TPM for the Lean Factory THAI Version -10

7
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING 9 ในช่วงไม่กี่ปีมาน้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเครื่องจักรในโรงงานมีความเร็วและความเป็นอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นมีอัตราการเดินเครื่องเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อเราเดินสำรวจความเป็นไปในโรงงาน ในแต่ละวัน เราจะพบความจริงอยู่เสมอว่ายังมีเครื่องจักรที่อัตราการเดินเครื่องลดลง ทั้งนี้เพราะเกิดการหยุดของ เครื่องจักรที่ไม่ใช่การหยุดเล็กน้อยซึ่งแก้ไขได้ง่าย แต่เป็นการหยุดที่ต้องใช้เวลาแก้ไขปานกลางหรือยาวนาน โดยทีเราไม่สามารถตรวจจับสิ่งบอกเหตุต่างๆ ได้ก่อนเลย ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเราใช้เครื่องจักรอย่างเดียวจนกระทั่งเสียหาย ไม่เคยกำหนดให้มีการตรวจสอบ ตามจุดต่างๆ ประจำวัน อนึ่ง ถ้าเครื่องจักรหยุดเล็กน้อยเกิดขึ้น การปรับแต่งเพียงเล็กน้อยโดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลา หาสาเหตุที่แท้จริง หรือบางครั้งก็เดินเครื่องให้ช้าลง ทั้ง 2 วิธีจะช่วยให้เราเดินเครื่องจักรได้ต่อไป ซึ่งการทำเช่นนี้จริงอยูไม่กระทบต่ออัตราการเดินเครื่องจักร แต่อย่าลืมว่ากระทบต่ออัตราการผลิต กล่าวคือ การใช้เครื่องจักรที่ไม่สมบูรณ์ หรือบางชิ้นส่วนบกพร่อง การปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ จะไม่เต็มที่ ของเสียจะเกิดขึ้น และอัตราการใช้ประโยชน์จาก วัตถุดิบจะลดลง แม้เครื่องจักรที่เรายอมรับว่าไม่มีความแน่นอนอีกต่อไป เราก็ไม่สามารถทิ้งมันได้ เพราะยังอยู่ในช่วงทีสามารถหักค่าเสื่อมราคา อย่างในหลายโรงงานที่วางเครื่องจักรที่ใช้งานไม่ได้ไว้โดยรอบ ประหนึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในโรงงาน วิธีหนึ่งของการนำแนวคิดการตรวจสอบประจำวันมาใช้ในโรงงานลักษณะ นี้คือ เริ่มจากการกำจัดเครื่องจักรหยุดเล็กน้อย การปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ และหลังจากนั้นจึงค่อยหาสาเหตุที่แท้จริง ถ้าอยู่ๆ เรากำหนดการตรวจสอบตามจุดต่างๆ ของเครื่องจักรประจำวันขึ้นมา ทั้งที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่เคยทำมาก่อน เราก็จะพบกับปัญหาเครื่องจักรที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อน และแน่นอน เราต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ซึ่งบ่อยครั้งเป็นวิธีที่รับไม่ได้ สุดท้ายทั้งประสิทธิภาพการตรวจสอบและประสิทธิผลของเครื่อง- การส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

Transcript of TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Page 1: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

159การส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

9

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเครื่องจักรในโรงงานมีความเร็วและความเป็นอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็น

ส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นมีอัตราการเดินเครื่องเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อเราเดินสำรวจความเป็นไปในโรงงาน

ในแต่ละวัน เราจะพบความจริงอยู่เสมอว่ายังมีเครื่องจักรที่อัตราการเดินเครื่องลดลง ทั้งนี้เพราะเกิดการหยุดของ

เครื่องจักรที่ไม่ใช่การหยุดเล็กน้อยซึ่งแก้ไขได้ง่าย แต่เป็นการหยุดที่ต้องใช้เวลาแก้ไขปานกลางหรือยาวนาน โดยที่

เราไม่สามารถตรวจจับสิ่งบอกเหตุต่างๆ ได้ก่อนเลย

ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเราใช้เครื่องจักรอย่างเดียวจนกระทั่งเสียหาย ไม่เคยกำหนดให้มีการตรวจสอบ

ตามจุดต่างๆ ประจำวัน อนึ่ง ถ้าเครื่องจักรหยุดเล็กน้อยเกิดขึ้น การปรับแต่งเพียงเล็กน้อยโดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลา

หาสาเหตุที่แท้จริง หรือบางครั้งก็เดินเครื่องให้ช้าลง ทั้ง 2 วิธีจะช่วยให้เราเดินเครื่องจักรได้ต่อไป ซึ่งการทำเช่นนี้จริงอยู่

ไม่กระทบต่ออัตราการเดินเครื่องจักร แต่อย่าลืมว่ากระทบต่ออัตราการผลิต กล่าวคือ การใช้เครื่องจักรที่ไม่สมบูรณ์

หรือบางชิ้นส่วนบกพร่อง การปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ จะไม่เต็มที่ ของเสียจะเกิดขึ้น และอัตราการใช้ประโยชน์จาก

วัตถุดิบจะลดลง

แม้เครื่องจักรที่เรายอมรับว่าไม่มีความแน่นอนอีกต่อไป เราก็ไม่สามารถทิ้งมันได้ เพราะยังอยู่ในช่วงที่

สามารถหักค่าเสื่อมราคา อย่างในหลายโรงงานที่วางเครื่องจักรที่ใช้งานไม่ได้ไว้โดยรอบ ประหนึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือ

เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในโรงงาน วิธีหนึ่งของการนำแนวคิดการตรวจสอบประจำวันมาใช้ในโรงงานลักษณะ

นี้คือ เริ่มจากการกำจัดเครื่องจักรหยุดเล็กน้อย การปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ และหลังจากนั้นจึงค่อยหาสาเหตุที่แท้จริง

ถ้าอยู่ๆ เรากำหนดการตรวจสอบตามจุดต่างๆ ของเครื่องจักรประจำวันขึ้นมา ทั้งที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน

ไม่เคยทำมาก่อน เราก็จะพบกับปัญหาเครื่องจักรที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อน และแน่นอน เราต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด

ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ซึ่งบ่อยครั้งเป็นวิธีที่รับไม่ได้ สุดท้ายทั้งประสิทธิภาพการตรวจสอบและประสิทธิผลของเครื่อง-

การส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

Page 2: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

160 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

จักรมีแต่แย่ลง นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงแนะนำวิธีการต่อไปนี้เพื่อการส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

การนำเสนอการตรวจสอบประจำวันและการนำไปปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 1 สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานีงาน

1. ทบทวนรายงานการปฏิบัติงานประจำวันย้อนหลัง 6 เดือน โดยเฉพาะบันทึกเครื่องจักรเสียในรายการ

ที่ครั้งสุดท้ายหยุดนานตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป

2. สรุปปัญหาโดยใช้แบบฟอร์มอย่างตารางที่ 9-1

ผลการเก็บข้อมูลตามลำดับสถานีงาน ถูกแสดงไว้ในภาพที่ 9-1 หรือหากคุณต้องการเรียงตามการไหลของ

วัสดุก็ย่อมทำได้ สำหรับในแต่ละสถานีงานคุณสามารถเรียงลำดับปัญหาตามความถี่ของการเกิดหรือเวลาหยุดรวม

(เวลาหยุดทุกครั้งของแต่ละปัญหารวมกัน) แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้การเรียงตามลำดับความถี่

ตารางที่ 9-1 รูปแบบการสรุปปัญหา

ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์กลไกการเกิดความเสียหาย

1. ใช้การวิเคราะห์ตามหลักของพาเรโต (Pareto Analysis) เพื่อหาปัญหาที่มีความสำคัญมากสุด เพื่อที่จะ

ดำเนินการเป็นชุดแรก

2. พิจารณาอย่างละเอียดกับชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่เสียหายไป

3. ดำเนินการสำรวจในสถานที่จริง หรือก็คือสถานีงานทีเกิดปัญหาเครื่องจักรเสียนั่นเอง

4. ใช้การวิเคราะห์แบบ Why-Why เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและมีวิธีการแก้ไข (ภาพที่ 9-2)

ขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติตามวิธีการที่คิดว่าสามารถกำจัดสาเหตุที่แท้จริงได้

ขั้นตอนที่ 4 ติดป้ายบ่งชี้การตรวจสอบประจำวันที่ตัวอุปกรณ์

1. การหยุดเล็กน้อยใดที่เรากำจัดได้ ให้เราติดป้ายบ่งชี้เพื่อการตรวจสอบประจำวันเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

2. ต้องมันใจว่าพนักงานประจำเครื่องจักรสามารถทำการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ก่อน

ล่วงหน้าได้ (Instant Maintenance) หากการหยุดเล็กน้อยนั้นกลับมาอีก

Page 3: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

161การส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

ขั้นตอนที่ 5 แบ่งชิ้นส่วนหรืออะไหล่ที่ต้องใช้ออกเป็น 3 กลุ่ม

สร้างผังพาเรโต (Pareto Chart) เพื่อจำแนกชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบต่างๆ ตามความถี่ของการใช้เนื่องจาก

การเสียหายออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่ม A: ชิ้นส่วนหรืออะไหล่ที่ต้องมีอยู่ในมือเสมอ

กลุ่ม B: ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ต้องมีสัญญาพิเศษกับผู้ขายให้พร้อมจัดส่งตลอดเวลา

กลุ่ม C: ชิ้นส่วนอะไหล่ที่เข้ากระบวนการจัดซื้อตามปกติ

ขั้นตอนที่ 6 จัดการกับการคงคลังชิ้นส่วนหรืออะไหล่

ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ถูกใช้บ่อย (กลุ่ม A) ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กและมีการใช้หลายจุด คือกลุ่มที่จัดการ

ง่ายที่สุดโดยใช้ระบบถังคู่ (Two-Bin System) (ดูบทที่ 5 หน้า 102) สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่อื่นที่ต้องมีการสั่งซื้อ เวลาที่

ใช้ในการส่งมอบควรถูกนำมาพิจารณาด้วย สูตรในการคำนวณจุดสั่งซื้อล่วงหน้าคือ

จำนวนครั้งที่จักรเสียต่อวัน X เวลาที่ใช้ในการส่งมอบ X เวลาเผื่อ

ขั้นตอนที่ 7 ปรับปรุงขั้นตอนการเปลี่ยนชิ้นส่วน

การกำจัดความสูญเปล่าต้องลงหน้างาน คิดถึงวิธีที่ดีกว่า และลงมือปฏิบัติทันที ตัวอย่างเช่น การต่อสายไฟ

ในภาพที่ 9-3 ซึ่งเดิมทั้ง 3 จุดต้องใช้สกรูขัน การปรับปรุงทำได้โดยเปลี่ยนเป็นการใช้ปลั๊กที่ง่ายและเร็วกว่า อีกสิ่ง

หนึ่งที่ต้องไม่ลืม คือ เครื่องมือและชิ้นส่วนอะไหล่ที่จะเปลี่ยนต้องอยู่ใกล้เครื่องจักรเสมอ

ขั้นตอนที่ 8 หาสาเหตุที่แท้จริงของการแตกหักของชิ้นส่วนหรืออะไหล่

การปฏิบัติทั้ง 7 ขั้นตอนแรกยังไม่ทำให้ปัญหาจบลง คุณต้องเดินหน้าต่อไปในการตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่ที่

แตกหักเหล่านั้นเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไม (วิเคราะห์แบบ Why-Why) และหามาตรการกำจัดต่อไป

ขั้นตอนที่ 9 อบรมการบำรุงรักษาประจำวันให้กับพนักงานอย่างทั่วถึง

หัวหน้างานควรกำหนดตารางและวิธีการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวันเพื่อที่จะนำไปสอนให้กับพนักงาน

ส่วนพนักงานก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้สัมผัสทั้งห้าในระหว่างการตรวจสอบได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นชิมรส และ

มือสัมผัสจับต้อง (ทั้งนี้ไม่ว่าจะด้วยสัมผัสใดก็ตาม ต้องมั่นใจว่าปลอดภัย)

G การใช้สายตาตรวจดูเครื่องจักรอย่างระมัดระวังมิให้มีสิ่งใดหลุดลอดไปได้ สามารถช่วยพนักงานให้ตรวจ

จับการรั่วซึมของน้ำมัน ระดับน้ำมันที่ลดลง ความสกปรก รอยแตกร้าว การกัดกร่อน การเกิดสนิม การ

หลวมคลอน และความดันที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

G การใช้หูฟังเสียงต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้น เช่น เสียงโหยหวนหรือเสียงบดขยี้จากภายในมอเตอร์ จากเครื่องปั๊ม

โลหะ เป็นเสียงที่บอกได้ทันทีว่าเกิดความผิดปกติขึ้นแล้ว

G การใช้จมูกดมกลิ่นก็สามารถช่วยให้เราตรวจจับความผิดปกติได้ เช่น กลิ่นไหม้ บ่งบอกว่ากำลังเกิดความ

ร้อนสูงเกินไป (Overheat) ที่ไหนสักแห่ง

Page 4: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

167การส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

กรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นก็พยายามอย่างหนักในการลดการใช้ชิ้นส่วนที่แตกต่างกันเช่นกัน

3. การหยุดเล็กน้อยมีแนวโน้มจะลดลง ถ้าป้อนชิ้นงานช้าลงหรือค่อยๆ ป้อนด้วยมือ

4. เครื่องจักรเสีย หมายถึง เครื่องจักรไม่สามารถทำหน้าที่ของมันต่อไปได้ทั้งที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน และ

การแก้ไขต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แรงงาน เวลา ชิ้นส่วนหรืออะไหล่ และเงิน

ขั้นตอนการกำจัดการหยุดเล็กน้อย

ภาพที่ 9-4 แสดงขั้นตอนพื้นฐานในการกำจัดการหยุดเล็กน้อย แบบฟอร์มที่จะช่วยให้แต่ละขั้นตอนสะดวก

ขึ้น แสดงไว้ในส่วนสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน

การหยุดเล็กน้อยที่ปรากฏให้เราเห็นเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง แต่เราต้องการเห็นภูเขาน้ำแข็งนี้ทั้งก้อน

จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องเริ่มด้วยการทำภาพของสถานการณ์ปัจจุบันให้ชัดเจนที่สุด

1. บันทึกเวลาเดินเครื่องจักรประจำวัน (นับเฉพาะเวลาที่เครื่องจักรเดินเท่านั้น) หรือ Direct Operating Time

(DT) ของแต่ละเครื่องจักรหรืออุปกรณ์

2. บันทึกเวลารับภาระงานประจำวัน (นับเวลารวมทั้งหมดที่เครื่องจักรอยู่ในชั่วโมงทำงานของโรงงาน) หรือ

Total Daily Time On The Job (TT)

3. คำนวณหาอัตราการเดินเครื่องจักร (DT/TT) สำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ

เมื่ออัตราการเดินเครื่องต่ำ เราต้องทราบให้ได้ว่าเวลาที่เครื่องจักรและอุปกรณ์หยุดมีมากเพียงใดในแต่ละวัน

เวลาหยุดนี้หมายรวมถึงเวลาตั้งเครื่องจักรหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิต เวลาปรับแต่ง เวลาแก้ปัญหาคุณภาพ เวลาหยุด

เล็กน้อย เวลาหยุดปานกลาง เวลาหยุดยาวนาน และเวลาหยุดเนื่องจากการวางแผน

4. ทำเหตุการณ์ที่เกิดเครื่องหยุดต่างๆ ให้เห็นเป็นภาพอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เกิดเหตุ ความถี่ของ

การเกิด ชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ตัวที่เป็นต้นเหตุ

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณากระบวนการอีกครั้งโดยเน้นการหาข้อมูล ณ จุดเกิดเหตุ

สำรวจการหยุดต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ จัดลำดับความสำคัญ หาความถี่ของการเกิดและการทิ้งช่วง

เวลาระหว่างการเกิดแต่ละครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เพื่อจินตนาการถึงแนวทางการเป็นไปของสิ่งต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 3 จดจ่ออยู่กับเป้าหมาย

เป้าหมายคือเครื่องจักรหยุดเล็กน้อยเป็นศูนย์ ซึ่งการปรับปรุงต่างๆ ต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ

ปรับปรุงใน 7 รายการต่อไปนี้ที่ไม่ควรพลาด:

1. การปรับปรุงที่ทำให้มั่นใจว่า คุณจะไม่หยุดเครื่องจักรเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนป้อนเข้าสู่

กระบวนการ (หยุดเพราะไม่ให้เครื่องจักรเดินตัวเปล่า) หรือเนื่องมาจากวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการมากเกินไปอย่างมาก

(หยุดเพราะป้องกันการผลิตจนไม่มีที่จะเก็บ)

Page 5: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

187การส่งเสริมการตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน

ตัวอย่างการปรับปรุงขนาดเล็ก

หัวข้อนี้เป็นการแบ่งปันตัวอย่างการปรับปรุงขนาดเล็กที่เคยมีประสบการณ์จากบริษัท K

ภาพที่ 9-7 แสดงวิธีป้องกันสายไฟหลุดจากกล่องลิมิตสวิตช์ ทีมปรับปรุงได้นำเข็มขัดรัดสายมารัดให้อยู่กับที่

แรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรจึงไม่ทำให้จุดต่อสายที่อยู่ภายในขยับเขยื้อนได้

ภาพที่ 9-8 แสดงวิธีป้องกันการปริแตกของท่อแรงดันน้ำมัน การสั่นสะเทือนของเครื่องจักรทำให้ท่อยาง โค้ง

งอจนปริแตกและมีน้ำมันรั่วออกมา วิธีแก้ที่ไม่ยากก็คือนำลวดสปริงมาพันรอบท่อยางเพื่อให้สามารถทนแรงเค้นจาก

การโค้งงอได้มากขึ้น และไม่ทำให้เกิดการปริแตกอีก

ภาพที่ 9-9 แสดงแนวทางป้องกันท่อร้อยสายไฟสายเข้ามอเตอร์ขยับตัวออกจากกล่องต่อสายเนื่องจากความ

สั่นสะเทือนขณะมอเตอร์หมุน ปัญหาถูกป้องกันโดยใช้เข็มขัดรัดสายมารัดในจุดที่ใกล้กับกล่องต่อสายให้มากที่สุด

ภาพที่ 9-10 คือตัวอย่างของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า (Instant Main-

tenance) การถอดฝาครอบสายพานเป็นขั้นตอนที่น่าเบื่อในการเปลี่ยนสายพาน (V-belt) พนักงานจึงทำการปรับปรุง

เล็กๆ เพื่อให้ขั้นตอนนี้ง่ายขึ้นโดยเปลี่ยนบานยึดฝาครอบที่เดิมเป็นรูเจาะมาเป็นร่อง (U-slot) และเปลี่ยนนอตยึดหัว 6

เหลี่ยมมาเป็นหางปลาที่ยึดได้เร็วกว่า เพราะไม่ต้องใช้ประแจในการขันแน่น วิธีง่ายๆ เช่นนี้คุณสามารถนำไปใช้ได้

เสมอ

ภาพที่ 9-11 แสดงการแก้ปัญหาบริเวณที่มีความโค้งงอของท่อลำเลียงเนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ ทำให้เกิด

การติดขัดของวัสดุอยู่ภายใน และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เครื่องจักรก็ต้องหยุดเพื่อทำการแก้ไข โดยสาเหตุแล้ว ปัญหานี้น่า

จะเป็นเพียงการหยุดเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงมักกลายเป็นการหยุดที่ยาวนาน ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงตั้งเริ่ม

แรก ด้วยการออกแบบให้ปลายทั้ง 2 ข้างของส่วนโค้งสามารถถอดประกอบเข้ากับจุดเชื่อมต่อของมันได้โดย

ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา การถอดแค่ส่วนนี้ก็สามารถทำการบำรุงรักษาได้

ภาพที่ 9-12 แสดงให้เห็นการค้นหาปัญหาจากข้อจำกัดของลิมิตสวิตช์ที่พบว่ามันจะไม่ทำงานถ้าชิ้นงานที่เข้า

มาคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่กำหนด และปัญหานี้ได้รับการปรับปรุงโดยการนำอุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งด้วยแสง

(Photoelectric) มาติดตั้ง

ภาพที่ 9-13 แสดงให้เห็นว่าการที่ทางวิ่ง (Runner) ของตัวตัด (Cutter) อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องและ

เกิดการติดขัดจะนำไปสู่การหยุดเล็กน้อยและปานกลางได้อย่างไร พนักงานป้องกันปัญหานี้โดยการติดตั้งอุปกรณ์

ตรวจจับตำแหน่งด้วยแสง ซึ่งจะทราบได้ทันทีเมื่อเกิดการคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง ภาพที่ 9-14 ในหน้า 197 ถึงหน้า

199 สรุปจำนวนตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนการปรับปรุงจำนวนหนึ่ง

Page 6: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

188 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ภาพที่ 9-8 วิธีป้องกันการปริแตกของท่อแรงดันน้ำมัน

ภาพที่ 9-7 วิธีป้องกันสายไฟหลุดจากกล่องลิมิตสวิตช์

Page 7: TPM for the Lean Factory THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

190 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ภาพที่ 9-11 แสดงการแก้ปัญหาบริเวณโค้งงอ

แบบฟอร์มการตรวจสอบประจำวันรูปแบบต่างๆ

ในหัวข้อนี้ขอแบ่งปันตัวอย่างจริงของแบบฟอร์มการตรวจสอบประจำวันรูปแบบต่างๆ ที่ใช้กันในหลาย

บริษัท และถ้าบริษัทใดไม่อยากเสียเวลาออกแบบแบบฟอร์มของตนเอง ก็สามารถนำแบบฟอร์มเหล่านี้ไปใช้ได้ แต่

ต้องประยุกต์ให้เข้าแต่ละโรงงานและกระบวนการ หรือแม้ว่าคุณมีแบบฟอร์มการตรวจสอบประจำวันของคุณเองอยู่

แล้ว คุณก็สามารถใช้โอกาสนี้ทบทวนมันอีกครั้งหนึ่ง

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ จุดที่จะทำการตรวจสอบ คุณจำเป็นต้องคาดการณ์ถึงบริเวณที่มีโอกาสเกิดมาก

ที่สุดของการหยุดเล็กน้อย ปานกลางและยาวนาน รวมถึงความความผิดปกติอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น คุณควรทราบว่า

ชิ้นส่วนใดของเครื่องมือกลที่มักมีคราบน้ำมันรั่วซึม เป็นสนิม กัดกร่อน มีเศษวัตถุดิบตกอยู่ภายใน สึกหรอและแตกร้าว

นอกจากนั้น จุดที่ไม่ได้ผิดปกติแต่เป็นกลไกสำคัญของเครื่องจักรก็ควรอยู่ในแบบฟอร์มการตรวจสอบด้วย

เช่นกัน เช่น ห้องเกียร์ รางเลื่อน ชุดศูนย์ท้าย (เครื่องกลึง) ชุดมอเตอร์ สกรูนำ สกรูป้อน เพลา แท่นเลื่อน โต๊ะงาน ถัง

น้ำมันตัดหรือน้ำมันหล่อเย็นรวมอุปกรณ์อ่านค่าต่างๆ เป็นต้น

ลองพิจารณาแบบฟอร์มการตรวจสอบประจำวันรูปแบบต่างๆ ต่อไปนี้ เพื่อสรุปว่าคุณสามารถนำไปใช้ได้หรือ

ไม่ อย่างไร