รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf ·...

15
1 รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ ณ สานักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ๒๐- ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙

Transcript of รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf ·...

Page 1: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1

รายงานภารกิจ ศาสตราจารยค์ลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ

ณ ส านักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

๒๐- ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙

Page 2: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2

สรุปรายงานภารกิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ๒๐- ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙

ณ ส านักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วม

ในคณะผู้แทนไทยซึ่งน าโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (High–level meeting on antimicrobial resistance) ระหว่างวันที่ ๒๐ -๒๓ กันยายน ๒๕๕๙ ณ ส านักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีผู้แทนระดับผู้น าประเทศจากท่ัวโลกและผู้น าองค์การระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้จ านวนมาก ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการประชุมเพ่ือหารือการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพและพิจารณาให้การรับรองปฎิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance) ระหว่างการเข้าประชุมข้างต้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจทีส่ าคัญ สรุปไดด้ังนี้

๑. ภาพรวม การเข้าร่วมการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้ อยาต้ านจุลชีพ (High Level Meeting on antimicrobial

resistance) ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยในครั้งนี้ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในฐานะประธานกลุ่มประเทศ G77 ในการแสดงความมุ่งมั่นที่จะประสานความร่วมมือกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศก าลังพัฒนาไม่กี่ประเทศที่มแีผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ ท าให้ประเทศไทยได้รับการชื่นชมว่ามกีารด าเนินงานเรื่องนี้อย่างเข้มแข็งและเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศก าลังพัฒนาให้กับนานาประเทศ อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นผู้ร่วมกล่าวเปิดการประชุมคู่ขนานเรื่อง Prevention: Antibiotic Stewardship and Infection, Prevention, and Control ตามค าเชิญของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาและกล่าวปาฐกถาเรื่อง“ความร่วมมือระหว่างประเทศก าลังพัฒนา: ความส าคัญของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพ่ือพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศก าลังพัฒนา” (South- South Cooperation: Importance of peer learning on UHC to support countries) ในการประชุมActing with Ambition : Accelerating progress towards Universal Health Coverage by 2030 ณ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) นอกจากนี้ รมว.สธ.ได้มีโอกาสสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับผู้น าด้านสุขภาพโลกหลายท่าน เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการสังคมแห่งประเทศญี่ปุ่น รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ รวมทั้งผู้อ านวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก และประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ซ่ึงเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของงานสาธารณสุขไทยในเวทีโลก

๒. ภารกิจที่ส าคัญ ๒.๑ เข้าร่วมการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (High-Level Meeting on Antimicrobial

Resistance) กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยและผู้น าประเทศจากนานาประเทศและผู้อ านวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ผู้ อ านวยการองค์การอาหารและการเกษตรแห่ งสหประชาชาติ (Food and Agricultural Organization of the UN) ผู้อ านวยการองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในนามกลุ่ม ๗๗ และจีน สนับสนุนการจัดการปัญหาการดื้อยา

Page 3: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3

ต้านจุลชีพตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health approach) เสริมสร้าง ขีดความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อ สร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพและส่งเสริมการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนายาต้านจุลชีพ โดยเฉพาะ ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ วัคซีน เครื่องมือส าหรับตรวจวินิจฉัย และนวัตกรรมสนับสนุน รวมทั้งการสร้างหลักประกันให้ราคายาไม่สูงเกินไปและให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยาปฏิชีวนะ วัคซีน เครื่องมือตรวจวินิจฉัย และเครื่องมือทางการแพทย์อ่ืนๆ ที่มีความจ าเป็นต่อสุขภาพ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและแบบใหม่ และเสริมสร้างศักยภาพในการด าเนินงานตามแผนปฏิบัติการระดับชาติในการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพพร้อมให้ข้อมูลในส่วนของไทยว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้ านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (Global action plan on antimicrobial resistance) ขององค์การอนามัยโลก เน้นการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล ป้องกันการติดเชื้อทุกรูปแบบ สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนายาปฏิชีวนะใหม่และการเข้าถึงยา ต้านจุลชีพที่จ าเป็นและการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหาการต้านยาจุลชีพอย่างเป็นระบบตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ส าคัญของการประชุมนี้คือปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติ เรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance) ซึ่งผู้น าระดับประเทศได้แสดงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพโดยเน้นการจัดท าแผนปฏิบัติการรายประเทศ การระดมทุนที่เพียงพอส าหรับการด าเนินงานและบริหารจัดการ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือสหสาขาและระบบสุขภาพหนึ่งเดียว

๒.๒ กล่าวเปิดการประชุม Prevention: Antibiotic Stewardship and Infection, Prevention, and Control ตามค าเชิญของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยได้กล่าวถึงสาเหตุที่ท าให้เกิดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพและการด าเนินการของไทยในการจัดการปัญหาดังกล่าวผ่านโครงการ Antibiotics Smart Use (ASU) การป้องกันการติดเชื้อ ในโรงพยาบาล การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล เพ่ือลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จ าเป็น และได้เสนอแนะให้ (๑) ปรับแนวความคิดในการมองปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพเป็นประเด็นความมั่นคงของโลก (global security issue) และปรับการวิจัยและการพัฒนาให้เป็นไปเพ่ือการส่งเสริมการใช้ปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล (๒) สร้างผู้น า (Champion) ในการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพให้มากยิ่งขึ้นซึ่งปัจจุบันมีผู้น าด้านนี้หลายคน อาทิเช่น Dame Sally Davies แห่งประเทศอังกฤษ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นและนายแพทย์ทอม ฟรีเดน แห่งสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้น าในเรื่องนี้ (๓) หารืออย่างสม่ าเสมอและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง สร้างความเชื่อมั่น (trust) ระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่นและDame Sally Davies แห่งประเทศอังกฤษได้แสดงความชื่นชมต่อการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพของไทยเป็นอย่างมาก

๒.๓ เข้าร่วมการประชุม Acting with Ambition : Accelerating progress towards Universal Health Coverage by 2030 ณ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์(Rockefeller Foundation ) ซึ่งการประชุมนี้รัฐบาลไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพร่วมจัดกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก เครือข่าย International Health Partnership (IHP+) ประเทศอินโดนีเซีย เคนยา ชิลี และสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ส าคัญคือการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างและพัฒนาหลักประกันสุขภาพของทุกประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศก าลังพัฒนาเพ่ือให้บรรลุผลส าเร็จภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐

Page 4: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4

ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) โดยมีผู้น าด้านสุขภาพระดับโลก อาทิ แพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อ านวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และอาร์เจนตินา, Dr Gro Harlem Brundtland อดีตผู้อ านวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ผู้น าระดับสูงจากประเทศต่างๆ และนักวิชาการเข้าร่วมประชุมจ านวนกว่า ๑๕๐ คน

ในการประชุมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง“ความร่วมมือระหว่างประเทศก าลังพัฒนา: ความส าคัญของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพ่ือพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศก าลังพัฒนา” (South- South Cooperation: Importance of peer learning on UHC to support countries) และได้กล่าวถึงการพัฒนาการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยที่เริ่มด าเนินการในขณะที่ประเทศมี ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product :GDP ) ต่อหัวประชากร เพียง ๔๐๐ ดอลลาร์สหรัฐและปัจจุบันมีความครอบคลุมประชาชนไทยเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวอย่างความส าเร็จที่นานาประเทศยกย่อง และสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถด าเนินงานได้โดยใช้ต้นทุนต่ า และทุกประเทศสามารถท าได้หากประเทศมีเจตจ านงทางการเมืองและผู้น าประเทศมีนโยบายที่ชัดเจน และได้ยกตัวอย่างความส าเร็จของความร่วมมือระหว่างประเทศก าลังพัฒนา(South- South Cooperation)ในลักษณะความเป็นเครือข่าย ๓ เครือข่าย คือ การตั้งเครือข่ายความร่วมมือเฝ้าระวังโรคลุ่มแม่น้ าโขง (Mekhong Basin Disease Surveillance: MBDS) การจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาก าลังคน (Asia Pacific Action Alliance on human resources for health-AAAH) และการตั้งเครือข่ายการสร้างศักยภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (CAP UHC) และ ASEAN Plus Three UHC networkและได้แสดงทัศนะว่าควรมีความร่วมมือในลักษณะความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน (equal partnership) ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก าลังพัฒนา เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นระหว่างกันและได้ผลประโยชน์ร่วมกัน และไทยยินดีที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสนับสนุนนานาประเทศให้บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐

๒.๔ หารือกับผู้อ านวยการ STOP TB Partnership โดยมีสาระส าคัญของการหารือคือ ความร่วมมือในการจัดการวัณโรค เนื่องด้วยปัจจุบันไทยเป็นประธานกลุ่ม ๗๗ Dr. Lucica Ditiu ผู้อ านวยการ STOP TB Partnership จึงมีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการผลักดันให้การจัดการวัณโรคเป็นวาระของการประชุมระดับสูงขององค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. ๒๕๖๐ เพ่ือให้การจัดการปัญหาโรคนี้ได้รับการสนับสนุนในระดับผู้น าของประเทศและมีทรัพยากรในการด าเนินงานอย่างเพียงพอซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งให้ผู้แทน STOP TB partnershipทราบว่าไทยให้ความส าคัญและมีความมุ่งมั่นจะลดอัตราการเกิดโรคนี้ตามเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และจะหารือกับกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับกลุ่ม ๗๗ เพ่ือหารือกับประเทศสมาชิกความเป็นไปได้ในการสนับสนุนวาระการจัดการวัณโรคเข้าสู่ที่ประชุมระดับสูงขององค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. ๒๕๖๐

๒.๕ หารือกับ Dr. Judith Rodin ประธานมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ โดยมีสาระส าคัญของหารือคือ การผลักดันให้หลักการของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าน าไปสู่การปฏิบัติในนานาประเทศ ทั้งนี้เพ่ือส่งเสริมให้ทุกประเทศมีการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้าภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่ได้ให้ความส าคัญของการมีสุขภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในเป้าหมายอ่ืนๆด้วย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ยกตัวอย่างความส าเร็จของความร่วมมือระหว่างประเทศก าลังพัฒนา (South-South collaboration) ในการสร้างศักยภาพของประเทศในภูมิภาคอาเซียนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

Page 5: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

5

ผ่านเครือข่ายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น CAP UHC ที่ประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานหลักซึ่งได้รับความชื่นชมจาก Dr Judith เป็นอย่างมาก ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยได้แสดงความชื่นชมการท างานของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ที่ได้ให้ความช่วยเหลือประเทศก าลังพัฒนาในทุกภูมิภาคทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และแสดงความขอบคุณที่มูลนิธิฯมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลมาอย่างต่อเนื่อง

๓. ข้อสังเกต ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาระดับโลกและต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการ

แก้ปัญหาร่วมกันเพ่ือป้องกันผลกระทบที่จะตามมา การที่ที่ประชุมระดับสูงได้ให้การรับรองปฎิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance) นับว่าเป็นความก้าวหน้า (Milestone) ที่ส าคัญของประชาคมโลกในการเร่งการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีการท างานร่วมกันที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงการหารือในการจัดท าท่าทีไทยต่อการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพเพ่ือหาจุดร่วมกับกลุ่ม ๗๗ และร่างถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี อีกทั้งผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมคู่ขนานที่เป็นเฉพาะด้านสาธารณสุข ส่งผลให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศมีความเข้าใจในประเด็นสาธารณสุขมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขมีความเข้าใจในการเจรจาต่อรองสารัตถะของร่างถ้อยแถลงในลักษณะเชิงการทูตมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นความส าเร็จในการท างานร่วมกันระหว่างทั้งสองกระทรวงเป็นอย่างยิ่ง

๔. การด าเนินงานต่อไปของกระทรวงสาธารณสุข ๔.๑ ด าเนินงานตามปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงสมัชชาสหประชาชาติ เรื่อง การดื้อ

ยาต้านจุลชีพและแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ๔.๒ ติดตามและประเมินผลการท างานตามยุทธศาสตร์ข้อ ๔.๑ ๔.๓ เสริมสร้างความเข้มแข็งการท างานด้านสุขภาพโลกและขยายความร่วมมือด้านสุขภาพกับ

นานาประเทศโดยร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการด าเนินงาน

.....................................................................

กระทรวงสาธารณสุข กันยายน ๒๕๕๙

Page 6: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

6

เอกสารแนบท้าย ๑ ถ้อยแถลง กล่าวโดย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะกลุ่ม ๗๗ และประเทศจีน

ณ การประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙

นครนิวยอร์ก ---------------------------------------------

ประธานสมัชชาสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้อ านวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ผู้อ านวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ผู้อ านวยการใหญ่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (เป็นการกล่าวเนื้อหาตามมติของท่ีประชุมกลุ่ม ๗๗) ๑. ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งท่ีได้รับเกียรติเป็นตัวแทนกล่าวถ้อยแถลงในนามกลุ่ม ๗๗ ท่านผู้มีเกียรต ิสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ๒. การประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพในครั้งนี้ เป็นโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพทั่วโลก และยังเป็นโอกาสกระตุ้นเจตจ านงทางการเมืองในระดับสูงเพ่ือสนับสนุนความพยายามเร่งด่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับโลกในเรื่องนี้ และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ๕ ประการที่สนับสนุนการท างานของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคการสาธารณสุข และภาคสังคม เพ่ือร่วมกันแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพบนพื้นฐานของแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว ๓. การดื้อยาต้านจุลชีพเป็นความท้าทายของมวลมนุษยชาติ และส่งผลกระทบต่อผู้คนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ อย่างไรก็ตามขีดความสามารถของประเทศต่างๆ ในการจัดการกับปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแตกต่างกันอย่างมาก ตามระดับการพัฒนาประเทศและศักยภาพของระบบสุขภาพ ดังนั้น ประเทศก าลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบ อย่างมากหากไม่แก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

Page 7: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

7

๔. กลุ่ม ๗๗ เน้นว่าจะต้องค านึงถึงประเด็นทั้งหมดนี้ โดยการด า เนินนโยบายแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ต้องไม่กระทบการซื้อและเข้าถึงยาต้านจุลชีพทั้งชนิดเดิมและที่ค้นพบใหม่ รวมทั้งวัคซีน และเครื่องมือตรวจวินิจฉัย ท่านผู้มีเกียรติ สุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ๕. จากมุมมองของกลุ่ม ๗๗ การแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพต้องสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ ที่ครอบคลุม ดังนี้ (หนึ่ง) เราต้องส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้กรณีการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ คน และการเกษตรอย่างเหมาะสม (สอง) เราต้องเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ าสะอาด สุขลักษณะและสุขอนามัย การสร้างภูมิคุ้มกัน และการควบคุมการติดเชื้อทั้งในและ นอกสถานพยาบาล (สาม) เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้ระบบสุขภาพและส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๖. (สี่) เราต้องสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนายาต้านจุลชีพ โดยเฉพาะ ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ วัคซีน เครื่องมือตรวจวินิจฉัย และนวัตกรรม ซึ่งรวมถึง ยาแผนดั้งเดิมและยาสมุนไพร อย่างเร่งด่วน โดยมีหลักประกันว่าต้องเป็นไปตามความจ าเป็น มีหลักฐานเชิงประจักษ์ และรับผิดชอบร่วมกัน โดยยึดหลักราคาสมเหตุสมผล มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความเท่าเทียม โดยตัดความเชื่อมโยงระหว่างต้นทุนการวิจัยและพัฒนาจากราคาและปริมาณ ในการขาย กลุ่ม ๗๗ ยินดีที่หลักการการตัดความเชื่อมโยงนี้ได้รับการเน้นความส าคัญในปฏิญญาทางการเมือง ๗. (ห้า) เราต้องสร้างหลักประกันให้ราคายาไม่สูงเกินไปและสามารถเข้าถึงยาปฏิชีวนะ วัคซีน เครื่องมือตรวจวินิจฉัย และเครื่องมือทางการแพทย์อ่ืนๆ ทั้งที่มีอยู่และแบบใหม่ ทั้งนี้ เราตั้งตารอผลลัพธ์ของการอภิปรายระดับสูงเรื่องการเข้าถึงยา ซึ่งจัดโดยเลขาธิการสหประชาชาติ ๘. (หก) เราต้องเสริมสร้างศักยภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการสนับสนุนด้านการเงินเพ่ือการด าเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาและการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ และการติดตามดู แลการใช้ยาต้านจุลชีพ เราต้องสนับสนุน การวิจัยระบบสาธารณสุข และการวิจัยและพัฒนา ทั้งประเด็นการใช้ยาปฏิชีวะอย่างสมเหตุสมผล ตลอดจน การคุ้มครองและสร้างหลักประกันในการเข้าถึงยา ทั้งหมดนี้ จะต้องท าโดยค านึงถึงการมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม โดยไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีประเทศท่ีมีรายได้ต่ าและรายได้ปานกลาง ท่านผู้มีเกียรต ิสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี

Page 8: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

8

๙. เรายืนยันการด าเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับโลกอีกครั้งผ่านปฏิญญาทางการเมือง เราให้ค ามั่ นที่จะลงมือปฏิบัติในเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ การระดมก าลังคนและแหล่งเงินทุน การสนับสนุนด้านเทคนิคและ ด้านอื่นๆ เพ่ือพัฒนาและด าเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ ๑๐. เรายังให้ความส าคัญในมิติด้านสาธารณสุขในความพยายามประสานงาน และ ความร่วมมือของเราจะต้องก่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ส าคัญส าหรับคนรุ่นเราและคนรุ่นลูก ทั้งนี้ กลุ่ม ๗๗ จะรอคอยรายงานที่อ้างถึงในปฏิญญาทางการเมืองเพ่ือสานต่อการพิจารณาและการด าเนินงานที่ส าคัญในเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (ค ากล่าวเพิ่มในส่วนของไทย) ๑๑. ในส่วนของประเทศไทย ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ดังนี้ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของไทย ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพฉบับแรกของประเทศ ทั้งนี้ ไทยเน้นการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล การเข้าถึงยาต้านจุลชีพที่จ าเป็นในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี ๒๕๔๕เป็นหลัก เพ่ือให้บรรลุปณิธานทั้งสอง เราได้ริเริ่มสิ่งจูงใจเพ่ือให้เกิดหนทางในการลดการใช้ยาต้ านจุลชีพในการรักษาบาดแผลถลอก การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และอาการท้องร่วง อนึ่ง การบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน ข้อ ๓.๘ และความพยายามในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ เป็นการรวมสรรพก าลังในบริบทของประเทศไทย และอาจเป็นโอกาสเพ่ิมเติมให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างความพยายามด้านการพัฒนาสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจเพ่ือต่อสู้กับการดื้อยาต้านจุลชีพ เรายินดีที่จะสานต่อความร่วมมือ กับทุกภาคส่วนและมีส่วนร่วมในความพยายามระดับโลกอย่างสร้างสรรค์ ขอบคุณครับ

Page 9: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

9

Statement delivered by

H.E. General Prayut Chan-O-Cha (ret.) Prime Minister of the Kingdom of Thailand on behalf of the Group of 77 and China

at the Plenary of the High-level Meeting on Antimicrobial Resistance 21 September 2016

New York ---------------------------------------------

President of the General Assembly, Secretary-General of the United Nations, Director General of the World Health Organisation, Director General of the Food and Agriculture Organisation, and Director General of the World Organisation for Animal Health (OIE), 1. I have the honour to deliver this statement on behalf of the Group of 77 and China. Excellencies, Ladies and Gentlemen, 2. This High-level Meeting on Antimicrobial Resistance is an historic and important landmark. It is

an opportunity to raise awareness on AMR worldwide. We must also galvanise political will at the highest levels to support urgent efforts to address AMR, consistent with the WHO Global Action Plan on AMR and its five strategic objectives. These efforts must support a government and public-health driven, whole of society, multi-sectoral response based on a One-Health approach.

3. AMR is a universal challenge for all humankind. It affects people indiscriminately. However,

the capacity of countries to deal with AMR varies drastically, from the level of development to the varying capacities of health systems. The ramifications of not addressing AMR effectively, therefore, can be particularly pronounced in developing countries.

Page 10: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

10

4. All of this must be taken into account. Finally, implementing policies to address AMR must not in any way further hinder affordable and equitable access to existing and new antimicrobials, vaccines and diagnostic tools.

5. For the Group of 77 and China, addressing AMR must support a number of overarching goals.

First, we must encourage appropriate use of antimicrobials in animal and human health and agriculture and raise awareness on AMR. Second, we must continue to strengthen our ability to prevent infections, including by ensuring access to clean water, hygiene and sanitation, immunization, and infection control. Third, we must strengthen health systems and promote Universal Health Coverage.

6. Fourth, we must urgently support R&D of antimicrobials, especially new antibiotics,

vaccines, diagnostic tools and innovation, including in traditional and herbal medicine. This must be done while ensuring that R&D efforts are needs-driven, evidence-based, and a shared responsibility. These efforts must be guided by the core principles of affordability, effectiveness, efficiency, and equity through delinking research and development costs from prices and sales volume. The Group is pleased to see this delinkage principle underlined in the Political Declaration.

7. Fifth, we must ensure affordability and access to existing and new antimicrobials, vaccines,

diagnostics and other medical tools. In this regard, we welcome the launch of the much anticipated report of the High-Level Panel on Access to Medicines convened by the Secretary-General.

8. Sixth, we must enhance capacity building, technology transfer, and international

cooperation to support development and implementation of national action plans. This includes developing and strengthening surveillance on antimicrobial resistance and use of antimicrobials. We must also support health systems research, and R&D in both appropriate use of antimicrobials and on how to further protect and ensure access to medicines in this regard.

Excellencies, 9. The Political Declaration has reaffirmed the WHO Global Action Plan on AMR. It has

committed us to international cooperation, mobilising human and financial and other

Page 11: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

11

resources to develop and implement National Action Plans. We have committed ourselves to action.

10.We have also underlined the public-health dimension of all our coordinated efforts. Our

collaboration must result in sustainable public health outcomes for our generation and for our children’s generation. In this regard, the Group looks forward to receiving the report as called for in the Political Declaration for our continued consideration.

11.In my national capacity, allow me to share some reflections. This August, the Thai cabinet

approved the First National Strategic Plan on AMR. For some time already, Thailand has focused on promoting rational use of antimicrobials and ensuring access to essential antimicrobials in our UHC programs since 2002. To address both, we initiated incentives which have led to a significant reduction of antimicrobial use in the treatment of superficial wounds, upper respiratory tract infections and diarrhea. UHC, the SDG 3.8, and efforts to address AMR are mutually reinforcing in our national context and there may be further opportunities to link our efforts in health, social and economic development to tackle AMR. We look forward to continued collaboration with all sectors, and contributing to global efforts.

I thank you.

-----------------------------------------------------

Page 12: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

12

Opening Remark By Clinical Professor Emeritus Piyasakol Sakolsatayadhorn, M.D.

Public Health Minister of Thailand For the meeting on ‘AMR Prevention: Antimicrobial Stewardship and Infection, Prevention, and Control’

21 September 2016 from 1:30-2:30 pm At the Library of the Bellevue Hospital, New York City, USA.

(3 minutes) Excellencies, Ladies and Gentlemen, Since Alexander Fleming discovered Penicillin in 1928, we soon saw the emergence of antimicrobial resistant microbes. We have witnessed a number of weaknesses along their value chain including inadequate research and development, slow market authorization, aggressive marketing and extensive irrational use of antibiotics. Ladies and Gentlemen, Although Thailand has just approved a multi-sectoral National Strategic Plan on AMR, many ‘actions’ have been taken even before its approval. For example, we have studied and found that AMR may kill up to 30,000 people, and cost almost 0.6% of our GDP, annually. We implemented the Antimicrobial Smart Use which later on became a financial incentives system under the UHC, to reduce the use of antibiotics. We implemented extensive campaigns on hand washing and infection control, and Rational Drug Use program in all health facilities. We have also banned the use of antimicrobials as ‘growth promoter’ in the live stock development. However, our biggest challenge is ‘How can we effectively and comprehensively walk our talks in a multi - sectoral and sustainable manner?’ First, we need to ‘Change our Paradigm’. With globalization, AMR spread easily around the globe. Thus considering AMR as a global ‘security issue’ allows us to bring all sectors, at all level, to collectively tackle the challenges. We also need a new way of thinking on the R&D, marketing and use of antimicrobials. Second, we need to create more real ‘Champions’ who committed wholeheartedly to continuously lead the actions on AMR. It is these Champions like Dr. Sally Davies, H.E. Shiozaki,

Page 13: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

13

and Dr. Tom Frieden here, who lead us to the third one, which is the ‘Collective Concrete and Effective Actions’. Without delivering Collective Concrete and Effective Actions, our strategic and action plans are just papers no matter who approved it. Finally, ladies and gentlemen, our Lord Buddha taught us that ‘To be successful in collective actions, we must have regular meetings in a punctual manner. We must take actions on what we have committed. We must respect wisdom and seniority, and build collective ‘trust’ through reducing our ‘self interest’. I am sorry to have to leave you soon, but my senior advisor, Dr. Pathom, will be with you throughout the session.

I thank you for your kind attention.

Page 14: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

14

Keynote address of Public Health Minister of Thailand Prof. Emeritus Piyasakol Sakolsatayadorn

at the meeting ‘Acting with Ambition: Accelerating Progress Towards UHC by 2030’ on the topic of

‘South-South Cooperation: Importance of peer learning on UHC to support countries’

Thursday 22 September 2016, High-level Event 18:00-19:30hr at the Rockefeller Foundation Building, New York

(5 minutes) *******************************************************

Thank you President Judith, Ladies and Gentlemen: It is my great pleasure tojoin this important forum to the further progress of the UHC. On behalf of the co-hosts, I would like to sincerely thank the kind hospitality and commitment of the Rockefeller Foundation, WHO, and all partners to support this meeting. Thailand started our path towards UHC in 1975 by covering only the poor, when our GDP per capita was only $US 400. After 27 years of incremental expansion we have achieved a full population coverage of UHC in 2002, when our GDP per capita was mere $US 1,900. Ladies and gentlemen, If Thailand can achieve UHC, every developing country can as well. We have seen many concrete progresses, like in China, Vietnam, Indonesia, Philippines, South Africa, Ghana and Kenya. One of the key supporting factors is the sharing of experiences and evidences, and joint actionsfor research, capacity building and even collective procurement of essential commodities among developing countries, the so-called south-south collaboration. Ladies and Gentlemen, I would like to share with you three stories of successful south-south collaboration supported by the Rockefeller Foundation. 1. The Mekong Basin Disease Surveillance Network or MBDS. This network was established in

2000 among 6 countries in the Mekong basin. It has successfully strengthened the capacity on disease surveillance and outbreak investigation of Its members. It is now expanded to 13

Page 15: รายงานภารกิจ ศาสตราจารย์ ... achievementrev.pdf · 2016-10-03 · 4 ตามเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

15

countries of the ASEAN plus three network. Last Monday the ASEAN network convened the ASEAN Health Minister Meeting to discuss on and commit to tackle the epidemic of Zika.

2. The Asia Pacific Action Alliance on Human Resources for Health or AAAH, established in 2005

with mere $US 250,000 support. After ten years, it expands from 8 to 18 countries. It is going to convene its 8thconference in Colombo Sri Lanka next month.

3. The CAP UHC network, established in 2012, with half a million USD support. In the past 4

years, it has convened near 100 training workshops and field visits, for almost 1,500 participants from more than 20 countries. It has been expanded to the ASEAN plus three UHC network.

Ladies and Gentlemen, These are examples of the wise investment by the Rockefeller Foundation. These ‘Good South-South Collaboration at Low Cost’ are sustainable due to three main factors: 1. They are led and managed by south institutes at a low cost with high cultural sensitivities and

respect national sovereignty. 2. They are spirit driven, based on trust among partners built from ‘interactive learning through joint

actions’ with horizontal collegial relationship and little ‘self interest’. 3. They focus on the mutual interests among the south institutes with strong local commitments.

This create mutual ownership and readiness to take joint actions as well as joint investments. Ladies and Gentlemen, I am confident that we want to see all development partners, including northern institutes to collaborate with the southern institutes on an equal partnership basis. We do not want to see the non Sustainable model of northern institutes getting big funding from development partners and leave little long term capacity to the southern institutes. We do not want to see a vertical governing structure for south-south collaboration, led by northern institutes. Let us all learn from the stories of the three successful investments of the Rockefeller Foundation. Let us move together toward a system that is ‘SAFE’ which stands for a Sustainable, Adequate, Fair and Efficient south-south collaboration on UHC. I wish you all have a nice evening.