นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. ·...

10
“นายรอบรู้” น่าน w w w . Na i R o b R o o . c o m กิน เที่ยว ซื้อของ ที่พัก แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง ISBN 978-616-7767-13-0 น่าน ตัวอย่าง

Transcript of นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. ·...

Page 1: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา

จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง

เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

180.-

“นายรอบรู้” น่าน

www.Na

iRob

Roo.co

m

“นาย

รอบ

รู้” น่าน

กิน เที่ยว ซื้อของ ที่พัก

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา

จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง

เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

ISBN 978-616-7767-13-0

น่านตัวอย่าง

Page 2: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

เมืองง�ช้�งดำ�งาช้างด�าเป็นวตัถมุงคลคูบ้่านคูเ่มอืงน่าน เป็นสมบตัทิีต่กทอดจากเจ้าผูค้รองเมอืง น่านมาหลายชั่วอายุคน  มีลักษณะเป็นงาปลียาว 94 ซม. วัดโดยรอบตรงส่วนที่ ใหญ่ที่สุดได้ 47 ซม. มีน�้าหนักถึง 18 กก. สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้าย แต่ ไม่มีจดหมายเหตุบันทึกที่มาแน่นอน  ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาต ิน่าน

ตัวอย่าง

Page 3: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

10

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

1 คำ�ขวัญประจำ�จังหวัด15  แผนที่44  อ่�นก่อนเที่ยว -  รู้จัก จ. น่าน/สภาพธรรมชาติ/ประวัติและความเป็นมา/น่าน       เมืองเก่าที่มีชีวิต57  “สุดยอด” ในน�่น65  ที่เที่ยวและเส้นท�ง65    •  ที่เที่ยวย่านใจกลางเมืองน่าน

    - วัดภูมินทร์/พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน/วัดมิ่งเมือง/       วัดพระธาตุช้างค�า้วรวิหาร/วัดหัวข่วง/ปันใหญ่ ปันสูง แกลเลอรี/       วัดกู่ค�า/วัดพญาภู/วัดหัวเวียงใต้

87    •  ที่เที่ยวในตัวเมืองน่าน    - วัดสวนตาล/ตึกรังษีเกษม รร. น่านคริสเตียนศึกษา/โฮงเจ้า-       ฟองค�า/พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด/วัดมหาโพธ์ิ/วัดพญาวัด/       วัดศรีพันต้น/ห้องสมุดบ้าน ๆ  น่าน ๆ

104 •  ที่เที่ยวย่านอ.เมือง    - วัดพระธาตุเขาน้อย/เตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก (แหล่งเตา       โบราณบ้านจ่ามนัส)/วัดพระธาตุแช่แห้ง/พิพิธภัณฑ์วัดนาปัง/       โฮมสเตย์บ้านหาดผาขน/หอศิลป์ริมน่าน

119    •  ที่เที่ยวย่านอ.เวียงสา         - วัดบุญยืน/ที่ว่าการอ�าเภอ (หลังเก่า)/เฮือนรถถีบ (พิพิธภัณฑ์            จักรยาน)129    •  ที่เที่ยวช่วงอ.นาน้อย-อ.นาหมื่น         -  เสาดินนาน้อยและคอกเสือ/อช. ศรีน่าน/บ้านปากนาย/            อช. ขุนสถาน138    •  ที่เที่ยวย่านอ.ท่าวังผา         - วัดหนองบัว/บ้านสันเจริญ/อช. นันทบุรี147    •  ที่เที่ยวย่านอ.ปัว         - ต้นดิ๊กเดียม วัดปรางค์/วัดต้นแหลง/วัดพระธาตุเบ็งสกัด/            วัดร้องแง/วังศิลาแลง/น�้าตกศิลาเพชร

สารบัญ

10

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

ตัวอย่าง

Page 4: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

11

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

155    •  ที่เที่ยวช่วงอ.บ่อเกลือ-สะจุกสะเกี้ยง    - อช. ดอยภูคา/บ่อเกลือสินเธาว์/อช. ขุนน่าน/สถานีพัฒนา       การเกษตรที่สูงตามพระราชด�าริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง/ศูนย์       ภูฟ้าพัฒนา

167    •  ที่เที่ยวช่วงอ.เชียงกลาง-อ.ทุ่งช้าง         - วัดหนองแดง/น�้าตกตาดม่าน/กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งสุน/บ้าน            มณีพฤกษ์179    •  ที่เที่ยวย่านอ.สองแคว         - อช. ถ�้าสะเกิน/น�้าตกห้วยหาด183    •  ที่เที่ยวย่านอ.เฉลิมพระเกียรติ         - ด่านพรมแดนห้วยโก๋น-น�้าเงิน/ฐานปฏิบัติการห้วยโก๋น (เก่า)188  เที่ยวเทศก�ลง�นประเพณี   -  เทศกาลชมพูภูคาบาน และงานบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา/ประเพณี      หกเป็ง ไหว้พระธาตุแช่แห้ง/ประเพณีสรงน�้าพระเจ้าทองทิพย์/       ประเพณีแปดเป็ง ขึ้นพระธาตุเขาน้อย/ประเพณีใส่บาตรเทียน/       เทศกาลโลกของกว่าง/งานแข่งเรือประเพณี จ. น่าน/เทศกาลของดี       เมืองน่านและงานกาชาด/ประเพณีปีใหม่ม้งบ้านมณีพฤกษ์195  เที่ยวตล�ด    -  ตลาดราชพัสดุ/ตลาดตั้งจิตนุสรณ์ (กาดเช้า)/กาดบ้านเก่าวัด       หัวเวียงใต้/ตลาดเทศบาล ต. เวียงสา (ตลาดวัดบุญยืน)/ตลาด       เช้าเมืองปัว/ตลาดชายแดนห้วยโก๋น206  ของกินและที่กิน212  “น�ยรอบรู้” อร่อยทั่วไทย233  ซื้อของฝ�ก248  ข้อมูลก�รเดินท�ง -  การเดินทางจากกรุงเทพฯ/การเดินทางภายในตัวเมือง/การเดิน      ทางไปเที่ยวต่างอ�าเภอ/ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสาร/ตาราง       โทรศัพท์ติดต่อสอบถามเที่ยวบิน/บริษัททัวร์และบริการรถเช่า255  ข้อมูลที่พัก -  พักท่ีไหนดี/อ. เมือง/ย่าน อ. ภูเพียง/ย่าน อ. เวียงสา/อช. แม่จริม/      อ. นาน้อย/อช. ศรีน่าน/อช. ขุนสถาน/อ. นาหมื่น/อ. ท่าวังผา/       อช. นันทบุรี/ย่าน อ. ปัว/อช. ดอยภูคา/ย่าน อ. บ่อเกลือ/       อช. ขุนน่าน/อ. เชียงกลาง/อ. ทุ่งช้าง/อ. เฉลิมพระเกียรติ269  ค้นห�ที่เที่ยว271  ขอคว�มช่วยเหลือ

11

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

ตัวอย่าง

Page 5: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

แผนที่ทางหลวง

กรุงเทพฯ-นาน

สัญลักษณ ทางห

ลวงแ

ผนดิน

ทางห

ลวงแ

ผนดิน

สายจ

ังหวัด

เสนแ

บงเขตป

ระเทศ

จังหว

ัด

อำเภอ

ตำบล

/หมูบ

าน

มาตร

าสวน

1 :

4,46

0,00

00

5010

015

020

0 กม

.

ตัวอย่าง

Page 6: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

93

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

การเฉลิมฉลองทั้งวันทั้งคืน

ตึกรังษีเกษม รร. น่านคริสเตียนศึกษาชมตึกเก่าอายุเกือบ 100 ปี- เปิดเวลา 08.30-16.30 น.

- ติดต่อขอเข้าชม โทร. 0-5471-0306

อาคารเรียนหลังนีส้ร้างแล้วเสร็จราวป ีพ.ศ. 2458 โดยคณะมชิชนันารี 

น�าโดย ดร. ซามูเอล ซี. พีเพิล  ชื่อ “รังษีเกษม” มาจากพระนามของ 

สมเดจ็เจ้าฟ้าภาณรุงัษสีว่างวงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเดจ็พระจอม- 

เกล้าเจ้าอยู่หัว  ปัจจุบันมีการปรับปรุงอาคารเรียนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัด 

แสดงข้าวของเครือ่งใช้ของคณะมชิชนันารแีละภาพถ่ายเมอืงน่านยคุอดตี

  ที่ตั้ง  ถ. รังษีเกษม ต. ในเวียง อ. เมือง

รถยนต์ส่วนตัว  จากสี่แยกช้างเผือก ใช้ ถ. เปรมประชาราษฎร์ 

ไปประมาณ 650 ม. พบทางแยกให้เลี้ยวขวาเข้า ถ. สุมนเทวราชไป 

เล็กน้อย จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้า ถ. รังษีเกษมไปประมาณ 350 ม. 

โรงเรียนอยู่ทางขวามือ

  สิ่งน่าสนใจ

  • ชมอาคารเก่าแบบตะวันตก  อาคารเรียนหลังนี้ดัดแปลง 

ก�าแพงเมืองเก่า

หากเดนิจากวดัสวนตาลลงมาทางทศิใต้ตาม ถ. มหาวงศ์ จะพบแนวก�าแพง 

เมืองยาวประมาณ 417 ม. สร้างด้วยอิฐ เป็นแนวก�าแพงเมืองเก่าด้าน 

ทศิเหนอืของเมอืงน่าน ใช้ป้องกนัข้าศกึศตัร ู เดมิเป็นแนวเนนิดนิถมสงู แต่ 

ต่อมาใช้ต้นซุงปักเป็นแนวล้อมเมืองไว้ กระทั่งเกิดน�้าท่วมใหญ่สมัยเจ้า 

สมุนเทวราช จ�าต้องย้ายเมอืงไปทีเ่วยีงเหนอืนาน 36 ปี  เมือ่เจ้าอนนัตวร- 

ฤทธเิดชฯ ย้ายเมอืงกลบัมาตัง้บรเิวณเดมิในปี พ.ศ. 2397 จงึโปรดให้สร้าง 

แนวก�าแพงอิฐแทนก�าแพงเมืองเก่าที่ถูกน�้าพัดพังทลาย

ตัวอย่าง

Page 7: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

94

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

แบบมาจากตึกลินกัล์นอะแคเดมีซึ่งเป็นอาคารเรียนส�าหรับนักเรียน 

ชาย  ลักษณะเป็นรูปตัวยูสองชั้น สร้างด้วยอิฐทั้งหลัง พื้นและเพดาน 

เป็นไม้  รูปแบบบางส่วนของอาคารมีการปรับให้เข้ากับสภาพอากาศ 

ของไทย แต่รูปแบบตะวันตกบางอย่างก็ยังคงไว้ อย่างเช่นช่องระบาย 

อากาศใต้เพดาน ปล่องไฟ บานหน้าต่างมุมโค้ง เป็นต้น

  • ภาพเก่าเล่าอดีตเมืองน่าน  ภายในตึกรังษีเกษมนอกจาก 

จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของกลุ่มมิชชันนารีในยุคนั้น ทั้งโต๊ะท�างาน 

ไม้สักขนาดใหญ่ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องฉายสไลด์ และเครื่องเล่น 

แผ่นเสียงแล้ว ยังเต็มไปด้วยภาพถ่ายการท�างานของคณะมิชชันนารี 

ใน จ. น่าน รวมถงึภาพวถิชีวีติชาวน่านและสถานทีส่�าคญัในจงัหวดั บาง 

ภาพหาชมได้ยากมาก

โฮงเจ้าฟองค�าชมบ้านเก่าคนชั้นสูงน่าน- เปิดวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.

“โฮง” หมายถึงคุ้มหรือที่อยู่ของเจ้านาย โฮงเจ้าฟองค�าก็คือบ้านเก่า 

ของเจ้าฟองค�า ซึ่งสร้างเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว  สถาปัตยกรรมเป็น 

เรือนไม้แบบล้านนา นับเป็นเรือนเก่าของคนชั้นสูงในอดีตที่ยังคงสภาพ 

สมบูรณ์น่าศึกษา

ที่ตั้ง  เลขที่ 8 ซ. 2 บ้านพระเกิด ถ. สุมนเทวราช ต. ในเวียง 

อ. เมือง

รถยนต์ส่วนตัว  จากสี่แยกช้างเผือก ใช้ ถ. เปรมประชาราษฎร์ 

ไปประมาณ 650 ม. พบทางแยกให้เลี้ยวซ้ายเข้า ถ. สุมนเทวราชไป

ประมาณ 170 ม. โฮงเจ้าฟองค�าอยู่ทางซ้ายมือ

ประวตั ิ เดมิเป็นบ้านพกัของเจ้าศรตีมุมา หลานของเจ้ามหาวงศ์ 

เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2384-2400 อยู่ติดกับคุ้มแก้ว 

ที่พ�านักของเจ้านครน่านในเวียงเหนือ  เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ให้ 

ตัวอย่าง

Page 8: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

95

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

ย้ายเมืองกลับลงมาที่เวียงใต้ บริเวณคุ้มแก้วจึงถูกทิ้งร้าง  กระทั่ง 

รัฐบาลไทยต้องการพื้นที่บริเวณคุ้มแก้วเพื่อสร้างค่ายทหาร เจ้าบุญยืน 

ธดิาคนสดุท้องของเจ้าศรตีมุมา จงึย้ายโฮงหลงัเก่ามาสร้างยงัทีปั่จจบุนั 

และตกทอดมายังเจ้าฟองค�าซึ่งเป็นธิดาของเจ้าบุญยืน  เจ้าฟองค�า 

ก�าชับลูกหลานให้เก็บบ้านหลังนี้ไว้ ลูกหลานจึงปรับปรุงตัวโฮงและเปิด 

ให้ผูส้นใจเข้าศกึษา  ปัจจบุนั ภทัราภรณ์ ปราบรปิ ูทายาทของเจ้าฟองค�า 

เป็นผู้ดูแล

  สิ่งน่าสนใจ

  ส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยเป็นเรือนใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยดินขอ 

ตัวเรือนสร้างด้วยไม้สัก เข้าไม้โดยไม่ใช้ตะปู  เมื่อขึ้นมาบนเรือนจะ 

พบกับ “จาน” หรือชานบ้าน  ถัดจากชานเป็นพื้นที่ยกระดับเรียกว่า 

“เติ๋น” ใช้เป็นพื้นที่รับแขกเพราะโปร่งโล่งเย็นสบาย  ในเวลากลางคืน 

เติ๋นจะเป็นที่นอนของลูกชายเพื่อเฝ้ายุ้งข้าว  ส่วนตัวเรือนแบ่งเป็นส่วน 

ต่าง ๆ  ดังนี้

  - เรอืนฝ่ังขวา  เดมิเป็นยุง้ข้าว ปัจจบุนัปรบัปรงุเป็นห้องรบัแขก 

จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ยุคก่อน ที่น่าสนใจคือ “เงินท็อก” หรือเงิน 

ตราเมอืงน่าน มมีลูค่าสงูราว 500 บาท หรอื 1,000 บาทในสมยันัน้ ใช้ 

ส�าหรับการค้าขายช้างซึ่งมีราคาสูง

  - เรือนฝั่งซ้าย  เป็นห้องโถงอยู่ถัดจากเติ๋น เรียกว่า “ในโฮง” 

เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ส�าหรับรับแขกพิเศษหรือใช้ประกอบพิธีกรรม 

ภายในโถงมีหิ้งพระและเครื่องบูชา ทั้งมีรูปบรรพบุรุษประดับอยู่เหนือ 

ประตทูางเข้าด้วย  จากในโฮงเข้าสูต่วัเรอืนจะม ี“ห�ายนต์” ตดิอยู ่เป็น 

แผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักลายและลงคาถาไว้เพื่อป้องกันสิ่ง 

ชั่วร้ายต่าง ๆ  และลดอาคมของคนที่เข้ามา

  - ในตัวเรือน  มีที่ว่างกลางบ้านและห้องนอน  ห้องซ้ายคือ 

ห้องนอนเจ้าบ้านมีม่านกั้นแต่งตัว กระทอใส่เสื้อผ้า และกระเป๋าถือ 

เดินทางของผู ้หญิง  ห้องขวาคือห้องนอนลูกสาวและเด็ก มีเตียง 

นอน จักรเย็บผ้า โทรทัศน์โบราณ  ส่วนพื้นที่ว ่างกลางบ้านเรียก 

ตัวอย่าง

Page 9: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

96

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

“ในเฮือน” ใช้เป็นที่รับประทานอาหารหรือ 

ที่นอนของข้าไพร่หญิง

  - ส่วนครัว  หรือครัวไฟ  เป ็น 

ห้องขนาดเล็กแยกจากตัวบ้านไปทางด้าน 

หลังเพื่อลดอันตรายจากไฟ  ด้านในมี 

เตาถ่านและเครื่องครัว  ก่อนไปถึงส่วน 

ครวัจะม ี“ฮ้านน�า้” หรอืร้านส�าหรบัตัง้หม้อ 

ดินใส่น�า้ดื่ม

  - ใต้ถุนเรือน  เป็นที่ทอผ้าและ 

ท�ากิจกรรมต่าง ๆ   ปัจจุบันเป็นที่สาธิตการทอผ้าและย้อมผ้า นอก 

จากนี้ยังเป็นที่จ�าหน่ายเสื้อยืดและของที่ระลึก  บริเวณสนามหญ้า 

ด้านข้างยังคงมีครกต�าข้าวและบ่อน�้าเช่นในอดีต

พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดชมโบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ ฟังพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยเล่าความหลัง- เปิดเวลา 09.00-16.30 น.

- หากเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า โทร. 08-1024-1939, 08-1882-3188, 

08-9434-4889

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ด�าเนินการโดยชาวบ้าน มีวิทยากรทั้งเยาวชนและ 

ผู้สูงอายุในชุมชนผลัดเปลี่ยนกันมาให้ความรู้  “พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย” หรือ 

กลุ่มผู้สูงอายุ จะเล่าถึงข้าวของเครื่องใช้แต่ละชิ้นที่จัดแสดงได้อย่างมี 

อรรถรส ชวนให้ผู้มาเยือนเพลิดเพลิน

ที่ตั้ง  อยู่ในบริเวณวัดพระเกิด ถ. ราษฎร์อ�านวย ต. ในเวียง 

อ. เมือง

  รถยนต์ส่วนตัว  จากสี่แยกช้างเผือก ใช้ ถ. มหายศไปทาง 

มหาวทิยาลยัเทคโนโลยรีาชมงคล วทิยาเขตน่าน ประมาณ 400 ม. พบ 

ตัวอย่าง

Page 10: นายรอบรู้ : น่าน (PDF) · 2015. 9. 9. · แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำา จิตรกรรมวัดภูมินทร์

97

“ น

า ย

ร อ

บ รู้ ”

น่ า

สี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้า ถ. ราษฎร์อ�านวยไปประมาณ 600 ม. วัด 

พระเกิดอยู่ทางขวามือ

ประวัติ  ครูบาอินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิด ได้ 

สะสมโบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ  ไว้เป็นจ�านวนมาก เป็น 

แรงบันดาลใจให้ชาวบ้านร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้นและน�าข้าวของ 

มาบริจาคเพิ่มเติม ทั้งช่วยกันออกแบบจัดวางและเขียนป้ายค�าอธิบาย 

เองทั้งหมดด้วย  พระครูวิจิตรนันทสาร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้มอบ 

กุฏิครูบาอินผ่องที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ให้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ 

เปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2554

  สิ่งน่าสนใจ

  พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นสามส่วน คือ

  - ส่วนที่ 1  ห้องพระพุทธรูป  อยู่ด้านซ้ายมือของทางเข้า  จัด 

แสดงพระพุทธรูปไม้ เครื่องสูงหรือเครื่องบูชาพระพุทธรูป และแผง 

พระพิมพ์  ที่น่าสนใจคือพระพุทธรูปไม้ประทับยืนทรงเครื่องปางเปิด- 

โลก อายุไม่ต�่ากว่า 150 ปี พุทธลักษณะดูสงบสง่างาม อิทธิพลพุทธ- 

ศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์

  - ส่วนที่ 2  ห้องโถงกลาง  จัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องกับ 

พุทธศาสนา รวมถึงเหรียญเงินและธนบัตรเก่าที่หาชมได้ยาก  ชิ้นที่ 

กลองปู่จา

ทีว่ดัพระเกดิและวดัต่าง ๆ  ในเมอืงน่านมกัมหีอกลอง ซึง่มกีลองสีห้่าใบตัง้ 

ติดกัน โดยกลองแต่ละใบขนาดไม่เท่ากัน ไล่จากใหญ่ไปเล็ก  กลองชุดนี้ 

เรียกว่า “กลองปู่จา” หรือ “กลองบูชา”  ในอดีตยุคที่ยังไม่มีการประกาศ 

เสียงตามสายหรือโทรศัพท์มือถือ จะใช้กลองนี้ตีบอกสัญญาณการนัด 

หมายของชาวบ้าน  การตีจะแตกต่างตามวัตถุประสงค์ เช่น ตีบอกให้รู้ 

ว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันพระ ชาวบ้านจะได้มาท�าบุญตักบาตรที่วัด  ตีกลองปู่จา 

แบบกลองสะบัดชัยในงานเฉลิมฉลอง  ตีกลองปู่จาหน้าเดียวเพื่อบอกเหตุ 

ร้าย เป็นต้น

ตัวอย่าง