krutook11.files.wordpress.com€¦  · Web...

25
โโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโ โโโโโโโ โโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโ โโโโโโโโโ 1. เเเเเเเเเเเเเเเ เเเ เเเ 2. เเเเเเเเเเเเ เเเ เเเเ 3. เเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ 4. เเเเเเเเเเเเเเ เเเ เเเเเเ เเเเเเเเเ เเเเเเเเเเ 5 โโโโโโโโโโโโโโโ เเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเ

Transcript of krutook11.files.wordpress.com€¦  · Web...

โครงงานคุณธรรม

เรื่อง พี่น้อง เพื่อนพ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ

จัดทำโดย

1. เด็กชายอภิเชษฐ์ เภาพาน2. เด็กชายวรากร แซ่ก๊วย

3. เด็กชายมานัส อ้อมนอก

4. เด็กชายณัฐวุฒิ ศรีสวรรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

คุณครูที่ปรึกษา นางสาวสุภาวดี ประสมศรี

ปีการศึกษา 2554

โรงเรียนบ้านหนองสะเดา

เขตคุณภาพแก้งสนามนาง 2อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6

ชื่อเรื่อง

พี่น้อง เพื่อนฟ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ”

ชื่อนักเรียน1. เด็กชายอภิเชษฐ์ เภาพานชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เด็กชายวรากร แซ่ก๊วย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. เด็กชายมานัส อ้อมนอกชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

4. เด็กชายณัฐวุฒิ ศรีสวรรณ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

คุณครูที่ปรึกษา นางสาวสุภาวดี ประสมศรี

โรงเรียนบ้านหนองสะเดา ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ

โครงงานคุณธรรม พี่น้อง เพื่อนพ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ

ผู้รับผิดชอบ กลุ่มพูดจาภาษาดอกไม้

นักเรียนที่อยู่ในสภาพครอบครัวที่ไม่พร้อม เช่นครอบครัวแตกแยก ครอบครัวยากจน ถูกทอดทิ้งเนื่องจากพ่อแม่ต้องไปรับจ้างทำงานที่อื่น ครอบครัวอยู่ในสภาพที่ต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ทำให้นักเรียนต้องอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติ จึงเกิดปัญหาต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นคือปัญหาการพูดจาไม่ไพเราะ พูดคำหยาบ และคำไม่สุภาพ ทำให้นักเรียนมีปัญหาในเรื่องการพูด ขาดคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม

กลุ่มพูดจาภาษาดอกไม้ ได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดา พูดจาด้วยคำพูดที่สุภาพ ไม่ด่าพ่อล้อแม่กัน มีความอ่อนน้อมด้านการพูด โดยใช้ชื่อโครงงานว่า “พี่น้อง เพื่อนพ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ” โดยใช้หลักธรรม สังคหวัตถุ 4

ผังมโนทัศน์

พี่น้อง เพื่อนฟ้อง

ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานคุณธรรมเรื่อง พี่น้อง เพื่อนพ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ ซึ่งได้จัดทำขึ้นในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากการได้รับการอนุเคราะห์จากผู้มีอุปการะคุณหลายฝ่ายผู้จัดทำใคร่ขอเอ่ยนามเพื่อเป็นการสรรเสริญผู้อุปการะดังรายนามต่อไปนี้

ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการ สนอง เรืองประทีป ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองสะเดาที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดทำโครงงานจนสำเร็จลุล่วง

ขอขอบคุณคุณครูกมลา เรืองประทีป คุณครูสมศักดิ์ สีวัย และคุณครูฉัตรมณี ประสิทธิ์นอก

ครูโรงเรียนบ้านหนองสะเดา ที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดทำโครงงานจนสำเร็จลุล่วง

ขอขอบคุณคุณครูสุภาวดี ประสมศรี ที่ให้คำแนะนำขั้นตอนในการจัดทำโครงงาน และการจัดทำรูปเล่มรายงาน

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง

หน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

บทที่ 1 บทนำ

1

ที่มาและความสำคัญ

1

วัตถุประสงค์

1

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

คุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3

3

5

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินการ

หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง

งบประมาณและแหล่งที่มาของงบประมาณ

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ปรึกษา

6

6

บทที่ 4 การศึกษาวิเคราะห์

ผลการศึกษา

ผลการวิเคราะห์

ปัญหาและสาเหตุ

เป้าหมายและทางแก้

หลักการและหลักธรรมที่นำมาใช้

7

7

7

7

7

8

บทที่ 5 บทสรุป และข้อเสนอแนะ

9

บรรณานุกรม

10

ภาคผนวก

11

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในสังคหวัตถุ 4 ข้อสองได้แก่ ปิยวาจา หมายถึง การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ ความเห็นชอบ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ดังนั้นถ้าสามารถเปลี่ยนการพูดจาที่ไม่สุภาพตามหลักปิยวาจาให้กลับมาถูกได้ ก็จะสามารถทำให้สังคมนี้น่าอยู่มากขึ้น

ปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดาบางส่วนชอบพูดคำหยาบ คำที่ไม่สุภาพ และด่าพ่อล้อแม่กัน เมื่อเราได้ฟังแล้วทำให้รู้สึกไม่ค่อยดีเพราะนักเรียนขาดสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิต

จากสภาพปัญหาดังกล่าว เยาวชนกลุ่มพูดจาภาษาดอกไม้ โรงเรียนบ้านหนองสะเดา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพูด จึงได้ร่วมกันจัดทำที่โครงงาน “พี่น้อง เพื่อนฟ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ” โดยมีแนวคิดที่นำหลักธรรม สังคหวัตถุ 4 มาเผยแพร่ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับทราบ และนำหลักธรรมไปปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดา คิดดี พูดดี ทำดี และช่วยกันสร้างสังคมวิถีพุทธที่สงบสุขร่มเย็น มีสันติภาพสืบไป

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อให้นักเรียนพูดจาไพเราะ 2. นักเรียนทราบหลักในการพูด3. เป็นการปลูกจิตสำนึกในด้านคุณธรรมเพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนพูดจาไพเราะ 2. นักเรียนทราบหลักในการพูดที่ถูกต้อง3. มีความตระหนักในคุณธรรมสังคหวัตถุ 4 โดยเฉพาะด้านปิยวาจา

บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จเว้นจากการพูดส่อเสียดเว้นจากการพูดคำหยาบเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็น

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินงาน

1. ปรึกษาวางแผนการดำเนินในกลุ่ม

2 ปรึกษาครูและผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อขอคำแนะนำ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

3 ปรึกษาหลวงตาล้วน เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองสะเดา อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการสถานศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ปกครอง

4. ตั้งชมรม เยาวชนพูดจาภาษาดอกไม้ 5. เสนอครูที่ปรึกษา เพื่อทำแบบสอบถามเกี่ยวกับแบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียน

6. จัดทำแบบสอบถาม โดยใช้แบบประเมินค่า 5 ระดับ

5 หมายถึง ปฏิบัติมากที่สุด

4 หมายถึง ปฏิบัติมาก

3 หมายถึง ปฏิบัติปานกลาง

2 หมายถึง ปฏิบัติน้อย

1 หมายถึง ปฏิบัติน้อยที่สุด

4. นำแบบสอบถามไปสอบถามนักเรียนในโรงเรียน5. หาค่าเฉลี่ยในแต่ละข้อ

6. สรุปผลการประเมิน

2. หลักธรรมในพระพุทธศาสนา

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จเว้นจากการพูดส่อเสียดเว้นจากการพูดคำหยาบเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็น

งบประมาณและแหล่งที่มาของงบประมาณ

งบประมาณ

1 ค่าวัสดุ กระดาษ หมึกพิมพ์

80

บาท

3 ค่าเอกสาร กระดาษ แผ่นพับ เย็บเล่มรายงาน 100

บาท

4 ค่าจัดป้ายนิทรรศการ

150

บาท

รวม

330

บาท

แหล่งที่มาของงบประมาณ

งบประมาณจากโรงเรียน

500

บาท

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ปรึกษา

1 พระสงฆ์ที่ปรึกษา หลวงตาล้วน

- โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ควรมีการดำเนินงานขยายเครือข่าย ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

- วัดยินดีให้การสนับสนุน และร่วมกิจกรรมให้ความรู้กับนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมให้เยาวชน เป็นแกนนำ เพื่อขยายผลสู่ชุมชน

2 ผู้บริหารที่ปรึกษา นายสนอง เรืองประทีป ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองสะเดา

- โครงการบรรลุผลสำเร็จ ได้ด้วยดี ส่งผลถึงประโยชน์แท้แก่มหาชนควรยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และขยายผลออกสู่ครอบครัวและชุมชน

3 อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวสุภาวดี ประสมศรี

- การดำเนินงาน ต้องใช้คุณธรรมหลายข้อ มาบูรณาการเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น ทาน ปิยวาจา สมนัตตา อัตจริยา และต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

4. ความคิดเห็นของประธานกลุ่ม

การดำเนินงานทุกอย่างของโครงงานในครั้งนี้ บรรลุผลที่ตั้งไว้เนื่องจากสมาชิกทุกคนได้ให้ความร่วมมือ วางแผนพัฒนาอย่างชัดเจน การได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาโครงงาน ทำให้งานมีการกำกับติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การรวมพลทำความดีให้กับสังคมในโอกาสต่อไป

บทที่4

ผลการศึกษาวิเคราะห์

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียน โครงงานคุณธรรม เรื่อง “พี่น้อง เพื่อนฟ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากมีการพัฒนาแล้ว

พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม

จำนวนนักเรียนทั้งหมด

จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรม ในระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

ระดับคุณภาพ

1.ทาน

(1)แบ่งปันสิ่งของในห้องเรียน

34

34

100

5

.....(2)แบ่งปันอาหารกลางวัน

34

34

100

5

....(3)เข้ากลุ่มรับประทานอาหาร

ตามที่ ครูจัดให้

34

34

100

5

2.ปิยวาจา

(1) กล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิด

34

30

88.24

5

(2) กล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ

34

30

88.24

5

(3) เว้นจากการพูดเท็จ

34

30

88.24

5

(4) เว้นจากการพูดส่อเสียด

34

30

88.24

5

(5) เว้นจากการพูดคำหยาบ

34

30

88.24

5

(6) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

34

30

88.24

5

3.อัตถจริยา

(1)ช่วยครูทำงานที่ได้รับมอบหมาย

34

30

88.24

5

(2)ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน

34

30

88.24

5

(3)ร่วมกิจกรรมวันสำคัญที่ชุมชน

และโรงเรียนจัด

34

34

100

5

4.สมานัตตตา

5

(1)มาโรงเรียนทันเวลาที่กำหนด

34

34

100

5

(2)ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

34

34

100

5

นักเรียนมีความร่วมมือกันในจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี

ร่วมมือในการตั้งชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์

ร่วมหาวิธีการดำเนินงาน

การศึกษาวิเคราะห์ปัญหา

ปัญหา

ปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดาบางส่วนชอบพูดคำหยาบ คำที่ไม่สุภาพ และด่าพ่อล้อแม่กัน

สาเหตุ

- นักเรียนขาดสติพูดแบบไม่คิด

- ไม่มีหลักธรรมในใจ

เป้าหมาย

- เชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดา 34 คน

- เชิงคุณภาพ   นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดาพูดจาไพเราะ ตามหลักปิยวาจา

บทที่5

บทสรุป และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

การจัดทำโครงงานครั้งนี้ เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องในเรื่องการพูด เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม จากการดำเนินกิจกรรม โครงงานคุณธรรม “พี่น้อง เพื่อนฟ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ” ผลปรากฏว่า นักเรียนร้อยละ 88.24 ถึง ร้อยละ 100 มีความพฤติกรรมที่ดีขึ้นในด้าน ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา อยู่ในระดับมาก

นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดาได้รับ ความรู้จากโครงงาน พี่น้อง เพื่อนฟ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ทั้งด้านการการให้ทาน การพูดจา ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย โดยใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต

ข้อเสนอแนะ

1. สามารถนำหลักธรรมอื่นๆที่สอดคล้องมาใช้ในการแก้ปัญหาได้

2. ในการทำโครงงานครั้งต่อไปอาจนำข้อบกพร่องอื่นๆมาทำการแก้ไขได้

บรรณนานุกรม

· www.moralproject.net (10 กันยายน 2554)

· facekbook.com/ moralprojectpage.

ภาคผนวก

ตัวอย่างแบบสอบถาม

แบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียน

จงกาเครื่องหมาย / ลงใช่องที่ตรงกับความเป็นจริงของนักเรียนที่สามารถปฏิบัติได้จริง

คุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริง

5

4

3

2

1

1.ทาน

(1)แบ่งปันสิ่งของในห้องเรียน

(2)แบ่งปันอาหารกลางวัน

(3)เข้ากลุ่มรับประทานอาหารตามที่ครูจัดให้

2.ปิยวาจา

(1) กล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิด

(2) กล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ

(3) เว้นจากการพูดเท็จ

(4) เว้นจากการพูดส่อเสียด

(5) เว้นจากการพูดคำหยาบ

(6) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3.อัตถจริยา

(1)ช่วยครูทำงานที่ได้รับมอบหมาย

(2)ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน

(3)ร่วมกิจกรรมวันสำคัญที่ชุมชนและโรงเรียนจัด

4.สมานัตตตา

(1)มาโรงเรียนทันเวลาที่กำหนด

(2)ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

สาระสำคัญโครงงาน

โครงงานพี่น้อง เพื่อนพ้อง ร่วมมือร่วมใจเพื่อภาษาไทยที่ไพเราะ จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสะเดา พูดจาไพเราะ สุภาพ ไม่ด่าพ่อล้อแม่กัน

1. โรงเรียนบ้านหนองสะเดา

ตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา

1. เพื่อให้นักเรียนพูดจาไพเราะ �2. นักเรียนทราบหลักในการพูด�3. เป็นการปลูกจิตสำนึกในด้านคุณธรรมเพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต ��

เยาวชนได้มีจิตสำนึกในการปฏิบัติตน

วัตถุประสงค์

สถานที่ดำเนินงาน

หลักธรรมที่นำมาใช้

การดำเนินงาน

-หลักธรรม สังคหวัตถุ 4

1. ตั้งชมรม เยาวชนพูดจาภาษาดอกไม้ �2. เสนอครูที่ปรึกษา เพื่อทำแบบสอบถาม

3. จัดทำแบบสอบถาม โดยใช้แบบประเมินค่า 5 ระดับ

5 หมายถึง ปฏิบัติมากที่สุด

4 หมายถึง ปฏิบัติมาก

3 หมายถึง ปฏิบัติปานกลาง

2 หมายถึง ปฏิบัติน้อย

1 หมายถึง ปฏิบัติน้อยที่สุด

4. นำแบบสอบถามไปสอบถามนักเรียนในโรงเรียน�5. หาค่าเฉลี่ยในแต่ละข้อ

6. สรุปผล �

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนพูดจาไพเราะ �2. นักเรียนทราบหลักในการพูดที่ถูกต้อง�3. มีความตระหนักในคุณธรรมสังคหวัตถุ 4 โดยเฉพาะด้านปิยวาจา