นิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ...

400
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด อร่าม วัฒนะ วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2561

Transcript of นิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ...

  • (ก)

    รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารสว่นจังหวัด

    อร่าม วัฒนะ

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยัราชภัฏนครสวรรค์

    พ.ศ. 2561

  • (ข)

    รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

    อร่าม วัฒนะ

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

    พ.ศ. 2561 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

  • (ค)

    THE MODEL OF ADMINISTRATION FOR EXCELLENCE OF SCHOOLS UNDER THE PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

    ARAM WATTANA

    A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Doctor of Education Degree in Educational Administration

    Nakhon Sawan Rajabhat University 2018

    Copyright of Nakhon Sawan Rajabhat University

  • (1)

    บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้วิจัย นางสาวอร่าม วัฒนะ คณะกรรมการที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) ปีการศึกษา 2561

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจ านวน 552 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีความเท่ียง 0.99 สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจ ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้คือร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เก็บข้อมูลจากผู้อ านวยการโรงเรียน จ านวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือทีใ่ช้คือ แบบประเมินรูปแบบ สถิติท่ีใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การ

    บริหารส่วนจังหวัดได้ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้น าของผู้บริหาร 2) คุณภาพครู 3) การวางแผนกลยุทธ์ 4) เครือข่ายความร่วมมือ 5) คุณภาพนักเรียน 6) การบริหารจัดการ 7) การพัฒนาบุคลากร

    2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนน า ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหาประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และกระบวนการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความส าเร็จ

    3. การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค าส าคัญ: รูปแบบการบริหารสถานศึกษา, ความเป็นเลิศ, โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  • (2)

    Abstract Title A Model of Administration for Excellence of Schools under the Provincial Administrative Organizations Author Miss Aram Watana Advisory Committee Assoc. Prof. Nuntiya Noichun, Ph.D. Asst. Prof. Satorn Subruangthong, Ph.D. Degree Doctor of Education (Educational Administration) Academic Year 2018

    This research aimed to 1) analyze the factors of administration for excellence of

    schools under the provincial administrative organizations, 2) develop a model of administration for excellence of the schools, and 3) evaluate a model of administration for excellence of the schools. The method of the study were divided into 3 steps. Step 1 was to analyze the factors of administration for excellence of schools under the provincial administrative organizations by using related documents, an interview 7 experts, and questionnaire results from 552 participants. The statistics employed was content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, and exploratory factors analysis. Step 2 was to develop a model of administration for excellence of schools under the provincial administrative organizations by holding a connoisseurship of 11 experts. The instruments used were a draft of the administration for excellence model for schools and connoisseurship documents. The statistics employed was content analysis. Step 3 was to evaluate a model of administration for excellence by using a model evaluation form to collect the data from 10 school directors using purposive sampling. The instrument employed was a model evaluation form. The statistics were frequency, percentage, mean, and standard deviation.

    The research findings were as follows: 1.The analysis the factors of administration for excellence of schools under the

    provincial administrative organizations comprised 7 factors were as follows: administrator’s leadership, teacher’s quality, strategic planning, cooperation network, student’s quality, administration and management, and personnel development.

    2. The model of administration for excellence of schools under the provincial administrative organizations comprised 3 parts: 1) introduction, 2) content which consisted of the factors of administration model and administration process for excellence, and 3) success condition.

    3. The evaluation of a model of administration for excellence of the schools under the provincial administrative organizations in the aspects of the correctness, the suitability, the feasibility, and the utility were at the highest level Keywords: School Administration Model, Excellence, Schools under the Provincial Administrative Organization

  • (3)

    กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ส าเร็จได้ด้วยความกรุณาจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ กรรมการสอบทุกท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านได้ให้ค าแนะน า ติดตาม ดูแลการด าเนินการวิจัยทุกขั้นตอน ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งจนท าให้การด าเนินการวิจัยประสบผลส าเร็จลุล่วงด้วยดี ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ ขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านกรุณาตรวจสอบ แก้ไขเครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ เชี่ยวชาญทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ขอขอบพระคุณผู้บริหาร และคณะครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการทดลองใช้เครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ขอขอบพระคุณพ่ีและน้องปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันความรู้ จนส าเร็จการศึกษาตามที่มุ่งหวัง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่ท าให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม ดร.ธวัช กงเติมรองศาสตราจารย์ ดร.ธานี เกสทอง ดร.ธนานุวัจน์ พงษ์เดชาตระกูล ดร.เกียรติคุณ จันแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมใจ กงเติม ดร.ปิติชาย ตันปิติ นางพบพร บ ารุงจิตร นางชวนชม ใจชอุ่ม ดร.ณิชชา คงรัตน์ และ ดร.สุขเกษม หมวกแก้ว ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความกรุณาในการเข้าร่วมสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบรูปแบบ และประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง คุณค่าและประโยชน์ที่พึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาแด่บุพการี และบูรพาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา อบรมสั่งสอน ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่านที่มีส่วนในการสนับสนุน ช่วยเหลือผู้วิจัยให้สามารถด าเนินการวิจัยด้วยความเรียบร้อย และส าเร็จการศึกษาตามที่มุ่งหวังทุกประการ

  • (4)

    สารบัญ

    บทที่ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ......................................................................................................... (1) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ .................................................................................................... (2) กิตติกรรมประกาศ .......................................................................................................... (3) สารบัญ ........................................................................................................................... (4) สารบัญตาราง ................................................................................................................ (6) สารบัญภาพ .................................................................................................................... (8) 1 บทน า .......................................................................................................................... 1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ................................................................... 1 ค าถามการวิจัย ......................................................................................................... 5 วัตถุประสงค์การวิจัย ................................................................................................ 5 ขอบเขตการวิจัย ...................................................................................................... 5 นิยามศัพท์เฉพาะ ..................................................................................................... 8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ....................................................................................... 9 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................... 10 แนวคิดเก่ียวกับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ....................................... 11 บริบทการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ............................................ 24 แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาองค์การ ............................................................................. 28 แนวคิดทฤษฎีการบริหารสถานศึกษา ....................................................................... 36 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ ................................................................ 41 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ..................................................... 67 แนวคิดเก่ียวกับรูปแบบ ............................................................................................ 101 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................................... 109 กรอบแนวคิดในการวิจัย ........................................................................................... 118 สมมติฐานการวิจัย ................................................................................................... 120 3 วิธีการด าเนินการวิจัย .................................................................................................. 121 ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ......... 124 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน .... 130 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................... 132 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................................. 137

  • (5)

    สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ......... 138 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตอนที่ 2 ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ........................ 173 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตอนที่ 3 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................... 190 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ............................................................................... 199 สรุปวิธีการด าเนินการวิจัย ........................................................................................ 199 สรุปผลการวิจัย ........................................................................................................ 200 อภิปรายผล .............................................................................................................. 202 ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................ 212 รายการอ้างอิง ................................................................................................................. 214 ภาคผนวก ....................................................................................................................... 226 ภาคผนวก ก............................................................................................................. 227 ภาคผนวก ข ............................................................................................................. 230 ภาคผนวก ค ............................................................................................................ 233 ภาคผนวก ง ............................................................................................................. 236 ภาคผนวก จ ............................................................................................................. 244 ภาคผนวก ฉ ............................................................................................................. 250 ภาคผนวก ช............................................................................................................. 253 ภาคผนวก ซ............................................................................................................. 256 ภาคผนวก ฌ ............................................................................................................ 292 ภาคผนวก ญ ............................................................................................................ 305 ภาคผนวก ฎ ............................................................................................................ 322 ภาคผนวก ฏ ............................................................................................................ 339 ภาคผนวก ฐ ............................................................................................................. 345 ประวัติย่อผู้วิจัย............................................................................................................... 388

  • (6)

    สารบัญตาราง

    ตารางท่ี หน้า 2.1 การแบ่งกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ............. 21 2.2 จ านวนโรงเรียนและรูปแบบการจัดการศึกษาของแต่ละองค์การบริหาร ................... 26 ส่วนจังหวัด 2.3 ความเป็นมาของการบริหารคุณภาพ ........................................................................ 43 2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างพ้ืนฐาน McKinsey framework 7-S ..................... 84 กับคุณลักษณะของความเป็นเลิศในเชิงบริหาร 3.1 ประเภทและจ านวนผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ......................... 126 4.1 ผลการวิเคราะห์ตัวแปรจากเอกสารที่เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาองค์กร .................. 139 แนวคิดการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ แนวคิดการบริหารคุณภาพ แนวคิดการประเมินคุณภาพองค์กร และแนวคิดการบริหารทั่วทั้งองค์กร 4.2 ผลการสังเคราะห์ตัวแปรจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ........................................... 145 4.3 ผลการสังเคราะห์ตัวแปรจากงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ..................................................... 148 4.4 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ..................................................................... 152 4.5 ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบ ........................................ 153 การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.6 ค่า KMO and Bartlett’ s test of Sphericity ...................................................... 162 4.7 องค์ประกอบและค่าความแปรปรวนของตัวแปรองค์ประกอบ ................................. 162 การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.8 ค่าน้ าหนักองค์ประกอบและกลุ่มจ านวนองค์ประกอบ ............................................. 164 4.9 องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................................................ 166 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.10 องค์ประกอบที่ 1 ภาวะผู้น าของผู้บริหาร ................................................................ 167 4.11 องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพครู .................................................................................. 168 4.12 องค์ประกอบที่ 3 การวางแผนกลยุทธ์ ..................................................................... 170 4.13 องค์ประกอบที่ 4 เครือข่ายความร่วมมือ ................................................................. 171 4.14 องคป์ระกอบที่ 5 คุณภาพนักเรียน .......................................................................... 171 4.15 องคป์ระกอบที่ 6 การบริหารจัดการ ....................................................................... 172 4.16 องคป์ระกอบที่ 7 การพัฒนาบุคลากร ..................................................................... 173 4.17 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา .......................... 175 สู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  • (7)

    สารบัญตาราง (ต่อ)

    ตารางท่ี หน้า 4.18 ผลการประเมินคู่มือการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ..................................... 190 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.19 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................................. 192 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้านความถูกต้อง 4.20 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................................. 193 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้านความเหมะสม 4.21 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................................. 195 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้านความเป็นไปได้ 4.22 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................................. 196 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้านความเป็นประโยชน์ 4.23 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ................................. 197 ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาพรวม

  • (8)

    สารบัญภาพ

    ภาพที่ หน้า 2.1 โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ................................................................... 15 2.2 โครงสร้างของเทศบาล................................................................................................ 17 2.3 โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนต าบล ..................................................................... 19 2.4 แม่แบบการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO model ................................................. 57 2.5 แสดงกรอบโครงสร้างตามหลักการของดัชนีความส าเร็จแบบสมดุล ............................ 60 2.6 รูปแบบของแมคคินซี (Mckinsey 7-S Framework) ................................................. 76 2.7 ความสัมพันธ์ของเกณฑ์ต่าง ๆ ของรูปแบบ EQA ....................................................... 85 2.8 แนวทางการประเมินองค์กรเพื่อรับรางวัลคุณภาพของประเทศออสเตรเลีย ................ 87 2.9 กรอบแนวคิดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ ................................... 90 2.10 แนวทางการประเมินองค์กรเพ่ือรับรางวัล MBNQA .................................................... 95 2.11 กรอบแนวคิดในการวิจัย ............................................................................................. 120 3.1 ขั้นตอนการด าเนินการวิจัย ......................................................................................... 122

  • บทที่ 1

    บทน ำ ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันด้านเศรษฐกิจจะเข้มข้นมากขึ้น สังคมโลกจะมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้นเป็นสภาพไร้พรมแดน การพัฒนาเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและการด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559: 5) กล่าวว่าประเทศไทยมีข้อจ ากัดของปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์เกือบทุกด้านและจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ที่ชัดเจนขึ้น การพัฒนาคนในภาพรวมให้เป็นคนที่สมบูรณ์ในทุกช่วงวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งต้องส่งเสริมบทบาทสถาบันทางสังคมในการกล่อมเกลาสร้างคนดี มีวินัย มีค่านิยมที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมระบบการศึกษาไทยจ าเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ในการจัดท าแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560: ค-จ) ได้สรุปว่าระบบการศึกษาไทย มีปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะคุณภาพการศึกษา ผลการพัฒนายังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานมีคะแนนต่ ากว่าค่าเฉลี่ยมาก และต่ ากว่าหลายประเทศในเอเชีย จึงมีความจ าเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา เพ่ือให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เพ่ือให้สามารถน าพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้ สอดคล้องกับ ธีระ รุญเจริญ (2550: 98) ที่ได้กล่าวว่ารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาแนวใหม่ เพ่ือน าไปสู่ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม กระบวนการจัดการจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งผู้บริหารจ าเป็นจะต้องพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อบริหารจัดการให้องค์กร อยู่รอด และบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยสอดคล้องกับส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560: บทสรุปส าหรับผู้บริหาร) ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ที่ก าหนดให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ด ารงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพ่ือน าไปสู่ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมและกระบวนการจัดการจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การเพ่ิมสมรรถนะ และขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ให้ความส าคัญการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ส่งผลให้การจัดการศึกษามีความจ าเป็นต้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้นนักเรียนทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเลิศการบริหารการศึกษาต้องมีการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนที่เป็นพลวัตตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (2560: 14) ที่ ได้ก าหนดหน้าที่ของรัฐ ในการจัด

  • 2

    การศึกษาไว้ใน มาตรา 54 โดยรัฐ ต้องด าเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องด าเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพ่ือพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วม ในการด าเนินการด้วย รัฐต้องด าเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ด าเนินการ ก ากับ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (2546: 21) ได้กล่าวว่าการจัดการศึกษานอกเหนือจากกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาแล้ว ยังมีกระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบการบริหารการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล เมืองพัทยา อบต. และ อบจ.) รับผิดชอบจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาขั้นพ้ืนฐานและระดับอาชีวศึกษา อีกทั้งพระราชบัญญัติก าหนดแผนและข้ันตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (2542: 53 – 55) มาตรา 16 มาตรา 17 และมาตรา 18 ก าหนดให้เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนต าบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีอ านาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะเพ่ือประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตน โดยถือว่าการจัดการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2554: 17) ได้สรุปว่าจากกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอ านาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งใน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ (Formal education) การศึกษานอกระบบ (Non- Formal education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal education) นอกจากนี้ยังจ าเป็นต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายของการศึกษาอยู่ที่การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ดังนั้น การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงถือว่า มีความส าคัญมากเนื่องจากเป็นไปเพ่ือพัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะที่สามารถบูรณาการวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2557: 53) ได้กล่าวว่าการยกระดับคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานของการศึกษานับว่าเป็นความจ าเป็นอย่างยิ่ง หากประเทศไทยต้องก้าวไปสู่สังคม ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และเอ้ือให้ประชาชนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะและสมรรถนะ เพ่ือที่จะบรรลุศักยภาพและตอบสนองความต้องการของตนเอง อีกทั้งก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ดังนั้นนักเรียนทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเลิศ ซึ่งจ าเป็นต้องอาศัย การพัฒนาของระบบการศึกษาไปสู่ระบบการศึกษาที่มีศักยภาพสูง (High performing Education System) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอ่ืนที่เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ นักเรียนไทยจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ทัดเทียมนานาชาติ ทั้งนี้ประเด็นที่ส าคัญในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาคือ การที่โรงเรียนดีมีคุณภาพ

  • 3

    คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนถูกก าหนดโดยมาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือตรวจสอบและชี้วัดถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547: 1 – 3) โดยให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่จะต้องด าเนินการอย่างต่อเนื่องเพ่ือน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาจะต้องสร้างองค์กรที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อท าหน้าที่เป็นผู้จัดการความรู้ พัฒนาความรู้ พัฒนาความคิดและพัฒนาศักยภาพ การจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพ่ือประโยชน์และบุคลากรในโรงเรียนที่จะได้เรียนรู้จากกระบวนการบริหารของผู้บริหาร และความรู้ความสามารถที่นักเรียนจะได้รับจากการสอนของครูที่มีคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550: 12-14) ได้กล่าวว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด เพ่ือจัดท ากิจการส่วนจังหวัดที่ไม่อยู่ในอ านาจหน้าที่การบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพ่ิมเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546 (2547: 15-16) มาตรา 45 (8) ก าหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอ านาจหน้าที่การจัดกิจกรรมใด ๆ อันเป็นอ านาจหน้าที่ของส่วนราชการส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอ่ืน ร่วมด าเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดท า ทั้งนี้ “การจัดการศึกษา” เป็นกิจการหนึ่งที่ราชการส่วนท้องถิ่นอ่ืนเห็นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมด าเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดท าให้ และต่อมามีประกาศใช้พระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยในมาตรา 17(6) ก าหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอ านาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาได้โดยตรงสอดคล้องกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2557:3) ได้สรุปถึงสภาพการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปี 2557 พบว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ านวน 7,854 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง องค์การบริหารส่วนต าบล 6,157 แห่ง เทศบาล 1,619 แห่ง กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง เมืองพัทยา 1 แห่ง และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษา 704 แห่ง ส่วนใหญ่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน โดยมีสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,512 แห่ง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 76 แห่ง พบว่ามีเพียง 55 แห่ง ที่จัดการศึกษา มีโรงเรียนทั้งสิ้น 346 โรงเรียน รูปแบบในการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดรูปแบบหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาผ่านโรงเรียนในสังกัด ซึ่งจะมีทั้งโรงเรียนที่จัดตั้งใหม่และโรงเรียนที่รับถ่ายโอน จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจ าปีการศึกษา 2557 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2557: 144 –145 ) ซึ่งเป็นการประเมินสมรรถนะส าคัญของผู้เรียน ทั้ง 5 ด้าน โดยก าหนดระดับชั้นที่ประเมินคือชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมของระดับประเทศ พบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนสมรรถนะส าคัญของผู้เรียนเฉลี่ยร้อยละต่ ากว่าเกณฑ์ที่ก าหนดสอดคล้องกับส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2553: 298) ที่ได้วิจัยเรื่องการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า สถานศึกษาสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ผู้เรียน

  • 4

    ยังขาดความรู้และทักษะที่จ าเป็นต่อหลักสูตร รวมทั้งขาดความสามารถด้านกระบวนการคิดโดยผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับผลการประเมินของสมศ. ซึ่งเป็นภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานด้านความรู้และทักษะที่จ าเป็นตามหลักสูตร ถือว่าเป็นคุณภาพของผู้เรียนที่ส าคัญของการจัดการศึกษา หากปรากฏว่าเมื่อจัดการศึกษาแล้วไม่สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานด้านความรู้และทักษะที่จ าเป็นตามหลักสูตรแล้วก็ถือว่าไม่ประสบผลส าเร็จในการจัดการศึกษา สภาพปัญหาที่กล่าวมา ท าให้เห็นว่าโรงเรียนยังไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามบทบาทและอ านาจหน้าที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและคุณภาพการศึกษาที่ก าหนดซึ่งจะส่งผลถึงความส าเร็จที่น าสู่ความเป็นเลิศ สอดคล้องกับ Sergiovanni (1991: 76) ที่กล่าวว่าโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและกุญแจส าคัญที่ไปสู่การ เป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพนั้นคือคุณภาพการบริหารโรงเรียน สอดคล้องกับความเห็นของ Austin & Reynolds (1990: 151 – 153) ที่ได้สรุปว่า กระบวนการบริหารของโรงเรียนครูใหญ่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จและความมีประสิทธิผลของโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ โชติช่วง พันธุเวช (2551: 117) ที่กล่าวว่าความเป็นเลิศของโรงเรียนเป็นการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงเรียนให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การจัดการศึกษาของระบบสากลได้น าเกณฑ์การจัดการศึกษาตามรางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (Malcolm Baldridge National Quality Award : MBNQA) เป็นแบบอย่างในการพัฒนาโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกได้น าแนวคิดดังกล่าวมาใช้จนเกิดผลส าเร็จ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกงและไทย และได้น ามาปรับใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกันเรียกว่า เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย (Thailand Quality Award : TQA) ทางด้านการศึกษาน าเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย (TQA) ไปพัฒนาศักยภาพระบบการบริหารจัดการให้สู่ความเป็นเลิศ การศึกษาไทยได้มีความพยายามในการส่งเสริมสถานศึกษาให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศมาโดยตลอด สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (2547: 10 – 11) ที่กล่าวถึงโครงการที่จัดขึ้น เพ่ือส่งเสริมโรงเรียนให้มีคุณภาพ ได้แก่ โรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน โรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนดีประจ าต าบล โครงการหนึ่งอ าเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน เป็นต้น โครงการดังกล่าวมุ่งให้เกิดการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ มีความเป็นเลิศและเกิดความเสมอภาคในการให้บริการทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันและได้มาตรฐาน ซึ่งสอดคล้องกับส านักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (2553: 8) ที่กล่าวว่า การส่งเสริมคุณภาพโดยจัดท าระบบบริหารจัดการคุณภาพในรูปแบบโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบที่สามารถพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศได้จะเห็นได้ว่าโรงเรียนที ่ประสบผลส าเร็จเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานไปสู่ความเป็นเลิศซึ่งเป็นผลมาจากองค์ประกอบที่ไปสู่ความเป็นเลิศมีความส าคัญมากต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งท าให้ผู้วิจัยมีความสนใจและต้องการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งควรประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง มาเป็นแนวคิดเพ่ือพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีประสิทธิผลไปสู่ความ เป็นเลิศต่อไป

  • 5

    ค ำถำมกำรวิจัย 1. การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีองค์ประกอบใดบ้าง 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่สร้างขึ้น มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้เป็นประโยชน์ และน าไปใช้ได้จริงหรือไม ่ วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย 1. เพ่ือวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. เพ่ือสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3. เพ่ือประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอบเขตกำรวิจัย การวิจัยครั้งนี้ มีการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3. การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งผู้วิจัยน าเสนอขอบเขตการวิจัยในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กำรวิเครำะห์องค์ประกอบกำรบริหำรสถำนศึกษำสู่ควำมเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กำรบริหำรส่วนจังหวัด 1. ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาในขอบเขตเนื้อหา และองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยวิธีศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วน าข้อมูลมาวิเคราะห์ เพ่ือให้ได้องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนสังกั ดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. ขอบเขตด้ำนประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง 2.1 ขอบเขตแหล่งข้อมูล 2.1.1 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  • 6

    2.1.2 ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับนโยบาย จ านวน 3 คน ผู้อ านวยการ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่เป็นโรงเรียนจัดการศึกษามุ่งเน้นความเป็นเลิศ จ านวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 7 คน 2.2 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.2.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จ านวน 346 โรงเรียน 2.2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ก าหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จากการใช้ตารางประมาณกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 184 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อ านวยการโรงเรียน จ านวน 1 คน รองผู้อ านวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือครูวิชาการ จ านวน 1 คน และครูผู้สอน จ านวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียน จ านวน 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจากโรงเรียน จ านวน 184 โรงเรียน จ านวนทั้งสิ้น 552 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) 3. ขอบเขตตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนที่ 2 กำรสร้ำงรูปแบบกำรบริหำรสถำนศึกษำสู่ควำมเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กำรบริหำรส่วนจังหวัด 1. ขอบเขตเนื้อหำ 1.1 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู ่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการน าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มาร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนน า ประกอบด้วย แนวคิดพ้ืนฐาน หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และกระบวนการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ส่วนที่ 3 ส่วนเงื่อนไขความส าเร็จ 1.2 การตรวจสอบรูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) และปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 2. ขอบเขตแหล่งข้อมูล ผู้ ให้ ข้อมูล ในการสัมมนาอิงผู้ เชี่ ยวชาญ ได้แก่ ผู้ เชี่ ยวชาญ จ านวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี และได้รับรางวัล ความเป็นเลิศ จ านวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจั ยหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย จ านวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาโดยเป็นนักบริหารการศึกษา จ านวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเป็นครูหรือศึกษานิเทศก์ที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี จ านวน 2 คน โดยวิธี การเลือกแบบเจาะจง ( Purposive selection)

  • 7

    3. ขอบเขตตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนที่ 3 กำรประเมินรูปแบบบริหำรสถำนศึกษำสู่ควำมเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กำรบริหำรส่วนจังหวัด 1. ขอบเขตเนื้อหำ 1.1 การสร้างคู่มือและประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1.2 ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยส่งคู่มือการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ไปให้ผู้อ านวยการโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จ านวน 10 คน ศึกษาและประเมินว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์หรือไม่ 2. ขอบเขตด้ำนประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง 2.1 ขอบเขตแหล่งข้อมูล 2.1.1 ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินความเหมาะสมของคู่มือ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้ เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาและได้รับรางวัลความเป็นเลิศ จ านวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยหรือนักวิชาการ หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก จ านวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จ านวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน จ านวน 1 คน ซึ่งใช้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวกันกับการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 2.2 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.2.1 ประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จ านวน 346 โรงเรียน 2.2.2 กลุ่มตัวอย่างในการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในครั้งนี ้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จ านวน 10 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินรูปแบบ คือ ผู้อ านวยการโรงเรียน จ านวน 10 คน 3. ขอบเขตตัวแปร 3.1 ความเหมาะสมของคู่มือของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.2 ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  • 8

    นิยำมศัพท์เฉพำะ กำรบริหำรสถำนศึกษำสู่ควำมเป็นเลิศ หมายถึง กระบวนการบริหารงานของสถานศึกษาที่ประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ การน านโยบายไปปฏิบัติ ระบบการบริหารจัดการ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพ่ือให้ประสิทธิผลของการด าเนินงาน มีคุณภาพ มีความโดดเด่น เป็นที่พึงพอใจและยอมรับ สนองตอบความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รูปแบบกำรบริหำรสถำนศึกษำสู่ควำมเป็นเลิศ หมายถึง โครงสร้างและองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษา ที่มีแนวทางการพัฒนาภายในแต่ละองค์ประกอบ ส่งผลให้โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดด าเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนน า ประกอบด้วย แนวคิดพ้ืนฐาน หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และกระบวนการบริหารบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ส่วนที่ 3 ส่วนเงื่อนไขความส าเร็จ ในแต่ละส่วนมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ส่วนน า หมายถึง ส่วนแรกของรูปแบบที่กล่าวถึง แนวคิดพ้ืนฐาน หลักการและวัตถุประสงค์ ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด 1.1 แนวคิดพ้ืนฐานของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมายถึง แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1.2 หลักการของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมายถึง ความรู้ ความคิด ความเชื่อพ้ืนฐาน เกี่ย