regis.dusit.ac.th › images › download › 1515990540_มค...  · Web...

Click here to load reader

Transcript of regis.dusit.ac.th › images › download › 1515990540_มค...  · Web...

มคอ.3

1

มคอ.3 หน้า

รายละเอียดของรายวิชา

การสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1

(Mental Health Promotion and Psychiatric Nursing 1)

รหัสวิชา 6063101

สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560

หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต

คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชาพยาบาลศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา6063101การสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1

(Mental Health Promotion and Psychiatric Nursing 1)

2. จำนวนหน่วยกิต2 (2-0-4)

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555)

ประเภทรายวิชากลุ่มวิชาชีพหมวดวิชาเฉพาะ

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาอาจารย์อริยา ดีประเสริฐ/อาจารย์ศิริพรนันทเสนีย์

4.2 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ศิริพรนันทเสนีย์

อาจารย์อริยา ดีประเสริฐ

5. ภาคการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่เรียน ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)ไม่มี

8. สถานที่เรียนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต204/3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ ถนนสิรินธร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กทมฯ. 10700

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2560

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

2.1 จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิต อาการและอาการแสดงของผู้เจ็บป่วยทางจิต สุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ใช้ทฤษฎีทางจิตเวชศาสตร์เพื่อให้การช่วยเหลือด้านการส่งเสริมและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการพยาบาลแก่บุคคลครอบครัว และชุมชน ให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตแนะนำและให้การปรึกษา การให้ความรู้ทางสุขภาพจิตและสามารถบูรณาการงานวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

2.2 วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ ปรับปรุงรายวิชา

เพื่อให้สาระการเรียนรู้มีความทันสมัย และไม่ซ้ำซ้อน ได้นำผลการประเมินจากการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนปีการศึกษา 2559 ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา มาใช้ในการพัฒนารายวิชา โดยให้เพิ่มแบบทดสอบท้ายบททุกหน่วยการเรียน และให้คงการออกข้อสอบท้ายบทไว้ เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนในชั่วโมงนั้น

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

3.1คำอธิบายรายวิชา

แนวคิดและหลักการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต กลุ่มอาการและอาการแสดง ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาลจิตเวช ลักษณะและขอบเขตของการพยาบาลสุขภาพจิต การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการบำบัดทางสุขภาพจิตในบุคคล กลุ่มคน ครอบครัว และชุมชน

Concepts and principles of mental health and psychiatric nursing ; factors influencing mental health and mental illnesses ; psychiatric signs and symptoms ; basic theories of mental health nursing ; characteristics and scope of mental health nursing ; nursing care of clients with mental health and psycho-social health problems ; concepts of mental health promotion and mental health therapy for individuals, groups, families and communities

3.2จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

ปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกภาคทดลอง

การศึกษาด้วยตนเอง

30 ชั่วโมง

ไม่มี

ไม่มี

60 ชั่วโมง

3.3จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

3.3.1 นักศึกษาแจ้งความจำนงกับผู้สอนล่วงหน้าหากต้องการทบทวนเนื้อหาที่ต้องการสอนเสริม

3.3.2 อาจารย์จัดเวลาสำหรับการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นเวลา1 ชั่วโมง / สัปดาห์ โดยแบ่งการจัดอาจารย์ประจำกลุ่มเพื่อดูแลนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อย จำนวนกลุ่มละ 11-12คน โดยแบ่งตามเลขที่ และมีการประกาศแจ้งเวลาที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มสามารถมาขอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ประจำกลุ่มได้ตามความต้องการ ดังนี้ วันพฤหัสบดี เวลา 16.00-17.00 น. และวันศุกร์ เวลา 16.00-17.00 น. ดังนี้

ชื่อ-สกุล อาจารย์

อีเมล

โทรศัพท์

อ.ศิริพร นันทเสนีย์

[email protected]

08-914-59505

อ.อริยา ดีประเสริฐ

[email protected]

08-745-45927

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

การพัฒนาผลการเรียนรู้ในกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตรเมื่อสิ้นสุดรายวิชานี้ นักศึกษาจะมีคุณลักษณะ หรือมีความสามารถดังนี้

ผลการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดรายวิชานี้

วิธีการสอน

วิธีการประเมินผล

4.1 คุณธรรม จริยธรรม

●4.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนา ทฤษฎีจริยศาสตร์ และหลักจริยธรรม สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ

●4.1.2 สามารถควบคุมตนเองได้แยกแยะ ความถูกต้อง และความดี ความชั่วได้

●4.1.3 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และตระหนักในความแตกต่างทางวัฒนธรรม

●4.1.4 มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผลการปฏิบัติงาน

●4.1.5 มีความกตัญญู เสียสละซื่อสัตย์ และมีวินัย

●4.1.6 มีจรรยาบรรณวิชาชิพ และสามารถจัดการกับปัญหาจริยธรรมในการดำรงชีพและการปฏิบัติงาน

●4.1.7 เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นทั้งการดำรงตนและการปฏิบัติงาน

1. เป็นแบบอย่างต่อผู้เรียน (Role model) ในด้านการตรงต่อเวลา การเคารพในสิทธิของผู้ใช้บริการและการแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่เหมาะสม

2. จัดกิจกรรม Inquiry – based learning ให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างถูกต้อง

3. ให้ฝึก Think – Pair- Share และ Brainstorming learning เพื่อการตระหนักรู้ในตนเอง และให้ยอมรับในความแตกต่างของบุคคล

- ฝึกการมีวินัย (Discipline) ในการเรียนและการสอบเช่นการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าเรียน

4. ฝึกวิเคราะห์ และตัดสินสถานการณ์/ปัญหาทางจริยธรรมจากกรณีศึกษา

1. จากคะแนนแบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม และการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. จากใบบันทึกการเข้าเรียนตามเวลาและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนด

3. จากการอ้างอิงอย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง ไม่คัดลอกงานของผู้อื่นของรายงานและการนำเสนองาน

4. จากการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนจากการวิเคราะห์สถานการณ์หรือกรณีศึกษา

5. จากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในขณะเรียนและในการสอบ

4.2 ความรู้

●4.2.1 มีความรู้ความเข้าใจในสาระ สำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

●4.2.2 มีความรู้ความเข้าใจในสาระ สำคัญของศาสตร์และศิลปะทางสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

●4.2.3 มีความรู้ความเข้าใจในสาระ สำคัญของกระบวนการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

●4.2.4 มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและการบริหารจัดการองค์กร

●4.2.5 มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศทางการพยาบาล

●4.2.6 มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรม สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศและโลก

1. Participatory learning

2. Think – Pair- Share

3. Brainstorming learning

4. Problem – based learning

5. Case analysis

6. Inquiry – based learning

7. Demonstration and Return demonstration

8. ฝึกการเขียนกระบวนการพยาบาลจิตสังคมจากกรณีศึกษาตัวอย่าง

9. การใช้เกมส์ (Games) ใน

การจัดการเรียนการสอน

10. การให้ชมวีดิทัศน์ประกอบ

การเรียนการสอน

11. Project – based learning

12. การสรุปท้ายบท

1. ประเมินการมีส่วนร่วมในการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. การประเมินความรู้ทางวิชาการ การสอบท้ายบท การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค

3. การประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมายได้แก่ ผลการประเมินการนำเสนอในชั้นเรียนและชิ้นงานเกี่ยวกับการเขียน concept mapping

4.3 ทักษะทางปัญญา

●4.3.1 เข้าใจตนเอง รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง

●4.3.2 สามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายในการสร้างเสริมสุขภาพจิตการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม และการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต การบำบัดรักษาทางจิตเวช

●4.3.3 สามารถนำข้อมูลหลักฐาน จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไปใช้ในการอ้างอิงและแก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต การบำบัดรักษาทางจิตเวช

●4.3.4 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้แนวคิด ทฤษฎีทางจิตเวชศาสตร์ เพื่อให้เกิดการดูแลช่วยเหลือและให้การพยาบาลแก่บุคคลครอบครัว ชุมชนอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ

●4.3.5 สามารถใช้กระบวนการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชและการศึกษางานวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพจิตของตนเอง

●4.3.6 สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ในการดูแลช่วยเหลือและให้การพยาบาลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต

1. Inquiry – based learning จัดให้มีการวิเคราะห์สถานการณ์/กรณีศึกษา/งานวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาทั้งระดับบุคคลและกลุ่มตามใบงานที่กำหนด

2. Think – Pair- Share

3. Brainstorming learning

4. Problem – based learning

5. Case analysis

6. concept mapping

7. Project – based learning

8. นำผลการวิจัยและค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำเสนอในหน่วยการเรียนที่กำหนดเพื่อประกอบการเรียนการสอน

1. สังเกตจากการแสดงความคิดเห็นในระหว่างการอภิปราย

2. ผลงานการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบการวิเคราะห์วิจารณ์ การใช้กระบวนการแก้ไขปัญหา การผลิตงาน การสร้างสรรค์ผลงานตามชิ้นงานที่มอบหมาย

3. สังเกตกระบวนการและผลการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาในสถานการณ์/กรณีศึกษาตามที่กำหนด

4. สอบท้ายบท สอบกลางภาคและสอบปลายภาค

5. การสนับสนุน อ้างอิงและการวิเคราะห์เนื้อหารายงานการวิจัยที่ค้นหามาประกอบการเรียน

4.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

●4.4.1 มีมุมมองด้านบวกต่อผู้อื่น มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารทางบวก ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน

●4.4.2 สามารถทำงานเป็นทีมในบทบาทผู้นำและผู้ตามอย่างมีความสุข

●4.4.3 สามารถแสดงภาวะผู้นำ ในการตัดสินใจเฉพาะหน้า และในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวก

●4.4.4 มีความรับผิดชอบเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

1. มอบหมายงานกลุ่มเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม (Team working) ความรับผิดชอบ และการแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ตาม

2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน

1. ประเมินพฤติกรรมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน

2. จากคุณภาพของชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย

4.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ

●4.5.2 สามารถแปลงข้อมูลให้เป็นข่าวสารที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการสื่อสาร และถ่ายทอดแก่บุคคลและกลุ่มคนรวมทั้งสามารถแปลความหมาย

ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

●4.5.3 สามารถสื่อสารภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทั้งการพูด การอ่าน การเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

●4.5.4 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่จำเป็น

●4.5.6 รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ในการสืบค้นข้อมูลและการจัดการข้อมูล

1. แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ให้เลือกงานวิจัยที่สอดคล้องกับกรณีศึกษาที่กำหนด โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัยที่เลือกมาและนำเสนอประกอบกรณีศึกษา

- ยกตัวอย่างการใช้งานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนศิริชัยพัฒนาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 8

2. มอบหมายการทำรายงาน (Report) รายบุคคล/รายกลุ่ม พร้อมนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

1. คุณภาพของผลงานที่มอบหมาย

2. สังเกตพฤติกรรมการสื่อสารภาษาไทย/ภาษาอังกฤษในห้องเรียน

3. ประเมินความสามารถในการนำเสนอชิ้นงานตามสถานการณ์ที่กำหนดให้

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

วัน เดือน ปี

จำนวนชั่วโมง

หัวข้อเรื่อง

กิจกรรมการเรียนการสอน

ผู้สอน

สัปดาห์ที่ 1

พฤ 11 ม.ค. 61

09.00-09.30 น.

30 นาที

ปฐมนิเทศวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1

- แนะนำลักษณะวิชาวิธีการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล

- แนะนำแหล่งเรียนรู้

- แจกเอกสารประกอบ การเรียน

- แบ่งนักศึกษาเป็น 10กลุ่มๆละ 11-12 คนมอบหมายกรณีศึกษากลุ่มละ 1 สถานการณ์ไว้ใช้ตลอดการเรียนการสอน

- อธิบายรายละเอียดงานที่นักศึกษาต้องจัดทำส่งและข้อตกลงในการส่งงาน

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 1

พฤ 11 ม.ค. 61

09.30-11.00 น.

1ชั่วโมง

30 นาที

หน่วยที่ 1 ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช

1.1 ทฤษฎีทางจิตสังคม (Psychosocial Theories)

1.1.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

(Psychoanalytic Theories)

1.1.2 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Theories)

1.1.3 ทฤษฎีมนุษยนิยม

(Humanistic Theories)

- อภิปรายกลุ่มตามใบงาน

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายบท 1.1

อ.ศิริพร นันทเสนีย์

สัปดาห์ที่ 2

พฤ 18 ม.ค. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 1 ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช(ต่อ)

1.2 ทฤษฎีพฤติกรรมปัญญานิยม

(Cognitive - Behavioral Theories)

1.2.1 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

(Behavioral Theories)

1.2 2 ทฤษฎีปัญญานิยม

(Cognitive Theories)

1.3 ทฤษฎีชีวภาพการแพทย์

(Bio-medical model)

- Brainstorming learning by Case analysis ตามใบงานที่กำหนด

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

และสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายบท1.2-1.3

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 3

พฤ 25 ม.ค. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 1 ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช(ต่อ)

1.4 ทฤษฎีทางการพยาบาล (Nursing Theories)

1.4.1 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพลบพลา (Peplau’s interpersonal relations Theory)

1.4.2 ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy’s adaptation model)

1.4.3 ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม(Orem’s self care system Theory)

- อภิปรายกลุ่มตามใบงาน

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายบท 1.4

อ.ศิริพรนันทเสนีย์

สัปดาห์ที่ 4

พฤ 1 ก.พ. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิตและหลักการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

2.1 องค์ประกอบของผู้มีสุขภาพจิตดี

2.2 องค์ประกอบของผู้มีความผิดปกติ

ทางจิต

2.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิต

2.4 หลักการพื้นฐานของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

2.5 ลักษณะและขอบเขตงานทั้ง 4 มิติของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

2.6 บทบาทของพยาบาลด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

- Brainstorming learning by Case analysis ตามใบงานที่กำหนด

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 5

พฤ 8 ก.พ. 61

09.00 -11.00 น.

2

หน่วยที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิตและหลักการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช(ต่อ)

2.1-2.6 (ต่อ)

- นำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น(ต่อ)

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

และสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 2

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 6

พฤ 15 ก.พ. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 3 กลุ่มอาการและอาการแสดงทางจิตเวช

3.1 ลักษณะสำคัญของกลุ่มอาการทาง จิตเวช

3.2 อาการของความผิดปกติทางจิตเวช

3.3 เกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวชที่พบ ได้บ่อย

- อภิปรายกลุ่มตามใบงานจำแนกโรคทางจิตเวช

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 3

อ.ศิริพร

นันทเสนีย์

สัปดาห์ที่ 7

พฤ 22 ก.พ. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 4 เครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต

4.1 การสัมภาษณ์ประวัติทางจิตเวช

4.2 วิธีการตรวจและประเมินสภาพจิตเบื้องต้น

4.3 การใช้เครื่องมือคัดกรองทางสุขภาพจิตและจิตเวช

- ส่งวีดีโอฝึกใช้เครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตตามใบงานที่กำหนด

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

และสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 4

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

พฤ 8 มี.ค. 61

09.30-10.30 น.

1.00

สอบกลางภาค(หน่วยที่ 1 – หน่วยที่ 3)

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 8

พฤ 15 มี.ค. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 5 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช

5.1 การตระหนักรู้ในตนเองและการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด

5.2 เงื่อนไขที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

5.3 หลักการและขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

5.4 เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด

5.5 ปัญหาและการแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพ

- ฝึกการใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัดตามใบงาน

- นำเสนอกลุ่มละ 10 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

อ.ศิริพร นันทเสนีย์

สัปดาห์ที่ 9

พฤ 22 มี.ค. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 5 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช(ต่อ)

- นำเสนอ(ต่อ)

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 5

อ.ศิริพร นันทเสนีย์

พฤ 29 มี.ค. 61

สัมมนาการจัดการเรียนการสอนทุกชั้นปี

สัปดาห์ที่ 10

พฤ 5 เม.ย. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 6 กระบวนการพยาบาลจิตเวช

6.1. มาตรฐานการพยาบาลจิตเวช

6.2. กระบวนการพยาบาลจิตเวช

6.3. การบันทึกทางการพยาบาล

6.4. การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย

- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างสถานการณ์ประกอบตามใบงาน

- ให้นักศึกษา 2 คนออกมาแสดงบทบาทสมมุติโดยร่วมวิเคราะห์เหตุการณ์

- ฝึกการใช้กระบวนการพยาบาลทางจิตเวชและฝึกการบันทึกทางการพยาบาลลงในใบงาน

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- เปิดโอกาสให้ซักถาม

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 6

อ.ศิริพร

นันทเสนีย์

สัปดาห์ที่ 11

พฤ 12 เม.ย. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 7 การให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

7.1 ทฤษฎีการให้การปรึกษา

7.2 ปรัชญาและจรรยาบรรณของผู้ให้การศึกษา

7.3 ลักษณะการให้การปรึกษาตามแนวทางของทฤษฎีการให้คำปรึกษา

7.4 ประเภทของการบริการให้การปรึกษา

7.5 ลักษณะปัญหาของผู้รับการปรึกษา

7.6 ประเภทของการให้การปรึกษา

7.7 กระบวนการให้การปรึกษา

7.8 ผลลัพธ์ของการให้การปรึกษา

7.9 ข้อแตกต่างระหว่างการให้การปรึกษากับการทำจิตบำบัด

- ชมวีดีโอการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต Brainstorming learning ตามใบงาน

- นำเสนอกลุ่มละ 5 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 7

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 12

พฤ 19 เม.ย. 61

09.00-11.00 น.

2

หน่วยที่ 8 การให้สุขภาพจิตศึกษา

8.1 สุขภาพจิตศึกษา

8.2 หลักการให้สุขภาพจิตศึกษา

8.3 รูปแบบการให้สุขภาพจิตศึกษา

- ดูวีดีโอเรื่องสุขภาพจิตศึกษา Brainstorming learning ตามใบงาน

- นำเสนอกลุ่มละ 5 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 8

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 13

พฤ 26 เม.ย. 61

09.00 -11.00 น.

2

หน่วยที่ 9 การพยาบาลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม

9.1 ผู้มีความเครียด

9.1.1 ลักษณะและอาการ

9.1.2 วิธีการบำบัดทางการพยาบาล

9.2 ผู้ที่มีความวิตกกังวล (Anxiety)

9.2.1 ลักษณะและอาการ

9.2.2 วิธีการบำบัดทางการพยาบาล

9.3 ผู้ที่มีภาวะโกรธ

9.3.1 ลักษณะและอาการ

9.3.2 วิธีการบำบัดทางการพยาบาล

9.4 ผู้มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก

(Loss & Grief)

9.4.1 ลักษณะและอาการ

9.4.2 วิธีการบำบัดทางการพยาบาล

9.5 ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

9.5.1 ลักษณะและอาการ

9.5.2 วิธีการบำบัดทางการพยาบาล

- Inquiry – based learning ตามใบงาน 6 สถานการณ์ (9.1-9.5)

- นำเสนอกลุ่มละ 15นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- นำผลงานวิจัยจากโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนมาเป็นตัวอย่างในการ Problem – based learning

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 14

พฤ 3 พ.ค. 61

09.00 -11.00 น.

2

หน่วยที่ 9 การพยาบาลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม (ต่อ)

- นำเสนอ(ต่อ)

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่ 9

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

สัปดาห์ที่ 15

พฤ 10 พ.ค. 61

09.00-11.00

2

หน่วยที่ 10 แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน

10.1 จิตเวชชุมชน

10.2 ระบบและการดูแลต่อเนื่องด้านสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

- ประกวดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนของแต่ละกลุ่ม

- นำเสนอกลุ่มละ 8 นาทีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม

- นักศึกษาซักถามในประเด็นที่ยังสงสัย

- ร่วมกันสรุป concept mapping และ vote

- สอบย่อยท้ายหน่วยที่10

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

พฤ 31 พ.ค. 61

09.00 -11.00 น.

2

สอบปลายภาค (หน่วยที่ 4-10)

อ.ศิริพร นันทเสนีย์

อ.อริยา

ดีประเสริฐ

1. การวัดและประเมินผล

การประเมินผลการเรียนการใช้แบบอิงเกณฑ์และ/หรืออิงกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ในการให้ค่าระดับคะแนนดังนี้

ระดับผลการเรียน

ช่วงคะแนน

A

90-100

B+

85-89

B

75-84

C+

70-74

C

61-69

D+

55-59

D

50-54

F

0-49

หมายเหตุ :- นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80% จึงมีสิทธิ์สอบ

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

การประเมิน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

งานที่จะใช้ประเมินผลผู้เรียน

สัปดาห์ที่กำหนด

สัดส่วนของการประเมินผล

1

4.1.1, 4.2.1, 4.2.2, 4.2.3, 4.2.4, 4.2.5, 4.2.6, 4.3.3, 4.3.5, 4.3.6, 4.5.1, 4.5.2

สอบ

- สอบท้ายบท

- สอบกลางภาค

- สอบปลายภาค

1-15

8

16

10%

20%

30%

2

4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 4.1.4, 4.1.5, 4.1.6, 4.1.7

คุณธรรม จริยธรรม

- ความรับผิดชอบ

- มีระเบียบวินัย

- มีเหตุผล

- มีความซื่อสัตย์

1-15

5%

3

4.1.4, 4.1.5, 4.1.7, 4.2.5, 4.3.2, 4.3.3, 4.3.4, 4.3.5, 4.3.6, 4.4.1, 4.4.2, 4.4.3, 4.4.4, 4.5.2, 4.5.3, 4.5.4, 4.5.6

ผลงาน/ชิ้นงาน

- คำศัพท์ทางจิตเวช (งานเดี่ยว)

- การสรุปความรู้แต่ละหน่วยการเรียน

ในรูปแบบข้อสอบ (งานกลุ่ม)

- รายงานและการนำเสนอ (งานกลุ่ม)

1-15

1-15

1-15

5%

15%

15%

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. เอกสารและตำราหลัก

ฉวีวรรณ สัตยธรรม. (บรรณาธิการ). (2557). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(ฉบับปรับปรุง) เล่ม 1-2.

นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ยาใจ สิทธิมงคลและคณะ.(บรรณาธิการ). (2559). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์(PSYCHIATRIC NURSING).

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล.

วีณา เจี๊ยบนา.(บรรณาธิการ). (2558). การพยาบาลจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยสภากาชาดไทย

สายฝน เอกวรางกูร.(บรรณาธิการ). (2558). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต : ศาสตร์และศิลป์สู่การ

ปฏิบัติ1-2. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. (บรรณาธิการ). (2557). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ Psychiatric Nursing. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Boyd, M A. (2015). Psychiatric nursing : contemporary practice. (5th ed.). Philadelphia :

Wolters Kluwer

Halter, Margaret J. (2014). Varcarolis’ Foundationsof Psychiatric Mental Health Nursing: A Clinical Approach. (7th ed.). USA : Saunders Elseier.

Stuart, G. W. (2013). Principles and Practice of Psychiatric Nursing. (10th ed.). China : Saunders Elseier.

Videbeck, Sheila L. (2017). Psychiatric-Mental Health Nursing. (7th ed). China : Wolters Kluwer

2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ และพงศธร พหลภาคย์. (บรรณาธิการ).

(2559). จิตเวชศาสตร์. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพร นันทเสนีย์ และอริยา ดีประเสริฐ. (2560). เอกสารประกอบการเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิต

และการพยาบาลจิตเวช 1. กรุงเทพฯ : โครงการสวนดุสิต กราฟฟิคไซท์.

สมภพ เรืองตระกูล. (2557). ตำราจิตเวชศาสตร์ฉบับปรับปรุงตาม DSM-V. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2554). การพยาบาลจิตเวช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2556). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental

disorders DSM V. (5th ed.). England : igroup press.

Boyd, M A. (2017). Essentials of Psychiatric Nursing. China : Wolters Kluwer

3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ

หนังสือ

มาโนช หล่อตระกูล. (บรรณาธิการ). (2558). การตรวจสัมภาษณ์ทางจิตเวช. กรุงเทพฯ : บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.

เอกอุมา อิ้มคำ. (2560). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช : การประยุกต์ใช้กรณีเลือกสรร. กรุงเทพฯ : โรง

พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ฐานข้อมูลสืบค้นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น website ของกรมสุขภาพจิต,โรงพยาบาลจิตเวชต่างๆ

ฐานข้อมูล e – learning ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

เวปไซต์

http://dcms.thailis.or.th/tdc

https://www.clinicalkey.com/nursing/#!/

http://web.b.ebscohost.com/ehost/search/basic?vid=0&sid=ddfd3416-223c-4893-b1a7-fc2c3134a425%40sessionmgr120

https://www.tci-thaijo.org/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/

หมวดที่ 7 การประเมินการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

7.1 กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

7.1.1 การประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินรายวิชา

7.1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

7.1.3 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน

7.2 กลยุทธ์การประเมินการสอน

7.2.1 ผลการสอบของนักศึกษา

7.2.2 การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมทีมการสอน

7.2.3 การสะท้อนคิดระหว่างการบรรยาย

7.3 การปรับปรุงการสอน

7.3.1 นำผลจากการสัมมนาปัญหาการเรียนการสอนประจำปีระหว่างอาจารย์ นักศึกษามาปรับปรุงการสอน

7.3.2 นำผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนมาปรับปรุงรายวิชา

7.4 การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษารายวิชา

7.4.1 ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ในสาขา พิจารณาตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาด้านความถูกต้องของการให้คะแนนและความสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่รายวิชากำหนด

7.4.2 คณะกรรมการทวนสอบ ตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ด้านความถูกต้องของการให้คะแนน ความสอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์รายวิชา มาตรฐานการเรียนรู้ เนื้อหาการสอน การวัดและประเมินผล กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่รายวิชากำหนด

7.5 การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

ปรับปรุงรายวิชาทุกปีตามผลการประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของสาขาและตามผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาและทีมอาจารย์

เอกสารฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมสาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชแล้ว

…………………………………………………………

(อาจารย์ศิริพร นันทเสนีย์)

หัวหน้าสาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

15 พฤศจิกายน 2560

แบบพิมพ์เขียวข้อสอบ (Test Blueprint) วิชา การสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1

เนื้อหาวิชาที่สอน

จำนวนชั่วโมงที่สอน

รู้

/จำ

เข้าใจ

นำไปใช้

วิเคราะห์

สังเคราะห์/ประเมินค่า

รวม(ข้อ)

หน่วยที่ 1 ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช

6

-

6

6

6

-

18

หน่วยที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิตและหลักการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

4

-

4

4

4

-

12

หน่วยที่ 3 กลุ่มอาการและอาการแสดงทางจิตเวช

2

-

2

2

2

-

6

สอบกลางภาค

12

-

12

12

12

-

36

หน่วยที่ 4 เครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต

2

-

2

3

1

-

6

หน่วยที่ 5 เครื่องมือในการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช

4

-

2

4

6

-

12

หน่วยที่ 6 กระบวนการพยาบาลจิตเวช

2

-

2

2

2

-

6

หน่วยที่ 7 การให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

2

-

2

3

1

-

6

หน่วยที่ 8 การให้สุขภาพจิตศึกษา

2

-

2

3

1

-

6

หน่วยที่ 9 การพยาบาลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม

4

-

2

4

6

-

12

หน่วยที่ 10 แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน

2

-

2

3

1

-

6

สอบปลายภาค

18

-

14

22

18

-

54

การแบ่งกลุ่มของนักศึกษาเพื่อใช้ในการทำงานกลุ่ม ขอรับคำปรึกษาและส่งงานกับอาจารย์ประจำกลุ่ม

นักศึกษากลุ่มที่

อ.ศิริพร นันทเสนีย์

นักศึกษากลุ่มที่

อ.อริยา ดีประเสริฐ

1

เลขที่ 1-11

2

เลขที่ 12-22

3

เลขที่23-33

4

เลขที่ 34-44

5

เลขที่ 45-55

6

เลขที่ 56-66

7

เลขที่ 67-77

8

เลขที่ 78-88

9

เลขที่ 89-101

10

เลขที่ 102-114

รวม

57 คน

รวม

57 คน

งานคำศัพท์ (งานเดี่ยว 5%)

ข้อตกลงในการส่งงานคำศัพท์

1. เขียนคำศัพท์ทางจิตเวช จำนวนอย่างน้อย 3 คำศัพท์ ต่อ 1 ชม.เรียน ลงในสมุด A4 ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้

2. คำศัพท์แต่ละคำที่เลือกมาต้องเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชั่วโมงเรียนนั้นๆ

3. คำศัพท์ 1 คำ ต้องเขียนความหมาย พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบที่สัมพันธ์กันกับคำศัพท์นั้น

4. เมื่อเขียนคำศัพท์ในแต่ละชั่วโมงเรียนเสร็จแล้ว นำไปทวนศัพท์กับเพื่อนนักศึกษาที่เป็น buddy และให้เพื่อน buddy เซ็นชื่อและวันที่กำกับในสมุดด้วยทุกครั้ง

5. นำสมุดคำศัพท์ที่ผ่านการทวนกับเพื่อนแล้ว มาส่งอาจารย์ประจำกลุ่มตามเลขที่ ที่กำหนดให้ ทุกวันจันทร์ถัดไป และมารับคืนหลังเวลา 16.00 น. ในวันพฤหัสบดีของสัปดาห์นั้น

แบบฟอร์มงานคำศัพท์ทางจิตเวช

ลำดับที่

คำศัพท์

ความหมาย

ตัวอย่างประโยค/สถานการณ์

ลายเซ็น buddy/วันเดือนปี

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

แบบประเมินสมุดคำศัพท์ทางจิตเวช (งานเดี่ยว 5%)

ชื่อนักศึกษา......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................ชั้นปี..........

คำชี้แจง ให้คะแนนแบบประเมินโดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่องค่าคะแนนที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านแต่ละข้อตามเกณฑ์การให้ค่าคะแนน

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

5

4

3

2

1

1. แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน

2. การยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน

คะแนนรวม 10 คะแนน (5%)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม............................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.....................................................ผู้ให้คะแนน

ว/ด/ป....................................................

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

ระดับ

เกณฑ์การให้คะแนน

1. แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน

1

แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ต่ำกว่า 70 %

2

แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ไม่น้อยกว่า 71-80 %

3

แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ไม่น้อยกว่า 81-90 %

4

แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ไม่น้อยกว่า 91-99 %

5

แปลความหมายของคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียนทุกคำ

2. การยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน

1

ยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ต่ำกว่า 70 %

2

ยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ไม่น้อยกว่า 71-80 %

3

ยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ไม่น้อยกว่า 81-90 %

4

ยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน ไม่น้อยกว่า 91-99 %

5

ยกตัวอย่างประกอบคำศัพท์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียนทุกคำศัพท์

การสรุปความรู้ในรูปแบบข้อสอบ (งานกลุ่ม 15 %)

ข้อตกลงในการส่งงานการสรุปความรู้ในรูปแบบข้อสอบ

1. นักศึกษากลุ่มใหญ่ ทั้ง 10 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยจำนวนกลุ่มละ 5-6 คน

2. แต่ละกลุ่มย่อยทำสรุปความรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนในรูปแบบข้อสอบปรนัย จำนวน 3 ข้อ ต่อ

1 ชม.เรียน ตามแบบฟอร์มการออกข้อสอบ

3. หลังทำข้อสอบเสร็จแล้วให้ตรวจทานก่อนนำส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม ในรูปแบบ เอกสารและไฟล์ word ภายในเวลา 9.00 น. ในวันพฤหัสบดีถัดไป ดังนี้

- กลุ่มที่ 1, 3, 5, 7, 9 ส่งอาจารย์ศิริพร นันทเสนีย์

- กลุ่มที่ 2, 4, 6, 8, 10 ส่งอาจารย์อริยา ดีประเสริฐ

แบบฟอร์มการออกข้อสอบ

หน่วยที่ ........เรื่อง.........................................................................................................................

ข้อที่

โจทย์และตัวเลือก

เฉลยคำตอบและอธิบายเหตุผลประกอบ

ประเภทของข้อสอบ

(รู้จำ/เข้าใจ/นำไปใช้/วิเคราะห์)

ผู้ออกข้อสอบ

1.

....................................

1. …………………………

2. …………………………

3. ………………………..

4. ………………………….

2.

....................................

1. …………………………

2. …………………………

3. ………………………..

4. ………………………….

3.

....................................

1. …………………………

2. …………………………

3. ………………………..

4. ………………………….

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

แบบประเมินการสรุปความรู้ในรูปแบบข้อสอบ (งานกลุ่ม 15%)

รายชื่อนักศึกษา

1. ......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................

2. ......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................

3. ......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................

4. ......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................

5. ......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................

6. ......................................................เลขที่..............รหัสประจำตัว......................................

คำชี้แจง ให้คะแนนแบบประเมินโดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่องค่าคะแนนที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านแต่ละข้อตามเกณฑ์การให้ค่าคะแนน

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

5

4

3

2

1

1. เนื้อหาของข้อสอบ ถูกต้อง ครอบคลุม ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาในบทเรียน

2. เฉลยได้ถูกต้อง และมีการอธิบายประกอบคำเฉลยถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน

3. ความเหมาะสมของการเขียนโจทย์(ข้อคำถาม)

4. ความเหมาะสมของการเขียน 4 ตัวเลือก(คำตอบ)

5. ระดับของข้อสอบที่ตอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้

คะแนนรวม 20 คะแนน (15%)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม...........................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...............................................................ผู้ให้คะแนน

ว/ด/ป....................................................

เกณฑ์การให้ค่าคะแนนการสรุปความรู้ในรูปแบบข้อสอบ

1. เนื้อหาของข้อสอบถูกต้อง ครอบคลุม ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาในบทเรียน

5 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับดีมาก (ไม่ต้องแก้ไขทุกข้อ)

4 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับดี (ไม่ต้องแก้ไข 2 ใน 3 ข้อ)

3 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับปานกลาง (ไม่ต้องแก้ไข 1 ใน 3 ข้อ)

2 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับพอใช้ (ต้องแก้ไขทุกข้อ)

1หมายถึง เนื้อหาไม่ตรง ไม่ครอบคลุม และไม่มีคุณภาพ ต้องปรับปรุงแก้ไข (ต้องออกใหม่ทั้งหมด)

2. เฉลยได้ถูกต้อง และมีการอธิบายประกอบคำเฉลยถูกต้องตรงตามเนื้อหาในบทเรียน

5 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับดีมาก (ไม่ต้องแก้ไขทุกข้อ)

4 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับดี (ไม่ต้องแก้ไข 2 ใน 3 ข้อ)

3 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับปานกลาง (ไม่ต้องแก้ไข 1 ใน 3 ข้อ)

2 หมายถึง เนื้อหา ตรง ครอบคลุม และมีคุณภาพในระดับพอใช้ (ต้องแก้ไขทุกข้อ)

1หมายถึง เนื้อหาไม่ตรง ไม่ครอบคลุม และไม่มีคุณภาพ ต้องปรับปรุงแก้ไข (ต้องออกใหม่ทั้งหมด)

3. ความเหมาะสมของการเขียนโจทย์(ข้อคำถาม)

1 ชัดเจน มีประเด็นคำถามเดียว

2 หลีกเลี่ยงข้อความปฏิเสธซ้อน

3 ควรกระตุ้นให้ผู้ตอบได้ใช้ความคิด

4 ควรกระชับ เข้าใจง่าย ตรงจุด

5 ไม่ควรมีลักษณะคำ บางที ทั้งหมด เสมอ บางครั้ง

5 หมายถึง มีครบทั้ง 5 ข้อ

4 หมายถึง มี 4 ข้อ

3 หมายถึง มี 3 ข้อ

2 หมายถึง มี 2 ข้อ

1 หมายถึง มี 1 ข้อ

4. ความเหมาะสมของการเขียน 4 ตัวเลือก(คำตอบ)

1 มีคำตอบถูกเพียงข้อเดียว

2 ตัวเลือกกระชับ

3 ตัวเลือกที่ถูกไม่ควรสั้นหรือยาวมากจนเกินไป

4 ตัวเลือกไม่ชี้นำคำตอบ

5 ตัวเลือกควรอยู่ในเรื่องเดียวกัน แต่เป็นอิสระจากกัน

5 หมายถึง มีครบทั้ง 5 ข้อ

5 หมายถึง มี 4 ข้อ

4 หมายถึง มี 3 ข้อ

2 หมายถึง มี 2 ข้อ

1 หมายถึง มี 1 ข้อ

5. ระดับของข้อสอบที่ตอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

ความรู้ – ความจำ (Knowledge and Memory) หมายถึง ความสามารถในการจดจำเรื่องราวต่างๆ ตามที่เรียนมาแล้ว เป็นความสามารถในการเก็บรักษาประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับรู้ และสามารถระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ

คำสำคัญ บอก บ่งชี้ บรรยาย ให้รายการ จับคู่ บอกหัวข้อ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ บอกขั้นตอน ชื่อ วัน เวลา เหตุการณ์ บุคคล สถานที ข้อเท็จจริง เรื่องราว อักษรย่อ ระเบียบ แบบแผน ลำดับขั้น แนวโน้ม ประเภท เกณฑ์ วิธีการ หลักการ ทฤษฎี ความสัมพันธ์ อิทธิพล

ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถในการแปลความ ตีความ และขยายความ ซึ่งคำถามประเภทนี้ควรเป็นข้อความใหม่ที่กำหนดสถานการณ์ขึ้นมา โดยการล้อเลียนของเก่าหรือใช้เนื้อความรู้เก่ามาก่อรูปใหม่

คำสำคัญ แปล เปลี่ยนรูป ใช้คำพูดของตนเอง บอกความแตกต่าง บอกความ คล้ายคลึง ขยายความ ยกตัวอย่าง ทำนาย ตีความหมาย อธิบายความหมาย สรุป จัดใหม่ เรียบเรียงใหม่ บอก ความหมาย เหตุการณ์ เรื่องราว สัญลักษณ์ นิยาม คำพูด ความสัมพันธ์ ความน่าจะเป็น ข้อมูล (ตัวเลข กราฟ ฯลฯ) ภาษา จุดมุ่งหมายของเรื่อง ความสำคัญของเรื่อง คติพจน์ หลักการ ฯลฯ

การนำไปใช้ (Application) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่รู้นั้นไปใช้ในเรื่องใหม่สถานการณ์ใหม่ หรือจำลองขึ้นจากสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน

คำสำคัญ คำนวณ สาธิต สร้าง เตรียม เสนอ แก้ปัญหา กฎ ผล วิธีการ โจทย์ ทฤษฎี ฯลฯ

การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะเรื่องราว การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์หลักการ

คำสำคัญ จำแนก เปรียบเทียบ ให้เหตุผล บอกความแตกต่าง ความสำคัญ ต้นตอ สาเหตุ ความสัมพันธ์ (สนับสนุน/ขัดแย้ง) ข้อสรุป ความเข้าใจผิด หรือเหตุผล ความลำเอียง หลักการที่ยึดถือ

การสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เป็นเรื่องใหม่และดีกว่าเดิม สังเคราะห์ข้อความ (เนื้อเรื่อง) สังเคราะห์แผนงาน (โครงการ) สังเคราะห์ความสัมพันธ์

คำสำคัญ แก้ไข วางแผน ออกแบบ จัดผลิต วางโครงการ เสนอเหตุผล ปรับปรุง ความถูกต้อง ความเชื่อถือได้ คุณค่า ความผิดพลาด เรื่องราว เหตุผล ประสิทธิภาพ ฯลฯ

การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง การวินิจฉัย ตีราคาโดยสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ ประเมินค่าโดยอาศัยเท็จจริงภายในเรื่อง ประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอกเรื่อง

คำสำคัญ ประเมิน ตัดสิน โต้แย้ง เปรียบเทียบ วิพากษ์ วิจารณ์ ความสัมพันธ์ แบบงาน จุดมุ่งหมาย ศัพท์ทางวิชาการ สมมติฐาน การค้นคว้าบทความ แนวคิด หลักการ เค้าโครง ข้อสรุป ฯลฯ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม (งานเดี่ยว 5%)

คำชี้แจง ให้พิจารณาว่านักศึกษามีการปฏิบัติเป็นอย่างไร ตอบให้ตรงกับการปฏิบัติของนักศึกษาให้มากที่สุด

1 = ปฏิบัติเพียงเล็กน้อย , 2 = ปฏิบัติเป็นครั้งคราว , 3 = ปฏิบัติบ่อยๆ , 4 = ปฏิบัติเป็นประจำ

ชื่อ-สกุลกลุ่มที่...........

รหัส

ความรับผิดชอบ

มีระเบียบวินัย

มีเหตุผล

มีความซื่อสัตย์

รวม

รวม

ตั้งใจเรียน/สนใจใฝ่รู้

ทำงานสำเร็จ/ส่งสม่ำเสมอ

มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา

รักษากฎระเบียบในชั้นเรียน

ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

กล้าแสดงออก

มีความคิดริเริ่ม

พึ่งตนเองในการทำงาน

ไม่อ้างอิงผลงานของผู้อื่นมาใช้

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

ข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ผู้ประเมินชื่อ………………………………………........................………………………..รหัส…