การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:...

6
1 การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝ่ง ทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศไทยกับต่างประเทศ (Mitigation and Adaptation to Coastal Erosion Resulting from Climate Change: A Comparative Study between Thailand and USA, the Netherlands, France, Sri Lanka and Vietnam) โดย เชิญ ไกรนรา สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง 16 มกราคม 2557

description

Mitigation and Adaptation to Coastal Erosion Resulting from Climate Change: A Comparative Study between Thailand and USA, the Netherlands, France, Sri Lanka and Vietnam

Transcript of การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:...

Page 1: การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:

1

การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง

ประเทศไทยกับต่างประเทศ (Mitigation and Adaptation to Coastal Erosion Resulting from Climate Change: A Comparative Study between Thailand and USA, the Netherlands, France, Sri Lanka

and Vietnam)

โดย เชิญ ไกรนรา

สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง

16 มกราคม 2557

Page 2: การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:

2

การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจาก สภาวะโลกร้อน: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ

การกัดเซาะชาย ฝั่งทะเลเป็นปัญหาที่เกิดในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย มาหลายทศวรรษ หลายประเทศสูญเสียงบประมาณจ านวนมากไ ปกับการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูกมายาวนาน บทความนี้จึงใคร่ขอน าเสนอการศึกษาเปรียบเทียบ บทเรียน ของการจัดการและแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศซึ่ง เป็นประโยชน์ส าหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีหรือการเรียนรู้ความล้มเหลวในต่างประเทศ และอาจประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทยตามความเหมาะสมของพื้นที่เพ่ือน าไปสู่การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน

1.บทเรียนการบรรเทาและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝ่ังทะเลในต่างประเทศ 5 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศฝร่ังเศส ประเทศศรีลังกาและประเทศเวียดนาม 1.1 ประเทศสหรัฐอเมริกา การกัดเซาะชายฝั่งทะเลเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศโดยมีสาเหตุส าคัญมาจากลมมรสุมขนาดใหญ่ น้ าท่วม แรงคลื่น ระดับน้ าทะเลที่สูงข้ึนและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ท่ีดินของมนุษย์ อัตราการกัดเซาะและผลกระทบจะเกิดขึ้นรุนแรงเฉพาะพื้นท่ี เช่น อัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเฉลี่ย 25 ฟุตต่อปีบนเกาะนอกชายฝั่งทะเลของภาคตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วย 3 รัฐคือ รัฐเซาแคโรไลน่า รัฐจอร์เจียและรัฐฟลอริด้า และอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 50 ฟุตต่อปีตามแนวชายฝั่งทะเลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งประกอบด้วยรัฐอินลินอย รัฐนิวยอร์ก รัฐนอทแคโรไลน่าและรัฐเพนซิวเวเนีย การกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้ส่งผลกระทบระยะยาวท้ังด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม โดยพื้นท่ีที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากหากมีการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแค่ 1 หรือ 2 ฟุต จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อที่อยู่อาศัยของประชาชน ในแต่ละปีการกัดเซาะชายฝั่งทั่วประเทศท าให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินประมาณปีละ 16 ,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงความเสียหายที่เกิดต่อโครงสร้างและการสูญเสียที่ดิน เพ่ือบรรเทาความเสียหายดังกล่าวรัฐบาลกลางสหรัฐได้จัดสรรงบประมาณเฉลี่ยปีละ 4 ,800 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส าหรับเติมทรายและมาตรการควบคุมการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอื่นๆ แม้ว่าได้มีความ พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเมื่อปี พ.ศ.2543 ศู นย ์HEINZ CENTER ได้ท าการศึกษาเพื่อประเมินอันตรายจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลให้แก่องค์การจัดการภัยพิบัติกลางของสหรัฐอเมริกาและพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจะท าให้บ้านเรือนของประชาชน 1 หลังจากทุกๆ 4 หลัง ซึ่งมีระยะห่าง 500 ฟุต จากชายฝั่งทะเลของสหรัฐฯ จมหายไปในทะเลภายในกลางศตวรรษท่ี 21

แนวทางการบรรเทาและการปรับตัว หากพ้ืนท่ีใดมีหลักฐานชัดเจนว่ามีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอยู่ในระดับที่ไม่อาจแก้ไขได ้รัฐบาลจะด าเนินการตามขั้นตอนคือ (1) ให้จ ากัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นการช่ัวคราวโดยการก่อสร้างโครงสร้างเพื่อการป้องกัน (2) ท าโครงการเติมทรายหรือสร้างหาดทรายเทียม (Beach-nourishment) พร้อมกับท าการศึกษาถึงผลกระทบจากการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะลุกลามและศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และ (3) ถ้าประสบผลส าเร็จให้ด าเนินการต่อถ้าเกิดผลเสียให้ยกเลิกหรือรื้อถอนโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะนั้นออกไป โดยจุดแข็งของการจัดการชายฝั่งของสหรัฐอเมริกาได้แก ่( 1) ความชัดเจนในบทบาทของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นในการดูแลชายฝั่งทะเลโดยมีกฎหมายที่ใช้ร่วมกันในระดับภาพรวมและในระดับมลรัฐที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล (2) มีกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์และควบคุมการใช้ทรัพยากรชายฝั่งโดยเฉพาะพื้นทีท่ี่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ เช่น Coastal Barrier Resources Act,1982 รวมทั้งพื้นทีท่ี่มีความเปราะบางอ่ืนๆ เช่น แนวสันทรายชายฝั่งและสันทรายปากแม่น้ า ( 3) มีแนวปฏิบัติที่น าองค์ความรู้ทางวิชาการมาประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาในกรณีต่าง ๆ เช่น สนับสนุนเงินงบประมาณให้มลรัฐท าการศึกษาทดลองแก้ปัญหาก่อนการปฏิบัติจริง (4) สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเฝ้าระวังพื้นที่ชายทะเลในรูปแบบของกองทุนอย่างต่อเนื่อง ในบางมลรัฐจะมีกฎหมายควบคุมไม่อนุญาตให้ก่อสร้างโครงสร้างในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น North Carolina Law

Page 3: การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:

3

เพราะมีผลการศึกษาชัดเจนว่าโครงสร้างไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะแต่กลับสร้างปัญหาการกัดเซาะพื้นท่ีข้างเคียงเพิ่มขึ้น และ (5) ก าหนดระยะถอยร่นของชายทะเลเพื่อควบคุมสิ่งปลูกสร้างชายทะเลในรัฐต่างๆแบ่งออกเป็น 1) รัฐที่ก าหนดระยะแบบตายตัว เช่น รัฐเมน 75 ฟุต รัฐเดลลาแว 100 ฟุต รัฐอลาบามา 120-450 ฟุต และ 2) รัฐที่ก าหนดระยะแบบไม่ตายตัว เช่น รัฐนิวยอร์ก 25 ฟุต + 40 เท่าของอัตรากัดเซาะต่อป ีรัฐนอทแคโรไลน่า 120 ฟุต หรือ 60 เท่าของอัตราการกัดเซาะต่อปี รัฐโรดไอแลนด์ 50 ฟุต หรือ 30 เท่าของอัตราการกัดเซาะต่อปี รัฐนิวเจอร์ซี ่ 50 เท่าของอัตราการกัดเซาะต่อปี โดยการขออนุญาตสร้างสิ่งปลูกสร้างภายหลังประกาศข้อก าหนดนี้จะไม่อนุญาตให้สร้างใกล้กว่าระยะถอยร่นที่ก าหนดไว้ในทุกกรณ ี ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ก่อนข้อบังคับอาจถูกให้รื้อถอนบางส่วนออกตามความเหมาะสม การพิจารณาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่แล้วนั้นจะใช้ความเข้มงวดกับสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่มากกว่าสิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก เช่น บ้านเรือนซึ่งมักจะได้รับการผ่อนปรน 1.2 ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับผลกระทบจากน้ าท่วมและการกัดเซาะชายฝั่ง ในอดีตพายุหมุนจากทะเลและน้ าท่วมได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงและท าให้มีผู้เสียชีวิต โดยร้อยละ 60 ของประชากรทั้งประเทศอาศัยอยู่ในพ้ืนท่ีต่ ากว่าระดับน้ าทะเลและประมาณร้อยละ 65 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเกิดจากพ้ืนท่ีชายฝั่งทะเล แนวทางการบรรเทาและการปรับตัว ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ใช้เงินลงทุนจ านวนมากเพื่อ ก่อสร้างแนวป้องกันชายฝั่งโดยใช้วิธีการผสมผสานกันทั้งวิศวกรรมที่ใช้โครงสร้างและวิศวกรรม แบบไม่ใช้โครงสร้าง โดยแนวป้องกันชายฝั่งที่มีช่ือเสียงท่ีสุดคือโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ าไรน์-เมิส-เชลดา หรือท่ีรู้จักกันทั่วไปว่า Delta Works เพื่อกั้นการท่วมของน้ า

ทะเล โดยโครงการประกอบด้วยการสร้างเขื่อน ประตูปิด-เปิดน้ าและพนังกั้นน้ า ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันชายฝั่งในพื้นที่ปากแม่น้ าทางตอนใต้หลังจากประสบปัญหาอุทกภัยร้ายแรงในปี พ.ศ.2496 และสะท้อนความก้าวหน้าทางวิศวกรรมซึ่งถือได้ว่าเป็น 1 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามชายฝั่งทะเลพื้นที่อ่ืนๆได้รับการจัดการด้วยวิธีการทางวิศวกรรมแบบไม่ใช้โครงสร้าง เช่น วิธีการจัดการชายหาดเพื่ออนุรักษ์กระบวนการทางธรรมชาติและภูมิทัศน์ชายหาด หรือการจัดการระยะถอยร่นในพ้ืนท่ีชายหาดฟรีเซียน (Frisian) ทางภาคเหนือของประเทศ เป็นต้น 1.3 ประเทศฝร่ังเศส มีชายฝั่งทะเลยาว 5 ,500 กม. โดยจ าแนกชายฝั่งทะเลออกเป็น 4 ลักษณะคือ ภูเขาหิน หน้าผา ชายหาดแบบเปิดและหาดเลน ปัจจุบันยังขาดสถิติและข้อมูลที่เช่ือถือได้เกี่ยวกับสถานการณ์และระยะทางของชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะทั้งประเทศ แต่พบว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งปรากฏชัดเจนในหลายพื้นท่ีของเมดิเตอเรเนียน นอมังดีและพื้นที่ตอนเหนือของประเทศ แนวทางบรรเทาและการปรับตัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 เป็นต้นมาฝรั่งเศสได้ปรับเปลี่ยนการจัดการชายฝั่งจาก “แนวทางแบบต้านธรรมชาต”ิ มาเป็น “แนวทางที่สอดคล้องกับธรรมชาต”ิ มากข้ึน โดยสนับสนุนให้มีการคาดการณ์สถานการณ์ การสร้างแนวป้องกันท่ีใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมให้น้อยลงและการสร้างความรู้เกี่ยวกับระบบธรรมชาติต่างๆมากยิ่งขึ้น การจัดการ

ชายฝั่งของฝรั่งเศสในปัจจุบันอยู่ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบจ านวนมาก ตามกฎหมายชุมชนท้องถิ่นได้รับอนุญาตให้จัดท าแนวป้องกันชายฝั่งเพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันของชุมชนเมื่อมีความจ าเป็น โดยเทศบาลหรือชุมชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างแนวป้องกันชายฝั่งและอาจได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากจังหวัด จากกรณีพายุเฮอริเคนซินเทียได้พัดถล่มชายฝั่ง Charente เมือปี 2553 ได้กระตุ้นให้รัฐบาลกลางและหน่วยงานท้องถิ่นจ าเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ท้ังระยะกลางและระยะยาวเพื่อผลักดันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้เป็นประเด็นส าคัญระดับประเทศ หลังจากน้ันในปี 2555 รัฐสภาของฝรั่งเศสได้เผยแพร่รายงานหลายฉบับเพื่อใช้เป็นแนวทางส าหรับการก าหนดยุทธศาสตร์การจัดการชายฝั่งทะเลระดับชาต ิ การจัดท าแนวถอยร่นเชิงยุทธศาสตร์และการจัดท าแนวป้องกันชายฝั่งทะเล

Page 4: การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:

4

1.4 ประเทศ ศรีลังกา มีชายฝั่งทะเลเป็นระยะทาง 1 ,562 กม. มีชายฝั่งท่ีประสบปัญหาการกัดเซาะดับปานกลางถึงระดับรุนแรงระยะมีทางยาว 500 กม. โดยประมาณร้อยละ 65 ของพื้นที่เมืองตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ประชากรประมาณร้อยละ 40 ของประเทศหรือประมาณ 7.2 ล้านคน อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่กรุงโคลัมโบถึงเมืองกาลลีซึ่งเป็นพ้ืนท่ีที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุด โดยสาเหตุหลักของการกัดเซาะชายฝั่งเกิดจากลมมรสุม การท าเหมืองทราย การสร้างท่าเรือ และสิ่งปลูกสร้างรุกล้ าเขตชายฝั่ง ที่ไม่เหมาะสม การขุดปะการัง รวมถึงการป้องกันชายฝั่งด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมท าให้เกิดผลกระทบแบบลูกโซ่ ปัจจุบันระดับน้ าทะเลที่สูงข้ึนได้เพิ่มความเสี่ยงให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีความรุนแรงมากข้ึน

แนวทางการบรรเทาและการปรับตัว ประเทศศรีลังกาออกกฎหมายอนุรักษ์ชายฝั่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 โดยให้กรมอนุรักษ์ชายฝั่งมีอ านาจควบคุมและจัดการปัญหาตามกฎหมาย มีการก าหนดระยะถอยร่นห่างชายฝั่งเพื่อเป็นแนวป ฏิบัติในการใช้ประโยชน์ไว้อย่างชัดเจน โดยขอบเขตชายฝั่งวัดจากระยะทาง 300 ม. จากระดับน้ าขึ้นสูงสุดเข้าสู่ฝั่ง และวัดออกจาก ระดับน้ าขึ้นสูงสุดออกสู่ทะเลระยะทาง 2 กม.การจะสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในเขตพื้นท่ีดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมาได้จัดท าแผนจัดการชายฝั่งทะเลทุกระยะเวลา 5 ปี โดยมีเป้าหมายส าคัญเพื่อควบคุมการกัดเซาะ การจัดการที่อยู่อาศัย การป้องกันทัศนียภาพชายฝั่งทะเล สถานท่ีส าคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ตลอดทั้งสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นท่ีเฉพาะชายฝั่งทะเลและการเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อปรับตัวจากผลกระทบของสภาวะโลกร้อนและระดับน้ าทะเลที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น 1.5 ประเทศเวียดนาม เป็นหนึ่งในประเทศท่ีมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนมากท่ีสุดโดยมี 28 จังหวัดชายฝั่งทะเลรวมระยะทางยาว 3 ,200 กม. สาเหตุหลักของการกัดเซาะชายฝั่งเกิดจากลมมรสุมที่มีบ่อยข้ึนและรุนแรงมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากทรายและปะการังเกินควร การตัดป่าไม้โกงกางและการเพิ่มจ านวนของรีสอร์ทบริเวณชายฝั่งทะเลอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน มี 7 จังหวัดที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมากที่สุดคือ จังหวัดบินเทือง จังหวัดกวางนัม จังหวัดกวางไน จังหวัดพูเย็น จังหวัดทานเหือ จังหวัดเตียงเกียงและจังหวัดเทือเทียนเว้ โดยจังหวัดทานเหือและจังหวัดเตียงเกียงมีชายฝั่งถูกกัดเซาะระหว่าง 15-30 ม./ปี ส่วนกรุงโฮจิมินห์ซิตี้และจังหวัดทราวินห์มีชายฝั่งถูกกัดเซาะระหว่าง 10-20 ม./ปี ส าหรับจังหวัดเทือเทียนเว้มีพ้ืนท่ีชายฝั่งถูกกัดเซาะเป็นระยะทางยาว 30 กม.

แนวทางการบรรเทาและการปรับตัว ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาเนื่องจากประชาชนยังไม่ตระหนักถึงความส าคัญของการบรรเทาผลกระทบท าให้สถานการณ์เป็นไปในทางที่แย่ลง นอกจากนี้ยังประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดความซ้ าซ้อนและความไม่ต่อเนื่องของนโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมท าให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดแผนยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระดับชาติ โดยรัฐบาลเวียดนามได้ให้ความส าคัญกับการแก้ไขปัญหานี้แต่ด าเนินการได้อย่างล่าช้าเนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศซบเซาท าให้ในปัจจุบันต้องอาศัยความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า 2. การเปรียบเทียบ บทเรียน การบรรเทาและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝ่ังทะเลระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศฝร่ังเศส ประเทศศรีลังกาและประเทศเวียดนาม 2.1 ความคล้ายคลึง ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศเหล่านี้ต่างประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง และจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลกและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ าทะเลส่งผลให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีความรุนแรงมากข้ึนจนกลายเป็นปัญหาระดับชาติ โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศเหล่านี้ได้ใช้เงินงบประมาณ

Page 5: การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:

5

จ านวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบ รวมทั้งมีความพยายามจัดท ามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาตามสภาพของพื้นที่ชายฝั่งทะเลแต่บางพ้ืนท่ียังไม่สามารถหยุดยั้งการกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้ จึงจ าเป็นต้องเรียนรู้ ทดลองและคิดค้นวิธีการเพื่อการ การบรรเทาและการปรับตัวท่ีเหมาะสมและยังยืน 2.2 ความแตกต่าง ด้านการบรรเทาและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของแต่ละประเทศมีดังน้ี

ประเทศไทย ได้จัดท าแผนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลระดับชาติแต่ยังไม่มีกฏหมายเฉพาะในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลของชาติโดยองค์รวมที่เป็นการจัดการทั้งระบบนิเวศ ไม่มีการก าหนดระยะถอยร่น และยังขาดการบูรณาการของกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการจัดการปัญหาและการปรับตัวจากผลกระทบ ส่วนใหญ่จัดท าโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยวิธีการทางวิศวกรรมที่ใช้โครงสร้างโดยไม่ค านึงถึงขอบเขตของผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแทรกแซงธรรมชาติโดยไม่จ าเป็น นอกจากน้ียังขาดการควบคุมการใช้ประโยชน์พ้ืนท่ีชายทะเลอย่างเหมาะสมและสังคมยังขาดความรู้ความเข้าใจท่ีถูกต้องในระบบนิเวศของหาดทรายธรรมชาติ

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการก าหนดขั้นตอนและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน ส่งเสริมการท าโครงการเติมทรายและลดการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมที่แทรกแซงธรรมชาติ มีการน าองค์ความรู้ทางวิชาการมาประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาควบคู่ไปกับการมีกฎหมายอนุรักษ์และควบคุมทรัพยากรชายฝั่งและการก าหนดระยะถอยร่น รวมทั้งการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเฝ้าระวังชายฝั่งในรูปกองทุน

ประเทศเนเธอร์แลนด์ จัดการปัญหาแบบผสมผสานท้ังแบบวิศวกรรมที่ใช้โครงสร้างและแบบวิศวกรรมที่ไม่ใช้โครงสร้าง เช่น การจัดการชายหาด การปรับภูมิทัศน์ชายหาดและการจัดการระยะถอยร่น

ประเทศฝรั่งเศส ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางจัดการชายฝั่งจากแนวทางแบบต้านธรรมชาติมาเป็นแนวทางที่สอดคล้องธรรมชาติมากขึ้น โดยมีกฏหมายเกี่ยวกับการจัดการชายฝั่งจ านวนมากและชุมชนท้องถิ่นได้รับอนุญาตให้จัดท าแนวป้องกันชายฝั่งในพื้นที่ของตนเองได้โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัด ตลอดทั้งผลักดันให้มีการจัดท ายุทธศาสตร์แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระยะยาว

ประเทศศรีลังกา ได้ออกกฎหมายอนุรักษ์ชายฝั่งและมีการก าหนดระยะถอยร่นอย่างชัดเจน ตลอดทั้งมีการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การจัดการชายฝั่งทุกระยะเวลา 5 ปี และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งและการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะโลกร้อนและระดับน้ าทะเลสูงขึ้น

ประเทศเวียดนาม ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการแก้ปัญหาเนื่องจากประชาชนยังไม่ตระหนักถึงความส าคัญของปัญหา ท าให้สถานการณ์แย่ลง นอกจากนี้ยังประสบปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ ความซ้ าซ้อนและไม่ต่อเนื่องของนโยบายการปกป้องสิ่งแวดล้อมและขาดแผนยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาระดับชาติ

3.บทสรุป บทเรียนส าคัญที่ยอมรับร่วมกันในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากมนุษย์แต่สาเหตุหลักมาจากมนุษย์ ประสบการณ์จากแห่งหนึ่ง อาจไม่สามารถใช้กับแห่งอื่นได้เสมอไป วิธีแก้ปัญหาที่ดีท่ีสุดคือต้องเน้นความเข้าใจกลไก “การท างานร่วมกับธรรมชาติ ” โดยให้ความส าคัญกับ “สมดุลของตะกอนทราย ” และไม่แทรกแซงระบบของธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งโครงสร้างทางวิศวกรรมรูปแบบต่างๆที่รุกล้ าเขตชายฝั่งจะมีผลกระทบต่อสมดุลของตะกอนทรายซึ่งเป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ด้วยเหตุนี้ การเติมทราย จึงเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน ส าหรับประเทศไทยมีความจ าเป็นต้องพัฒนากฏหมายการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งการก าหนดแนวถอยร่นของชายฝั่งให้มีความชัดเจนและมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน และควบคุมการใช้ประโยชน์พ้ืนท่ีชายฝั่งทะเลอย่างเหมาะสม การผลักดันการแปลงยุทธศาสตร์การจัดการ ป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล การสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและเผยแพร่สู่สาธารณะ การส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่นและชุมชนชายฝั่งทะเล ตลอดทั้งควรสนับสนุน ให้ชุมชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าใจในคุณค่าของหาดทรายมีบทบาทในการอนุรักษ์ การเฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ในรูปแบบกองทุน ตลอดทั้งส่งเสริมให้ชุมชนเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อรับมือจากผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและระดับน้ าทะเลสูงขึ้น

Page 6: การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเนื่องจากสภาวะโลกร้อน:

6

เอกสารอ้างอิง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2551 ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง. รองศาสตราจารย์อุดมศักดิ ์สินธิพงษ ์2556 มาตรการทางกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชนท์รัพยากรชายฝั่งทะเล อย่างยั่งยืน วารสารนักบริหาร ปีท่ี 33 ฉบับท่ี 1 มกราคม-มีนาคม 2556. European Commission. 2004. A guide to coastal erosion management practices in Europe จัดท าโดย National Institute of Coastal and Marine Management of the Netherlands. Kem Lowry. Department of Urban & Regional Planning, University of Hawai`i at Manoa. The Evolution of Integrated Coastal Management in Sri Lanka. เข้าถึงจากhttp://www.loiczsouthasia.org/pdfdocuments/10- 1.pdf เข้าถึงเมื่อวันท่ี 18 ธันวาคม 2556 http://beachconservation.wordpress.com/2011/02/06 เข้าถึงเมื่อวันท่ี 19 ธันวาคม 2556 http://www.climateadaptation.eu/france/coastal-erosion/ เข้าถึงเมื่อวันท่ี 18 ธันวาคม 2556 http://coastalmanagement.noaa.gov/hazards.html เข้าถึงเมื่อวันท่ี 17 ธันวาคม 2556 http://www.dmcr.go.th/dmcr2009/webboard/show.php?Category=erosion&No=887 เข้าถึงเมื่อวันท่ี 19 ธันวาคม 2556 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=738692 เข้าถึงเมื่อวันท่ี 6 ธันวาคม 2556 http://www.environment-agency.gov.uk/homeandleisure/108109.aspx เข้าถึงเมื่อวันท่ี 9 ธันวาคม 2556 http://vietnamnews.vn/environment/242392/viet-nam-failing-to-combat-coastal-erosion.html เข้าถึงเมื่อวันท่ี 9 ธันวาคม 2556