1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส...

17
1 ผลงานที่เปนผลการดําเนินงานที่ผานมา 1. ชื่อผลงาน การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชน 2. ระยะเวลาดําเนินการ 6 เดือน (1 มีนาคม – 31 สิงหาคม 2547) 3. ความรูทางวิชาการหรือแนวคิดที่ใชในการดําเนินการ 3.1 โรคเบาหวาน 1 คําจํากัดความ :โรคเบาหวาน เปนความผิดปกติทางเมตะบอลิซึม ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญคือ ระดับน้ําตาลกลูโคสสูงในเลือด อันเปนผลจากบกพรองในการหลั่งอินซูลิน หรือออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรือทั้งสองอยางรวมกัน (ชัยชาญ ดีโรจนวงศ และกอบชัย พัววิไล, 2546 : 3) 2 การจําแนกชนิดของโรคเบาหวาน 2.1 โรคเบาหวานชนิดที1 (type 1 diabetes mellitus) หมายถึงโรคเบาหวานชนิดที่เกิด จาก islet-betacell ของตับออนถูกทําลาย จนไมสามารถผลิตอินซูลินไดเพียงพอ ทําใหเกิดภาวะขาด อินซูลินรุนแรงหรือโดยสิ้นเชิง 2.2 โรคเบาหวานชนิดที2 (type 2 diabetes mellitus) มีพยาธิปจจัยที่สําคัญ 2 ประการรวม ดวย คือภาวะดื้อตออินซูลิน และภาวะขาดอินซูลินสัมพันธ 2.3 โรคเบาหวานชนิดที่เกิดจากอื่นๆ (Other Specific Type) ไดแก ความผิดปกติทาง พันธุกรรมของเบตาเซลลของตับออน ความผิดปกติทางพันธุกรรมของการออกฤทธิ์ของอินซูลิน โรคของ ตับออน โรคทางตอมไรทอ ยาหรือสารเคมีบางชนิด มีผลทําใหการหลั่งอินซูลินลดลง โรคติดเชื้อไวรัส และโรคทาง genetic syndrome ที่สัมพันธกับโรคเบาหวาน เชน down syndrome 2.4 โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ หมายถึง ความผิดปกติในการทนตอกลูโคสทุก ระดับ ซึ่งเกิดขึ้นและวินิจฉัยไดเปนครั้งแรกขณะตั้งครรภ 3. เกณฑการวินิจฉัยโรคเบาหวาน (สุทิน ศรีอัษฏาพร,2546 : 23) 3.1 ผูที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน ไดแกปสสาวะบอย การหายน้ํา และน้ําหนักตัวลดลง โดยไมสามารถอธิบายไดจากสาเหตุอื่น รวมกับระดับ CPG 200 mg/dl หรือ FPG 126 mg/dl หรือ 2hPG 200 mg/dl 3.2 สําหรับผูที่ไมมีอาการของโรคเบาหวาน จะตองไดรับการตรวจ CPG, FPG หรือ OGTT อยางใดอยางหนึ่งซ้ําอีกครั้งในตางวันกัน ระดับ FPG < 110 mg/dl ใหการวินิจฉัยวาปกติ ระดับ 2hPG < 140 mg/dl ใหการวินิจฉัยวามีความทนตอกลูโคสปกติ ระดับ 2hPG ระหวาง 140 – 200 mg/dl หรือ FPG 110-126 mg/dl ใหการวินิจฉัยวา IGT ซึ่งเปนภาวะที่อยูระหวางภาวะปกติและโรคเบาหวาน 4. พยาธิกําเนิดของโรคเบาหวาน ไดแก ปจจัยทางพันธุกรรม ปจจัยทางสิ่งแวดลอม อายุ พบวาผูสูงอายุมักมี insulin resistance และ การขาดการออกกําลังกาย

Transcript of 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส...

Page 1: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

1

ผลงานที่เปนผลการดําเนินงานที่ผานมา 1. ชื่อผลงาน การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชน 2. ระยะเวลาดําเนินการ 6 เดือน (1 มีนาคม – 31 สิงหาคม 2547) 3. ความรูทางวิชาการหรือแนวคิดท่ีใชในการดําเนินการ 3.1 โรคเบาหวาน

1 คําจํากัดความ :โรคเบาหวาน เปนความผิดปกตทิางเมตะบอลซึิม ซ่ึงมีลักษณะที่สําคัญคือ ระดับน้ําตาลกลูโคสสูงในเลือด อันเปนผลจากบกพรองในการหลั่งอินซูลิน หรือออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรือทั้งสองอยางรวมกนั (ชัยชาญ ดีโรจนวงศ และกอบชัย พัววิไล, 2546 : 3)

2 การจําแนกชนิดของโรคเบาหวาน 2.1 โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus) หมายถึงโรคเบาหวานชนิดที่เกิดจาก islet-betacell ของตับออนถูกทําลาย จนไมสามารถผลิตอินซูลินไดเพียงพอ ทําใหเกิดภาวะขาดอินซูลินรุนแรงหรือโดยสิ้นเชิง

2.2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) มีพยาธิปจจัยที่สําคัญ 2 ประการรวมดวย คือภาวะดื้อตออินซูลิน และภาวะขาดอินซูลินสัมพันธ

2.3 โรคเบาหวานชนดิที่เกิดจากอื่นๆ (Other Specific Type) ไดแก ความผิดปกติทางพันธุกรรมของเบตาเซลลของตับออน ความผิดปกติทางพันธุกรรมของการออกฤทธิ์ของอินซูลิน โรคของตับออน โรคทางตอมไรทอ ยาหรือสารเคมีบางชนิด มีผลทําใหการหลั่งอินซูลินลดลง โรคติดเชื้อไวรัส และโรคทาง genetic syndrome ที่สัมพันธกับโรคเบาหวาน เชน down syndrome

2.4 โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ หมายถึง ความผิดปกติในการทนตอกลูโคสทุกระดับ ซ่ึงเกิดขึน้และวินิจฉยัไดเปนคร้ังแรกขณะตั้งครรภ

3. เกณฑการวินิจฉยัโรคเบาหวาน (สุทิน ศรีอัษฏาพร,2546 : 23) 3.1 ผูที่มีอาการของโรคเบาหวานชดัเจน ไดแกปสสาวะบอย การหายน้ํา และน้ําหนักตวัลดลง

โดยไมสามารถอธิบายไดจากสาเหตุอ่ืน รวมกับระดับ CPG ≥ 200 mg/dl หรือ FPG ≥ 126 mg/dl หรือ 2hPG ≥ 200 mg/dl

3.2 สําหรับผูทีไ่มมีอาการของโรคเบาหวาน จะตองไดรับการตรวจ CPG, FPG หรือ OGTT อยางใดอยางหนึ่งซํ้าอีกครั้งในตางวันกนั ระดับ FPG < 110 mg/dl ใหการวนิิจฉัยวาปกติ ระดับ 2hPG < 140 mg/dl ใหการวินิจฉยัวามีความทนตอกลูโคสปกติ ระดับ 2hPG ระหวาง 140 – 200 mg/dl หรือ FPG 110-126 mg/dl ใหการวินิจฉัยวา IGT ซ่ึงเปนภาวะที่อยูระหวางภาวะปกติและโรคเบาหวาน

4. พยาธิกําเนดิของโรคเบาหวาน ไดแก ปจจัยทางพันธุกรรม ปจจัยทางสิ่งแวดลอม อายุ พบวาผูสูงอายมุักมี insulin resistance และ การขาดการออกกําลังกาย

Page 2: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

2 5. อาการของโรคเบาหวาน ปสสาวะบอยและมาก หิวบอย คอแหง ตาพรามัว คนัตามผิวหนัง และชาปลายมอืปลายเทา นอกจากนี้ยังพบวามีความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

6. ภาวะแทรกซอน การเกิดภาวะน้ําตาลสงูในเลือดเปนระยะเวลานาน เปนผลใหมีการทําลาย การเสื่อมสมรรถภาพ และการความผิดปกติตอโครงสราง และการทํางานของอวัยวะตางๆ ที่สําคัญ ไดแก ตา ไต เสนประสาท และหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหวัใจ

7. การรักษาโรคเบาหวาน มีเปาหมายเพือ่ควบคุมระดบัน้ําตาลในเลอืดหลังงดอาหาร 8 ช่ัวโมง ตองมีคาระหวาง 80-120 mg/dl เพื่อปองกันโรคแทรกซอนที่อันตรายในระยะยาว แพทยจะเปนผูวินิจฉยัวาเมื่อใดผูปวยจึงจะเริ่มใชยาลดระดับน้ําตาลในเลือด ผูปวยจงึควรพบแพทยตามนัดอยางสม่ําเสมอ ยาลดระดับน้ําตาลในเลือดที่ใชอยูปจจุบนั มี 2 ประเภท คือ (เทพ หิมะทองคํา,2548 : 39,43)

7.1 ยารับประทานใชรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 7.2 ยาฉีดอินซูลินชนิดตางๆ ใชรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซ่ึงรางกายไมสามารถสราง

อินซูลินได และใชกับผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 ซ่ึงไมสามารถควบคุมระดับน้ําตาลไดดวยการคุมอาหาร การออกกําลังกายและการรบัประทานยา

8. การวินิจฉยัทางการพยาบาลในผูปวยโรคเบาหวาน ไดแก มภีาวะน้าํตาลในเลือดสูง จากการที่รางกายสรางอินซูลินไมเพียงพอ หรือใชอินซูลินไมได หรือไมมีการสรางอินซูลิน เสี่ยงตอภาวะขาดโซเดียมเนื่องจากการถายปสสาวะบอย น้าํตาลในเลือดต่ําจากการรักษาดวยยาลดน้าํตาล แผลหายชาจากหลอดเลือด มีแนวโนมจะเกิดความดันโลหิตสูง/ กลามเนื้อตีบแข็งหัวใจขาดเลือด/ไตวายจากหลอดเลือดตีบแข็ง มีความวิตกกังวลทอแท และซึมเศราจากภาวะความเจ็บปวย ที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงบางสวนของรางกาย และการดําเนนิชีวิต

9. การวางแผนปฏิบัติการพยาบาล โรคเบาหวานเปนโรคเรื้อรังที่ตองดูแลรักษาตลอดชีวิต ซ่ึงคุกคามความมัน่คง และจติใจของผูปวยอยางมาก ส่ิงที่พยาบาลสามารถชวยเหลือและดูแลได คือการวางแผนการพยาบาลเพื่อดูแลใหผูปวย มีชีวิตอยูอยางมีความสุขปรับตัวเขากับสังคมได มีการกําเริบของโรคนอยที่สุดและมีภาวะแทรกซอน ความเสื่อมของอวัยวะในรางกายชาทีสุ่ดเทาที่จะทําได โดย 9.1 ดูแลอาหารบําบัดใหไดตรงกับทีไ่ดคํานวณและกําหนดไว

9.2 เฝาระวังการติดเชื้อ 9.3 ดูแลกิจวัตรประจําวัน ไดแก อาบน้ํา แปรงฟน การขับถายอุจจาระและปสสาวะ

9.4 การดูแลดานจิตใจ โรคเบาหวานเปนกันได ทกุเพศ ทุกวัย ทีสํ่าคัญเปนโรคเรื้อรังรบกวนการดําเนินชวีิตตามปกติของบุคคล ทําใหเกิดปญหาทางดานจิตใจมาก พยาบาลตองเขาใจยอมรับพฤติกรรมและคอยปลอบใจ ใหการสนบัสนุนและใหกําลังใจ สนบัสนุนใหเรียนรูในการดูแลตนเองที่จําเปน เชน การฉีดอินซูลินดวยตนเอง การปฏิบัติกิจวัตรประจําวนั เปนตน

3.2 ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม แนวคดิในการดูแลตนเองของโอเร็ม คือ การรักษาไวซ่ึงชีวิตและสุขภาพนัน้ บุคคลตอง

กระทําการดแูลตนเอง แตเมื่อบุคคลไมสามารถดูแลตนเองได ยอมตองการความชวยเหลือจากบคุคลอื่น

Page 3: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

3 โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว และเมื่อสมาชิกในครอบครัวไมสามารถชวยเหลือได พยาบาลสามารถใหความชวยเหลือที่เหมาะสมไดดวยการกระทําแทนหรือทาํใหกับผูปวย การสอน การชี้แนะ การสนับสนุนใหกําลังใจและการปรับสิ่งแวดลอม ซ่ึงการกระทําของพยาบาล จะกระทํารวมกบัผูปวยและครอบครัว เพื่อมุงชวยเหลือใหการดแูลที่จําเปนในการตอบสนองความตองการ และการรักษาไวซ่ึงสุขภาพหรือใหสุขภาพกลับดขีึ้นและ อยูไดอยางปกติสุข (สมจิต หนุเจริญกุล, 2544:121) 3.3 พฤติกรรมการสงเสริมสุขภาพของเพน็เดอร พฤติกรรมการสงเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร มีจุดมุงหมายเพื่อเพิ่มระดบัของความเปนอยูที่ดี และส่ิงที่สมบูรณที่สุดในชวีติ ของบุคคล ครอบครัวและชุมชน การสงเสริมสุขภาพมีจุดเนนที่การทําใหบุคคล มีภาวะสุขภาพในทางบวก (วนดิา ดุรงคฤทธิชัย,2551 : 22-26) มีมโนทัศนหลัก 3 มโนทัศน 3.3.1 ประสบการณและลักษณะเฉพาะบคุคล 3.3.2 พฤติกรรมที่เฉพาะกับการรูคิดและอารมณความรูสึก 3.3.3 ผลที่เกิดจากพฤติกรรม 3.4 บทบาทของพยาบาลสาธารณสุขดานสงเสริมสุขภาพ บทบาทของพยาบาลสาธารณสุขดานสงเสริมสุขภาพ มุงเนนใหประชาชนมีสุขภาพด ี เปนการปองกันและเฝาระวังภาวะพรองทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซ่ึงบทบาทดานการสงเสริมสุขภาพของพยาบาลสามารถแยกได 4 ประการ ดังนี้ (ฟาริดา อิบราฮิม,2527: 184 - 186) 3.4.1 บทบาทในการปองกัน พยาบาลตองตระหนกัถึงความสําคัญของตนเอง ในฐานะผูใหความปองกันความเจ็บปวย ปองกันการคุกคามของโรค มี่กอใหเกดิความรุนแรงและความพกิาร ทั้งนี้ขึ้นอยูกับภาวะสุขภาพอนามัยและความรนุแรงของความเจ็บปวยของบุคคลผูรับบริการ 3.4.2 บทบาทในการคัดกรองผูปวย เปนการประเมนิภาวะสุขภาพ เพื่อแยกระดับของความตองการความชวยเหลือ หรือเพื่อวินจิฉัยเบื้องตน ซ่ึงตองอาศัยทักษะในการซักถาม บันทึกประวตั การตรวจรางกาย พยาบาลตองมีความรูเร่ืองกระบวนการการเกิดโรค ปจจัยทางสภาพแวดลอมที่เกีย่วกับการเจ็บปวย ซ่ึงจะทําใหเขาใจสภาพรางกาย จิตใจ รวมทั้งแบบแผนพฤติกรรมที่ชวยใหเขาใจ ถึงความ สามารถเผชิญปญหา แก ปญหา และการดํารงชีวิตใหเกิดความพอดี 3.4.3 การคัดกรองความเสี่ยง หมายถึงการตรวจสุขภาพเบื้องตน เชน การชั่งน้ําหนัก วัดสวน สูง ตรวจปสสาวะ ตรวจวดัความดนัโลหิต ตรวจเลือดเพื่อหาน้ําตาลในเลือด รวมถึงคนหาประวัติครอบครัวเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และโรคทางพันธุกรรม เพื่อประเมินความเสี่ยงตอการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคไมติดตอซ่ึงเปนเรื้อรังตางๆ เชน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหติสูง โรคหลอดเลือดสมอง 3.4.4 บทบาทในการสอนเพื่อการดูแลตนเอง ซ่ึงการดูแลตนเองเปนกิจกรรมที่บุคคลสามารถริเร่ิม พัฒนาไดและปฏิบัติไดดวยตนเองใหดํารงไว สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชวีิตประจําวนัไดสําเร็จ ลดความคุกคามตอสภาวะสุขภาพ ปรับปรุงตนเองและมกีารพัฒนาในสวนบุคคล พยาบาลมีบทบาทในการใหความชวยเหลือใหบุคคลดูแลตนเองได ตามความสามารถของบุคคลและสิ่งแวดลอม

Page 4: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

4

3.5 ทฤษฎีการมีสวนรวมของประชาชน (People Participation) แนวคิดในการพัฒนาแบบมสีวนรวม หมายถึง กระบวนการใหประชาชนเขามามีสวนเกี่ยวของในการดําเนินงานพฒันา รวมคดิ รวมตัดสินใจ แกปญหาของตนเอง ใชความคิดสรางสรรคและความชํานาญของประชาชน รวมกับการใชวิทยาการที่เหมาะสม โดยการมีสวนรวมของประชาชนตองมีประเด็นในเรื่องตอไปนี้ (เอกรัฐ แกวสงา, 2544 : 15)

1.ประชาชน คอื ผูตัดสินใจหรือเปนผูกําหนดการพัฒนาอยางเปนตวัของตัวเอง 2.การพัฒนา มุงเนนในการพฒันาขีดความสามารถของประชาชน เพื่อการพึ่งตนเองและการ

พัฒนาตนเอง 3. กระบวนการพัฒนา เปนการพัฒนาที่เร่ิมจากประชาชน โดยรัฐจะตองกระจายอํานาจใหแก

ชุมชน รูปแบบของการมีสวนรวม ตองประกอบดวยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การ

ดําเนินกิจกรรม การใชประโยชน และการไดรับประโยชน

4. สรุปสาระสําคัญของเรื่องและขั้นตอนการดําเนินการ การดําเนินโครงการการคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชน ไดดําเนินการใหแกประชาชนในชุมชนในความรับผิดชอบของศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก ที่มีอายุ 40 ปขึ้นไป หรือต่ํากวา 40 ปแตเปนผูที่มีคนในครอบครัวปวยดวยโรคเบาหวาน โดยมีขั้นตอนการดําเนินการ ดงันี้

ขั้นเตรียมการ 1.วิเคราะหปญหาชุมชน จากการเยีย่มสํารวจ (Survey) สภาวะสุขภาพของประชาชน ในเขต

พื้นที่รับผิดชอบ 16 ชุมชน จาํนวน 24,968 คน พบวาเปนผูปวยที่เปนโรคทั่วไป 1,108 ราย ในจํานวนนี้ปวยดวยโรคเบาหวาน 383 รายคิดเปนรอยละ 34.56 ของผูปวยทั้งหมด จึงมีแนวความคิดในการคนหาผูปวยโรคเบาหวานอยางแทจริง โดยการคดักรองโรคเบาหวานในชุมชน ดําเนนิการตัง้แตวนัที่ 1 มีนาคม - 31 สิงหาคม2547

2. จัดทําและขออนุมัติโครงการการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในชมุชน เสนอตอผูอํานวยการศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก

3. ประชุมช้ีแจงวัตถุประสงคโครงการ แกบคุลากรศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิกวางแผนการจดัอบรมใหความรูเร่ืองโรคเบาหวาน เพื่อใหเจาหนาที่ทุกคนมีความรูเร่ืองโรคเบาหวาน

4. มอบหมายหนาที่พยาบาลวิชาชีพ 2 คนรวมดําเนนิงาน และรวมกนัวางแผนเพื่อกําหนดรายละเอียด รูปแบบและเนือ้หาแบบบันทกึขอมูลประวตัิผูรวมโครงการ ซักซอมความ เขาใจถึงขัน้ตอนการดําเนนิการ กําหนดกลุมเปาหมาย จํานวนผูรวมโครงการ วัน-เวลา สถานที่ ในการดําเนินโครงการ

5. เบิกและเตรียมเวชภัณฑ เครื่องมือและอุปกรณที่ใชในการดําเนนิการ 6. ประชุมช้ีแจงโครงการ แกคณะกรรมการชุมชนในการประชุมประจาํเดือนของเขตบางนา

และอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการประชุมประจําเดือนของศูนยฯ รวมทั้งขอความรวมมือในการประชาสัมพันธโครงการผานเสียงตามสายของชุมชน และจากเครื่องขยายเสยีงรถยนตของศูนยฯ ใหเขาใจ

Page 5: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

5 และเหน็ความสําคัญในการคัดกรองโรคเบาหวาน คณุสมบัติกลุมเปาหมาย พรอมทั้งแนะนําการเตรียมรางกาย โดยใหงดอาหารและน้ําอยางนอย 6-8 ช่ัวโมงกอนการเจาะเลือด

7. กําหนดและนัดหมายการดําเนินโครงการ แกกลุมเปาหมายในชุมชนตางๆ เดือนละ 2-3 ชุมชน ในระยะเวลา 6 เดือน

อันดับ ช่ือชุมชน วันที่ดําเนินการ อันดับ ช่ือชุมชน วันที่ดําเนินการ 1 ชุมชนกลางนา 12 มี.ค.2547 2 ชุมชนกุศลศิลป 26 มี.ค.2547 3 ชุมชนวัดบางนาใน 2 เม.ย. 2547 4 ชุมชนวัดบางนานอก 9 เม.ย. 2547 5 ชุมชนรวมใจประเสริฐ 7 พ.ค.2547 6 ชุมชนรมประดู 13 พ.ค.2547 7 ชุมชนหลังบานมุฑิตา 21 พ.ค.2547 8 ชุมชนโปษยานนท 4 มิ.ย.2547 9 ชุมชนเจริญรุงเรือง 18 มิ.ย.2547 10 ชุมชนแบตเตอรี่ 25 มิ.ย.2547 11 ชุมชนไมอัดไทย 9 ก.ค.2547 12 ชุมชนรวมพัฒนา 23 ก.ค.2547 13 ชุมชนรุงสวาง 30 ก.ค.2547 14 ชุมชนหมูบานรุงเรือง 6 ส.ค. 2547 15 ชุมชนพูลสวัสดิ์ 19 ส.ค. 2547 16 ชุมชนพูนสิน 27 ส.ค. 2547

ขั้นดําเนนิการ 1. ลงทะเบียนประวัติ บันทกึรายละเอียดของผูเขารวมโครงการตามแบบบันทึกสุขภาพที่จัดทํา

ขึ้นเอง และบนัทึกรายละเอียดผลการคัดกรองใหครบถวนโดยเฉพาะบานเลขที่ หมายเลขโทรศัพท เพื่อประโยชนในการติดตามเยี่ยมบานเมื่อมีภาวะเสีย่ง 2. ตอบแบบสอบถามกอนใหความรูเร่ืองโรคเบาหวาน เพื่อทดสอบพื้นความรูหรือการเขาใจเร่ืองโรคเบาหวานของผูรวมโครงการ

3. ใหความรูเรื่องโรคเบาหวานแกผูเขารวมโครงการ ถึงอันตราย สาเหตุ อาการและการแสดง ขอบงชี้ ปจจัยเส่ียง การปองกันและการปฏิบตัิตนโดยมพีฤติกรรมสุขภาพที่ถูกตอง เพือ่หลีกเลี่ยงจากโรค เบาหวาน และเปดโอกาสใหผูรวมโครงการไดซักถามขอของใจ

4. ดําเนินกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน 4.1 ช่ังน้ําหนัก วดัสวนสูง และประเมนิคาดัชนีมวลกาย เพื่อประเมินภาวะอวน ซ่ึงเปนปจจยัเสี่ยงของโรคเบาหวาน โดยการชั่งน้ําหนกัเปนกิโลกรัม และวดัสวนสงูเปนเมตร และนํามาคํานวณหาคาดัชนีมวลกาย ซ่ึงคาดัชนีมวลกายปกติมีคา 18.5 – 24.9 (ทั้งเพศชายและเพศหญิง) 4.2 วัดความดันโลหิต 4.3 เจาะเลอืดปลายนิ้ว หยดเลือดลงบนแถบตรวจหาน้ําตาลในเลือด และนํามาเทยีบคากับ เครื่องวัด ซ่ึงจะอานคาอัตโนมัติ และบอกผลเปนคาระดับน้ําตาลในเลือด คาปกติไมเกิน 110 mg/dl 5. ตอบแบบสอบถามหลังใหความรูเร่ืองโรคเบาหวาน เพื่อประเมินความรูเร่ืองโรคเบาหวานที่ผูรวมโครงการไดรับ

Page 6: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

6 6. แจงผลการตรวจคัดกรองแกผูรับบริการ ไดแก คาดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิตและระดับน้ําตาลในเลือด พรอมทั้งใหความรูในการปฏิบัติตน โดยแยกกลุมดังนี ้ 6.1 กลุมที่มีผลการตรวจรางกายปกติ คือ ไมมีภาวะความดันโลหิตสูง และระดับน้ําตาลในเลือดไมเกินเกณฑมาตรฐาน แนะนําการมพีฤติกรรมสุขภาพที่ถูกตอง เชน อาหาร การออกกําลังกาย การดูแลสุขภาพและการตรวจรางกายประจําป เปนตน 6.2 กลุมที่มีผลการตรวจรางกายแตมภีาวะเสี่ยงอ่ืนๆ เชน มีพอ แม พี่นองเปนโรคเบาหวาน จะตองดแูลและสนใจสุขภาพตนเอง ทั้งการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกตอง การสังเกตความผิดปกตขิองรางกาย หรือมีประวัตกิารมีคาระดับไขมนัในเลือดสูง มีคาดัชนีมวลกายเกินเกณฑมาตรฐาน ตองดูแลสุขภาพตนเองโดยมีพฤติกรรมสุขภาพอยางถูกตองเชนเดยีวกัน 6.3 กลุมที่มีภาวะเสี่ยง คือมีภาวะความดนัโลหิตสูง มีระดบัน้ําตาลในเลอืดสูงเกินเกณฑมาตรฐาน ซ่ึงมีปจจัยบงชีว้ามีโอกาสเปนโรคเบาหวาน ดังนั้นตองพบแพทยเพื่อรับการวินจิฉัยอยางถูกตอง และควรปฏิบัติตนโดยการดแูลสุขภาพอยางเครงครัด เพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิต และระดับน้ําตาลในเลือดอยูในเกณฑปกติ รวมทั้งใหความรูเพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซอนจากโรคเบาหวาน เชน โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะการติดเชื้อ ภาวะทางตา เปนตน

ขั้นประเมินผล เก็บรวบรวมและวิเคราะหขอมูลจาก 3.1 ขอมูลทั่วไปไดแก เพศ อายุ ประเมินผลคิดเปนรอยละ 3.2 ผลการคัดกรองตามแบบฟอรม เพื่อประเมินความเสี่ยงตอโรคเบาหวานจาก 5 ตัวช้ีวัด และประเมินผลคิดเปนรอยละ ไดแก 3.2.1 คาระดับน้ําตาลในเลือดเกิน 110 mg /dl 3.2.2 คาความดันโลหติเกิน 140/ 90 mmHg 3.2.3 ประวัตกิารมีระดบัไขมันในเลือดสูง 3.2.4 ประวัติมีบคุคลในครอบครัวเปนโรคเบาหวาน เชน พอ แม พี่นอง 3.2.5 ผูมีคาดัชนีมวลกายมากกวาเกณฑมาตรฐาน (ปกติ 18.5 – 24.9) 3 วัดความรูและการปฏิบัติตนตอโรคเบาหวาน จากแบบประเมินเรื่องโรคเบาหวาน เปนดานความรู 10 ขอ ดานการปฏิบัติตน 10 ขอ ตอบถูกได 1 คะแนนตอบผิดได 0 คะแนน และคิดคะแนนเปนความถี่และรอยละ และเปรียบเทียบ ผลตางของคะแนนเฉลี่ย กอน – หลังใหความรู

5. ผูรวมดําเนนิการ 1. นางพันธิพา ล่ิวชิรากรณ พยาบาลวิชาชีพ สัดสวนผลงาน รอยละ 20 2. นางนวลจนัทร พูลสวัสดิ์ เจาหนาที่พยาบาล สัดสวนผลงาน รอยละ 10

6. สวนของงานที่ผูแสนอเปนผูปฏิบตัิ 1. นางวราภรณ จงประเสริฐ พยาบาลวิชาชพี สัดสวนผลงาน รอยละ 70

Page 7: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

7

ดําเนินการจัดทําโครงการการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชน ไดศกึษาปญหาของชุมชน จัดทําโครงการแกไขปญหาชุมชน ใหความรูแกเจาหนาที่ศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก ผูรวมโครงการ และอาสาสมัครสาธารณสุข ดําเนินกิจกรรม การประเมนิผลการดําเนนิงาน

7. ผลสําเร็จของงาน กลุมเปาหมายคือประชาชนใน 16 ชุมชนทีอ่ยูในความรับผิดชอบของศูนยบริการสาธารณสุข 32

มาริษ ตินตมุสิก ที่มีอายุ >40 ป หรือ< 40 ป แตมีคนในครอบครัวปวยดวยโรคเบาหวาน 600 คน แตสมัคร ใจเขารวมโครงการจํานวน 541 คน และไดรับการคัดกรองตามขั้นตอนที่กําหนดครบทุกคน ซ่ึงไดรวบ รวมขอมูลวิเคราะห จากแบบสอบถามความรูและการปฏิบัติตน และแบบบันทึกการคัดกรอง พบวา

1.ขอมูลทั่วไปผูรวมโครงการ แยกตามเพศและชวงอายุ ดังนี ้ 1.1 เพศชาย 113 คน คดิเปนรอยละ 20.89 อายุนอยกวา 40 ป 19 คน คิดเปนรอยละ 3.51 อายุ 40 ปขึน้ไป 94 คน คิดเปนรอยละ 17.38 1.2 เพศหญิง 428 คน คิดเปนรอยละ 79.11 อายุนอยกวา 40 ป 57 คน คิดเปนรอยละ 10.54 อายุ 60 ปขึ้นไป 371 คน คิดเปนรอยละ 68.57 2. ผลการดําเนนิการพบวา ผูรวมโครงการมีผลการคัดกรอง แยกตามอายุ ตาม 5 ตัวช้ีวดั ดังนี้

จํานวน (รอยละ) อายุต่ํากวา 40 ป อายุ 40 ปขึ้นไป

ลําดับ ผลการคัดกรองจากตัวช้ีวัด

ปกต ิ เสี่ยง ปกต ิ เสี่ยง 1 ระดับน้ําตาลในเลือด >110 mg /dl 65 ( 12.01) 11 (2.03) 397 (73.38) 68 (12.57) 2 คาความดันโลหิต >140/90 mmHg 58 (10.72) 18 (3.33) 382 ( 70.61) 83 ( 15.34) 3 ดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน 43 (7.95) 33 (6.10) 348 (64.32) 117 (21.63) 4 มีประวัติไขมนัในเลือดสูง 64 (11.83) 12 (2.22) 403 (74.49) 62 (11.46)

5 มีประวัติคนในครอบครัวเปนโรคเบาหวาน

50 (9.24) 26 (4.81) 344 (63.58) 121 (22.36)

หมายเหตุ : ( ) = รอยละ

2.1 อายุต่ํากวา 40 ป 2.1.1 ระดบันําตาลในเลอืด > 110 mg /dl 11 คน คิดเปนรอยละ 2.03 2.1.2 คาความดันโลหิต > 140/90 mmHg 18 คน คิดเปนรอยละ 3.33 2.1.3 ดัชนมีวลกายเกินมาตรฐาน 33 คน คดิเปนรอยละ 6.10 2.1.4 มปีระวัตไิขมันในเลือดสูง 12 คน คิดเปนรอยละ 2.22

Page 8: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

8 2.1.5 มีประวัติคนในครอบครัวปวยเปนโรคเบาหวาน 26 คน คิดเปนรอยละ 4.81 2.2 อายุ 40 ปขึน้ไป 2.2.1 ระดบันําตาลในเลอืด > 110 mg /dl 68 คน คิดเปนรอยละ12.57 2.2.2 คาความดันโลหิต > 140/90 mmHg 83 คน คิดเปนรอยละ 15.34 2.2.3 ดัชนมีวลกายเกินมาตรฐาน 117คน คิดเปนรอยละ 21.63 2.2.4 มีประวัติไขมนัในเลือดสูง 62 คน คิดเปนรอยละ 11.46 2.2.5 มีประวัติคนในครอบครัวปวยเปนโรคเบาหวาน 121 คน คิดเปนรอยละ 22.36 3. ผลของคาเฉล่ียความรูและการปฏิบัติตนของผูรวมโครงการ ประเมินจากผลตางระหวาง กอน – หลังให ความรูดังนี ้

คะแนนเฉลี่ย กิจกรรมใหความรู กอนใหความรู หลังใหความรู ผลตางของคาเฉลี่ย

ดานความรู 77.86 94.12 16.26*

ดานการปฏิบตัิตน 68.84 87.54 18.70*

* แสดงการมคีวามรูเพิ่มขึ้น

แผนการดาํเนนิการตอเนื่อง 1.การเยี่ยมบานโดยมอบหมายใหพยาบาลครอบครัวที่รับผิดชอบ ติดตามเยี่ยมผูมภีาวะเสีย่ง

เพื่อใหคําแนะนําในการดูแลตนเอง ใหความรูถึงอันตรายและโรคแทรกซอน เชน โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ โรคแทรกซอนทางตา เปนตน นอกจากนี้พยาบาลครอบครัวประเมินสุขภาพ ในรายที่มีปจจยัเสี่ยงสูง เชน มรีะน้ําตาลในเลือดเกิน 200 mg / dl หรือคาความดันโลหติเกิน 180/100 mmHg เพื่อติดตามเยี่ยมตอเนือ่งที่บาน (Home Health Care) ตามมาตรฐานการดแูลตอเนื่องที่บาน

2.พบแพทยเพื่อรับการวินิจฉยัในสถานพยาบาลโดยแพทย พบวา 2.1 ผูมีระดับน้ําตาลในเลือดสูงเกนิเกณฑมาตรฐาน จํานวน 79 ราย ตองเขาระบบการ

รักษา 31 ราย สวนอีก 48 ราย ยังไมตองเขาระบบการรักษา แตใหคําแนะนําในการปฏิบัตตินอยางเครงครัด และเจาะเลือดซ้ําทกุ 6 เดือน – 1 ป หรือตามคําแนะนําของแพทย และพบแพทยเมื่อมีอาการผิดปกติ เชน มอีาการออนเพลีย น้ําหนกัลด ปสสาวะบอย เปนตน

2.2 ผูที่มีคาความดันโลหิตเกินเกณฑมาตรฐาน 101 ราย ตองเขาระบบการรักษา 29 ราย สวนอีก 72 ราย ไมตองเขาระบบการรักษา แตใหคําแนะนําในการปฏบิัติตนอยางเครงครัด และตรวจวดัความดันโลหติที่ศูนยบริการสาธารณสุข หรือศูนยสุขภาพประจําชมุชนเดือนละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เชน ปวดศีรษะมาก ตาพรามัว มึนงง

3. จัดตั้งชมรมออกกําลังกายประจําชุมชน หลังการดําเนนิโครงการ ผูรับผิดชอบและผูรวมโครง การไดพิจารณาแลวเห็นวา การออกกําลังกายเปนมาตรการในการสรางเสริมสุขภาพที่ดี และไม

Page 9: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

9 ส้ินเปลืองคาใชจาย และเปนการสนับสนุนใหมีกจิกรรมรวมกันในครอบครัว การรวมกลุมของชุมชน เปนการเสริมความเข็มแข็งของชุมชน จึงไดสนับสนุนการรวมกลุม ใหมีการจดัตั้งชมรมออกกําลังกายในชุมชนเพื่ออํานวยความสะดวกแกชุมชนทีม่ารวมกิจกรรม และสามารถจัดตั้งชมรมออกกําลังกายได 3 ชมรม ดังนี้ 1. ชมรมออกกําลังกายชมุชนกลางนา 2. ชมรมออกกําลังกายชมุชนกุศลศิลป 3. ชมรมออกกําลังกายโซนเพี้ยนพิณ ตั้งอยูในบริเวณโรงเรียนเพี้ยนพิณอนุสรณ เนื่องจากบางชุมชน เชน ชุมชนโปษยานนท พูลสวัสดิ์ รวมพัฒนา รวมใจประเสริฐและชุมชนรุงสวาง ที่ตั้งอยูรอบๆ โรงเรียนไมมีสถานที่ตั้งกลุมออกกําลังกาย ดังนัน้ศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมสิุก ไดประสานขอใชสถานที่ของโรงเรียนเพีย้นพณิอนุสรณ ซ่ึงเปนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในการจัดตั้งชมรมออกกําลังกาย เพื่อใหชุมชนรอบ ๆโรงเรียน ไดมีสถานที่ออกกําลังกาย เปนการสรางเสริมสุขภาพแกชุมชน โดยมีชุมชนเปนแกนนําในการดําเนินการ

8. การนําไปใชประโยชน 1.ใชเปนแนวทางในการบรหิารงานของศนูยบริการสาธารณสุข ในการคาดคะเนอบุัติการณและ

วางแผนการดาํเนินการปองกันการเกิดโรคได 2. ใหประชาชนกลุมเสี่ยง สามารถทราบถึงอันตรายของโรค และมีความรูความเขาใจ ในการ

ปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงปจจยัเส่ียงอันจะทาํใหเกิดโรค 3. ลดอุบัติการณของโรคเบาหวาน เพื่อชวยลดการเสยีชีวิตและความพิการ ซ่ึงเปนปญหาดานรางกาย จิตใจ สังคมเศรษฐกจิ ของผูปวยและครอบครัว และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาต ิ

9. ความยุงยาก ปญหาอุปสรรคในการดําเนินการ 1.การคัดกรองกลุมเปาหมาย 1.1 กลุมที่มโีอกาสเสี่ยงมาก คือกลุมเพศชายทีม่ีอายุ 40 – 60 ป ซ่ึงจะมีปจจยัเส่ียงมากกวากลุมอ่ืน พบวามกัมพีฤติกรรม คานิยมในการปฏิบัติตัวที่ไมถูกตอง เชน ดื่มสุรา สูบบุหร่ี พฤติกรรมการบริโภคอาหารไมถูกตอง ขาดการออกกําลังกาย ไมสนใจในการดแูลสุขภาพตนเอง เนื่องจากสวนใหญประกอบอาชีพนอกบาน บางคนไมสนใจ จึงไมไดรวมโครงการ ทําใหเสียโอกาสในบริการดังกลาว ทั้งๆที่บุคคลกลุมนี้เปนหวัหนาครอบครัว เมื่อปวยแลวจะมีผลกระทบกับครอบครัวเปนอยางมาก

1.2 กลุมที่มีประวัติครอบครัวเปนเบาหวานบางรายจะไมเห็นความสาํคัญ เนื่องจากยังไมเห็นการดําเนนิของโรคที่ชัดเจน เชน ผูปวยเบาหวานในชุมชนบางรายไมมปีระวัติทางกรรมพันธุ หรือผูปวยเบาหวานบางรายชอบรับประทานหวาน ทําใหบุคคลอื่นเชื่อวา ถาไมรับประทานอาหารหรือขนมหวาน จะไมเปนโรคเบาหวาน จึงไมเห็นความสําคัญของการคัดกรองโรคเบาหวาน ทั้งๆที่มคีวามเสี่ยงตอโรค

2. การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาน้ําตาลในเลือด ตองงดอาหารกอนเจาะเลือดอยางนอย 6-8 ช่ัวโมง แตเนื่องจากบางคนไมสามารถงดอาหารได หรือลืมการนัดหมายและรับประทานอาหารมาแลว ทัง้ๆที่ตั้งใจเขารวมโครงการ ทําใหเสียโอกาส

Page 10: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

10 3.ระยะเวลาในการทํากิจกรรมคอนขางมาก มีหลายขั้นตอน เชน การบันทึกประวัติ ใหความรูเร่ืองโรค ช่ังน้ําหนักวัดสวนสูง การวัดความดันโลหิต และการเจาะเลือดเพื่อหาน้ําตาลในเลือด ซ่ึงกลุมเปาหมายบางคนมีภาระหนาที่ไมสามารถอยูรอรับบริการได ทําใหเสียโอกาสในการเขารวมโครงการ 4. การใหบริการลักษณะการสงเสริมสุขภาพ ในบุคคลที่ไมมีอาการปวย มกัไมไดรับความสนใจ เนื่องจากไมเหน็ความสําคัญในการดแูลสุขภาพ ซ่ึงบุคคลเหลานี้สวนใหญ มักเปนกลุมที่มีความเสี่ยง เชนขาดการออกกําลังกาย ดืม่สุรา สูบบุหร่ี เปนผูที่สมควรไดรับบริการเปนอยางยิ่ง

5. ผูรับบริการบางคนใหทีอ่ยูหรือหมายเลขโทรศัพทไมถูกตอง ทําใหเปนอุปสรรคและเสียเวลามากในการติดตามเยี่ยมของพยาบาลครอบครัว เพื่อใหมารับการวินิจฉยัตอเนื่องครบทุกคน

10.ขอเสนอแนะ 1.จัดโครงการรณรงคและประชาสัมพันธอยางกวางขวาง โดยผานสื่อตางๆ เชน วิทยุ

โทรทัศน โดยเฉพาะในสัปดาหเบาหวาน เพื่อใหประชาชนเกิดความตระหนกัถึงอันตรายและผลกระทบดานตางๆ ตอตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาต ิ

2.สนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการ คัดกรองโรคเบาหวานอยางตอเนื่อง เพื่อใหประชาชนจะไดมีโอกาสเขารวมโครงการอยางทั่วถึง

3.จัดตั้งเครือขายหรือกลุมอาสาสมัครในชุมชน เพื่อชวยรณรงค โดยจดัอบรมเสริมความรูแกอาสา สมัครสาธารณสุขในชมุชน เพื่อใหมคีวามรูสามารถใหคําแนะนํา และสงตอผูที่มปีจจัยเส่ียง เพื่อรับการตรวจวนิิจฉัยที่สถานพยาบาล

4.หนวยงานทีเ่กี่ยวของทั้งภาครัฐและเอกชน รณรงคใหคาํแนะนําเพื่อใหประชาชนเหน็ความสําคัญ และตระหนกัในหนาทีใ่นการดูแลสุขภาพตนเอง ลดปจจัยเส่ียงตางๆ การออกกําลังกายอยางสม่ําเสมอ และสนับสนุนใหทุกชุมชนจัดตั้งชมรมออกกําลังกาย โดยชุมชนและเจาหนาที่ศูนยบริการสาธารณสุขเปนพี่เล้ียง โดยไมหวังพึ่งงบประมาณของรฐั หรือคาตอบแทน ซ่ึงภาครัฐสนับสนุนเฉพาะอุปกรณที่จําเปนตองใชในกิจกรรมนั้น ๆ เชน อุปกรณการออกกําลังกาย เครื่องเสียง เปนตน

ขอรับรองวาผลงานดังกลาวเปนความจริงทกุประการและไดแกไขตามมติของคณะกรรมการฯ

ลงชื่อ............................................. (นางวราภรณ จงประเสริฐ)

ตําแหนงพยาบาลวิชาชีพ 7 วช.(ดานการพยาบาล) ปฏิบัติหนาทีห่ัวหนาพยาบาล

ศนูยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก สํานักอนามัย

............................................

Page 11: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

11

Page 12: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

12

ขอเสนอ แนวคิด วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานใหมีประสิทธิภาพมากขึ้น ของนางวราภรณ จงประเสริฐ

เพื่อประกอบการแตงตัง้ใหดาํรงตาํแหนง พยาบาลวิชาชพี 8 วช.(ดานการพยาบาลทั่วไป) ตําแหนงเลขที่ ศบส.(32)3 สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร เร่ือง การพัฒนาศักยภาพศนูยผูสูงอายุ ศนูยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก

หลักการและเหตุผล กรุงเทพมหานครเปนเมืองใหญ และเปนศูนยกลางทางดานเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมปีระชาชนจาก

ตาง จงัหวัดเดนิทางเขามาประกอบอาชีพจํานวนมาก และอาศัยอยูในกรุงเทพมหานครอยางถาวร จากการที่มีการเดินทางเขากรุงเทพมหานครอยางหนาแนน ทําใหเปนจุดรวมของปญหาหลายดาน ซ่ึงปญหาเหลานี้จะมีความสัมพันธกัน เชน ปญหาเศรษฐกิจ ปญหาการจราจร ปญหามลพิษ ปญหาสิ่งแวดลอม ซ่ึงตางก็สงผลตอสุขภาพกายและสุขภาพจิต การขาดความรูและไมเขาถึงขอมูลขาวสาร โดยเฉพาะในกลุมผูสูงอายุ ซ่ึงปจจุบันมีจาํนวนเพิ่มขึ้นอยางรวดเรว็ เนื่องจากความเจริญกาวหนาทางการแพทยและสาธารณสุข ทําใหโครงสรางประชากรไทย กําลังเคลื่อนเขาสูภาวะประชากรสูงอายุ ซ่ึงจะสงผลตอสภาพสังคม สภาวะเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพของประเทศอยางตอเนื่องในระยะยาว

สํานักอนามัยมีนโยบายใหทุกศูนยบริการสาธารณสุขจัดตั้งศูนยผูสูงอายุ ตามแผนงานพัฒนาคณุ ภาพชีวติดานสุขภาพและบริการสุขภาพสาธารณสุข เพื่อประชาชนทุกกลุมเปาหมายเขาถึงบริการอยางเทาเทียมกนั ซ่ึงสอดคลองกับแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548 -2551 ยุทธศาสตรการสงเสริมคุณภาพชีวิตในเชิงรุกและจติสํานกึดานศิลปวฒันธรรม มุงใหประชาชนมีคุณภาพชวีิตที่ดี โดย เฉพาะผูสูงอายุ ซ่ึงเปนกลุมวัยที่มีปญหาสขุภาพกายและสุขภาพจิตมากกวากลุมอ่ืน ศูนยผูสูงอายตุองเปนสถานที่ศูนยกลางใกลบาน เพื่ออํานวยความสะดวกในการมารับบริการ ดานการสงเสริมสุขภาพและฟนฟูสมรรถภาพ ชวยลดภาวะเจบ็ปวย อันเนือ่งมาจากความเสื่อมของรางกายตามวัย รวมทั้งมีสถานที่ที่ใหผูสูงอายุรวมตัวกันประกอบกิจกรรมตางๆ ที่เปนประโยชนตอตนเอง ชุมชนและสังคมสวนรวม

ศูนยผูสูงอายุของศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตนิตมุสิก จัดตั้งเมื่อป พ.ศ. 2540 มีกิจกรรมดานการสงเสริมสุขภาพ เชน การออกกําลังกาย สันทนาการ นันทนาการและใหความรูดานสุขภาพ เปนตน แตจากการดําเนินงาน มผูีสูงอายุมาใชบริการนอย เนื่องจากปจจัยหลายอยาง ทั้งดานการคมนาคม ดานบริการตางๆยังไมครอบคลุม ไมสามารถดึงดูดใหผูสูงอายุมองเหน็ประโยชนและตองการมาใชบริการ นอกจากนี้สมาชิกผูสูงอายุยงัไมบรรลุการมีคุณภาพชวีิตที่ดี ไดมีการวิเคราะหและประเมนิตนเองตามแบบมาตรฐานศนูยผูสูงอายุของกองสงเสริมสุขภาพ และจากการประเมนิความเสี่ยงตามมาตร ฐานการพัฒนาศูนยบริการสาธารณสุข (HCA) พบวา

1. สมาชิกผูสูงอายุไมสามารถดูแลตัวเองไดดี เชน ผูปวยดวยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ยังไมสามารถควบคุมน้ําตาลและความดันโลหติใหอยูในเกณฑใกลเคียงเกณฑปกติ

2. พบผูปวยรายใหมจากกลุมสมาชิกเกินเกณฑมาตรฐาน (ไมเกนิรอยละ 10)

Page 13: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

13

3.ไมมีการจัดกิจกรรมสงเสริมอาชีพ และสงเสริมใหผูสูงอายุไดถายทอดภูมิปญญากบัสมาชิกอื่น 4.ส่ิงแวดลอมเสี่ยงตอการเกดิอุบัติเหตุ ซ่ึงสอดคลองกับการสํารวจความพอใจของการใหบริการ

ศูนยผูสูงอายุ ไดแก ดานสิ่งแวดลอม พบวา 4.1 ถนนทางเดินเขาศูนยผูสูงอายุทรุดตัว ทําใหผูสูงอายุเดินลําบาก และเสี่ยงตอการสะดุดหก

ลม นอกจากนี้ทางเดินไมเชื่อมตอกับตัวอาคารศูนยบริการสาธารณสุข เมื่อฝนตกถนนเปยกทําใหการเดินไป-มา ระหวางศูนยผูสูงอาย ุและอาคารศูนยฯ ไมสะดวกอาจทําใหล่ืนหกลมได

4.2 ไมมีสถานที่ออกกําลังกายกลางแจง วัตถุประสงคและหรือเปาหมาย เพื่อเปนศูนยกลางการเรียนรูแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสาร และเพิ่มประสทิธิภาพการใหบริการ ทํา

ใหผูสูงอายุมีสุขภาพและคณุภาพชีวติที่ดีขึน้ เปาหมาย ศูนยผูสูงอายุของศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก ไดรับการพัฒนาศักยภาพ

กรอบการวิเคราะห แนวคิด ขอเสนอ การพัฒนาศักยภาพศนูยผูสูงอายุศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก ใชหลักการพัฒนา

ศักยภาพแบบองครวม ครอบคลุม 4 มิติ ใหผูสูงอายุมีสุขภาพและคณุภาพชีวติที่ดี โดยมีมาตรฐานศูนยผูสูงอายุ 10 มาตรฐาน และมีกลยุทธการใหบริการตามกรอบกลยุทธการบริหาร ดังนี ้

กลยุทธการใหบริการตามกรอบกลยุทธบริหารในศูนยผูสูงอาย ุ

รี่มี

สภาพแวด ลอมความเปนอยูที่ด ี

ทักษะ,ความ ประสบการณของบุคคล

เปนศูนยกลางการเรียนรู แลกเปลี่ยนขอมูลขาวสาร และพัฒนาศักยภาพแบบองครวมใหผูสูงอายุใน

กรุงเทพมหานคร มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ค ะ

พ การบริหารองคกรที่มี

ประสิทธิภาพ

กระบวนกาใหบริการทคุณภาพและประสิทธิภา

รู

การบริการที่ํานึงถึงสิทธิแลความพึงพอใจของผู รับบริการ

เทคโนโลสนเทศแมือที่ทัน

การจัดการระบบขอมูลขาวสารที่มีประสิทธิภาและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูรวมกัน

ยีสาร ละเครื่อง สมัย

วัฒนธรรมและโครง สรางองคกร

ที่เหมาะสม

ความปลอดภัยในการใชชีวิต

งคกร

ชุมชน / สังคมมีสว

ที่มา: กองสงเสริมสุขภาพ สํานักอนามยั กรุงเทพมหานค
Page 14: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

14

แนวการดําเนนิการ จากการวิเคราะหปญหาศูนยผูสูงอายุ เพื่อใหศนูยผูสูงอายุมีมาตรฐานตามกาํหนด จึงจําเปนตองมี การปรับปรุงและเพิ่มศักยภาพศูนยผูสูงอาย ุ ดานบริการสุขภาพ ดานขอมูลขาวสารและดานสิ่งแวดลอม เพื่อตอบสนองตอความพึงพอใจของผูสูงอายุ ผูขอรับการประเมินซึ่งปฏิบัติหนาที่หัวหนาพยาบาลศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก จึงไดจดัทําโครงการพัฒนาศักยภาพศูนยผูสูงอายุ ดังนี ้ 1. การจัดอบรมใหความรูแกเจาหนาที่ศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก ในมาตรฐานศูนยผูสูงอายุ 10 มาตรฐาน เพื่อการพัฒนาศักยภาพศูนยผูสูงอายุของศูนยฯ คือ 1.1 กําหนดวิสยัทัศน พนัธกิจ ขอบเขต เปาหมาย วัตถุประสงค เปนลายลักษณอักษร 1.2 มีการจัดองคกรและการบริหาร เอื้อตอการบริการผูสูงอายุตามพันธกิจอยางมีคุณภาพ 1.3 มีการจัดทรัพยากรบุคคล เพื่อใหบริการอยางมปีระสิทธิภาพ 1.4 มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพิ่มพูนความรูเจาหนาที่เพื่อใหบริการอยางมคีุณภาพ 1.5 ส่ิงแวดลอมอาคาร สถานที่เหมาะสม ปลอดภัย เอื้อตอการบริการผูสูงอายุอยางสะดวก 1.6 การบริหารจัดการเวชภณัฑ วัสดุ ครุภัณฑและส่ิงอํานวยสะดวกใหเพียงพอ 1.7 กระบวนการใหบริการผูสูงอายุที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และตอบสนองความตองการของผูสูงอายุ 1.8 มีการจัดทํารายงานอยางเปนระบบ และมีระบบติดตามประเมินผล 1.9 มีการจัดสรางระบบภาคีเครือขาย เพื่อใหเกิดความเชื่อมโยงระหวางองคกร หนวยงานและศูนยผูสูงอายุ 1.10 มีระบบการดูแลสุขภาพอนามยัของสมาชิกศูนยผูสูงอาย ุ 2.จัดอบรมใหความรูแกสมาชิกผูสูงอายุ ในการดูแลตนเองใหหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน และควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดในผูทีป่วยดวยโรคเบาหวาน เพื่อปองกันอาการแทรกซอนของโรค โดยใชแนวคดิการดูแลตนเองของโอเร็ม และแนวคิดในการสงเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร เชน 2.1 การควบคุมอาหารหรือรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรค 2.2 การออกกําลังกายอยางสม่ําเสมอตามความสามารถของรางกาย 2.3 การดูแลรักษาความสะอาดของรางกาย การดแูลเทาเนื่องจากผูปวยเบาหวานมักมีอาการชาปลายมือปลายเทา ทําใหสูญเสียความรูสึกอาจทําใหไดรับอุบัติเหตุที่เทาไดงาย 2.4 การดูแลตาเมื่อเบาหวานแทรกซอนขึ้นตาอาจทําใหตาบอดได 2.5 การจัดส่ิงแวดลอมใหเหมาะสม สะอาด ปลอดภยั 2.6 การพักผอนใหเพยีงพอ และทําจิตใจใหแจมใสมีสัมพันธภาพกบัผูอ่ืน 3. จัดใหมีการตรวจสุขภาพประจําปแกสมาชิก เพื่อคนหาโรครายใหม เชน การตรวจรางกายทั่วไป ช่ังน้ําหนัก วดัสวนสูง เพื่อประเมินคาดัชนีมวลกาย การตรวจเอกซเรยปอด การตรวจคลื่นหวัใจ การเจาะเลือด เปนตน เมื่อพบผูที่มีภาวะเสี่ยงรายใหม จะนําสูระบบการรักษาตอเนื่องตอไป

Page 15: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

15 4. จัดหาวิทยากรที่เชี่ยวชาญดานเกีย่วกับสขุภาพ เชน ผูเชี่ยวชาญทางสายตามาใหคําแนะนําการใชสายตาที่ถูกวิธี เพื่อคงไวซ่ึงการมองเห็นที่ดไีวใหนานที่สุด รวมทั้งการแนะนําการเลือกแวนตาที่เหมาะสม 5. ของบประมาณจากการแปรญัตติของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เพื่อมอบแกสมาชิกที่มีฐานะยากจน แตจําเปนตองใชแวนในการอานหนังสือ เพื่อสามารถรับขอมูลขาวสารไดดีขึ้น 6. จัดจางบุคคลภายนอกชวยงานศูนยผูสูงอายุ ตําแหนงผูชวยนกัสังคมสงเคราะห เพือ่ชวยดแูลดานสวัสดิการตางๆ รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการทาํกิจกรรม ดานสันทนาการ นันทนาการและกําลังกาย และจัดหาวิทยากรดานอืน่ ๆ 7. สนับสนุนใหมีการจัดกิจกรรมดานศีลธรรม ประเพณวีฒันธรรม 8. จัดโครงการอบรมสงเสริมอาชีพ และการถายทอดภูมปิญญาทองถ่ิน ตามมาตรฐานศูนยผูสูงอายุ 8.1 จัดอบรมการทําดอกไมประดิษฐเพื่อเปนการใชเวลาวางใหเปนประโยชน และยังสามารถนํา ไปประกอบอาชีพเพิ่มรายได 8.2 จัดใหมกีารสอนนวดแผนไทย โดยสมาชิกที่ไดรับการอบรมการนวดแผนไทย มาถาย ทอดใหสมาชกิศูนยผูสูงอาย ุ เพื่อสมาชิกสามารถนํามาใชประโยชนในกลุมได เชน การนวดคลายเครียด การนวดเพื่อบรรเทาปวดหรอืเมื่อยลา นอกจากนี้การนวดแผนไทยยังสามารถนําไปประกอบอาชีพเพิ่มรายไดอีกดวย 8.3 จัดหาสมาชิกที่สามารถนําการออกกาํลังกายประเภทตาง ๆ ไดมาเปนผูนําหรือผูฝกสอน เชน ครูนําการรําไทเก็ก ครูสอนเตนรํา และผูนําฝกแอโรบิก เปนตน 9.การปรับปรุงดานสิ่งแวดลอมตามมาตรฐานการพัฒนาศูนยบริการสาธารณสุข (HCA) ใหเหมาะสมและความปลอดภยัแกผูสูงอายุ โดย 9.1 ขออนุมัติงบประมาณจากเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินบํารุงสถานบริการสาธารณสุข ของศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก และขอความรวมมือจากสํานักงานเขตพระโขนง ในการออกแบบและประมาณราคา เพื่อปรับปรุงและขยายถนนทางเดินเขาศูนยผูสูงอายุ เพื่อปองกันอุบตัิเหตุและผูสูงอายุไดรับความสะดวกยิ่งขึ้น 9.2 จัดทําคําของบประมาณประจําปสํานักอนามยั ในการกอสรางลานอเนกประสงคเพื่อใชในการออกกําลังกายกลางแจง เพื่อใหมีกจิกรรมออกกําลังกายไดหลากหลายมากขึ้น

ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ 1. ผูสูงอายุมีสวนรวมในการดแูลตนเอง มีสุขภาพที่ดี โดยไมเปนภาระตอครอบครัว และชุมชน 2. เพื่อนําผลการดาํเนินงานมาเปนแนวทางในการแกไขปรับปรุงบริการ 3. ผูสูงอายดุําเนนิชีวิตอยางมีศกัดิ์ศรีและเปนทรัพยากรที่มคีุณคาของประเทศชาต ิ 4. รัฐประหยัดงบประมาณคาใชจายดานการดแูลผูสูงอายุ

Page 16: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

16 ตัวชี้วัดความสาํเร็จ 1. ความพึงพอใจของสมาชิกศูนยผูสูงอายุ รอยละ ≥ 80 2. ลดความเจ็บปวยรายใหมในโรคที่สามารถปองกันได รอยละ ≥ 20 3. ผูที่มีปญหาโรคเรื้อรังไดรับการดูแลอยางตอเนื่อง รอยละ ≥ 80 4. ผูสูงอายุสามารถดูแลตนเองไดอยางเหมาะสม และควบคมุอาการของโรคไดรอยละ ≥ 80 5. ผูสูงอายุไดรับอุบัติเหตุจากการลื่นหกลม รอยละ ≤ 5

ลงชื่อ............................................ (นางวราภรณ จงประเสริฐ)

ตําแหนงพยาบาลวิชาชีพ 7 วช.(ดานการพยาบาล) ปฏิบัติหนาที่หวัหนาพยาบาล ศูนยบริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก

สํานักอนามัย .….…/………./……..

Page 17: 1. 2. 3. 3203.155.220.238/csc/attachments/article/189/2089.pdfตา ไต เส นประสาท และหลอดเล อดสมองและหลอดเล อดห

17