Ca322 week08 magazine design

21
ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้ นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร ความหมายของนิตยสารและวารสาร ประเภทของนิตยสาร การวางแผนก่อนการออกแบบนิตยสาร องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในนิตยสาร นศ 322 การออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ [CA 322 Printed Media Design and Production] รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิ (ปีการศึกษาท2/2558)

description

เอกสารประกอบการสอน นศ322 การออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ : นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร

Transcript of Ca322 week08 magazine design

Page 1: Ca322 week08 magazine design

 

ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์

ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร • ความหมายของนิตยสารและวารสาร • ประเภทของนิตยสาร

• การวางแผนก่อนการออกแบบนิตยสาร

• องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในนิตยสาร

นศ 322 การออกแบบและผลิตส่ือส่ิงพิมพ ์[CA 322 Printed Media Design and Production] รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพณิ (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

Page 2: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 1

ความหมายของนิตยสารและวารสาร

นิตยสารและวารสาร เป็นสื่อมวลชนที่สําคัญสําหรับการศึกษาประเภทหนึ่ง ที่ให้ทั้งข่าวสารความรู้ความคิด และความบันเทิงแก่ผู้อ่านอย่างกว้างขวาง และยังทําหน้าที่ในการบันทึกความเป็นไปในสังคม ในช่วงเวลาหนึ่งได้เป็นอย่างดี และมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านต่างๆ เนื่องจากวารสารและนิตยสารเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร ่ความรู้ความคิด ในรูปของการเสนอบทความทางวิชาการ ข่าว ภาพ ความคิดเห็น บทวิจารณ์ อย่างหลากหลาย มีการจัดทําออกมาอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ความรู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ไปสู่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นประชาชนทั่วไป ได้กว้างขวางกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ จึงมีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างสูง ทั้งในด้านการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษานอกระบบโรงเรยีน และการใช้ประกอบการศึกษาในระบบโรงเรียน ผู้ใช้วารสารควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย ลักษณะ วิธีการนําเสนอเนื้อหา แนวทางการใช้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการศึกษาจากวารสารและนิตยสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"นิตยสาร"

นิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพอ์อกเผยแพร่ตามกําหนดเวลา หรือคาบเวลาที่แน่นอน เช่น ออกทุกสัปดาห์ หรือออกทุกเดือน ลักษณะโดยทั่วไปเป็นสิ่งพิมพ์ เข้าเล่มแบบเดียวกับหนังสือ

"วารสาร"

คือ วารสาร เป็นสิ่งพิมพ์ จัดพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นคราวๆ หรือเป็นวาระ ซึ่งอาจมีกําหนดเวลา หรือไม่มีกําหนดเวลาแน่นอนก็ได ้

Page 3: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 2

นิตยสารเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่สนองความต้องการเฉพาะกลุ่มมากกว่าเมื่อเทียบกับหนังสือพิมพ์ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มหนึ่ง

ซึ่งมีลักษณะรูปแบบชีวิตคล้ายๆ กัน มีความสนใจในเรื่องต่างๆ คล้ายๆ กัน โดยความสนใจที่แตกต่างกันนี ้ จะแปรผัน ตามความซับซ้อนของสังคม

ลักษณะของวารสาร

พีระ จิรโสภณ (2547, หน้า 72-76) อธิบายความรู้เรื่อง ลักษณะและประเภทของนิตยสาร ไว้สรุปได้ดังนี ้

1. นิตยสารจะเน้นในการเสนอบทความสารคด ี และข้อเขียนต่าง ๆ ที่ให้ความรู้และความบันเทิง กับผู้อ่านได้มากกว่า และละเอียดกว่า

2. นิตยสารมีโฆษณาที่สวยสะดุดตากว่า

3. นิตยสารมีการจัดหน้าที่สวยงามและพิถีพิถันมากกว่า

4. นิตยสารมีรูปเล่มกะทัดรัดหยิบถือได้สะดวกกว่า

5. ปกนิตยสารจะมีขนาดประมาณ 8 1/2 x 1 11/2 นิ้ว หรือขนาด A4 หรือ 8 หน้ายก บางฉบับก็มีขนาดใหญ่เท่ากับ หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (tabloid) แต่บางเล่มก็เล็กเกือบพอ ๆกับหนงัสือพ็อกเก็ตบุ๊ก

6. นิตยสารส่วนใหญ่จะมีปกที่พิมพ์ด้วยกระดาษหนากว่าหน้าข้างใน ปกจะมีสีสัน และรูปภาพสวยงามสะดุดตา เย็บรวมกับเนื้อใน ส่วนความหนาหรือจํานวนหน้าของนิตยสารนั้นไม่แน่นอน

7. นิตยสารหลายฉบับจะเสนอเนื้อหาข่าวในเล่มด้วยแต่ส่วนมากจะเป็นการสรุปข่าว หรือวิจารณ์ข่าว

จากความหมายดังกล่าว นิตยสารจึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องตามกําหนดหรือออกตามวาระ สามารถนํามาพิจารณา กําหนดเป็นลักษณะของวารสารได้ดังนี ้

1. เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Periodical or Serial)

มีกําหนดเวลาออก แน่นอนระยะเวลาที่นิยมกําหนดออก เช่น

-รายสัปดาห์ (Weekly) กําหนดออกสัปดาห์ละครั้ง ปีละ 52 ฉบับ

-รายปักษ์ (Fortnightly) กําหนดออกทุก 2 สัปดาห์ ปีละ 26 ฉบับ

-รายครึ่งเดือน (Semimonthly) กําหนดออกเดือนละ 2 ครั้ง ปีละ 24 ฉบับ

-รายเดือน (monthly) กําหนดออกเดือนละครั้ง ปีละ 12 ฉบับ

-รายหกเดือนหรือรายครึ่งปี (Semiannually) กําหนดออกทุก 6 เดือน

-รายปี (Annually) กําหนดออกปีละฉบับ

นอกจากนี้บางฉบับอาจมีการกําหนดระยะเวลาออกที่แตกต่างออกไปจากที่กล่าวมาแล้วเช่น รายครึ่งสัปดาห์ (Semi -weekly) กําหนดออกสัปดาห์ละ 2 ฉบับ ปีละ 104 ฉบับ รายทศกําหนดออกทุก 10 วัน ปีละ 36 ฉบับ และรายสะดวก มีกําหนดออกไม่แน่นอน ลักษณะความต่อเนื่องของวารสารไม่มีกําหนดว่าจะสิ้นสุดลงในฉบับใด

Page 4: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 3

2. มีเลขกํากับประจําฉบับ

ได้แก่ เลขปีที่ (Volume) เลขฉบับที่ ( Issue Number) และวัน เดือน ปี (Date) การนับลําดับฉบับที่อาจนับเป็นปีๆ เช่น วารสารรายเดือน แต่ละปีจะมตีั้งแต่ฉบับที่ 1-12 หรืออาจนับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่นวารสารรายเดือน ฉบับแรกของปีที่ 2 ก็นับเป็นฉบับที่ 13 นอกจากเลขปีที่ ฉบับที่ และวันเดือนปี ซึ่งเป็นเลขที่ต้องต่อเนื่องเป็นลําดับกันไปแล้ว ยังมีเลขอีกชุดหนึ่ง เป็นเลขเฉพาะที่แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงถือเปน็รหัสประจําวารสารแต่ละชื่อ เพื่อการควบคุมทางบรรณานุกรม ในระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ เรียกว่า เลขสากลประจําวารสาร (International Standard Serial Number-ISSN) ซึ่งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับสากล มอบให้ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติ ประจําประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นผู้กําหนดให้แก่วารสารแต่ละชื่อในประเทศของตน สําหรับประเทศไทยมีหอสมุดแห่งชาติ เป็นศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาต ิแห่งประเทศไทย เป็นผู้กําหนดวารสารแต่ละชื่อให้ได้รับหมายเลขสากลประจําวารสาร และจะต้องพิมพ์ไว้ที่หน้าปกหรือหน้าปกใน หรือสันวารสารใกล้ ๆ กับชือ่วารสาร มีอักษร ISSN ตามด้วยเลข อารบิค 8 ตัว มีเครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่าง เลข 4 ตัวแรก กับเลข 4 ตัวหลัง เช่น วารสาร ซีเนแม็ก ISSN 0858-9305

3. รูปเล่ม

มักทําให้มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกันทุกฉบับ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตและจําได้ง่าย เช่น ขนาดความกว้าง ยาว รูปแบบและสีของตัวอักษร ชื่อวารสารที่หน้าปก และสัญลักษณ์ประจําวารสาร

4. เนื้อหา

ประกอบด้วยบทความหลายบทความ จากผู้เขียนหลาย ๆ คน ถ้าเป็นวารสารมักจะเป็นวิชาการเฉพาะแขนงวิชา ถ้าเป็นนิตยสารมักจะมีบทความทั่ว ๆ ไป สารคดี หรือบันเทิง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ลงติดต่อกันเป็นหลายๆ มีคอลัมน์บรรณาธิการ คอลัมน์ประจํา วารสารบางชื่อเนื้อหาอาจเป็นรูปภาพ เป็นบทวิจารณ์ สรุปข่าวและวิเคราะห์ เหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ ทั้งนี้เป็นไปตามประเภทและวัตถปุระสงค์ของวารสารแต่ละฉบับ

5. ผู้จัดพิมพ์

ผู้จัดพิมพ์วารสารอาจเป็นเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบัน องค์การ สมาคม ชมรม โดยมีวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพือ่เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ให้ความบันเทิง ความรู้ทั่วไปหรือเพื่อธุรกิจการค้า เป็นต้น

6. การเผยแพร่

มีทั้งการจําหน่ายและแจกฟรี การจําหน่ายอาจวางจําหน่ายตามร้านขายหนังสือ การให้ผู้อ่านบอกรับเป็นสมาชิกประจํา ชําระค่าวารสารล่วงหน้าแล้วผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ส่งวารสารไปให้สมาชิก

อาจกล่าวได้ว่า สิ่งสําคัญที่มีผลต่อความสําเร็จของนิตยสาร คือ ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่เฉพาะเจาะจงและเป็นกลุ่มที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการจัดทํานิตยสารนั้น ด้วยเหตุนี้เองหน้าที่สําคัญของนักออกแบบ จึงไม่ใช่แค่การพยายามส่งผ่านข้อมูลข่าวสารได้ชัดแจ้งรวดเร็วอย่างที่จําเป็นต้องทําในหนังสือพิมพ ์ แต่นักออกแบบจะต้อง พยายามสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายให้เกิดขึ้นกับนิตยสารที่ตนรับผิดชอบ เพือ่ให้ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถ ระบุเลือกนิตยสารนั้นแยกออกจากนิตยสารประเภทอื่นได ้

Page 5: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 4

Page 6: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 5

ประเภทของนิตยสาร

1.นิตยสารทั่วไป (general magazines)

นิตยสารทั่วไป หมายถึง นิตยสารที่มีเนื้อหาสําหรับผู้อ่านทั่วไป นิตยสารประเภทนี้บางคนเรียกว่า นิตยสารที่คนทั่วไปสนใจ หรือนิตยสารสําหรับผู้ซื้อทั่วไป (general consumer magazines) บางคนก็จัดนิตยสารประเภทนี ้เป็นพวกนิตยสารสําหรับมวลชนทั่วไป (magazines for the masses) ในเมืองไทยนิตยสารที่จัดว่าเป็นนิตยสารทั่วไป โดยวัดจากจํานวนจําหน่ายนั้นคงไม่มีแต่ถ้าจะดูจากเนื้อหาทั่วไปแล้วก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น นิตยสารฟ้าเมืองไทย ที่หยุดพิมพ์ไปแล้ว นิตยสารสารคดี และนิตยสารอื่น ๆ ที่มีเนื้อหากว้างๆ ทั่วไปในทํานองเดียวกัน ซึ่งอาจรวมทั้งนิตยสาร ข่าวทั่วไปและสําหรับครอบครัว เช่น นิตยสารผู้หญิงเป็นต้น

2. นิตยสารเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคหรือเฉพาะด้าน (specialized magazines)

นิตยสารประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายชนิด มีการจัดกลุ่มแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดตาม ลักษณะ ของกลุม่ผู้บริโภคตามหลักการของการตลาด ในที่นี้ขอแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี ้

2.1 นิตยสารข่าว เน้นในเรื่องข่าว เบื้องหลังข่าว วิเคราะห์และวิจารณ์ข่าว พร้อมทั้งบทความและสารคดีอื่น ๆ เช่น นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และมติชนสุดสัปดาห์ เนชัน-สุดสัปดาห์ นิตยสารประเภทนี้บางทีก็จัดเป็นนิตยสารทั่วไปได้ เพราะเป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ

Page 7: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 6

2.2 นิตยสารผู้หญิง เป็นนิตยสารที่เน้นในเรื่องที่เป็นความสนใจของผู้หญิงทั่วไปเนื่องจากผู้หญิง เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สําคัญ นิตยสารที่เกี่ยวกับผู้หญิงจึงมมีากมายดาษดื่น นิตยสารประเภทนี้สามารถจะหาโฆษณาได้ไม่ยากนักเพราะ มีสินค้า และผลิตภัณฑ์ หลายอย่างที่มุ่งเจาะตลาดผู้หญิงโดยเฉพาะ ตัวอย่างนิตยสารผู้หญิงในเมืองไทยมี ให้เห็นกัน กลาดเกลื่อนทั่วไป เช่น สกุลไทย ขวัญเรือน ดิฉัน เปรียว แพรว

Page 8: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 7

2.3 นิตยสารผู้ชาย นิตยสารพวกนี้สว่นมากจะเน้นในเรื่องเพศเป็นสําคัญมีภาพโป๊เปลือย ของผู้หญิงสาวเป็นเรื่องล่อใจผู้ซื้อ แต่บางฉบับก็มีบทความดี ๆ แทรกอยู่เช่นกัน ตัวอย่างเช่น นิตยสาร BOSS ผู้นําเพลยบ์อย ของสหรัฐอเมริกา เพนท์เฮ้าส์ ที่เป็นคู่แข่งของนิตยสารเพลยบ์อยในสหรัฐอเมริกาก็มีพิมพ์ในเมืองไทย

2.4 นิตยสารธุรกิจ เป็นนิตยสารอีกประเภทหนึ่งที่มีจําหน่ายแพร่หลายในท้องตลาดเน้นในเรื่องธรุกิจการค้า อุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร การบริหารและการจัดการ เป็นต้น กลุ่มผู้อ่านได้แก่ ผูบ้ริหารและผู้อยู่ในวงการธุรกิจทั่วไป นิตยสารในแนวนี้มีหลายประเภท เช่น การเงินการธนาคาร ดอกเบี้ย ผู้จัดการ อีคอนนิวส์ เป็นต้น

Page 9: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 8

2.5 นิตยสารด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากนิตยสารเฉพาะด้านหรือเฉพาะกลุ่มดังทีไ่ด้กล่าวมาแล้ว 4 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ก็ยังมีนิตยสารเฉพาะด้านต่าง ๆ อีกมากมายหลายประเภท เช่น นิตยสารเด็ก นิตยสารวัยรุ่น นิตยสารครอบครัว นิตยสารดารานักร้อง นิตยสารภาพยนตร์ ดนตรี นิตยสารกีฬาต่าง ๆ นิตยสารความคิดเห็น นิตยสารเฉพาะชุมชน นิตยสารวิทยาศาสตร์ นิตยสารเครือ่งเสียง นิตยสารคอมพิวเตอร์ นิตยสารวีดิทัศน์ ทีวี นิตยสารรถยนต์ นิตยสารบ้านและการตกแต่ง นิตยสารการเกษตรต่าง ๆ นิตยสารท่องเที่ยว นิตยสารสุขภาพ นิตยสารการออกกําลังกาย และการใช้เวลาว่าง นิตยสารถ่ายภาพ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม นิตยสารศาสนา นิตยสารพระเครื่อง

3. นิตยสารและวารสารสมาคม (association magazines)

นิตยสารสมาคม เป็นนิตยสารท่ออกในนามสมาคมต่าง ๆ เช่น สมาคมผู้คุ้มครองผู้บริโภค สมาคมโฆษณาธุรกิจฯ สมาคม คหกรรมศาสตร์ สมาคมธรรมศาสตร์ ฯลฯ นิตยสารที่ออกโดยสมาคมเหล่านี้บางครั้งอาจ จัดเข้าเป็นนิตยสารเฉพาะด้าน หรือเฉพาะกลุ่ม ผู้บริโภคประเภทใดประเภทหนึ่งได้เช่นกัน

4. นิตยสารและวารสารวิชาชีพ (professional magazine)

นิตยสารวิชาชีพ เป็นนิตยสารคล้าย ๆ กับนิตยสารสมาคมแต่เน้นในเรื่องวิชาชีพเฉพาะ เช่น วิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิชาชีพทนายความ วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพครู เป็นต้น วารสารวิชาการ (journals) ทั้งหลายอาจจะจัดรวมอยูใ่นกลุ่มนี้ได้ เพราะวารสารเชิงวิชาการต่าง ๆ มักจะเน้นในวิทยาการด้านนั้น ๆ เป็นหลัก เช่น วารสารวิชาการด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านนิเทศศาสตร์ ด้านบรรณารักษศาสตร์ เป็นต้น แต่บางทีวารสารวิชาการก็อาจจะจัดอยู่ในนิตยสารสมาคม ได้เช่นกันถ้าหากเรามอง ในแง่ผู้จัดพิมพ์ที่เป็นสมาคมวิชาการหรือวิชาชีพต่าง ๆ

Page 10: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 9

5. นิตยสารและวารสารการประชาสัมพันธ์ (public relation magazines)

นิตยสารการประชาสัมพันธ์ เป็นนิตยสารที่ออกโดยบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน โดยมีจุดประสงค ์ในการประชาสมัพันธ์หน่วยงานหรือบริษัทนั้น ๆ บริษัทใหญ่ ๆ เช่น เชลล์ เอสโซ่ การบินไทย ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ ต่างก็มีนิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของตนเองออกเป็นประจําสม่ําเสมอ นอกจากนี้ยังอาจจะมีเพื่อการประชาสัมพันธ ์เผยแพร่ภายในระหว่างลูกจ้างพนักงานหรือระหว่างบริษัทกับลูกค้า นิตยสารประเภทนี้บางทีก็เรียกว่า วารสารหน่วยงาน (house journals) หรือนิตยสารบริษัท (company magazines)

6. นิตยสารฉบับแทรกหนังสือพิมพ์ (newpaper’ s magazines หรือ sunday supplement magazines)

นิตยสารประเภทนี ้ หมายถึง นิตยสารที่ออกเป็นอภินันทนาการหรือเป็นฉบับแถมของหนังสือพิมพ์ ในวันพิเศษ หรือวันอาทิตย ์ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นิยมมีนิตยสารประเภทนี้อภินันทนาการ แก่ผู้อ่านในวันอาทิตย์ นิตยสารเหล่านี้ เช่น แฟมิลี่ วิคลี่ (family Weekly) มีจํานวนพิมพ์มากกว่า 10 ล้านฉบับ เพราะหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ รับไปแจกเป็นอภินันทนาการ แก่ผู้อ่านในวันอาทิตย์ทุกสัปดาห์

สําหรับการออกแบบนิตยสาร มหีลักการทั่วไปในการออกแบบนิตยสาร มี 2 เรื่องที่สําคัญ การวางแผนก่อนการออกแบบ นิตยสาร และองค์ประกอบ และการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบนิตยสาร

การวางแผนก่อนการออกแบบนิตยสาร

ก่อนจะทําการออกแบบนิตยสารนั้น ต้องมีการกําหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้

ระบุความต้องการในการออกแบบให้ชัดเจน

หากเป็นนิตยสารที่มีวางจําหน่ายอยู่แล้ว จะต้องพิจารณาว่าควรจะทําการปรับปรุงจากบุคลิกภาพเดิม หรือควรจะเปลี่ยน บุคลิกภาพใหม่ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของนิตยสารย่อมจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป ดังนั้นนิตยสารก็จําเป็นจะต้องเปลี่ยนตัวเองไปด้วย เพื่อรักษาความสัมพันธก์ับกลุ่มเป้าหมายเอาไว้ บางครั้ง การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เพื่อพยายามดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ เคยมีผู้กล่าวว่านติยสารควรจะมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ทุกๆ 5 ปีตามการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย กําหนดขนาดและรูปแบบของนิตยสาร

แม้ว่านิตยสารจะสามารถผลิตได้ในทุกขนาดและรูปแบบ แต่ในการกําหนดขนาดและรูปแบบนั้น จะต้องมีการคํานึง ถึงความประหยัด ต้นทุนการพิมพ์และการผลิตต้นทุนทีส่ําคัญก็คือค่ากระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ การกําหนดขนาดที่ทําให้เกิด การตัดกระดาษได้โดยไม่เหลือเศษหรือเหลือเศษน้อยจึงเป็นเรื่องที่นิตยสารทุกฉบับต้องคํานึงถึง ดังนั้นขนาดของนิตยสาร ที่มีอยู่ในตลาด จึงมักมีขนาดที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 4 ขนาดดังนี้

1.นิตยสารที่มุ่งการนําเสนอภาพ มักนิยมขนาด 10 × 13 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ 2.นิตยสารที่มุ่งการนําเสนอภาพและเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร มักนิยมขนาด 7 x 10 นิ้ว 3. นิตยสารที่มุ่งการนําเสนอภาพและเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร มักนิยมขนาด 8 x 11 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่เป็น ที่นิยมใช้มากที่สุด 4. นิตยสารที่มุ่งการนําเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรขนาด 5 x 7 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างเล็ก เรียกว่า ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก

Page 11: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 10

นอกจากเรื่องความพยายามในการประหยัดกระดาษเพื่อลดต้นทุนแล้ว ขนาดของนิตยสารจะต้องเหมาะสมกับ การใช้งาน คือ สามารถถือไปมา และเปิดอ่านเป็นเวลานานได้สะดวก นอกจากนี้ยังต้องคํานึงด้วยว่าจะสามารถ วางบนชั้นหนังสือได้หรือไม ่ รูปแบบของนิตยสารส่วนใหญ่มักจะเป็นแนวตั้งเสมอ และความหนาของนิตยสารก็มักจะมีจํานวนหน้าเท่ากันทุกฉบับ โดยเฉพาะนิตยสาร ที่ไม่มีหน้าโฆษณานั้นอาจจะมีจํานวนหน้าเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามจํานวนหน้าโฆษณาในแต่ละฉบับ รูปแบบของปกหน้า

ปกหน้าของนิตยสารเป็นหน้าที่สําคัญที่สุดของนิตยสาร ปกหน้าเปรียบเสมือนหน้าตาของนิตยสาร ซึ่งก่อให้เกิด ความประทับใจเมื่อแรกเห็น อีกทั้งยังเป็นจุดที่แสดงออกซึ่งบุคลิกภาพของนิตยสารได้ชัดเจน ดังนั้นกอ่นจะออกแบบ ในรายละเอียด ต้องมีการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับรูปแบบของหน้าปกดังนี ้

1.จะเลือกรูปแบบปกหน้าในตัว (Self cover) หรือปกหน้าแยก (Separate Cover) ปกหน้าในตัวคือปกหน้าที่ใช้กระดาษเช่นเดียวกับหน้าในและพิมพ์ไปพร้อมกันกับการพิมพ์หน้าใน ส่วนปกหน้าแยก

คือปกหน้าที่ใช้ประดาษที่แตกต่างจากหน้าใน มักจะเป็นกระดาษที่หนากว่าและพิมพ์แยกเฉพาะส่วนที่เป็นปก (ปกหน้านอกด้านใน และปกหลังนอกด้านใน) ปกหน้าในตัวจะประหยัดต้นทุนในการผลิตมากกว่าปกหน้าแยก แต่ก็เหมาะจะใช้ในกรณีกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เป็น กระดาษที่ค่อนข้างหนาและคุณภาพดีเท่านั้น

2.จะให้มีพื้นที่ในการโฆษณาในปกหน้าหรือไม่ เนื่องจากปกหน้าเป็นส่วนที่เด่นที่สุดของนิตยสาร การแบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อขายเป็น พื้นที่โฆษณาจะนํารายได ้

ที่แน่นอนมาให้นิตยสาร แต่ในขณะเดียวกันก็จะทําให้เสียพื้นที่ที่จะใช้ในการสร้างความประทับใจและชักจูงใจผู้อ่าน เมื่อเทียบผลได้และผลเสียแล้ว จะพบว่านิตยสารส่วนใหญ่เลือกไม่ให้พื้นที่โฆษณาในปกหน้า เพราะพื้นที่โฆษณาในปกหน้า ด้านใน ปกหลังด้านในและด้านนอกก็มีอยู่เพียงพอแล้ว

Page 12: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 11

3.จะกําหนดสัดส่วนระหว่างภาพและตัวอักษรอย่างไร ดังได้กล่าวมาแล้วว่าปกหน้ามีหน้าที่สําคัญหลายประการทั้งเรียกร้องความสนใจ และสร้าง ความประทับใจ

ก่อนทําการออกแบบจะต้องมีการกําหนดเสียก่อนว่าจะให้มีสัดส่วนระหว่างภาพ และตัวอักษรอย่างไร เริ่มตั้งแต ่ชื่อนิตยสาร ส่วนใหญ่ต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นได้ชัดและมักวางอยู่ส่วนบนของหน้าเพื่อ ไม่ให้ถูกบดบัง จากนิตยสารอื่น เมื่อวางอยู่บนแผงขายหนังสือ นอกจากแถบชื่อแล้ว นิตยสารส่วนใหญ่มักจะใช้ภาพเป็น องค์ประกอบหลักซึ่งจะต้องกําหนดว่า จะเป็นการใช้ภาพเต็มหน้าหรืออยู่ในกรอบใต้แถบ

แบบและขนาดตัวอักษร

ตัวอักษรในนิตยสารนั้น แม้ว่าจะสามารถมีได้มากแบบ แต่ก็ควรมีการกําหนดแบบ หลักๆ สําหรับหน้าต่างๆ เอาไว้เพื่อให้เกิดความสม่ําเสมอ นอกจากแบบแล้วก็ควรมีการกําหนดขนาดเอาไว้ด้วยว่าตัวอักษรในส่วนใดควรจะมีขนาดเท่าใด รูปแบบและขนาดภาพประกอบ

ภาพประกอบ เช่นเดียวกับตัวอักษร ภาพประกอบในนิตยสารก็ควรมีการกําหนดรูปแบบ และขนาดในการนําไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์อันบ่งถึง ลักษณะเฉพาะตัวของนิตยสารเช่น ใช้ภาพที่มีพื้นหลังเสมอไม่มีการไดคัต หรือ ตัดเอาพื้นหลังออกเพื่อแสดงว่าภาพนั้นไม่ได้มีการตกแต่งเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในนิตยสาร

ที่จริงแล้วการออกแบบนิตยสารก็มีหลักการเหมือนกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อื่น อย่างไรก็ตามนิตยสารมีส่วนประกอบ

ที่แตกต่างกับจากสื่อ สิ่งพิมพ์อื่นซึ่งทําให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบ ส่วนประกอบที่สําคัญแต่ละส่วนดังนี ้

Page 13: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 12

Page 14: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 13

ปกหน้า

ปกหน้าคือส่วนของนิตยสารซึ่งผู้ดูเห็นเป็นสิ่งแรก และนักออกแบบจะต้องตระหนักว่าความหวังทั้งมวลของ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํานิตยสาร ขึ้นอยู่กับหน้านี้ โดยปกหน้านี้จะต้องทําหน้าที่ ระบุเอกลักษณ์ของนิตยสาร ให้โดดเด่นจากนิตยสารอื่น ปกหน้าจะต้องสามารถดึงดูด ความสนใจจาก ผู้ที่พบเห็นได้ในทันที นอกจากนี้ ยังต้องทําหน้าที่กระตุ้นหรือเร้าอารมณ์ที่เหมาะสมกับนิตยสารนั้นให้ผู้อ่านรู้สึกได้ แม้ว่าจะไม่มีวิธีที่รับประกัน ความสําเร็จ ในการออกแบบปกหน้า แต่ในความพยายามเพื่อให้ปกหน้าสามารถทําหน้าที่ข้างต้นได้นั้น นักออกแบบจะต้องจัดการ กับองค์ประกอบซึ่งรวมกันเป็นปกหน้า ได้แก่ รูปแบบมาตรฐานของปกหน้าปกหน้าของนิตยสาร ควรจะได้รับการออกแบบ ให้มีรูปแบบมาตรฐานเช่นเดียวกับการออกแบบหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ในการจัดวางองคป์ระกอบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวอักษร และภาพ ไม่ว่าจะเป็นตําแหน่งและขนาดของตัวอักษร ลักษณะการวางภาพ แบบตัดตกหรือมีกรอบ ฯลฯ นักออกแบบ จะต้องกําหนดรายละเอียดของสิ่งเหล่านี้และนํามาใช้ในฉบับต่อๆ ไป ทั้ง1)หัวนิตยสารและรายละเอียด 2) ข้อความบนปก 3) ภาพประกอบ

Page 15: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 14

Page 16: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 15

หน้าสารบัญ หากนักออกแบบสามารถออกแบบปกหน้าให้ดึงดูดใจพอที่จะทําให้ผู้พบเห็นหยิบนิตยสารขึ้นมาดูแล้วสิ่งที่จะเกิดต่อไปก็

คือผู้ดูจะพลิกดูนิตยสารผ่านๆ อย่างรวดเร็ว หากมีหน้าใดที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษก็จะหยุดดู จากนั้นบางคน อาจจะพลิกหาเรื่องจากปก แล้วมาถึงหน้า สารบัญเพื่อตรวจดูว่ามีเรื่องที่น่าสนใจพอที่จะซื้อหาไปอ่านหรือไม่ หน้าสารบัญ จึงเหมือนกับโอกาสสําคัญที่เสนอสิ่งที่คิดว่าผู้อ่านจะสนใจ ดังนั้นในการออกแบบหน้าสารบัญ นักออกแบบจะต้องพยายาม ทําให้ง่ายแก่การอ่านและซึมซับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในการออกแบบหน้าสารบัญ มีองค์ประกอบที่จะต้องนํามาจัดวาง ที่สําคัญคือ

• ส่วนสารบัญ ซึ่งระบุชื่อ ชื่อคอลัมน์ ชื่อผู้เขียน และเลขหน้า

• ตราสัญลักษณ์ของหัวหนังสือ และคําขวัญของ นิตยสาร (หากมี)

• ข้อความที่ระบุเล่มที่ ฉบับที่ เดือนและปี

• รายชื่อตําแหน่ง และชื่อบุคคลในกองบรรณาธิการ

• ข้อมูลเกี่ยวกับนิตยสาร ที่อยู่ สถานที่พิมพ์ สถานที่ติดต่อ ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าในหน้านี้มีองค์ประกอบที่ต้องจัดวางไม่น้อย และเป็นองค์ประกอบที่มีความจําเป็น ทั้งในเชิง การใช้ประโยชน ์นิตยสาร และเชิงการระบุตามกฎหมาย ดังนั้นสิ่งแรกที่นักออกแบบจะต้องตระหนักก็คือจะทําอย่างไรไม่ให้หน้าสารบัญนี้ดู มีเนื้อหาเยอะมากจน ผู้อ่านรู้สึกว่าแน่นไปหมดจนไม่อยากจะหยุดดู

Page 17: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 16

หน้าบรรณาธิการ

ในการออกแบบหน้าบรรณาธิการ นักออกแบบควรจะพิจารณาถึงความพิเศษประการหนึ่ง ที่ทําให้หน้านี้แตกต่าง

จากหน้าอื่นๆในนิตยสาร นั่นก็คือในขณะที่หน้าอื่นๆของนิตยสารเป็นการนําเรื่องราวต่างๆจากภายนอกนิตยสารมาบอกเล่า แต่หน้าบรรณาธิการ เป็นการบอกเล่าถึงเรื่องราวความคิดความเห็น และความเชื่อของผู้เล่าเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งมีปรากฏอยู่ในนิตยสารให้ผู้อ่านได้รับทราบองค์ประกอบที่ปรากฏอยู่ในหน้าบรรณาธิการนี้ ได้แก ่

• ข้อความ ที่เขียนโดยบรรณาธิการ

• พาดหัว เพื่อดึงดูดความสนใจสู่ข้อความซึ่งอาจจะมีหรอืไม่มีก็ได ้

• ชื่อ หรือลายมือชื่อของบรรณาธิการ

• ภาพถ่ายของบรรณาธิการ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ การแสดงภาพถ่ายอาจจะให้ประโยชน์ ในการเพิ่มความเป็นส่วนตัวระหว่าง ผู้อ่านกับนิตยสาร และยังเป็นโอกาสอันดี ดีที่จะสรา้งความน่าเชื่อถือหากบรรณาธิการ เป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้อ่าน

หน้าเปิดเรื่อง

หน้าเปิดเรื่องหรือหน้าแรกของเรื่องนับเป็นหน้าที่สําคัญอีกหน้าหนึ่ง นักออกแบบจะต้องพยายาม สร้างความรู้สึก ตื่นตาตื่นใจให้เกิดขึ้นกับผู้อ่าน ส่วนใหญ่นิตยสารจะมีเรื่องประจํา (คอลัมน์ประจํา) ซึ่งในกรณีนี้การออกแบบ รูปแบบ มาตรฐานไว้ใช้ได้ในทุกๆ ฉบับก็มีข้อดีในแง่ที่ช่วยในการจดจําและเป็นการช่วยสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้รวดเร็ว ว่าหน้านี้คือจุดเริ่มต้นของเรื่องใหม่ แม้ว่าบางครั้งอาจจะดูน่าเบื่อเมื่อใช้ไปนานๆ แต่หากสามารถออกแบบให้มีความยืดหยุ่น คือสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในรายละเอียดก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

Page 18: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 17

เนื่องจากหน้านิตยสารส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยภาพและตัวอักษรเต็มหน้าไปหมด วิธีที่อาจจะเรียกว่าเป็นสูตรสําเร็จ ของการออกแบบหน้าเปิดเรื่องก็คือการออกแบบให้ด เรียบง่ายและมีองค์ประกอบเท่าที่จําเป็น โดยพยายามให้มีพื้นที่ว่าง มากกว่าปกติ วิธีนี้จะทําให้หน้านี้โดดเด่นออกจากหน้าอื่นๆ ของนิตยสาร

ในการออกแบบหน้าเปิดเรื่องนั้น นักออกแบบ จะต้องวางแผนให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลตามลําดับที่ถูกต้องไล่ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน คํานํา และเนื้อเรื่อง ทั้งนี้จะต้องไม่ออกแบบให้องค์ประกอบทั้งหมดเด่นแข่งกันจนผู้อ่านไม่ทราบว่าดูองค์ประกอบ ใดก่อน ดังนั้นขนาดและ ตําแหน่งขององค์ประกอบเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสําคญั

การใช้ภาพประกอบในหน้าเปิดเรื่องเป็นสิ่งที่ต้องระวัง ปกติแล้วจะไม่นิยมใช้ภาพที่ใหญ่หรือเด่นมากเนื่องจากผู้อ่าน อาจจะนึกว่าเป็นหน้าโฆษณาได้

Page 19: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 18

หน้าเนื้อเรื่อง ในความเป็นจริงแล้ว หน้าเนื้อเรื่องเป็นหน้าที่สนองเจตนาหรือวัตถุประสงค์ของผู้จัดทํานิตยสารมากที่สุดกว่าหน้าอื่นๆ

หน้าเนื้อเรื่องนี้เป็นหน้าที่จะใช้ถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นหัวใจของนิตยสารเพื่อสื่อสารกับผู้อ่าน จนถึงขั้นอาจจะเปรียบเทียบ ได้ว่า หน้าเนื้อเรื่องคือของขวัญที่แท้จริง ในขณะที่หน้าอื่นๆ นั้นเป็นเหมือนกระดาษห่อของขวัญเท่านั้น

องค์ประกอบในหน้าเนื้อเรื่องนี้ไม่มีมากมายหลายอย่างเหมือนหน้าอื่น โดยแยกเป็นเพียงสองอย่าง ได้แก ่

• เนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ต้องการนําเสนอ

• ภาพประกอบเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดที่อาจยากที่จะบรรยายหรือเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถ จินตนาการได้ชัดเจนขึ้น

ในการออกแบบนิตยสารนั้น ส่วนหน้าปกเป็นส่วนที่ได้รับการเอาใจใส่ในด้านการออกแบบมากที่สุด ตามมาด้วย

หน้าเปิดเรื่องต่างๆ ในขณะที่หน้าเนื้อเรื่องไม่ได้มีการพิถีพิถันอะไรมากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าหน้าเนื้อเรื่องนี้มีองค์ประกอบ ที่สําคัญคือ เนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อหามากและต้องการการติดตามที่ง่าย ดังนั้นในการออกแบบจึงมักจะมุ่งเน้น ไปที่ความเรียบง่าย เพื่อให้เกิดความ สะดวกในการอ่านและติดตามเนื้อหา อย่างไรก็ตามความคิดนี้อาจจะถือว่า ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เพราะนอกจากจะต้องสนองประโยชน์ใช้สอยในแง่การอ่านแล้วก็จะต้องสนองความต้องการ ในเชิงจิตวิทยาด้วย กล่าวคอืจะต้องดูแล้วไม่น่าเบื่อ น่าติดตามเนื้อเรื่องไปจนจบ ในขณะเดียวกันก็ควรจะช่วยเสริมสร้างให้เห็น ถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนที่ต้องการจะถ่ายทอด โดยขยายบุคลิกภาพของเนื้อหาให้รับรู้ได้ชัดเจนขึ้นกว่าการอ่าน แค่ตัวหนังสือเฉยๆ

Page 20: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 19

Page 21: Ca322 week08 magazine design

นิตยสาร การออกแบบและผลิตนิตยสาร | 20

__________________________________________________________ บรรณานุกรม

• ปาพจน์ หนุนภักดี. 2553. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน.์ กรุงเทพมหานคร:บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จํากัด.

• ปราโมทย์ แสงผลสิทธิ์. 2540. การออกแบบนิเทศศิลป.์ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง.

• มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2552. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-7.

• อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : วิสคอมเซ็นเตอร์.