เกิดงานวิจัยเรื่องหน่ึงท่ีแสดงว่าแนวทางการด�าเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐไม่สอดคล้องต่อเป้าหมายในการจัดการศึกษาทางเลือกตามสิทธิในกฎหมายการศึกษาจึงน�าไปสู่การจัดท�า“หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551ส�าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ”ซึ่งเป็นระเบียบที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

Page 10: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี24 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เข้าใจตรงกันและมีแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นแต่ทางภาครัฐก็ไม่ได้มีการประชุมท�าความเข้าใจร่วมกับผู้จัดการศึกษาบนหลักการมีส่วนร่วมจึงท�าให้เจ้าหน้าท่ีผู้รับผิดชอบงานโฮมสคูลยังท�างานบนความขัดแย้งทางความคิดกับครอบครัวใหม่ๆต่อมาแต่ขณะเดียวกับท่ีมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆที่ครอบคลุมรวดเร็วมากข้ึนในสังคมเช่นอินเทอร์เน็ตเฟสบุ๊คเว็บไซต์เครือข่ายบ้านเรียนโดยการสนับสนุนของทุนวิจัยจากสสส.ให้กับสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยทางเครือข ่ายบ ้านเ รียนจึงด�าเ นินการจัดตั้ ง เว็บไซต ์Homeschool Network .o rg และ เฟสบุ ๊ คชื่ อHomeschoolNetworkเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกระจายความรู้สู่กลุ่มพ่อแม่ที่สนใจจัดโฮมสคูลและเช่ือมโยงความสัมพันธ ์ของครอบครัวโฮมสคูลสังคมไทยได้กว้างขวางมากข้ึนท�าให้การด�าเนินงานแก้ไขปัญหาร่วมกับครอบครัวในพื้นที่จัดการศึกษาเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น จนกระทั่งในปีพ.ศ.2556เป็นผลท�าให้มีกลุ่มครอบครัวสนใจจัดการศึกษามากข้ึนแบบก้าวกระโดดโดยขณะที่สพฐ.ยังไม่มีมาตรการและกลไกใหม่ในการท�าให้การท�างานระหว่างครอบครัวและส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาราบรื่นข้ึนสมาคมบ้านเรียนไทยจึงตัดสินใจเปิดช่องทางการจดทะเบียนโฮมสคูลร่วมกับโรงเรียนรุ่งอรุณซึ่งเป็นเครือข่ายการศึกษาทางเลือกในปีแรกน้ีมีครอบครัวใหม่ที่สนใจจดทะเบียนร่วมกับโรงเรียนรุ่งอรุณจ�านวนเกือบร้อยครอบครัว ในต้นปีเดียวกันภาคีเครือข่ายการศึกษาทางเลือกได้ร่วมรณรงค์ให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกนโยบายการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กเป็นผลส�าเร็จจนในที่สุดได้มีภาคประชาชนในฐานะตัวแทนกลุ่มการศึกษาทางเลือกได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในกระทรวง

ศึกษาธิการรวมทั้งผู้แทนเครือข่ายบ้านเรียนและท�าให้พบว่าระเบียบที่บังคับเจ้าหน้ารัฐด�าเนินงานหลายเรื่องไม่รองรับสิทธิภาคประชาชนในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและไม่สามารถส่งเสริมการกระจายอ�านาจการบริหารจัดการศึกษาไปถึงภาคประชาชนได้อย่างแท้จริงแม้การมีส่วนร่วมในการประชุมกับภาครัฐจะส่งเสริมความเป็นมิตรและเข้าใจซ่ึงกันและกันมากขึ้นแต่การด�าเนินงานของภาครัฐยังติดขัดเรื่องการปฏิบัติงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคประชาชนไม่มีการแก้ไขปัญหาร่วมกันบนหลักการกระจายอ�านาจบริหารจัดการศึกษาและไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณในการท�างานแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ส่วนในปัจจุบันน้ีเม่ือเข้าสู่รัฐบาลภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)มีการประกาศนโยบายสนับสนุนการศึกษาทางเลือกเนื่องจากกระแสการขับเคล่ือนการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลกท�าให้ภาคีเครือข่ายบ้านเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งการแก้ไขแนวทางการปฏิบัติงานของส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาการท�างานด้านกฎหมายและการขับเคลื่อนพลังทางสังคมเพื่อการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นการสร้างความร่วมมือในการร่วมแก้ไขปัญหาการศึกษาโดยครอบครัวของประเทศในภาพรวมร่วมกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆเพื่อตรวจสอบการท�างานของเจ้าหน้าท่ีรัฐขณะเดียวกันก็ส่งเสริมเครือข่ายให้เข้มแข็งยิ่งข้ึนท�าให้บรรยากาศในการร่วมมือกันของทุกฝ่ายมีแนวโน้มไปในทิศทางของความจ�าเป็นต้องร่วมมือกันพัฒนาให้ดีขึ้นและคาดว่าในอนาคตจะช่วยกันน�าพาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้ก้าวไกลและยั่งยืนในสังคมไทย จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นอาจพอสรุปเป็นตารางจากรายงานการวิจัยรูปแบบและพัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยและขอน�าเสนอให้เห็นตามล�าดับของช่วงเวลาดังนี้

Page 11: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 25ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

ช่วงเวลา พัฒนาการ

1.ช่วงก่อนปีพ.ศ.2540

ก่อนปีพ.ศ.2528 ครอบครัวรุ่นบุกเบิก2ครอบครัวได้แก่ครอบครัวคุณพิภพ–รัชนีธงไชยและครอบครัวนายแพทย์โชติช่วงชุตินธร

หลังปีพ.ศ.2535 ครอบครัวมีจ�านวนเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในวงจ�ากัดได้แก่ครอบครัวนายแพทย์พรพันธุ์โอสถครอบครัวคุณสมพรพึ่งอุดมครอบครัวคุณนิราพรเหลืองแจ่มครอบครัวคุณสาทรสมพงศ์ครอบครัวครูบาสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์เป็นต้น

ช่วงรอยต่อของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542

-ประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540-ครอบครัวคุณกนกพรสบายใจครอบครัวคุณอาทิตย์แดงพวงไพบูลย์ครอบครัวคุณพรสรวงคุณวัฒนการครอบครัวกลุ่มบ้านเรียนปัญญากรเป็นต้น

2.ช่วงปีพ.ศ.2541-2549

หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542

-ครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกเป็นจ�านวนหลายสิบครอบครัว-ในพ.ศ.2543ได้มีการจัดตั้ง“ศูนย์ประสานงานการศึกษาโดยครอบครัว”(ศปศค.)นับเป็นองค์กรเครือข่ายการศึกษาโดยครอบครัวแห่งแรกของสังคมไทย

ภายหลังการใช้ประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวพ.ศ.2547

-เริ่มมีครอบครัวไปจดทะเบียนขออนุมัติจัดการศึกษากับส�านักเขตพื้นฐานการศึกษาตามภูมิล�าเนาและจ�านวนครอบครัวที่สนใจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

2548 -มีการจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสมาคมบ้านเรียนไทยเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นในการท�างาน-เครือข่ายบ้านเรียนสามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม“สมาคมบ้านเรียนไทย”-สพฐ.เชิญผู้แทนสมาคมบ้านเรียนไทยเข้าร่วมการประชุมการจัดท�าแนวปฏิบัติในการด�าเนินการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

2549 - สพฐ. ประกาศใช้แนวปฏิบัติในการดำาเนินงานการจัดการศึกษา

โดยครอบครัว และเริ่มมีครอบครัวเริ่มดำาเนินการจดทะเบียนจัดการ

ศึกษากับสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Page 12: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี26 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

ช่วงเวลา พัฒนาการ

3.ช่วงปีพ.ศ.2550-ปัจจุบัน

2550-2554 - เผยแพร่สารสมาคมบ้านเรียนไทย (ปี 2550)- ปี 2551 ประกาศใช้ “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ.2551”- ปี 2552 พบว่า มีครอบครัวที่จดทะเบียนแล้ว 106 ครอบครัว 

เป็นเด็กผู้เรียนทั้งหมด 144 คน ใน 40 เขตการศึกษาทั่วประเทศ (จากทั้งหมด 185 เขต)

- ปี 2553 เป็นต้นมา เริ่มเกิดปัญหากระทบสิทธิผู้เรียนในการที่สำานักงานไม่ดำาเนินการประเมินผลให้กับผู้เรียนบ้านเรียน จำานวน 17 คน

- ปี 2554 ครอบครัวบ้านเรียนและภาคีเครือข่ายบ้านเรียนดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม

- เกิดเครือข่ายภาคีบ้านเรียนนำาร่อง ตามคำาแนะนำาของภาคีเครือข่ายครอบครัวบ้านเรียน อันประกอบด้วยครอบครัว สพท. และเครือข่ายบ้านเรียน โดยการจัดตั้งของ สพฐ. และยุติไปเนื่องจากไม่มีงบประมาณ

- ปี 2554 ประกาศใช้ “หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” และจัดประชุมเพื่อแก้ไขแนวปฏิบัติในการดำาเนินงานจัดการศึกษาโดยครอบครัว

2555จนปัจจุบัน - จัดทำาเว็บไซต์ HomeschoolNetwork.org หรือ “เครือข่าย

บ้านเรียน”

- สพฐ.ประกาศใช้คู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดย

ครอบครัว ปี 2555

- ปี 2555 ถือเป็นปีแห่งการต่อสู้ในการคืนสิทธิบ้านเรียน

- ปี 2556 สมาคมบ้านเรียนเปิดช่องทางใหม่ในการจดทะเบียน

โฮมสคูล ร่วมกับ โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายการ

ศึกษาทางเลือก

2557 - อยู่ระหว่างการแก้ไขแนวปฏิบัติในการดำาเนินงานจัดการศึกษา

โดยครอบครัว เล่มที่ 3

- ภาคีเครือข่ายบ้านเรียนมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน

พลังทางสังคมในการปฏิรูปการศึกษาไทย

- คสช.ประกาศนโยบายสนับสนุนการศึกษาทางเลือก

*ปรับปรุงจากยุทธชัย-อุทัยวรรณเฉลิมชัยและกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร(2543:28-29)

Page 13: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 27ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

โดยสรุปเมื่อกล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยจะเห็นได้ว่าเร่ิมต้นจากกลุ่มคนจ�านวนน้อยที่เลือกเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของตนเองก่อนเท่านั้นจากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มจ�านวนมากขึ้นเรื่อยๆท�าให้เกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายครอบครัวท้ังทางตรงและทางอ้อมและเมื่อด�าเนินการจัดการศึกษาแต่ละครอบครัวได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งด้านที่ดีและข้อจ�ากัดรวมถึงปัญหาอุปสรรคทั้งนี้ด้วยความรู้สึกอันแรงกล้าเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับจนกลายเป็นสมาคมบ้านเรียนไทยที่ท�าหน้าท่ีแทนครอบครัวคอยช่วยเหลือให้ค�าแนะน�าและร้องเรียนเรื่องสิทธิและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆรวมทั้งเกิดภาคีเครือข่ายครอบครัวบ้านเรียนในพื้นท่ีจังหวัดต่างๆทั้ง4ภูมิภาคขณะเดียวกันความส�าเร็จส่วนหน่ึงเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศท�าให้ครอบครัวติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดนจึงส่งผลให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคงในสังคมไทยและเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมทั้งขยายกระบวนทัศน์สร้างความเข้าใจให้กับสังคมได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากมายนักน�าไปสู่อนาคตท่ีมุ่งหวังให้มีพื้นที่การท�างานร่วมกันอย่างมีไมตรีจิตเพื่อให้ถึงจุดหมายของการร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยดังที่ทุกฝ่ายต้องการ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยครอบครัว จากพัฒนาการท่ีกล่าวมาน้ันช้ีให้เห็นว่าการด�าเนินการต่างๆล้วนแล้วแต่เก่ียวข้องกับกฎหมายหลากหลายฉบับเพื่อให้ครอบครัวสามารถน�ามาปฏิบัติได้ในความเป็นจริงโดยการใช้สิทธิเสรีภาพตามหลักกฎหมายของประเทศไทยช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้อย่างภาคภูมิซึ่งพอจะสรุปให้เห็นภาพรวม(ส�านักงานเลขาธิการวุฒิสภา,2554:21-22;ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา,2555:5-6)ได้ดังนี้ เริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองและรับรองสิทธิเสรีภาพในการศึกษาของประชาชนสิทธิในการจัดการศึกษาทางเลือกการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตท่ีจะต้องได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่

เหมาะสมจากรัฐและได้เน้นย�้าเจตนารมณ์เรื่องสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในบทบัญญัติมาตรา49วรรคหนึ่งที่ก�าหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายซ่ึงครอบคลุมประชาชนทุกคนและในวรรคที่สามกล่าวถึงการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐรวมถึงมาตรา50ที่กล่าวถึงการมีเสรีภาพในทางวิชาการที่เป็นไปอย่างเหมาะสมเท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็จะได้รับการคุ้มครองเช่นกัน จากหลักการข้างต้นจึงได้กลายมาเป็นเจตนารมณ์และหลักการส�าคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545(ฉบับที่3)พ.ศ.2553ซ่ึงเป็นกฎหมายน�าสู่การปฏิรูปการศึกษาปฏิรูปการเรียนรู ้เปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันในสังคมส่งผลอันท�าให้ระบบการศึกษาไทยจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้มีบทบัญญัติส่งเสริมสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของครอบครัวในการจัดการศึกษาอยู่หลายมาตราโดยเฉพาะในมาตรา11และ12บิดามารดาและผู้ปกครองมีหน้าที่จัดได้บุตรหลานได้รับการศึกษาโดยให้สิทธิครอบครัวสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับบุตรของตนเองได้ส่วนในมาตรา13และ14ครอบครัวที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับบุตรมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางการศึกษาอื่นๆส่วนมาตรา15และ18ได้รับรองให้ครอบครัวสามารถจัดการศึกษาได้อย่างหลากหลายยืดหยุ่นแตกต่างกันไปรวมทั้งรับรองการเป็นสถานศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนตามกฎหมายโดยยึดแนวทางการจัดการศึกษาตามหมวด4ต้ังแต่มาตรา22ถึง30รวมถึงมาตรา34,37และ38ที่กล่าวถึงการส่งเสริมสนับสนุนของส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย นอกจากน้ียังมีกฎหมายท่ีมีบทบาทส�าหรับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่มีผลบังคับใช้ได้อย่างจริงทั้งในระดับครอบครัวและหน่วยงานราชการนั่นคือกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว

Page 14: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี28 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

พ.ศ.2547ที่ให้ค�าจ�ากัดความและแนวทางการด�าเนินงานส�าหรับการจัดการศึกษาโดยครอบครัวท่ีช่วยก�าหนดแนวทางในการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ชัดเจนมากขึ้นรวมถึงรายละเอียดในการยื่นค�าขออนุญาตจัดการศึกษาต่อส�านักงานเขตพื้นที่ตามภูมิล�าเนาและหลักปฏิบัติส�าคัญส�าหรับครอบครัวและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถึงแม้กฎหมายฉบับนี้สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทยสามารถน�าไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานทั้งฝ่ายผู ้จัดและเจ้าหน้าที่ของรัฐในส�านักเขตพื้นที่การศึกษาแต่ข้อก�าหนดในกฎกระทรวงล้วนเป็นการด�าเนินงานก�ากับควบคุมโดยภาครัฐเป็นส่วนมากซึ่งขาดหลักการกระจายอ�านาจการบริหารจัดการศึกษาให้กับผู้จัดการศึกษาได้อย่างแท้จริงรวมทั้งขาดวิธีการการท�างานบนหลักประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมซึ่งจะต้องด�าเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อการปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนผู้จัดการศึกษาต่อไป หลังจากมีการน�ากฎหมายไปประยุกต์ใช้จริงก็พบปัญหาต่างๆระหว่างครอบครัวและส�านักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาทั้งในส่วนการด�าเนินการและการตีความของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนกระบวนทัศน์การส่งเสริมการศึกษาที่แตกต่างกันจึงท�าให้การศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยและส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจ�าเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นสมาคมบ้านเรียนไทยและสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยจึงร่วมผลักดันให้เกิดการพิจารณาใช้ข้อกฎหมายที่เป็นธรรมและช่วยประสานงานกับภาครัฐในการด�าเนินการรับรองสิทธิการจัดการศึกษาโดยครอบครัวร่วมกันกับส�านักงานพัฒนานวัตกรรมการศึกษา(2555:8)ซ่ึงเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัวได้จัดท�าคู่มือในการด�าเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัวให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551ส�าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551โดยเกี่ยวข้องกับมาตรา3ถึงมาตรา9เป็นกฎหมายส�าหรับให้สถานศึกษาและเครือข่ายด�าเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเป็นการสร้าง

ความเข้าใจให้กับสถานศึกษาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยช่วยส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดดังกล่าวที่จะส่งผลให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้ง่ายขึ้นเพ่ือท�าให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้ตามศักยภาพ โดยสรุปแล้วสิทธิในการจัดการศึกษาในครอบครัวในสังคมไทยเกิดขึ้นจากการผลักดันจากภาคประชาชนหรือผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างแท้จริงตั้งแต่เริ่มต้นจากการไม่มีกฎหมายใดๆรองรับอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปัจจุบันที่มีกฎหมายหลายฉบับประกาศใช้เพื่อรองรับสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้ของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งสองฉบับกฎกระทรวงฯและพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551ซึ่งความส�าเร็จเหล่าน้ีเกิดจากความพยายามของครอบครัวรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ยังไม่ละความเพียรเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับผู้เรียนจนไปถึงเป้าหมายคือการศึกษาตลอดชีวิตทั้งอีกมุมหนึ่งก็แสดงให้เห็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐที่จะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ต่อการเปิดกว้างในการท�างานเพิ่มขึ้นจากในอดีตเช่นกัน

บทสรุป การจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยมีแนวโน้มท่ีดีขึ้นสังเกตได้จากการได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักของสังคมมากข้ึนผู้คนในหลากหลายแวดวงเข้าใจถึงความหมายของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองได้รับสิทธิและเสรีภาพในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรที่บ้านได้รับสิทธิและเสรีภาพต่างๆเท่ากับสถานศึกษาในปัจจุบันสามารถเลือกรูปแบบการจัดตามความเหมาะสมของครอบครัวและธรรมชาติของผู้เรียนได้อย่างยืดหยุ่นเมื่อก้าวสู่ศตวรรษที่21ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวของเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงครอบครัวจึงสามารถส่งเสริมให้ผู ้เรียนปรับตัวเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้นและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างคล่องตัวท�าให้รูปแบบในการจัดการศึกษาก็หลากหลายมากขึ้นเช่นกันจากอดีตที่เป็นเพียงครอบครัวเดี่ยวพัฒนาเรื่อยมาจนมีลักษณะการเรียนรู้แบบกลุ่มเช่นการเรียนร่วมกับโรงเรียนการเรียนร่วมกับครอบครัว

Page 15: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 29ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

อื่นหรือจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ซึ่งสามารถน�ามาใช้ปฏิบัติได้จริงทั้งนี้การที่ครอบครัวจะเปลี่ยนจากการศึกษาในระบบมาเป็นการศึกษาโดยครอบครัวนั้นย่อมมีเหตุปัจจัยทางสังคมที่ผลักดันให้ครอบครัวเลือกเข้าสู ่การศึกษารูปแบบนี้ในยุคสมัยท่ีวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วและกว้างขวางท�าให้ความรู้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจนท�าให้ผู้คนตระหนักว่าการศึกษาควรอยู่ในวิถีชีวิตของเรามิใช่จ�ากัดเพียงในห้องเรียนอีกต่อไปการเข้าใจถึงปัญหาจากการศึกษาในระบบซ่ึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงและศักยภาพผู้เรียนที่มีคุณค่าหลากหลายกระบวนทัศน์ทางสังคมจึงก�าลังเปลี่ยนแปลงไปให้คุณค่าต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นและการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์รวมถึงสถาบันครอบครัวที่เริ่มเสื่อมโทรมลงจนอาจน�าไปสู่ปัญหาสังคมในวงกว้างถึงแม้ว่าการน�าข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติจริงยังมีป ัญหาที่ เรื้อรังกับกระบวนทัศน์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เก่ียวข้องและคงเป็นโอกาสที่ดีในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในทิศทางใหม่ร่วมกับการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศไทย แรงผลักดันเหล่านี้ล ้วนสัมพันธ์กับการสร้างพัฒนาการของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในแต่ละช่วงเวลาเมื่อเริ่มแรกเป็นเพียงครอบครัวจ�านวนน้อยที่จัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของตนเองโดยจ�ากัดอยู่ในวงแคบและยังไม่มีกฎหมายใดออกมารองรับอย่างถูกต้องในสังคมไทยถือเป็นยุคบุกเบิกอย่างแท้จริงเมื่อเข้าสู่ช่วงระยะที่สองหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542ที่รัฐได้มอบโอกาสและสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนท�าให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสามารถด�าเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมายเม่ือครอบครัวผู้จัดเพิ่มจ�านวนมากขึ้นท�าให้เกิดเป็นลักษณะเครือข่ายครอบครัวเกิดพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันผ่านกลุ่มครอบครัวร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติกับหน่วยงาน

ของรัฐเครือข่ายครอบครัวพัฒนาเรื่อยมาอย่างเข้มแข็งและเติบโตขึ้นจนเมื่อปลายปี2548มีการจดทะเบียนเป็นสมาคมบ้านเรียนไทยท่ีคอยสนับสนุนและให้ค�าแนะน�าแก่พ่อแม่รวมท้ังด�าเนินการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐในเร่ืองสิทธิให้ครอบครัวส่วนในช่วงที่สามการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นที่รู ้จักอย่างกว้างขวางการประสานงานระหว่างครอบครัวและการแลกเปล่ียนประสบการณ์การเรียนรู้ท�าได้ง่ายและรวดเร็วมากข้ึนผ่านเครือข่ายครอบครัวและอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเฟสบุ๊คและเว็บไซต์โดยตรงของเครือข่ายบ้านเรียนเกิดภาคีเครือข่ายครอบครัวบ้านเรียนขึ้นทั้ง4ภูมิภาคมีการด�าเนินการร่วมกันเพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติสนับสนุนช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถน�าข้อกฎหมายและความรู้ทางวิชาการไปปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นรูปธรรมมากข้ึนรวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อท�างานร่วมกันในช่วงปลายถือได้ว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นในด้านการบริหารจัดการเนื่องจากเกิดการร้องเรียนตามกระบวนการยุติรรมจึงมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีการท�างานร่วมกัน นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ต่างๆท่ีเกิดขึ้นน้ันเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายของประเทศตลอดเวลาเพื่อให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นที่ยอมรับและมีที่ยืนในสังคมอย่างถูกต้องเทียบเท่าการศึกษาในระบบเช่นเดียวกับการผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องซ่ึงล้วนเกิดขึ้นจากการร่วมขับเคลื่อนจากเครือข่ายผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างแท้จริงตั้งแต่เริ่มแรกที่ยังไม่มีกฎหมายใดๆรองรับอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปัจจุบันที่มีกฎหมายหลายฉบับประกาศใช้เพื่อรองรับสิทธิเสรีภาพของครอบครัวโดยเฉพาะของผู้เรียนขณะเดียวกันก็ช่วยเป็นแนวทางในการด�าเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานของรัฐแม้ในการด�าเนินการจัดการศึกษาจะยังคงมีปัญหาอยู่บ้างแต่ถือได้ว่าบรรยากาศในการร่วมมือกันของทุกฝ่ายเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและจะท�าให้มีความหวังว่าการศึกษาโดยครอบครัวให้จะได้รับการพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต

Page 16: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี30 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

เอกสารอ้างอิง กนกพรสบายใจ.ผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัว, อดีตที่ปรึกษานายกสมาคมบ้านเรียนไทย, รองเลขาธิการสมาคม สภาการศึกษาทางเลือกไทย เครือข่ายบ้านเรียน.(28ตุลาคม2557).สัมภาษณ์.การศึกษาทางเลือก...เส้นทางที่งดงามด้วยความต่าง.(2555).วารสารสื่อพลัง.20(1),46-51.กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: กระทรวง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,ส�านักงาน.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.นิภาพรรณเจนสันติกุล.(2554).การเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญ:บทพิสูจน์ทางทฤษฏี.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.22(1),34-49.นุชสิริโค้นหล่อ.(2545).การพัฒนาตัวบ่งชี้มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกของการจัดการ ศึกษาโดยครอบครัว.วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ประเวศวะสี.(2557).อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย.กรุงเทพฯ:บริษัทมาตาจ�ากัด.พงษ์วิเศษสังข์.(2554).เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม.วารสารนักบริหาร.31(1),124-130.มิ่งสรรพ์ขาวสะอาดและณัฎฐาภรณ์เลียมจรัสกุล,(บรรณาธิการ).(2556).ชีวิตคนไทยในสองทศวรรษแห่งการ พัฒนา.เชียงใหม่:แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี(นสธ.)สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว.(2551).การจัดการศึกษาโดยครอบครัว(HomeSchool).สืบค้น10ตุลาคมพ.ศ.2557 จากhttp://www.familynetwork.or.th/content/การจัดการศึกษาโดยครอบครัว-home-school.มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.(2553).แกะรอยเส้นทางการศึกษาทางเลือกไทย.สืบค้น10ตุลาคมพ.ศ.2557จาก http://ppvoice.thainhf.org/index.php?module=article&page=detail&id=710.ยุทธชัยเฉลิมชัย.(2549).ชวนลูกหนีโรงเรียน บทบันทึกของคนเป็นพ่อบนเส้นทางโฮมสคูลไทย.กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจ�ากัด.ยุทธชัยเฉลิมชัย,อุทัยวรรณเฉลิมชัย,และกลุ่มบ้านเรียนปัญญากร.(2543).รายงานการศึกษาวิจัยรูปแบบและ พัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.วิลาวัลย์มาคุ้ม.(กุมภาพันธ์2550).HomeSchoolทางเลือกใหม่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง.วารสารการศึกษาไทย. 4(29),61-66.สมาคมบ้านเรียนไทย.(2555).เอกสารวิชาการว่าด้วยองค์ความรู้เก่ียวกับสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดย ครอบครัว “สภาพการณ์การจัดการศึกษาโดยครอบครัว ปี ๒๕๕๔”.ม.ป.พ.;สมาคมบ้านเรียนไทย.ส�านักงานปฏิรูป.(2555).ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปประเทศไทย.กรุงเทพฯ:บริษัททีคิวพีจ�ากัด.ส�านักงานเลขาธิการวุฒิสภา.(2554).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550:แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่2)พุทธศักราช2550.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ:ส�านักงานเลขาธิการวุฒิสภา.ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2547).รายงานการวิจัยสภาพการณ์และฐานข้อมูลการจัดการศึกษาโดย ครอบครัวในสังคมไทย.สืบค้น20ตุลาคมพ.ศ.2557จากhttp://onec.go.th/onec_backoffice/ uploads/Book/123-file.pdf._____________.(2549).คู่มือครอบครัว ก้าวแรกสู่บ้านเรียน : หลักคิดและกระบวนการเข้าสู่การศึกษาโดยครอบครัว (Home School).กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.

Page 17: Growth of Home Schooling in Thailandedujournal.psu.ac.th/edujn/index.php/edu_jn2015/article/download/125/2.pdfบทความนี้น าเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลในประเทศไทย

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 31ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2558

_____________.(2550).รายงานการวิจัยภาคีบ้านเรียน การจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างครอบครัวสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเครือข่าย.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด._____________.(2551).ประสบการณ์การจัดการศึกษาโดยครอบครัว.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิคจ�ากัด.ส�านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.(2551).เอกสารสาระหลักการและแนวคิด ประกอบการดำาเนินงาน กศน.: คัมภีร์ กศน.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจ�ากัดเอ็น.เอ.รัตนเทรดดิ้ง.ส�านักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.(2555).คู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) 2555.สืบค้น20ตุลาคมพ.ศ.2557จากhttp://www.homeschoolnetwork.org/upload/Homeschool/ homeschool-handbook-2555.pdfโฮมสคูลทางเลือกใหม่การศึกษาไทย.(ม.ป.ป.).หอข่าว.สืบค้น20ตุลาคมพ.ศ.2557จากhttp://utcc2.utcc.ac.th/ faculties/comarts/webjrshow/web%20horkor2%5B46%5D/ed3.htm.Berger,E.H.(2008).Parents As Partners in Education: Families and Schools Working Together. (7thed.).NewJersey:PearsonEducation,Inc.Dodd,S.(2009).Sandra Dodd’s big book of unschooling.AlbuquerqueN.M.:Lulu.com.Griffith,M.(2010a).The Homeschooling Handbook: From Preschool to High School, A Parent’s Guide to: Making the Decision; Discovering your child’s learning style; Getting Started; Creating an Effective.(2nded.).NewYork:RandomHouseLLC.Griffith,M.(2010b).The Unschooling Handbook: How to Use the Whole World As Your Child’s Classroom.NewYork:RandomHouseLLC.Linsenbach,S.(2010). The Everything Homeschooling Book: All you need to create the best curriculum and learning environment for your child.(2nded.).MA:EverythingBooks.Takahashi,T.(2008).Deschooling gently: a step by step guide to fearless homeschooling. LosAngeles,Calif.:HuntPress.Vahid,A.S.,&Vahid,F.(2007).Homeschooling: A Path Rediscovered for Socialization, Education, and Family.S.l.:Lulu.com