คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

28
คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง ศูนย์วิจยทรพยากรทางทะเลและชายฝังอ่าวไทยตอนล่าง

description

คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กันยายน 2554

Transcript of คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

Page 1: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

Page 2: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ที่ปรึกษาวรรณเกียรติ ทับทิมแสงสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์

ผู้เขียนถนอมพงศ์ บัวบรรจง

สุภาพร องสาราโสพิศ แก้วนพรัตน์

ถ่ายภาพถนอมพงศ์ บัวบรรจง

เอื้อเฟื้อภาพLisa-Ann Gershwin

จรัสศรี อ๋างตันญาสุเทพ เจือละออง

สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการแพร่กระจายของแมงกะพรุนพิษเพิ่มเติม

สามารถติดต่อมาได้ที่ กลุ่มพิพิธภัณฑ์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน

โทรศัพท์ 076 391128, 076 391438

http://www.pmbc.go.th

Page 3: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

คำนำ

แมงกะพรุนกล่องสามารถพบได้บริเวณทะเลเขตร้อนในประเทศออสเตรเลีย

อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย แมงกะพรุนกล่องบางชนิดมีพิษที่รุนแรงและเป็นอันตราย

ต่อคนสามารถทำให้เสียชีวิตได้ (Fenner and Lippmann, 2009) โดยทั่วไปสามารถพบ

ได้ตั้งแต่ขณะที่ยังเป็นวัยอ่อน 3-4 ซม.และตัวเต็มวัยขนาดประมาณ 4-5 นิ้ว เนื่องจาก

วงจรชีวิตของแมงกระพรุนกล่องเกี่ยวข้องกับพื้นที่ในเขตน้ำกร่อย และป่าชายเลนที่อยู่

ใกล้บริเวณชายหาด แมงกะพรุนกล่องเป็นสัตว์ทะเลที่มีพิษร้ายแรงมาก โดยพิษจะเข้าสู่

ระบบประสาท หัวใจและเซลล์ผิวหนัง ทำให้หัวใจล้มเหลว และเจ็บปวดจากบาดแผล

อย่างมาก เพราะมีเข็มพิษกว่าล้านเซลล์ตามหนวดที่ยืดออกมาได้ไกล 2-3 เมตร

นอกจากนี้ แมงกะพรุนกล่องยังมีความพิเศษคือมีอวัยวะคล้ายตา ซึ่งสามารถพุ่งตัวเข้า

มายังอาหารที่ต้องการเองได้ ต่างจากแมงกะพรุนชนิดอื่นๆ ซึ่งมักจะลอยไปตามกระแส

น้ำ และด้วยลักษณะลำตัวที่ค่อนข้างใสทำให้มองเห็นได้ยาก จนกว่าจะถูกประชิดตัว

ระยะใกล้

ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่เคยมีการรายงานว่ามีแมงกะพรุนกล่องระบาดมาก่อน แต่

ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เริ่มมีการพบเห็นของแมงกะพรุนกล่องในเขตทะเลอ่าวไทยและ

อันดามันบ้าง รวมถึงมีรายงานการพบผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของชาวต่างชาติที่เดินทาง

มาท่องเที่ยวในประเทศไทย อันมีสาเหตุจากการได้รับพิษของแมงกระพรุนกล่องซึ่งอาจ

ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ในขณะที่การพบ

แมงกระพรุนกล่องในประเทศไทยยังเป็นความรู้ใหม่ในวงการชีววิทยาทางทะเล และยัง

ไม่มีมาตรการในการป้องกันการบาดเจ็บ และเสียชีวิตที่เหมาะสม

1

Page 4: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่องจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็น

สำหรับการสำรวจในแต่ละพื้นที่ การทำความเข้าใจในเบื้องต้นของหลักการจำแนก เพื่อ

นำไปใช้ในการแยกระดับความรุนแรงจากพิษของแมงกระพรุนกล่องในแต่ละสายพันธุ์ที่มี

ระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการหาแนวทางการจัดการ

ป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไข อันตรายหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้

ประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งต่อไป รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความก้าวหน้า

ด้านการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกระพรุนพิษของกรมทรัพยากรทางทะเลและ

ชายฝั่ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง การดูแลรักษา และการวางแนวทางการ

ป้องกันการบาดเจ็บจากการสัมผัสแมงกระพรุนพิษ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความ

ร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเล

ผู้เขียน

กันยายน 2554

2

Page 5: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

แมงกะพรุนกล่อง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวต่อทะเล หรือนักพ่นพิษแห่งท้องทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัม Cnidaria กลุ่ม Cubozoa ซึ่งจัดเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก (พจมาน, 2553) แมงกะพรุนกล่องมีลำตัวคล้ายร่มหรือระฆังคว่ำ มีขนาดแตกต่างกัน โดยที่ขนาดของแต่ละด้านสามารถกว้างได้ถึง 20 เซนติเมตร แต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมจะมีลักษณะคล้ายขายื่นออกมาแล้วแยกเป็นสายหนวดโดยที่แต่ละมุมอาจมีหนวดมากถึง 15 เส้น แต่ละเส้นยาวได้ถึง 3 เมตร หนวดแต่ละเส้นมีเซลล์พิษอยู่ประมาณ 5,000 เซลล์ แมงกะพรุนกล่องมีลักษณะโปร่งใส อาจมีสีฟ้าอ่อน น้ำตาล เหลือง ชมพู หรือไม่มีสี จึงสังเกตเห็นได้ยากแม้แต่ในน้ำทะเลที่ค่อนข้างใส เป็นแมงกะพรุนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองโดยสามารถพุ่งขึ้นสู่ด้านบนได้อย่างรวดเร็ว และว่ายน้ำได้เร็วถึง 5 ฟุตต่อวินาที จึงสามารถจับปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหารได้อย่างง่ายดาย มักอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ตามชายฝั่งของประเทศออสเตรเลีย ตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะฮาวาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าพบในประเทศไทยที่เกาะหมาก จังหวัดตราดและเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แมงกะพรุนกล่องไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ทุกชนิด ซึ่งในบางชนิดอาจจะทำให้มีอาการเจ็บๆ คันๆ เพียงเล็กน้อย แต่บางชนิดอาจมีอันตราย ต่อมนุษย์ถึงชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว (พจมาน, 2553) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณพิษ และภูมิต้านทานของผู้ได้รับพิษด้วย

แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish)

3

Page 6: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

แมงกะพรุนกล่องจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากลักษณะเด่นที่หนวด (tentacle) ได้แก ่

Order Carybdeida Gegenbaur, 1857

(Werner, 1984)

Order Chirodropida Haeckel, 1880

(Werner, 1984)

มีหนวดเส้นเดียวในแต่ละมุม

(Single-tentacle box Jellyfish) มีหนวดหลายเส้นในแต่ละมุม

(Multi-tentacles box Jellyfish)

บางชนิดทำให้เกิดกลุ่มอาการที่

เรียกว่า Irukandji

ไม่ค่อยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต เป็นกลุ่มที่มีพิษร้ายแรง บางชนิด

ทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

(พจมาน, www.thaiseafrog.com เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2554)

กลไกการออกฤทธิ์ และพิษของแมงกะพรุนกล่อง แมงกะพรุนมีหนวด (tentacle) ใช้ในการป้องกันตัว และจับเหยื่อ ภายในกระ

เปาะจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) ขดอยู่ เมื่อหนวดของแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวหนังจะ

กระตุ้นให้กระเปาะปล่อยเข็มพิษออกมา พร้อมกับปล่อยพิษออกมาด้วย พิษของ

แมงกะพรุนเป็นพิษในกลุ่ม proteolytic enzyme ซึ่งมีพิษต่อผิวหนัง ระบบประสาท และ

หัวใจ (เอกสารเผยแพร่ : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก)

4

Page 7: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

(ภาพจาก...www.dnr.sc.gov เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2554)

ลักษณะการออกฤทธิ์ของพิษแมงกะพรุนกล่อง (เอกสารเผยแพร่ : ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก)

1. ผลต่อผิวหนัง ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสตายได้

2. ผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกจากพิษที่ซึมเข้า

สู่กระแสเลือด ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

3. ผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และกดระบบ

ประสาททำให้หยุดหายใจได้

อาการและอาการแสดงจากพิษของแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีหนวดเส้นเดียว (Single-tentacle box Jellyfish)

- ทิ้งช่วงประมาณ 5-40 นาที

- อาการปวดไม่ชัดเจน อาจไม่ปวดเลยหรือปวดแล่นเข้าสู่หัวใจ

- อาจไม่พบลายสายหนวดของแมงกะพรุน

- เหงื่อออกมาก คลื่นไส้/อาเจียน ความดันโลหิตสูงมาก ปวดเกร็งท้อง หายใจ

ลำบาก ซึมเศร้า

- อาจเสียชีวิตจากภาวะเลือดออกในสมอง

5

Page 8: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

อาการและอาการแสดงจากพิษของแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีหนวดหลายเส้น (Multi-tentacles box Jellyfish)

- ปวดอย่างรุนแรง

- หมดสติ หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น ภายในเวลาไม่กี่วินาที

- พบรอยสายหนวดแมงกะพรุนบนผิวหนัง

แนวทางการป้องกันการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่อง (พจมาน, 2553)

ในบริเวณที่มีแมงกะพรุน รวมถึงวิธีปฏิบัติตัวเมื่อโดนพิษจาก

แมงกะพรุน โดยเน้นในฤดูที่พบแมงกะพรุนบ่อย

4. การจัดเตรียมน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการ

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ที่ได้รับพิษจากแมงกะพรุนกล่อง ให้

ราดน้ำส้มสายชูให้ทั่วบริเวณที่สัมผัสหนวดแมงกะพรุนเป็น

เวลาอย่างน้อย 30 วินาที

5. การจัดอบรมผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความ

ปลอดภัยบริเวณชายหาด เจ้าหน้าที่ของโรงแรมชายฝั่งทะเลที่มี

พื้นที่เสี่ยง และประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล เกี่ยวกับ

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. การใช้ตาข่ายกั้น (stinger

net) ในทะเล บริเวณชายหาดที่

พบแมงกะพรุนกล่อง ในฤดูที่พบ

แมงกะพรุนมาก

2. การสวมเสื้อผ้ามิดชิดเมื่อ

ลงเล่นน้ำทะเลเพื่อลดโอกาสสัมผัส

กับแมงกะพรุน

3. ติดป้ายเตือนนักท่องเที่ยว(ภาพจาก : www.health.qld.gov.augoodhealthintnqtopicsjellyfish.asp)

(ภาพจาก : www.honolulu.gov)

6

Page 9: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

ขั้นตอนการปฐมพยาบาลผู้ที่สงสัยว่าสัมผัสแมงกะพรุน

1. ผู้ช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน 2. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ หรือไปยังบริเวณที่ปลอดภัย 3. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของพิษจากแมงกะพรุน 4. ห้ามขัดถูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน 5. เรียกให้คนช่วย หรือเรียกรถพยาบาล

ผู้บาดเจ็บหมดสติ (ไม่หายใจหรือชีพจรไม่เต้น)

ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี (หายใจปกติหรือชีพจรปกติ)

1. ช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น - เปิดทางเดินหายใจโดยการเชยคางขึ้น - ถ้าหยุดหายใจให้ช่วยโดยวิธีเป่าปาก - ถ้าไม่มีการเต้นของชีพจรให้ทำการปั๊มหัวใจ โดยการกดหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย

1. ราดบริ เวณที่สัมผัสแมงกะพรุนด้วยน้ำส้มสายชูอย่างทั่วถึง 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด) 2. นำหนวดแมงกะพรุนที่ติดตามร่างกายออกอย่างรวดเร็ว โดยหลีกเลี่ยงการขัดถูหรือขยี้บริเวณแผล 3. ถ้าปวดมากให้ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน

2. ราดบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนด้วยน้ำส้มสายชูอย่างทั่วถึง 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำจืด) 3. ช่วยฟื้นคืนชีพต่อจนกว่าอาการจะดีขึ้น

รีบนำส่ง โรงพยาบาล

สังเกตอาการอย่างน้อย 45 นาที หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น - ปวดมากบริเวณแผล หลัง ลำตัว หรือศีรษะ - กระสับกระส่ายหรือสับสน - เหงื่อออกมาก ขนลุก คลื่นไส้ อาเจียน - ใจสั่น เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก - หายใจลำบาก หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย - มือสั่น หน้าซีด หรือปลายมือ ปลายเท้าเขียว

(ดัดแปลงจาก: พจมาน, 2553)

7

Page 10: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

ลำดับอนุกรมวิธานแมงกะพรุนกล่อง ของประเทศไทย

Phylum Cnidaria Verrill, 1865 (Hatschek, 1888)

Subphylum Medusozoa Petersen, 1979

Class Cubozoa Werner, 1973

Order Carybdeida Gegenbaur, 1857 (Werner, 1984)

Superfamily Carybdeoidea Gegenbaur, 1857

Family Carybdeidae Gegenbaur, 1857

Genus Carybdea Peron and Lesueur, 1810

Carybdea sivickisi Stiasny, 1926

Family Tripedaliidae Conant, 1897

Genus Tripedalia Conant, 1897

Tripedalia cystophora Conant, 1897

Superfamily Tamoyoidea Haeckel, 1880

Family Tamoyidae Haeckel, 1880

Genus Tamoya F. Muller, 1859

Tamoya haplonema F. Muller, 1859

Genus Morbakka Gershwin, 2008

Morbakka fenneri Gershwin, 2008

8

Page 11: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

Order Chirodropida Haeckel, 1880 (Werner, 1984) Family Chirodropidae Haeckel, 1880 Genus Chironex Southcott, 1956 Chironex fleckeri Southcott, 1956 Family Chiropsalmidae Thiel, 1936 Genus Chiropsalmus L. Agassiz, 1862 Chiropsalmus quadrumanus (Muller, 1859) Genus Chiropsella Gershwin, 2006 Chiropsella spp. Genus Chiropsoides Southcott, 1956

Chiropsoides buitendijki (Horst, 1907)

ลำดับอนุกรมวิธานแมงกะพรุนกล่อง ของประเทศไทย (ต่อ)

9

Page 12: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish) ของประเทศไทย

1a รูปร่างส่วนหัวคล้ายลูกบาศก์, ลำตัวค่อนข้างใส หรือโปร่งแสง, มีหนวด

(Tentacles) หรือกลุ่มหนวดออกมาจากมุม 4 มุม (Box jellyfish,

Class Cubozoa)............................................................................2

10

Page 13: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

1b รูปร่างส่วนหัวค่อนข้างกลม หรือกลม มักมีสีหรือแต้มสี, มีหนวด

(Tentacles) ออกมาจากขอบของส่วนหัว หรือไม่มี........................

........................................................... Jellyfish, Class Scyphozoa

11

Page 14: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

2a มีหนวด (Tentacle) 1 เส้น ออกมาจากฐานหนวด (Pedalia) 1 ฐาน ใน

แต่ละมุม ทั้ง 4 มุม (Single-tentacle)...............................................3

2b มีกลุ่มของหนวด (Tentacles) มากกว่า 1 เส้น ออกมาจากฐานหนวด

(Pedalia) 1 ฐาน ในแต่ละมุมทั้ง 4 มุม (Multi-tentacle).....................6

12

Page 15: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

3a ส่วนหัวมีขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 ซม..................................................4

3b ส่วนหัวมีขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 4-10 ซม. หรือมากกว่า .........5

13

Page 16: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

4a ส่วนหัวกว้างมากกว่าสูงโดยทั่วไปส่วนหัวสูงประมาณ 1 ซม., ใน

แต่ละมุมมีหนวด (Tentacles) 3 เส้นออกมาจากฐานหนวด

(Pedalia) 3 ฐาน ทั้ง 4 มุม รวมมีหนวด (Tentacles) 12 เส้น

..................................................................Tripedalia cystophora

14

Page 17: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

4b มี Gastric cirri, Rhopalia niche ostium เป็นรูปคล้ายรูกุญแจ, หนวด

(Tentacles) มีลักษณะเป็นปล้องสีน้ำตาลและส้มสลับกัน, Pedalia

canal โค้ง และ Gonad มีลักษณะเป็นพูอยู่บริเวณส่วนบนของลำตัว

........................................................................ Carybdea sivickisi

15

Page 18: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

5a ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ผิวด้านนอกของส่วนหัว (Exumbrella) มีกลุ่ม

ของ Nematocyst Warts (Fig.1), หนวด (Tentacles) มีรูปร่างแบน

คล้ายริบบิ้น (Ribbon-shaped; Fig.2), Pedalia canal เป็นแบบยก

แหลม (Upward-pointing thorn; Fig.3), ไม่มี Gastric cirri (Fig.4)

และ Rhopaliar niche ostium มองคล้ายดัมเบล ส่วน Rhopalial

horns เห็นเป็นรูปคล้ายหูกระต่าย (Fig.5 และ Fig.6).......................

.......................................................................... Morbakka fenneri

16

Page 19: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

5b รูปร่างส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ผิวด้านนอกของส่วนหัว (Exumbrella) มีกลุ่ม

ของ Nematocyst warts และมี Gastric cirri..........................................

...........................................................................Tamoya haplonema

17

Page 20: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

6a ผิวด้านนอกของส่วนหัว (Exumbrella) มีกลุ่มของ Nematocyst

warts กระจายอยู่ดูคล้ายเป็นตุ่มหรือกระ……………….........................7

6b ผิวด้านนอกของส่วนหัว (Exumbrella) ไม่มี Nematocyst warts ............8

18

Page 21: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

7a Gastric saccules มีลักษณะกลม ไม่แตกแขนง และฐานหนวด

(Pedalia) แตกแขนงออกสองข้างแบบสลับตำแหน่งกัน (Branching

alternate).......................................... Chiropsalmus quadrumanus

7b Gastric saccules มีลักษณะกลม ไม่แตกแขนง........................

...........................................................................Chiropsalmus sp.

19

Page 22: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

8a Gastric saccules มีลักษณะกลม แข็ง (Sessile, Solid)......................

................................................................................ Chiropsella spp.

20

Page 23: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

8b Gastric saccules แตกแขนงคล้ายหงอนไก่ (Cockscomb-like) หรือ

มีลักษณะเรียวยาวคล้ายนิ้วมือ และ Pedalia canals ยกแหลม

(Upward-pointing thorn ).............................................................9

21

Page 24: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

9a ฐานหนวด (Pedalia) แตกแขนงออกทางเดียว (Unilateral branching)

................................................................... Chiropsoides buitendijki

22

Page 25: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

9b ฐานหนวด (Pedalia) แตกแขนงออกสองข้างแบบตรงกันข้ามกัน

(Branching opposite), มีหนวด (Tentacles) ได้มากถึง 15 เส้นใน 1 มุม,

หนวด (Tentacles) มีลักษณะแบน และส่วนหัวสามารถมีขนาดได้ถึง 38

ซม........................................................................... Chironex fleckeri

23

Page 26: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

รูปภาพประกอบจาก PMBC กลุ่มพิพิธภัณฑ์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน SMCRRC ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง EMCOR ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก

เอกสารอ้างอิง

พจมาน ศิริอารยาภรณ์. 2553. พิษจากแมงกะพรุน การรักษาเบื้องต้นและการป้องกัน.

เอกสารสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เรื่องการเฝ้าระวังและสอบสวน

การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนพิษ. หน้า 21-34. Cornelius, P.F.S. 1995. Workshop on the Classification, Biology and Ecology of Jellfish. In Cooperative Programme of The Institue of Marine Science, Burapha University, Chonburi, Thailand and The Natural History Museum, London, England. Gershwin, L. 2005.Taxonomy and phylogeny of Australian Cubozoa. Ph.D. Thesis. School of Marine Biology and Aquaculture. James Cook University.Townsville, Queensland: 221 pp. Gershwin, L. 2006. Comments on Chiropsalmus (Cnidaria: Cubozoa: Chirodropida): a preliminary revision of the Chiropsalmidae, with descriptions of two new genera and two new species. Zootaxa. 1231: 1-42. Wernner, B. 1984. Klasse Cubozoa. Lehrbuch der Speziellen Zoologie. Stuttgart, Gustav Fischer Verlag. 2: 106-133 [In German].

24

Page 27: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

Page 28: คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง

คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่อง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ออกแ

บบ/จ

ัดพิมพ

์ กรา

ฟิค โก

ล์ด 0

8-97

35-9

564