การศึกษาประสิิทธผลในการแยก...

110
การศึกษาประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลน แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งและแบบใสแกนโลหะหมุน ปริญญานิพนธ ของ ปรีชา แกวศรีพรม เสนอตอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล พฤษภาคม 2552

Transcript of การศึกษาประสิิทธผลในการแยก...

Page 1: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

การศึกษาประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลน

แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งและแบบใสแกนโลหะหมุน

ปริญญานิพนธ

ของ

ปรีชา แกวศรีพรม

เสนอตอบัณฑติวิทยาลัย มหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา

ตามหลกัสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาวศิวกรรมเครื่องกล

พฤษภาคม 2552

Page 2: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

การศึกษาประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลน

แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งและแบบใสแกนโลหะหมุน

ปริญญานิพนธ

ของ

ปรีชา แกวศรีพรม

เสนอตอบัณฑติวิทยาลัย มหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา

ตามหลกัสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาวศิวกรรมเครื่องกล

พฤษภาคม 2552

ลิขสิทธิ์เปนของมหาวทิยาลยัศรีนครินทรวโิรฒ

Page 3: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

การศึกษาประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลน

แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งและแบบใสแกนโลหะหมุน

บทคัดยอ

ของ

ปรีชา แกวศรีพรม

เสนอตอบัณฑติวิทยาลัย มหาวทิยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา

ตามหลกัสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาวศิวกรรมเครื่องกล

พฤษภาคม 2552

Page 4: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ปรีชา แกวศรีพรม. (2552). การศึกษาประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลนแบบใส

แกนโลหะอยูนิ่งและแบบใสแกนโลหะหมนุ. ปริญญานพินธ วศ.ม.(วศิวกรรมเครื่องกล).

กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยัศรีนครินทรวโิรฒ. คณะกรรมการควบคมุ:

ผูชวยศาสตราจารย ดร.วรรณวิไล ไกรเพช็ร เอวานส,

พันเอก ผูชวยศาสตราจารย ดร. อโณทัย สุขแสงพนมรุง.

งานวิจัยนี้เปนการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลนโดย

การกําจัดแกนอากาศ ไฮโดรไซโคลนที่ใชในการทดลองมี 3 แบบ คือ แบบมาตรฐาน, แบบใสแกน

โลหะอยูนิ่งในแนวแกน และ แบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน สภาวะในการทดลอง ใชแคลเซียม

คารบอเนตเปนตัวทดสอบ มีขนาดอนุภาค 100 – 1000 ไมครอน ผสมกับน้ํา ความเขมขนของของ

ผสม 1, 3 และ 5 เปอรเซ็นตโดยปริมาตร และความดันลดที่ใชในการทดลอง 10, 15, 20, 25, 30,

35, 40, 45, 50 และ 55 psi

ผลการทดลองแสดงใหเห็นวา ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกนมี

ประสิทธิผลในการแยกดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน และ ดีกวาไฮโดร

ไซโคลนแบบมาตรฐาน เนื่องจากแกนโลหะหมุน สามารถกําจัดแกนอากาศในตําแหนงแกนกลาง

ของไฮโดรไซโคลนได ทําใหแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนลดลง ซึ่ง

จากผลการทดลองสามารถสรุปปจจัยที่มีผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน ดังนี้

1. ผลอัตราการไหล : การเพิ่มข้ึนของอัตราการไหลจะทําใหความดันลดเพิ่มข้ึน และ

สงผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนใหดีข้ึน

2. ผลความเขมขน : การเปลี่ยนแปลงความเขมขนของสารปอน สงผลตอประสิทธิผลใน

การแยกของไฮโดรไซโคลน เนื่องจากผลของความหนืดที่แตกตางกัน

3. ผลความเร็วสนามการไหล : เนื่องจากรูปรางของไฮโดรไซโคลน มีลักษณะเปน cone

ถาหากสนามการไหลวนของของไหลภายในไฮโดรไซโคลนมีความเร็วสูง ก็จะสงผลตอประสิทธิผล

ในการแยกของไฮโดรไซโคลนใหดีข้ึน

Page 5: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

A STUDY OF THE SEPARATION PERFORMANCE OF HYDROCYCLONE

WITH FIXED AND ROTATING SOLID CORES

AN ABSTRACT

BY

PREECHA KAEWSRIPROM

Presented in Partial Fulfillment of the Requirements for the

Master of Engineering Degree in Mechanical Engineering

at Srinakharinwirot University

May 2009

Page 6: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

Preecha Kaewsriprom. (2009). A study of the separation performance of

Hydrocyclone with fixed and rotating solid cores. Master Degree thesis

M.Eng. (Mechanical Engineering). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot

University. Advisor Committee : Asst. Prof. Dr.Wanwilai Kraipech Evans,

Col. Asst.Prof. Dr.Anotai Suksangpanomrung

The aim of this the research is to enhance the separation performance of a

hydrocyclone by eliminating the air core. The experimental works were carried out for

three types of hydrocyclone; Conventional, inserted fixed rod and inserted rotating rod.

The feed slurry is calcium carbonate in water solution. The calcium carbonate particles

are in the range of 100 to 1000 microns. The solid concentrations of feed slurry studied

in this work are 1, 3, and 5% by volume, and the operating pressure drops are varied

from 10 to 55 psi.

The results showed that the hydrocyclone with the rotating rod gave the best

separation performance. Since the rotating rod can eliminated the low pressure core and

decreased the energy loss in the hydrocyclone. The effects of some parameters on the

separation performance were also investigated.

1. Effect of the feed flowrate: An increase in the feed flowrate leads to an

increase in pressure drop and separation performance.

2. Effect of the feed concentration: A change in the feed concentration effects

the separation performance due to the difference in the slurry viscosity.

3. Effect of the swirling velocity: High swirling flow yields high separation

performance of the hydrocyclone according to high centrifugal force aching on the solid

particle.

Page 7: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ปริญญานิพนธ

เร่ือง

การศึกษาประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลน

แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งและแบบใสแกนโลหะหมุน

ของ

นาย ปรีชา แกวศรีพรม

ไดรับอนุมัติจากบัณฑิตวทิยาลัยใหนับเปนสวนหนึง่ของการศึกษาตามหลักสูตร

ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ของมหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

………....…………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลยั

(รองศาสตราจารย ดร.สมชาย สันตวิฒันกุล)

วันที่ …….. เดือน ………..…… พ.ศ. 2552

คณะกรรมการควบคุมปริญญานพินธ คณะกรรมการสอบปากเปลา

…………..…………………………..........ประธาน ........................................................ประธาน

(ผูชวยศาสตราจารย ดร.วรรณวิไล ไกรเพ็ชร เอวานส) (พันเอก ผูชวยศาสตราจารย ดร. ทวิวัชร วีระแกลว)

…………………………….......................กรรมการ ........................................................กรรมการ

(พันเอก ผูชวยศาสตราจารย ดร.อโณทัย สุขแสงพนมรุง) (ผูชวยศาสตราจารย ดร.จุฑารัตน คุรุเจริญ)

...........…………………………….....กรรมการ

(ผูชวยศาสตราจารย ดร.วรรณวไิล ไกรเพ็ชร เอวานส)

. …..……………..............................กรรมการ

(พันเอก ผูชวยศาสตราจารย ดร.อโณทัย สุขแสงพนมรุง)

Page 8: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ประกาศคุณูปการ

ปริญญานิพนธฉบับนี้ สําเร็จไดดวยความกรุณาของ ผูชวยศาสตราจารย ดร.วรรณวิไล

ไกรเพ็ชร เอวานส ประธานกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ และพันเอก ผูชวยศาสตราจารย

ดร.อโณทัย สุขแสงพนมรุง กรรมการควบคุมปริญญานิพนธ ที่กรุณาใหคําปรึกษา แนะนํา ให

แนวคิดในการวิเคราะห และชวยแกไขปญหาตางๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนชวยกรุณาตรวจแกปริญญา

นิพนธจนสมบูรณ

ขอขอบพระคุณ บริษัท ปูนซิเมนตไทย (แกงคอย) จํากัด ที่กรุณาอนุเคราะหแคลเซียม

คารบอเนตที่ใชในการทํางานวิจัย

ขอขอบพระคุณ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกลาพระนครเหนือ ที่ใหความสะดวกในการใชเครื่องมือวิเคราะหขอมูลการทํางานวิจัย

ขอขอบคุณเพื่อนรวมชั้น โครงการความรวมมือหลักสูตรปริญญาโท มศว. และ รร. จปร.

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล รุน 3 ทุกทานที่ใหความชวยเหลือและเปนกําลังใจ

ปรีชา แกวศรีพรม

Page 9: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

สารบัญ บทที ่ หนา

1 บทนํา …………………………………………………………………………… 1

ความเปนมาและความสาํคญัของปญหา …………………………………….. 1

วัตถุประสงคของโครงการวิจยั …………………………………………………. 2

ขอบเขตของโครงการวิจยั ………………………………………………………. 2

วิธีดําเนินการวิจัย ……………………………………………………………….. 2

ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ …………………………………………………….. 3

2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกีย่วของ ………………………………………………… 4

บทปริทัศนวรรณกรรม ………………………………………………………….. 4

ทฤษฎทีี่เกี่ยวของ ……………………………………………………………….. 6

การใชงานและขอดีขอเสียของไฮโดรไซโคลน ……………………………… 8

รูปแบบการไหลของของเหลวในอุปกรณไฮโดรไซโคลนแบบไมมีแกนโลหะ.. 10

ตัวแปรที่ใชในการคํานวณประสิทธิผลของไฮโดรไซโคลน …………………. 14

3 อุปกรณและวิธีการทดลอง …………………………………………………….. 19

สารเคมี ………………………………………………………………………….. 19

อุปกรณสําหรบัการทดลอง ……………………………………………………… 19

วิธีทาํลอง การแยกของแข็ง-ของเหลว โดยอุปกรณไฮโดรไซโคลน ……………... 23

4 ผลและวิเคราะหผล …………………………………………………………….. 26 ผลการทดสอบ ………………………………………………………………….. 26

5 สรุปและขอเสนอแนะ ………………………………………………………….. 51 สรุป ……………………………………………………………………………… 51 ขอเสนอแนะสาํหรับงานวิจยัในอนาคต ………………………………………… 52

Page 10: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

สารบัญ (ตอ) บทที ่ หนา บรรณานุกรม ……………………………………………………………………………. 54

ภาคผนวก ………………………………………………………………………………… 56

ภาคผนวก ก ตัวอยางการคาํนวณ …………………………………………………… 57

ภาคผนวก ข ภาพลักษณะการไหลของน้าํภายในไฮโดรไซโคลน ……………………. 60

ประวัติยอผูวจิัย ………………………………………………………………………….. 92

Page 11: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บัญชีตาราง ตาราง หนา

1 มุมองศาของกรวยทางออกดานลางและขนาดของ Air-core ………………….. 28

2 มุมองศาของกรวยทางอกดานลางและความสูงของ Air-core …………………. 31

3 เปรียบเทยีบคาความดันลด, ความเขมขนของสารปอนทางเขา, ความเขมขน

ของของผสมทางออกดานบน, ความเขมขนของของผสมทางออกดานลาง

และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 1 % vol ……………………….. 41

4 เปรียบเทยีบคาความดันลด, ความเขมขนของสารปอนทางเขา, ความเขมขน

ของของผสมทางออกดานบน, ความเขมขนของของผสมทางออกดานลาง

และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 3 % vol ……………………….. 44

5 เปรียบเทยีบคาความดันลด, ความเขมขนของสารปอนทางเขา, ความเขมขน

ของของผสมทางออกดานบน, ความเขมขนของของผสมทางออกดานลาง

และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 5 % vol ……………………….. 46

6 เปรียบเทยีบคาความดันลด และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 1, 3,

5 % vol ……………………………………………………………………….. 48

Page 12: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บัญชีภาพประกอบ

ภาพประกอบ หนา 1 โครงสรางของไฮโดรไซโคลน ……………………………………………………. 7

2 ลักษณะการไหลภายในไฮโดรไซโคลน …………………………………………. 7

3 แสดงความเรว็ในแนวสัมผัส (vt) ที่ตําแหนงตางๆ ในสวนกรวย ……………….. 11

4 แสดงความเรว็ในแนวแกน (va) ที่ตําแหนงตางๆ ในสวนกรวย …………………. 12

5 แสดงความเรว็ในแนวรัศมี (vr) ที่ตําแหนงตางๆ ในสวนกรวย ………………….. 13

6 แสดงการเกิด short circuit และ eddy flows ………………………………….. 13

7 แสดงรูปแบบการไหลของของเหลวภายในไฮโดรไซโคลน ……………………… 14

8 กราฟแสดงความจุกับปริมาณอัตราการไหลของอุปกรณไฮโดรไซโคลน ……….. 15

9 กราฟแสดงโคง Selectivity Function …………………………………………... 17

10 แผนภาพแสดงชุดทดลองไฮโดรไซโคลน ………………………………………... 20

11 ชุดทดลองไฮโดรไซโคลน ……………………………………………………….. 21

12 ขนาดของไฮโดรไซโคลนที่ทาํการทดลอง ……………………………………….. 22

13 ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน (HC) ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิง่ (HF)

ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน (HR) …………………………………… 23

14 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 30 psi …………... 26

15 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi ……………….. 27

16 ความสัมพันธระหวางความดันลดกับขนาดเสนผานศูนยกลางแกนอากาศและ

องศากรวยทางออกดานลาง …………………………………………………... 28

17 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 20 psi …………... 29

18 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi ……………….. 29

19 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 40 psi ………….. 30

20 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi ……………….. 30

21 ความสัมพันธระหวางความดันลดกับความสูงแกนอากาศ และองศากรวย

ทางออกดานลาง ………………………………………………………………. 31

22 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 35 psi …………... 32

23 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 35 psi …………... 32

Page 13: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บัญชีภาพประกอบ (ตอ)

ภาพประกอบ หนา 24 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.00 วินาที ………… 33

25 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.005 วินาท ี………. 34

26 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.01 วินาท ี………… 34

27 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.015 วินาท ี………. 35

28 การเปรียบเทยีบ Capacity curve ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ โดยใชน้ํา RO

เปนสารทดสอบ ……………………………………………………………….. 36

29 แสดงการกระจายตัวของของผสมที่ความเขมขน 5%vol ที่ความดัน 30 psi

ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ……………………………………………... 38

30 แสดงอัตราการไหลของของแข็งที่ความเขมขน 5%vol ความดนั 30 psi ของ

ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน …………………………………………………. 39

31 แสดงประสิทธผิลในการคัดขนาดอนุภาค ที่ความเขมขน 5%vol ความดัน 30

psi …………………………………………………………………………….. 40

32 การเปรียบเทยีบประสิทธิผลในการแยกทีค่วามเขมขน 1 % vol ความดัน 10-55

psi ของไฮโดรไซโคลนทัง้ 3 แบบ ……………………………………………… 42

33 การเปรียบเทยีบประสิทธิผลในการแยกทีค่วามเขมขน 3 % vol ความดัน 10-

55 psi ของไฮโดรไซโคลนทัง้ 3 แบบ ………………………........................... 45

34 การเปรียบเทยีบประสิทธิผลในการแยกทีค่วามเขมขน 5 % vol ความดัน 10-

55 psi ของไฮโดรไซโคลนทัง้ 3 แบบ ………………………………………….. 47

35 คาความดนัลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

ของโฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ……………………………………………… 49

36 คาความดนัลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

ของโฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิง่ ……………………………………. 49

37 คาความดนัลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

ของโฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมนุ …………………………………….. 50

38 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 10 psi ………….. 61

39 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 10 psi ……………….. 61

Page 14: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บัญชีภาพประกอบ

ภาพประกอบ หนา 40 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 15 psi …………... 62

41 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 15 psi………………… 62

42 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 20 psi…………… 63

43 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi………………… 63

44 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 25 psi…………… 64

45 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 25 psi………………… 64

46 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 30 psi…………… 65

47 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi………………… 65

48 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 35 psi…………… 66

49 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 35 psi………………… 66

50 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 40 psi…………… 67

51 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi………………… 67

52 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 45 psi…………… 68

53 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 45 psi………………… 68

54 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 50 psi…………… 69

55 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 50 psi………………… 69

56 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 55 psi…………… 70

57 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 55 psi………………… 70

58 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด10 psi…………… 71

59 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 10 psi……………….. 71

60 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 15 psi…………… 72

61 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 15 psi………………… 72

62 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 20 psi…………… 73

63 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi ……………….. 73

64 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 25 psi…………… 74

65 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 25 psi………………… 74

Page 15: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บัญชีภาพประกอบ

ภาพประกอบ หนา 66 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 30 psi…………… 75

67 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi………………… 75

68 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 35 psi…………… 76

69 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 35 psi………………… 76

70 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 40 psi…………… 77

71 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi………………… 77

72 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 45 psi…………… 78

73 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 45 psi………………… 78

74 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 50 psi…………… 79

75 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 50 psi………………… 79

76 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 55 psi…………… 80

77 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 55 psi ……………….. 80

78 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 10 psi ………….. 81

79 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 10 psi ……………….. 81

80 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 15 psi ………….. 82

81 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 15 psi ……………….. 82

82 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 20 psi…………… 83

83 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi………………… 83

84 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 25 psi…………… 84

85 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 25 psi……………….. 84

86 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 30 psi…………… 85

87 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi………………… 85

88 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 35 psi…………… 86

89 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 35 psi ……………….. 86

90 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 40 psi…………… 87

91 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi………………… 87

Page 16: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บัญชีภาพประกอบ

ภาพประกอบ หนา 92 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 45 psi…………… 88

93 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 45 psi………………… 88

94 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 50 psi …………... 89

95 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 50 psi ……………….. 89

96 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดนัลด 55 psi…………… 90

97 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 55 psi……………….. 90

Page 17: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บทที่ 1 บทนํา

1. ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ในปจจุบันไฮโดรไซโคลน (Hydrocyclone) เปนอุปกรณที่ใชกันอยางแพรหลายใน

อุตสาหกรรมตางๆ ไมวาจะเปนอุตสาหกรรมเหมืองแร น้ํามัน ปโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ

ซึ่งทําหนาที่เปนอุปกรณที่ใชแยกของผสมระหวางของแข็ง - ของเหลว ซึ่งรูปแบบการตอไฮโดร

ไซโคลนมี 2 แบบ คอื

1. แบบอนุกรม ใชในกรณีที่ตองการเพิ่มประสิทธิผลในการแยกของผสม

2. แบบขนาน ใชในกรณีที่ตองการแยกของผสมในกระบวนการผลิตที่มีปริมาณการ

ผลิตสูง

ไฮโดรไซโคลนเปนอุปกรณที่มีการใชงานมาตั้งแตอดีต นิยมใชแพรหลายในอุตสาหกรรม

ตางๆ ไมวาจะเปนอุตสาหกรรมน้ํามัน อาหาร หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ เปนตน ขอดีของอุปกรณ

ไฮโดรไซโคลนไดแก เปนอุปกรณที่มีขนาดกะทัดรัดทําใหงายตอการประกอบ การทํางาน และการ

บํารุงรักษา อุปกรณไมมีสวนประกอบที่เคลื่อนที่จึงประหยัดพลังงาน

จากการศึกษากระบวนการทํางานของไฮโดรไซโคลน พบวามีปจจัยสําคัญตางๆที่มีผล

ตอประสิทธิผลในการทํางานของไฮโดรไซโคลน ซึ่งปจจัยนี้ไดแก ความดันลด ขนาดของไฮโดร

ไซโคลนและคุณสมบัติของสารปอน โดยทั่วไปแลวไฮโดรไซโคลนที่ใชมักเปนแบบทึบแสง ทําใหเรา

ไมทราบถึงลักษณะของการไหลวามีผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนอยางไร ดังนั้น

ผูวิจัยจึงมีความสนใจที่จะนําไฮโดรไซโคลนแบบโปรงแสง มาทําการศึกษาถึงพฤติกรรมการไหล

ภายในของไฮโดรไซโคลน ซึ่งหลักการทํางานของไฮโดรไซโคลนนี้จะใชหลักการเคลื่อนที่หนี

ศูนยกลางของอนุภาคของของแข็งหรือของเหลวจากตัวพาของเหลว ซึ่งเปนวิธีที่ใชอยางกวางขวาง

ในกระบวนการแยกสารในอุตสาหกรรม

สําหรับการทํางานของไฮโดรไซโคลนแบบที่ทางออกเปดสูอากาศนั้น จะเกิดแกนอากาศ

ข้ึนตรงแกนกลางของไฮโดรไซโคลน Chu et al.(2002) และ (2004) เสนอวาถาสามารถกําจัดแกน

อากาศออกไปได จะทําใหประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนเพิ่มข้ึน

Page 18: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

2

จากที่กลาวมาขางตน ทําใหผูวิจัยมีแนวคิดที่จะนําไฮโดรไซโคลนมาทําการกําจัดแกน

อากาศโดยการใสแกนโลหะเขาไปแทนแกนอากาศ เพื่อทําการทดสอบประสิทธิผลในการแยกของ

ไฮโดรไซโคลน

2. วัตถุประสงคของโครงการวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลนโดยการกําจัดแกนอากาศ

3. ขอบเขตของโครงการวิจัย ทําการศึกษาผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกอนุภาค ดวย

ไฮโดรไซโคลน โดยมีขอบเขตของการวิจัยดังนี้

1. เปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน กับ

แบบใสแกนโลหะอยูนิ่ง และแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกนแทนแกนอากาศ โดยใชการทดลอง

จริง

2. ใชไฮโดรไซโคลนขนาด 50 มิลลิเมตร สรางจากอะคลิลิคใส

2.1 แบบมาตรฐาน

2.2 แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน

2.3 แบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน

3. ใชแคลเซียมคารบอเนตขนาดเสนผาศูนยกลาง 100-1000 ไมโครเมตร ผสมกับน้ํา

เปนของผสมในการทดสอบ

4. ทดลองที่ความดันลดในไฮโดรไซโคลนในชวง 10 ถึง 55 psi ความเขมขนของของ

ผสม 1, 3, และ 5 %vol

4. วิธีดําเนินการวิจัย 1. รวบรวมขอมูล ศึกษาและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการออกแบบไฮโดรไซโคลน

2. สรางชุดทดลองไฮโดรไซโคลนพรอมทั้งไฮโดรไซโคลนแบบโปรงแสงขนาด 50

มิลลิเมตร แบบมาตรฐาน, แบบมีแกนโลหะอยูนิ่งและแบบมีแกนโลหะหมุนอยูในแนวแกน

3. ทําการทดลองหาประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนทั้งสามแบบ

4. นําผลการทดลองที่ไดมาวิเคราะหและแสดงผล

5. สรุปผลการวิจัยและวิจารณผล

Page 19: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

3

5. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 1. ทําใหทราบถึงปจจัยตางๆ ที่มีผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน เพื่อ

หาแนวทางในการออกแบบประยุกตใชใหเหมาะสม

2. ขอมูลที่ไดสามารถนําไปเปนแนวทางในการออกแบบไฮโดรไซโคลน ใหมีประสิทธิผล

มากขึ้น

Page 20: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวของ

1. บทปริทัศนวรรณกรรม (Literature Review) การวิจัยที่เกี่ยวของกับไฮโดรไซโคลนนั้น ไดมีการทํามาอยางตอเนื่อง ซึ่งสวนใหญจะเปน

การศึกษาพฤติกรรมและลักษณะการไหลภายในไฮโดรไซโคลนเพื่อที่จะนําไปสูการปรับปรุงใหมี

ประสิทธิผลในการแยกอนุภาคใหดียิ่งขึ้น

ผลงานวิจัยของนักวิจัยบางกลุม ที่ไดทําการศึกษาการออกแบบไฮโดรไซโคลน ไดแก

(Lynch. 1968; Rao. 1975; Plitt. 1971; Plitt. 1976 ; Schubert; & NeeBe. 1980; และ

Svarovsky. 1980; Svarovsky. 1984) สมการในการออกแบบจากงานวิจัยเหลานี้ มีพื้นฐานมา

จากการทดลอง และสังเกตพฤติกรรมของไฮโดรไซโคลน และเกิดจากความสัมพันธทางสถิติของ

ขอมูลจํานวนมาก แตก็ยังไมสามารถอธิบายถึงพื้นฐานกลไกทางกายภาพ ของการไหลของของ

ไหลในไฮโดรไซโคลนได เพราะสมการมีคาคงที่ซึ่งเปนขอจํากัดและคุณสมบัติจําเพาะในแตละ

ระบบดังนั้นสมการและคาคงที่จําเพาะเหลานี้จึงไมสามารถใชในการออกแบบกับระบบของผสม

อ่ืนได

Svarovsky (1994) กลาวถึงการออกแบบไฮโดรไซโคลนนั้น ตองพิจารณาปจจัยหลาย

อยางซึ่งสงผลกระทบตอประสิทธิผลในการแยกของผสม เชน การลดขนาดเสนผานศูนยกลาง

ทางออกดานบนของไฮโดรไซโคลน (Vortex finder) สามารถชวยเพิ่มประสิทธิผลในการแยก แตจะ

มีผลทําใหใชสารปอนไดปริมาณนอยลง นอกจากนี้ Svarovsky ไดเสนอถึงการนําไฮโดรไซโคลน

หลายๆ ตัว มาตอเขาดวยกันเปนอนุกรม และระบบที่มีการนําของผสมกลับมาแยกใหม (Recycle)

พบวาทั้งสองระบบสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการแยกของผสมไดดีข้ึน

Podd; & et al. (2000) ทําการวิจัยเพื่อศึกษาวาแกนอากาศของไฮโดรไซโคลนมีผลตอ

ประสิทธิผลการทํางานของไฮโดรไซโคลน ถามีการเปลี่ยนแปลงขนาดเสนผานศูนยกลางของ

แกนกลางโดยใชคลื่น Ultrasonic เขามาชวยวิเคราะหการเปลี่ยนขนาดของแกนกลางซึ่งก็ไดผลวา

เมื่อเสนผานศูนยกลางของแกนกลางไฮโดรไซโคลนเปลี่ยนแปลงจะมีผลตอประสิทธิผลการทํางาน

ของไฮโดรไซโคลน

จากงานวิจัยของ Kraipech (2002) ซึ่งไดทําการศึกษาถึงปจจัยตางๆ ที่ใชในการ

ออกแบบไฮโดรไซโคลน สมการการออกแบบจะสามารถนํามาใชในการออกแบบได ตองอาศัย

ขอมูลจากการทดลอง ไดแก คาคงที่ตางๆ ในระบบไฮโดรไซโคลน ซึ่งปจจัยหลักที่เกี่ยวของใน

Page 21: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

5

กระบวนการนี้ ไดแก ความดันลด อัตราการไหล ขนาดของไฮโดรไซโคลน และ คุณสมบัติการไหล

ของสารปอนการจําลองการไหลดวยวิธีการคํานวณเชิงตัวเลข เพื่อศึกษาพฤติกรรมการไหลใน

ไฮโดรไซโคลนไดทําการวิจัยโดยนักวิจัยหลายกลุมเชน Kraipch. (2002), Chine; & Concha.

(2000) และ Dai; & et al. (1999) วิธีนี้สามารถอธิบายถึงพื้นฐานกลไกทางกายภาพของการไหล

ในไฮโดรไซโคลนได ผลจากการจําลองการไหลนี้สามารถใชเปนแนวทางในการออกแบบอุปกรณ

ไฮโดรไซโคลนได แตอยางไรก็ตามตองมีการเปรียบเทียบผลการจําลองกับผลการทดลองจริง เพื่อ

ตรวจสอบความแมนยําในการคํานวณ

Chu ; & et. al. (2002) ไดนําแทงสี่แฉก (winged core) มาใสไวในไฮโดรไซโคลน เพื่อ

กําจัดแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลน โดยการวัดความเร็วเชิงมุมภายในไฮโดรไซโคลน แตไมได

ทําการทดสอบดวยของผสม โดยรายงานวา การทํางานของไฮโดรไซโคลนที่ปรับปรุงแลวมี

ประสิทธิผลดีกวา เมื่อเปรียบเทียบกับไฮโดรไซโคลนทั่วไป และ Chu; & et. al. (2004) ไดศึกษา

พลศาสตรของการไหลภายในไฮโดรไซโคลนโดยการใชเทคนิค Laser Doppler Anemometry

(LDA) วัดความเร็วในการไหล โดยไดนําแกนโลหะมาใสในไฮโดรไซโคลนแทนแกนอากาศและให

แกนโลหะอยูนิ่ง เปรียบเทียบกับไฮโดรไซโคลนแบบธรรมดา พบวาไฮโดรไซโคลนที่ใสแกนโลหะ ให

ประสิทธิผลในการแยกดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบธรรมดา และเนื่องจากการทํางานของไฮโดร

ไซโคลนเปดสูบรรยากาศ ความเร็วในการหมุนของของเหลวในไฮโดรไซโคลนทําใหเกิดแกนอากาศ

ขึ้น Chu.; & et. al. 2002; Chu.; & et. Al. 2004; Podd; & et al. (2000) ไดทําการการวิจัย

เกี่ยวกับแกนอากาศในไฮโดรไซโคลนและไดทําการสรุปวา ถาสามารถกําจัดแกนอากาศในไฮโดร

ไซโคลนออกไปได จะทําใหไฮโดรไซโคลนมีประสิทธิผลในการแยกดีข้ึน

ดังนั้น ผูวิจัยมีแนวคิดวา ถาแกนโลหะที่ใสเขาไปแทนแกนอากาศในไฮโดรไซโคลนเกิด

การหมุนในขณะทํางานดวย ก็จะทําใหความเร็วในแนวสําผัสมีคามากขึ้น และสามารถทําให

ประสิทธิผลการทํางานของไฮโดรไซโคลนดีข้ึน แตถาหากทําใหแกนหมุนโดยใชพลังงานจาก

ภายนอก (มอเตอร) ขับเคลื่อนแกนใหหมุนจะทําใหส้ินเปลืองพลังงาน ผูวิจัยจึงทําการออกแบบ

โดยการใสใบพัดที่ตําแหนงปลายแกนดานลาง นอกตัวไฮโดรไซโคลน โดยใหของไหลที่ไหลออก

ทางดานลาง (underflow spray) พัดใบพัด ทําใหแกนเกิดการหมุน ซึ่งเมื่อแกนเกิดการหมุน นาจะ

ชวยใหสนามการไหลมีความเร็วมากขึ้น และนาจะสงผลถึงการแยกไดดีข้ึน

Page 22: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

6

2. ทฤษฎีที่เก่ียวของ หลักการแยกอนุภาคในไฮโดรไซโคลนไมสลับซับซอนและมีวิธีการแยกที่มีประสิทธิผล

ภาพประกอบ 1 แสดงอุปกรณไฮโดรไซโคลน ประกอบดวยสวนดานบนซึ่งเปนรูปทรงกระบอกตอ

กับทางปอนขาเขาซึ่งอยูในทิศทางของเสนสัมผัส เพิ่มตอดวยสวนดานลางซึ่งเปนกรวยโดยที่ปลาย

ของกรวยเปด (การไหลออกทางดานลาง) ทอกระแสวนหรือการไหลออกทางดานบน ติดอยูภายใน

ของรูปทรงกระบอกดานบนและอยูต่ํากวาตําแหนงที่ปอนของไหล การปอนของแข็งที่อยูในรูปของ

การผสมกับของเหลวและปอนเขาไปทางปอนขาเขาซึ่งจะทําใหเกิดการวนลงไป โดยอาศัยแรงหนี

ศูนยกลางเนื่องจากการเคลื่อนที่ของของเหลว ของแข็งจะเคลื่อนที่ไปตามแนวผนังดวยแรงหนี

ศูนยกลาง และมวนเปนวงลงสูทางไหลออกดานลางตรงสวนปลาย เมื่อของไหลเขาใกลศูนยกลาง

จะเกิดมีทิศทางทวนกลับและมวนเปนวงขึ้นไปออกจากตัวแยก ผานทอกระแสวนทางดานบน

ผลกระทบดังกลาวนี้ เกิดขึ้นตามแนวใจกลางของการวนของของไหลภายในจุดศูนยกลางของ

เครื่องแยก ดังนั้น อนุภาคที่ใหญกวาและหนาแนนกวาจะออกผานทางปลายดานลาง ขณะที่

อนุภาคที่เล็กกวาและหนาแนนนอยกวาจะออกทางดานบน สําหรับการออกแบบไฮโดรไซโคลนที่ใช

ในอุตสาหกรรม จะขึ้นอยูกับประเภทของอนุภาคของของแข็งดวย

เมื่อปอนสารแขวนลอยดวยความดันสูงเขาไปในไฮโดรไซโคลน ของเหลวจะเกิดการไหล

หมุนวน เปนผลใหเกิดแรงเหวี่ยงกระทําตออนุภาคซึ่งมีผลทําใหอนุภาคถูกผลักใหไหลไปติดผนัง

ดานขางของไฮโดรไซโคลน (primary vortex) อนุภาคขนาดตางกัน หรือมีคาความถวงจําเพาะ

ตางกันจะมีแรงสูศูนยกลางตางกัน ทําใหแยกออกจากกันไดโดยอนุภาคที่มีความหนาแนนนอยจะ

เคลื่อนที่เขาไปยังศูนยกลาง (secondary vortex) และหมุนเปนเกลียวขึ้นขางบน ออกทางชอง

ทางออกดานบน (Vortex finder) เรียกวาการไหลดานบน (overflow) ขณะที่อนุภาคที่มีความ

หนาแนนมากกวาจะเคลื่อนที่เปนเกลียวลงไปตามผนังของไฮโดรไซโคลน และไหลออกทางชอง

ทางออกดานลาง (Spigot) เรียกวาการไหลดานลาง (underflow) ดังแสดงในภาพประกอบ 2 และ

การไหลดานลางจะถูกปลอยออกมาดวยความดันเทากับความดันบรรยากาศ

Page 23: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

7

ภาพประกอบ 1 โครงสรางของไฮโดรไซโคลน

ที่มา : Kraipech. (2002).

ภาพประกอบ 2 ลักษณะการไหลภายในไฮโดรไซโคลน

ที่มา : Kraipech. (2002).

Page 24: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

8

2.1 การใชงานและขอดีขอเสียของไฮโดรไซโคลน 2.1.1 การใชงานของไฮโดรไซโคลน 1. ใชในการแยกอนุภาคของแข็งออกจากของเหลวได เชน

1.1 การแยกอนุภาคของแข็งออกจากน้ํามันในกระบวนการผลิตน้ํามัน

1.2 การแยกอนุภาคแปงออกจากน้ําแปง

1.3 การแยกอนุภาคของแข็งออกจากโคลนขุดเจาะ

1.4 การแยกสินแรจากสารละลายแขวนลอยในกระบวนการแตงแร

2. ใชในการเพิ่มความเขมขนของอนุภาคของแข็งใหสูงขึ้น และการทําใหของไหลใสขึ้น

ไดแก

2.1 การทําใหสารละลายแขวนลอยมีความเขมขนเพิ่มข้ึนกอนจะสงไปเขา

กระบวนการดึงเอาของเหลวออก (deliquoring) อาทิเชน การผลิตโพลิเมอร ถานหิน และ ยูเรีย

2.2 การทําใหสารละลายแขวนลอยที่ไดจากการตกผลึก มีความเขมขนมากขึ้น อาทิ

เชน อุตสาหกรรมการผลิตกรดอะดิปก (adipic acid) และการผลิตแอมโมเนียซัลเฟต

2.3 ใชในการคัดจําพวกของอนุภาค ซึ่งการใชไฮโดรไซโคลนในงานประเภทนี้

อนุภาคของแข็งที่มี ขนาดเล็กจะติดออกไปกับของเหลวทางออกดานบน สวนอนุภาคที่มีขนาด

ใหญกวาจะหลุดออกไปทางออกดานลางไดแก

2.3.1 การแยกอนุภาคที่หนักและหยาบที่ไมตองการออกจากเยื่อกระดาษใน

อุตสาหกรรมผลิตเยื่อ กระดาษและกระดาษ

2.3.2 การแยกขนาดอนุภาคที่ใหญเกินไปออกเชน อุตสาหกรรมผลิตปูนขาว

ดินขาวและเซรามิกซ

2.3.3 การแยกเอาวัตถุที่ละเอียดออกจากสารละลายแขวนลอยในการผลิตแร

โปแตชและอื่นๆ

2.3.4 การคัดขนาดอนุภาคในกระบวนการตกผลึกสาร โดยปกติไฮโดรไซโคลน

จะถูกนํามาใชแยกอนุภาคที่มีขนาดตั้งแต 4 - 600 ไมครอน ขอดีอีกอยางหนึ่งที่เห็นไดชัดของไฮโดร

ไซโคลนคือ การที่สามารถทํางานไดอยางตอเนื่องโดยไมมีชิ้นสวนที่เคลื่อนไหวจึงทําใหไฮโดร

ไซโคลนมีราคาถูกติดตั้งไดงาย และเสียคาบํารุงรักษานอย

จากการศึกษางานวิจัย (Kraipech, 2002) ทําใหสามารถสรุปขอดีและขอเสียของไฮโดร

ไซโคลนไดดังนี้

Page 25: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

9

2.1.2 ขอดีของไฮโดรไซโคลน 1. ไฮโดรไซโคลนสามารถใชในการปฏิบัติการแยกสารไดหลายกระบวนการ

2. ไฮโดรไซโคลนสามารถสรางแรงเฉือนไดสูง เพื่อหยุดการรวมตัวกันเปนกลุมของสาร

3. ไฮโดรไซโคลนเปนอุปกรณที่งายตอการใชงานมีราคาถูกและงายตอการติดตั้งและ

การบํารุงรักษา

4. ขนาดของไฮโดรไซโคลนมีขนาดเล็ก ทําใหงายตอการติดตั้ง และอุปกรณไฮโดร

ไซโคลนให residence times ในการแยกต่ําเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณอ่ืน เชน Sedimentation 2.1.3 ขอเสียของไฮโดรไซโคลน 1. มีขีดจํากัดในการแยกเชน ความดันในการปฏิบัติงาน และ Cut size อันเนื่องมาจาก

รูปทรงของไฮโดรไซโคลน

2. มีความไมยืดหยุนในการติดตั้งและปฏิบัติงานของไฮโดรไซโคลน

3. งายตอการสึกกรอน เพราะวามีคาความเร็วของสารปอนสูง 2.1.4 ประสิทธิผลของไฮโดรไซโคลน ประสิทธิผลการเก็บ (collection efficiency) ของไฮโดรไซโคลนนั้นขึ้นอยูกับหลายปจจัย

ประสิทธิผลจะเพิ่มขึ้นเมื่อปจจัยตอไปนี้เพิ่มขึ้น 1. ขนาดของอนุภาค

2. ความหนาแนนของอนุภาค

3. ความเร็วเขาของของผสม

4. ความยาวของตัวไฮโดรไซโคลน

5. ความเรียบลื่นของผนังไฮโดรไซโคลน

ประสิทธิผลจะลดลงเมื่อปจจัยตอไปนี้เพิ่มขึน้ 1. ความหนืดของของผสม

2. เสนผาศนูยกลางของไฮโดรไซโคลน

3. พื้นทีท่างเขาของของผสม

Page 26: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

10

2.2 รูปแบบการไหลของของเหลวในอุปกรณไฮโดรไซโคลนแบบไมมีแกนโลหะ เมื่ออนุภาคที่ตองการแยกผานเขาไปในไฮโดรไซโคลนทางชองปอน จะเกิดความเร็ว

สัมผัสไปจนถึงสวนทรงกระบอกของไฮโดรไซโคลน โดยจะเกิดการไหลแบบการไหลวนซอนการ

ไหลวน (spiral within spiral) อนุภาคจะเคลื่อนที่ลงโดยการหมุนวน บางสวนของอนุภาคที่ไม

สามารถออกจากไฮโดรไซโคลนทางชองทางออกดานลางก็จะเคลื่อนที่หมุนวนภายในขึ้นสูดานบน

และออกจากไฮโดรไซโคลนทางชองทางออกดานบน การหมุนวนของของไหลจะมีทิศทางเดียวกัน

โดยที่การหมุนวนภายนอกจะเคลื่อนที่ลงสูดานลาง สวนการหมุนวนดานในจะเคลื่อนที่ข้ึนดานบน

รูปแบบการไหลสามารถอธิบายไดโดยการแบงความเร็วออกเปน 3 สวน คือ ความเร็วในแนวสัมผัส

(tangential velocity, vt ) ความเร็วในแนวรัศมี (radial velocity, vr ) และความเร็วในแนวดิ่ง (axial

velocity, va ) และมีการไหลในระยะสั้นๆ หรือการหมุนวนปนปวนรวมอยูดวย การหมุนวนภายใน

ไฮโดรไซโคลนจะทําใหเกิดแกนในแนวดิ่งที่มีความดันต่ํา ซึ่งเปนแกนของอากาศ (air core) ซึ่งการ

เกิดแกนอากาศนี้ เปนการสูญเสียพลังงานจลน

2.2.1 ความเร็วในแนวสัมผัส (tangential velocity, vt ) ที่บริเวณดานลางของปลาย vortex finder ความเร็วแนวสัมผัสจะเพิ่มข้ึนเมื่อรัศมีลดลง

จนถึงคาหนึ่งซึ่งรัศมีนอยกวารัศมีของ vortex finder ดังภาพประกอบ 3 สามารถอธิบายเปน

ความสัมพันธ ดังนี้

Vtrn = constant (2.1)

เมื่อ 0.6 < n < 0.9 และขณะที่รัศมีลดลงตอไปอีก ความเร็วแนวสัมผัสจะลดลงโดยที่

ความเร็วแนวสัมผัส แปรผันโดยตรงกับรัศมี “r” จนกระทั่งถึงบริเวณแกนอากาศ (air core)

สวนบริเวณดานบนเหนือปลายของ vortex finder ข้ึนไป ความเร็วแนวสัมผัสยังคงมี

แนวโนมเหมือนกับตอนแรกถึงแมวาจะไมคอยถูกตองนักที่บริเวณใกลกับผนังของไฮโดรไซโคลน

โดยเฉพาะอยางยิ่งที่บริเวณใกลๆ กับผนังดานนอกของ vortex finder และจะลดลงอยางรวดเร็ว

เมื่อถึงผนัง นอกจากนี้แลวความเร็วแนวสัมผัสยังไมข้ึนกับตําแหนงในแนวดิ่ง

Page 27: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

11

ภาพประกอบ 3 แสดงความเร็วในแนวสัมผัส (vt) ที่ตําแหนงตางๆ ในสวนกรวย

ที่มา : Heiskanen. (1993). p. 64. 2.2.2 ความเร็วในแนวแกน (axial velocity, va ) การไหลของของเหลวดวยความเร็วแนวแกนนั้น มีความจําเปนอยางมากในการทํางานของไฮโดร

ไซโคลน เพราะวานําเอาอนุภาคไหลออกมา จากภาพประกอบ 4 บริเวณดานลางของปลาย vortex

finder จากผนังของแกนอากาศ จนถึง LZVV (locus zero vertical velocity) ซึ่งเปนบริเวณที่

ความเร็วแนวแกนเปนศูนย การไหลของของเหลวจะไหลขึ้นขางบนและออกสูทางออกดานบน

(overflow) สวนของเหลวที่เหลือ ตั้งแตบริเวณ LZVV ถึงผนังของกรวยจะไหลลงมา และออกสู

ทางออกดานลาง (underflow) ที่บริเวณ vortex finder นั้น ของเหลวจะมีความเร็วสูงสุดและไหล

ลงมาที่บริเวณใกลๆ กับผนังของไฮโดรไซโคลนชวงหนึ่งและขณะที่ความเร็วแนวแกนลดลง

จนกระทั่งเปนศูนยของเหลวจะเริ่มไหลขึ้นจนมีความเร็วแนวแกนสูงสุดและลดลงจนเปนศูนยใน

ที่สุดอีกครั้ง ของเหลวจะไหลลงจนมีความเร็วแนวแกนที่มีคาคอนขางมากที่บริเวณใกลๆ ผนังดาน

นอกของ vortex finder

Page 28: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

12

ภาพประกอบ 4 แสดงความเร็วในแนวแกน (va) ที่ตําแหนงตางๆ ในสวนกรวย

ที่มา : Heiskanen. (1993). p. 168.

2.2.3 ความเร็วในแนวรัศมี (radial velocity, vr) ความเร็วของของเหลวในแนวรัศมี จากภาพประกอบ 5 พบวาความเร็วแนวรัศมีซึ่งเขา

มาดานในและขนาดของความเร็วแนวรัศมีจะลดลงเมื่อรัศมีลดลง และยังไมรูวาความเร็วแนวรัศมี

จะคอยๆลดลงจนกลายเปนศูนยที่แกนอากาศหรือไม เนื่องจากความยากในการวัดความเร็ว

ที่ระดับเหนือปลาย vortex finder ของเหลวอาจจะมีการเคลื่อนที่ออกไปดานนอกตามแนวรัศมี

เพราะวามีการไหลแบบหมุนวนและที่บริเวณใกลๆ แผนปดดานบนของไฮโดรไซโคลนอาจจะมี

ความเร็วแนวรัศมี ซึ่งมีทิศทางเขามาดานในตามแนวรัศมีอยางรุนแรง กระทําโดยตรงตอสวนที่ยื่น

ของ vortex finder ซึ่งเปนสวนที่สนับสนุนใหเกิดการไหลลัดกระแส (short circuit flow) ที่ผนังดาน

นอกของ vortex finder หรือ eddy flows ดังภาพประกอบ 6

Page 29: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

13

ภาพประกอบ 5 แสดงความเร็วในแนวรัศมี (vr) ที่ตําแหนงตางๆ ในสวนกรวย

ที่มา : Heiskanen. (1993). p. 165.

ภาพประกอบ 6 แสดงการเกดิ short circuit และ eddy flows

ที่มา : Heiskanen. (1993). p. 165.

Page 30: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

14

จากองคประกอบตางๆ ของความเร็วของของเหลวสามารถที่จะแสดงเปนลักษณะของ

ภาพที่เปนตัวแทนรูปแบบการไหลของของเหลวภายในไฮโดรไซโคลนไดดังภาพประกอบ 7

ภาพประกอบ 7 แสดงรูปแบบการไหลของของเหลวภายในไฮโดรไซโคลน

ที่มา : Heiskanen. (1993). p. 166.

2.3 ตัวแปรที่ใชในการคํานวณประสิทธิผลของไฮโดรไซโคลน 2.3.1 การแยกไหลและอัตราสวนการไหล (Flow split) อัตราสวนการแยกไหลของของไหลในไฮโดรไซโคลน มีความสัมพันธกับปริมาณของไหล

ทางดานบนและของไหลทางดานลาง แสดงถึงประสิทธิผลการแยกไหลในเชิงปริมาณ

S = rateoverflowrateunderflow (2.2)

Rf = 1 SS+ (2.3)

2.3.2 ความดันลด (Pressure Drop, ΔP) ความดันลดเปนตัวแปรตัวแรกที่สําคัญที่ใชในการออกแบบอุปกรณไฮโดรไซโคลน ซึ่ง

ความดันจะมีคาแปรผันตามอัตราการไหลของสารปอน (Feed flowrate) การหาคาความดันจะหา

ไดจากเครื่องมือวัดคาความดันในสวนที่มีการไหลของของผสมเขาสูอุปกรณไฮโดรไซโคลน จาก

ความสัมพันธระหวางความดันและอัตราการไหลสามารถนําไปเขียนกราฟความจุไดดัง

ภาพประกอบ 8

Page 31: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

15

ภาพประกอบ 8 กราฟแสดงความจกุับปริมาณอัตราการไหลของอุปกรณไฮโดรไซโคลน

ที่มา : Kraipech. (2002).

การเพิ่มความดันจะทําใหปริมาณของของผสมที่เขาสูไฮโดรไซโคลน มีปริมาณที่สูงขึ้น

ทําใหตองมีการปรับเปลี่ยนรูปทรงของไฮโดรไซโคลน และอาจจะทําใหเกิดการสึกกรอนของตัว

อุปกรณ

2.3.3 อัตราสวนการไหลสูอันเดอรโฟล (Flow Recovery to Underflow, Rf) อัตราสวนการไหลสูอันเดอรโฟล (Flow Recovery to Underflow, Rf) หรือ อัตราสวน

การไหลผาน (Throughput ratio) สามารถหาไดจากสมการความสัมพันธระหวางอัตราสวนการ

ไหลในอันเดอรโฟลของไฮโดรไซโคลนและอัตราการไหลของสารปอนทางเขาไฮโดรไซโคลน ซึ่ง

เขียนความสัมพันธไดดังสมการ

Capacity curves for 50-mm hydrocyclone

0

1

2

3

4

5

6

0 10 20 30 40 50 60 70Inlet pressure, ΔP (psi)

Thro

ughp

ut, F

(m3 /h

) (w

ater

) Vortex finder diameter 14mm

Vortex finder diameter 11mm

Vortex finder diameter 8mm

Page 32: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

16

Rf = F

U (2.4)

และจากการสมดุลมวลของไฮโดรไซโคลนจะได

F = O + U (2.5)

เมื่อ F คือ อัตราการไหลของของผสมทางเขาของไฮโดรไซโคลน

O คือ อัตราการไหลของของของผสมที่ทางออกดานบนของไฮโดรไซโคลน

U คือ อัตราการไหลของของผสมที่ทางออกดานลางของไฮโดรไซโคลน

อัตราการสวนไหลแยก (Flow split, S) คืออัตราสวนระหวางปริมาตรอัตราสวนการไหล

สูอันเดอรโฟล ตอปริมาตรอัตราการไหลของของผสมที่ออกดานบนของอุปกรณไฮโดรไซโคลน จึง

ทําใหไดความสัมพันธ

S = O

U (2.6)

จึงทําใหไดความสัมพันธใหมของอัตราสวนการไหลสูอันเดอรโฟล ไดดังนี้

Rf = 1S

S

+ (2.7)

และสามารถคํานวณหาอัตราสวนของน้ําที่ไหลออกสูอันเดอรโฟล (Water recovery to

underflow, Rw) ในเทอมของอัตราไหลออกสูดานลางของอุปกรณไฮโดรไซโคลนไดดังนี้

Rw = )1(

RR

sf

sfsf

φφ

−−

(2.8)

เมื่อ Rs คือ อัตราสวนของของแข็งที่แยกไดทางดานลางของไฮโดรไซโคลน

φsf คือ สัดสวนของของแข็งที่อยูในของผสมทางเขา

Page 33: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

17

2.3.4 อัตราสวนของแข็งแยกได (Solid Recovery) อัตราสวนของแข็งแยกได คือ อัตราสวนระหวางความเขมขนของของแข็งใน Underflow

ความเขมขนของของแข็งใน Feed

Solid Recovery = sf

su

φφ

x 100 (2.9)

เมื่อ φsu คือ อัตราสวนของของแข็งที่แยกไดทางดานลางของไฮโดรไซโคลน

φsf คือ สัดสวนของของแข็งที่อยูในของผสมทางเขา

2.3.5 Selectivity Function, S(d) Selectivity Function, S(d) เปนตัวที่ใชบงบอกถึงสมรรถนะในการแยกของอุปกรณ

ไฮโดรไซโคลน ซึ่ง Selectivity Function ปกติสามารถหาไดจากการทดลอง S(d) = U(d)/F(d)

แสดงดังภาพประกอบ 9 ซึ่งเสนโคงของ Selectivity Function นี้จะไมผานจุดออริจิน (Origin)

เนื่องจากวามีสวนหนึ่งของของผสม ไหลลงสูอันเดอรโฟลโดยไมผานการขบวนการแยก ดวยเหตุนี้

เองจึงทําใหมีของแข็งไหลติดออกไปกับของไหลสวนนี้ และอัตราสวนของแข็งที่ไหลติดออกไปกับ

ของไหลเทากับ อัตราสวนของน้ําที่ไหลออกสูอันเดอรโฟลของอุปกรณไฮโดรไซโคลน

ภาพประกอบ 9 กราฟแสดงโคง Selectivity Function

ที่มา : Kraipech. (2002).

Page 34: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

18

2.3.6 Cut Size Correlation cut size, d50 เปนตัวกําหนดอีกตัวหนึ่งเพื่อใชในการหาประสิทธิผลของไฮโดรไซโคลน

ซึ่งหาไดจากขนาดของอนุภาค แสดงผลของการแยกสารทางออกโอเวอรโฟล และอันเดอรโฟล

เทากัน หาไดจากกราฟเสนโคงของ Selectivity Function ซึ่งแสดงดังภาพประกอบ 9 และคา cut

size มีความสําคัญมากเพราะวามันถูกใชเปนสิ่งที่บงบอกถึงสมรรถนะในการทํางานของไฮโดร

ไซโคลน

การลดขนาด cut size เปนการเพิ่มสมรรถนะของไฮโดรไซโคลน โดยสามารถทําไดดังนี้

1. ลดเสนผานศูนยกลางของไฮโดรไซโคลน

2. ลดเสนผานศูนยกลางทางเขาของไฮโดรไซโคลน

3. ลดเสนผานศูนยกลางทางออกของไฮโดรไซโคลน

Page 35: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บทที่ 3 อุปกรณและวิธีการทดลอง

การทดลอง ใชชุดทดลองการหาประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน ประกอบดวย

อุปกรณไฮโดรไซโคลน 3 แบบ คือ 1. อุปกรณไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน 2. อุปกรณไฮโดร

ไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน 3.อุปกรณไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนใน

แนวแกน โดยใชแคลเซียมคารบอเนต (CaCO3) ขนาดเสนผาศูนยกลาง 100 – 1000 ไมครอน

ผสมน้ําเปนสารปอนที่ใชทําการทดลอง และทดลองที่ความดันลดในไฮโดรไซโคลนในชวง 10 ถึง

55 psi ความเขมขนของสารผสมเทากับ 1%, 3% และ 5% โดยปริมาตร รายละเอียดของชุด

ทดลองไฮโดรไซโคลนตามภาพประกอบ 10

1. สารเคมี 1. แคลเซียมคารบอเนต (CaCO3) ขนาด 100 – 1000 ไมครอน จาก บริษัท ปูนซิเมนต

ไทย (แกงคอย) จํากัด

2. น้ําที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส

2. อุปกรณสําหรับการทดลอง 1. อุปกรณไฮโดรไซโคลน

1.1 แบบมาตรฐาน

1.2 แบบมีแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน

1.3 แบบมีแกนโลหะหมุนในแนวแกน

2. ชุดทดลองไฮโดรไซโคลน

2.1 ปม ขนาด 2 แรงมา

2.2 Rotameter ขนาด 10 – 180 ลิตรตอนาท ี

2.3 ทอเหล็กกัลปวาไนส ขนาด 2 นิ้ว, 1.5 นิว้, 1 นิว้

2.4 เกจวาลว ขนาด 1.5 นิว้, 1 นิว้

2.5 เกจวัดความดนัสําหรับน้าํ ขนาด 0 – 70 psi

3. ถังพลาสติก ขนาด 150 ลิตร

Page 36: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

20

4. เหยือกพลาสติก ขนาด 5 ลิตร

5. กระบอกตวง ขนาด 1,000 มิลลิลิตร

6. บีกเกอร ขนาด 1,500 มลิลิลิตร

7. ชอนตักสาร

8. ขวดเก็บสารตัวอยาง ขนาด 50 มิลลิลิตร

9. นาฬกิาจับเวลา CASIO

10. เทอรโมมิเตอร ขนาด 0 – 100 องศาเซลเซียส

P Pressure gauge

Rotameter

Valve - 1

Pump

Valve - 2 By Pass

Tank - T1

Under flow

Over flow

Hydrocyclone

ภาพประกอบ 10 แผนภาพแสดงชุดทดลองไฮโดรไซโคลน

Page 37: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

21

ภาพประกอบ 11 ชุดทดลองไฮโดรไซโคลน

Page 38: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

22

120

120

70 50 33 15 10

270

71

31

10

50φ

φ

15φ

8.5

10

เกลียวทอประปา 2 นิ้ว

เกลียวทอประปา 2 นิ้ว

ภาพประกอบ 12 ขนาดของไฮโดรไซโคลนที่ทาํการทดลอง

Page 39: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

23

HC HF HR

ภาพประกอบ 13 ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน (HC) ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่ง (HF)

ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน (HR)

3. วิธีทดลอง การแยกของแข็ง – ของเหลว โดยอุปกรณไฮโดรไซโคลน ตอนที่1 การทดลองเพื่อสังเกตลักษณะการไหลของของไหลภายในไฮโดรไซโคลน วิธีทดลอง 1. ทําการบันทึกภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน และบริเวณทางออก

ดานลางของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ณ ความดันลดที่ 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50,

55 psi

2. ทําการบันทึกภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน และบริเวณทางออก

ดานลางของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน ณ ความดันลดที่ 10, 15, 20, 25,

30, 35, 40, 45, 50, 55 psi

Page 40: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

24

3. ทําการบันทึกภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน และบริเวณทางออก

ดานลางของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน ณ ความดันลดที่ 10, 15, 20, 25,

30, 35, 40, 45, 50, 55 psi ตอนที่ 2 การทดลองเพื่อสังเกตลักษณะการไหลของอนุภาคภายในไฮโดรไซโคลน วิธีทดลอง ทําการบันทึกภาพลักษณะการไหล ของสารแขวนลอยสีแดง ความเขมขน 0.2 %vol

ความดันลด 35 psi ภายในไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ตอนที่ 3 การทดลองเพื่อหากราฟความสัมพันธระหวางความดันลดกับอัตราการไหล

(capacity curve) วิธีทดลอง 1. การสรางกราฟมาตรฐาน capacity curve

1.1 นําน้ําจํานวน 100 ลิตรเทลงใน tank เพื่อเตรียมทําการทดลอง

1.2 ทําการเปดวาลว Valve2 และเปดปม เพื่อสูบน้ําเขาสูระบบ

1.3 คอยๆ เปดวาลว Valve1 เพื่อใหน้ําไหลผาน และปรับวาลวจนความดันลดได 10

psi รอจนสภาวะคงที่

1.4 นํากระบอกตวงวัดปริมาตรน้ํา ที่ไหลออกจากดานลางของไฮโดรไซโคลน และ

ไหลออกจากดานบนของไฮโดรไซโคลน พรอมทําการจับเวลาและบันทึกผลการทดลอง

1.5 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 3.1.3 - 3.1.4 แตเปลี่ยนความดันลดเปน 15, 20, 25,

30, 35, 40, 45, 50 และ 55 psi

1.6 นําอัตราการไหลที่ไดจากการวัดและที่อานคาไดจากโรตามิเตอรทั้งหมดมา

สรางกราฟมาตรฐานความสัมพันธระหวางความดันลดกับอัตราการไหล (capacity curve)

ตอนที่ 4 การทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลดที่มีผลตอประสิทธิผลในการแยก

ของไฮโดรไซโคลน วิธีทดลอง 1. การทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลดและความเขมขนของสารปอนที่มีผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

Page 41: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

25

1.1 นําสารละลาย แคลเซียมคารบอเนต 1 %vol. เทลงใน tank และเก็บสารละลาย

แคลเซียมคารบอเนตปริมาตร 30 ml ไปทําการวิเคราะหหาการกระจายตัวของอนุภาคโดยเครื่อง

Mastersizer S

1.2 ทําการเปดวาลว Valve2 และเปดปมเพื่อสูบสารละลายเขาสูระบบ

1.3 คอยๆ เปดวาลว Valve1 เพื่อใหสารละลายไหลผานและปรับวาลวจนความดัน

ลดได 10 psi รอจนสภาวะคงที่

1.4 นํากระบอกตวงวัดปริมาตรของสารละลายที่ไหลออกจากดานบนและดานลาง

ของ ไฮโดรไซโคลน พรอมทําการจับเวลาและบันทึกผลการทดลอง

1.5 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 4.1.3 - 4.1.4 แตเปลี่ยนความดันลดเปน 15, 20, 25,

30, 35, 40, 45, 50 และ 55 psi

1.6 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 4.1.3 - 4.1.5 แตเปลี่ยนความเขมขนเปน 3%vol.

และ 5 %vol.

1.7 นําผลการทดลองที่ไดจากการแยกทางดานบนและดานลางของไฮโดรไซโคลน

ไปทําการวิเคราะหหาการกระจายตัวโดยเครื่อง Mastersizer S

2. การทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลดและความเขมขนของสารปอนที่มีผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่ง

2.1 นําสารละลาย แคลเซียมคารบอเนต 1 %vol. เทลงใน tank และเก็บสารละลาย

แคลเซียมคารบอเนตปริมาตร 30 ml ไปทําการวิเคราะหหาการกระจายตัวของอนุภาคโดยเครื่อง

Mastersizer S

2.2 ทําการเปดวาลว Valve2 และเปดปมเพื่อสูบสารละลายเขาสูระบบ

2.3 คอยๆ เปดวาลว Valve1 เพื่อใหสารละลายไหลผานและปรับวาลวจนความดัน

ลดได 10 psi รอจนสภาวะคงที่

2.4 นํากระบอกตวงวัดปริมาตรของสารละลายที่ไหลออกจากดานบนและดานลาง

ของ ไฮโดรไซโคลน พรอมทําการจับเวลาและบันทึกผลการทดลอง

2.5 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 4.2.3 - 4.2.4 แตเปลี่ยนความดันลดเปน 15, 20, 25,

30, 35, 40, 45, 50 และ 55 psi

2.6 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 4.2.3 - 4.2.5 แตเปลี่ยนความเขมขนเปน 3%vol

และ 5 %vol.

Page 42: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

26

2.7 นําผลการทดลองที่ไดจากการแยก ดานบนและดานลางของไฮโดรไซโคลน ไป

ทําการวิเคราะหหาการกระจายตัวโดยเครื่อง Mastersizer S

3. การทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลดและความเขมขนของสารปอนที่มีผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน

3.1 นําสารละลาย แคลเซียมคารบอเนต 1 %vol. เทลงใน tank และเก็บสารละลาย

แคลเซียมคารบอเนตปริมาตร 30 ml ไปทําการวิเคราะหหาการกระจายตัวของอนุภาคโดยเครื่อง

Mastersizer S

3.2 ทําการเปดวาลว Valve2 และเปดปมเพื่อสูบสารละลายเขาสูระบบ

3.3 คอยๆ เปดวาลว Valve1 เพื่อใหสารละลายไหลผานและปรับวาลวจนความดัน

ลดได 10 psi รอจนสภาวะคงที่

3.4 นํากระบอกตวงวัดปริมาตรของสารละลายที่ไหลออกจากดานบนและดานลาง

ของ ไฮโดรไซโคลน พรอมทําการจับเวลาและบันทึกผลการทดลอง

3.5 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 4.3.3 - 4.3.4 แตเปลี่ยนความดันลดเปน 15, 20, 25,

30, 35, 40, 45, 50 และ 55 psi

3.6 ทําการทดลองซ้ําตั้งแตขอ 4.3.3 - 4.3.5 แตเปลี่ยนความเขมขนเปน 3%vol.

และ 5%vol.

3.7 นําผลการทดลองที่ไดจากการแยก ดานบนและดานลางของไฮโดรไซโคลน ไป

ทําการวิเคราะหหาการกระจายตัวโดยเครื่อง Mastersizer S

Page 43: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บทที่ 4 ผลและวิเคราะหผล

การศึกษานี้ เปนการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิผลของไฮโดรไซโคลนขนาดเดียวกัน 3

แบบ คือ ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน, ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน และ

ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน ซึ่งไดแบงการทดลองออกเปน 4 ข้ันตอน คือ 1. การ

ทดลองเพื่อสังเกตลักษณะการไหลของของไหลภายในไฮโดรไซโคลน 2. การทดลองเพื่อสังเกต

ลักษณะการไหลของอนุภาคภายในไฮโดรไซโคลน 3. การทดลองเพื่อหากราฟความสัมพันธระหวาง

ความดันลดกับอัตราการไหล (capacity curve) 4. การทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลดที่มี

ผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ

ในการทดลอง ใชแคลเซียมคารบอเนตขนาดเสนผานศูนยกลาง 100 – 1000 ไมครอน

ผสมกับน้ํา เปนของผสม ความเขมขน 1 %vol, 3 %vol และ 5 %vol และทําการทดลองที่ ความ

ดันลดเดียวกัน ตั้งแต 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50 และ 55 psi

ผลการทดสอบ ตอนที่ 1 การทดลองเพื่อสังเกตลักษณะการไหลของของไหลภายในไฮโดรไซโคลน

ตอนที่ 1.1 บันทึกภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลนบริเวณแกนอากาศ

(Air core) และบริเวณทางออกดานลางของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ณ ความดันลดที่ 30 psi

สวนความดันอื่นๆ แสดงในภาคผนวก ข.

ภาพประกอบ 14 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 30 psi

Page 44: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

27

ภาพประกอบ 15 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi

จากผลการทดลอง การศึกษาความสัมพันธระหวางความดันลดที่ 10, 15, 20, 25, 30,

35, 40, 45, 50 และ 55 psi กับขนาดของ แกนอากาศ (Air - core) พบวาเมื่อความดันลดเพิ่มข้ึน

เสนผานศูนยกลางของ Air - core จะมีขนาดใหญข้ึนตามลําดับ และรูปรางของ Air – core ไมเปน

ทอตรง และจากการศึกษาความสัมพันธ ระหวางความดันลดที่ 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45,

50 และ 55 psi กับขนาดองศาของกรวยทางออกดานลาง แสดงใหเห็นวา เมื่อความดันลดเพิ่มข้ึน

ลักษณะของกรวยทางออกดานลาง จะมีมุมองศาที่เพิ่มข้ึนตามลําดับ ซึ่งแสดงใหเห็นวาความดัน

ลดจะมีผลตอขนาดของ Air core และองศาของกรวยทางออกดานลาง แสดงตามตาราง 1 และ

ภาพประกอบ 16

Page 45: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

28

ตาราง 1 มุมองศาของกรวยทางออกดานลางและ ขนาดของ Air – core

Δp (psi)

องศากรวย (θ)

Diameter Air – core (mm)

10

15

20

25

30

35

40

45

50

55

35.0 o

35.7 o

39.4 o

40.4 o

41.5 o

41.5 o

42.1 o

42.9 o

43.0 o

43.4 o

0.5

0.5

0.6

0.6

0.7

0.7

0.7

0.7

0.7

0.7

ความสัมพันธระหวาง Pressure Drop, Diameter Air - core, องศากรวย

ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

10 15 20 25 30 35 40 45 50 55

Pressure Drop (psi)

องศากรวย

0

0.1

0.2

0.3

0.4

0.5

0.6

0.7

0.8Di

amet

er A

ir - c

ore

(mm

)

องศากรวย

Diameter Air - core

ภาพประกอบ 16 ความสัมพนัธระหวางความดันลดกับขนาดเสนผานศนูยกลางแกนอากาศและ

องศากรวยทางออกดานลาง

Page 46: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

29

ตอนที่ 1.2 บันทึกภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลนบริเวณแกนอากาศ

(Air core) และบริเวณทางออกดานลางของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่ง ณ ความดันลด

ที่ 20 psi และ 40 psi สวนความดันอื่นๆ แสดงในภาคผนวก ข.

ภาพประกอบ 17 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 20 psi

ภาพประกอบ 18 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi

Page 47: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

30

ภาพประกอบ 19 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 40 psi

ภาพประกอบ 20 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi

จากผลการทดลอง การศึกษาความสัมพันธระหวางความดันลดที่ 10, 15, 20, 25, 30,

35, 40, 45, 50 และ 55 psi กับขนาดของ แกนอากาศ (Air - core) พบวาเมื่อความดันลดเพิ่มข้ึน

จะเกิดแกนอากาศหุมรอบแกนโลหะ ขนาดเสนผานศูนยกลางประมาณ 6 mm แตเกิดขึ้นกับบาง

ความดันเทานั้น และความสูงของแกนอากาศที่เกิดขึ้นก็ไมเทากัน ซึ่งแสดงใหเห็นวาแกนโลหะอยู

นิ่งสามารถกําจัดแรงเสียดทานไดที่บางความดันเทานั้น สวนลักษณะของกรวยทางออกดานลาง

จะมีมุมองศาที่เพิ่มข้ึนตามลําดับ แสดงตามตาราง 2 และภาพประกอบ 21

Page 48: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

31

ตาราง 2 มุมองศาของกรวยทางออกดานลางและ ความสูงของ Air - core

Δp (psi)

องศากรวย (θ)

Diameter Air – core (mm)

10

15

20

25

30

35

40

45

50

55

29.4 o

33.7 o

34.5 o

35.2 o

39.3 o

39.8 o

40.4 o

41.0 o

41.6 o

42.3 o

-

-

-

-

60

120

110

110

50

50

ความสัมพันธระหวาง Pressure Drop, องศากรวย, ความสูง Air - core

ของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูน่ิง

0

5

10

15

20

25

30

35

40

45

10 15 20 25 30 35 40 45 50 55

Pressure Drop (psi)

องศากรวย

0

20

40

60

80

100

120

140

ความสูง

Air

- cor

e (m

m)

องศากรวย

ความสูง Air - core

ภาพประกอบ 21 ความสัมพนัธระหวางความดันลดกับความสงูแกนอากาศ และองศากรวย

ทางออกดานลาง

Page 49: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

32

ตอนที่ 1.3 บันทึกภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลนบริเวณแกนอากาศ

(Air core) และบริเวณทางออกดานลางของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน ณ ความดันลดที่

35 psi สวนความดันอื่นๆ แสดงในภาคผนวก ข.

ภาพประกอบ 22 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 35 psi

ภาพประกอบ 23 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 35 psi

Page 50: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

33

จากผลการทดลอง การศึกษาความสัมพันธระหวางความดันลดที่ 10, 15, 20, 25, 30,

35, 40, 45, 50 และ 55 psi ของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน กับขนาดของแกนอากาศ (Air

- core) พบวาเมื่อแกนโลหะหมุน Air – core ภายในไฮโดรไซโคลนหายไป การเพิ่มความดันลด จะ

ทําใหความเร็วในการหมุนของแกนโลหะเพิ่มข้ึน กรวยทางออกดานลางจะฟุงกระจายตรงบริเวณ

ทางออกดานลางมากขึ้น ซึ่งแสดงใหเห็นวาแกนโลหะหมุนสามารถลดเสียดทานที่เกิดขึ้นภายใน

ไฮโดรไซโคลนไดจริง

ตอนที่ 2 การทดลองเพื่อสังเกตลักษณะการไหลของอนุภาคภายในไฮโดรไซโคลน

บันทึกภาพลักษณะการไหลของอนุภาคภายในไฮโดรไซโคลนของไฮโดรไซโคลนแบบ

มาตรฐาน ที่ความดัน 35 psi ความเขมขน 0.02 %vol

ภาพประกอบ 24 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.00 วินาท ี

Page 51: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

34

ภาพประกอบ 25 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.005 วินาท ี

ภาพประกอบ 26 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.01 วินาท ี

Page 52: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

35

ภาพประกอบ 27 ลักษณะเสนการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลน ที่ 0.015 วินาท ี

จากภาพประกอบที่ 25, 26, 27 และ 28 แสดงลักษณะการไหลของอนุภาคภายใน

ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน แสดงใหเห็นวา เมื่อปอนสารแขวนลอยดวยความดันสูงเขาไปใน

ไฮโดรไซโคลน ของเหลวจะเกิดการไหลหมุนวน เปนผลใหเกิดแรงเหวี่ยงกระทําตออนุภาคซึ่งมีผล

ทําใหอนุภาคถูกผลักใหไหลไปติดผนังดานขางของไฮโดรไซโคลน โดยอาศัยแรงหนีศูนยกลาง

เนื่องจากการเคลื่อนที่ของของเหลว ของแข็งจะเคลื่อนที่ไปตามแนวผนังดวยแรงหนีศูนยกลาง

และมวนเปนวงลงสูทางไหลออกดานลางตรงสวนปลาย เมื่อของไหลเขาใกลศูนยกลางจะเกิดมี

ทิศทางทวนกลับและมวนเปนวงขึ้นไป ผานทอกระแสวนออกทางดานบน

ตอนที่ 3 การทดลองเพื่อหากราฟความสัมพันธระหวางความดันกับอัตราการไหล

(capacity curve)

ผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ Capacity curve ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ โดยใช

น้ํา RO เปนสารทดสอบ ทําการทดลองที่ความดันเดียวกัน ตั้งแต 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45,

50 และ 55 psi ดังภาพประกอบ 82

Page 53: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

36

Capacity Curve of HC, HF, HR

0

10

20

30

40

50

60

70

80

90

100

5 10 15 20 25 30 35 40 45 50 55

Pressure drop (psi)

Feed

(L/m

in)

HC

HF

HR

ภาพประกอบ 28 การเปรียบเทียบ Capacity curve ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ โดยใชน้ํา RO

เปนสารทดสอบ

จากภาพประกอบ 29 แสดงถึงความสัมพันธระหวางความดันลดกับอัตราการไหลของ

ไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ จากกราฟพบวา ไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ ใหผลทํานองเดียวกัน

ในชวงความดันต่ํา ที่ความดัน 5 – 20 psi อัตราการไหลของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ มี

คาใกลเคียงกัน ที่ความดัน 10 psi อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน เทากับ 36.6

ลิตรตอนาที อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง เทากับ 36.00 ลิตรตอนาที

และอัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน เทากับ 32.40 ลิตรตอนาที เนื่องจาก

ที่ความดันต่ํา ลักษณะการไหลของของผสมภายในไฮโดรไซโคลนยังไมสมบูรณ (fully developed)

ในชวงความดันสูง ที่ความดัน 25 – 55 psi อัตราการไหลเขาเริ่มแตกตางกันเมื่อความ

ดันเริ่มเขาสู 30 psi โดย อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน เทากับ 68.4 ลิตรตอ

นาที อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง เทากับ 63.6 ลิตรตอนาที และ

อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน เทากับ 72.00 ลิตรตอนาที เนื่องจาก

ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง มีแรงเสียดทานตรงแกนอากาศเพิ่มข้ึน เพราะแกนโลหะไมได

หมุนตามทิศทางการไหลของของไหลในไฮโดรไซโคลน อัตราการไหลเขาจึงนอยกวาไฮโดรไซโคลน

Page 54: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

37

แบบมาตรฐาน และแบบมีแกนโลหะหมุน แตในไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน แกนโลหะ

หมุนตามทิศทางการไหลของของไหลในไฮโดรไซโคลน ทําใหแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นตรงแกนกลาง

ของไฮโดรไซโคลนลดนอยลง ทําใหอัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนมากขึ้นกวาไฮโดรไซโคลน

แบบมาตรฐาน และอัตราการไหลเขาของของไหลแตกตางกันมากขึ้นเมื่อความดันเพิ่มข้ึน จนถึง

ความดันสูงสุดที่ 55 psi อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน เทากับ 78.00 ลิตรตอ

นาที อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง เทากับ 87.60 ลิตรตอนาที และ

อัตราการไหลเขาของไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน เทากับ 97.20 ลิตรตอนาที เนือ่งจาก แรง

เสียดทานที่เกิดขึ้นตรงแกนกลางของไฮโดรไซโคลนลดลง แตสําหรับไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

แรงเสียดทานที่เกิดจากแกนอากาศมีผลทําใหไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐานมีอัตราการไหลเขานอย

ที่สุด และในไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง เกิดแกนอากาศรอบๆ แกนโลหะ ทําใหมีอัตรา

การไหลเขานอยไปดวย แตสําหรับไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน อัตราการไหลเขาเพิ่มข้ึน

มาก เนื่องจาก แกนโลหะหมุนตามการไหลของของไหลภายในไฮโดรไซโคลน ทําใหแกนอากาศ

ภายในไฮโดรไซโคลนหายไป ทําใหแรงเสียดทานภายในไฮโดรไซโคลนลดลงไปดวย อัตราการไหล

เขาไฮโดรไซโคลนจึงสูงสุด และจากกราฟ สรุปไดวา อัตราการไหลของของไหลภายในไฮโดร

ไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง และไฮโดรไซโคลนแบบ

มาตรฐาน

ตอนที่ 4 การทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลดที่มีผลตอประสิทธิผลในการแยก

ของไฮโดรไซโคลน

ตอนที่ 4.1 ผลการทดลองแสดงการกระจายตัวของของผสมระหวาง Feed, Overflow,

Underflow ที่ ความเขมขน 5%vol ความดันลด 30 psi ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน สวน

ความดันอื่นๆ แสดงในภาคผนวก ค.

Page 55: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

38

Particle Size Distribution

0.0%

1.0%

2.0%

3.0%

4.0%

5.0%

6.0%

7.0%

0.1 1.0 10.0 100.0 1,000.0 10,000.0

Particle Size (micron)

Freq

uenc

y (%

)

Feed

Overflow

Underflow

ภาพประกอบ 29 แสดงการกระจายตวัของของผสมที่ความเขมขน 5%vol ที่ความดนั 30 psi

ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

จากภาพประกอบ 30 แสดงการกระจายตัวของของผสมที่ความเขมขน 5 %vol ที่ความ

ดัน 30 psi ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน พบวา การกระจายตัวของขนาดอนุภาคใน

Underflow และใน Feed มีขนาดใกลเคียงกัน สวนการกระจายตัวของขนาดอนุภาคใน Overflow

จะมีเฉพาะอนุภาคขนาดเล็กเทานั้น เนื่องจากในขณะที่ ทําการสูบของผสมปอนเขาไฮโดรไซโคลน

นั้น อนุภาคเกิดการเสียดสีกับใบพัดปม ทําใหมีอนุภาคบางสวนมีขนาดเล็กลงกวา 1 ไมครอน ซึ่งก็

กระจายตัวออกสูทาง Overflow ดวย

ผลการทดลองอัตราการไหลของของแข็งใน Feed, Overflow, Underflow ของไฮโดร

ไซโคลนแบบมาตรฐาน ที่ความเขมขน 5%vol ความดันลด 30 psi ดังภาพประกอบ 30

Page 56: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

39

Solid Volume Flowrate

0.00

0.02

0.04

0.06

0.08

0.10

0.12

0.14

0.16

0.18

0.20

0.1 1.0 10.0 100.0 1000.0 10000.0

Particle Size (micron)

Solid

flowr

ate

(L/m

in)

Feed

Overflow

Underflow

ภาพประกอบ 30 แสดงอัตราการไหลของของแข็งที่ความเขมขน 5%vol ความดนั 30 psi ของ

ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

จากภาพประกอบ 31 แสดงอัตราการไหลของของแข็งที่ความเขมขน 5 %vol ที่ความดัน

30 psi ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน พบวา อัตราการไหลของของแข็งใน Underflow มากกวา

ใน Feed ประมาณ 2.5 เทา และขนาดของอนุภาคก็มีเฉพาะขนาดใหญเทานั้น สวนใน Overflow

อัตราการไหลของอนุภาคมีนอยมาก และขนาดของอนุภาคก็มีเฉพาะขนาดเล็กเทานั้น

กราฟแสดงประสิทธิผลในการคัดขนาดอนุภาค ที่ความเขมขน 5%vol ความดันลด 30

psi ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ ดังภาพประกอบ 31

Page 57: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

40

Selectivity Curve, S(d)

0%

10%

20%

30%

40%

50%

60%

70%

80%

90%

100%

0.1 1.0 10.0 100.0 1000.0 10000.0

Particle Size (micron)

Selec

tivity

func

tion

(%)

HC

HF

HR

ภาพประกอบ 31 แสดงประสิทธิผลในการคัดขนาดอนุภาค ที่ความเขมขน 5%vol ความดนั 30

psi

จากภาพประกอบ 32 แสดงประสิทธิผลในการคัดขนาดอนุภาค ที่ความเขาขน 5 %vol

ความดัน 30 psi ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ พบวา ประสิทธิผลในการคัดขนาดอนุภาคของ

ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนใหประสิทธิผลในการคัดขนาดดีที่สุด เนื่องจาก คาความชัน

ของกราฟมีคาสูงสุด สวนในกรณีของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ในชวงแรกที่ขนาดอนุภาค

ประมาณ 1 – 2 ไมครอน เกิดการลดลงของกราฟการคัดขนาดอนุภาคนั้นเนื่องจากเกิดปรากฏการ

Fish - hook effect กลาวคือ ในกลุมกอนของอนุภาคขนาดใหญขณะไหลภายในไฮโดรไซโคลนจะ

มีอนุภาคขนาดเล็กแทรกอยูภายในดวย เมื่ออนุภาคขนาดใหญ ไหลวนลงสูทางออกดานลางก็ทํา

ใหอนุภาคขนาดเล็กที่อยูดวยกันติดออกมาดวย

Page 58: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ตอนที่ 4.2 อัตราสวนของแข็งแยกได (Solid Recovery) ที่ความเขมขน 1, 3, 5 %vol

ตาราง 3 เปรียบเทยีบคาความดนัลด, ความเขมขนของสารปอนทางเขา, ความเขมขนของของผสมทางออกดานบน, ความเขมขนของของผสมทางออกดานลาง

และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 1 % vol

1% vol

Run ∆P ความเขมขนทางเขา

(%wt)

ความเขมขนทางออกดานบน

(%wt)

ความเขมขนทางออกดานลาง

(%wt)

อัตราสวนของแข็งแยกได

(Solid Recovery (x100%))

(No.) (psi) HC HF HR HC HF HR HC HF HR HC HF HR 1 10 708.280 708.280 627.002 2.827 18.568 7.955 65.386 1512.652 1516.904 9.232 213.567 241.930 2 15 882.447 882.447 812.780 5.735 24.296 9.600 392.107 2372.126 2028.135 44.434 268.812 249.531 3 20 1103.058 1103.058 1114.670 8.684 32.892 15.898 735.641 4226.088 6218.533 66.691 383.125 557.881 4 25 1254.003 1254.003 1230.781 18.434 35.564 15.727 2285.346 3990.937 5811.342 104.695 370.846 472.167 5 30 1323.670 1323.670 1393.337 15.792 38.367 21.049 1888.872 4746.243 3768.885 142.700 358.567 270.493 6 35 1393.337 1393.337 1555.893 14.213 42.554 23.545 2196.908 3122.655 3801.755 157.672 224.113 244.346 7 40 1439.782 1439.782 1672.004 15.563 41.357 20.244 2235.721 4024.176 3291.724 155.282 279.499 196.873 8 45 1486.226 1486.226 1741.671 18.721 49.442 19.030 3285.704 4178.860 3068.440 221.077 281.173 176.178 9 50 1509.448 1509.448 1788.116 24.926 43.270 19.565 3906.278 3258.639 2514.793 258.788 215.883 140.639

10 55 1509.448 1509.448 1881.005 10.444 36.859 21.815 3673.395 3298.924 2010.984 243.360 218.552 106.910 41

Page 59: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

42

ผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลด และความเขมขนของสารปอนที่มีผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน ที่ความเขมขน 1 % vol ดังภาพประกอบ 32

Solid Recovery at 1 %vol of HC, HF, HRl

0

100

200

300

400

500

600

0 10 20 30 40 50 60

Pressure (psi)

Solid

Rec

over

y (%

)

HC

HF

HR

ภาพประกอบ 32 การเปรียบเทียบประสทิธผิลในการแยกที่ความเขมขน 1 % vol ความดัน 10-55

psi ของไฮโดรไซโคลนทัง้ 3 แบบ

จากภาพประกอบ 33 แสดงการเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน

ทั้ง 3 แบบ ที่ความเขมขน 1 %vol ความดัน 10 – 55 psi จากกราฟพบวา ที่ความดันต่ําบริเวณ 10

– 35 psi ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกดีที่สุด อยูที่ชวง 200 – 550

% ในขณะที่ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง มีประสิทธิผลในการแยกอยูที่ชวง 200 – 400 %

และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐานมีประสิทธิผลในการแยกต่ําที่สุด อยูที่ชวง 0 – 150 % เนื่องจากที่

ความดันต่ํา ของผสมที่ไหลออกทางดาน Underflow ไมเกิดการอั้นของของผสม แตหลังจากความ

ดันสูงขึ้น บริเวณ 35 – 55 psi ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกอยูที่

ชวง 250 – 100 % และในไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง มีประสิทธิผลในการแยกอยูที่ชวง

300 – 200 % ประสิทธิผลในการแยกลดลงเนื่องจากของผสมเกิดการอั้นที่ทางออก Underflow

เพราะความเร็วในการไหลของของไหลมีสูง สวนผสมของของผสมมีความเขมขนนอย ของแข็งที่อยู

ในของผสมจึงหมุนวนไปออกทางดาน Overflow มากกวา ทําใหประสิทธิผลในการแยกลดลง แต

สําหรับไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐานมีประสิทธิผลในการแยกเพิ่มข้ึน อยูที่ชวง 150 – 250 %

Page 60: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

43

เนื่องจากไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ไมมีแกนโลหะอยูตรงแกนกลางของไฮโดรไซโคลน ของผสม

ที่ไหลเขาไฮโดรไซโคลนจึงไมเกิดการอั้นที่บริเวณทางออก Underflow ทําใหของผสมไหลออกได

สะดวก แตจากลักษณะโดยรวมทั้งหมด ที่ความเขมขน 1 %vol ความดัน 10 – 50 psi สรุปไดวา

ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะ

อยูนิ่งและไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

Page 61: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ตาราง 4 เปรียบเทียบคาความดนัลด, ความเขมขนของสารปอนทางเขา, ความเขมขนของของผสมทางออกดานบน, ความเขมขนของของผสมทางออกดานลาง

และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 3 % vol

3% vol

Run ∆P ความเขมขนทางเขา

(%wt)

ความเขมขนทางออกดานบน

(%wt)

ความเขมขนทางออกดานลาง

(%wt)

อัตราสวนของแข็งแยกได(Solid

Recovery (x100%))

(No.) (psi) HC HF HR HC HF HR HC HF HR HC HF HR 1 10 915.544 900.535 810.481 36.215 31.259 22.673 1319.340 856.200 1412.717 144.105 95.077 174.306 2 15 1140.677 1080.642 1050.624 45.333 41.418 33.556 1851.019 2129.098 2593.656 162.274 197.022 246.868 3 20 1425.847 1320.784 1440.856 56.096 52.521 47.250 2619.960 2631.282 4022.150 183.748 199.221 279.150 4 25 1620.962 1470.873 1590.945 62.811 65.307 46.606 2484.940 4096.454 2586.126 153.300 184.166 298.527 5 30 1711.016 1590.945 1801.069 69.977 67.084 54.052 2660.070 2690.473 5725.682 155.467 169.112 317.905 6 35 1801.069 1801.069 2011.194 73.798 74.686 56.049 3921.797 3121.188 7296.383 217.748 173.296 362.789 7 40 1861.105 1891.123 2161.283 77.344 85.005 59.612 6068.840 3599.485 9073.041 326.088 190.336 419.799 8 45 1921.141 1891.123 2251.337 76.321 92.723 58.083 4348.542 4340.031 8946.172 226.352 229.495 397.372 9 50 1951.159 2041.212 2311.372 76.693 104.635 58.547 5942.210 5548.463 9918.833 304.548 271.822 429.132

10 55 1951.159 2191.301 2431.444 79.777 97.334 63.300 6798.536 6006.864 13871.102 348.436 274.123 570.488

44

Page 62: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

45

ผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลด และความเขมขนของสารปอนที่มีผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน ที่ความเขมขน 3 % vol ดังภาพประกอบ 33

Solid Recovery at 3%vol of HC, HF, HR

0

100

200

300

400

500

600

0 10 20 30 40 50 60

Pressure (psi)

Solid

Rec

over

y (%

)

HC

HF

HR

ภาพประกอบ 33 การเปรียบเทียบประสทิธผิลในการแยกที่ความเขมขน 3 % vol ความดัน 10-55

psi ของไฮโดรไซโคลนทัง้ 3 แบบ

จากภาพประกอบ 34 แสดงการเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน

ทั้ง 3 แบบ ที่ความเขมขน 3 %vol ความดัน 10 – 55 psi จากกราฟพบวา ที่ทุกๆ ชวงความดัน

ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกดีที่สุด อยูที่ชวง 200 – 600 %

เนื่องจาก ความเขมขนของของผสมสูงขึ้น ความหนืดสูงขึ้น อิทธิพลของความเร็วรวมของๆ ไหล ยัง

ไมมีผลที่จะทําใหประสิทธิผลในการแยกลดลงในชวงความดัน 10 – 55 psi และเมื่อเกิดการ

ไหลวนภายในไฮโดรไซโคลน แรงเสียดทานภายในไฮโดรไซโคลนก็หายไป เนื่องจากแกนโลหะหมุน

ทําใหแกนอากาศหายไป ของแข็งที่อยูในของผสมสามารถแยกออกจากน้ําไดดี และไหลออก

ทางดาน Underflow สะดวก ทําใหไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนมีประสิทธิผลในการแยกดี

ที่สุด ในขณะที่ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง มีประสิทธิผลในการแยกอยูที่ชวง 150 – 350

% และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐานมีประสิทธิผลในการแยกต่ําที่สุด อยูที่ชวง 100 – 300 % และ

จากลักษณะโดยรวมทั้งหมด ที่ความเขมขน 3 %vol ความดัน 10 – 50 psi สรุปไดวาไฮโดร

ไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่ง

และไฮโดรแบบมาตรฐาน

Page 63: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ตาราง 5 เปรียบเทยีบคาความดนัลด, ความเขมขนของสารปอนทางเขา, ความเขมขนของของผสมทางออกดานบน, ความเขมขนของของผสมทางออกดานลาง และ

อัตราสวนของแข็งแยกได ทีค่วามเขมขน 5 % vol

5% vol

Run ∆P ความเขมขนทางเขา

(%wt)

ความเขมขนทางออกดานบน

(%wt)

ความเขมขนทางออกดานลาง

(%wt)

อัตราสวนของแข็งแยกได(Solid

Recovery (x100%))

(No.) (psi) HC HF HR HC HF HR HC HF HR HC HF HR 1 10 883.688 696.668 627.002 60.011 54.961 30.113 1078.411 1532.466 1351.799 122.035 219.971 215.597 2 15 1100.989 836.002 812.780 70.109 66.197 44.849 2207.519 1613.571 2108.012 200.503 193.010 259.358 3 20 1376.236 1021.780 1114.670 92.367 84.202 53.653 2217.023 2535.166 3843.363 161.093 248.113 344.798 4 25 1564.563 1137.892 1230.781 99.425 74.042 70.339 3051.359 3597.969 2709.143 195.030 241.751 327.851 5 30 1651.483 1230.781 1393.337 105.512 92.166 59.954 3764.393 2897.120 4331.927 227.940 235.389 310.903 6 35 1738.403 1393.337 1555.893 103.421 112.322 63.939 4511.766 3660.893 6116.527 259.535 262.743 393.120 7 40 1796.350 1463.004 1672.004 111.748 139.293 68.015 4611.882 4152.713 8457.904 256.736 283.848 505.854 8 45 1854.297 1463.004 1741.671 115.760 144.236 72.581 4531.542 3927.434 9518.470 244.381 268.450 546.514 9 50 1883.270 1579.115 1788.116 85.703 125.914 72.674 4209.239 5181.899 9524.819 223.507 328.152 532.673

10 55 1883.270 1695.227 1881.005 124.560 118.813 81.636 6233.214 6960.367 10042.286 330.978 410.586 533.879

46

Page 64: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

47

ผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบคาความดันลด และความเขมขนของสารปอนที่มีผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน ที่ความเขมขน 5 % vol ดังภาพประกอบ 34

Solid Recovery at 5%vol of HC, HF, HR

0

100

200

300

400

500

600

0 10 20 30 40 50 60

Pressure (psi)

Solid

Rec

over

y (%

)

HC

HF

HR

ภาพประกอบ 34 การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกที่ความเขมขน 5 % vol ความดัน 10-55

psi ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ

จากภาพประกอบ 35 แสดงการเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน

ทั้ง 3 แบบ ที่ความเขมขน 5 %vol ความดัน 10 – 55 psi จากกราฟพบวา ที่ทุกๆ ชวงความดัน

ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกดีที่สุด อยูที่ชวง 200 – 550 %

เนื่องจาก ความเขมขนของของผสมสูงขึ้น ความหนืดสูงขึ้น อิทธิพลของความเร็วรวมของๆ ไหล ยัง

ไมมีผลที่จะทําใหประสิทธิผลในการแยกลดลงในชวงความดัน 10 – 55 psi และเมื่อเกิดการ

ไหลวนภายในไฮโดรไซโคลน แรงเสียดทานภายในไฮโดรไซโคลนก็หายไป เนื่องจากแกนโลหะหมุน

ทําใหแกนอากาศหายไป ของแข็งที่อยูในของผสมสามารถแยกออกจากน้ําไดดี และไหลออก

ทางดาน Underflow สะดวก ทําใหไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนมีประสิทธิผลในการแยกดี

ที่สุด ในขณะที่ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง มีประสิทธิผลในการแยกอยูที่ชวง 200 – 400

% และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐานมีประสิทธิผลในการแยกต่ําที่สุด อยูที่ชวง 100 – 350 % และ

จากลักษณะโดยรวมทั้งหมด ที่ความเขมขน 5 %vol ความดัน 10 – 50 psi สรุปไดวาไฮโดร

ไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุน มีประสิทธิผลในการแยกดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่ง

และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

Page 65: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ตาราง 6 เปรียบเทียบคาความดันลด และอัตราสวนของแข็งแยกได ที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

∆P

%vol 10 15 20 25 30 35 40 45 50 55

1% HC 9.2317 44.4341 66.6911 104.6953 142.6996 157.6724 155.2820 221.0770 258.7884 243.3601

3% HC 144.1045 162.2737 183.7477 153.3003 155.4673 217.7482 326.0880 226.3521 304.5478 348.4359

5% HC 122.0352 200.5034 161.0933 195.0295 227.9402 259.5351 256.7363 244.3807 223.5070 330.9782

1% HF 213.5671 268.8124 383.1246 370.8457 358.5669 224.1134 279.4990 281.1726 215.8827 218.5516

3% HF 95.0768 197.0216 199.2212 184.1664 169.1116 173.2964 190.3359 229.4949 271.8220 274.1231

5% HF 219.9706 193.0104 248.1126 241.7507 235.3887 262.7428 283.8484 268.4500 328.1521 410.5862

1% HR 241.9299 249.5307 557.8813 472.1670 270.4935 244.3455 196.8729 176.1779 140.6393 106.9101

3% HR 174.3060 246.8682 279.1501 298.5274 317.9046 362.7886 419.7988 397.3715 429.1318 570.4883

5% HR 215.5974 259.3583 344.7984 327.8507 310.9030 393.1200 505.8542 546.5136 532.6735 533.8787

48

Page 66: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

49

Solid Recovery of HC at 1, 3, 5 %vol

0

100

200

300

400

500

600

0 10 20 30 40 50 60

Pressure (psi)

Solid

Rec

over

y (%

)

1%vol3%vol5%vol

ภาพประกอบ 35 คาความดนัลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

ของโฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

Solid Recovery of HF at 1, 3, 5 %vol

0

100

200

300

400

500

600

0 10 20 30 40 50 60

Pressure (psi)

Solid

Rec

over

y (%

)

1%vol

3%vol

5%vol

ภาพประกอบ 36 คาความดนัลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

ของโฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิง่

Page 67: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

50

Solid Recovery of HR at 1, 3, 5 %vol

0

100

200

300

400

500

600

0 10 20 30 40 50 60

Pressure (psi)

Solid

Rec

over

y (%

)

1%vol

3%vol

5%vol

ภาพประกอบ 37 คาความดนัลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดที่ความเขมขน 1, 3, 5 % vol

ของโฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน

จากภาพประกอบ 36 แสดงการเปรียบเทียบคาความดันลด และอัตราสวนของแข็งแยก

ไดของของผสมของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน ที่ความเขมขน 1, 3, 5 %vol ความดันลด 10 -

55 psi จากกราฟพบวา ที่ความเขมขน 3 %vol และ 5 %vol อัตราสวนของแข็งแยกไดใกลเคียงกัน

สวนที่ความเขมขน 1 %vol อัตราสวนของแข็งแยกไดนอยที่สุด และจากภาพประกอบ 37 แสดง

การเปรียบเทียบคาความดันลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดของของผสมของไฮโดรไซโคลนแบบ

ใสแกนโลหะอยูนิ่ง ที่ความเขมขน 1, 3, 5 %vol ความดันลด 10 - 55 psi จากกราฟพบวา ที่ความ

เขมขน 3 %vol และ 5 %vol อัตราสวนของแข็งแยกไดใกลเคียงกัน สวนที่ความเขมขน 1 %vol

อัตราสวนของแข็งแยกไดนอยที่สุด และจากภาพประกอบ 38 แสดงการเปรียบเทียบคาความดัน

ลด และอัตราสวนของแข็งแยกไดของของผสมของไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุน ที่ความ

เขมขน 1, 3, 5 %vol ความดันลด 10 - 55 psi จากกราฟพบวา ที่ความเขมขน 3 %vol และ 5

%vol อัตราสวนของแข็งแยกไดใกลเคียงกัน สวนที่ความเขมขน 1 %vol อัตราสวนของแข็งแยกได

นอยที่สุด

Page 68: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บทที่ 5 สรุปและขอเสนอแนะ

1. สรุป

งานวิจัยนี้ เปนการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการแยกอนุภาคของไฮโดรไซโคลนโดย

การกําจัดแกนอากาศ โดยไดทําการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิผลของไฮโดรไซโคลนขนาด

เดียวกัน 3 แบบ คือ ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน, ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่งใน

แนวแกน และ ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน ในการทดลอง ใชแคลเซียม

คารบอเนตขนาด 100 – 1000 ไมครอน ผสมกับน้ําเปนของผสม ความเขมขน 1 %vol, 3 %vol

และ 5 %vol และทําการทดลองที่ ความดันลดเดียวกัน ตั้งแต 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50

และ 55 psi

ผลที่ไดนําเสนอในลักษณะกราฟแสดงความสัมพันธของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ และ

วิเคราะหผลที่ไดจากกราฟดังเสนอในบทที่ 4 ซึ่งสามารถสรุปไดดังนี้

1. การเปรียบเทียบ Capacity curve ของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ โดยใชน้ํา RO เปน

สารทดสอบ พบวา ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนในแนวแกนใหอัตราการไหลเขาดีที่สุด ซึ่ง

อัตราการไหลต่ําสุดที่ 10 psi เทากับ 32.40 ลิตรตอนาที และอัตราการไหลสูงสุดที่ 55 psi เทากับ

97.20 ลิตรตอนาที ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกนใหอัตราการไหลรองลงมา ซึ่ง

อัตราการไหลเขาต่ําสุดที่ 10 psi เทากับ 36.00 ลิตรตอนาที และอัตราการไหลสูงสุดที่ 55 psi

เทากับ 87.60 ลิตรตอนาที และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐานใหอัตราการไหลต่ําสุด ซึ่งอัตราการ

ไหลเขาต่ําสุดที่ 10 psi เทากับ 36.60 ลิตรตอนาที และอัตราการไหลสูงสุดที่ 55 psi เทากับ 78.00

ลิตรตอนาที

2. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ ที่ความเขมขน

1%vol พบวา ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนในแนวแกน มีประสิทธิผลในการแยกดีที่สุด

ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุดอยูที่ 100 % สูงสุดที่ 550 % ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่งใน

แนวแกน มีประสิทธิผลในการแยกรองลงมา ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุดอยูที่ 200 % สูงสุดที ่400

% และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน มีประสิทธิผลในการแยกต่ําสุด ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุด

อยูที่ 10 % สูงสุดที่ 250 %

3. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ ที่ความเขมขน

3%vol พบวา ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนในแนวแกน มีประสิทธิผลในการแยกดีที่สุด

Page 69: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

52

ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุดอยูที่ 180 % สูงสุดที่ 580 % ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน มี

ประสิทธิผลในการแยกรองลงมา ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุดอยูที่ 150 % สูงสุดที่ 350 % และ

ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน มีประสิทธิผลในการแยกต่ําสุด ประสิทธิผลในการ

แยกต่ําสุดอยูที่ 100 % สูงสุดที่ 280 %

4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลนทั้ง 3 แบบ ที่ความเขมขน

5%vol พบวา ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะหมุนในแนวแกน มีประสิทธิผลในการแยกดีที่สุด

ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุดอยูที่ 220 % สูงสุดที่ 550 % ไฮโดรไซโคลนแบบมีแกนโลหะอยูนิ่งใน

แนวแกน มีประสิทธิผลในการแยกรองลงมา ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุดอยูที่ 200 % สูงสุดที ่420

% และไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน มีประสิทธิผลในการแยกต่ําสุด ประสิทธิผลในการแยกต่ําสุด

อยูที่ 120 % สูงสุดที่ 340 %

จากการทดลองพบวา ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกนมีประสิทธิผลใน

การแยกดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน และ ดีกวาไฮโดรไซโคลนแบบ

มาตรฐาน เนื่องจากไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน สามารถกําจัดแกนอากาศ

ภายในไฮโดรไซโคลนได ทําใหแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนลดลง

ซึ่งสามารถสรุปปจจัยที่ทําใหไฮโดรไซโคลนมีประสิทธิผลในการแยกไดดีข้ึนดังนี้

1. อัตราการไหลของของผสมที่ไหลเขาไฮโดรไซโคลน ถาหากอัตราการไหลเขาสูง ความ

ดันลดสูง ก็จะสงผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน

2. ความเขมขนของของผสม ถาหากความเขมขนของของผสมเปลี่ยนไป ก็จะสงผลตอ

ประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน

3. ความเร็วในการไหลของของไหลภายในไฮโดรไซโคลน เนื่องจากรูปรางของไฮโดร

ไซโคลน มีลักษณะเปน cone ถาหากสนามการไหลวนของของไหลภายในไฮโดรไซโคลนมี

ความเร็วสูง ก็จะสงผลตอประสิทธิผลในการแยกของไฮโดรไซโคลน

2. ขอแนะนําสําหรับงานวิจัยในอนาคต ขอเสนอแนะในการทําวิจัยศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลในการแยกของ

ไฮโดรไซโคลนมีดังนี้

1. ทําการเปลี่ยนชนิดของอนุภาคทดสอบเพื่อศึกษาประสิทธิผลในการแยกของไฮโดร

ไซโคลน

Page 70: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

53

2. ทําการออกแบบใหทางเขาของไฮโดรไซโคลนมีขนาดหลายๆ ขนาด เพื่อไดทําการ

ทดสอบประสิทธิผลในการแยกที่ทางเขาขนาดตางๆ ได

3. ทําการเปลี่ยนความเขมขนของของผสมในการทดสอบ เพื่อไดทําการทดสอบ

ประสิทธิผลในการแยกที่ความเขมขนอื่นๆ

4. ทําการทดลองเพื่อหาขนาดของแกนใหพอดีกับขนาดของไฮโดรไซโคลน

5. ทําการออกแบบใหพื้นที่ทางออกดานลางมีพื้นที่ในการไหลออกเทาเดิมหลังจากใส

แกนโลหะแลว

Page 71: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บรรณานุกรม

Page 72: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

บรรณานุกรม

Chine, B. & F.Concha, (2000, July). Flow patterns in conical and cylindrical

hydrocyclones. Chemical Engineering Journal. 80: 267-273.

Collantes, J., Concha, F.; & B.Chine. (2000, February). Axial symmetric flow model for

a flat bottom hydrocyclone. Chemical Engineering Journal. 80: 257-265.

Dai, G.Q., Chen, W.M., Li, J.M.; & L.Y. Chu. (1999, July). Experimental study of solid-

liquid two-phase flow in a hydrocyclone. Chemical Engineering Journal. 74:

211-216.

Dai, G.Q., Li, J.M., Chu, L.Y.; & W.M. Chen. (1999, June). Numerical prediction of the

liquid flow within a hydrocyclone. Chemical Engineering Journal. 74: 217-223.

Jonas Bergstrom. (2004, July). Hannes Vomhoff. Velocity measurements in a cylindrical

hydrocyclone operated with an opaque fiber suspension. Minerals

Engineering. 17: 599-604.

Kelsall, D.F. (1952, May). A study of the motion of solid particles in a hydraulic cyclone,

Transactions of the Institution of Chemical Engineers. Chemical Engineers

Journal. 30: 87-108.

Kraipech, W. (2002). Study of the performance of industrial hydrocyclones. Ph.D.

Thesis. UMIST. England.

Liang-Yin Chu, Wen-Mei Chen: & Xiao-Zhong Lee. (2002, May). Effects of geometric

and operating parameters and feed characters on the motion of solid particles

in hydrocyclones . Separation and purification Technology. 26: 237-246.

Liang-Yin Chu, Wei Yu; & Guang-Jin. (2004, August). Enhancement of hydrocyclone

separation performance by eliminating the air core. Chemical Engineering

and Processcing, 43: 1441-1448.

Van, J.S., Deventer, D.; & K.R.P. Feng. (2003, July). Petersen and C.aldrich. Modelling of

hydrocyclone based on spray profile analysis. Int.J.Miner.Process. 70: 183-

203.

Page 73: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ภาคผนวก

Page 74: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ภาคผนวก ก

ตัวอยางการคํานวณ

Page 75: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

58

ตัวอยางการคํานวณของการหาคาน้ําหนักของของแข็งในของผสม

กรณีตัวอยาง ความเขมขน 1%vol ความดัน 50 psi ของไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

ตัวอยางการคํานวณที่ 1 การหาคาน้ําหนักของของแขง็ในของผสมทางเขา

Solid concentration in Feed = ผสมน้ําหนักของแข็งน้ําหนักของ * 100

= 30.36001.1450 * 100

= 3.7714 %wt

Solid in Feed = Slurry x Solid concentration / 100

Slurry = Flow rate x Slurry density x 1000 x 2.205

= 17.71 x 1.025 x 1000 x 2.205

= 40026.81375

ดังนัน้ Solid in Feed = 40026.81375 x 3.7714 / 100

= 1509.5712 lb/hr

ตัวอยางการคํานวณที่ 2 การหาคาน้ําหนักของของแขง็ในของผสมทางออกดานลาง

Solid concentration in Underflow = ผสมน้ําหนักของแข็งน้ําหนักของ * 100

= 32.28505.8050 * 100

= 17.5129 %wt

Solid in Underflow = Slurry x Solid concentration / 100

Slurry = Flow rate x Slurry density x 1000 x 2.205

= 8.72 x 1.130 x 1000 x 2.205

= 21727.188

ดังนัน้ Solid in Feed = 21727.188 x 17.5129 / 100

= 3805.0607 lb/hr

Page 76: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

59

ตัวอยางการคํานวณที่ 3 การหาคาน้ําหนักของของแขง็ในของผสมทางออกดานบน

Solid concentration in Overflow = ผสมน้ําหนักของแข็งน้ําหนักของ * 100

= 31.87500.0800 * 100

= 0.2510 %wt

Solid in Overflow = Slurry x Solid concentration / 100

Slurry = Flow rate x Slurry density x 1000 x 2.205

= 8.99 x 1.001 x 1000 x 2.205

= 19842.77295

ดังนัน้ Solid in Feed = 19842.77295 x 0.2510 / 100

= 49.8054 lb/hr ตัวอยางการคํานวณที่ 4 การหาคาอัตราสวนของแข็งแยกได (Solid Recovery)

Solid Recovery = าแข็งทางเขน้ําหนักของ

ดานลางแข็งทางออกน้ําหนักของ * 100

= 1509.57123805.0607 * 100

= 252.0623 %

Page 77: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ภาคผนวก ข

ภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน

Page 78: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

61

ภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน แบบมาตรฐานที่ความดัน 10–55 psi

ภาพประกอบ 38 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 10 psi

ภาพประกอบ 39 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 10 psi

Page 79: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

62

ภาพประกอบ 40 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 15 psi

ภาพประกอบ 41 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 15 psi

Page 80: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

63

ภาพประกอบ 42 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 20 psi

ภาพประกอบ 43 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi

Page 81: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

64

ภาพประกอบ 44 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 25 psi

ภาพประกอบ 45 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 25 psi

Page 82: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

65

ภาพประกอบ 46 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 30 psi

ภาพประกอบ 47 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi

Page 83: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

66

ภาพประกอบ 48 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 35 psi

ภาพประกอบ 49 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 35 psi

Page 84: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

67

ภาพประกอบ 50 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 40 psi

ภาพประกอบ 51 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi

Page 85: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

68

ภาพประกอบ 52 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 45 psi

ภาพประกอบ 53 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 45 psi

Page 86: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

69

ภาพประกอบ 54 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 50 psi

ภาพประกอบ 55 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 50 psi

Page 87: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

70

ภาพประกอบ 56 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 55 psi

ภาพประกอบ 57 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 55 psi

Page 88: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

71

ภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน แบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกนที่ความดัน 10–55 psi

ภาพประกอบ 58 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด10 psi

ภาพประกอบ 59 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 10 psi

Page 89: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

72

ภาพประกอบ 60 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 15 psi

ภาพประกอบ 61 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 15 psi

Page 90: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

73

ภาพประกอบ 62 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 20 psi

ภาพประกอบ 63 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi

Page 91: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

74

ภาพประกอบ 64 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 25 psi

ภาพประกอบ 65 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 25 psi

Page 92: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

75

ภาพประกอบ 66 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 30 psi

ภาพประกอบ 67 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi

Page 93: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

76

ภาพประกอบ 68 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 35 psi

ภาพประกอบ 69 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 35 psi

Page 94: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

77

ภาพประกอบ 70 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 40 psi

ภาพประกอบ 71 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi

Page 95: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

78

ภาพประกอบ 72 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 45 psi

ภาพประกอบ 73 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 45 psi

Page 96: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

79

ภาพประกอบ 74 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 50 psi

ภาพประกอบ 75 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 50 psi

Page 97: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

80

ภาพประกอบ 76 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 55 psi

ภาพประกอบ 77 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 55 psi

Page 98: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

81

ภาพลักษณะการไหลของน้ําภายในไฮโดรไซโคลน แบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกนที่ความดัน 10–55 psi

ภาพประกอบ 78 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 10 psi

ภาพประกอบ 79 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 10 psi

Page 99: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

82

ภาพประกอบ 80 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 15 psi

ภาพประกอบ 81 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 15 psi

Page 100: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

83

ภาพประกอบ 82 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 20 psi

ภาพประกอบ 83 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 20 psi

Page 101: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

84

ภาพประกอบ 84 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 25 psi

ภาพประกอบ 85 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 25 psi

Page 102: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

85

ภาพประกอบ 86 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 30 psi

ภาพประกอบ 87 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 30 psi

Page 103: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

86

ภาพประกอบ 88 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 35 psi

ภาพประกอบ 89 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 35 psi

Page 104: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

87

ภาพประกอบ 90 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 40 psi

ภาพประกอบ 91 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 40 psi

Page 105: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

88

ภาพประกอบ 92 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 45 psi

ภาพประกอบ 93 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 45 psi

Page 106: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

89

ภาพประกอบ 94 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 50 psi

ภาพประกอบ 95 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 50 psi

Page 107: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

90

ภาพประกอบ 96 ลักษณะของแกนอากาศภายในไฮโดรไซโคลนที่ความดันลด 55 psi

ภาพประกอบ 97 ลักษณะการไหลบริเวณทางออกดานลางที่ความดันลด 55 psi

Page 108: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

91

อภิธานศัพท

ประมวลศัพทและคํายอ

สัญลกัษณ ความหมาย หนวย

F ทางไหลเขา L/min

U ทางไหลออกดานลาง L/min

O ทางไหลออกดานบน L/min

T อุณหภูมิ oC

wt น้ําหนกั kg

vol ปริมาตร m3

ρ ความหนาแนน kg/m3

S อัตราสวนการไหลแยก

Rf อัตราสวนการไหล

HC ไฮโดรไซโคลนแบบมาตรฐาน

HF ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะอยูนิ่งในแนวแกน

HR ไฮโดรไซโคลนแบบใสแกนโลหะหมุนในแนวแกน

Page 109: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

ประวัติยอผูวิจัย

Page 110: การศึกษาประสิิทธผลในการแยก ...thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mech_Eng/Preecha_K.pdf · 2018-08-24 · ปรี ชาแก วศรี.

93

ประวัติยอผูวิจัย

ชื่อ ชื่อสกุล นายปรีชา แกวศรีพรม

วัน เดือน ปเกดิ 21 กุมภาพันธ 2517

สถานที่เกิด สงขลา

สถานที่อยูปจจุบัน 9/1 หมู 4 ตําบลคลองเปยะ อําเภอจะนะ

จังหวัดสงขลา 90130

ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2532 มัธยมศึกษาตอนตน

จาก โรงเรยีนจะนะวิทยา

พ.ศ. 2535 ประกาศนยีบตัรวิชาชีพ

จาก วทิยาลัยเทคนิคหาดใหญ

พ.ศ. 2537 ประกาศนยีบตัรวิชาชีพชัน้สูง

จาก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต สงขลา

พ.ศ. 2540 อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)

จาก มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2552 วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑติ (วิศวกรรมเครื่องกล)

จาก มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวโิรฒ