Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119...

6
Q uality P roduction 042 For Quality Vol.14 No.119 Note Q uality P roduction ข้อกำหนดข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่แยกออกมาใหม่ในมาตรฐาน ISO 14001:2004 ก็คือ ข้อกำหนด 4.5.2 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ว่าด้วยการประเมินความสอดคล้อง (evaluation of compliance) ข้อกำหนดข้อ 4.5.2 นี้ แบ่งเป็น 2 ข้อย่อย 4.5.2.1 ว่าด้วยการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่องค์การ เกี่ยวข้อง 4.5.2.2 ว่าด้วยการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมทีองค์การเกี่ยวข้อง >>> โดย ไอ-อัพ (I-UP) [email protected] Auditor’s ตอน องค์การของคุณเป็นพลเมืองดี ทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม

Transcript of Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119...

Page 1: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119 วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

Quality Production

042 For Quality Vol.14 No.119

Note

Quality Production

ข้อกำหนดข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่แยกออกมาใหม่ในมาตรฐาน ISO 14001:2004 ก็คือ ข้อกำหนด

4.5.2 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ว่าด้วยการประเมินความสอดคล้อง (evaluation of compliance) ข้อกำหนดข้อ 4.5.2

นี้ แบ่งเป็น 2 ข้อย่อย

4.5.2.1 ว่าด้วยการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่องค์การ

เกี่ยวข้อง

4.5.2.2 ว่าด้วยการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่

องค์การเกี่ยวข้อง

>>>โดย ไอ-อัพ (I-UP) [email protected]

Auditor’s

ตอน องค์การของคุณเป็นพลเมืองดี ทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่

Page 2: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119 วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

Quality Production

For Quality September 2007 043

ข้อกำหนดข้อ 4.5.2 นี้ ต้องการให้องค์การที่ทำระบบการ

จัดการทางด้านสิ่งแวดล้อม มีความมุ่งมั่น และแสดงเจตจำนงที่จะ

เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม โดยอย่างน้อยจะต้องมีการประเมินตนเอง

ถึงสถานะของการปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนด

อืน่ๆ ที่องค์การเกี่ยวข้องอย่างเป็นระยะๆ (หรือ periodic evaluations

โดยมีกำหนดระยะเวลา ความถี่ในการประเมินที่ชัดเจน) กล่าวโดยย่อ

ข้อกำหนด 4.5.2 ระบุสิ่งที่องค์การจะต้องดำเนินการ ดังนี้

● จัดทำ (establish) นำไปปฏิบัติ (implement) และรักษาไว้

(maintain) ซึ่ง Procedure หรือขั้นตอนการทำงาน เรื่องการประเมิน

ความสอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ โดยต้องระบุ

➺ วิธีการประเมินความสอดคล้อง

➺ ความถี่ในการประเมิน

➺ บันทึกที่ใช้รายงานผลของการประเมินความสอดคล้อง

ข้อกำหนดเขียนไว้สั้นๆ กะทัดรัด เสน่ห์ของข้อกำหนด คือ

บอกว่าจะต้องทำอะไร แต่ให้องค์การไปคิดต่อเอาเองว่าจะทำอย่างไร

Auditor’sข้อกำหนด 4.5.2 การประเมินความสอดคล้อง

องค์การต้อง “ประเมิน” (evaluate) เป็น

ระยะๆ ว่ามีการปฏิบัติสอดคล้องตามกฎหมายและ

ข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามข้อ 4.3.2 หรือไม่

ข้อกำหนดข้อ 4.5.2 นี้ เป็นข้อกำหนดที่ต่อเนื่อง

มาจากข้อกำหนดข้อ 4.3.2 คือ ข้อกำหนดที่ว่าด้วย

กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ขอ

ให้ดูรูปประกอบข้างล่าง

ข้อกำหนด 4.3.2 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

ทางด้านสิ่งแวดล้อม

องค์การต้อง “รู้” หรือ “ระบุได้”

(identify) ว่ามีกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

อะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการทาง

ด้านสิ่งแวดล้อมของตน

Page 3: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119 วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

Quality Production

044 For Quality Vol.14 No.119

ทีนี้เรามาดูต่อที่ภาคผนวก A (Annex A) หรือ

แนวทางในการใช้มาตรฐาน ISO 14001 (Guidance

on the use of this International Standard - ISO

14001) ต่อไปขอเรียกย่อๆ ว่า Annex A และ ISO

14004:2004 Environmental Management Systems:

General Guidelines on Principles, Systems and

Support Techniques หรือข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับ

หลักการระบบ และเทคนิคในทางปฏิบัติ ต่อไปขอ

เรียกย่อๆ ว่า ISO 14004 ก็จะพบรายละเอียดมากขึ้น

คำถามที่ 1 ถามว่า ข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย

และข้อกำหนดอื่นๆ อะไรบ้างที่องค์การจะต้องจัดให้มี

การประเมินความสอดคล้อง

คำตอบ Annex A และ ISO 14004 ได้ยก-

ตัวอย่างกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ดังนี้

ตัวอย่างของข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย

ได้แก่

● กฎหมายระดับประเทศ เป็นกฎหมาย

พระราชกฤษฎีกา ประกาศ คำสั่ง ที่ออกโดยกระทรวง

กรม จังหวัด หรือตำบล หรือกฎหมายประจำท้องถิ่น

● กฎหมายระหว่างประเทศ หรือสนธิสัญญา

อนุสัญญา หรือข้อตกลง

● ใบอนุญาต หรือบางองค์การต้องมีการทำ

EIA

ตัวอย่างของข้อกำหนดอื่นๆ ได้แก่

● ข้อตกลงที่ทำร่วมกับองค์การสาธารณชน

● ข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้า

● แนวทางในการดำเนินงานที่ไม่ใช่เป็นการ

บังคับ Non-Regulatory Guidelines

● แนวทางที่เกิดจากความสมัครใจ หรือแนว-

ปฏิบัติ (voluntary principles or codes of practice)

● ข้อกำหนดฉลากผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ

สิ่งแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากผู้เขียน:

โดยปกติมีทางเลือกในการจัดทำ Procedure หรือขั้นตอน

การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความสอดคล้อง ดังนี้

➲ เขียนเป็น Procedure เรื่องใหม่ คือ เรื่องการประเมิน

ความสอดคล้อง (ข้อดีชัดเจน ข้อเสียอาจทำให้เกิด Procedure มาก

ขึ้น โดยไม่จำเป็น)

➲ นำ Procedure เรื่องการประเมินความสอดคล้อง ไปรวม

กับ Procedure เรื่องกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (หรือ

เป็น procedure เพื่ออธิบายข้อกำหนด ISO 14001 ข้อ 4.3.2 และ

4.5.2 รวมกัน) เพื่ออธิบายตั้งแต่ วิธีการระบุ วิธีการตามกฎหมายและ

ข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปจนถึงการประเมินความสอดคล้อง

(ข้อดี เป็นการจับคู่ข้อกำหนดที่สัมพันธ์กัน และงานที่เกี่ยวเนื่องกัน

ข้อเสีย ไม่มี)

➲ นำ Procedure เรื่องการประเมินความสอดคล้อง ไปรวม

กับ Procedure เรื่องการเฝ้าติดตามและตรวจวัด (หรือเป็น Procedure

เพื่ออธิบายข้อกำหนด ISO 14001 ข้อ 4.5.1 และ 4.5.2 รวมกัน) โดย

อธิบายตั้งแต่การเฝ้าติดตามผลการดำเนินงานของวัตถุประสงค์และ

เป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม ไปจนกระทั่งผลการดำเนินงานตาม

กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (ข้อดี เป็นการ

กล่าวถึงการตรวจติดตามงาน (checking) โดยเฉพาะ ข้อเสีย ไม่มี)

➲ นำ Procedure เรื่องการประเมินความสอดคล้องไปรวม

กับ Procedure เรื่องการตรวจติดตามภายใน หรือ Internal Audit

(หรือเป็น Procedure เพื่ออธิบายข้อกำหนด ISO 14001 ข้อ 4.5.2

และ 4.5.5 รวมกัน) (ข้อดี เป็นการรวมข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจ

ประเมิน สามารถทำการตรวจประเมินภายใน และประเมินความ

สอดคล้องไปพร้อมๆ กัน ข้อเสีย จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า

หลายๆ องค์การทำการประเมินความสอดคล้องได้ไม่ลงรายละเอียด

ในส่วนของกฎหมายมากนัก ใน Audit Checklist จะมีเพียงคำถาม

ถามว่าคุณมีการประเมินความสอดคล้องหรือไม่ เมื่อไร จบ ซึ่งหาก

สามารถลงรายละเอียด แจกแจงในส่วนของกฎหมาย ใน Audit Checklist

ได้ ก็จะแสดงให้เห็นว่ามีการประเมินความสอดคล้อง การปฏิบัติตาม

กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ อย่างชัดเจน เช่น ค่า pH น้ำเสียของ

โรงงาน เป็นอย่างไร มีการเก็บค่าล่าสุดเมื่อไร เป็นไปตามมาตรฐานตาม

ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมหรือไม่

เป็นต้น)

Page 4: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119 วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

Quality Production

For Quality September 2007 045

(product stewardship commitments) ระบุความ

รับผิดชอบในการจัดการผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การผลิต การ

ใช้ และการกำจัด

● ข้อกำหนดขององค์การทางการค้าที่เกี่ยวข้อง

● เอกสารแสดงความมุ่งมั่นทางด้านสาธาร-

ณะขององค์การหรือนโยบายของบริษัทแม่

● ข้อกำหนดที่องค์การกำหนดขึ้นเอง เช่น

บางบริษัทจะมี Green Procurement หรือข้อกำหนด

การจัดซื้อวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อทราบกฎหมายและข้อกำหนดดังที่กล่าวมา

ข้างต้น องค์การก็จะต้องสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ได้

มีการ “ประเมิน” สถานะของการปฏิบัติตามกฎหมาย

ดังกล่าวครบถ้วน

คำถามที่ 2 ถามว่า แล้ววิธีการประเมินความ

สอดคล้องนั้น ควรทำอย่างไร ?

คำตอบ ISO 14004 ได้มีการยกตัวอย่างวิธี

การประเมินความสอดคล้องไว้ ดังนี้

A การตรวจติดตาม (audits) โดยสามารถทำ

การประเมินความสอดคล้องไปพร้อมๆ กับการตรวจ-

ติดตามภายใน (internal audit) ตามที่กล่าวมาแล้ว

ข้างต้น

B การทบทวนเอกสาร/บันทึก (documents

and/or records review) โดยการทบทวนเอกสาร/

บันทึกที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินความสอดคล้อง เช่น เมื่อได้รับผล

รายงานค่าน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการ ก็จะต้องมีการทวนสอบค่าต่างๆ

เช่น BOD COD ว่ามีค่าตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

C การตรวจสอบโรงงาน (facility inspections) โดยเป็นการ

ตรวจระบบการจัดการสาธารณูปโภค โครงสร้าง และสิ่งแวดล้อมของ

โรงงาน ว่ามีผลการดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายหรือข้อกำหนด

อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ จากประสบการณ์ที่น่าประทับใจของผู้เขียน

พบว่า มีบริษัทอเมริกันแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทุนมาก และมีความมุ่งมั่นใน

การเป็นพลเมืองดีสูง ถึงกับจ้างหน่วยงานที่ เชี่ยวชาญทางด้าน

กฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม ไปประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

ตามกฎหมายของบริษัท โดยผู้บริหารบอกว่า ทุกกฎหมายในเมืองไทย

ที่บริษัทต้องปฏิบัติตาม ให้ประเมินให้ครบ ให้ละเอียด และทำ

รายงานให้ทราบ ว่าบริษัทยังปฏิบัติไม่ครบถ้วน หรือไม่สอดคล้อง

อะไรบ้าง เพื่อที่จะได้นำผลการประเมินไปแก้ไข (ความมุ่งมั่นสูงปรี๊ด)

D การสัมภาษณ์ (interviews) โดยอาจจะสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ

ตามกฎหมายว่าทราบหรือไม่ว่าผลการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อม

เป็นอย่างไร

E การทบทวนโครงการหรืองาน (project or work reviews)

บางองค์การจะมีสถานการณ์ทำงานเป็นรูปแบบของโครงการ (project

management) เช่น หน่วยงาน R&D ของบริษัทผลิตรถ เมื่อมีการ-

Share ประสบการณ์ของผู้ เขียน:

ประเด็นที่มักจะพบจากการตรวจประเมิน คือ

หลายๆ องค์การมักจะลืมนำเอาข้อกำหนดอื่นๆ

มาอยู่ในทะเบียน โดยมากจะเน้นตัวบทกฎหมาย

แต่ไม่นำข้อกำหนดอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นมาอยู่

ในทะเบียนทำให้เมื่อถึงเวลาต้องมีการประเมิน

ความสอดคล้อง ก็จะลืมประเมินในเรื่องของข้อ-

กำหนดอื่นๆ ไปด้วย

Page 5: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119 วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

046 For Quality Vol.14 No.119

วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

ตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ไปพร้อมๆ กับการทบทวนความคืบ

หน้าของโครงการ เช่น ชิ้นส่วน หรือ Part ที่ใช้ในรถรุ่นใหม่ มีส่วน-

ประกอบของสารอันตรายหรือไม่ มีเปอร์เซ็นต์ของชิ้นส่วนที่ Recycle

นำกลับมาใช้ได้ หรืออัตราการใช้น้ำมันเป็นไปตามข้อกำหนด ของ

บริษัทหรือไม่ เป็นต้น

F การวิเคราะห์ผลการสุ่มตัวอย่างหรือผลการทดสอบ การ

ทวนสอบผลการสุ่มตัวอย่างหรือผลการทดสอบ (routine sample

analysis or test results, and/or verification sampling/testing) เช่น

บางบริษัทมีห้องปฏิบัติการเป็นของตนเอง ก็จะมีการสุ่มนำน้ำเสียของตน

ออกไปห้องปฏิบัติการภายนอกที่ได้รับการรับรองตรวจสอบอีกครั้ง

เพื่อมั่นใจได้ว่าผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการภายในเชื่อถือได้ หรือ

บางโรงงานที่ตั้งอยู่ในการนิคมอุตสาหกรรม การนิคมฯ จะมีการสุ่ม-

ตัวอย่างน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานว่ามีค่าตามที่กฎหมายกำหนดหรือ

ไม่ เป็นต้น

G การทัวร์โรงงาน หรือจากการสังเกตการทำงาน

โดยตรง (facility tour and/or direct observation)

เป็นการเดินทัวร์เพื่อเช็กภาพรวมของระบบการจัดการ

สิ่งแวดล้อม โดยมากวิศวกรสิ่งแวดล้อม หรือนักวิทยา-

ศาสตร์สิ่งแวดล้อม จะเป็นผู้เดินทัวร์อาจจะคนเดียว

หรือร่วมกับคณะกรรมการระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

เพื่อสังเกตระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท เช่น

ห้องคัดแยกและพักขยะ ระบบบำบัด ปล่อง เป็นต้น โดย

องค์การที่มีระบบที่ดี ก็จะมีการออกแบบ Checklist ที่

เอาไว้ใช้ระหว่างการทัวร์ เพื่อให้การทัวร์ครบถ้วน มีสาระ

ได้ประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการที่

ไม่มีความรู้ หรือประสบการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมมาก

นัก

Quality Production

Page 6: Auditor’s - TPA · 2018-03-13 · 046 For Quality Vol.14 No.119 วิจัยและพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ จะทำการประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติ

Quality Production

For Quality September 2007 047

คำถามที่ 3 แล้วควรทำการประเมินความสอด-

คล้อง ด้วยความถี่อย่างไร ข้อกำหนดบอกเพียงเป็น

ระยะๆ

คำตอบ ความถี่ในการประเมิน สามารถกำหนด

ได้โดยพิจารณาจากขนาด ประเภท และความสลับ

ซับซ้อนของกระบวนการทำงาน รวมถึงสถานะของ

ความสอดคล้องของกฎหมายหรือข้อกำหนดอื่นๆ เช่น

หากค่า BOD น้ำเสียยังไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย

กำหนด หน่วยงานอาจจะต้องเพิ่มความถี่มากขึ้น หรือ

โรงงานปิโตรเคมี ซึ่งกระบวนการผลิตที่สลับซับซ้อน

ควรจะมีความถี่ในประเมินความสอดคล้องมากกว่าโรง

ฉีดพลาสติก เป็นต้น

นอกจากนี้ ISO 14004 ยังแนะนำต่ออีกว่า การ

ประเมินความสอดคล้องจะเป็นประโยชน์มากขึ้น หากจัด

ให้มีระบบการประเมินความสอดคล้องแบบเป็นอิสระ

(independent review) เป็นระยะๆ หมายความว่า

มิควรให้คนที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงเป็นผู้ประเมิน

ความสอดคล้องของงานที่ตนเองรับผิดชอบ เช่น การ

ประเมินความสอดคล้องของระบบบำบัดน้ำเสีย อาจ

จะให้ผู้ประเมินเป็นผู้ดูแลระบบการจัดการขยะ เป็นต้น

นั่นก็คือแลกกันประเมินตามหลักการเบื้องต้นของ QC

นั่นเอง คือ คนที่มิได้รับผิดชอบในงาน อาจจะมองเห็น

ข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่าผู้ที่ทำงานนั้นโดยตรง

การประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติ

ตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ นั้น ในมุมมองของ

ผู้เขียน คือ สิ่งทุกองค์การจะต้องทำให้ได้ เพราะทุก-

องค์การเปรียบเสมือนเป็นพลเมืองของประเทศ เป็น

เพียงการ Meet Minimum Requirements เท่านั้น

คล้ายๆ กับอายุ 15 ต้องไปทำบัตรประชาชน ทำงาน

ต้องเสียภาษีเงินได้ คือ เป็นข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่

องค์การต้องปฏิบัติตาม แต่พบว่า หลายๆ องค์การ

กลับมองว่าเป็นการเพิ่มภาระ และเพิ่มงานแทน

จากสถานการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เราเองก็รู้ๆ กันอยู่

ขอให้ท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบสิ่งแวดล้อม อย่าใช้ช่องโหว่ของ

กฎหมายหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายเลย โดยเฉพาะคนที่

ทำงานกับบริษัทต่างชาติ หากมาทำงานที่ประเทศเรา บริษัทเหล่านั้น

ก็ต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย มีการลงทุนทางด้าน

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี อย่าให้การประหยัด การช่วยหา

ข้อหลีกเลี่ยงมาเป็นภาระแก่ชุมชน สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม

อันบอบช้ำของประเทศอันเป็นที่รักของเราไปมากกว่านี้อีกเลย

ข้อคิด

Be open to learning new lessons even if they contradict the

lessons you learned yesterday.

จงเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถึงแม้ว่ามันจะขัดแย้งกับสิ่งที่เราได้

เรียนรู้มาแล้วก่อนหน้า

Ellen Degeners in Elle