Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · Quality P roduction 028 For Quality Vol.14 No.124...

4
For Quality February 2008 025 >>> I-UP [email protected] Note Auditor’s หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา ได้มีข้าราชบริพาร หรือบุคคลที่โชคดีซึ่งมีโอกาสทำงานรับใช้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ หลายท่าน เล่าถึง ประสบการณ์การทำงานรับใช้เบื้องยุคลบาท พระองค์ท่าน และพอสรุปได้ว่าพระองค์ท่านมีพระอุปนิสัยเด่นที่สรุปได้ 6 ประการ ดังนี1. ทรงตรงต่อเวลา นพ.ยุทธ โพธารามิก รองเลขาธิการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เล่าให้ฟังว่า “พระองค์ท่าน เป็นคนตรงเวลามากๆ ถ้าภาษาชาวบ้านก็ตรงเวลาเป๋งเลย จะสายก็เป็นนาที วินาที เท่านั้นเอง ถ้าท่านไปเร็วด้วยวิธีใดก็ตามจะให้ขบวน ชะลอ เหตุผลท่านบอกว่าเจ้าภาพ หรือผู้ที่รับรองอาจจะยังไม่เรียบร้อยจะสร้างความลำบากใจให้เขา” รศ.ดร.พิมพ์พันธุ์ เวสสะโกศล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรักษาการคณบดีวิทยาลัย- นานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตลูกศิษย์ เล่าว่า “ประทับใจมากที่เคยได้เรียนกับพระองค์ ทรงเป็นครูที่ดีมาก รำลึกถึงขัตติยนารีคุณภาพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

Transcript of Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · Quality P roduction 028 For Quality Vol.14 No.124...

Page 1: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · Quality P roduction 028 For Quality Vol.14 No.124 ไปอ่าน ในช่วง 15 นาทีที่ไปถึงเช้ากว่าเวลานัดหมาย

For Quality February 2008 025

>>>I-UP [email protected]

NoteAuditor’s

หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม

พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา ได้มีข้าราชบริพาร หรือบุคคลที่โชคดีซึ่งมีโอกาสทำงานรับใช้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ หลายท่าน เล่าถึง

ประสบการณ์การทำงานรับใช้เบื้องยุคลบาท พระองค์ท่าน และพอสรุปได้ว่าพระองค์ท่านมีพระอุปนิสัยเด่นที่สรุปได้ 6 ประการ ดังนี้

1. ทรงตรงต่อเวลา

นพ.ยุทธโพธารามิกรองเลขาธิการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.)เล่าให้ฟังว่า “พระองค์ท่าน

เป็นคนตรงเวลามากๆ ถ้าภาษาชาวบ้านก็ตรงเวลาเป๋งเลย จะสายก็เป็นนาที วินาที เท่านั้นเอง ถ้าท่านไปเร็วด้วยวิธีใดก็ตามจะให้ขบวน

ชะลอ เหตุผลท่านบอกว่าเจ้าภาพ หรือผู้ที่รับรองอาจจะยังไม่เรียบร้อยจะสร้างความลำบากใจให้เขา”

รศ.ดร.พิมพ์พันธุ์ เวสสะโกศล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรักษาการคณบดีวิทยาลัย-

นานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตลูกศิษย์ เล่าว่า “ประทับใจมากที่เคยได้เรียนกับพระองค์ ทรงเป็นครูที่ดีมาก

รำลึกถึงขัตติยนารีคุณภาพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

Page 2: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · Quality P roduction 028 For Quality Vol.14 No.124 ไปอ่าน ในช่วง 15 นาทีที่ไปถึงเช้ากว่าเวลานัดหมาย

026 For Quality Vol.14 No.124

เพราะทรงเป็นครูตัวอย่าง ตั้งใจสอน และรักษาระเบียบวินัย

พระองค์ทรงเข้าห้องสอนตรงเวลาไม่เคยสาย ทรงเข้มงวด

และเคี่ยวเข็ญให้นักเรียนตั้งใจเรียนจนได้ ซึ่งเป็นวิธีการสอน

ภาษาที่ถูกต้อง”

2. ทรงรู้ลึกและทรงใส่พระทัยในรายละเอียด

คุณณัฐยนตรรักษ์นักเปียโนและนักประพันธ์เพลง

ที่มีชื่อเสียงของไทย มีผลงานการเล่นเป็นที่ยอมรับในระดับ

นานาชาติ และ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี วาทยกรชาวไทยที่มี

ชื่อเสียงระดับโลก เล่าให้ฟังในรายการโทรทัศน์ ซึ่งแยกกัน

สัมภาษณ์ แต่เล่าให้ฟังประสบการณ์ในการแสดงต่อหน้า-

พระพักตร์คล้ายๆ กันว่า “พระองค์ท่านทรงจำโน้ตดนตรีได้

หากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเล่น หรือโน้ตดนตรี หลังจาก

การแสดง พระองค์ท่านจะทรงทัก และทรงถามถึงส่วนที่

เปลี่ยนไปได้อย่างถูกต้อง”

นพ.ยุทธ รองเลขาธิการ พอ.สว. เล่าถึงความใส่

พระทัยในรายละเอียดว่า “ท่านไม่ได้มาด้านการแพทย์ ก็

เข้าใจโดยสัญชาตญาณโดยทั่วๆ ไป ท่านจะถามหมอใน

พื้นที่ว่าคนนี้เป็นอะไร จะรักษาอย่างไร เราจะช่วยเหลือเขา

อย่างไร จะส่งไปที่ไหน ท่านถามหมด อาสาสมัคร พอ.สว.

ก็จะกราบทูล แล้วท่านไม่ลืมนะ บางทีท่าน Mark ไว้แล้ว

จะถามกลับมา ขอรายงานกลับว่าผู้ป่วยเป็นอย่างไร เราผู้-

ปฏิบัติต้องระมัดระวังให้ดี ทางจังหวัดเขาก็รู้ว่าท่านตาม

ต้องรายงานว่าปีที่แล้วเป็นอย่างไร ท่านจะตามผล ตามจน

ต้องระวัง ใครสั่งแล้วไม่ทำก็รู้สึกมันไม่ดีกับท่าน ที่จริงไม่ใช่

สั่ง-ท่านขอให้ทำ เรื่องนี้ไม่มีการสั่ง เพราะเป็นอาสาสมัคร

ท่านก็ไม่เคยสั่งอะไร”

คุณสวัสดิ์ จงกล ลูกศิษย์รุ่นแรกของสมเด็จ

พระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อปี

พ.ศ.2495 ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเอกสารหอประวัติ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า “ทรงตรวจเรียงความ

ของลูกศิษย์ทุกคนอย่างละเอียด มีการแก้ไขคำต่างๆ”

นอกจากนี้ คุณสวัสดิ์ยังเล่าอีกว่า “ทรงนำสัตวแพทย์จาก

คณะสัตวแพทย์ติดตามในคณะแพทย์อาสา พอ.สว. ด้วย

เพื่อไปช่วยดูแลสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน นอกจากจะรักษา

คนแล้ว ก็จะรักษาสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านด้วย”

รศ.ดร.พิมพ์พันธุ์อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อดีตลูกศิษย์

เล่าด้วยว่า นอกจากพระองค์จะทรงตั้งพระทัยสอนแล้วยังทรงใส่พระทัย

ในเรื่องอื่นๆ ด้วย “พอทราบข่าวว่า ลูกศิษย์ (ผศ.สุขุมาวดี ขำหิรัญ)

อาจารย์สถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัย

มหิดล เลือดคั่งในสมอง นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล พระองค์เสด็จไป

ทรงเยี่ยมถึงโรงพยาบาลจุฬาฯ ทรงน่ารักมาก อาจารย์หลายคนยังไม่สนใจ

ลูกศิษย์เท่าพระองค์”

3. ทรงเข้มงวดไม่ยอมให้ทำผิด

นพ.ยุทธรองเลขาธิการพอ.สว. เล่าให้ฟังว่า “ถ้าท่านบอกอย่างนี้

อย่าทำ ไม่ควรทำ ใครทำขึ้นมาโกรธนะครับ และมีทางเดียวต้องไปขอโทษ

ท่าน คนใกล้ชิดกลัวท่านจะตาย ถ้าทำผิด ท่านดุน่ากลัว เวลาท่านดุ แต่

ไปขอโทษท่านก็โอเค จบ แล้วก็ forget it”

4. ทรงยุติธรรมไม่เอาเปรียบ

นพ.ยุทธรองเลขาธิการพอ.สว.รำลึกถึงพระอุปนิสัยส่วนนี้ให้ฟัง

ว่า “เวลาท่านเสด็จฯ ไปไหน เช่น ไปคอนเสิร์ตจะเห็นมีผู้ติดตาม ถามว่า

Page 3: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · Quality P roduction 028 For Quality Vol.14 No.124 ไปอ่าน ในช่วง 15 นาทีที่ไปถึงเช้ากว่าเวลานัดหมาย

Quality Production

For Quality February 2008 027

ผู้ติดตามเสียเงินไหม ความจริงเจ้าของคนจัดคอนเสิร์ตเขาไม่เก็บเงินผู้

ติดตามหรอก แต่ท่านบังคับให้เสีย ให้ซื้อตั๋วด้วย - เขาให้ฉันคนเดียว ใคร

ไปกับฉันต้องซื้อตั๋วด้วย ท่านบอกว่าไปกับท่านก็ได้รับความสะดวกมากแล้ว

อย่างไปประทับโรงแรมต่างจังหวัด เขาให้ฉันคนเดียว ใครไปด้วยต้องจ่าย

ค่าโรงแรม นี่เรื่องจริง อย่าคิดว่าผู้ติดตามไปฟรีนะ ความจริงเจ้าของเขา

ให้ฟรีอยู่แล้ว แต่ด้วยคำสั่งท่านต้องเสีย เพราะเขาลงทุนคล้ายๆ ว่าไป

กับฉันก็ได้รับความสะดวกสบายพออยู่แล้ว มีรถรับ-ส่ง ผมเคยถามคน

ติดตามเสียค่าเครื่องบินไหม เขาบอกเสียสิ เสียเต็มด้วย ดีไม่ดีท่านขอดู

ตั๋วขึ้นมา”

5. ไม่ถือพระองค์ ทรงมีความเป็นกันเอง และทรงใช้ชีวิตเยี่ยง

สามัญชน

รศ.ดร.พิมพ์พันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตลูกศิษย์

เล่าว่า “เมื่อพวกเราเรียนจบ พระองค์ทรงพระกรุณาเสด็จมาฉายพระรูปกับ

พวกเราในวันซ้อมรับปริญญา และในวันรับปริญญา พระองค์ประทับอยู่บน

เวทีด้วยในฐานะพระอาจารย์ของพวกเรา”

คุณสวัสดิ์ ลูกศิษย์รุ่นแรกของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เล่าว่า

“พระอาจารย์เคยเล่าให้ฟังในห้องเรียนว่า ความสุขที่แท้จริง คือ การได้

ปลีกวิเวกอยู่กับตัวเอง แต่การเป็นเจ้าฟ้า หากอยู่ต่างประเทศก็มีความเป็น

อิสระพอควร แต่เมื่ออยู่ในประเทศไทย ความสุขส่วนพระองค์ของพระองค์

ท่านมีไม่เกิน 20 นาที โดยครั้งหนึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จสำเพ็งเป็นการ

ส่วนพระองค์ ซึ่งไม่มีใครจำพระองค์ได้ แต่หลังจากนั้นตำรวจก็มาถวาย

การอารักขา”

6. ทรงมัธยัสถ์

นพ.ยุทธ รองเลขาธิการ พอ.สว. กล่าวถึง ความเหมือนของ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กับสมเด็จย่าว่า “เหมือนกัน ผมว่าเหมือนหลาย

อย่าง ท่านได้แม่มาเยอะ เสียงนี่เผลอๆ นึกว่าเสียงสมเด็จย่าในวัยเดียวกัน

นะ สอง ความมัธยัสถ์ ใครนั่งโต๊ะเสวยต้องกินให้หมดนะ ไม่หมด ท่าน

ว่าให้ด้วย ท่านบอกคนจนมีเยอะแยะ ท่านได้แม่มาเยอะมาก ต้องกินให้

หมด ไม่หมดนั่งจนหมด ไม่ได้นะครับ นึกถึงคนอื่นที่เขาไม่มีกิน ท่านจะ

สอนเสมอ ในหนังสือแม่เล่าให้ฟังก็มีเรื่องนี้ด้วย”

พระอุปนิสัยทั้ง 6 ประการดังกล่าวนั้น ในแวดวงคนทำงาน

คุณภาพ นับได้ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นบุคคลตัวอย่างในการทำงานได้

อย่างแท้จริง

ขอพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย...

ข้อคิด

“ในครอบครัวของเรา ความรับผิดชอบเป็นของ

ใครที่ไม่ต้องคิด เป็นธรรมชาต ิสิ่งที่สอนกันอันดับแรกคือ

เราทำอะไรให้เมืองไทย”

พระราชดำรัสตอนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

TIPSทำอย่างไรให้เป็นคนตรงต่อเวลา

1. ตั้งนาฬิกาให้ตรงเวลา หรือเร็วกว่าเวลา 5-

15 นาที

2. ติดตั้งนาฬิกาทุกห้องที่บ้าน หรือที่ทำงาน

เพื่อเตือนเวลาให้ตนเอง

3. อย่าลืมตั้งเวลาให้ตรงกันทุกเรือน

4. อย่าเป็นคนมองโลกในแง่ดี เช่น นัดประชุม

10.00 น. เวลาที่ใช้ในการเดินทางจากบ้านไปประชุมใช้

เวลาเพียง 30 นาที ออกจากบ้าน 9.30 น. ก็ทัน ให้คิด

เผื่อเวลาไว้เหตุฉุกเฉิน หรือสิ่งที่ไม่คาดคิดไว้เสมอ เช่น

ในกรณีนี้ให้ออกจากบ้าน 9.15 น. แทน

5. อย่าวางนาฬิกาปลุกที่หัวเตียงนอน เพราะ

คนเรามักจะกดเสียงนาฬิกาปลุกปิด และนอนต่อ ให้วาง

นาฬิกาปลุกไว้ไกลๆ ตัว ต้องลุกจากเตียงมากดปิด เพื่อ

ให้ลืมตา ร่างกายตื่น

6. มุ่งมั่น สัญญากับตนเองว่า ฉันจะต้องไปถึง

ก่อนเวลานัดหมาย 15 นาทีทุกครั้ง เช่น หากเวลาเริ่มงาน

8.00 น. ก็ให้บอกกับตนเองว่า ฉันต้องไปถึงที่ทำงาน

7.45 น. เป็นต้น และหากนำเอกสาร บทความขนาดสั้น

พระองค์ท่านเป็นคนตรงเวลามาก ๆ ถ้า

ภาษาชาวบ้านก็ตรงเวลาเป๋งเลย จะสายก็เป็น

นาที วินาที เท่านั้นเอง ถ้าท่านไปเร็วด้วยวิธีใด

ก็ตามจะให้ขบวนชะลอ เหตุผลท่านบอกว่าเจ้า

ภาพ หรือผู้ที่รับรองอาจจะยังไม่เรียบร้อย

จะสร้างความลำบากใจให้เขา

Page 4: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · Quality P roduction 028 For Quality Vol.14 No.124 ไปอ่าน ในช่วง 15 นาทีที่ไปถึงเช้ากว่าเวลานัดหมาย

Quality Production

028 For Quality Vol.14 No.124

ไปอ่าน ในช่วง 15 นาทีที่ไปถึงเช้ากว่าเวลานัดหมาย จะ

ทำให้เกิดความรู้สึกทำงานสำเร็จไป 1 งาน

7. จับเวลาที่ ใช้ไปในการทำกิจกรรมแต่ละ

กิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดเวลาใหม่ เช่น ให้เวลา

อาบน้ำ 15 นาที อาบจริงกี่นาที บางคนอาจจะบอกว่าตื่น

6.00 น. อาบน้ำ 30 นาที ออกจากบ้าน 6.30 น. แต่ในความ

เป็นจริง อาจจะมีกิจกรรมที่ต้องทำมากกว่า เช่น ผู้หญิง

หากเช้าวันใดสระผม จะใช้เวลามากกว่าวันไม่สระผม เพราะ

ต้องมีการเป่าผมให้แห้ง เป็นต้น

8. ดูว่าใน 1 วันตนเองเสียเวลาไปกับสิ่งใด เพื่อ

จะดำเนินหามาตรการจัดการกับสิ่งนั้น เช่น เสียเวลา

ท่อง Internet หลังเช็กอีเมล ก็ให้หามาตรการมาเพื่อ

จัดการกับสิ่งนั้น โดยอาจจะให้เจ้าหน้าที่ IT ล็อกเวลาใน

การเล่น Internet ให้

9. ทำบันทึกเตือนตนเอง เวลาที่ต้องทำกิจกรรม

เช่น เพื่อให้ฉันต้องออกจากบ้านไปทำงานตอน 7.00 น.

ดังนั้น 6.00 น. ตื่นนอน 6.05 น. เก็บที่นอน 6.10 น.

อาบน้ำแปรงฟัน 6.25 น. แต่งตัว 6.35 น. ทานข้าว 6.50 ออกจากซอย

เป็นต้น

10. จัดของวางให้เข้าที่เข้าทาง เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการหาของ

เช่น วางกุญแจรถไว้กับกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น

11. เตรียมเสื้อผ้าที่จะใส่ในวันรุ่งขึ้น (และรองเท้า) ล่วงหน้า

12. หากไปในสถานที่ไม่คุ้นเคย ให้ศึกษาแผนที่ หรือโทรศัพท์

สอบถามผู้รู้ก่อน (รวมถึงการโดยสารโดยรถประจำทาง)

13. เติมน้ำมันให้เต็ม 1 วันล่วงหน้าก่อนเดินทาง และบำรุงรักษา

รถให้อยู่ในสภาพที่ดี

14. หากต้องเดินทางโดยอาศัยรถคนอื่น ให้เตรียมแผนสำรองไว้

ด้วย

15. เข้านอนให้ตรงเวลา หลับให้เพียงพอ

แถมท้าย การมาสายนั้น เป็นสนิมกัดกร่อนความสัมพันธ์ที่ดีกับ

เพื่อน เพื่อนร่วมงาน และเจ้านาย รวมถึงความเป็นมืออาชีพ เพราะหาก

คุณมาสายจะทำให้ผู้รอเกิดความระคายเคืองใจ และลดการให้ความสำคัญ

ของคุณ (เพราะคุณไม่ให้ความสำคัญกับเขาก่อนนี่นา)

เอกสารอ้างอิง

ที่มา http://www.wikihow.com/Be-Punctual

ท่านไม่ได้มาด้านการแพทย์ ก็เข้าใจโดย

สัญชาตญาณโดยทั่วๆ ไป ท่านจะถามหมอใน

พื้นที่ว่าคนนี้เป็นอะไร จะรักษาอย่างไร เราจะ

ช่วยเหลือเขาอย่างไร จะส่งไปที่ไหน ท่านถาม

หมด อาสาสมัคร พอ.สว. ก็จะกราบทูล แล้ว

ท่านไม่ลืมนะ บางทีท่าน Mark ไว้แล้วจะถาม

กลับมา ขอรายงานกลับว่าผู้ป่วยเป็นอย่างไร

เราผู้ปฏิบัติต้องระมัดระวังให้ดี ทางจังหวัดเขา

ก็รู้ว่ าท่านตาม ต้องรายงานว่าปีที่ แล้วเป็น

อย่างไร ท่านจะตามผล ตามจนต้องระวัง ใคร

สั่งแล้วไม่ทำก็รู้สึกมันไม่ดีกับท่าน ที่จริงไม่ใช่

สั่ง-ท่านขอให้ทำ เรื่องนี้ไม่มีการสั่งเพราะเป็น

อาสาสมัคร ท่านก็ไม่เคยสั่งอะไร