2553 - Silpakorn University · Leadership 5) Inspirational Leadership 6) Individualized...

Post on 25-Jan-2020

2 views 0 download

Transcript of 2553 - Silpakorn University · Leadership 5) Inspirational Leadership 6) Individualized...

  • องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

    โดย นางสุภาวดี นพรุจจินดา

    ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา

    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2553

    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

    โดย นางสุภาวดี นพรุจจินดา

    ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา

    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2553

    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • LEADERSHIP FACTORS FOR NURSING COLLEGE ADMINISTRATORS UNDER THE JURISDICTION OF THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH

    By Supawadee Noparoojjinda

    A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree DOCTOR OF PHILOSOPHY

    Department of Educational Administration Graduate School

    SILPAKORN UNIVERSITY 2010

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติให้ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ” เสนอโดย นางสุภาวดี นพรุจจินดา เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

    …………............................................................

    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    วันท่ี..........เดือน.................... พ.ศ........... อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ชินะตังกูร 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร คณะกรรมการตรวจสอบดุษฎีนิพนธ์ .................................................... ประธานกรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์) ............/......................../.............. .................................................... กรรมการ (รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญดา ประจุศิลป) ............/......................../.............. .................................................... กรรมการ .................................................... กรรมการ (รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ชินะตังกูร) (ผูช้่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร) ............/......................../.............. ............/......................../..............

  • 49252906 : สาขาการบริหารการศึกษา ค าส าคัญ : องค์ประกอบภาวะผู้น า/ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล/วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวง

    สาธารณสุข สุภาวดี นพรุจจินดา : องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ : รศ. ดร. ศิริชัย ชินะตังกูร, ผศ.ว่าที่ พ.ต. ดร. นพดล เจนอักษร 318 หน้า

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบองค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2) ยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์เพื่อก าหนดกรอบแนวคิดการวิจัย 2) การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบ 3) การยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบตัิหน้าที่อาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จ านวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างแบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

    ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 1) ผู้น าวิสัยทัศน์ 2) ผู้น าการเปลี่ยนแปลง 3) ผู้น าทางวิชาชีพ 4) ผู้น าจริยธรรม 5) ผู้น าสร้างแรงบันดาลใจ 6) ผู้น าค านึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 7) ผู้น าด้านเทคโนโลยี

    2. องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ ถูกต้องและสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2553 ลายมือชื่อนักศึกษา.......................................................................... ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ 1…………………………………2…………………………

  • 49252906 : MAJOR : EDUCATIONAL ADMINISTRATION KEY WORD : LEADERSHIP FACTORS / NURSING COLLEGE ADMINISTRATORS / THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH SUPAWADEE NOPAROOJJIDA : LEADERSHIP FACTORS FOR NURSING COLLEGE ADMINISTRATORS UNDER THE JURISDICTION OF THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH. DISSERTATION ADVISORS : ASSOC.PROF. SIRICHAI CHINATANGKUL, PhD., ASST.PROF.MAJ.NOPADOL CHENAKSARA, RTAR.,Ph.D. 318 pp.

    The purposes of this research were to 1) identify the components of leadership factors for nursing college administrators under the jurisdiction of the Ministry of Public Health and 2) confirm leadership factors of nursing college administrators, Ministry of Public Health. The research procedures consisted of 3 steps : 1) study and analyze conceptual framework 2) study and analyze the factors 3) confirm leadership factors for nursing college administrators, Ministry of Public Health. The samples consisted of 313 nursing instructors in college of nursing under the jurisdiction of the Ministry of Public Health. The research instruments were semi-structured interviews, questionnaires and checklists form. The statistics to analyze the data were frequencies, percentage, Mean, Standard Deviation, exploratory factor analysis and content analysis.

    The research findings were as follows: 1. The component of leadership of nursing college administrators under the

    jurisdiction of the Ministry of Public Health consisted of 7 components which were: 1) Visionary Leadership 2) Change Leadership 3) Professional Leadership 4) Ethical Leadership 5) Inspirational Leadership 6) Individualized Consideration Leadership 7) Technological Leadership.

    2. The 7 leadership factors for Nursing College Administrators under the Jurisdiction of the Ministry of Public Health are appropriated, feasible, accurate and applicable which coincided with the research theory.

    Department of Educational Administration Graduate School Silapakorn University Academic year 2010

    Student’s signature……………………………………….

    Dissertation Advisors’ signature 1…………………………………..2……………………………..

  • กิตติกรรมประกาศ ดุษ ฎีนิพนธ์ ฉบับนี้ ส า เ ร็ จลุ ล่ ว ง ไปด้ วยดี ด้ วยความเมตตาอย่ า งสู ง ยิ่ ง จาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ชินะตังกูร อาจารย์ที่ปรึกษา ประธานกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร กรรมการผู้ควบคุมดุษฎีนิพนธ์ ขอกราบขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์ ประธานกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ และรองศาสตราจารย์ ดร.กัญญดา ประจุศิลป ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้ให้ค าแนะน าและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่องานวิจัย ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่น้ี ขอกราบขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี นิลกรณ์ และขอขอบพระคุณ อาจารย์ดวงใจ ช่วยตระกูลที่ได้ให้ความกรุณาให้ค าปรึกษา แนะน าหลักการทางวิชาสถิติให้สอดคล้องกับงานวิจัย ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการไปสัมภาษณ์ การตรวจเครื่องมือวิจัยและแสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบการวิจัย ขอกราบขอบพระคุณผู้อ านวยการและอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ข้อมูลในการศึกษาวิจัย ขอขอบพระคุณ คุณบุศรินทร์ สุจริตจันทร์ คุณศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์ คุณสุรางค์ ธูปบูชากร และเพื่อนร่วมรุ่นดุษฎีบัณฑิตรุ่นที่ 4 ทุกคนส าหรับก าลังใจและความช่วยเหลือสนับสนุนให้งานวิจัยลุล่วงไปด้วยดี สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยขอมอบความส าเร็จครั้งนี้แด่คุณนนทกร นพรุจจินดา บุตรและพี่น้องที่เป็นก าลังใจให้ผู้วิจัยประสบความส าเร็จได้ด้วยดี

  • สารบัญ

    หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ........................................................................................................ ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ................................................................................................... จ กิตติกรรมประกาศ .......................................................................................................... ฉ สารบัญตาราง ................................................................................................................. ฎ สารบัญแผนภูมิ .............................................................................................................. ฐ บทท่ี 1 บทน า .................................................................................................................... 1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ................................................. 4 ปัญหาการวิจัย .................................................................................. 6 วตัถุประสงค์ของการวิจัย ................................................................. 13 สมมุตฐานการวิจัย ............................................................................ 13 ข้อค าถามการวิจัย ..................................................................... 13 กรอบแนวคิดการวิจัย ................................................................ 13 นิยามศัพท์เฉพาะ ...................................................................... 20 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง .................................................................................. 21

    แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้น า ....................................................... 21 ภาวะผู้น า.................................................................................. 21 ความหมายของภาวะผู้น า .......................................................... 22 ความส าคัญของภาวะผู้น า ......................................................... 25 ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้น า ........................................................... 25

    แนวคิดบทบาทหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา......................................... 76 บทบาทหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา ............................................ 77 ผู้น าการบริหารการศึกษายุคใหม่ ............................................... 84

    แนวคิดภาวะผู้น าทางการพยาบาล .................................................... 91 บทบาทหน้าที่ผู้น าทางการพยาบาล ........................................... 92 คุณลักษณะภาวะผู้น าทางพยาบาล ............................................ 93 ภาวะผู้น าด้านการศึกษาพยาบาล .............................................. 102 ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงทางการบริหารการพยาบาล .............. 105

  • หน้า บทท่ี

    การจัดการศึกษาพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ........................... 106 กระทรวงสาธารณสุข ................................................................. 107

    ส านักงานปลัดกระทรวง .............................................................. 111 สถาบันพระบรมราชชนก ............................................................. 112 ความเป็นมาของการจัดการศึกษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข . 116

    วิวัฒนาการการจัดการศึกษาและพัฒนาก าลังคนด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข .................................................................. 116

    การจัดการศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข .......................................................... 120 วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข .............................. 120 การปฏิรูปการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ ................................... 123การวิเคราะห์องค์ประกอบ ........................................................... 128

    สรุป .................................................................................................. 131 3 วิธีการด าเนินการวิจัย ................................................................................... 132

    ขั้นตอนการด าเนินการวิจัย ................................................................ 132 ขั้นตอนท่ี 1 จัดเตรียมโครงการวิจัย ........................................... 132 ขั้นตอนท่ี 2 การด าเนินการวิจัย ................................................. 132 ขั้นตอนท่ี 3 การรายงานผลการวิจัย ........................................... 135

    ระเบียบวิธีวิจัย .................................................................................. 137 แบบแผนการวิจัย ...................................................................... 137 แผนผังของการวิจัย ........................................................... 137 ประชากร .................................................................................. 137 กลุ่มตัวอย่าง ............................................................................. 140 ตัวแปรที่ศึกษา .......................................................................... 141 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ............................................................ 143

    การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ............................................. 144 การเก็บรวบรวมข้อมูล ............................................................... 146

  • การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย ................................ 147 สรุป .................................................................................................. 148

    4 การวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................................. 150 หน้า

    บทท่ี ตอนท่ี 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัย พยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ......................................... 151

    1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร .................................................. 152 1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ .................................. 171 1.3 การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น า

    ของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ...... 178 1.3.1 การวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไป ............................. 178 1.3.2 การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น าของ ผู้บรหิารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 180 1.3.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหาร วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ............. 191

    ตอนท่ี 2 การวิเคราะห์ข้อมูลการยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหาร วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ............................ 207 2.1 การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นการตรวจสอบความเหมาะสม

    ขององค์ประกอบภาวะผู้น า. ...................................................... 208 2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ .......................................... 223

    5 ผลการวิจัย การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ....................................................... 232 สรุปผลการวิจัย ................................................................................. 232 การอภิปรายผลการวิจัย .................................................................... 239 ข้อเสนอแนะ ..................................................................................... 250

    ข้อเสนอแนะการน าผลการวิจัยไปใช้ .......................................... 250 ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป .................................................. 251

    บรรณานุกรม .................................................................................................................. 252 ภาคผนวก ...................................................................................................................... 268

    ภาคผนวก ก หนังสือขอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ............................................................ 269 ภาคผนวก ข แบบสัมภาษณ์งานวิจัย .......................................................................... 272

  • ภาคผนวก ค หนังสือขอตรวจเครื่องมือวิจัย ................................................................ 274 ภาคผนวก ง หนังสือทดลองเครื่องมือวิจัย .................................................................. 277 ภาคผนวก จ หนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูล ......................................... 279 ภาคผนวก ฉ หนังสือพิทักษส์ิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ............................................................. 281

    หน้า ภาคผนวก ช แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ..................................................................... 283 ภาคผนวก ซ หนังสือขอความอนุเคราะห์ยืนยันงานวิจัย .............................................. 296 ภาคผนวก ฌ แบบสัมภาษณ์เพื่อยืนยันงานวิจัย ......................................................... 300 ภาคผนวก ฎ ผลการทดลองเครื่องมือวิจัย .................................................................. 310

    ประวัติผู้วิจัย ................................................................................................................... 318

  • สารบัญตาราง

    ตารางที่ หน้า 1 ประชากรจ าแนกตามเครือข่ายภูมิภาคของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ...................................................... 140 2 แสดงข้อมูลที่ได้จากการการวิเคราะห์เอกสาร เอกสาร ต ารา บทความวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.............................................................................. 153 3 แสดงข้อมูลที่ได้จากการการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ.................. 173 4 สถานภาพทั่วไปของแบบสอบถาม ................................................................... 179 5 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าระดับของตัวแปรภาวะผู้น า ของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ........................... 182 6 แสดงการตรวจสอบความเหมาะสมของกลุ่มตัวอย่างด้วยค่า KMO และ ตรวจสอบเมตริกสหสัมพันธ์ด้วย Bartlett’s test ........................................... 193 7 แสดงองค์ประกอบ ค่าไอเกน ค่าร้อยละของความแปรปรวน ค่าร้อยละของ ความแปรปรวนสะสมขององค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหาร วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข .............................................. 194 8 แสดงค่าน้ าหนักปัจจัย (Factor loading) หลังจากหมุนแกนแล้ว (Rotated Component Matrix) และค่าความร่วมกัน (Communality) .......................... 195 9 องค์ประกอบที่ 1 ............................................................................................. 198 10 องค์ประกอบที่ 2 ............................................................................................ 200 11 องค์ประกอบที่ 3 ............................................................................................ 201 12 องค์ประกอบที่ 4 ............................................................................................ 203 13 องค์ประกอบที่ 5 ............................................................................................ 204 14 องค์ประกอบที่ 6 ........................................................................................... 205 15 องค์ประกอบที่ 7 ............................................................................................ 206 16 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ......................................................................... 209 17 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าการเปลี่ยนแปลง ............................................................... 210 18 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าจริยธรรม .......................................................................... 213

  • ตารางที ่ หน้า 19 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าทางวิชาชีพ ....................................................................... 215 20 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าสร้างแรงบันดาลใจ ............................................................ 218 21 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าค านึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ......................................... 220 22 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าวิสัยทัศน์ .......................................................................... 221 23 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่ต่อ องค์ประกอบผู้น าด้านเทคโนโลยี ................................................................. 223

  • สารบัญแผนภูมิ

    แผนภูมิที่ หน้า 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ................................................................................ 18 2 แบบจ าลองพฤตกิรรมของผู้น าของโอไอโอ สเตท............................................ 28 3 ตาข่ายหารบริหาร.......................................................................................... 31 4 กระบวนการของภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลง .................................................... . 41 5 ระบบผู้น า...................................................................................................... 65 6 แสดงภาพการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง........................................................ 67 7 โครงสร้างสถาบันพระบรมราชชนก................................................................. 116 8 โครงสร้างวิทยาลัยพยาลบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก.. ........................ 124 9 ขั้นตอนการด าเนินการวิจัย ............................................................................. 137 10 แผนผังของแบบแผนการวิจัย .......................................................................... 138 11 สรุปผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้น าของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข .......................................................................... 207

  • 1

    บทที่ 1

    บทน า

    สังคมปัจจุบันเป็นสังคมยุคสารสนเทศที่ใช้การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ข้อมูล

    ข่าวสารต่างๆ เปลี่ยนแปลงเร็ว ท าให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งระดับประเทศและระดับโลก เป็นยุคที่ต้องแข่งขันตลอดเวลาทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเ มือง วัฒนธรรม การปกครอง เทคโนโลยีรวมถึงด้านการศึกษา ท าให้องค์การทุกประเภทต้องพัฒนาและปรับตัวให้ทันกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทุกๆ ด้านอย่างทันท่วงที โดยมีเป้าหมายที่ประสิทธิผลของงานเพื่อสร้างความม่ันคงให้กับองค์การและสามารถอยู่รอดได้ในสังคมแห่งการแข่งขันในปจัจุบัน จากสภาวะดังกล่าวท าให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยการปฏิรูปในทุกด้าน ไม่ว่าการปฏิรูประบบการศึกษา ระบบราชการ ระบบสาธารณสุขและอื่นๆ ด้านการศึกษากลไกส าคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาเพื่อให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกคือการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ส าหรับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นท าให้ทุกองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการเพราะหากไม่พยายามที่จะปรับเปลี่ยนองค์การก็อาจจะถูกเปลี่ยนดังค ากล่าวที่ว่า การที่โลกเปลี่ยนไป เราต้องเปลี่ยนแปลง และถึงแม้ว่าการบริหารที่มีคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากร ทุกคน แต่การบริหารที่ท าให้บรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นสิ่งส าคัญคือทักษะและภาวะผู้น าของผู้น าหรือผู้บริหาร เพราะผู้บริหารคือผู้ท าหน้าที่น าองค์การจึงเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากต่อการด าเนินการเพื่อให้บรรลุเป้ามายขององค์การ และเป็นปัจจัยส าคัญในการน าพาองค์การไปในทิศทางที่ก าหนด ผู้น าเป็นจุดรวมแห่งพลังของสมาชิกในองค์การ เป็นบุคคลที่ มีบทบาทส าคัญต่อการริเริ่ม ด าเนินกิจกรรม ควบคุมและกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้แสดงผลงานอย่างเต็มที่เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การ ดังนั้นผู้น าจึงต้องแสดงบทบาทภาวะผู้น าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สอดคล้องกับพัชสิรี ชมภูค ากล่าวว่าเม่ือการเปลี่ยนแปลงกระทบองค์กร ผู้น าขององค์กรตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงผู้บริหารระดับต้นจ าเป็นต้องแสดงทักษะภาวะผู้น าอย่างที่ไม่เคยท ามาก่อน1 และภรณี กีร์ติบุตร กล่าวว่าประสิทธิผลองค์การ เป็นวิธีการทดสอบการบริหารงานที่ดี คือการดูแลความสามารถในการจัดการและการใช้ทรัพยากรที่หาได้ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และรักษาระดับการปฏิบัติการ

    1พัชสิรี ชมภูค า, กลยุทธ์ชนะการเปลี่ยนแปลง :24 แนวทางในการบริหารทีมท่ามกลางภาวะวิกฤต (มปท. 2551),15.

    1

  • 2

    ที่มีประสิทธิผลไว้ให้ได้ ซึ่งผู้บริหารจะต้องวางแผนการบริหารทุกๆ ด้านเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การที่ก าหนดไว้ รวมทั้งต้องมีความสามารถในการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้ร่วมงานน าความรู้ความสามารถอย่างที่มีอยู่มาพัฒนางานอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายการท างานของผู้น าในการที่จะน าพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ส าเร็จ2 สอดคล้องกับ ธีระ รุญเจริญ กล่าวว่า ผู้บริหารจ าเป็นต้องมีศักยภาพในการใช้ภาวะผู้น าอย่างเหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในองค์การ สามารถสร้างความเชื่อม่ันและให้การสนับสนุนทุกคน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ สามารถใช้ศิลป์และกระบวนการของการมีอิทธิพลต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล และสามารถท าให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดศรัทธา มีความเชื่อถือ มีความเชื่อม่ันในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถสร้างสภาวะแวดล้อม สนับสนุนให้ทุกคนในองค์การร่วมมือกันสร้างประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่3

    ภาวะผู้น าเป็นกระบวนการของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยมีอ านาจและอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อน าไปสู่วัตถุประสงค์ได้ส าเร็จ4 ผู้น าที่ดีต้องเป็นผู้ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและร่วมมือในการปฏิบัติงาน ดังนั้นการเป็นผู้น าที่ดีจ าเป็นต้องมีภาวะผู้น า ซึ่งการที่จะมีภาวะผู้น าผู้น าต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้น าและต้องมีการพัฒนาภาวะผู้น าในตนเองเพื่อให้สามารถแสดงบทบาทภาวะผู้น าอย่างเหมาะสม นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในทุกส่วนราชการท าให้ทุกองค์การต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารองค์การ ซึ่งภาวะผู้น าอีกประการหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ดังกล่าวที่ผู้น าควรมีร่วมด้วยคือภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากพบว่าผู้น าการเปลี่ยนแปลงเป็นภาวะผู้น าที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลขององค์การได้ สอดคล้องกับการศึกษาของแบสส์ (Bass) ที่ท าการศึกษาภาวะผู้น าเต็มรูปแบบ (The full range model of leadership) ประกอบด้วย ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) ภาวะผู้น าการแลกเปลี่ยน(Transactional leadership) และภาวะผู้น าแบบตามสบาย (Laissez-fair leadership) การศึกษาพบว่าภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิผลดีที่สุดภาวะผู้น าการแลกเปลี่ยนมีประสิทธิผลรองลงมา ส่วนภาวะ

    2ภรณี กีร์ติบุตร, การประเมินประสิทธิผลองค์การ (กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์โอเดียน

    สโตร,์2529), 29. 3ธีระ รุญเจริญ, ปราชญา กล้าผจญ และสัมมา รธนิธย์, การบริหารเพื่อการปฏิรูปการ

    เรียนรู้ (กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2545),98. 4 เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, ภาวะผู้น าทางการพยาบาลในองค์กร (เชียงใหม่ : นนทบุรี

    การพิมพ.์,2542), 3.

  • 3

    ผู้น าแบบตามสบายมีประสิทธิผลน้อยที่สุด5 สอดคล้องกับการศึกษาของประเสริฐ สมพงษ์ธรรม ที่พบว่าภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพขององค์การเพิ่มจากภาวะผู้น าการแลกเปลี่ยน6 และสอดคล้องกับโลเวอร์ลิดช์ (Loveridge) ที่กล่าวว่าภาวะผู้น าที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดคือภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลง ผลของผู้น าการเปลี่ยนแปลงก็คือจะเปลี่ยนแปลงผู้ตามให้เป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลงผู้น าการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้น าจริยธรรม7 และยุค (Yulk) ทีพ่บว่าภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงมีผลท าให้ประสิทธิผลขององค์การสูงขึ้น และจะช่วยท าให้เงื่อนไขต่างๆ ในการบริหารงานลดลงท าให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว8สอดคล้องกับค ากล่าวของดันแฮมและคราเฟท (Dunham and Klafehn) ที่ว่าองค์การที่บรรลุผลส าเร็จควรมีผู้น าที่มีประสิทธิผลที่มีลักษณะเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง มีความยืดหยุ่นในการท างาน ใช้การบริหารแบบแนวราบ และเป็นผู้น าที่พัฒนาตนเอง ซึ่งองค์การมีผู้น าแบบนี้จะส่งผลให้ประสิทธิผลงานสูงและองค์การเจริญก้าวหน้า9 ดังนั้นผู้น าในยุคปัจจุบันและอนาคตจึงจ าเป็นต้องเป็นผู้น าที่มีภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงด้วย การมีภาวะผู้น าที่ดีนั้นสามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้การพัฒนาภาวะผู้น าของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันในเรื่องแนวคิดส าหรับการพัฒนาเพื่อน าไปสู่การมีภาวะผู้น าที่ดีการศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้น าจึงมีความส าคัญที่จะท าให้เกิดการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่เป็นจริงเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้น า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเพื่อน าไปสู่ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดภาวะผู้น าว่าเป็นอย่างไรและน าไปสู่การเรียนรู้ถึงวิธีการในการพัฒนาภาวะผู้น าว่าต้องท าอย่างไร

    5B.M. Bass, Bass and Stogdill’s Handbook of leadership, 3rded. (New York :

    Free Press,1985), 85-87. 6ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม,”การวิเคราะห์ภาวะผู้น าของศึกษาธิการจังหวัดที่สัมพันธ์กับ

    ประสิทธิผลองค์การส านักงานศึกษาธิการจังหวัด”(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาวิทยาลัย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2537),บทคัดย่อ.

    7C.E. Loveridge, Nursing Management in the new paradigm (Gaitherburg: Aspen, 1996),100.

    8G. Yukl, Leadership in organizations ,4thed. (Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall,1998),20.

    9J. Dunham, and K.A.Klafehn,“Transformational leadership and the nurse executive,”Journal of Nursing Administration 20,4 (1990): 28-34.

  • 4

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    จากกระแสโลกาภิวัฒน์ท าให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวตลอดเวลา อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และปัจจัยภายนอกต่างๆ ส่งผลกระทบต่อองค์การการจัดการศึกษาทั้งด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Advance of technology) การลงทุนทางด้านการศึกษา(Cost of education)การแข่งขัน(Global competition) และความคาดหวังของสังคม (Social expectation) ท าให้องค์การทางการศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ ยน เกิดการปฏิรู ปการศึกษา มีการปรับเปลี่ ยนวิธีการบริหารงาน ส าหรับระดับอุดมศึกษามีประเด็นหลักในการปฏิรูปการศึกษา คือ การเปลี่ยนแปลงโฉมใหม่ของระบบการบริหารงานองค์การเพื่อให้องค์การมีความคล่องตัวมีความสามารถในการปรับตัวมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการด้านการศึกษาใหม่ที่ เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและก าลังเป็นที่สนใจของวงการการศึกษาในระดับสากล การบริหารการศึกษาเป็นการบริหารโดยมีเป้าหมายที่ส าคัญคือการเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพและความเจริญงอกงามของบุคคล พัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน สร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนั้นการบริหารการศึกษาจึงจ าเป็นต้องใช้บุคลากรมืออาชีพ10 เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาประสบความส าเร็จบรรลุเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะมีทักษะในการบริหารแล้วยังต้องเป็นผู้น าวิสัยทัศน์ (Vision) มีความเข้มแข็ง ( Intensity)และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)เพื่อน ามาสู่ งานที่ตนเองรับผิดชอบ11

    วิทยาลัยพยาบาล สั งกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นองค์การทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นตรงต่อสถาบันพระบรมราชชนก ส านักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันหลักที่ท าหน้าที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพให้กับกระทรวงสาธารณสุขและเป็นสถาบันการจัดการศึกษาพยาบาลที่สามารถผลิตบัณฑิตพยาบาลเพื่อให้บริการด้านสุขภาพเป็นจ านวนมากที่สุดของประเทศ ปัจจุบันมีวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จ านวน 29 แห่งทั่วประเทศแบ่งเป็น 5 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายภาคเหนือ จ านวน 6 แห่ง เครือข่ายภาคกลาง 1 จ านวน 5 แห่ง เครือข่ายภาคกลาง 2 จ านวน 7 แห่ง เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ านวน 6 แห่ง และเครือข่ายภาคใต้ จ านวน 5 แห่ง การที่กระทรวงสาธารณสุขต้องท าภารกิจในเรื่องการจัดการศึกษาทั้งๆ ที่ไม่ใช่

    10บุญชม ศรีสะอาดและสุริทอง ศรีสะอาด, วิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา.

    (กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น,2552),12. 11สุนทร โคตรบรรเทา, หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา (กรุงเทพฯ:ปัญญาชน

    ,2551),15.

  • 5

    ภารกิจหลักของกระทรวง สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การขาดแคลนพยาบาลทั้งในอดีตและปัจจุบันประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม การศึกษา ระบบสุขภาพรวมทั้งสภาวะการแข่งขันกับประเทศภูมิภาคเดียวกันส่งผลกระทบต่อความต้องการด้านการบริการสุขภาพอนามัยมากขึ้นท้ังด้านปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้ปัญหาความขาดแคลนพยาบาลมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นท าให้กระทรวงสาธารณสุขโดยสถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดมีความจ าเป็นต้องท าภารกิจผลิตพยาบาลและมีแนวโน้มความต้องการการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและท าให้ภารกิจหลักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของกระทรวงสาธารณสุขบรรลุตามเป้าหมายและตอบสนองกับองค์การสุขภาพที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ าเสมอ12 ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็จ าเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสามารถด าเนินภารกิจตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ประเทศชาติและวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม คงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ประกอบกับการที่มีการก าหนดนโยบายของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554) และการมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ทีต่้องมีการจัดระบบบริการสุขภาพใหม่ตามความจ าเป็นและความต้องการของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เพิ่มสมรรถนะการดูแลสุขภาพ รวมทั้งขยายการบริการปฐมภูมิให้ครอบคลุมประชาชน สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดการพัฒนาสุขภาพซึ่งส่งผลให้บัณฑิตพยาบาลต้องมีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของสังคม องค์กรวิชาชีพที่มีหน้าที่ควบคุมมาตรฐานการจัดการศึกษาพยาบาลจึงต้องมีการปรับตัวและก าหนดมาตรฐานการ จัดการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาให้ทุ กสถาบันการศึกษาพยาบาล เพื่ อการคงไว้ซึ่ งการผลิตบัณฑิตพยาบาลที่ มีคุณภาพ สถาบันการศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหารการศึกษาทั้งด้านการจัดการศึกษาและการบริหารจัดการ มีการปรับรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษา มีการน านวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือบัณฑิตพยาบาลที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถในการให้บริการด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและมีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ

    ภาวะผู้น าจึงเป็นคุณสมบัติที่จ าเป็นส าหรับผู้บริหารทุกระดับเพื่อให้สามารถบริหารองค์การบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจได้ โดยเฉพาะภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงเป็นภาวะที่มีความ

    12C. Oroviogoicoechea, “The clinical Management: A literature review,” Journal of

    Advance Nursing 24,2 (1996) :73-80.

  • 6

    เหมาะสมกับบริบทสังคมยุคปัจจุบันและในอนาคต13 สามารถเพิ่มผลผลิตและพัฒนาผลการปฏิบัติงานทั้งระดับบุคคล หน่วยงานและองค์การ14 สร้างบรรยากาศการท างานที่ส่งเสริมความส าเร็จขององค์การ15สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพน าพาองค์การให้อยู่รอดและมีความก้าวหน้าภายใต้ภาวะวิกฤตจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง 16 สอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับองค์การพยาบาลของเรนฮาร์ด (Reinhardt) ที่พบว่าภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทางการพยาบาลทุกระดับ จะส่งผลให้ผู้น ามีการตัดสินใจที่ดี สร้างความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาล สร้างความมีเอกสิทธิ์ในวิชาชีพ และสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีของงาน ทั้งระดับบคุคล หน่วยงานและองค์การพยาบาล17

    ปัญหาการวิจัย

    สืบเนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ท าให้เกิด

    การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง18 รวมทั้งการออกกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เพื่อให้สามารถเอื้อต่อการบริหารประเทศภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและการเมือง มีการปรับตัวขนานใหญ่ทั้งภายในและภายนอกองค์การ ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและสายงาน

    13J. Sullivan, J. Bretschneider and M.P. McCauslan, “Designing a leadership

    development program for nursing management,” Journal of nursing administration 33,10 (2003): 544.

    14B.M. Bass, B.J. Avolio, D.I.Jung, and Y. Berson, “Predicting unit Permanence by assessing transformational and transactional leadership,” Journal of Applied psychology 88,2 (2003): 207-218.

    15K. Ward, “A Vision for tomorrow : Transformational nursing leaders,” Journal of Applied psychology 88,2 (1999): 428-436.

    16B.M. Bass, Transformational leadership: Industrial, Military, and educational impact (Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates,Publisher,1998),385.

    17A.C. Reinhardt, “Discourse on the transformational leader met narrative of finding the right person for the job,” Advance in nursing science 27,1 (2004): 21-31.

    18ทิพาวดี เมฆสวรรค์, การปฏิรูประบบราชการ: ยุทธศาสตร์ส าคัญของการเปลี่ยนแปลง(กรุงเทพฯ : ส านักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ, 2541),78.

  • 7

    การก าหนดเป้าหมายงาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากขององค์การ ทุกส่วนราชการต้องมีการทบทวนปรับเปลี่ยนภารกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดจ านวนคนโดยเน้นการปฏิบัติภารกิจหลัก กฎหมายส าคัญอีกฉบับหนึ่ง คือ การออกกฎหมายพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ที่มีการเพิ่มเติมกรอบความคิดในการบริหารราชการแผ่นดินสมัยใหม่โดยใช้หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีและการบริหารงานแนวใหม่เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นราชการยุคใหม่ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์การทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเช่นเดียวกัน ทั้งด้านการบริหารงานและด้านผู้บริหารที่ต้องเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบราชการแนวใหม่ ดังนั้นบทบาทหน้าที่และรูปแบบการบริหารของวิทยาลัยพยาบาลจึงต้องเปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานราชการที่มีการบริหารงานแบบระบบราชการที่ต่อเนื่องมายาวนาน มีวัฒนธรรมของตนเอง มีการจัดการบริหารภายใต้โครงสร้างและระเบียบราชการที่ด าเนินการตามขั้นตอน มีความไม่คล่องตัวในการบริหาร การบริหารงานมีความล่าช้า ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลใช้ระบบการบริหารตามขั้นตอนของระเบียบราชการ ไม่มีการเสริมสมรรถนะในการแข่งขันกับองค์การอื่น สอดคล้องกับสุททอล (Sutton) ที่ศึกษาปัญหาทางการเมืองและการบริหารของไทย พบว่า ผู้น าไทยมีนิสัยรักอิสระและความสบาย ค านึงถึงล าดับชั้นในสังคมและขาดความสนใจในหลักการบริหาร ซึ่งไม่สามารถบริหารองค์การให้ยืนหยัดอยู่ได้ในการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคต19นั่นหมายถึงผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในยุคปัจจุบันหรือทศวรรษหน้าต้องเป็นผู้มีภาวะผู้น าอย่างแท้จริง มีทักษะ ไหวพริบ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตและเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง สามารถน าข้อมูลมาวิเคราะห์และก าหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน(Plan change)ได้ สามารถสร้างความรู้สึกร่วมให้สมาชิกในองค์การยอมรับและเห็นความจ าเป็นที่จะต้องท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน20เพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับวิทยาลัยพยาบาลที่อยู่ในระบบราชการและเสริมความเข้มแข็งให้กับองค์การ

    นอกจากนั้นในการจัดการศึกษาพยาบาลปัจจุบันต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) ที่มุ่งการยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวส าหรับงานที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต ต้องมุ่งพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ

    19Shutton, อ้างถึงใน รวิววรรณ มานะสุบิน, “การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้น ายุคใหม่

    ของพนักงานบริษัทการบินไทย จ ากัด (มหาชน)” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ),มหาวิทยาลัยราค าแหง, 2547), 5.

    20สุเทพ เชาวลิต, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์เสมาธรรม,2548),178.

  • 8

    แข่งขันของประเทศในโลกาภิวัตน์21และสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่มีเป้าหมายส าคัญในการยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทยให้สามารถผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนยกระดับคุณภาพมาตรฐานของการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศระดับสากล รัฐบาลปัจจุบันจึงได้มีนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ.2552-2561) ที่เน้นเป้าหมายส าคัญ 3 ประเด็นคือ (1) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (2) เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย และ (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดการศึกษา และได้ก าหนดกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาโดยปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยมีประเด็นส าคัญของระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่ต้องการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน 4 ประการหลักคือ (1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ (2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม ่(3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ (4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่22รวมถึงการส่งเสริมความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดการพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืน และสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

    ดังนั้น การจัดการศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารทั้งการบริหารหลักสูตรและการบริหารทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการด้านบริการสาธารณสุขของประเทศ ด้านการปฏิรูปการศึกษาจากที่การปฏิรูปการศึกษามุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการบริหารงานขององค์การและการจัดการศึกษา ซึ่งมีความสอดคล้องกับปัญหาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาที่พบว่าการบริหารอุดมศึกษาของประเทศไทยมีจุดอ่อนที่มีระบบการบริหารที่ด้อยประสิทธิภาพทั้งระบบบริหารวิชาการ ระบบบริหารการเงินและระบบบริหารบุคคล

    21กระทรวงศึกษาธิการ ส านักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,แผนพัฒนาอุดมศึกษา

    ระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565) (30/ก.ย./2550) [Online], accessed 25 December 2010.Available from http:// www.mua.go.th /~bpp/developplan/index.htm.

    22ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561)[Online], accessed 25 December 2010.Available from http://www.onec. go.th/onec_main/page.php?mod=Category&categoryID=CAT0001419.

  • 9

    ท าให้ขาดความคล่องตัวในการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง23และตามความมุ่งหวังของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 254224 หมวด 1 มาตรา 6 ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด ารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จากเหตุผลดังกล่าวสิ่งที่สถาบันการศึกษาพยาบาลซึ่งท าหน้าที่ จัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต้องรับมติแห่งชาติในการร่วมกันปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษา กล่าวคือ (1) ปฏิรูปการศึกษาภายใต้นโยบายปฏิรูประบบสุขภาพและระบบสาธารณสุขของประเทศที่มุ่งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเน้นการสร้างเสริมสุขภาพตนเองป้องกันการเจ็บป่วย (2) ป�