Appreciative Inquiry Coaching A-Z

28
AI Coaching A to Z ดร.ญโญ ตนาน อง AI Thailand/Appreciative Inquiry Institute www.aithailand.org @ 2016 © ดร.ญโญ ตนาน www.aithailand.org

Transcript of Appreciative Inquiry Coaching A-Z

Page 1: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

AI Coaching A to Z ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AI Thailand/Appreciative Inquiry Institutewww.aithailand.org @ 2016© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 2: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

A= Appreciative Inquiry Coaching

• คือการโค้ชพัฒนามาจากศาสตร์การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่ชื่อ Appreciative Inquiry ที่เน้นการค้นหาสิ่งดีๆ ความภาคภูมิใจของโค้ชชี่ โดยใช้คำถามเชิงบวก ให้โค้ชชี่ค้นพบแล้วนำสิ่งที่ดีๆ ในตัว ในองค์กร สิ่งแวดล้อมไปขยายผลสร้างความสำเร็จในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน เป็นชีวิตส่วนตัว ตามประสบการณ์ผมได้ผสมผสานศาสตร์หลายๆศาสตร์ จากฝั่ง OD (พัฒนาองค์กร) พวก Brain science แม้กระทั่งแนวคิดบริหารที่ดีๆ เข้าไป ทำให้กลมกล่อมใช้ได้ผลมากขึ้น เนื่องจากผมผสมผสานจนต่างไปจากเดิมเลยเรียกใหม่ว่า AI Coaching© ครับ

© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 3: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

B= Brain Science

• เป็นศาสตร์ที่มีประโยชน์มากๆ ผมใช้แนวทางของ Whole Brain Lietracy (WBL) ของดร. Perla Rizalina M. Tayko สมองมนุษย์แบ่งเป็นสี่ส่วนครับ

• I-Control มีบุคลิกเป็นพวกที่ควบคุม จัดระบบเก่ง แต่มักมีปัญหาเรื่องคน

• I-Preserve มีมนุษย์สัมพันธ์ดี แต่อาจมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเอง

• I-Explore เป็นพวกคิดสร้างสรรค์ แต่อาจมีปัญหาว่าไม่เริ่มทำอะไรจริงจัง สุดท้ายพวก

• I-Pursue พวกมีเป้าหมายเอาไว้พุ่งชน แต่อาจขาดวิสัยทัศน์

• มนุษย์ที่สมบูรณ์จะใช้สมองสี่ส่วนนี้ได้เหมาะกับสถานการณ์ ข่าวร้ายคือมีไม่กี่คนที่ทำได้ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาโดยธรรมชาติ ซึ่งโค้ชจะดูออกครับ เช่นผมเคยเจอพวก I-control ที่ไม่มีความสุขเลย เพราะทะเลาะกับสามี ยันพนักงาน ตัวนี้เรียกว่าไม่สมดุล สิ่งที่เราเพิ่มได้ คือหันไปสร้างสมดุลที่สมองซีกตรงข้ามคือ I-preserve ผมชวนมาเรียนเรื่อง Happiness ก็มีความสุขขึ้น อีกคนเป็น I-explore ไม่ทำอะไรเลยมัวแต่คิด ผมก็เริ่มให้ทำตรงข้างคือ I-Pursue ตอนนี้เก่งขึ้น ตามทฤษฎีของอาจารย์ เราพัฒนาคนนี้พัฒนาด้านตรงข้ามได้เลย และจริงๆ คือพรสวรรค์ที่ซ่อนเร้นนั่นเอง ทฤษฎีนี้จึงเน้นการพัฒนาโค้ชชี่ให้ใช้สมองได้อย่างสมดุลมากขึ้น ชีวิตจะดีขึ้น สุขขึ้น สำเร็จขึ้นครับ

• อาจารย์ Perla ต่อยอดเรื่องนี้มาจาก Dudley Lych อีกทีครับ© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 4: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

C=Commitment

• 10-10-10 เป็นเครื่องมือที่ดีมากๆครับ คือจะทำอะไรก็ตาม OD หรือ Coaching ก็ตาม ปัญหาใหญ่คือโค้ชชี่ทราบปัญหาแล้ว อยากแก้แล้ว วางแผนแล้ว แต่ไม่ทำ ใช้เทคนิกนี้ครับ ให้เขาวางแผนเลยว่าใน 10 วัน 10 สัปดาห์ 10 เดือนจะทำอะไรบ้าง สำคัญที่สุดคือ 10 วันแรก ถ้าเริ่มได้ ที่เหลือตามมาเอง กรอบตรงนี้เอาไว้ Followup ด้วยครับ การวางแผนลองใช้เวลาสัก 10 นาที วางแผนคิดเร็วๆ เลยว่าจะทำอะไรใน 10-10-10 ผมได้แนวคิดมาจาก Suzy Welch ครับ ทำสำเร็จมามากแล้วครับ

© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 5: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

D=4D Process• ทำ Appreciative Inquiry Coaching เน้นที่การค้นหา

เรื่องดีๆ ของโค้ชชี่ ตั้งคำถามค้นหาเรื่องดีๆ (Discovery) แล้วพาโค้ชชี่วาดฝัน (Dream) พากันออกแบบ (Design) และขยายผล (Destiny) บางทีคุยกันธรรมดาๆ นี่เองก็ครบวงจรได้ เช่นขณะผมสอนลูกศิษย์ MBA คนหนึ่งชื่อคุณม่อน ตอนนั้นทำ Thesis กับผม ว่าม่อนๆ ที่ผมสอนไปม่อนชอบอะไร ม่อนบอกว่าชอบเรื่อง Consulting ครับ (Dicscovery) ผมอยากเป็น Consult แบบอาจารย์ (Dream) ..อ้าว งั๊นมาทำ Thesis เรื่องนี้กัน (Design) ที่ก็มีการออกแบบ การสร้างโอกาส เช่นเรียน OD มากขึ้นกว่าเดิม ไปลองสนามจริง ไป networking เปิดบริษัท Destiny ทำจริง ..ตอนนี้เปิดบริษัท ABC Club ได้งาน Consult ดีๆ หลายๆงานเลยครับ แถมตอนนี้ต่อยอดมาเขียนหนังสือ เปิด Public Course อีก ...ชัดไหมครับ ถามคำเดียว ถ้าโค้ชชี่ชอบอะไร มัก “ใช่” เสมอ โค้ชก็ “เชียร์” และ “ช่วย” เท่าที่จะทำได้ด้วยความรู้ด้วยโอกาส เท่านี้ก็โตได้ครับ อีกคนอ.โอ๋ ชอบ Theory U ที่ผมสอน Step เดียวกันครับ ตอนนี้เปิด U.Lab Thailand แถมต่อยอดเรียนเอกไกล้จบแล้วครับ และก็เปิดบริษัทชื่อ Presencing Purpose

© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

http://www.tmiaust.com.au/what_we_do/appreciative_inquiry.htm

Page 6: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

E = Equation• Success = Attitude + Alliance + Assignment

ลองหากรอบการมองชีวิตจากนักคิดข้างบน เป็นสมการความสำเร็จของนักบุกเบิกจากน่าซ่า ความสำเร็จมาจาก การมีทัศนคติที่ดี + การมีพันธมิตร กัลยาณมิตร หรือครูในหลายแวดวง รู้ว่าติดปัญหาเรื่องนี้จะไปหาใคร+ Assignment วางแผนชีวิตทำงานที่ชอบอย่างมีจุดหมาย ใช้กรอบการมองแบบนี้บางทีตะทำให้เห็นสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมโค้ชชี่บางคนก็มีปัญหาเรื่องทัศนคติ ก็มาคุญกันเรื่องนี้ก่อน ไม่อย่างนั้นไปไหนไม่รอด หรือบางที่ไม่รู้จักใครเลยก็ยาก มีแต่เข้าหาไม่ได้ ทำตัวไม่เป็นก็ไปไม่รอด สุดท้าย Assignment ต้องรู้จักค้นหา Passion ในชีวิต ค้นหาเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ (Pupose) หลักๆ คือจะทำอะไรให้โลกใบนี้ สมการชีวิตเป็นอะไรที่ช่วยจัดกรอบ ที่จะทำให้โค้ชชี่มองออกไปนอกกรอบมากขึ้น เป็นตัวช่วยที่ดีมากๆ คุณอาจหาสมการอื่นที่คุณชอบมาเป็นตัวช่วยก็ได้ครับ

© ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 7: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

F = Flow

• เป็นทฤษฎีความสุขที่เอามาใช้งานได้หลายอย่าง ทฤษฎีนี้บอกว่าคนเราจะมีสุขมีทุกข์ขึ้นกับความสัมพันธ์ของสองปัจจัยคือความท้าทายกับทักษะ ถ้าคุณเจอโค้ชชี่กังวลคิดไม่ตก ลองถามดูครับเขากำลังเจอความท้าทายสูง แต่ขาดทักษะ คุณโค้ชเลยครับว่าจะเพิ่มทักษะอะไร แต่หากเจอโค้ชชี่ดูหลงทาง ไม่รู้ไปไหน เรื่อยเปื่อยก็ต้องให้เขาค้นหาความชอบ เพื่อกำหนดเป้าหมาย ความ้ทาทายใหม่ แล้วค้นหาทักษะใหม่ๆ แต่หาโค้ชชี่ดูเบื่อๆชีวิต ก็ให้ค้นหาความท้าทายใหม่ ปรับจนกว่าจะสมดุลคือเขาเองได้ทำอะไรที่ท้าทายสูงแต่ก็มีทักษะสูง ภาวะนี้คนจะเจอภาวะลื่นไหล สุขลืมวันลืมคืน หรือเรียกว่าเจอภาวะ Flow นั่นเอง ...เป็นเครื่องมือที่สุดยอดมากๆ แนะนำครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 8: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

G = Gender Intelligence

• ความรู้เรื่องความแตกต่างระหว่างเพศนี้จะช่วยโค้ชชี่ให้ทำความเข้าใจได้มากๆ เช่นฮอล์โมนที่ทำให้ผู้หญิงมีความสุขและเก่งคือ Oxytocin ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงได้อยู่ในภาวะได้รับการดูแล เอาใจใส่ สนับสนุน ตัวนี้ถ้าโค้ชชี่เป็นผู้ชายอาจสร้างปัญหาในชีวิตด้วยความไม่รู้ จริงๆ ผู้หญิงต้องการให้ผู้ชายฟังมากๆ ดูแล เอาใจใส่ ระบบสมอง ความคิดจะเติบโตได้เอง แก้ปัญหายากๆได้แต่ผู้ชายมักไม่ฟังตรงนี้เองบางครั้งทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ขึ้นมา ส่วนผู้หญิงเองถ้าไม่เข้าใจผู้ชายที่จะเก่งขึ้นด้วยฮอล์โมนเทสโทสเตอโนรตัวนี้ออกมาเมื่อผู้ชายได้เผชิญวิกฤติ ได้แก่ปัญหาได้เป็นฮีโร่ ดังนั้นการสร้างโจทย์ ตั้งคำถามให้ผู้ชายได้ช่วยแก้จะมีส่วนช่วยพัฒนาความสามารถและความสัมพันธ์กับผู้ชายได้มาก ความรู้อย่างนี้ให้โค้ชชี่ลองตั้งข้อสังเกตได้ แล้วลองเอาไปทดลองทำจริงได้ครับ จะแก้ปัญหาที่บางทีงุนงง หาต้นเหตุไม่ได้ครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 9: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

H=HERON Model

• ผมชอบ Model นี้มากครับเอามาประยุกต์ได้มาก เพราะเราเองไม่ได้คุยกันในบรรยากาศการโค้ชตลอด ยิ่งเป็นครู เราเริ่มสนิทกับศิษย์มาก เริ่มเห็นขีดจำกัดบางครั้งจิตตก ก็ต้องดึงกัน เช่นไม่มั่นใจชีวิตแย่มาก ก็พาวิเคราะห์ว่าชอบอะไร มีท่านหนึ่งชอบแต่งตัว เลย “ให้การสนับสนุน” “แนะนำ” ให้มาต่อยอดที่ Thai Coach รวมทั้งไปเรียนต่อด้านการเป็นโค้ชด้านการแต่งตัว ที่สุดเลยมาเป็น TIG Identity Coach ผมเองก็ได้ดีจาก Model นี้ ตอนทำป.เอก เขียนมาก ทำมาก แต่ดูวนในอ่าง ที่สุดอาจารย์ที่ปรึกษาเลยสั่งว่า “ภิญโญ ดูออกนอกขอบเขตมากไป ไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านปะ Action Research ของ Stinger ” เท่านั้นเอง ผมรู้เลยว่าผมออกนอกเส้นทางไปมาก ...ลองดูครับ Heron Model มีประโยชน์มาก ผมปรับแต่งนิดหน่อยครับ ไม่ตรงกับต้นฉบับมากๆ ผสมแนวคิด AI เข้าไปหน่อย กลมกล่อมขึ้นมากๆ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Tig Identity Coach

Page 10: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

I = IKIGAI

• การค้นหาความหมายของชีวิตแบบญี่ปุ่น หรือเหตุผลของการตื่นขึ้นมาแต่ละวัน เคยเจอไหมครับ ... “ตื่นขึ้นมาก็อยากให้ถึงตอนเย็นแล้ว” เรียกว่าหมดไฟแต่ตื่น IKIGAI ทำอย่างนี้ครับIkigai เป็นจุดร่วมของ Passion (สิ่งที่คุณหลงใหล) Mission (พันธกิจ) Vocation (งานที่ อาจเป็นอาชีพหรืออาสาสมัครก็ได้ เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะอาจผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ได้ เกิดจากการค้นพบตัวเอง เกิดจากพรสวรรค์ของคุณเอง ) Profession (วิชาชีพ เป็นงานเฉพาะทางที่ต้องผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการ เช่นมหาวิทยาลัย เช่นหมอ วิศวะ นักกฏหมายเป็นต้น) คุณลองเอามารวมๆกัน หาดูว่ามันมีจุดร่วมอะไร แล้วตั้งคำถามว่าตอนนี้โลกกำลังต้องการอะไร คุณจะได้คำตอบดีๆ ว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร IKIGAI ช่วยให้คนค้นหาเป้าหมายชีวิต ที่ตอบโจทย์หัวใจตัวเองจริงๆ เท่าที่ผมเห็น 99% ของโค้ชชี่ที่มีปัญหาชีวิตไม่ว่างานหรือที่บ้าน ร้อยทั้งร้อยไม่มี IKIGAI ครับ น่าสงสารมากๆ ...โค้ชเองก็อาจไม่มีก็ได้ โค้ชก็ต้องหานะครับ

• Ref ภาพ: http://us.ikigaibags.com/blog/what-the-heck-is-iki...)

• ( อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/599051)

Page 11: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

J= Just do it

• ผมแนะนนำอย่างหนึ่งนะครับ คือไม่จำเป็นต้องทำตามตำรา 4 D แบบจัดเต็ม หลายกรณีผมเน้นแค่ Discovery เท่านั้น คือชอบอะไร ภูมิใจอะไร ก็ค้นหา แล้วเชียร์ให้ขยายผลเลย ประมาณว่า Discovery แล้ว Do เลย คือเอาที่ค้นพบไปทดลองเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องค้นหา Dream Design ให้วุ่น ทำเป็นพิธีการไม่ค่อยเกิดครับ ในมุมมองของผม Discovery หรือการค้นหาประสบการณ์ดีๆ เมื่อค้นพบเหตุการณ์นั้นมักจะทำให้โค้ชชี่ เห็นความฝัน หรือสิ่งที่อยากทำ และแผนการอยู่แล้ว กระตุ้นให้ขยายผลสร้าง Small Sucess ก่อนแล้วฝันที่ใหญ่กว่าจะมาเอง คือเน้นทำ ทำ ทำ ทำ ครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 12: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

K=Knowledge• ความรู้ไม่พอใช้ 5 M Model ช่วย เพื่อทำให้เกิด จะดีมากๆ ปัญหาของโค้ชชี่จำนวนมากเลยคือความรู้ไม่พอทำให้เกิดปัญหา วิธีการสร้างความรู้เพิ่มเติมทำได้ด้วย Model นี้ครับ คือ 5 M

• Me Experience ให้ค้นหาความรู้เดิมของโค้ชชี่ว่า ในเรื่องในที่ทำได้ดีที่สุดที่เคยทำได้คืออะไร

• Mate Experience ให้เขาไปถามเพื่อนว่าเพื่อนทำอย่างไร

• Mankind Experience คนในระดับโลกเขาทำอย่างไร อาจเป็นบริษัทญี่ปุ่น อเมริกันที่ดังๆ เขาทำเรื่องเดียวกันอย่างไร (ลองถามเพื่อนในบริษัทนั้นดู)

• Mixed Experience ลองหาอะไรดีๆ ในแวดวงอื่นๆ ว่าเขาทำอย่างไร

• Morale Experience ลองถามหลวงพ่อ หรือดูคำภีร์ หรือศึกษาจากต้นแบบดีๆ ในชีวิตดู ของผมมักดูจากหลวงพ่อกล้วย ดร.วรภัทร์ ท่านดาไลลามะเป็นต้น

• พอโค้ชชี่ได้ไปศึกษาจากแห่งข้อมูลต่างๆ ก็มักจะค้นพบคำตอบได้ หรือเกิดทิศทางใหม่ๆ เอง

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

ผมดัดแปลงมาจาก SECI Model จากหนังสือเล่มนี้ครับ

Page 13: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

L = Learning

• หมายถึงการเรียนรู้แบบ Double-Loop Learning คนเราบางที่ทำอะไรผิดแบบเดิมๆ เพราะทำอะไรแบบอัตโนมัติ ทำด้วยความรู้ความเชื่อเดิมๆ ก็อาจจะผิดแบบเดิมๆ แต่หากโค้ชสามารถทำให้โค้ชชี่หันมาตรวจสอบสมมติฐาน ความเชื่อของตนเองได้ ว่าสิ่งที่ทำอยู่มาจากความเชื่ออะไร เมื่อปรับความเชื่อได้ก็จะปรับวิถีการคิด หรือแม้กระทั่ง Mindset ได้ครับ วิธีการคือลองให้ให้โค้ชชี่ทำ Reflection บ่อยๆ คือเวลาทำอะไรไป เช่นพูดกับหัวหน้า ลองกลับมาคิดดูว่าอะไร work ไม่ work ทำอย่างนี้บ่อยๆ จะปรับอะไรที่ไม่ได้ผลออก แล้วทำอะไรได้ผลมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งตัวโค้ชชี่จะเปลี่ยนความเชื่อไปถาวรเลย ตัวนี้ใช้ในวงการ OD ด้วย เรียกว่าถ้าทำเป็น Coach ตัวเองได้เลย แถมเอาไปต่อยอดทำ Learning Organisation ได้ด้วย

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 14: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

Mindfulness

• การเจริญสติ (Mindfulness) เป็นเครื่องชาร์จพลังของทั้งโค้ชและโค้ชชี่ครับ ก่อนทำอะไร ก่อนไปโค้ชแนะนำให้เจริญสติก่อน จะดีมากๆ ถ้ายังไม่ Strong ก็แนะนให้โค้ชชี่ลองไปหาอาจารย์ผู้รู้ดู หรือ เล่าเรื่องดีๆ เกี่ยวกับการเจริญสติให้โค้ชชี่ได้ฟัง ในสายจิตวิทยาบวก จนถึง Learning Organisation ตอนนี้ต่างแนะนำเรื่องการเจริญสติครับ จะช่วยสงบจิตใจ เกิดปัญญาเกิดความคิดดีๆ ได้เอง

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 15: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

N= Networking

• เครือข่ายสำคัญกับโค้ชและโค้ชชี่มากครับ หลายครั้งที่ผมเจอ โค้ชชี่มักแก้ปัญหาหลายเรื่องด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องาน ตัวโค้ชอาจแนะนำโค้ชชี่ว่ารู้จักใครที่จะช่วยเรื่องที่ทำอยู่ให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นครับ ผมมีโค้ชชี่คนหนึ่งเจอปัญหาทำตู้อบเห็ดแล้วต้นทุนสูง เลยถามคำถามว่าพอรู้จักใครที่ช่วยได้ไหม บังเอิญถามเพื่อนในกลุ่มเดียวกันไปเจอว่าคุณพ่อเพื่อนอีกคนจบปริญญาเอกด้านการหมักจากเยอรมัน เลยนัดเจอกัน คุณพ่อเขียนแบบให้เลย ปรากฏไปทำจริงลดต้นทุนลงเป็นหมื่นบาท การมีเครือข่ายจึงสำคัญมาก

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 16: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

O= Ownership

• ความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน เจ้าของปัญหาคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ถ้าโค้ชชี่ไม่อยากทำ ไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาของเขา เป็นปัญหาของครู เป็นปัญหาของนาย “โอ๊ มาอีกแล้วนายหา Training แปลกๆมาให้อีกแล้ว” ยากครับ แต่โชคดีที่ AI Coaching ใช้คำถามเชิงบวก ที่ทำให้โค้ชชี่ค้บพบสิ่งดีๆ ที่เคยทำสำเร็จ โค้ชชี่จึงมักเกิดแรงบันดาลใจขยายผลเอง โดยไม่ต้องบังคับ โค้ชชี่ผมเกิดสนใจกาแฟ จึงเริ่มขายจากเหยือกเดียว ตอนนี้เริ่มส่งออกไปเมืองนอกแล้วเพราะฉะนั้นเน้นเชิงบวกครับ จะไปได้เอง อยากเป็น Ownership เอง

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 17: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

P= Positive Psychology

เป็นศาสตร์ที่ควรศึกษามากๆ เพราะเอามาผสมสานได้ดีมากๆ เช่นตัวหนึ่งที่ผมชอบมากคือเรื่อง Self-portrait คือการให้เราไปถามคนรอบๆตัวเราไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเก่าว่าเขาเห็นเรามีดีตรงไหน ภาพที่ได้มักไม่ตรงกับภาพที่เราคิดว่าคนอื่นมองเห็น ที่เจอมาบางคนกลับบ้านไปจะไปเล่าความสำเร็จในอาชีพ ได้เจอกับคนโน๊นคนนี๊ เพราะคิดว่านี่คือสิ่งที่เราอยากให้คนอื่นมองเห็น แต่พอไปถามมากๆ กลับเป็น “ชอบที่พ่อพัฒนาตัวเอง” “ชอบที่พ่อเล่นเป็นเพื่อนหนู” ...คนละเรื่องครับ คนรอบตัวจะสะท้อนให้เราเห็น ที่สุดแล้วเราจะกำหนดทิศทางชีวิตได้ใหม่ ชีวิตจะดีขึ้น ลองให้โค้ชชี่ของท่านลองทำดูนะครับ มีอีกหลายเทคนิกเช่น เจริญสติ (Mindfulness) นี่บ้านเรามีวัดดีๆ ให้เข้าเยอะ แนะนำไปเลยครับ สายหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อวิริยังค์ หลวงพ่อกล้วย (ขอนแก่น) ไม่ต้องไปเรียนเมืองนอกเหมือนผม เมืองไทยมีอะไรดีๆมากครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 18: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

Question1. คุณภาคภูมิใจอะไรที่สุด (ค้นหา Innovation)

2. (รู้สึกไม่ดี) ตอนที่คุณรู้สึกดีๆ เกิดอะไรขึ้น

3. (ไม่มีความสุข) ตอนที่มีความสุข ทำอะไร

4. (พ่อไม่เชื่อ) ตอนที่พ่อเชื่อทำอย่างไร

5. (หน่วยงานไม่ยอมรับ Idea) ตอนเขายอมรับ Idea ใหม่ๆ ตอนนั้นมีองค์ประกอบอะไร

6. (เสี่ยง) ตอนบริหารความเสี่ยงได้ดี ทำอย่างไร

7. (ไม่มีเงิน) ตอนที่เรารู้สึกฉลาดเรื่องเงินไป ตอนนั้นทำอย่างไร

8. อื่นๆ เน้นถามตรงข้าม

คำถามหลักคือ “คุณภาคภูมิใจอะไร” ใช้ถามเพื่อหา Innovation อาจขยานผลถึงขั้นเปลี่ยนงาน สร้างโครงการใหม่ ตั้งกิจการ ส่วนคำถามเจาะ คือเจาะเฉพาะปัญหาตรงๆ เน้นการถามตรงข้าม

Page 19: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

R= Reframing• การเปลี่ยนกรอบสำคัญมากๆ บางคนยึดติด

อยู่กับกรอบเดิมครับ เช่นคิดอะไรลบไว้ก่อน ผมเองจะบอกแต่ต้นว่า “เคยรู้สึกอะไรลบๆ ไหม ตอนคิดลบสามารถคิดอะไรดีๆ กลยุทธ์ดีๆได้ไหม” ไม่เคยมีใครตอบว่าได้สักคน โกรธ เกลียด พยาบาท เมื่อไหร่จะคิดอะไรได้ไม่ดีเสมอ ถ้าทำอะไรไปมักตั้งเสียใจภายหลัง เราต้องสงบๆ หรือคิดบวกก่อน จึงจะหาทางออกได้ ตรงนี้อธิบายด้วยความรู้เรื่องสมองครับตอนอารมร์ไม่ดีเราไปกระตุ้นสมอง Retilian Brain ครับสมองส่วนโบราณสุด สมองนี้ทำหน้าที่เอาตัวรอดใช้ในตอนฉุกเฉินคือมันจะสู้ หนี หรือแกล้งตายเท่านั้น ส่วนเวลาบวก หรือสงบมันจะกระตุ้นสมองส่วนหน้า Prefrontal ที่จะเป็นสมองส่วนที่ค้นหากลยุทธ์ เพราะฉะนั้นโค้ชชี่อยากทำอะไรให้ดี ต้องสงบหรือบวกก่อน ...นั่นคือโค้ชต้องปล่อยให้เขาพูด ระบาย แล้วเล่าเรื่องนี้ให้เขาเปลี่ยนกรอบ หรือรอให้สงบ สบายแล้วค่อยโค้ชครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 20: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

S= Scaling

• แนวคิดจาก Solution-focused brief Therapy ใช้ในการออกแบบ (Design) ถ้าให้คะแนน 10 มากสุด 0 น้อยสุด โค้ชชี่ก็สามารถประเมินตนเองได้ว่าทักษะ ความพร้อมตัวเองอยู่ระดับใด ตัวนี้ช่วยให้โค้ชชี่มองปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่รู้สึกว่ามันท่วมท้นจนทำไม่ได้ จากนั้นเมื่อโค้ชชี่ให้คะแนนตัวเองแล้วก็ถามว่าถ้าจะขยับขึ้นอีก 1 คะแนน เขาต้องทำอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะเห็นภาพแล้วบอกตัวเองได้ว่าจะทำอะไรต่อไป จากนั้นโค้ชขอ Commitment เลย ก็จะได้ครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 21: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

T= Tipping Point • ตัวช่วยทวีคูณความสำเร็จของโค้ชชี่ คือคนสามประเภทได้แก่ Connector Maven Salesman

• Connector เป็นคนกว้างขวางรู้จักคนที่อาจมีความเชี่ยวชาญบางอย่าง หรือรู้เรื่องในบางวงการให้โค้ชชี่ ทำให้โค้ชชี่แก้ปัญหา หรือเข้าถึงโอกาสได้

• Maven คือผู้เชี่ยวชาญรู้เฉพาะทาง เช่นพ่อผมเป็น Vertigo โลกเอียง ถามไปหาผู้เชี่ยาวชาญปรากฏว่าอยู่ข้างบ้านนี่เอง ไปหาท่านรักษาแป๊ปเดียวหายขาด Maven แก้ปัญหาทางเทคนิกให้โค้ชชี่ได้

• Salesman คือคนที่รู้จักพูด รู้จักสื่อสาร ช่วยให้คำปรึกษาเรื่องวิธีพูดได้ เช่นโค้ชชี่ของผมมีปัญหากับหน่วยงานที่เป็นวิศวะชอบตัวเลขมากๆ จะทำอะไรที่เป็น Soft skill ไม้ค่อยได้ ภายหลังคนที่สื่อสารเก่งมีบุคลิกเป็น Salesman แนะนำว่าให้ผูกตัวเลขไปสิ เท่านั้นเองก้ได้รับการยอมรับมากขึ้น

• สามคนนี้จะมีอยู่รอบๆตัวของโค้ชชี่ แค่เล่าแนวคิดให้โค้ชชี่ฟัง โค้ชชี่จะเห็นโอกาสเอง

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 22: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

U=Uses variety of tools• ใช้เครื่องมือหลายๆอย่างครับ จะช่วยได้มาก ผม

เรียนศาสตร์การพัฒนาองค์กรมาครับ เราใช้หลายๆศาสตร์มาผสมผสานกัน เพราะศาสตร์เดียวบางทีไปไม่รอด ผมเองเริ่มต้นการทำ Appreciative Inquiry สมับทำปริญญาเอก ทำกับคน 33 คน ก็ต้องอาศัยศาสตร์อื่นช่วยด้วยคือ Appreciative Inquiry Coaching เพราะแต่ละคนจะมีปัญหา ความฝันเฉพาะตัว ทำให้ต้องใช้การโค้ชมาช่วยดึงศักยภาพให้ได้สูงสุด แต่ก็ผสมผสานวิธีการตั้งคำถามแบบ Appreciative Inquiry แบบดั้งเดิมไปด้วย และใช้ในกระบวนการกลุ่ม นอกจากนี้ยังใช้ KM มาช่วยเก็บเกี่ยวความรู้ที่ได้จากการเล่าประสบการณ์ดีๆ มาเก็บในรูปแบบของ Blog หรือ Case study ที่ www.aithailand.org ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้ (ที่เปิดเผยได้) มาสร้างแรงบันดาลใจ มาสร้างพื้นฐานความรู้ให้คนอื่นได้อีก ปัจจุบันผมได้ผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าไปอีก ทำให้ได้การโค้ชที่เหมาะกับคน และบริบทต่างๆมากขึ้น

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 23: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

V= VIA • Character Strengths and Virtues

เป็นแบบประเมินบุคลิกภาพที่ผ่านการวิจัยมาอย่างเข้มข้น ตอนนี้มีเป็นภาษาไทยแล้ว ท่านสามารถให้โค้ชชี่เข้าไปประเมินได้ จุดแข็งเชิงบุคลิกภาพแบบ VIA นี้จะทำให้โค้ชชี่เห็นจุดแข็งของบุคลิกภาพ ที่จริงๆเองก็มีกระบวนการซ่อนอยู่ด้วย เช่นโค้ชชี่ผมคนหนึ่งมีบุคลิกคือเป็นคนรักการเรียนรู้ ตัวนี้มาอันดับหนึ่งเลย เวลาเจอปัญหา ก็ให้เลยแนะนำลองไปหาหนังสือใหม่ๆ ไปเรียนอะไรใหม่ๆ โค้ชชี่จะสามารถค้นพบทางออกได้ด้วยตัวเอง VIA นี้ใช้วางแผนการพัฒนาตัวเองทั้งในระยะสั้นระยะยาวได้ ดีมากๆ แนะนำครับ สงสัยอะไรผมแนะนนำให้ได้ครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 24: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

W= What works What not works

• โค้ชเองต้องปรับปรุงตัวเองครับ โดยการหันมามองตัวเองตลอดเวลาว่าอะไรที่ทำไป Work ไม่ work คือหันมามากระบวนการของตัวเอง ไม่ใช่มองแต่ว่าโค้ชโค้ชชี่สำเร็จไหม ต้องหามองตัวเองตั้งแต่กระบวนการเตรียมการ การโค้ช Followup ทั้งหมด งานของคุณจะดี มีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญจะสามารถพัฒนา Signature ของตัวเองได้ ไม่ซ้ำแบบใครในที่สุด วิธีนี้ผมเรียนมาจากสมัยเรียน Ph.D. OD ครับ ดีมากๆ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 25: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

X= Exception

• ขอบเขตครับ คุณต้องรู้ว่าคุณไม่ใช่จิตแพทย์ บางเรื่องที่เคยเจอมาเกินขอบเขตเราเช่นคุณพ่อมีปัญหาทางจิต สามีเป็นมะเร็ง จะทำอย่างไรคะอาจารย์ ..ตัวนี้ผมส่งต่อมืออาชีพอย่างเดียว เพราะผมไม่ใช่มืออาชีพด้านการรักษาครับ บางทีก็อาจถามเพื่อนให้ได้ครับ เราก็จะช่วยโค้ชชี่ได้อีกทาง

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 26: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

Y= Yield

• ผลที่ได้รับจากการโค้ช ส่วนใหญ่บอกว่าอาจารย์ เอา KPI ให้ขึ้นเลย ใจเย็นครับ จริงๆ KPI ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยคือ Outcome KPI คือผลที่ได้อยากได้ ตัวนี้วัดเป็นตัวเลข ส่วนอีกตัวเราเรียกว่า Performance Driver หรือเหตุที่เชื่อว่าจะทำให้ผลดีๆ หรือ Outcome KPI เกิดขึ้นจริง การโค้ชคือการค้นหาเหตุ (Performance Driver) ครับ ที่สุดก็จะไปทำให้ Outcome KPI เกิดขึ้นจริงๆ ถ้าคนเปลี่ยนมุมมองจากลบเป็นบวกได้ ไม่ต้องกลัวครับ เขาจะทำงานได้มากขึ้น มีความสุข และพัฒนาตนเองมากขึ้นไปเอง ยังไม่ต้องเร่ง KPI แต่ต้น

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 27: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

Z= ZEN

• ผมเองใช่ว่ารู้ทุกเรื่อง เรื่องของคนเป็นเรื่องซับซ้อนครับ ผมเองนับถือดร.วรภัทร์ ภู่เจริญมากๆ ท่านมีวิธีการฝึกคนที่ดีครับ ผมชอบวิธีคิดของท่านเรื่องสัตว์สี่ทิศ กระทิง หมี หนู อินทรี และเรื่องปัญญาสามฐาน ฐานคิด ฐานกาย ฐานใจมากๆครับ ที่สำคัญท่านมีหลักสูตรดีๆ มากเช่นธนูโพชชงค์ มีโค้ชโพชชงค์ การแต่งดอกไม้แบบเซน หลายครั้งถ้าค้นพบว่าโค้ชชี่ดูมีความท้าทายเรื่องใจ ผมจะแนะนำไปเรียนปรับฐานใจกับดร.วรภัทร์ หรือไม่ก็ไปฝึกปฏิบัติทำ เช่นไปถ้าฝั่งผมก็วัดหลวงพ่อกล้วยครับ

© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Page 28: Appreciative Inquiry Coaching A-Z

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

• B.Eng (KMITL), MBA (Virginia Tech), Ph.D. (OD) Assumption University

• อาจารย์ประจำ MBA KKU

• ผู้ก่อตั้ง AI Thailand ชุมชนของผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ Appreciative Inquiry มาตั้งแต่ปี 2550

• Website: www.aithailand.org

• ชอบศึกษาค้นคว้าเรื่อง Appreciative Inquiry มากจนทำเป็นวิทยานิพนธ์ในระดับป.เอก และขยายผลทำอย่างต่อเนื่องมากถึงปัจจุบัน นอกจากนี้หลังจบยังศึกษาต่อกับผู้คิดค้นทฤษฎีโดยตรง

• “มีความสุขมาก”Certificate: Art and Science of Appreciative Coaching

จากอาจารย์ผู้คิดค้น Appreciative Coaching

ศึกษา Appreciative Inquiry กับ Prof. David Cooperrier ผู้คิดค้น Appreciative Inquiry