United Kingdom Parliament · ความเป...

20
รัฐสภาสหราชอาณาจักร United Kingdom Parliament สํานักงานเลขาธิการสภาผูแทนราษฎร

Transcript of United Kingdom Parliament · ความเป...

Page 1: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

รัฐสภาสหราชอาณาจักร

United Kingdom Parliament

สํานักงานเลขาธิการสภาผูแทนราษฎร

Page 2: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

คํานํา

รัฐสภาสหราชอาณาจักรหรือรัฐสภาอังกฤษมีวิวัฒนาการอันยาวนาน มีการปรับเปลี่ยนโครงสรางและรูปแบบการปฏิบัติใหสอดคลองกับสภาพแวดลอมและการเมืองอยูเสมอ แมในปจจุบันเอง ผูนําฝายบริหารและฝายนิติบัญญัติของอังกฤษก็ไดพยายามปรับปรุงรัฐสภาอังกฤษใหเปนประชาธิปไตยมากขึ้นและใหการปฏิบัติงานของเหลาสมาชิกเปนไปอยางมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดเพื่อนําพาประโยชนสูงสุดมาสูประเทศและประชาชน

รัฐสภาอังกฤษไมใชเร่ืองใหม ผูที่ศึกษาดานรัฐศาสตรและนิติศาสตรยอมทราบขอมูล เกี่ยวกับรัฐสภาแหงนี้เปนอยางดี แตเมื่อไมนานนี้ ผูเขียนไดเขาไปเยี่ยมชมเวบไซตของรัฐสภาอังกฤษ แลวจึงไดรูวาขอมูลทั่วไปที่เคยรับรูมาไดเปล่ียนไป มีการปฏิรูปสภาขุนนางและปรับปรุงขอปฏิบัติมากมาย จึงคิดวาขอมูลใหมๆ นี้ นาจะไดแบงปนใหกับผูที่สนใจคนอื่นๆ ดวย ผูเขียนจึงไดแนวคิดในการจัดทําเอกสารวิชาการฉบับนี้ขึ้นมา โดยเนนนําเสนอขอมูลเกี่ยวกับโครงสรางและอํานาจหนาที่ของสภาขุนนาง สภาสามัญ และสํานักงานเลขาธิการสภาสามัญของอังกฤษ เพื่อใหผูที่สนใจไดทราบขอมูลที่ทันสมัยและเพื่อเปนจุดนําทางในการสืบคนรายละเอียดเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษไดตอไป

อรณิช รุงธิปานนท

Page 3: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

สารบัญ

ความเปนมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6

รัฐสภาอังกฤษในปจจุบัน 2- สภาสามัญ 2- สภาขุนนาง 3- คณะกรรมาธิการ 5

ภารกิจที่สําคัญของรัฐสภาอังกฤษ 7-13- การตรวจสอบและการควบคุมการบริหารราชการแผนดินของฝายบริหาร 7- การพิจารณาคดี 7- การตราพระราชบัญญัติ 10

สํานักงานเลขาธิการสภาสามัญ 14-15

บรรณานุกรม 16-17

Page 4: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

ความเปนมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป

รัฐสภาสหราชอาณาจักร หรือรูจักกันวารัฐสภาอังกฤษ มีวิวัฒนาการตอเนื่องอันยาวนาน โดยเร่ิมตนขึ้นในศตวรรษที่ 12 เมื่อพระมหากษัตริยไดกอตั้งมหาสภา (King’s Council) เพื่อเปนสภาที่ปรึกษาในพระองค ซ่ึงประกอบดวยเหลาขุนนางและนักบวช ในขณะนั้นมหาสภามีหนาที่อภิปรายเรื่องการเมืองตางๆ ดําเนินการเรื่องจัดเก็บภาษี รวมทั้งการยุติธรรม ตอมาเมื่อมหาสภามีบทบาทมากขึ้น จึงไดมีตัวแทนคืออัศวินออกไปทําหนาที่ในแตละจังหวัด ซ่ึงจุดนี้คือที่มาของสภาขุนนาง และไดเปล่ียนชื่อเรียกมหาสภาเปน “รัฐสภา” ในชวงตนศตวรรษที่ 13 ซ่ึงในเวลานั้น สมาชิกรัฐสภาที่เปนขุนนางมีจํานวนนอยเมื่อเทียบกับสมาชิกรัฐสภาที่เปนคนชนชั้นกลาง จึงเปนการสะทอนใหเห็นการมีบทบาทเพิ่มขึ้นของอิทธิพลทางการเมืองของสามัญชน

ศตวรรษที่ 14 รัฐสภาอังกฤษยังคงเปนระบบสภาเดียว แตการทํางานภายในรัฐสภาเริ่มแสดงใหเห็นถึงการแบงแยกระหวางกลุมขุนนางและกลุมสามัญชน ในที่ประชุมรัฐสภาทั้งสองฝายนั่งกันคนละดานของหองประชุม โดยฝายขุนนางและนักบวชจะนั่งอยูทางสภาที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย เสมือนวาเปนการสืบทอดมหาสภาในอดีต ซ่ึงนําไปสูการเริ่มตนแบงแยกของสภาขุนนาง (House of Leeds) และสภาสามัญ (House of Commons) และในสมัยพระเจาเฮนรี่ที่ 5 จึงมีการยกระดับใหทั้งสองสภามีความทัดเทียมกัน

ศตวรรษที่ 17 ไดเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหวางฝายที่สนับสนุนกษัตริยกับฝายที่สนับสนุน รัฐสภา แตในทายที่สุดสามัญชนเปนฝายที่ไดรับชัยชนะ อํานาจอธิปไตยเปนของปวงชนและพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขภายใตรัฐธรรมนูญ โดยไมมีอํานาจทางการเมืองดังเชนในอดีต สวนรัฐสภาไดพัฒนาบทบาทจนมีความสําคัญในกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศ สมาชิกสภาสามัญมาจากการ เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีหนาที่ตราและแกไขกฎหมาย ในขณะที่สภาขุนนางนั้น สมาชิกมาจากการแตงตั้งและมีบทบาทกลั่นกรองรางกฎหมายจากสภาสามัญอีกชั้นหนึ่ง

จากประวัติศาสตรทางการเมืองการปกครองอันยาวนาน รัฐสภาอังกฤษไดพัฒนาขึ้นเปนระบบ จนกลายเปนตนแบบใหกับประเทศตางๆ ทั่วโลก หลายๆ ประเทศนําแนวคิดในการจัดรูปแบบความสัมพันธขององคกรทางการเมืองในระบบรัฐสภาอังกฤษไปปรับใชใหเหมาะสมกับสภาพแวดลอมทางสังคมของประเทศตน

Page 5: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

2

รัฐสภาอังกฤษในปจจุบัน

รัฐสภาอังกฤษเปนระบบสองสภา (Bicameral Parliament) ประกอบดวย สภาสามัญและ

สภาขุนนาง ทั้งสองสภามีภารกิจที่คลายคลึงกัน คือการตรากฎหมาย ตรวจสอบการทํางานของ รัฐบาลและอภิปรายเรื่องตางๆ ที่มีความสําคัญตอประเทศ โดยปกติเมื่อมติออกจากสภาใดอีกสภาหนึ่งจะทําหนาที่ใหความเห็นชอบ จึงเปนลักษณะของการตรวจสอบและคานอํานาจซึ่งกันและกัน (check and balance)

สภาสามัญ (House of Commons)สภาสามัญประกอบดวยสมาชิกทั้งหมด 659 คน ประกอบดวยสมาชิกสภาสามัญ

จากอังกฤษ 529 คน เวลส 40 คน สก็อตแลนด 72 คน และไอรแลนดเหนือ 18 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบงเขต สมาชิกสภาสามัญมีวาระการดํารงตําแหนงคราวละ 5 ป และในการเลือกตั้งทั่วไป พรรคการเมืองใดมีที่นั่งในสภาสามัญมากที่สุดจะไดรับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล ซ่ึงปจจุบัน พรรคการเมืองที่มีบทบาทอยางมากตอการเมืองอังกฤษคือพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษนิยม

สภาสามัญเปนสภาที่มีบทบาทอยางมากในกระบวนการนิติบัญญัติและถือวาเปนสภาของประชาชนอยางแทจริง ทําหนาที่ตรากฎหมายและแกไขกฎหมายใหมีคุณภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดลอมทางการเมืองและสังคมของประเทศ

อํานาจหนาท่ีของสภาสามัญ มีดังนี้ คือ1. การตรากฎหมาย สภาสามัญทําหนาที่พิจารณารางพระราชบัญญัติ เร่ิมตนจากการ

อภิปรายรางพระราชบัญญัติ พิจารณาแกไขเพิ่มเติม และลงมติเห็นชอบหรือไมเห็นชอบตอรางพระราชบัญญัตินั้น

2. การตรวจสอบและควบคุมฝายบริหาร สภาสามัญมีหนาที่ในการตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล โดยการตั้งกระทูถาม การอภิปราย และการสอบสวนของคณะกรรมาธิการ

Page 6: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

3

นอกจากนี้ สภาสามัญยังควบคุมฝายบริหารโดยการคัดคาน การเสนอญัตติไมไววางใจรัฐบาลและรวมไปถึงการลงมติไมไววางใจรัฐบาล

3. การตรากฎหมายเกี่ยวดวยการเงินของประเทศ อาทิ การพิจารณารางพระราชบัญญัติ งบประมาณประจําปและรางพระราชบัญญัติเกี่ยวดวยการเงินและภาษีตางๆ ที่เสนอโดยฝายรัฐบาล อํานาจหนาที่นี้เปนอํานาจเฉพาะของสภาสามัญ สภาขุนนางมีหนาที่ใหความเห็นชอบยืนตามสภาสามัญเทานั้น ไมสามารถยับยั้งหรือแกไขรางพระราชบัญญัติเกี่ยวดวยการเงินได

สภาขุนนาง (House of Lords)ในอดีตสภาขุนนางมีอํานาจหนาที่เหนือ

กวาสภาสามัญ แตเมื่อประชาธิปไตยเขามามี อิทธิพลในสังคมมากขึ้น บทบาทของสภาขุนนางก็คอยๆ ลดลง อาทิ พระราชบัญญัติรัฐสภา ป 1911 บัญญัติมิใหสภาขุนนางแกไขรางพระราชบัญญัติเกี่ยวดวยการเงิน แตมีหนาที่ใหความเห็นชอบยืนตามสภาสามัญเทานั้น และพระราชบัญญัติรัฐสภา ป 1949 ไดลดระยะเวลาการยบัยั้งรางพระราชบัญญัติของสภาขุนนาง

การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญอีกครั้งหนึ่งในสภาขุนนางไดเกิดขึ้นเมื่อมีการบังคับใชพระราชบัญญัติสภาขุนนาง ป 1999 พระราชบัญญัติฉบับนี้เปนสวนหนึ่งของการปฏิรูปการเมืองอังกฤษ โดยมีเปาหมายใหสภาขุนนางมีความเปนประชาธิปไตยมากขึ้น ซ่ึงการปรับเปลี่ยนสภาขุนนางในครั้งนี้ไมไดเนนที่การเปลี่ยนแปลงอํานาจหนาที่ของเหลาขุนนาง แตเนนที่องคประกอบของสภาขุนนาง กลาวคือ พระราชบัญญัติสภาขุนนาง ป 1999 บัญญัติใหลดจํานวนของสมาชิกสภาขุนนางและใหยกเลิกสมาชิกประเภทขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) และในชวงของการเปลี่ยนผานก็ไดมีการถกเถียงกันวาสมาชิกสภาขุนนางควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือบางสวน หรือควรมาจากการแตงตั้งเชนเดิม

การปฏิรูปสภาขุนนางเกิดจากแนวคิดที่ตองการใหสภาแหงนี้เปนสภาที่ชวยเติมเต็มงานของสภาสามัญใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายเพื่อทําหนาที่ตรวจสอบและแกไขกฎหมายใหมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อยางไรก็ตาม ในทายที่สุดสมาชิกสภาขุนนางยังคงมาจากการแตงตั้ง และกําหนดใหมีการเลือกสมาชิกสภาขุนนางสืบเชื้อสายบางสวนใหดํารงตําแหนงสมาชิกสภาขุนนางตอไป แตไมสามารถสืบทอดความเปนสมาชิกใหแกทายาทได ดังนั้นปจจุบันสภาขุนนางจึงมีจํานวนทั้งหมด 750 คน1 ซ่ึงแบงเปนประเภทไดดังนี้

1 ขอมูลจากเวบไซตรัฐสภาอังกฤษ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2550

Page 7: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

4

1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) ปจจุบันคงเหลือ 92 คน กอนการประกาศใช พระราชบัญญัติสภาขุนนาง ป 1999 ขุนนางประเภทนี้สามารถสืบทอดสมาชิกภาพใหแกทายาทของตนเองได

2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) จํานวน 606 คน เปนขุนนางที่ไดรับการแตงตั้งใหเปนสมาชิกสภาขุนนางตลอดชีพ แตไมสามารถสืบทอดสมาชิกภาพใหแกทายาทได การแตงตั้งขุนนางตลอดชีพโดยสวนใหญ เปนไปเพื่อใหรางวัลสําหรับบุคคลที่ทําประโยชนใหแกสาธารณะ เชน เคยดํารงตําแหนงเปนรัฐมนตรี อยางไรก็ตาม สมาชิกประเภทนี้สามารถลาออกจากการเปนสมาชิกสภาขุนนางได

3. ขุนนางโดยตําแหนงที่เปนนักบวชสมณศักดิ์ (Archbishops and Bishops) จํานวน 26 คน ซ่ึงเปนจํานวนที่กําหนดไวแนนอน สมาชิกประเภทนี้ไมสามารถสืบทอดสมาชิกภาพของตนใหแกทายาทได แตจะดํารงตําแหนงไดตราบเทาที่ตนอยูในสมณศักดิ์ทางศาสนจักร

4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) คือขุนนางฝายกฎหมาย มีหนาที่ใหคําปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและทําหนาที่เปนตุลาการศาลสูงสุดของประเทศ เนื่องดวยอังกฤษยังไมมีศาลฎีกา สําหรับขุนนางประเภทนี้จะดํารงสมาชิกภาพตลอดชีพและไดรับเงินเดือนในขณะที่ขุนนางประเภทอื่นๆ ไมไดรับเงินเดือน แตไดรับเพียงสวัสดิการ

อํานาจหนาท่ีของสภาขุนนาง มีดังนี้ คือ1. ดานนิติบัญญัติ คือการพิจารณาและแกไขรางพระราชบัญญัติที่ผานการพิจารณาจาก

สภาสามัญ แตสภาขุนนางไมสามารถแกไขรางพระราชบัญญัติเกี่ยวดวยการเงิน เนื่องจากราง พระราชบัญญัติประเภทนี้อยูในความรับผิดชอบของสภาสามัญเทานั้น นอกจากนี้สมาชิกสภา ขุนนางยังมีหนาที่พิจารณาเรื่องสําคัญๆ เกี่ยวกับกฎหมายของสหภาพยุโรป (European Union) ที่อังกฤษเขาเปนสมาชิกดวย

2. ดานตุลาการ สภาขุนนางของอังกฤษทําหนาที่เปนศาลสูงสุดของประเทศ เนื่องจากอังกฤษยังไมมีศาลสูงสุด ผูทําหนาที่เปนตุลาการคือขุนนางกฎหมาย โดยพิจารณาคดีแพงใน สหราชอาณาจักรและคดีอาญาในอังกฤษ เวลส และไอรแลนดเหนือ แตตอไปอํานาจหนาที่นี้จะโอนไปเปนของศาลสูงสุด ที่กําลังจะกอตั้งขึ้นในป 2009

3. การตรวจสอบการบริหารราชการแผนดินของฝายบริหาร สมาชิกสภาขุนนางตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล โดยการตั้งกระทูถามและวิจารณการทํางานของรัฐบาล แตไมมีสิทธิลงมติ ไววางใจหรือไมไววางใจรัฐบาล

Page 8: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

5

คณะกรรมาธิการ (Committees)คณะกรรมาธิการในสภาสามัญและสภาขุนนางมีบทบาทสําคัญอยางยิ่งในการปฏิบัติงาน

ดานนิติบัญญัติ อาทิ การพิจารณารางพระราชบัญญัติ การตรวจสอบนโยบายและการบริหาร ราชการแผนดินของรัฐบาล เปนตน

ในสมัยประชุมป 2006–2007 ไดมีการเปลี่ยนชื่อคณะกรรมาธิการในสภาสามัญ เนื่องจากกอนหนานี้คณะกรรมาธิการกลั่นกรอง (Select Committees) ทําหนาที่เปนคณะกรรมาธิการสามัญ ในขณะที่คณะกรรมาธิการสามัญ (Standing Committees) สวนใหญทําหนาที่เปนคณะกรรมาธิการวิสามัญ ดังนั้น จึงไดมีการเปลี่ยนชื่อเรียกคณะกรรมาธิการใหสอดคลองกับหนาที่และภารกิจ ปจจุบันสภาสามัญจึงมีคณะกรรมาธิการทั่วไป (General Committees) และคณะกรรมาธิการ กล่ันกรอง 2

คณะกรรมาธิการทั่วไป (General Committees)คณะกรรมาธิการทั่วไปคือคณะกรรมาธิการประจําสภา (Standing Committee) ซ่ึงไดมีการ

เปลี่ยนชื่อเรียกในสมัยประชุมป 2006-2007 คณะกรรมาธิการทั่วไปมีอํานาจในการพิจารณารางพระราชบัญญัติมหาชน ซ่ึงคณะกรรมาธิการทั่วไปที่ทําหนาที่นี้เรียกวาคณะกรรมาธิการพิจารณารางพระราชบัญญัติมหาชน (Public Bills Committees) สวนคณะกรรมาธิการทั่วไปคณะอื่นๆ เชน คณะกรรมาธิการสก็อตแลนด คณะกรรมาธิการเวลส และคณะกรรมาธิการไอรแลนดเหนอื มีหนาที่ในการอภิปรายและพิจารณาเรื่องตางๆ ที่รับผิดชอบ และทํารายงานพรอมเสนอขอแนะนําตางๆ ในการนี้คณะกรรมาธิการทั่วไปอาจเรียกหลักฐานจากหนวยงานภาครัฐ หรือเรียกเจาหนาที่ของรัฐและผูเชี่ยวชาญภายนอกรัฐสภามาใหขอมูลได

คณะกรรมาธิการประเภทนี้มีเฉพาะในสภาสามัญเทานั้น ในสภาขุนนาง การพิจารณารางพระราชบัญญัติในขั้นกรรมาธิการ จะเปนการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการเต็มสภา

คณะกรรมาธิการกล่ันกรอง (Select Committee)คณะกรรมาธิการกลั่นกรองคือ คณะกรรมาธิการเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องใด

เร่ืองหนึ่งโดยเฉพาะ เม่ือทําหนาที่เสร็จแลวก็จะหมดสภาพไป- คณะกรรมาธิการกลั่นกรองในสภาสามัญ

จํานวนของคณะกรรมาธิการมีเทากับจํานวนกระทรวงของฝายบริหาร ทั้งนี้เพื่อใหแตละคณะกรรมาธิการทําหนาที่ตรวจสอบและรายงานผลการปฎิบัติงานและนโยบายของ

2 http://www.parliament.uk/documents/upload/l06.pdf เขาสูขอมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2550

Page 9: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

6

กระทรวงที่รับผิดชอบ โดยคณะกรรมาธิการมีหนาที่รวบรวมหลักฐานที่เปนลายลักษณอักษรและเรียกบุคคลมาสอบถามเพื่อทํารายงานสงสภาสามัญ โดยปกติแลวเมื่อรัฐบาลไดรับรายงานและขอเสนอแนะจากคณะกรรมาธิการกลั่นกรอง รัฐบาลจะดําเนินการแกไขปรับปรุงงานของตนภายใน 60 วัน- คณะกรรมาธิการกลั่นกรองในสภาขุนนาง

คณะกรรมาธิการกลั่นกรองในสภาขุนนางมิไดทําหนาที่เปนเงาของกระทรวงตางๆ ดังเชนคณะกรรมาธิการกลั่นกรองในสภาสามัญ แตทําหนาที่ตรวจสอบเรื่องเฉพาะ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของสมาชิกสภาขุนนางแตละคน และใชเวลาในการตรวจสอบนานกวาคณะกรรมาธิการกลั่นกรองในสภาสามัญ ปจจุบันสภาขุนนางมีคณะกรรมาธิการ กล่ันกรอง 4 คณะ คือ

The European Union CommitteeThe Science and Technology CommitteeThe Constitution CommitteeThe Economic Affairs Committeeอยางไรก็ตาม อาจมีการตั้งคณะกรรมาธิการกลั่นกรองชั่วคราวเพิ่มเติมจากขางตน

เพื่อพิจารณาเรื่องสาํคัญๆ โดยเฉพาะ

คณะกรรมาธิการรวม (Joint Committee)คณะกรรมาธิการรวมประกอบดวยสมาชิกทั้งสภาสามัญและสภาขุนนาง มีประธานคณะ

กรรมาธิการหนึ่งคน โดยจะเปนสมาชิกสภาใดก็ได คณะกรรมาธิการรวมทําหนาที่เชนเดียวกับคณะกรรมาธิการกลั่นกรอง คือทําหนาที่ตรวจสอบในเรื่องเฉพาะดาน อยางเชน คณะกรรมาธิการรวมสิทธิมนุษยชนรับผิดชอบเรื่องสิทธิของประชาชนการกระทําละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการรวมบางคณะตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงคเฉพาะ เชน การพิจารณารางกฎหมาย ฉบับใดฉบับหนึ่ง อาทิ รางพระราชบัญญัติวาดวยการพนัน รางพระราชบัญญัติวาดวย stem cell เปนตน

Page 10: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

7

ภารกิจที่สําคัญของรัฐสภาอังกฤษ

การตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการแผนดินของฝายบริหาร สภาขุนนางและสภาสามัญตางมีอํานาจหนาที่ในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี โดยมีวิธีการดังนี้ คือ1. การตั้งกระทูถาม2. การอภิปราย3. การตรวจสอบโดยคณะกรรมาธิการ

1. การตั้งกระทูถามสมาชิกสภาสามัญและสมาชิกสภาขุนนางมีสิทธิตั้งกระทูถามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี

และเจาหนาที่ของรัฐ เพื่อใหผูถูกตั้งกระทูถามไดอธิบายและชี้แจงการปฏิบัติงานในหนาที่ของตนในสภาขุนนาง วาระกระทูถาม (Question Time) คือ 30 นาทีแรกของการประชุมสภา

ขุนนางในวันจันทรและวันพฤหัสบดี สวนวันอังคารและวันพุธ วาระกระทูถามคือ 40 นาทีแรกของการประชุมสภาขุนนาง กระทูถามของสภาขุนนาง ไดแก Starred Question คือกระทูถามที่ไดบรรจุอยูในวาระการประชุม (Order Paper) และ Unstarred Question เปนกระทูถามเกี่ยวกับเรื่องที่สําคัญและอยูในความสนใจของสาธารณะ ซ่ึงปกติกระทูถามประเภทนี้จะเปดโอกาสใหมีการอภิปรายไดส้ันๆ (ประมาณ1.5 ชม.) และสวนใหญการตั้งและตอบกระทูถามแบบ Unstarred Question ใชเวลาในชวงทายของวันประชุมหรือในระหวางพักรับประทานอาหารเย็น

ในสภาสามัญ วาระกระทูถาม (Question Time) คือช่ัวโมงแรกของการประชุมสภาสามัญในแตละวัน คือวันจันทรถึงวันพฤหัสบดี ซ่ึงในวันจันทร อังคารและพฤหัสบดีเปนการตั้งกระทูถามรัฐมนตรี สวนวันพุธเปนการตั้งกระทูถามนายกรัฐมนตรี ประเภทกระทูถามของสภาสามัญมี ดังนี้

กระทูถามสด (Oral Question) คือกระทูที่ถามและตอบโดยปากเปลาในที่ประชุมสภาสามัญ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไวในแตละวัน สําหรับขั้นตอนในการตั้งกระทูถามสด สมาชิกที่ตองการตั้งกระทูถามสดตองยื่นความจํานงลวงหนา 3 วัน หากเปนการตั้งกระทูถามเลขาธิการรัฐ (Secretary of State) ของไอรแลนด สก็อตแลนดและเวลส จะตองยื่นความจํานงลวงหนา 4 วัน และหลังจากนั้นจะมีการเลือกกระทูถามโดยการ random หรือ shuffle วากระทูถามสดของสมาชิกคนใดจะไดถามในที่ประชุมสภาสามัญ

เมื่อสมาชิกคนใดไดตั้งกระทูถามสดในที่ประชุมสภา สามารถตั้งกระทูถามเสริม (Supplementary Question) ในเรื่องที่เกี่ยวของกันกับกระทูถามแรกได และสมาชิกคนอื่นๆ ยอมตั้งกระทูถามเสริมไดเชนกันหากไดรับอนุญาตจากประธานสภาสามัญ สวนกระทูถามสดขอใดที่ไดยื่น

Page 11: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

8

ความจํานงไวแลวแตไมไดยกขึ้นมาถามในที่ประชุมสภาสามัญ ก็จะใหมีการตอบกระทูถามนั้นเปนลายลักษณอักษรแลวตีพิมพในรายงานการประชุม หรือ Hansard

กระทูถามดวน (Urgent Question/Private Notice Question) กระทูถามดวนเปนกระทูถามที่ถามรัฐมนตรีในเรื่องปญหาสาธารณะและมีความเรงดวน ซ่ึงกระทูถามประเภทนี้ไมจําเปนตองยื่นความจํานงลวงหนา แตตองแจงตอรัฐมนตรีผูดูแลในเรื่องนั้นและแจงตอประธานสภาสามัญวาตองการตั้งกระทูถามดวนกอนเปดการประชุม โดยประธานสภาสามัญจะเปนผูตัดสินวาจะใหมีการตั้งกระทูถามดวนหรือไม ซ่ึงปกติจะเปดโอกาสใหตั้งกระทูถามดวนหลังจากที่ไดมีการถามตอบกระทูถามสดแลว

เมื่อมีการตั้งกระทูถามดวนในที่ประชุมสภาสามัญแลว สมาชิกผูถามมีสิทธิตั้งกระทูถามเสริมไดและสมาชิกคนอื่นๆ ยอมตั้งกระทูถามเสริมไดเชนกัน โดยจะตองเปนเรื่องเดียวกันกับ กระทูถามแรก

กระทูถามแบบ Cross-cutting Question คือกระทูถามสดที่ถามตอบในหองประชุม Westminster Hall ซ่ึงเปนหองสําหรับการประชุมและอภิปรายอีกหองหนึ่งของสมาชิกสภาสามัญการประชุมในหองนี้มีขึ้นสัปดาหละสามวัน ในการตั้งกระทูถาม Cross-cutting Question มีขั้นตอนเชนเดียวกับกระทูถามสด คือสมาชิกตองยื่นความจํานงลวงหนาเพื่อมีการคัดเลือกวากระทูถามของสมาชิกคนใดที่จะไดสิทธิถามในหองประชุม

กระทูถามลายลักษณอักษร (Written Question) กระทูถามลายลักษณอักษรคือกระทูถามที่ตองการคําตอบที่มีรายละเอียดมากและเปนการตอบกระทูถามเปนลายลักษณอักษร สมาชิกสามารถยื่นกระทูถามลายลักษณอักษรไดดวยตนเองหรือสงทางไปรษณียถึงสํานักระเบียบวาระการประชุม หรือสงทางอินเตอรเน็ต โดยระบบ e-tabling system การตอบกระทูถามประเภทนี้ จะตอบเปนลายลักษณอักษรและสงคําตอบนั้นไปใหสมาชิกผูตั้งกระทูถามดวย และจะมีการตีพิมพคําตอบนั้นใน Hansard และใน Website ของรัฐสภาดวย

เมื่อส้ินสุดสมัยประชุม กระทูถามที่ยังไมไดตอบจะตกไป แตกระทูถามบางสวนก็จะไดรับคําตอบวา “will write” ซ่ึงหมายความวาเปนกระทูถามที่ทางรัฐบาลจะพยายามตอบใหใน ภายหลัง หรือกระทูถามขอใดที่ไมไดรับคําตอบ สมาชิกจะบรรจุกระทูถามนั้นในวาระการประชุมของสมัยประชุมหนาก็ได

Page 12: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

9

2. การอภิปรายการอภิปรายเปนหนาที่สําคัญประการหนึ่งของทั้งสองสภา โดยเฉพาะสภาสามัญซึ่งนับได

วาเปนเวทีแหงการอภิปราย ทั้งสองสภามีสิทธิอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายและการบริหารประเทศของรัฐบาล อภิปรายเกี่ยวกับรางกฎหมาย และเรื่องสําคัญอ่ืนๆในระดับประเทศและระหวางประเทศ การอภิปรายจึงเปนการแสดงความคิดเห็นแบงปนขอเสนอแนะในเรื่องตางๆ ระหวางสมาชิก นอกจากนี้ การอภิปรายยังเปนกระบอกเสียงใหกับเขตที่สมาชิกสภาสามัญดูแลอยู ในขณะที่สมาชิกสภาขุนนางก็สามารถใชโอกาสนี้ในการยกประเด็นสาธารณะที่ตนเองสนใจขึ้นอภิปรายในที่ประชุมได

ขั้นตอนการอภิปรายเริ่มตนโดยสมาชิกสภาสามัญ/ขุนนางเสนอญัตติตอประธานสภาสามัญ/ขุนนาง เมื่อประธานสภาสามัญ/ขุนนาง อนุญาตแลวก็จะนําญัตตินั้นเขาที่ประชุมสภาเพื่อใหสมาชิกไดอภิปราย ซ่ึงจะมีการบันทึกการอภิปรายและการลงมติไวใน Hansard ทั้งในรูปแบบของเอกสารกระดาษและอิเลคทรอนิกส

การอภิปรายในสภาสามัญ ประธานสภาสามัญเปนประธานในการอภิปราย โดยทําหนาที่เรียกสมาชิกขึ้นอภิปรายและควบคุมการอภิปรายใหเปนไปตามระเบียบและธรรมเนียมปฏิบัติ สวนสมาชิกสภาสามัญที่ตองการอภิปราย ตองสงสัญญาณใหประธานสภาไดทราบ โดยการยืนขึ้นหรืออาจแจงเปนลายลักษณอักษรลวงหนา แตการแจงลวงหนานี้ไมเปนการรับประกันไดวาสมาชิก ผูนั้นจะไดรับอนุญาตใหอภิปรายในสภาหรือไม โดยปกติแลวสมาชิกสภาสามัญจะขึ้นอภิปรายไดคนละหนึ่งครั้ง แตอาจอภิปรายสอดแทรกในระหวางที่สมาชิกอ่ืนกําลังอภิปรายอยู เพื่อเปนการแนะนําหรือแสดงความคิดเห็นแกผูที่กําลังอภิปรายอยูนั้น หากที่ประชุมตองการมติในเรื่องที่อภิปราย ก็จะจัดใหมีการลงมติที่เรียกวา Division โดยยึดหลักเสียงขางมาก การลงมติของสภาสามัญเรียกวา Division เนื่องจากในการลงมตินั้น สมาชิกสภาสามัญที่เห็นดวยกับไมเห็นดวยจะเดินแยกกันไปคนละหอง ดังนั้นจึงเรียกการลงมติวา Division สําหรับการอภิปรายเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยไมมีการลงมติ เรียกวา Adjourment Debates

การอภิปรายในสภาขุนนาง ประธานสภาขุนนางเปนประธานในการอภิปรายและมีหนาที่ควบคุมการอภิปรายใหเปนไปดวยความเรียบรอย สมาชิกสภาขุนนางจะขึ้นอภิปรายไดคนละหนึ่งคร้ัง เวนแตตองการอธิบายสิ่งใดเพิ่มเติม ทั้งนี้ระยะเวลาการอภิปรายในสภาขุนนางจะสั้นกวาการอภิปรายในสภาสามัญ และจะไมมีการออกเสียงลงมติตอเรื่องที่อภิปราย

3. การตรวจสอบโดยคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการในสภาสามัญและสภาขุนนางมีหนาที่ตรวจสอบนโยบายและการปฎิบัติ

งานในหนาที่ของฝายบริหาร โดยสามารถเรียกหลักฐานหรือบุคคลเพื่อมาใหขอมูลหรือสอบถามไดและมีหนาที่ทํารายงานเพื่อเสนอความเห็นและขอแนะนําใหฝายบริหารนําไปปรับปรุงแกไข

Page 13: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

10

การพิจารณาคดี (อํานาจหนาที่เฉพาะของสภาขุนนาง)สภาขุนนางทําหนาที่เปนศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักร โดยสมาชิกที่ทําหนาที่เปน

ตุลาการคือขุนนางกฎหมาย ซ่ึงมีหนาที่พิจารณาและตัดสินคดีที่มีการยื่นอุทธรณ การตัดสินคดีแพงทั่วสหราชอาณาจักรของขุนนางกฎหมายถือเปนที่สุด แตสําหรับคดีอาญานั้น การตัดสินของขุนนางกฎหมายถือเปนที่สุดเฉพาะคดีอาญาในอังกฤษ เวลสและไอรแลนดเหนือ

ในการยื่นอุทธรณนั้น ผูยื่นอุทธรณตองแสดงเหตุผลไดวาทําไมขุนนางกฎหมายควรนําคําอุทธรณนั้นขึ้นสูสภาขุนนาง ในการพิจารณาคําอุทธรณหนึ่งๆ ขุนนางกฎหมาย 3 คนจะรวมกันพิจารณาวาควรนําคําอุทธรณขึ้นสูสภาขุนนางหรือไม สวนการพิจารณาคดีจะเปนการทําหนาที่รวมกันของขุนนางกฎหมาย 5 คน โดยจะดําเนินการในหองกรรมาธิการหรือบางครั้งดําเนินการในที่ประชุมสภาขุนนาง ซ่ึงสวนใหญการพิจารณาคดีใชเวลาประมาณสองวันครึ่ง

อยางไรก็ตาม ในป 2009 จะมีการจัดตั้งศาสลสูงสุดแหงสหราชอาณาจักร หนาที่ตุลาการพิจารณาและพพิากษาคดีจะโอนไปเปนของศาลสูงสูด

การตราพระราชบัญญัติการตราพระราชบัญญัติของรัฐสภาอังกฤษเริ่มตนจากการ

เสนอรางพระราชบัญญัติและมีการพิจารณารางพระราชบัญญัติดวยกันสามวาระ เมื่อผานความเห็นชอบของทั้งสองสภาแลวก็จะนํารางพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกลาถวายพระมหากษัตริยเพื่อทรงเห็นชอบและประกาศบังคับใชเปนกฎหมาย

รางพระราชบัญญัติที่เสนอตอรัฐสภา มีสามประเภท คือ1. รางพระราชบัญญัติมหาชน (Public Bill)2. รางพระราชบัญญัติเอกชน (Private Bill)3. รางพระราชบัญญัติไฮบริด (Hybrid Bill)

1. รางพระราชบัญญัติมหาชนรางพระราชบัญญัติมหาชนเปนรางกฎหมายที่มีผลตอประชาชนโดยสวนรวม ซ่ึงสวนใหญ

รางพระราชบัญญัติที่เขาสูการพิจารณาของรัฐสภาอังกฤษคือรางพระราชบัญญัติประเภทนี้ โดยมีรัฐบาลเปนผูเสนอ แตถาสมาชิกสภาสามัญหรือสมาชิกสภาขุนนางที่มิไดดํารงตําแหนงรัฐมนตรีเปนผูเสนอ เรียกรางพระราชบัญญัติประเภทนี้วา Private Member’s Bill

การตราพระราชบัญญัติมหาชน มีขั้นตอนดังนี้วาระที่ 1 เปนขั้นตอนการเสนอรางพระราชบัญญัติ โดยไมมีการอภิปราย

Page 14: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

11

วาระที่ 2 เปนการอภิปรายโดยทั่วไปเพื่อลงมติรับหรือไมรับรางพระราชบัญญัติ หากมีมติรับรางพระราชบัญญัติ จะสงรางพระราชบัญญัตินั้นใหคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวของพิจารณาโดยละเอียดตอไป หากไมมีมติรับรางพระราชบัญญัติ รางพระราชบัญญัติฉบับนั้นเปนอันตกไป

- ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ รางพระราชบัญญัติที่ผานวาระที่ 2 จะนําเขาสูการพิจารณาของคณะกรรมาธิการที่

รับผิดชอบ เพื่อพิจารณาลงรายละเอียดทีละมาตรา ซ่ึงในขั้นตอนนี้จะมีการแกไขบทบัญญัติในรางพระราชบัญญัติ แตทั้งนี้อาจมีการพิจารณารางพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการเต็มสภา

- ขั้นรายงาน เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาแกไขรางพระราชบัญญัติเรียบรอยแลว จะจัดทํารายงาน

และนําเสนอรางพระราชบัญญัติที่แกไขใหสภาสามัญตอไปวาระที่ 3 เปนการพิจารณารางพระราชบัญญัติในขั้นสุดทายในสภาสามัญ เพื่อลงมติเห็น

ชอบหรือไมเห็นชอบตอรางพระราชบัญญัติมหาชนนั้น หากสภาสามัญใหความชอบตอราง พระราชบัญญัติดังกลาว จะสงรางพระราชบัญญัตินั้นไปใหสภาขุนนางพิจารณาตอไป

รางพระราชบัญญัติที่ผานวาระที่ 3 ของสภาสามัญแลว จะเขาสูกระบวนการพิจารณารางพระราชบัญญัติของสภาขุนนาง :

ถาสภาขุนนางพิจารณาแลวเห็นชอบดวย จะนํารางพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกลาฯ ถวายพระ มหากษัตริย เพื่อทรงพระราชทานความเห็นชอบ (Royal Assent)

ถาสภาขุนนางพิจารณาแลวเห็นควรมีการแกไขเพิ่มเติม ก็จะสงรางพระราชบัญญัตินั้นคืนแกสภาสามัญ

- ถาสภาสามัญเห็นชอบตามสภาขุนนาง จะนํารางพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกลาฯ ถวายพระมหากษัตริย เพื่อทรงพระราชทานความเห็นชอบ

- ถาสภาสามัญไมเห็นชอบตามสภาขุนนาง สภาสามัญจะสงรางพระราชบัญญัตินั้นใหสภาขุนนางพิจารณาอีกครั้ง ถาสภาขุนนางยังคงยืนยันเชนเดิม รางพระราชบัญญัตินั้นจะตกไป หรือสภาสามัญอาจใชอํานาจในการเสนอรางพระราชบัญญัติใหพระมหากษัตริย พระราชทานความเห็นชอบไดภายใน 1 ป แมสภาขุนนางจะไมมีมติเห็นชอบก็ตาม

สําหรับรางพระราชบัญญัติเกี่ยวดวยการเงินมีขั้นตอนการพิจารณาเชนเดียวกับรางพระราชบัญญัติมหาชน แตในขั้นตอนของสภาขุนนางนั้น สภาขุนนางไมมีอํานาจในการแปรญัตติขอแกไขรางพระราชบัญญัติเกี่ยวดวยการเงิน แตมีหนาที่ใหความเห็นชอบ (Consent) ยืนตามสภาสามัญเทานั้น

Page 15: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

12

2. รางพระราชบัญญัติเอกชนรางพระราชบัญญัติเอกชนคือรางกฎหมายที่มีผลตอเฉพาะบุคคลหรือกลุมบุคคล เชนองคกร

ตางๆ และผูเสนอรางกฎหมายประเภทนี้ ไดแกองคกรตางๆ หนวยงานทองถ่ิน หรือบริษัทเอกชน ดังนั้น รางพระราชบัญญัติเอกชนจึงตองนําเผยแพรใหสาธารณชนไดรับทราบและใหผูที่สนใจหรือที่มีประโยชนไดเสียสามารถคัดคานหรือโตแยงได รวมทั้งสามารถยื่นอุทธรณตอรัฐสภาเพื่อใหมีการพิจารณาทบทวนหรือตรวจสอบ

การตราพระราชบัญญัติเอกชน มีขั้นตอนดังนี้การเสนอรางพระราชบัญญัติเอกชนนั้น ใหเสนอตอสํานักรางพระราชบัญญัติเอกชน

ซ่ึงแตกตางจากการเสนอรางพระราชบัญญัติมหาชนที่เสนอโดยตรงตอสภาสามัญ และเนื่องจากรางพระราชบัญญัติเอกชนมีผลกระทบตอบุคคลหรือกลุมบุคคล จึงตองมีการตีพิมพขอเสนอราง พระราชบัญญัติเอกชนทุกฉบับในราชกิจจากรุงลอนดอน (London Gazette) และในหนังสือพิมพทองถ่ิน เพื่อใหประชาชนไดรับทราบ

สําหรับขั้นตอนการพิจารณารางพระราชบัญญัติเอกชนนั้น มีขั้นตอนคลายคลึงกับพระราชบัญญัติมหาชน แตมีความแตกตางกันในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ กลาวคือ หากรางพระราชบัญญัติเอกชนมีบุคคลหรือกลุมบุคคลโตแยงหรือคัดคาน ก็จะตองสงรางพระราชบัญญัตินั้นไปใหคณะกรรมาธิการพระราชบัญญัติเอกชนพิจารณา แตถาไมมีการโตแยงหรือคัดคาน ก็จะสงรางพระราชบัญญัตินั้นไปใหคณะกรรมาธิการอีกคณะหนึ่ง ซ่ึงเรียกวา Unopposed Private Bill Committee พิจารณา ซ่ึงคณะกรรมาธิการชุดนี้จะตรวจสอบวารางพระราชบัญญัติเอกชนนั้นขัดตอประโยชนสาธารณะหรือไม

เมื่อรางพระราชบัญญัติผานขั้นตอนของคณะกรรมาธิการแลว ก็จะสงตอไปใหคณะ กรรมาธิการเต็มสภาพิจารณา เมื่อสภาสามัญลงมติเห็นชอบแลว ก็จะสงพระราชบัญญัตินั้นใหสภาขุนนางพิจารณาตอไป ซ่ึงมีขั้นตอนเดียวกับรางพระราชบัญญัติมหาชน

พระราชบัญญัติฉบับแรก ป 1497 ปจจุบันเก็บรักษาไวที่เวสตมินสเตอร

Page 16: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

13

3. รางพระราชบัญญัติไฮบริดรางพระราชบัญญัติไฮบริดเปนรางพระราชบัญญัติที่ลักษณะผสมระหวางพระราชบัญญัติ

มหาชนกับรางพระราชบัญญัติเอกชน คือเปนรางพระราชบัญญัติที่มีผลตอประชาชนโดยทั่วไปในขณะที่ก็มีผลตอบุคคลหรือกลุมบุคคลโดยเฉพาะเชนกัน รางพระราชบัญญัติไฮบริดจะเสนอไดก็แตโดยรัฐบาล ถาบุคคลหรือกลุมบุคคลไมเห็นดวยตอรางกฎหมายดังกลาว สามารถยื่นคํารองเพื่อ คัดคานหรือใหมีการพิจารณาทบทวนได กอนที่จะเขาสูขั้นตอนการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการ

การตราพระราชบัญญัติไฮบริด มีขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนแรกของการตราพระราชบัญญัติไฮบริด คือการพิจารณาวารางกฎหมายที่เสนอมานั้น

เปนพระราชบัญญัติไฮบริดหรือไม ซ่ึงสํานักงานรางพระราชบัญญัติมหาชนจะเปนผูทําหนาที่พิจารณา เมื่อพิจารณาแลวเห็นวารางกฎหมายนั้นเปนรางพระราชบัญญัติไฮบริด หนวยงาน ดังกลาวจะสงรางพระราชบัญญัตินั้นไปใหผูตรวจสอบรางพระราชบัญญัติเอกชนไดตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง

ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการกลั่นกรอง (Select Committee) ทําหนาที่พิจารณาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติไฮบริด เมื่อมีการแกไขเพิ่มเติมเรียบรอยแลว จะสงรางพระราชบัญญัตินั้นไปใหคณะกรรมาธิการเต็มสภาไดพิจารณา เมื่อไดรับความเห็นชอบจากสภาสามัญแลว ก็จะเขาสูขั้นตอนการพิจารณาของสภาขุนนาง ซ่ึงมีขั้นตอนเชนเดียวกับรางพระราชบัญญัติมหาชน

Page 17: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

14

สํานักงานเลขาธิการสภาสามัญ (The Department of the Clerk of the House)

สํานักงานเลขาธิการสภาสามัญ คือสํานักงานที่สนับสนุนงานดานนิติบัญญัติแกสภาสามัญ ซ่ึงทําหนาที่บริหารงานทั่วไปและใหบริการดานตางๆ แกสมาชิกสภาสามัญ มีเลขาธิการสภาสามัญ (The Clerk of the House) เปนผูบังคับบัญชาสูงสุดของสํานักงาน

สํานักงานเลขาธิการสภาสามัญ ประกอบดวย 11 สํานัก/หนวยงาน

1. สํานักระเบียบวาระการประชุม (Table Office)ทําหนาที่หลักคือจัดเตรียมระเบียบวาระการประชุมของสภาสามัญ และรับผิดชอบ

เกี่ยวกับงานกระทูถามและการเสนอญัตติใหเปนไปตามระเบียบขอบังคับการประชุมและธรรมเนียมปฏิบัติ2. สํานักรางพระราชบัญญัติมหาชน (Public Bill Office)

ทําหนาที่ตรวจสอบรางพระราชบัญญัติมหาชนที่คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาสามัญเปนผูเสนอ และใหบริการสนับสนุนงานรางและแกไขกฎหมายแกสมาชิกสภาสามัญ3. สํานักรางพระราชบัญญัติเอกชน (Private Bill Office)

ทําหนาที่ตรวจสอบรางพระราชบัญญัติเอกชนที่เสนอโดยบุคคลหรือกลุมบุคคลในภาคเอกชน และทําหนาที่สนับสนุนงานของคณะกรรมาธิการในการพิจารณารางพระราชบัญญัติเอกชน4. สํานักผูแทนดานนิติบัญญัติ (Delegated Legislation Office)

ทําหนาที่สนับสนุนคณะกรรมาธิการปฏิรูประเบียบและการตรวจสอบของยุโรป คณะกรรมาธิการรวม/คณะกรรมาธิการกลั่นกรองที่ดูแลเร่ืองกฎหมายอุปกรณ และคณะกรรมาธิการรวมดานสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสนับสนุนงานของสํานักรัฐสภาแหงชาติที่กรุงบรัสเซลส ประเทศเบลเยยีม5. สํานักวารสาร (Journal Office)

ทําหนาที่จัดพิมพรายงานการประชุมและการออกเสียงมติของสภาสามัญ รวมทั้ง เผยแพรกระบวนการดําเนินงานตางๆ ในวารสารของสภาสามัญ นอกจากนี้ สํานักวารสารยังรับผิดชอบในการทํารายงานเกี่ยวกับกระบวนการและขอเสนอแนะเกี่ยวกับงานของสภาสามัญ รวมทั้งทบทวนแกไขระเบียบขอบังคับการประชุมใหเหมาะสมตามความประสงคของสภาสามัญ และมีหนาที่รับคํารองของสาธารณะและใหคําแนะนําเกี่ยวกับเอกสิทธิ์ รัฐสภา

Page 18: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

15

6. สํานักกรรมาธิการ (Committee Office)สํานักกรรมาธิการมีเจาหนาที่มากที่สุด เนื่องจากตองทําหนาที่สนับสนุนและใหบริการ

แกคณะกรรมาธิการในสภาสามัญ เจาหนาที่ของสํานักกรรมาธิการทําหนาที่เปนเลขานุการของคณะกรรมาธิการและเตรียมการประชุม

ในสํานักกรรมาธิการมีหนวย Scrutiny Unit ซ่ึงมีหนาที่ใหคําแนะนําเกี่ยวกับการใชจายงบประมาณและการรางกฎหมาย โดยสวนใหญเจาหนาที่ของหนวยดังกลาวเปนบุคคลภายนอกสภาสามัญที่มีความเชี่ยวชาญดานบัญชี สถิติและกฎหมาย7. สํานักตางประเทศ (Overseas Office)

ทําหนาที่ติดตอประสานงานกับรัฐในเครือจักรภพอังกฤษและรัฐสภาตางประเทศ รวมทั้งใหบริการขอมูลตางๆ เกี่ยวกับระเบียบและการปฏิบัติของรัฐสภาอังกฤษ นอกจากนี้ เจาหนาที่ของสํานักตางประเทศยังมีหนาที่เปนเลขานุการของผูแทนในการเขารวมประชุมของคณะกรรมาธิการยุโรป สหภาพยุโรปตะวันตก (Western European Union) องคการสนธิสัญญาปองกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) และองคกรความรวมมอืตางๆ ในยุโรป8. สํานักบริการกฎหมาย (Legal Service Office)

ทําหนาที่ใหคําแนะนําดานกฎหมายแกประธานสภาสามัญ คณะกรรมาธิการและหนวยงานภายในสํานักงาน ทั้งในเรื่องการทําสัญญา การจางงาน กฎหมายเกี่ยวกับความรวมมือและความปลอดภัยเกี่ยวกับสุขภาพ เปนตน9. หนวยสถานีโทรทัศนและวิทยุ (Broadcasting Unit)

มีหนาที่ถายทอดการประชุมสภาสามัญและคณะกรรมาธิการ เก็บรักษามวนบันทึกเทปตางๆ และอัดสําเนาเทปการประชุมใหแกหนวยงานตางๆ ของภาครัฐ10. สํานักการออกเสียงลงมติ (Vote Office)

สํานักนี้เพิ่งแยกออกมาจากหอสมุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ป 1993 ปจจุบันมีหนาที่จัดพิมพและเผยแพรเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในสภาสามัญ เอกสารและหนังสืออ่ืนๆ ตามความตองการของสมาชิกสภาสามัญ และรับผิดชอบในการจําหนายหนังสือเกี่ยวกับรัฐสภา11. สํานักเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร (Parliamentary Office of Service and

Technology)สํานักเทคโนโลยีและวิทยาศาสตรมีคณะกรรมการ (Board) ซึ่งประกอบดวยสมาชิก

จากสภาสามัญและสภาขุนนาง โดยมีหนาที่สนับสนุนงานดานเทคโนโลยีและวิทยาศาสตรใหแกทั้งสองสภา

Page 19: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

16

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

พจนาลัย ไชยรังสี และสุรพล ราชกัณทารักษ. การเมืองในสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส,พิมพคร้ังที่ 1. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2541.

พฤทธิสาณ ชุมพล, ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในอังกฤษ, พิมพคร้ังที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2544.

สนธิ เตชานันท, ระบบการเมืองการปกครองของอังกฤษ, พิมพคร้ังที่ 1. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพโอเดียนสโตร, 2529.

สมบัติ ธํารงธัญวงศ, การเมืองอังกฤษ, พิมพคร้ังที่ 5. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพเสมาธรรม, 2548.

ภาษาอังกฤษ

House of Commons Information Office. Parliament Questions Factsheet. [Online].URL : http://www.parliament.uk/documents/upload/p01.pdf (26 April 2007).

House of Commons Information Office. General Committees. [Online].URL : http://www.parliament.uk/documents/upload/l06.pdf (5 June 2007).

House of Commons Information Office. The House of Commons a brief guide. [Online].URL : http://www.parliament.uk/documents/upload/HofCBgEnglish.pdf (10 June 2007).

House of Commons Information Office. The Clerk of the House. [Online].URL : http://www.parliament.uk/documents/upload/g16.pdf (10 June 2007).

House of Lords Information Office. The House of Lords a brief guide. [Online].URL : http://www.parliament.uk/documents/upload/HofLBgEnglish.pdf (30 April 2007).

Parliament Education Unit. Westminster Hall. . [Online].URL : http://www.explore.parliament.uk/Parliament.aspx?id=123&subSection=true(5 July 2007).

Page 20: United Kingdom Parliament · ความเป นมาของรัฐสภาอังกฤษโดยสังเขป 1-6 รัฐสภาอังกฤษในป

17

Politics.co.uk. House of Lords Reform. [Online].URL : http://www.politics.co.uk/issue-briefs/domestic-policy/constitution/house-lords-reform/house-lords-reform-$366545.htm (15 May 2007).

The Stationery Office. The House of Lords : Reform. [Online].URL : http://www.official-documents.gov.uk/document/cm70/7027/7027.pdf(15 May 2007).

UK Parliament. Committees. [Online].URL : http://www.parliament.uk/about/how/committees.cfm (5 July 2007).

UK Parliament. History. [Online]. URL : http://parliament.uk/about/history/institution.cfm(9 February 2007).

UK Parliament. Making Law. [Online].URL : http://www.parliament.uk/about/how/laws/bills.cfm (9 February 2007).

UK Parliament. Daily Business. [Online].URL : http://www.parliament.uk/about/how/business.cfm (9 February 2007).

UK Parliament. Parliament’s role. [Online].URL : http://www.parliament.uk/about/how/role.cfm (9 February 2007).

BBC News Online. Ending 600 years of tradition. [Online].URL : http://news.bbc.co.uk/1/hi/special_report/1999/01/99/lords_reform/235148.stm(5 July 2007).