ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

31

description

ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

Transcript of ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

Page 1: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก
Page 2: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

เรียบเรียง : ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์

ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา

ศิลปกรรมรูปเล่ม : วันดี ตามเที่ยงตรง พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์

Page 3: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

ชาตกาล ๒๗ พ.ค. ๒๔๔๙มรณกาล ๘ ก.ค. ๒๕๓๖ “ธรรมทานมีผลมากกว่าทานอื่นๆ

จริงๆ วัตถุทานก็ช่วยกัน แต่เป็นเรื่องมีชีวิต

อยู่รอด อภัยทานก็เป็นเรื่องมีชีวิตอยู่รอด แต่มันยังไม่ดับทุกข์ มีชีวิต

อยู่รอดอย่างเป็นทุกข์น่ะมันดีอะไร ? เขาให้มีชีวิตอยู่ แต่เขาได้รับ

ทุกข์ทรมานอยู่ นี้มันดีอะไร มันดีอะไร เมื่อรอดชีวิตแล้วมันจะต้อง

ไม่มีความทุกข์ด้วย จึงจะนับว่าดีมีประโยชน์ ข้อนี้สำคัญด้วยธรรมทาน

มีความรู้ธรรมะแล้วรู้จักทำให้ไม่มีความทุกข์ รู้จักป้องกันไม่ให้เกิด

ความทุกข์ รู้จักหยุดความทุกข์ที่กำลังเกิดอยู่ ธรรมทานจึงมีผลกว่า

ในลักษณะอย่างนี้ มันช่วยให้ชีวิตไม่เป็นหมัน วัตถุทานและอภัยทาน

ช่วยให้รอดชีวิตอยู่ บางทีก็เฉยๆ มันสักว่ารอดชีวิตอยู่เฉยๆ แต่ถ้ามี

ธรรมทานเข้ามาก็จะสามารถช่วยให้มีผลดีถึงที่สุดที่มนุษย์ควรจะ

ได้รับ เพราะฉะนั้น ขอให้สนใจในเรื่องธรรมทาน”

Page 4: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

คำนำ

เรื่อง“กรรม”“การเกิดใหม่”และ“สังสารวัฏ” เป็นเรื่องที่พุทธ-

ศาสนิกชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อเข้ามาศึกษาและปฏิบัติ

พระพุทธศาสนา

...ไม่เว้นแม้กระทั่งชาวตะวันตก!

ชาวตะวันตก หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “ฝรั่ง” จำนวนมาก

มีความสนใจในเรื่อง“กรรม”“การเกิดใหม่”และ“สังสารวัฏ”จนถึงกับ

ตั้งใจศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง บ้างก็ตัดสินใจบวชเป็นพระสงฆ์

ในบวรพระพุทธศาสนาบ้างก็ศึกษาจากตำราฯลฯ

แต่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวตะวันตกส่วนมาก ยังมีความ

เข้าใจเรื่อง“กรรม”“การเกิดใหม่”และ“สังสารวัฏ”ไม่ถูกต้องตามความ

เป็นจริง!

“กฎแห่งกรรมมีจริงๆหรือ?ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วมีที่ไหน?ทำไม

คนทำชั่วถึงได้ดีแต่คนทำดีไม่เห็นได้ดีอะไรเลยเลิกเชื่อเรื่องกรรมดีไหม?”

“เรื่องตายแล้วต้องเกิดใหม่มีจริงหรือเปล่า?”

“เรื่องสังสารวัฏ ๓๑ภูมิ เป็นเรื่องจริงหรือ ? หรือผู้ใหญ่สมัยก่อน

แต่งเรื่องเพื่อห้ามคนทำบาปทำชั่วให้คนทำแต่ความดี?”

หากยังไม่สิ้นสงสัยและไม่สามารถตอบคำถามต่างๆ ข้างต้นนี้ได้

ขอให้หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา แล้วค่อยๆ เปิดอ่านทีละหน้า ทีละหัวเรื่อง

แล้วท่านจะค้นพบว่า สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น

เป็นความจริงหรือไม่

Page 5: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านคำบรรยายหลักพระพุทธศาสนา เรื่อง “กรรม

การเกิดใหม่ สังสารวัฏ” ของหลวงพ่อพุทธทาสในครั้งแรก ข้าพเจ้ารู้สึก

ว่าได้ค้นพบกุญแจดอกสำคัญ ที่จะไขปัญหาค้างคาใจของพุทธศาสนิกชน

ทั้งหลายแล้ว เพราะได้อธิบายเรื่องกรรม การเกิดใหม่และสังสารวัฏ ไว้

อย่างละเอียด ตลอดถึงมีการอธิบายเรื่อง “อริยมรรค” หรือ กรรมที่ ๓

ที่จะทำให้สัตว์โลกทั้งหลายหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้อย่างถาวร ซึ่งนับว่า

เป็นประโยชน์อันสูงสุด น่าเสียดายหากต้องพลาดการอ่านหนังสือเล่มนี้

เมื่อท่านเปิดหนังสือเล่มนี้อ่าน ขอให้ค่อยๆ ปล่อยวางความสงสัย

ทั้งหมด ปล่อยใจให้สัมผัสและพินิจพิจารณาถึงธรรมะที่หลวงพ่อพุทธทาส

ได้ถ่ายทอดเอาไว้ธรรมะที่จะค่อยๆเปลี่ยนความสงสัยให้เป็นปัญญาธรรมะ

ที่จักนำพาทุกท่านให้เข้าถึงเรื่อง กรรม การเกิดใหม ่ และ สังสารวัฏ ตาม

ความเป็นจริง

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุได้บรรยายพระธรรมเทศนาเรื่องสำคัญๆ ไว้

เป็นจำนวนมาก และธรรมบรรยายเรื่อง “กรรม การเกิดใหม่ สังสารวัฏ”

เล่มนี้ เป็นหนึ่งในธรรมบรรยายซึ่งถูกรวบรวมไว้ในหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์

ของพุทธทาส ผู้รวบรวมเห็นว่ามีเนื้อหาสาระที่ดีมาก เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

ที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรจะรู้ให้ชัด ให้สิ้นสงสัย และนำไปปฏิบัติใช้ใน

ชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุขทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม

โดยเบื้องต้นกระทั่งเข้าถึงความพ้นทุกข์คือ“พระนิพพาน”อันเป็นบรมสุข

ดังคำกล่าวของหลวงพ่อพุทธทาสที่ว่า

ถ้าดับกิเลส ดับอำนาจของกรรม ทำลายสังสารวัฏขาดลงไปได้แล้ว

Page 6: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

จะเรียกว่าหลุดพ้นก็ได้ เรียกว่านิพพานก็ได้ เรียกว่าดับทุกข์สิ้นเชิงก็ได้

เรียกว่าถึงที่สุดของพรหมจรรย์ก็ได้ เรียกว่าสิ้นชาติสิ้นภพก็ได้ แล้วแต่จะเรียก

มันมีความหมายเหมือนกันหมด เมื่อนั้นแหละ คือความไม่มีทุกข์เลย

ดังนี้แล้ว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จึงได้นำ

พระธรรมเทศนาเรื่องสำคัญนี้มาจัดพิมพ์ใหม่ โดยได้จัดหน้า จัดวรรคตอน

ตั้งหัวข้อใหญ ่ หัวข้อย่อย ทำบทคัดย่อ เน้นคำ ทำเชิงอรรถ เสริมสาระ

อธิบายข้อธรรม และใส่ภาพประกอบ เพื่อให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ช่วยย่น

ระยะเวลาในการอ่าน เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะ และหยิบใช้ได้ทันที มีสุข

ทันใจ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักเอื้อประโยชน์ให้ผู้อ่านได้เข้าถึง

เรื่อง กรรม การเกิดใหม่และ สังสารวัฏ อันเป็นแก่นสำคัญของพระพุทธ-

ศาสนากระทั่งปฏิบัติตนและดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์เข้าถึง“พระนิพพาน”

อันเป็นบรมสุขได้ในชาติปัจจุบันนี้ทุกท่านเทอญ

โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข

Page 7: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

6 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก*

ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย ในโอกาสแห่งการบรรยายครั้งที่

๔นี้อาตมาจะได้กล่าวถึงเรื่อง

“กรรม การเกิดใหม่ และ สังสารวัฏ”

เรื่องกรรม เรื่องการเกิดใหม ่ เรื่องสังสารวัฏ ๓ เรื่องนี้เนื่องกัน

เพราะฉะนั้น จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องกล่าวร่วมกัน อธิบายคราวเดียวกัน

*เดิมชื่อ "กรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏ" เป็นหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยาย

หลักพระพุทธศาสนาประจำปี๒๕๐๔ เรื่อง "หลักธรรมที่แสดงความจริง" ครั้งที่

๔/๒๕๐๔

เรื่องกรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏ มีความเกี่ยวเนื่องกัน

ต้องอธิบายพร้อมกันนะ

พวกเรา จะตั้งใจศึกษาค่ะ

หลวงปู่ครับ พวกเราอยากรู้

เรื่องกรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏครับ

Page 8: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

7 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

เรื่องการเกิดใหม่ ฝรั่งสนใจมากที่สุด

ก่อนอื่น ขอให้ท่านนักศึกษาทั้งหลายทราบว่า เรื่องกรรม เรื่องการ

เกิดใหม่หรือเรื่องสังสารวัฏนี้เป็นเรื่องที่คนภายนอกพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

พวกฝรั่งสนใจมากกว่าเรื่องอื่นในฐานะที่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดคือว่า

พวกฝรั่งแทบจะกล่าวได้ว่า คนไหนก็คนนั้น เมื่อมาหาความรู้ทางพุทธศาสนาแล้ว ก็จะต้องถามเรื่องนี้โดยเฉพาะ

คือเรื่องการเกิดใหม่นี้ ขึ้นหน้าขึ้นตามากที่สุด แล้วก็เรื่องกรรม และเรื่องสังสารวัฏ พร้อมกันไปเลยทีเดียว

นี้ก็เป็นสิ่งที่ควรเข้าใจไว้ เพราะถ้าเข้าใจว่าทำไมเขาจึงสนใจกัน

นักแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ดีขึ้น

เราควรจะได้ทราบเสียเลยว่า เพราะเหตุที่พวกฝรั่งนักศึกษาที่เป็น

ชาวตะวันตกเหล่านั้น ชินหูกันในข้อที่ว่า ทางตะวันออกนี้เชื่อการเกิดใหม่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ในอินเดีย

เฮลโล ! ไอกำลังศึกษา เรื่องการเกิดใหม่อยู่ แต่ไอยังไม่เข้าใจ

ยูพาไอไปหาหลวงปู่ได้ไหม ?

ได้เลยครับ พวกเรากำลังให้ หลวงปู่สอนอยู่ เหมือนกันครับ

Page 9: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

8 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

การเกิดใหม ่ไม่ใช่อวตาร*

ทีนี้เขาก็ไปเอาศาสนาพุทธนี่ไปปนกันกับศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

โดยเหตุที่เขาได้อ่านทางฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดูมากกว่า มันแพร่หลายกว่า

ทางหนังสือ จึงพบเรื่องการเกิดใหม่ และการเกิดใหม่อย่างพิเศษที่เรียกว่า

“อวตาร” เช่น พระเป็นเจ้าอวตารมาเป็นคนนั้นคนนี ้ เป็นพระนารายณ์

อย่างเรื่องรามเกียรติ์ อย่างนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งของการอวตาร นี่เรียกว่าการ

เกิดใหม่ชนิดพิเศษของพวกเทวดา หรือพระเป็นเจ้า

แล้วของคนธรรมดาสามัญศาสนาฮินดูส่วนใหญ่เขาก็สอนว่าคนนั้น

มาเกิดแล้วเกิดเล่า เกิดแล้วเกิดเล่า จนเปรียบเหมือนกับว่าคนคนเดียวกัน

เพียงแต่เปลี่ยนเครื่องแต่งตัว เสื้อกางเกง ชุดนี้เก่าแล้วก็ซื้อชุดใหม่มาสวม

อย่างนี้ หมายความว่าจิตหรือวิญญาณอันนั้นมันมาเกิดใหม่อีก หลังจาก

ร่างกายนี้แตกตายแล้ว

* อวตาร (อะ-วะ-ตาน) คือ การแบ่งภาคลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ของเทพเจ้า

องค์ต่างๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินด ูโดยเทพเจ้าองค์ต่างๆ จะแบ่งพลังงาน

ส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งบนโลก

มนุษย์

การเกิดใหม่ ในศาสนาพุทธ ไม่ใช่อวตาร นะครับ

โอ ! อัศจรรย์แท้หนอ

Page 10: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

9 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

ความรู้ผิดๆ มักสะกิดให้เกิดปัญหา

การพูดอย่างนี้มันแปลกมาก หรือมันน่าอัศจรรย์มากสำหรับพวก

ฝรั่ง เขาจึงข้องอยู่ในใจ พอเขาได้วี่แววเกี่ยวกับพุทธศาสนาว่ามีพูดถึงการ

เกิดใหม่เหมือนกัน เขาก็เลยทึกทักเอาว่าเหมือนกันเลย เช่น การเกิดใหม่

อย่างนั้นเขามักจะซักถามเรื่องนี้ก่อนเรื่องอื่น

ฝรั่งบางคนที่ว่าศึกษาพุทธศาสนานั่นแหละ เข้าใจการเกิดใหม่อย่างนี้

ว่าเป็นหลักพุทธศาสนาเอาเสียเลยทีเดียวก็มี ก็เลยทำให้เกิดสับสนกันขึ้น

รู้พุทธศาสนาไม่ถูกต้อง แล้วมันก็ยุ่งทีหลัง

ตถาคตมุ่งสอน เพื่อความดับทุกข์สิ้นเชิง

โดยไม่ปิดบัง

Page 11: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

10 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

กรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏ ต้องศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง

ทีนี้เรื่องกรรม รับผลกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หลังจากการตาย

แล้วก็ยังได้รับ อย่างนี้ก็เป็นเรื่องแปลก เพราะมันเนื่องกันกับการเกิดใหม่

เหมือนกันทีนี้เรื่องสังสารวัฏ ก็แปลว่า เวียน เวียนเกิดไม่รู้สิ้นสุดนี่เรียก

ว่าสังสารวัฏการเกิดใหม่เพียงครั้งเดียวไม่เรียกว่าสังสารวัฏแต่ถ้าการเกิด

ใหม่นั้นวนซ้ำในลักษณะที่เป็นวงกลมเรื่อยไปละก็เรียกว่าสังสารวัฏยังจะมี

การบัญญัติรวมๆว่า

การเกิดเป็นทุกข์ แล้วสังสารวัฏก็คือ เป็นสายของความทุกข์ เป็นวงกลมของความทุกข์ แล้วทีนี้ยังมีว่า การเกิดใหม่นี้ ก็เป็นเพราะอำนาจกรรม ผลของกรรมทำให้เกิดใหม่

มันสัมพันธ์กันอย่างที่ไม่อาจจะแยกกันออก เรื่องกรรม กับเรื่องเกิดใหม่ แล้วก็เรื่องสังสารวัฏ

ฉะนั้น เราจึงควรจะศึกษาพร้อมกัน อยู่ในฐานะเป็นหลักพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งด้วย

เรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งด้วย

กรรม การเกิดใหม่ และสังสารวัฏ

มีความสัมพันธ์กัน ต้องศึกษาร่วมกัน

Page 12: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

11 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

ถ้าเราประสงค์จะมีความรู้เรื่องหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็หลีก

เรื่องนี้ไปไม่ได้เพราะว่าเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันอยู่

ฉะนั้นขอให้ตั้งอกตั้งใจศึกษาเรื่องที่รวมๆกันสามอย่างนี้พร้อมกัน

ไปในคราวเดียวกันแล้วก็จะมีความรู้ถูกต้องสำหรับตอบกับชาวต่างประเทศ

ถูก และสำหรับเราเองก็มีความเข้าใจแจ่มแจ้ง หรือถึงกับสามารถปฏิบัติให้

ไม่ต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏอย่างนี้นี่คือความมุ่งหมายการศึกษาเรื่องนี ้

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

ไม่มีทานใดจะยิ่งใหญ่และมีอานิสงส์มากเท่า เพราะการให้ทานด้วยธรรมะ เป็นการช่วยคนให้มีปัญญา ให้เป็นคนดี พ้นทุกข์ มีสุข จึงควรให้ธรรมทาน

สาธุ

กราบนมัสการ หลวงปู่ครับ

ฝรั่งคนนี้ต้องการ ศึกษาเรื่องการเกิดใหม่ ในพุทธศาสนาครับ

สาธุ ขอให้ทุกคนตั้งใจศึกษา จนมีความรู้แจ่มแจ้งและนำไป ปฏิบัติเพื่อไม่ต้องเวียนว่าย ในสังสารวัฏอีกต่อไปนะ

Page 13: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

12 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

ความหมายของ "กรรม" ตามรูปศัพท์

ทีนี้เราก็จะได้วินิจฉัยกันถึงเรื่องกรรมก่อน

คำว่า กรรม ก-ร-ร-ม นี้ เป็นศัพท์สันสกฤต ถ้า ก-มฺ-ม อย่างนี้ เป็นบาลี

มันแปลเหมือนกับคำเดียวกัน แต่ว่ารูปต่างกัน เพราะเป็นบาลีและสันสกฤต

ดังนั้น ขอบอกกล่าวเสียด้วยเลยว่า คำคำนี้ก็เหมือนกัน เคยทำ

ความยุ่งยากให้กับพวกฝรั่ง ในการที่จะแปลออกไปเป็นคำภาษาตะวันตก

เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น เขาพยายามแปลกันอยู่พักหนึ่งก็ไม่สำเร็จ

ประโยชน์ ผลสุดท้ายก็ต้องใช้ทับศัพท์ว่ากรรมไปตามเดิม เหมือนกับคำว่า

ธรรม ธรรมะที่กล่าวมาแล้ววันก่อนนี้คำว่า กรรม นี้ก็อีกคำหนึ่ง ซึ่งเรา

ไม่สามารถจะแปล เพราะว่าถ้าจะแปลแต่เพียงว่า การกระทำ อย่างนี้

มันไม่ถูก ไม่ถูกเสมอไป บางทีมันก็มีผิด

คำว่า กรรม ต้องใช้ทับศัพท์ว่า “กรรม” เหมือนกับคำว่า “ธรรม” นะคะ จะได้เข้าใจความหมายที่ถูกต้อง

โอเคๆ

Page 14: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

13 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

"กรรม" คือ การกระทำด้วยเจตนา ของกิเลสตัณหา

ท่านทั้งหลายที่รู้ภาษาไทย ก็ลองคิดดูว่า คำว่า กระทำ กับ การ

กระทำนี้มันมีหลายคำแล้วความหมายมันไม่เหมือนกันเช่นคำว่ากิริยา

ใครๆ ก็ทราบว่ากิริยานี้ก็แปลว่า การกระทำ แล้วคำว่า กรรม ก็แปลว่า

การกระทำ แต่สองคำนี้ไม่เหมือนกันเลย ต่างกันลิบ กิริยา หมายถึง การ

เคลื่อนไหว หรือการกระทำที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ไม่ประกอบไปด้วย

เจตนาที่เป็นกิเลสตัณหาที่ว่าจะเอาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกิเลสตัณหา

ด้วยเจตนา ถ้าเคลื่อนไหวหรือกระทำนั้นเรียกว่า กิริยา แต่...

ถ้ากระทำไปด้วยเจตนาของ โลภะ โทสะ โมหะ ของกิเลสตัณหา อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การกระทำนั้นก็เรียกว่า “กรรม”

ฉะนั้น กิริยาจึงหมายความว่า การกระทำ หรือการเคลื่อนไหวที่ไร้

เจตนา, กรรม คือการเคลื่อนไหว หรือการกระทำที่ประกอบอยู่ด้วยเจตนา

เข้าใจคำว่ากรรมโดยศัพท์อย่างนี้เสียก่อน

หมั่นไส้โว้ย ! เก่งนักต้องเจอ เตะแบบนี้ !

ถ้าการกระทำนั้น ประกอบด้วยเจตนาของกิเลสตัณหา

เรียกว่า “กรรม” นะครับ

กิริยา คือ การกระทำ ที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา

ของกิเลสตัณหา

Page 15: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

14 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

ทำด้วยเจตนาดี = กรรมดี ผลดี ทำด้วยเจตนาชั่ว = กรรมชั่ว ผลชั่ว

ทีนี้โดยผลของมัน กิริยาก็มีผลเพียงแต่ปฏิกิริยาเท่านั้น เป็น

Reaction* เกิดขึ้นตามสมควรแก่กิริยาเท่านั้น ส่วนผลของกรรมนั้นไม่ใช่

ปฏิกิริยา แต่เขาเรียกว่าวิบาก วิบาก แปลว่าผลกรรม ที่เป็นเหตุให้ได้ดี

ได้ชั่วนี้เราก็ได้เป็น๒คู่กริยาคู่กับปฏิกิริยาแล้วก็กรรมนี้คู่กับวิบากหรือ

ผลของกรรม

ทีนี้พวกกิริยานี้ เนื่องจากไม่มีเจตนา ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหา

เพราะฉะนั้นจึงไม่บัญญัติว่าดีหรือชั่วได้ ไม่สามารถจะบัญญัติว่าดีหรือชั่ว

ลงไปได้ มันก็เป็นแต่กิริยา เลยเป็นกลาง ส่วน...

กรรมนั้น ต้องประกอบด้วยเจตนา หรือกิเลสตัณหา ถ้าประกอบด้วยเจตนาดี ก็เรียกว่า กรรมดี ถ้าประกอบด้วยเจตนาชั่ว ก็เรียกว่า กรรมชั่ว ดังนั้น วิบาก คือ ผลของมัน จึงเกิดขึ้นแบ่งได้เป็น วิบากดี วิบากชั่ว หรือผลดี ผลชั่ว

*Reaction(รี–แอค–ชั่น)แปลว่าปฏิกิริยาตอบสนอง

สัตว์โลกย่อม เป็นไปตามกรรม

เจตนาดี กรรมดี ผลดี เจตนาชั่ว กรรมชั่ว ผลชั่ว

ใบแดง ! ทำผิดกติกา ต้องถูกลงโทษ !

เราไม่น่า ขาดสติเลย

Page 16: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

15 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

ทำกรรมด้วยกิเลสแบบไหน ก็ทุกข์ใจแบบนั้น

ถ้าท่านบางคนจะสงสัยว่า ทำไมอาตมาจึงกล่าวว่า กรรมนี้ทำด้วย

กิเลส ต้องทำด้วยกิเลส แล้วทำไมแบ่งเป็นดีเป็นชั่วได้ กิเลสมีทั้งดีทั้งชั่ว

อย่างนั้นหรือ ? ก็ขอให้เข้าใจเสียแต่เดี๋ยวนี้ว่ากิเลสนั้นมีทั้งดีทั้งชั่ว แต่ว่า

กิเลสชั้นดีหรือกิเลสอย่างดีนั้นเป็นอย่างละเอียดแต่ก็จัดเป็นกิเลสเหมือนกัน

ตามหลักของธรรมะชั้นสูง

พวกชาวบ้านอาจจะไม่จัดกิเลสชั้นดี ชั้นสูง ว่าเป็นกิเลสก็ได้ หรือ

ไม่อาจจะจัดความดีว่าเป็นกิเลสประเภทหนึ่งก็ได้ แต่ทางธรรมะสิ่งที่เรียกว่า

กิเลสนั้น ชั้นหยาบๆ ก็เป็นเรื่องชั่ว ชั้นละเอียดชั้นดีก็ยังมีกิเลสที่เป็นเหตุ

ให้อยากเกิด อยากเกิดดีอย่างนี้ก็เรียกว่ากิเลส แล้วก็ได้เกิดมา แล้วก็ได้

เป็นทุกข์ไปตามประสาเกิดดี กิเลสชั้นดีอย่างนี้ก็ยังม ี

ดังนั้นจึงว่าการกระทำกรรมนี้แต่กรรมดีก็ทำด้วยกิเลสชั้นดีกรรม

ชั่วก็ทำด้วยกิเลสชั้นชั่วผลจึงมีดีมีชั่วแล้วต้องเป็นไปตามกรรมแล้วจะต้อง

ได้รับทุกข์อย่างดีอย่างชั่วนี่ขอให้จำคำอย่างนี้ไว้ด้วยว่า

ความทุกข์ก็มีทั้งอย่างดีอย่างชั่ว ความทุกข์อย่างดีนั้น

มันซ่อนเร้นจนคนปรารถนาความทุกข์ ความทุกข์ประเภทดี ประเภทที่ซ่อนเร้น ซ่อนเร้นพิษสง

ซ่อนเร้นอันตรายของมันไว้ มาในรูปของความน่าปรารถนา อย่างนี้ก็มี

Page 17: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

16 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

เกิดเป็นเทวดา ก็มีทุกข์แบบเทวดา

นี่ต้องศึกษากันอย่างละเอียดอย่างนี้ เช่นว่าปรารถนาเกิดเป็น

เทวดาแล้วก็ได้เกิดเป็นเทวดาจริงๆอย่างนี้ตามภาษาชาวบ้านก็ต้องว่าดีซิ

แล้วก็ไม่ใช่กิเลสตัณหาซิ เพราะว่าได้เกิดเป็นเทวดาแล้ว มีความสุขอย่าง

เทวดา แต่...

ภาษาธรรมะนั้น การอยากเกิดเป็นเทวดาก็เป็นกิเลส แล้วได้เกิดเป็นเทวดาก็ไม่ใช่พ้นทุกข์ ยังมีความทุกข์

ไปตามภาษาสัตว์ที่เป็นเทวดา มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างเทวดา มีกิเลสตัณหาอย่างเทวดา รบราฆ่าฟันกันอย่างเทวดา

กลัวตายอย่างเทวดา มีวิตกกังวลอย่างเทวดา อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น การเกิดเป็นเทวดาก็ต้องเกิดด้วยกิเลส เกิดแล้วก็ยังไม่พ้น

ทุกข์เพราะการได้เกิดเป็นเทวดาจึงได้กล่าวว่ากรรมก็ต้องมาจากกิเลสต้อง

ทำด้วยกิเลส เป็นอย่างดีก็ได ้เป็นอย่างชั่วก็ได ้ผลของมันจึงมีทั้งดีทั้งชั่ว

อยากเกิดเป็นเทวดา เป็นกิเลสไหมนะ ?

เป็นกิเลสฝ่ายดีแต่ก็ไม่พ้นทุกข์

นะครับ

Page 18: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

17 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

"กิริยา" หรือ "กรรม" สำคัญที่เราคิด

นี่ขอให้ท่านจำคำ๒คู่นี้ไว้ก่อนว่ากิริยากับปฏิกิริยาแล้วกก็รรม

กับวิบาก

เรื่อง กิริยา กับปฏิกิริยา นั้น ไม่มีความหมาย เราเลิกพูดเสียได้

ไม่เกี่ยวกับสัตว์ทั่วไปโดยตรง เราจะต้องเห็นในการกระทำของเราเองนี้

ที่มันเกี่ยวกับเจตนานี้ เป็นกิริยาเฉยๆ อย่างนี้ อย่างว่า...

ตื่นขึ้นมาก็ล้างหน้า ถูฟัน อาบน้ำ อย่างนี้ การกระทำเหล่านี้เป็นกิริยาทั้งนั้น ไม่ได้เป็นกรรมอะไร

ต่อเมื่อเราคิดด้วยความต้องการ ด้วยความเกลียดชัง ด้วยความอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทำลงไปนั้น เป็นกรรม

ฉะนั้น ถ้าว่าเป็นการทำตัวเองให้เดือดร้อนปรากฏชัด ให้ผู้อื่น

เดือดร้อนปรากฏชัด ไม่มีใครปรารถนา บัณฑิตติเตียนกันโดยทั่วไปแล้ว

ก็เรียกว่า กรรมชั่ว, ถ้าเป็นกรรมดีก็หมายความว่าคนธรรมดาสามัญ หรือ

โดยสังคมทั่วไปต้องการกัน เรียกว่า กรรมดี มีวิบากดี มีผลดี, กรรมชั่ว

มีวิบากชั่ว มีผลชั่ว

แต่ถ้ามีอารมณ์ความรู้สึก ชอบ ชัง หรืออื่นๆ ถือว่า เป็นกรรมใช่ไหมจ๊ะ

การกระทำ ที่ไม่มีความรู้สึกชอบ ชัง หรืออื่นๆ เรียกว่ากิริยา

Page 19: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

18 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

เพราะไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จึงทำอะไรมั่วๆ ตามใจชอบ

กรรมที่เรารู้กันทั่วไปโดยมากก็๒กรรมคือกรรมดี กรรมชั่ว เรา

ต้องพูดกัน๒กรรมนี้ก่อนให้หมดปัญหาเรื่องนี้ไปเสียก่อน

ที่ว่า กรรมดีให้ผลดี กรรมชั่วให้ผลชั่วนั้น เถียงกันมามากในข้อ

ที่ว่าทำไมบางคนทำดีอยู่แท้ๆ ตั้งใจทำดีจริงๆ แล้วก็ทำอยู่ด้วย กลับมี

อันตรายมาถึงกลับมีทุกข์มาถึงมีความวิบัติมาถึงอย่างนี้ก็มีทำไมจึงไม่ได้ดี

แล้ว...

บางคนเป็นคนทุจริต ทำชั่ว ทำไมยังมีชื่อเสียงอยู่ ยังร่ำรวยอยู่ ยังสนุกสนานสรวลเสเฮฮาอยู่

ก็เลยเกิดไม่เชื่อขึ้นมาว่า กรรมดีนี้ให้ผลดี กรรมชั่วให้ผลชั่ว แล้วก็เลยไม่ถือกฎเรื่องนี้ ไม่เชื่อกฎเรื่องกรรม

แล้วก็ทำไปตามใจชอบ คือตามกิเลส อยากได้อย่างไรก็ทำอย่างนั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าดีหรือชั่ว เขาว่าเขาถูกของเขาเหมือนกัน

แล้วเขาก็ถือหลักอย่างนั้นอย่างนี้ก็มี แต่ขอให้เข้าใจว่า อย่างนั้นมันผิดหลักเรื่องกรรม

ทำชั่วยังได้ดี ผมไม่เชื่อเรื่องกรรม

หรอก ฮ่าๆๆ

Page 20: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

"ดี" หรือ "ชั่ว" อยู่ที่การกระทำ

กรรมดีมันต้องดีแน่ กรรมชั่วมันต้องชั่วแน่ เพราะว่าเราดีหรือชั่ว

อยู่ในตัวการกระทำแล้ว

การกระทำลงไปอย่างนี้ ได้ถูกบัญญัติรับรองกันทั่วไปว่ามันเป็น

กรรมชั่ว แล้วพอไปทำเข้ามันก็ชั่วอยู่ที่ตัวการกระทำแล้ว ไม่ต้องพูดถึงผล

ของมันก่อนกรรมชั่วก็เหมือนกันถ้ามันชั่วอยู่แล้วพอทำลงไปมันก็ชั่วทันที

ที่ทำ เพราะมันเป็นกรรมชั่วอยู่แล้ว ไปทำเข้ามันก็ชั่วแล้ว กรรมดีมันก็ดี

เมื่อกระทำนั้นเอง เพราะว่ามันเป็นกรรมที่ด ี ไปทำเข้าแล้ว ความดีในตัว

กรรมนั้นมันก็ทำให้คนนั้นดีได้ฉะนั้น...

ถ้ากันฟั่นเฝือละก็ จำไว้อย่างนี้ดีกว่าว่า “ทำกรรมดีก็ดี” “ทำกรรมชั่วก็ชั่ว”

อย่าไปเติมว่า “ทำกรรมดีได้ผลดี” “ทำกรรมชั่วได้ผลชั่ว” แล้วเขวไปว่าเป็นเงินเป็นทองอย่างนี้ อย่า อย่าเข้าใจอย่างนั้น

คือว่าทำกรรมดีก็ดี เพราะมันดีอยู่ในตัวกระทำ ทำกรรมชั่วก็ชั่ว เพราะชั่วในตัวการกระทำ

19

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว ไม่ใช่อยู่ที่เงินทอง รวยหรือจน นะครับ

Page 21: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

20 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

ดี-ชั่ว คือผลกรรมที่แท้จริง ทรพัยส์นิเงนิทองเปน็เพยีงผลพลอยได้

ทีนี้ผลที่เกิดขึ้นมาอันแท้จริงนั้น มันคือดีหรือชั่วในตัวกรรมนั่นเอง

แต่มันมีผลหลอกลวงอีกชนิดหนึ่ง คือ ของที่ตามมาทีหลัง เช่น เงินทอง

ชื่อเสียงทรัพย์สมบัติอะไรเหล่านี้มันไม่แน่อย่างนี้อันนี้ไม่แน่บางทีไม่ได้

ก็มี ทำกรรมดีเป็นคนดีเสร็จแล้วแต่ไม่ได้เงิน ไม่ได้ชื่อเสียง ไม่ได้อะไรก็มี

ทำกรรมชั่วก็เหมือนกัน ชั่วเสร็จไปแล้วแต่ไม่ถูกลงโทษ ไม่ถูกเฆี่ยนถูกตี

ไม่ถูกประณาม ไม่เสียหายเสียเงินอะไรก็ม ี นั่นมันอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้ยุติ

ตรงที่ว่า

ถ้าทำกรรมดีก็เป็นคนดี เพราะมีการกระทำดี ทำกรรมชั่วก็เป็นคนชั่ว เพราะมีการกระทำชั่ว

ทีนี้ ผลเป็นวัตถุสิ่งของเช่นนั้น เรียกว่า พลอยได้มา ถ้าสมมติว่า ได้เงินมาจากการทำดี เงินนั้นก็ต้องเป็นเงินดีเหมือนกัน

กรรมดีทำให้คนเป็นคนดี

สาธุ

Page 22: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

21 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

ผลพลอยได้ก็มีดี-ชั่ว ตามการกระทำ

ขอให้ลองคิดดูเพราะมันเป็นเงินสะอาดเอามาใช้มากินเอามาให้ลูก

ให้เมียกิน มันก็ไม่สกปรกอะไร ก็เป็นคนดีอยู่ ทีนี้ถ้าไปทำชั่วแล้วได้เงินมา

เงินนั้นมันไม่สะอาดมันเป็นเงินสกปรกเอามากินเองใช้เองหรือให้ลูกเมียกิน

มันก็พลอยสกปรกไปด้วย มันเป็นเลือดเนื้อที่ชั่วไปตามเงินที่ซื้อของมากิน

ด้วย

ทีนี้ ส่วนที่คนอื่นเขาจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ เขาเข้าใจเป็นอย่างอื่นนั้น มันเป็นเรื่องสับปลับของสังคม

ไม่ใช่เรื่องกรรม ไม่ใช่เรื่องของกรรม เรื่องของกรรมต้องแน่นอนที่ว่า

ทำดีแล้วก็ต้องดี ทำชั่วแล้วก็ต้องชั่ว ถ้ามีผลพลอยได้อะไรตามมา มันก็ต้องพลอยดีและพลอยชั่ว

ตามกรรมที่กระทำนั้น

แล้วเงินของรัฐบาลไทยอย่างเดียวกันนี่แหละ มันกลายเป็นเงินดี

หรือเงินชั่วไปก็ได้ แล้วแต่มูลเหตุที่เป็นเหตุที่ได้มานี้เป็นการทำความเข้าใจ

ในเรื่องคำสอนที่ว่าทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว ทั้งสองกรรมนี้ ล้วนแต่ทำให้มีผลดี

ผลชั่ว แล้วก็ปรุงแต่งการเกิดใหม่ทั้งนั้น

ความสุขความทุกข์มีลาภ เสื่อมลาภมียศ เสื่อมยศสรรเสริญ นินทา ที่เรากำลังประสบอยู่ ล้วนเป็นมรดกแห่งกรรมของเราทั้งสิ้น ถ้าไม่เคยทำกรรมใดไว้วิบากนั้นจะไม่เกิดกับเราแน่นอน

Page 23: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

22 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

“อริยมรรค” กรรมที่อยู่เหนือดี เหนือชั่ว

ทีนี้อยากจะกล่าวเลยไปถึงกรรมที่ตรงกันข้ามอีกพวกหนึ่ง เรียก

ง่ายๆว่ากรรมที่ ๓

กรรมที่๑คือกรรมดีกรรมที่๒คือกรรมชั่วคู่นี้ธรรมดาสามัญ

เป็นเรื่องโลกๆ ทีนี้กรรมที่ ๓ นี้ หรือว่ากรรมที่ตรงกันข้ามนั้น เขาเรียกว่า

กรรมไม่ดีไม่ชั่ว กรรมไม่ดำไม่ขาว เพราะว่าไม่อาจจะบัญญัติลงไปได้ว่า

กรรมดำหรือกรรมขาวกรรมดีหรือกรรมชั่วนี้ได้แก่การปฏิบัติธรรม(คอย

ฟังดูให้ดี) “ชนิดที่ทำให้อยู่เหนือกรรม ชนิดที่ทำให้อยู่เหนือโลก” ถ้าเรียก

อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า“ชนิดที่ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพาน”

การปฏิบัติที่มุ่งไปเพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง ไม่มุ่งเพื่อเกิดใหม่

เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็เรียกว่าเป็นกรรมที่ไม่บัญญัติได้ว่าดีหรือชั่ว

เพราะว่ามุ่งหมายที่จะขึ้นเหนือความดีความชั่วอย่างนี้เรียกว่า“อริยมรรค”

ท่านควรจะจดหรือจำไว้เลยว่า

“อริยมรรค*” นั้นคือ กรรมที่ ๓ ที่ไม่ดี ไม่ชั่ว ใครไปทำกรรมที่ ๓ นี้เข้าแล้ว

จะอยู่เหนือโลก จะอยู่เหนือกรรม แล้วจะนิพพาน

* อริยมรรคมีองค์ ๘=ศีลสมาธิปัญญามีอะไรบ้าง?อ่านรายละเอียดที่หน้า

๕๘และอ่านเพิ่มเติมได้ในธรรมบรรยายของหลวงพ่อพุทธทาสคู่มือมนุษย์ ฉบับ

อ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) โดยสำนักพิมพ์

เลี่ยงเชียง

Page 24: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

23 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

อริยมรรค คืออาวุธทำลายกิเลสตัณหา

ดังนั้น จะเห็นได้ทันทีว่ากรรมชนิดนี้ไม่ค่อยมีใครสนใจ และไม่เคย

ได้ยินได้ฟังด้วยซ้ำไปสำหรับบางคน จึงควรทราบไว้ เป็นกรรมที่ทำให้เป็น

พระอริยบุคคล อยู่เหนือดีหรือชั่ว เขาไม่นิยมบัญญัติพระอริยบุคคล*

พระอรหันต์ หรือมรรคผลนิพพานนี้ว่าดีหรือชั่วอย่างเดียวกับกรรมทั้งสอง

อย่างข้างต้น เพราะว่า

มันเป็นไปเพื่อไม่เกิด มันเป็นไปเพื่อหยุดเกิด และอยู่เหนือความเกิด อยู่เหนือโลก

อยู่เหนือทุกข์ อยู่เหนืออะไรทุกอย่างเลย เหนือกิเลสตัณหา เหนืออะไรหมด

มันฆ่ากิเลสตัณหาด้วย “อริยมรรค” นี่ เหมือนกับไฟที่เผากิเลสตัณหา

อริยมรรคนี่เหมือนกับอาวุธที่ทำลายกิเลสตัณหา เหมือนกับอะไรก็ตามเถอะที่ทำลายกิเลสตัณหา

นี้เป็นกรรมที่ ๓กรรมนี้ไม่ปรุงแต่งสัตว์ เพราะฉะนั้นที่ว่าเวียนว่าย

ตายเกิดไปตามกรรมนั้น มันหมายถึงกรรม ๒ อย่างข้างต้นเท่านั้น คือ

กรรมดีกรรมชั่วเท่านั้นส่วนกรรมที่๓คืออริยมรรคโดยตรงนี้ไม่ปรุงแต่ง

สัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิด มันออกจะแปลก หรือว่าออกจะทำให้เข้าใจ

ไม่ค่อยได้สำหรับผู้ที่ไม่เคยฟัง แต่ถ้าฟังให้ดีแล้วก็จะเข้าใจได้

*ลำดับขั้นของพระอริยบุคคล ได้แก่ พระโสดาบันพระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์อ่านรายละเอียดที่หน้า๕๙-๖๐

Page 25: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

24 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

หลักกรรมที่สมบูรณ์ มีสอนในพุทธศาสนาเท่านั้น

อาตมามีความหวังว่า ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษานี้ ควรจะมีความรู้

เรื่องกรรมถึงขนาดนี้ไม่ใช่มีความรู้อย่างเด็กๆทั่วไปคนทั่วๆไปที่รู้แต่เพียง

ทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าพูดเพียงเท่านั้นในศาสนาอื่น

ก็มี

ในศาสนาไหนก็ตาม จะต้องสอนเรื่องทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว ทั้งนั้น ฉะนั้น เรื่องกรรมชนิดนั้น ยังไม่ใช่ของพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์

เพราะมันเป็นของทุกศาสนา ทุกๆ ศาสนา แต่ถ้าพอเอากรรมที่ ๓ เข้ามากล่าวกันด้วยแล้วละก็

เราก็พูดว่า มันไม่มีกรรม แต่กรรมชนิดนี้ไม่มีในศาสนาอื่น และมีในพุทธศาสนา เราจึงเรียกว่า หลักกรรมที่สมบูรณ์

ในพระพุทธศาสนานั้นต้องกล่าวครบอย่างนี้ คือต้องกล่าวถึงกรรมดี

กรรมชั่ว แล้วก็ต้องกล่าวถึงกรรมอีกประเภทหนึ่งซึ่งมันล้างหมดทั้งกรรมดี

และกรรมชั่ว จนอยู่เหนือกรรม จึงจะเป็นกรรมโดยสมบูรณ์ในพระพุทธ-

ศาสนา

เรื่องกรรมที่สมบูรณ์ในพระพุทธศาสนา นำมากล่าวเพื่อความ

สมบูรณ์ในความรู้เรื่องกรรมตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา แล้วก็จับกัน

ให้ได้ว่ามันตรงกันข้ามอยู่ กรรมทั่วๆ ไป ดีชั่วทั่วๆ ไปนั้น มันปรุงแต่งสัตว์

ให้เกิดกรรมที่ ๓ นี้ มันไม่ปรุงแต่งสัตว์ให้เกิด

Page 26: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

25 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

กรรมมีมากมาย ต่างชิงชัยให้ผล

ทีนี้ย้อนไปพูดถึงเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว ซึ่งมีปัญหามากต่อไปอีกหน่อย

การให้ผลของกรรมก็สับปลับขอให้จดประโยคนี้ หรือจำประโยคนี้

ไว้ว่า แม้การให้ผลของกรรมก็สับปลับ ทำไมจึงว่าอย่างนี้ เพราะว่ามัน

ทำกรรมมาก คนคนหนึ่งทำกรรมมาก ในวันหนึ่งๆ ก็ยังมีหลายกรรม เป็น

เดือนเป็นปีเป็นสิบๆปีอย่างนี้มันก็มากมายมันเลยสับปลับในการชิงกัน

ให้ผล

กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา

ทีนี้ถ้าอยากจะศึกษาเพื่อกันความเข้าใจผิดเป็น“มิจฉาทิฏฐิ” โดย

ไม่ไปหลงเชื่อว่ากรรมไม่มี กรรมไม่ให้ผลอะไรทำนองนี้ละก็ ท่านแนะให้

พิจารณาว่าการให้ผลของกรรมนี้อาจจะแบ่งได้เป็นพวกๆ เช่นว่า การให้ผล

ตามเวลาการให้ผลตามเวลานี้...

๑. กรรมบางกรรม

ให้ผลทันตาเลย

๒. แล้วกรรมบางกรรม

ให้ผลในชาติถัดไป

นี่แน่ะ ! ไอ้หัวขโมย !

อานิสงส์บุญ จะส่งถึงภพหน้า

นะโยม

ทำดีแล้ว ใจเป็นสุขทันที

Page 27: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

26 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

๓. แล้วก็กรรมบางกรรมนั้น ยังล้าหลังไปกว่านั้นอีก ยังจะให้ผล

ในหลายๆ ชาติถัดๆ ไปเหมือนกับที่เรียกว่าสุนัขไล่เนื้อเมื่อไล่ทันจึงจะกัด

อย่างนี้เป็นต้น

๔. แล้วกก็รรมบางชนิด

ก็ให้ผลเสร็จไปแล้วง่ายๆ

ด้วยการยกเลิกไปเหมือนกับโจทก์จำเลย

ประนีประนอมยอมความกันเสีย

พริบตาเดียวก็เสร็จอย่างนี้ก็มี

เช่นเราไปล่วงเกินเขาด้วยวาจา

แล้วเราก็เอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาโทษเขา

กรรมนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไปคือให้ผลเสร็จเลิกร้างกันไป

นี่ก็เป็นหลักของกรรมในหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่าอโหสิกรรม

คือกรรมที่เลิกร้างกันไปแล้ว

ทั้ง ๔ อย่างเรียกว่าตามเวลา ตัวอย่างแรก ทันตาเห็นในชาตินี้

อย่างที่๒ชาติหน้าอย่างที่๓ชาติถัดๆไปไม่รู้เมื่อไรแล้วอย่างที่๔ก็คือ

ให้ผลเสร็จไปชั่วแวบเดียวชั่วไม่กี่นาทีอย่างนี้เช่นไปขอโทษก็เลิกกันอย่างนี ้

โกงแล้วรวย อิอิ

...ชาตินี้... ...ชาติหน้า...

ไม่น่า คดโกงเลยเรา

ผมขอขมา ที่พูดล่วงเกิน คุณครูครับ

ครูยกโทษให้นะ

Page 28: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

27 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่

ทีนี้ถ้าเอาตามหน้าที่ การให้ผลของกรรมตามหน้าที่ของมันนั้น

มันมีอยู่ว่า

๑. กรรมบางกรรมนั้น มันให้ผลเป็นการช่วยตบแต่งให้เกิดมา

กรรมบางกรรมให้ผลได้แต่ในลักษณะเป็นการช่วยตบแต่งให้เกิดขึ้นมานั้น

๒. ทีนี้กรรมบางกรรมมันให้ผลในทางที่ช่วยอุปถัมภ์ ช่วยอุปถัมภ์

ให้ยิ่งขึ้นไปถ้าเกิดมาอย่างไรแล้วก็อุปถัมภ์ให้มันยิ่งขึ้นไปนี่กรรมบางกรรม

คือว่ากรรมชนิดนี้มันช่วยทำให้เกิดไม่ได้ ไม่เหมือนกรรมทีแรก แต่มันช่วย

อุปถัมภ์ให้แรงขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเกิดเป็นมนุษย์ได้ เพราะรักษาศีล ๕

ใช่ไหม ?

ใช่แล้ว ให้ตั้งใจ รักษาศีล ๕ แล้วอย่าลืมเจริญสมาธิ

เจริญปัญญานะคะ

การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ช่วยให้ชีวิตมีแต่สิ่งดีๆ

นะครับ

Page 29: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

28 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

๓. ทีนี้กรรมถัดไปอีกมันช่วยตัดทอน มันช่วยตัดทอนให้น้อยลง

เช่นว่า เกิดมาดีมันตัดทอนให้ดีน้อยลง เกิดมาชั่วมันตัดทอนให้ชั่วน้อยลง

อย่างนี้เป็นต้นนี้เรียกว่ากรรมตัดทอน

๔. ทีนี้มีกรรมอีกกรรมหนึ่งก็คือว่ากรรมตัดขาดเลย ซึ่งส่วนมาก

มักจะเป็นกรรมชั่ว ตัดทอนความดีให้ขาดไปเลย จนไม่มีโอกาสที่จะรับผล

เช่นว่าเขาทำดีนิดเดียวๆๆๆๆนี่แล้วเขาทำชั่วอย่างยิ่งทีเดียวมันก็สามารถ

ตัดทอนกรรมดีทั้งหมดได้ หรือทำชั่วนิดเดียวๆๆทำกรรมดีอย่างใหญ่หลวง

ก็สามารถตัดทอนทีเดียวได้อย่างนี้เป็นต้น

กลุ่มนี้จึงมีว่า กรรมตบแต่งให้เกิดขึ้นมา แล้วกรรมช่วยส่งเสริม

มันขึ้นไป แล้วกรรมที่กดมันลงมา แล้วกรรมชนิดตัดขาดเลย นี่ตามหน้าที่

มีอยู่ ๔ อย่าง

เจ็บป่วยบ่อยๆ เพราะกรรมเคยทำร้ายสัตว์ ให้ปล่อยสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า

แล้วจะช่วยได้นะคะ

โกงเงินบริษัท เพราะเป็นหนี้เหรอ ?

ใช่แล้ว ไม่น่าทำเลย เป็นถึงพนักงานดีเด่น

ของบริษัทแท้ๆ

Page 30: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

29 บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

กรรมที่ให้ผลตามน้ำหนัก

อนันตริยกรรมหมายถึงกรรมหนักที่สุด (ฝ่ายบาปอกุศล)ซึ่งให้ผลทันทีมี๕อย่างคือ๑.มาตุฆาต-ฆ่ามารดา๒.ปิตุฆาต-ฆ่าบิดา ๓.อรหันตฆาต-ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท-ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ๕.สังฆเภท-ยุยงทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน

๑. ทีนี้ถ้าว่ากล่าวตามน้ำหนักเขาจัดไว้ว่าเป็นกรรมหนัก

อย่างหนึ่ง

๒. และถัดไปก็คือกรรมเบานี้ตามน้ำหนักแล้ว

น้ำหนักมากน้ำหนักน้อยแล้ว

แม่ ! จะบ่นอะไรนักหนา ไปตายซะไป !

ฮ่าๆๆ เป็นหมา ก็แต่งหน้าทาปาก ได้นะโว้ย ฮ่าๆๆ

Page 31: ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

30 ทำอย่างไร ไม่เกิดอีก

๓. ทีนี้กรรมที่ใกล้ตาย ที่ทำเมื่อใกล้ตาย นี้ไม่เกี่ยวกับหนักหรือ

เบา บางทีมันเป็นกรรมเบาแท้ๆ ไม่ใช่กรรมหนักอะไรเลย แต่มันเผอิญไป

ทำเข้าเมื่อใกล้ตาย มันก็มีทางที่จะให้ผลได้เร็วกว่ากรรมหนักที่มีอยู่ก็ได้

ก่อนกรรมหนักที่มีอยู่ก็ได้ ซึ่งทำให้สับปลับได้ ซึ่งเขาเปรียบว่าเหมือนกับวัว

แม้แต่เป็นลูกวัวตัวเล็กๆ ถ้ามันอยู่ที่ประตูอยู่แล้ว พอเปิดประตู มันก็ออก

ได้ก่อนวัวตัวใหญ่ที่แข็งแรง เพราะมันอยู่ชิดประตู อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็น

คำเปรียบ

๔. ทีนี้อีกกรรมหนึ่งก็เรียกว่ากรรมที่สักแต่ว่าทำ คือว่าไม่มีเจตนา

ที่จะทำ แต่มันมีความไม่ดีอย่างอื่น เช่น ความสะเพร่า ซึ่งเราเอาโทษเขา

แต่ตรงที่ความสะเพร่า แต่ไม่เอาโทษเขาว่าเขาเป็นผู้ฆ่าคน อย่างนี้เป็นต้น

แต่เขาทำให้คนตายได้เหมือนกันอย่างนี้ก็เรียกว่ากรรมที่สักว่ากระทำ

อาตมาบอกชื่อเป็นไทยๆ ทั้งนั้น เพราะถ้าบอกชื่อเป็นบาลีแล้ว

มันยาว มันยุ่ง กลุ่มนี้ก็มีว่า กรรมหนัก กรรมเบา กรรมเมื่อใกล้ตาย

แล้วกรรมที่สักว่าทำ ที่แท้ก็ไม่ใช่กรรม แต่สักว่ากรรม เช่น การสะเพร่า

เป็นต้น

ภาวนา “พุทโธ” ก่อนตาย ไปสู่สุคติแน่นอน พุท...โธ

พุท...โธ