untitled magazine

22
un- titled. 01 issue hey, rebels.

description

a mockup magazine for new media subject assignment

Transcript of untitled magazine

Page 1: untitled magazine

un-titled.

01is

su

e

hey,rebels.

Page 2: untitled magazine

CO

NTE

NTS

untitled team

underlined

EVENT 4

REVIEW 5

HUNGRYLICIOUS 7

STYLE 8

PHOFashTO 10

INTERVIEW 18

Curate + Graphic Design by

THEPPITAK MANEEPONG

18นักเขียนคือใครในมุมมองของปราบดา หยุ่น

Page 3: untitled magazine

underlined

1018

8นักเขียนคือใครในมุมมองของปราบดา หยุ่น พาย้อนอดีตไปพบเรื่องราวของ

ไอเท็มที่ต้องมีติดตู้เสื้อผ้าอย่างเสื้อยืดมีกระเป๋า

แฟชั่นเซ็ตสุดแหวกจากช่างภาพสาวนิสิตรั้วจุฬาฯ

Page 4: untitled magazine

4

EVENT

TRASHER presents “Romeo & Juliet” House of Capulet Party

/ SIAM CENTER

DUDESWEET 12th Anniversary

/ SUKHUMVIT 16

clickto viewthe video!

Page 5: untitled magazine

5

REVIEW

DUDESWEET 12th Anniversary

text / กัญญ์วรรา ศิริสมบูรณ์เวช

โลกที่เปิดกว้างขึ้นทำาให้คนยุคนี้มีรูปแบบ”ความสัมพันธ์”ซับซ้อนหลากหลาย ไม่ว่าจะ แฟน, คู่หมั้น, กิ๊ก, เพื่อนเที่ยว, เพื่อนนอน, คนรักในโลกเสมือน ฯลฯ

บางความสัมพันธ์ สังคมให้การยอมรับจึงเป็นไปอย่างเปิดเผย

ทว่า อีกไม่น้อยต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพราะถูกกล่าวหาว่าขัดต่อหลักศีลธรรมและค่านิยมอันดี

“One night stand - คู่นอนคืนเดียว” ก็เป็นรูปแบบหนึ่งในจำาพวกหลังที่ถึงจะถูกจริตหลายคน แต่ผู้

ปฏิบัติกามกิจจำาต้องเก็บเป็นความลับโดยเฉพาะกับฝ่ายหญิงที่เสี่ยงต่อการติฉินนินทา หรือกระทั่งการ

ประณามหยามเหยียด

และนั่นกลายเป็นที่มาของ One night stand ที่กำากับและแสดงโดย วิทุรา อัมระนันทน์ หญิงสาว

วัย 27

“เราต้องการพูดถึงเรื่องเพศอย่างเปิดเผย มากเท่าที่จะพูดได้ ทุกคนรู้ว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่อง

ธรรมชาติ แต่กลับมีข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องเพศในหลายๆ วัฒนธรรม” เจ้าของผลงานบอก

ก่อนแจงว่า “พวกเรามักจะทำาให้เรื่องเพศเป็นเรื่องตลก ไว้ใช้ดูถูกผู้หญิง หรือดูถูกผู้ชาย เราพบว่าพอ

เราต้องการจะพูดเรื่องเพศ เรื่องความต้องการ หรือเรื่องประสบการณ์เซ็กซ์ของเรา ตัวเรากลับห้าม

ตัวเองไว้ไม่ให้พูด”

“โดยเฉพาะผู้หญิงหลายคนโตมากับความกลัว เราต้องไม่แต่งตัวเซ็กซี่เกินไป พ่อแม่บอกอย่ากลับบ้าน

ดึก รู้สึกตั้งแต่เด็กว่าเราต้องป้องกันตัวเองจากอะไรสักอย่างในสังคมเพราะสังคมอันตราย เราต้อง

ระวังตัวหน่อย”

“และมันมีคำาว่า “เสียตัว” ถ้าผู้หญิงเสียตัว ผู้หญิงง่าย ผู้หญิงไม่อยู่ในกรอบสังคมที่วางไว้ เราต้อง

รู้สึกอับอาย มันไม่ใช่ ผู้หญิงอยากรู้สึกปลอดภัยในสังคมเรา”

ดังนั้น “เราคิดว่าถ้าแบ่งปันประสบการณ์ ความคิดของเราเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ คิดว่าคนอื่นอาจรู้สึกดี

ขึ้นอับอายน้อยลง เราก็อับอายน้อยลง รู้สึกสบายใจที่เห็นคนอื่นพูดอย่างตรงไปตรงมา”

โดยที่เลือกใช้ประเด็นนี้มาบอกเล่าผ่านการเคลื่อนไหวบทพูดและการปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมอย่างใกล้ชิด

เพราะเธอว่า “เราต้องการแบ่งปันประสบการณ์ วัน ไนต์ สแตนด์ ที่เรามี เพื่อปลุกความต้องการใน

เรื่องเพศและปลุกธรรมชาติของคนดู”

“การมี วัน ไนต์ สแตนด์ ทำาให้เรารู้สึกดี เราได้พบเจอคนใหม่ๆ ได้พัฒนาตัวเองในการให้ความรัก

และความเคารพกับคนแปลกหน้า และในบางครั้งได้ตกหลุมรักในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง มีความรู้สึก

หลากหลายเกิดขึ้นกับเรา”

แม้จะรู้ดีว่าพฤติกรรมนี้ถูกจัดอยู่ในข่ายไม่พึงประสงค์ก็ตาม

“ถ้าคาดหวังความอยากอยากเอาคนนู้นเอาคนนี้อย่างตรงไปตรงมา เราคิดว่ามันยากที่สังคมจะรับได้”

“การมี วัน ไนต์ สแตนด์ คือการคาดหวังความอยากแบบหนึ่งที่สังคมบอกไม่ถูกต้อง ที่ผ่านมาเราก็

โตกับสิ่งนี้ที่ว่าอะไรถูกต้องไม่ถูกต้อง โดยยังไม่ได้ถามตัวเองเลยว่าเราอยากได้อะไร”

ฉะนั้น “เมื่อดูงานแล้วอยากให้เขาสะท้อนหรือตั้งคำาถามตัวเองว่าจริงๆ มีความอยากอะไรที่สังคมคิด

ว่าผิดหรือไม่ควรทำา”

ขณะเดียวกัน อยากให้ผู้ชมมอง “เซ็กซ์” เป็นเรื่องธรรมชาติ กล้าที่จะเปิดเผยต่อให้รสนิยมดูแปลก

แตกต่างก็ตาม

เพราะคนทำาเชื่อว่า “ทุกคนมีแฟนตาซีบางอย่างเกี่ยวกับเซ็กซ์”

“ฟังดูอาจไม่เหมาะสมหรืออาจจะผิดกฎหมายแต่เราก็อยากถามด้วยว่าทำาไมเขาอยากมีเซ็กซ์แบบนี้

เพราะเราเชื่อว่าเรื่องเซ็กซ์เชื่อมโยงกับทุกสิ่ง”

“ตอนซ้อมแรกๆ เราได้คุยกับผู้หญิง 2-3 คน เรื่องความสัมพันธ์กับเซ็กซ์ แล้วได้ยินเขาพูดกันว่าเซ็กซ์

เชื่อมโยงกับทุกสิ่ง ชีวิตตั้งแต่เด็ก ครอบครัว เรียนโรงเรียนไหน คนที่เจอ ความเชื่อที่พัฒนามาแต่เด็ก

ซึ่งก็โดนเอฟเฟ็กต์จากสังคม”

one night standเรื่อง “เซ็กซ์” แบบโลกไม่สวย

5

Page 6: untitled magazine

6

“เรื่องเพศก็คงโดนเอฟเฟ็กต์จากสังคมเหมือนกัน”เธอบอก

พร้อมกับยอมรับตามตรงว่าอดกังวลกับผลงานไม่ได้ด้วยนอกจากประเด็นค่อนข้างรุนแรง ยัง

เป็นการเปิดเผยตัวตนมากกว่าครั้งไหนๆ

“เราคิดว่างานมันต้องส่วนตัวมากคนถึงจะเชื่อมโยงกับประเด็นนี้ได้”

“งานชิ้นนี้เราถือว่าคนดูเป็นคนที่เราอาจจะรับได้ เราจึงอยากจะถามคนดูว่า “ถ้าเราเป็นแบบนี้ คุณ

จะยอมรับเราได้ไหม””

“เราเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของเรามากพอสมควร มากกว่างานชิ้นไหนที่เราเคยทำามา เราจึงรู้สึกกลัว

ความกลัวเป็นอุปสรรคในการผลักดันให้เราสร้างงาน เราต้องการกำาลังใจจากคนอื่น คนที่เคารพใน

สิ่งที่เราเชื่อ เคารพสิ่งที่เราผ่านมา”

แทนการดูถูกด้วยคำาเรียกขานต่างๆ เช่นคำาว่า “แรด”

“ถ้า แรด หมายถึงผู้หญิงที่สนุกกับการมีเซ็กซ์กับหลายคน และพูดเรื่องเซ็กซ์ ถ้าอย่างนั้นเราก็แรด

แต่มันเป็นคำาที่ใช้ดูถูกผู้หญิง”

“สังคมคงเรียกผู้หญิงแรดตั้งแต่ชุดที่ใส่ไม่ต้องมีเซ็กซ์กับใครหรอกการเรียกคนหนึ่งว่า “แรด” คือ

มันง่าย ซึ่งมันเกิดคำาถามขึ้นมาว่าถ้าผู้หญิงแต่งตัวโป๊ หรือไปมีเซ็กซ์มันเกี่ยวอะไรกับคนอื่น นี่คือ

ร่างกายของเขา จิ๋มของเขา มันทำาร้ายคนอื่นเหรอ”

“ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนมุมมองความคิดเกี่ยวกับคำานี้ เราไม่อยากเชื่อว่ายังมีคนที่มองผู้หญิงที่สนุก

กับการมีเซ็กซ์ว่าผิดหรือไม่มีศีลธรรม ไม่ว่าจะแบบไหนกับใคร ก็เป็นสิ่งที่เธอเลือกแล้ว ทุกคนเป็น

เจ้าของร่างกายตัวเอง ซึ่งความคิดนี้เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับสำาหรับหลายๆ คน เพราะว่าเราโตมา

กับคำาสั่งสอนว่าสิ่งไหนผิดสิ่งไหนถูกเกี่ยวกับร่างกายเรา เราไปจำากัดร่างกายด้วยกฎบางอย่าง ก่อน

ที่เราจะถามตัวเองว่าเราอยากได้หรือต้องการอะไร”

อย่างไรก็ตาม สำาหรับ “One night stand” นั้น วิทุราย้ำาว่าไม่ได้มีเจตนาส่งเสริมให้ทุกคนมี

พฤติกรรมเช่นนี้

ขณะเดียวกัน ”ถึงจะทำาตามความอยากแต่เราก็มีเหตุผลนะ”

“เรามีกฎให้ตัวเองว่าโอเค ไม่ยุ่งกับคนที่ทำางาน ไม่เอาแฟนเพื่อน ดูสถานการณ์ด้วย เพราะคิดว่า

มนุษย์ชินกับการสร้างกฎให้ตัวเอง”

“วิเองมีคนถามว่าทำาตามกฎได้ดีกว่าหรือตามความอยากได้ดีกว่าซึ่งเมื่อเราโตมากับกฎเราถนัด

ตามกฎ การปล่อยทำาตามความอยากมันยากกว่า”

หลายคนจึงยอมกักเก็บมันไว้เพื่อให้ชีวิตดำาเนินไปอย่างงดงามบนโลกสวยๆ ใบนี้

Page 7: untitled magazine

7

HUNGRYLICIOUS

i+D Style Café x

Brave Roaster

text / พลอยชิ

พลอยชิขอพาไปชิมกาแฟแนวใหม่ บุกไปที่สยามเซ็นเตอร์ค่ะ ที่ร้าน “i+d Style Cafe x Brave Roasters” ที่บอก

ว่าแนวใหม่เนี่ยก็เพราะว่าหน้าตาของกาแฟที่นี่ไม่ได้ใส่แก้วมาแบบธรรมดาค่าา เค้าจะเสิร์ฟมาในขวดแบน ใส่ขวด

มาในเหยือกน้ำาแข็ง มากับแก้วใส่น้ำาแข็งทรงเหลี่ยมหรู หน้าตาดีสุดๆ

กาแฟที่ใส่มาเค้าเรียกว่ากาแฟ “Cold Brew”ค่ะ เป็นกาแฟคั่วเองที่คิดขึ้นมาใหม่ไม่เหมือนใคร อย่างเช่นจะ

เป็นการแช่กาแฟกับก้านอบเชย และก็เปลือกเลม่อนค่ะ ทำาให้ได้กาแฟกลิ่นใหม่เลย แต่พวกกาแฟใส่ขวดนี่จะ

รสชาติเข้มหน่อยนะ เพราะว่าไม่มีนมกับน้ำาตาล ส่วนเมนูกาแฟอื่นๆใส่แก้วก็มีค่ะหอมอร่อยกาแฟแท้ๆเลย ทั้ง

เมล็ดจากในไทยและก็จากนอก กาแฟทุกอย่างทุกอย่างของเค้าคั่วเองทั้งหมดเลยค่ะ นอกจากนี้ที่นี่เค้ายังขาย

ของไอเดียด้วยค่ะ เป็นของแบรนด์ครีเอทีฟต่างๆ เพราะร้านเค้าร่วมมือกันเปิดระหว่างโรงคั่วกาแฟแบรนด์ Brave

Roaster กับกรมส่งเสริมการพาณิชย์ค่ะ คอกาแฟรีบมาเช็คอินที่นี่ด่วนเลยนะคะ เพราะเค้าจะเปิดเป็น Pop-Up

Store ถึงสิ้นเดือนมีนานี้ค่า

จุดเด่นของร้านคือ เป็นคาเฟ่ต้นแบบที่ผนึกเอาดีไซน์ นวัตกรรม และแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมมาไว้ด้วยกัน มีกาแฟ

ที่ใส่มาในขวดเหล้าดีไซน์เก๋ โดยร้านนี้เกิดจากงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ TIFF 2014 เลยตั้ง Pop-Up Cafe ขึ้น

มาตามงานแสดงใหญ่ๆ เลยเป็นร้านกาแฟที่ขายสินค้าไอเดียหลายอย่าง เป็นสินค้าดีไซน์สวยจากฝีมือคนไทย ไม่

ว่าจะเป็นเครื่องหนัง เครื่องเขียนแบรนด์ต่างๆด้วย เกิดจากการรวมกันระหว่างร้านกาแฟกับกรมส่งเสริมการค้า

การพาณิชย์ ที่สร้างขึ้นเพื่อผลัก Product Local Designer ให้คาเฟ่เข้าถึงคนหมู่มากด้วย ซึ่งเจ้าของร้านมีโรงคั่ว

กาแฟอยู่แล้ว ภายใต้ชื่อ Brave Roaster ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการคั่วกาแฟที่อยู่เบื้องหลังคาเฟ่ดังหลายแห่ง พวกเค้า

เลยอยากคิดคาเฟ่กาแฟใหม่ๆ ไม่เหมือนใคร โดยที่คั่วในแบบของตัวเอง อย่างเช่นออกมาเป็นเมนูกาแฟคั่วที่เค้า

แช่กาแฟกับก้านอบเชย + เปลือกเลม่อน เสริมกลิ่นอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า กาแฟแบบ “Cold Brew”

เมนูแนะนำา : Sukhumvit Iced Coffee , The Origin , กาแฟร้อน-เย็น , espresso , ชานม ส่วนเมนูอื่นๆ ที่

น่าสนใจก็จะมี สลัดแซลม่อน ,สเต็ก ,แพนเค้ก ค่ะ และสำาหรับใครที่หลงใหลในรสชาติของกาแฟก็สามารถซื้อ

ผลิตภัณฑ์ Brave Roasters กลับไปชงกาแฟเองที่บ้านได้ด้วย มีทั้งเมล็ดกาแฟของไทยและต่างประเทศให้เลือกซื้อ

กันด้วยนะคะ

$$$ / 100 - 250 THB

WHERE /Siam Center 1st Floor in the opposite of Armani Exchange

WHEN / 10.00 - 22.00

read this first!

7

Page 8: untitled magazine

8

STYLE

THE POCKET TEE

เสื้อยืดมีกระเป๋าหน้าอกที่เปี่ยมด้วยความสบายและความทนทานสนองการใช้งานจริงคือแบบฉบับของความเรียบง่ายขั้นสูงสุดที่ผู้ชายทุกคนสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ในสัมผัสแรก Pocket Tee คืออีกหนึ่งชิ้น

สำาคัญที่ขาดไม่ได้ในตู้เสื้อผ้า เป็นสิ่งที่หล่อเรียบและเงียบขรึมแทรกความสบายแบบผู้ชาย นี่คือเสื้อยืดที่ถูกสวมใส่โดยสไตล์ไอคอนมานักต่อนัก

ดำารงความคลาสสิคในตัวเองได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

The History

แม้จะไม่มีเร่ืองราวปรากฏแน่ชัดว่าเสื้อยืดคอกลมแบบมีกระเป๋าเสื้อน้ันถือกำาเนิดข้ึน

ครั้งแรกในช่วงปีใด แต่ประวัติความเป็นมาของเสื้อยืดคอกลมนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงสงครามสเปน-

อเมริกันถึงต้นศตวรรษที่ 20 เรื่อยมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสหรัฐเริ่มมีการกำาหนด

ให้เหล่านายทหารสวมเสื้อยืดคอกลมเป็นเสื้อตัวในเครื่องแบบ และในขณะเดียวกันเสื้อยืดคอกลม

แขนสั้นได้กลายเป็นเครื่องแบบ Off-duty ที่แสนจะมีเอกลักษณ์สำาหรับเหล่าทหารผู้กล้าที่เพิ่งหวนคืน

สู่ประเทศ

8

text / wardrobe ministry

Page 9: untitled magazine

9

Men Who Wore It Well

ความนิยมของเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นแพร่หลายเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ถูกสวมใส่โดยไอคอนระดับ

ตำานานมากมายทั้งในจอและนอกจอ จนได้กลายเป็นเครื่องแบบของความเป็นชายอเมริกัน เป็นตัวแทนของความ

สมบุกสมบัน อิสระ และความกบฏที่มีในตัวเอง เป็นชิ้นที่ชายทุกคนสามารถสวมใส่และดูดี ไร้ข้อจำากัดของชนชั้น

และฐานะ

ส่วนความนิยมของกระเป๋าเสื้อหน้าอกเริ่มมีให้เห็นอย่างเด่นชัดที่สุดในช่วงทศวรรษที่ 1970s เป็นต้นมา

ซึ่งให้ประโยชน์ในแง่การใช้งานและดีไซน์ที่ดูเป็นเสื้อตัวในน้อยลง สามารถสวมเป็นชิ้นเดี่ยวๆได้ง่ายขึ้น

Pocket Tee Today

เวลาผ่านไปร่วมครึ่งศตวรรษ เสื้อยืด Pocket Tee ยังคงความนิยมและครอบครอง

พื้นที่ถาวรส่วนหนึ่งในตู้เสื้อผ้าของผู้ชายทุกคน เช่นเดียวกับฝั่งของแบรนด์ที่ทั้งคัดลอกแบบดั้งเดิม

ดัดแปลง แก้ไข และประยุกต์จนเกิดความหลากหลายทั้งเรื่องวัสดุและฟิตติ้ง เพื่อสนองรสนิยมและ

สไตล์การแต่งตัวที่แตกต่างของผู้ชาย จนกระทั่งนิยามของเสื้อยืด Pocket Tee ในวันนี้ได้ขยายกว้าง

เกินกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วอย่างไม่ต้องสงสัย แบ่งออกได้เป็น 3 สไตล์หลักคือ Every Day, Luxury และ

Vintage Style

9

Page 10: untitled magazine

10

PHOFashTO

Page 11: untitled magazine

11

Trippy TripthroughSwargrrr!

PHOFashTOGRAPHED by

Naphaschaya Kanjanasomkid

Page 12: untitled magazine

12

Page 13: untitled magazine

13

Page 14: untitled magazine

14

Page 15: untitled magazine

15

Page 16: untitled magazine

16

Photographer: Naphaschaya KanjanasomkidStylist: Chonlada ChitniphonArt Director: Naisu PrynModel: ZlataMUA: Sarawut Wongphet Body Paint: Harit Punyaaiy Hairdo: OpalAssistants: Gunn Kochapanya / Pornnatcha Yotinsansern

Page 17: untitled magazine

17

Page 18: untitled magazine

18

INTERVIEW18

Page 19: untitled magazine

19

อะไรที่ทำาให้คุณเริ่มเป็นนักเขียน และอะไรที่ทำาให้คุณยังเป็นนักเขียน

ความอยากเขียนมีมาตั้งแต่เด็ก ระหว่างเป็นนักเรียนก็มักเขียนเรื่องสั้น คิดพล็อตเรื่องไปเรื่อยๆ

ตลอดเวลา แม้จะไม่เคยมั่นใจว่าจะสามารถเป็นนักเขียนอาชีพได้ ก็คิดว่าอย่างน้อยจะพยายามทำางานเขียนเป็น

งานอดิเรกไปด้วย ในชีวิตนี้ถ้าได้พิมพ์หนังสือออกมาสักเล่มก็จะดีใจ

สำาหรับผม การเขียนหนังสือหรือความอยากเขียนจึงเป็นธรรมชาติ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นเอง

โดยไม่เกี่ยวกับคำาว่าอาชีพเท่าไรนัก เหมือนกับการวาดรูป ที่บางวันจู่ๆ ก็อยากวาดขึ้นมา ไม่มีใครบังคับ ไม่มี

แรงกดดัน บางคนอาจเรียกว่าความคัน คันที่จะทำา และเมื่อได้ทำาแล้วจริงๆ ถึงขนาดเป็นอาชีพ มีแฟนหนังสือ

คอยตามอ่าน ก็ถือเป็นความสุขอันดับต้นๆ ของชีวิตที่อยากรักษาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำาได้

ผมค่อนข้างเชื่อว่าธรรมชาติกำาหนดหน้าที่ของมนุษย์แต่ละคนในสังคม หน้าที่ตอนนี้ของผมคง

เป็นการเขียน หรือการทำางานศิลปะ ผมไม่คิดว่ามันเป็นทางเลือก แต่คิดว่าเป็นธรรมชาติ โชคดีที่มันเป็นหน้าที่

ที่ผมเองก็ชอบ นี่คือเหตุผลที่ยังคงจะเขียนหนังสือต่อไป จนกว่าผมจะทำาหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือธรรมชาติ

เปลี่ยนให้ผมไปทำาอย่างอื่น

ปัจจุบันนี้การเขียนหนังสือยังเป็นกิจกรรมที่ท้าทายที่สุดขณะทำา และอิ่มเอมที่สุดเมื่อทำาเสร็จ

คำาว่า “นักเขียน” ในทัศนะของคุณต้องมีคุณลักษณะอย่างไร และใครคือ “ต้นแบบ” ในการเขียนหนังสือของ

คุณ

นักเขียนมีหลายรูปแบบ แต่สำาหรับผม นักเขียนคือผู้ใช้ทักษะและศิลปะทางภาษาในการบันทึก

ความเป็นมนุษย์ ดังนั้น ธรรมชาติของนักเขียนแบบนี้ น่าจะต้องชอบศึกษาความเป็นมนุษย์ น่าจะต้องเป็นคน

ช่างสังเกต ช่างคิดทบทวน หาความรู้เพิ่มเติมเสมอ มีความเข้าใจความเป็นไปต่างๆ ได้กว้างพอสมควรโดยไม่

ยึดติดมากนัก

ผมไม่คิดว่าคนทำางานศิลปะคือผู้ชี้นำาสังคม แต่เป็นผู้สะท้อนและวิเคราะห์สังคมมากกว่า นักเขียน

จึงน่าจะเขียนสะท้อนรายละเอียดทุกๆ แบบที่มีอยู่ในสังคมมนุษย์ได้ คนอ่านจะเป็นคนตัดสินเองว่านักเขียนคน

PRABDA IS A WRITER.

19

Page 20: untitled magazine

2020ไหนสามารถนำาสังคม หรือเป็นเสียงของสังคม ผมไม่คิดว่าตัวนักเขียนควรคิดไว้ในหัวว่าจะ

ชี้นำา ผมไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่กำาหนดได้โดยตัวนักเขียนเอง

อาจไม่สำาคัญนักที่นักเขียนต้องทดลองหรือเล่นกับขนบทางภาษา แต่ผมมักชอบ

คนที่ทำา นอกจากจะสนุกตามไปด้วยแล้ว มันยังสะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนในทุกสิ่ง ยิ่ง

ถ้าสามารถเล่นกับภาษาอย่างเมามันเท่านักเขียนอย่างเจมส์ จอยซ์ ยิ่งสามารถเป็นแรงบันดาล

ใจให้คนตั้งคำาถามกับขนบและกรอบต่างๆ ได้มาก ผมเชื่อในการตั้งคำาถาม เชื่อในการท้าทาย

ธรรมเนียม เพราะมันมักจะทำาให้เกิดการตรวจสอบที่เป็นประโยชน์

ต้นแบบของผมสมัยเด็กกว่านี้คือฮิวเมอริสต์ หรือครูอบ ไชยวสุ เรียกได้ว่าทั้ง

ชีวิตและผลงานของครูอบคือภาพของความสมบูรณ์แบบในความเป็นมนุษย์ในสายตาของผม

งานของแกสนุก ตลก แสบสันต์ ทันสมัย หลากหลาย แฝงการสะท้อนสังคม มีความรู้ความ

เข้าใจทางภาษาดีเยี่ยม ทั้งไทยและอังกฤษ แต่ในขณะเดียวกันก็สื่อออกมาอย่างสบายๆ ไม่

แสดงตัวเป็นปราชญ์หรือเป็นผู้นำาอะไร ไม่ยัดเยียดอุดมการณ์อะไรให้ใคร ในชีวิตจริงก็มีทั้ง

ด้านที่มีสีสัน คบค้าสมาคมกับคนน่าสนใจแห่งยุคสมัยทั้งนั้น แต่ก็มีด้านสงบ อยู่บ้านเงียบๆ

มีครอบครัวที่ดี ตายเพราะชราภาพ ผมนึกไม่ออกเลยว่าชีวิตใครจะดีไปกว่านั้น ผมไม่ค่อย

ได้กลับไปอ่านงานของครูอบเท่าไรนัก และผมได้รู้จักงานนักเขียนอีกหลายคน แต่ถ้าถามว่า

ต้นแบบเป็นใคร ก็ต้องเป็นครูอบ ถ้าผมทำาได้ครึ่งหนึ่งที่แกเคยทำา ผมก็คงพอใจแล้ว

แต่อย่างที่บอกว่านักเขียนมีหลายรูปแบบ ผมคิดว่าเป็นเรื่องดี ไม่ใช่ทุกคนต้อง

เป็นอย่างคนที่ผมชอบ ตราบที่แต่ละคนเขียนได้มีคุณภาพในสาขาของตัวเอง ยกตัวอย่าง ผม

ไม่ชอบงานแดน บราวน์ ไม่ใช่เพราะเขาเขียนนวนิยายแนวนั้น แต่ที่ไม่ชอบเพราะผมรู้สึกว่า

เขาเขียนได้ไม่ดี ไม่มีศิลปะในการเขียนที่น่าประทับใจ ถ้าเขาเขียนได้ดีผมก็จะชอบ ที่จริง

แนวที่แดน บราวน์เขียนก็คือหนังสือแนวเชอร์ล็อค โฮล์มส์ของยุคสมัยนี้ ซึ่งตอนเด็กผมติด

งอมแงม แต่คนเขียนสมัยก่อนเขียนได้มีศิลปะกว่ามาก หรืออย่างพวก chic lit ผมไม่อ่านเลย

แต่ไม่อ่านเพราะไม่สนใจเนื้อหาของมัน ไม่ใช่เพราะไม่ชอบที่นักเขียนไปเขียนเรื่องทำานองนั้น

ถ้าเขาเขียนดี ผมก็ว่าไม่เป็นปัญหา ผมไม่อ่านก็มีคนอ่านเป็นล้านอยู่แล้ว ขอให้เขียนดีเถอะ

“นักเขียนคือคนที่ต้องมีงานเขียน หรือเขียนอยู่เสมอ การเคยเขียนมาแล้วไม่ได้แปลว่าเป็นนักเขียน มันแปลว่าเคยเป็นนักเขียนมากกว่า

Page 21: untitled magazine

21

ที่สำาคัญ นักเขียนคือคนที่ต้องมีงานเขียน หรือเขียนอยู่เสมอ ไม่ใช่เรียกตัวเอง

ว่านักเขียนแต่ไม่เขียนอะไรเลย การเคยเขียนมาแล้วไม่ได้แปลว่าเป็นนักเขียน มันแปลว่าเคย

เป็นนักเขียนมากกว่า เวลาผมไม่ได้เขียนอะไร ผมไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นนักเขียน กระดากปาก

ที่จะเรียกตัวเองว่านักเขียนด้วยซ้ำา เรียกว่าเป็นนักอ่านยังดีกว่า เพราะอ่านทุกวันจริงๆ การ

เป็นนักเขียนหรือศิลปินไม่น่าจะเป็นนามธรรมขนาดนั้น ถ้าไม่เขียนก็ไม่ใช่นักเขียน

ปณิธานสูงสุดในฐานะ “นักเขียน” ของคุณคืออะไร และถึงวันนี้ คุณทำาได้สมปณิธานที่คุณ

ตั้งไว้หรือยัง

ปณิธานสูงสุดคือเขียนให้ได้อย่างที่คิด เท่านั้นเอง เพราะโดยปกติกระบวนการ

คิดจะซับซ้อนและสนุกสนานกว่าตัวหนังสือบนหน้ากระดาษ ผมรู้สึกว่าบ่อยครั้งเขียนไม่ได้ดั่ง

ใจ แต่มีหลายครั้งที่ตัวหนังสือบนหน้ากระดาษดีกว่าสิ่งที่คิดอยู่ ก็ปนๆ กันไป

ในทัศนะของคุณ สิ่งสำาคัญที่สุดที่วรรณกรรมชิ้นหนึ่งพึงมี คืออะไร และทำาไม

ความน่าอ่าน ไม่ว่าจะในรูปแบบใด เพราะถ้าไม่น่าอ่าน ก็ไม่รู้จะมีขึ้นมาทำาไม

การที่วรรณกรรมชิ้นหนึ่งจะได้ชื่อว่า “ห่วยแตก” นั้น คุณคิดว่ามีเหตุผลมาจากอะไร

บางทีผมคิดว่าไม่มีอะไรที่ห่วยแตก มีแต่สิ่งที่ไม่ค่อยมีประโยชน์

ณ วันนี้ คุณมอง “วงการวรรณกรรมไทย” เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับ “วงการวรรณกรรมต่าง

ประเทศ”

ในแง่ของความเป็นวงการ ประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางการอ่านและการเขียน

ที่แข็งแรงทั้งหลาย ย่อมต้องยังมีระบบที่ชัดเจนและต่อเนื่องกว่าวงการในเมืองไทย แต่ถ้าพูด

ถึงคุณภาพของการเขียนและการอ่าน คงจะคล้ายๆ กันยิ่งขึ้นทุกที คนอ่านหนังสืออย่างเป็น

กิจวัตรน้อยลง นักเขียนที่โดดเด่นมีน้อยลง และหนังสือใหม่ๆ ที่มีความน่าสนใจในระดับ

กว้างมีน้อยลง

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก วรรณกรรมอาจจะถึงจุดอิ่มหรือจุดเปลี่ยนบางอย่างแล้ว

ก็ได้ เพราะจะว่าไป พูดถึงวรรณกรรมดีๆ โลกของเราก็มีอยู่มากมายในปริมาณที่ชีวิตคนคน

หนึ่งก็อ่านไม่หมด ที่จริงไม่จำาเป็นต้องมีคนเขียนเรื่องใหม่ๆ เพิ่มก็ได้

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดเป็นพิเศษคือคนวรรณกรรมไทยมีความ

ยึดติดสูง ยึดติดว่าอะไรคือวรรณกรรม มีความเชื่อฝังลึก มีทัศนคติจำากัด และมีอคติกับสิ่ง

แปลกปลอม ทั้งๆ ที่ความรู้ความเข้าใจทางวรรณกรรมไม่กว้างขวางอย่างเป็นระบบนัก ผม

คิดว่านิยามของคำาว่าวงการวรรณกรรมไทยอาจจะเกิดขึ้นมาในยุคหนึ่ง ยุคที่นักเขียนถูก

สรรเสริญหรือสำาคัญตนเป็นปราชญ์ เป็นผู้นำาทางอุดมการณ์ เป็นชีวิตที่โรแมนติก หรืออะไร

ต่างๆ ที่เป็นภาพลักษณ์ และปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อเหล่านั้นหลงเหลืออยู่มาก ทำาให้ประเด็น

ของการเขียนไม่ค่อยหลากหลายเท่าที่ควร

ที่น่าสนใจคือคนวรรณกรรมจำานวนไม่น้อยมีทัศนคติไม่ดีกับคำาว่าปัจเจกนิยม

ตีความว่าคือการสนใจแต่ตัวเอง ไม่สนใจสังคม แต่ผมกลับรู้สึกว่าวงการวรรณกรรมไทยมีแต่

งานแบบปัจเจกนิยมทั้งนั้น เพราะงานเขียนส่วนใหญ่เขียนความรู้สึกตัวเอง ทัศนคติของตัว

เอง อุดมการณ์ตัวเอง โดยไม่มีการค้นคว้าข้อมูล ไม่มีการศึกษาอะไรเพิ่มเติมเท่าไรนัก ใน

ขณะที่นักเขียนต่างชาติส่วนใหญ่จะต้องทำางานหนักในการหาข้อมูลก่อนจะเขียนหนังสือสัก

เล่ม เขามักจะสนใจเขียนเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ จึงต้องไปศึกษาก่อน แต่นักเขียนไทยมักเขียนเรื่อง

ที่ตนคุ้นเคยและเชื่อแล้ว

ที่ทางและทิศทางของ “วรรณกรรมสร้างสรรค์” ของไทย ณ วันนี้ ในทัศนะของคุณเป็น

อย่างไร

โดยธรรมชาติ ไม่ว่าที่ไหนในโลกวรรณกรรมสร้างสรรค์เป็นพื้นที่เล็กๆ ของคน

กลุ่มน้อย และในเมืองไทย วรรณกรรมที่จะเรียกว่าสร้างสรรค์จริงๆ ก็มีไม่มาก หลายคน

ตีความคำาว่าสร้างสรรค์เป็นการสร้างสรรค์จรรโลงสังคม แต่คำาว่าสร้างสรรค์ที่ผมเข้าใจคือ

คำาว่า creative หรือ artistic นั่นคือมีความน่าตื่นเต้นทางการทดลอง มีความแปลกใหม่ มี

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ซึ่งเท่าที่เห็นในเมืองไทยก็มีบ้าง แต่น้อย

ที่จริงผมเห็นว่าสังคมไทยมีประเด็นมากมายที่น่าเขียนถึง ผมอยากอ่าน โดย

เฉพาะบางเรื่องที่ผมไม่สามารถเขียนเองได้เพราะไม่รู้พอ อยากให้คนอื่นเขียนกันเยอะๆ

อย่างช่วงไหนมีข่าวพระมั่วเซ็กซ์ ผมอยากให้มีคนเขียนนวนิยายเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ออก

มา มันจะน่าสนใจมาก แต่ก็ไม่มีใครเขียน ประเด็นความเสื่อมของศาสนาพุทธในไทยเป็น

ประเด็นที่น่าสนใจมากในยุคนี้ เพราะเรามักจะภาคภูมิใจในความเป็นพุทธกันเหลือเกิน มัน

สะท้อนอะไรมากมาย เหมาะจะมีนวนิยายเด่นๆ มาช่วยสะท้อนได้ แต่ก็ไม่เห็นมีใครเขียน

หรือมีแล้วแต่ผมอาจจะโง่เองที่ไม่รู้

เรื่องทางการเมืองก็ไม่มีคนเขียนแบบรู้ความเคลื่อนไหวภายใน จะมีอย่างมากก็

เสียดสีนักการเมือง นักการเมืองไม่ดี ขี้โกง บ้าอำานาจ บ้าเงิน แต่ไม่มีนวนิยายที่พาเราเข้าไป

ในชีวิตของคนพวกนั้นจริงๆ สมัยก่อนคุณ ’รงค์ วงษ์สวรรค์เขียนเรื่องสะท้อนสังคมจากวงใน

ไว้เยอะ แต่สมัยนี้แทบไม่มีใครทำาเลย เพราะนักเขียนมักแยกตัวเองออกมา เขียนจากความ

รู้สึกและความเชื่อ มากกว่าจะเขียนจากความรู้

สุดท้าย ขอรายนามนักเขียนคนโปรด 5 คน และวรรณกรรมชิ้นโปรด 5 เล่ม (มาก/น้อยกว่า

นี้ก็ไม่ว่ากัน)

นักเขียน: ฮิวเมอริสต์ (ครูอบ ไชยวสุ), Saul Bellow, Vladimir Nabokov, Sher-

wood Anderson, Fernando Pessoa, Algernon Blackwood, Gustave Flaubert, Jeffrey

Eugenides, Donald Barthelme, Groucho Marx, Patricia Highsmith, George Saunders,

Arthur Bradford ฯลฯ

หนังสือ: เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และอ่านงานวรรณกรรมน้อยลงกว่างานสารคดีหรือ

non-fiction เพราะงานวรรณกรรมเริ่มจะซ้ำาๆ กระทั่งงานทดลองที่สุดของเมืองนอกก็ไม่มี

อะไรน่าตื่นเต้น คนเขียนงาน non-fiction มีมากขึ้นและเขียนได้ดีมากพอๆ กับคนเขียน

วรรณกรรม ที่สำาคัญคือได้ความรู้มากกว่า งานวรรณกรรมช่วงหลังๆ ผมย้อนไปอ่านงาน

เก่าๆ ปีนี้ชอบงานของ Flaubert กับ J. K. Huysmans

ที่มา: http://www.thaiwriter.org/intv_prabda.htm

21

Page 22: untitled magazine

22