Nantaram Lacquerware

32
สิริญา จิโนตัน เครื่องเขินนันทาราม

description

Nantaram Lacquerware Chiang Mai Northern Thailand handicrafts handmade Tai Khern Lanna

Transcript of Nantaram Lacquerware

Page 1: Nantaram Lacquerware

สิริญา จิโนตัน

เครื่องเขินนันทาราม

Page 2: Nantaram Lacquerware
Page 3: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม

Page 4: Nantaram Lacquerware

2 เครื่องเขินนันทาราม

Page 5: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 3

<< วิหารหลวงพ่อเพชร ในวัดนันทารามที่ชาวไทเขินอพยบเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ เป็นอาคารปูนศิลปะล้านนา ประดับด้วยลายปูนปั้นพรรณพฤกษา ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อเพชร” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด อายุมากกว่า ๕๐๐ ปี

เครื่องเขินนันทาราม

ภาชนะเครื่องรัก หรือเครื่องเขิน เป็นภาชนะเคร่ืองใช้ที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วเคลือบด้วยรัก เขียนลวดลายประดับตกแต่งด้วยชาด ทองค�าเปลวหรือ เงินเปลว เป็นภาชนะเครื่องใช้ที่นิยมใช้กันในกลุ่มชาวไทเขิน เมืองเชียงตุง และกลุ่มชาวล้านนาทางภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านผลิตภาชนะเครื่องใช้ดังกล่าวอยู่ด้วย ซึ่งในภาษาพ้ืนเมืองเรียกส่ิงของเคร่ืองใช้ประเภทนี้รวมๆ ไปว่า เครื่องฮักครัวหาง เครื่องฮักเคร่ืองหาง หรือเคร่ืองฮักเครือ่งค�า บ้างทัง้นีจ้ะเรยีกไปตามลกัษณะการประดับตกแต่งว่าจะตกแต่งด้วยชาดหรอืปิดทองค�าเปลว และเรยีกชือ่ผลติภณัฑ์แต่ละชิน้ไปตามหน้าทีก่ารใช้สอยของ ภาชนะนั้นๆ เช่น ขันดอก ขันหมาก ขันโอ หีบผ้า แอ่บหมาก อูบ ปุง เป็นต้น

ในกรณีที่ต้องการเรียกให้เห็นถึงความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ท�าภาขนะนั้น ก็จะเรียกภาชนะนั้นให้ชัดเจน เช่น ขันฮัก หรือบางทีจะเรียกไปตามวัสดุที่ใช้ตกแต่งด้วยว่า ขันฮักขันหาง หรือ ขันฮักขันค�า เป็นต้น แต่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้จะเรียกภาชนะเครื่องใช้เหล่านี้ว่า เครื่องเขิน

Page 6: Nantaram Lacquerware

4 เครื่องเขินนันทาราม

ภาชนะเครื่องรักหรือเครื่องเขินที่พบในเขตเมืองเชียงใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. เครื่องเขินแบบพื้นบ้านมีลักษณะเป็นงานเครื่องสานท่ีทาด้วยยางรักเพียงไม่กี่ครั้งและประดับตกแต่งอย่างง ่ายส�าหรับเป็นของใช้ในชีวิตประจ�าวัน เครื่องเขินชนิดนี้คงเป็นส่ิงของเครื่องใช้ที่ชาวล้านนาแต่ด้ังเดิมสามารถผลิตขึ้นใช้เองภายในครัวเรือนได้

2. เครื่องเขินเชียงใหม่หรือเขินนันทารามเครื่องเขินนี้มีโคตรงสร้างเป็นโครงสานลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ที่มีการเหลาให้ได้ขนาดเล็กเรียบบางคล้ายทางมะพร้าวสานขัดกับตอกเส้นบางแบนเป็นรูปแฉกรัศมีจากก้นของภาชนะจนได้รูปทรงตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องมีการดามโครงให้แข็งเป็นที่ที่เครื่องเขินชนิดนี้จะมีโครงที่แน่นแข็งแรงเรียบเสมอกันโดยตลอด เมื่อทารักสมุกแล้วขัดก็จะได้รูปภาชนะที่ค่อนข้างเรียบเกลี้ยงบางและมีความเบา การ

Page 7: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 5

การตกแต่งเครื่องเขินชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่นิยมการขูดลาย หรือภาษาพื้นถิ่นเรียกกว่า ฮายดอก เมื่อฮายดอกเสร็จแล้วจึงน�ายางรักที่ผสมกับสีชาดถมลงไปในร่องที่กรีดไว้เมื่อขัดแล้วจะมองเห็นเส้นลวดลายสีแดงฝังอยู ่ในพื้นด�า เครื่องเขินในกลุ ่มนี้มักจะท�าเป ็นสิ่งของเครื่องใช ้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น ขันหมากหรือเชี่ยนหมาก ขันดอก ขันน�้า ขันโอ ขันโตก แอ่บใส่ของ แอ่บในขันหมาก ถาด กระโถน ตลอดจนกล่องคัมภีร์ ฝาบาตร และ เชิงบาตร เป็นต้น

3. เครื่องเขินแบบสันป่าตองหรือแบบพื้นเมืองเครื่องเขินแบบนี้ส่วนใหญ่มี โครงสานเป็นลายขัดหรือขดให้เกิดรูปทรงแบบต่าง ๆ มีการดามและรัดขอบเป็นชั้นๆ ให้เกิดความแข็งแรงและสวยงามด้วยตอกหรือหวาย การประดับตกแต่งเกิดลวดลายของการสานเส้นตอกไม้ไผ่ในบางส่วนและอีกหลายส่วนเป ็นการถมพ้ืนให ้เรียบเขียนลวดลายด ้วยสีชาดแดงบางก็มีการแตะ ทองค�าเปลว เน้นส่วนส�าคัญของลวดลายให้เด่นชัดขึ้น เครื่องเขินแบบนี้มักจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ขนาดใหญ่

Page 8: Nantaram Lacquerware

6 เครื่องเขินนันทาราม

Page 9: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 7

เครื่องเขินเชียงใหม่

ตั้งแต่เดิมคนในเมืองเชียงใหม่และบริเวณใกล้เคียงมีการท�าเครื่องเขิน แบบพื้นเมืองอยู่แล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องเขินประเภทใช้โครงสานด้วยไม้ไผ่ ทาด้วยยางรักเพียงไม่กี่ครั้งและตกแต่งประดับประดาอย่างง่าย ๆ ส�าหรับของใช้ประจ�าวันและภาชนะในพิธีกรรม ต่อมาเมื่อมีการน�าเอาชาวไทเขินเข้ามาเป็นช่างท�าเครื่องเขิน ตามแบบอย่างท่ีเคยท�ามาเมื่อครั้งอยู่ในลุ่มน�า้ขืนที่เชียงตุงรูปแบบเครื่องเขินใหม่ๆ จึงได้เกิดขึ้นในระยะหลังจากการผสมผสานรูปแบบดั้งเดิมของเชียงใหม่กับรูปแบบจากเชยีงตงุ เพือ่การสนองตอบความต้องการและรสนิยมใหม่ในล้านนา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเครื่องเขินเชียงใหม่ สามารถจ�าแนกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้คือ “แบบพื้นเมือง” ซึ่งพบมากในชนบทของเชียงใหม่ และ “แบบเครื่องเขินวัวลาย” ซึ่งเรียกชื่อตามละแวกหมู่บ้านที่มรการผลิตเคร่ืองเขินของเมืองเชียงใหม่ ในเขตวัวลาย บ้านนันทาราม

เช่น ขันหมากทรงกระบอก และของจุกจิกทั่วไป กระบุงเล็กหรือขันโอส�าหรับใส่ของถวายพระและเครื่องประกอบพิธีกรรม หีบใส่ผ้าขนาดปานกลางส�าหรับพิธีแต่งงาน เป็นต้น ในภาคกลางก็มีการท�าภาชนะเครื่องรักคล้ายคลึงกับการท�าภาชนะเครื่องเขินของภาคเหนือยอยู่เหมือนกัน แต่เรียกว่า ภาชนะลายก�ามะลอ ภาชนะทีเ่ป็นลายก�ามะลอส่วนมากจะลงพืน้ด้วยชาด ตัดเส้นลายด้วยรกัหรอืบางทีก็พื้นเป็นสีรัก ตัวลายเป็นสีแดงชาดหรือสีอื่นๆ สีที่ใช้เขียนส่วนมากเป็นสีฝุ่นผสมรักเป็นสีพ้ืนๆ ลายก�ามะลอนิยมเขียนลงบนภาชนะเคร่ืองใช้ท่ีมีขนาดใหญ่ เช่น หีบใส่เสื้อผ้าโบราณ แอ่บใส่ข้าวเหนียว พานไม้ และหีบใส่บุหรี่ เป็นต้น

Page 10: Nantaram Lacquerware

8 เครื่องเขินนันทาราม

Page 11: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 9

เครื่องเขินนันทาราม ต�าบลหายยา

เครือ่งเขนิถอืเป็นงานหตัถกรรมพืน้บ้านของไทยทางภาคเหนอืทีม่คีวามเป็นงานประณีตศิลป์อย่างหนึ่ง ด้วยการน�าวัสดุในท้องถิ่นตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นภาชนะเครือ่งใช้สอยต่างๆ ด้วยลวดลายทัง้ประดับด้วยสชีาด มกุ ทองค�าเปลว เปลือกไข่ได้อย่างงดงาม

เครื่องเขินทางภาคเหนือได้มีการพัฒนาใดด้านการใช้โครงภาชนะอย่างมากมาย มีทัง้โครงวัสดจุ�าพวกโลหะ พลาสตกิ ดนิเผา รวมถึงมกีารตกแต่งลวดลายแบบใหม่ๆ กรรมวธิกีารลงรกักย็งัคงใช้รปูแบบวธิอีย่างเดิม ท่ีเรียกว่าการลงยางรัก ซึ่งจะเรียกงานพวกนี้ว่าเครื่องเขิน ส่วนวิธีการลงยางรักแล้วปิดทองจ�าพวกประตู หน้าต่าง หรือช่อฟ้า จะเรียกว่า งานลงรักปิดทอง

Page 12: Nantaram Lacquerware

10 เครื่องเขินนันทาราม

Page 13: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 11

เครื่องเขินแบบฮายดอก หรือลายขุดบ้านนันทาราม

1. ใช้ไม้ไผ่เฮียะจักเป็นเส้นแบน โดยการผ่าเป็นซีกขนาด 1 ซ.ม. เอาผิวออกและจักเป็นเส้นยาว ๆ เพื่อเตรียมสานขึ้นรูปเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ

2. การขึ้นโครงโดยสานเส้นตอกปื้นเป็นโครงแล้วน�าเส้นตอกกลมสานข้ึนรูปภาชนะขันโอเล็ก

3. น�าแบบไม้ขนาดเท่ากับขันโอมาทาบกับเส้นตอกท่ีสานเตรียมไว้เป็นก้นภาชนะ ใช้เชือกผูกเข้ากับแบบแล้วดันโครงพร้อมกับสานให้เข้ากับแบบจนถึงส่วนปากโอ จะได้ภาชนะที่สานเสร็จพร้อมที่จะลงยางรักชั้นแรก

4. เมื่อได้เป็นรูปโครงร่างต่าง ๆ น�ายางรักทาขอบปากโอเพื่อเก็บขอบเส้นตอกกันไม่ให้หลุด ทิ้งไว้ให้แห้ง

5. น�ากากยางรักทาจนทั่วภาชนะ หรือโครงประเภทไม้ไผ่ และน�าภาชนะไปผึ่งอากาศบนตะแกรงไม้ในบริเวณที่มีความชื้นจะท�าให้แห้งเร็ว

6. เมื่อยางรักแห้งแล้ว เอาเหล็กปลายแหลมขูดตกแต่งผิวที่ขรุขระให้เรียบ โดยใช้เครื่องกลึงให้เรียบทั้งด้านนอกและด้านใน แล้วใช้กระดาษทรายขัดผิวภาชนะให้ผิวเรียบเนียน

7. น�ามาลงสมุก (เรียกสมุกว่า “มุก”) สมุกเหล่านี้ส่วนผสมของน�้ารักกรองแล้ว 3 ส่วนผงขี้เถ้าแกลบเผาต�าละเอียด 1 ส่วน (เมื่อทาสมุกที่ขอบปากด้านนอกแล้ว ผึ่งไว้ให้แห้งประมาณ 7 วัน) ปัจจุบันได้ใช้ดินสอพองแทนผงขี้เถ้าแกลบเป็นส่วนผสมของสมุกรัก

Page 14: Nantaram Lacquerware

12 เครื่องเขินนันทาราม

Page 15: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 13

8. ลงสมุกทั้งด้านนอกและด้านใน ผึ่งไว้ให้แห้งด้านละ 2 วัน สมุกตอนนี้ส่วนผสม คือ น�้ารักที่กรองแล้ว 1 ส่วน ดินเหนียวละเอียดร่อนแล้ว 1 ส่วน น�้า 1 ส่วน เม่ือแห้งแล้วใช้กระดาษทรายขัดท้ังด้านนอกและด้านในให้เรียบแล้ว ทาสมุกเหลว (มุกเหลว) อีกครั้งหนึ่ง ผึ่งไว้ให้แห้งด้านละ 2 วัน (ถ้าหากเป็นฤดูฝนจะแห้งประมาณ 4 วัน)

9. ทารักที่กรองแล้ว ทั้งด้านในและด้านนอก ผึ่งไว้ให้แห้ง (ด้านในและด้านนอกใช้เวลาอย่างละ 2 วัน) แล้วขัดให้เรียบใช้กระดาษทรายน�้าเบอร์ 220 ,800 ทั้งด้านนอกด้านใน ผึ่งไว้ให้แห้งใช้เวลา 2 วัน จากนั้น (ทารักและท�าตามขั้นตอนเดิมอีก 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 3 ครั้ง)

10. น�ามาลงรักเงา (รักเงาอย่างดีที่ 1 กรองแล้ว) หรือถ้ารักไม่ดี ควรใช้ส่วนผสมดังนี้ รักดิบ 2 กิโลกรัม รักเชื้อ 1 ถ้วย แมกนีเซียม 5 กรัม โปแตสเซียม 1 กรัม น�้า 100 กรัม น�้ามันถั่ว 150 กรัม น�าโปแตสเซียมไปตั้งไฟให้ละลาย และน�าน�้ามันถั่วไปตั้งไฟให้อุ่น น�าไปกวนกลางแดด ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ก่อนจะน�าไปทาต้องตักออกใส่ถ้วยแก้ว ใส่น�้ามันสนกวนให้เหลวเข้ากันดีแล้วใช้ผ้าขาวบางและกระดาษสารองหลายๆ ชั้น กรองเสียก่อนจึงทาได้ การลงรักเงานั้น ลงด้านนอกแล้ว น�าไปอบในห้องอบให้แห้งประมาณ 7 วัน เมื่อแห้งแล้วทารักเงาด้านในแล้วน�าเข้าห้องอบประมาณ 10 วัน เพื่อให้พื้นรักแข็งน�าไป

Page 16: Nantaram Lacquerware

14 เครื่องเขินนันทาราม

Page 17: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 15

ขุดลวดลายได้ดีการทารักเงาเป็นการทาครั้งสุดท้ายของขั้นตอนการลงรัก จึงต้องผึ่งในห้องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองไปติด ถมด้วยทรายแล้วเอาน�้าใส่พอให้มีความชุ่มชื้น จะท�าให้รักแห้งเร็วขึ้น

11. การฮายดอกหรือขุดด้วยเหล็กมีคมหรือแหลม เป็นลวดลายตามถนัด

12. การท�าลายสีโดยการใช้สีฝุ่นผสมกับน�้าปูนใส (ปูนขาว) ให้ส่วนผสมเท่า ๆ กัน ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดให้เรียบ น�้าสีจะติดอยู่ในร่องที่แกะหรือขุดไว้เป็นสีต่าง ๆ ตามที่ต้องการส่วนที่เหลือก็เป็นสีด�าตามสีรัก ในสมัยก่อนเมื่อ 60-80 ปีมาแล้ว ใช้น�้าปูนขุ่นผสมวัตถุอื่น ๆ เป็นน�้าสี เช่นสีขาวก็ใช้น�้าปูนขาวล้วน สีส้มใช้น�้าปูนกับขมิ้นสีเหลืองใช้น�้าปูนกับหรดาล (แร่ชนิดหนึ่งเป็นสีเหลืองเมื่อจะใช้น�ามาผสมกับน�้าจะได้สีเหลืองขุ่น ๆ ขณะนี้ยังนิยมใช้หรดาลอยู่กับเครื่องเขินลายขุด) ถ้าเป็นสีแดงจะใช้น�้าปูนแดงผสมสีเสียดและขมิ้น ปูนนี้เวลาผสมจะเดือดปุด ใส่เกลือผสมลงไปเล็กน้อย น�้าสีอย่างนี้ใช้ทาลงไปบนภาชนะแล้วเอาผ้าเช็ด สีจะติดอยู่ในร่องที่แกะหรือขุดไว้ แต่ขณะนี้นิยมใช้ สีฝุ่นกันมาก

การตกแต่งลวดลายบนเครื่องเขิน

การตกแต่งลวดลายลงบนเครื่องเขินที่เป็นแบบดั้งเดิมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การเขียนลายขูด และการเขียนลาย ปิดทองรดน�้า ส่วยการตกแต่งแบบอื่นๆ นั้น เช่น การใช้เปลือกไข่ เกล็ดมุกมาตกแต่งประดับเป็นลวดลาย หรือมีการน�าเอาเทคนิครักสีมาใช้ ท�าให้เครื่องเขินมีสีสันแปลกตาแตกต่างออกไป มีการน�าเอา สีอะครีลิคมาใช้เขียนสีบนผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการน�าเอาเทคนิคการตกแต่งผลติภณัฑ์เลยีนแบบของเก่ามาใช้อกีด้วย เหล่านีถ้อืเป็นเทคนคิวิธีสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาในภายหลัง

Page 18: Nantaram Lacquerware

16 เครื่องเขินนันทาราม

Page 19: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 17

เทคนิคการขูดลาย

เป็นวธิกีารทีน่ยิมมากทีส่ดุของพม่า คอื วธิขีดูผิวหรือจารให้เป็นลวดลายโดยมีรักด�าเป็นพื้นลานที่ขูดออกเป็นร่องตื้นๆ จะถูกถมด้วยยางรักผสมสีต่างๆ เช่น สีชาดออกส้ม หรือแดง บางครั้งเป็นสีเขียว ซึ่งในการท�าแต่ละขั้นตอนนั้นใช้เวลานานดังนั้นการที่จะได้เครื่องเขินมาแต่ละชิ้นจึงใช้เวลานานเป็นอย่างมาก

เคร่ืองเขินชนิดน้ีมีโครงสร้าง เป็นโครงสานลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ท่ีมีการเหลาให้ได้ขนาดเล็กเรียบบางคล้ายทางมะพร้าวสานขัดกับตอกเส้น บางแบนเป็นรูปแฉกรัศมีจากก้นของภาชนะจนได้รูปทรงตามความต้องการ โดยไม่ต้องมีการดามโครงให้แข็งเป็นที่ ที่เครื่องเขินชนิดนี้จะมีโครงที่แน่นแข็งแรงเรียบเสมอกันโดยตลอด เมื่อทารักสมุกแล้วขัดก็จะได้รูปภาชนะที่ค่อนข้าง เรียบเกลี้ยงบาง และมีความเบาการตกแต่งของเครื่องเขิน ชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่นิยมการขูดลาย หรือภาษาพื้นถิ่นว่า ฮายดอก เทคนิคการตกแต่งผิดภาชนะด้วยวธิกีารขดูลายนี ้ ภาชนะทีจ่ะท�าลวดลายได้จะต้องมผิีวบางรักทีแ่ห่งสนทิและเรียบร้อย การฮายดอกต้องใช้เหล็กปลายแหลมคล้ายเหล็กจารใบลาน กรีดลงไปบนผวิยางรกัของภาชนะ การฮายดอกต้องอาศยัความช�านาญเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่ให้เกดิเส้นลกึมาก จนยางรกักะเทาะออก หรอืแผ่วเบาเกนิไปจนท�าให้ลวดลายมองเห็นได้ยาก

เมือ่ฮายดอกเสรจ็แล้วจงึน�ายางรกัท่ีผสมกับ ชาดสแีดงถมลงไปในร่องทีก่รีดไว้รอให้แห้งอีกหลายวันแล้ว จึงจะขัดส่วนนอกสุดออกจนมองเห็นเส้นลวดลาย สีแดงฝังอยู่ในพื้นที่สีด�าของยางรัก จากนั้นจะเคลือบด้วยยางรักใสหรือรักเงา เพื่อเป็นการปิดเคลือบลวดลายทั้งหมดให้ติดแน่นกับภาชนะเครื่องเขินเหล่านั้น

Page 20: Nantaram Lacquerware

18 เครื่องเขินนันทาราม

Page 21: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 19

เทคนิคการเขียนลาย (ปิดทองรดน�้า)

การเขียนลายทองรดน�้า หลังจากเตรียมพื้นรักขัดผิวและแห้งสนิทแล้วก็เตรยีมการท�าลวดลาย โดยการเขยีนลายลงบนภาชนะเลย หรือจะใช้แบบปรกุไ็ด้ แบบปรุท�าจากกระดาษไขใช้เข็มปรุเป็นรูตามลาย จากนั้นใช้ดินสอพองเผาไฟบดละเอียดห่อผ้าขาวบางท�าเป็นลูกประคบแตะลงไปบนลายปรุสร้างเป็นลาย แล้วเขียนลายด้วยน�้ายาหรดาล ซึ่งได้มาจากหิน มีสีเหลือง น�ามาละลายโดยฝนกับ หินลับมีด ผสมน�้าแล้วเขียนลงบนพื้นรักบริเวณที่ไม่ต้องการให้ทองติด จากนั้น น�ารักใสอย่างดี มาทาบางๆ แล้วน�าทองค�าเปลวมาปิดให้ทั่วจนเต็ม ถูทองค�าเปลวให้ตดิแน่นด ีน�าไปล้างน�า้หรือรดน�า้ ทองค�าเปลวทีปิ่ดไว้บน ส่วนทีเ่ป็นน�า้ยาหรดาลจะพองตวัหลดุร่อนออกไป เหลอืแต่ส่วนที ่เป็นลวดลายทองทีไ่ม่ได้ลงน�า้ยาหรดาล

Page 22: Nantaram Lacquerware

20 เครื่องเขินนันทาราม

ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในปัจจุบัน

เครือ่งเขนิ ในปัจจบัุนถือว่าเป็นหัตถกรรมพืน้บ้านชนดิหนึง่ เป็นสิง่ทีม่นษุย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยมิได้อาศัยเครื่องจักรท�าด้วยฝีมือตนเอง จะเป็นการเลียนแบบจากสิ่งที่พบเห็นหรือตามความต้องการที่จะน�าไปใช้งาน และการตกแต่ง ประดับประดาให้สวยงามตามความเหมาะสม เช่น ตลับ ถาด แจกัน ขนัน�า้ แอ่บยา กล่องใส่ยาเส้น เช่ียนหมาก เป็นต้น รปูทรงของเครือ่งเขนิเป็นการก�าหนดรปูแบบของวตัถุด้วยการออกแบบ หรอืสิง่ทีผ่ลติขึน้ให้ได้ซึง่ความต้องการของผูใ้ช้สอยความบันดาลใจของผูผ้ลิตทีม่รีปูลกัษณะรปูร่างรปูทรงของเคร่ืองเขนิมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สิง่แวดล้อมมีส่วนส�าคญัในการก�าหนดการออกแบบรปูทรง อนัประกอบด้วยความงาม ความรูส้กึ และการขึน้รปูด้วยมอือย่างมาก งานเคร่ืองเขนิจึงได้รับการพฒันาให้มคุีณค่าท้ังการผลติ การออกแบบและรปูทรงต่างๆ การสร้างรปูทรงของเครื่องเขินแตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอยจองเครื่องเขินแต่ละชนิด

Page 23: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 21

Page 24: Nantaram Lacquerware

22 เครื่องเขินนันทาราม

Page 25: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 23

ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนเครื่องใช้อย่างอื่น สิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก คือรูปแบบต่างๆ ตามหน้าท่ีใช้สอยและการเน้นฝีมือการช่างความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้วัสดุพื้นบ้านมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพี่อการด�ารงชีวิตประจ�าวันได้เป็นอย่างดี งานเครื่องเขินเป็นลักษณะงานหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรมซ่ึงมีความคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกัน ช่างหัตถกรรมมีความสามารถเชิงศิลปะสูงสามารถสร้างงานให้มีความงดงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ใช้ผู้ชม อาจถือได้ว่างานหัตถกรรมนั้นเป็นงานศิลปหัตถกรรมมากกว่า จะท�าเพื่อนใช้งานเท่านั้น

ดังนั้นงานเครื่องเขินจึงประดิษฐ์ข้ึนเพื่อประโยชน์ใช้สอย ความงามและ ทั้งขบวนการผลิตการสร้างสรรค์ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความประสานสอดคล้องกบัวถิชีวีติของผูใ้ช้ปัจจบุนั รปูทรงของผลิตภณัฑ์เคร่ืองเขินจึงมบีทบาทควบคู่กับหน้าที่ใช้สอยจองผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทอย่างมาก ดังนั้นคุณสมบัติและหน้าที่ใช้สอยของรูปทรงผลิตภัณฑ์จึงจัดแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อบรรจุของเหลว เช่น กระบอก กระป๋อง ขวด ถ้วย จาน ชาม โถ ตลับ แจกัน เป็นต้น

2. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อบรรจุของแข็ง เช่น กล่อง ตลับ หีบ กลัก ถ้วย จาน โถ ตู้ ถาด เป็นต้น

3. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อการประดับตกแต่งกาย เช่น ก�าไล ต่างหู สร้อยคอ หวี งอบ เป็นต้น

4. เครื่องเขินที่มีรูปทรงเพื่อการใช้สอยตกแต่งอาคารบ้านเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ตั่ง ชิ้นงานแกะสลักต่าง ๆ เป็นต้น

Page 26: Nantaram Lacquerware

24 เครื่องเขินนันทาราม

Page 27: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 25

งานเครื่องเขินพอท่ีจะแบ่งแยกท่ีมาของรูปทรงได้คือ รูปทรงธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงประดิษฐ์และรูปทรงอิสระ รูปทรงธรรมชาติได้แก่ รูปทรงจากพืชพรรณไม้ และรูปทรงจากสัตว์รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่รูปทรงกระบอก รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงรี รูปทรงแปดเหลี่ยม และรูปทรงสามเหลี่ยมรปูทรงประดษิฐ์ เป็นรปูทรงทีเ่กดิจากจินตนาการของนกัออกแบบโดยดดัแปลงมาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ ตัวรูปทรงอิสระ เป็นลักษณะของรูปทรงที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา มลีกัษณะเปลีย่นแปลงไปตามความคดิฝันของผูอ้อกแบบอาจจะมคีวามคล้ายคลงึกับธรรมชาติเดิมของวัตถุนั้นๆ เช่น คลื่นน�้า หยดน�้า เป็นต้น ความหลากหลายในรปูลกัษณ์ของลายทีป่รากฏบนงานเครือ่งเขนิ สามารถแบ่งแยกจัดหมวดหมูไ่ด้ตามลักษณะที่เรียกขานกันทั่วไปได้ดังนี้

. 1 ประเภทลายประดิษฐ์ ได้รับความบันดาลใจจากลายไทยซึ่งเป็นศิลปะประจ�าชาติน�ามาออกแบบให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์เครื่องเขินและประโยชน์ใช้สอย

. 2 ประเภทลายเลียนแบบธรรมชาติ ได้แก่ ลายดอกไม้ ลายภาพสัตว์และภาพทิวทัศน์

. 3 ประเภทเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี ชาดก ศาสนา และความเชื่ออื่นๆ

. 4 ประเภทเบ็ดเตล็ด มีการเขียนลวดลายลงบนผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปทรงตัวสัตว์ต่างๆ โดยลวดลายเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากลายไทย แต่ดัดแปลงให้ดูง่าย

Page 28: Nantaram Lacquerware

26 เครื่องเขินนันทาราม

Page 29: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม 27

เครื่องเขินในปัจจุบัน

ปัจจุบันเครื่องเขินนันทารามมีการก้าวตามโลกที่ดีและทันสมัยมากเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เป็นท่ีรู้จักและได้รับความนิยมกัน เครื่องเขินในปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลายรูปแบบอย่างมากเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกในปัจจุบัน เคร่ืองเขนิถอืเป็นภมูปัิญญาท้องถิน่ ทีม่กีารววัิฒนาการทีด่ใีนเข้ากบัสมยันีแ้ละทกุยคุทกุสมัยเลย แต่กย็งัคงเดมิทีเ่ครือ่งเขนิมกัจะเป็นสิง่ของทีใ่ช้เสมอความสวยงาม ความเป็นไทย ท�าให้ในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมจากคนรุ่นหลัง

เครื่องเขินในปัจจุบันนอกใจได้รับความนิยมภายในประเทศแล้วยังได้รับความนิยมจากต่างชาติอีกด้วยเนื่องจากสินค้าที่เกี่ยวกับเคร่ืองเขินพวกนี้ มีทั้งความสวยงามเดิมท่ีแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถ่ินให้เป็นที่รู ้จักทั่วโลก นอกจากความสวยงามแล้วยังเป็นความทนทานด้วย สามารถท�าสินค้าเกี่ยวกับเคร่ืองน�าไปใช้ได้จริงไม่ใช้เป็นเพียงของประดับตกแต่งและท่ีมาแรงในปัจจุบันก็เป็นพวกเครื่องประดับเขินที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงส่วนมากเพราะท�าให้เห็นถึงศิลปะไทยที่ละเอียดอ่อนสวยงามไม่แพ้เครื่องประดับต่างชาติ และราคาก็ไม่ได้แพงมาก

ทั้ งหมดนี้อาจจะเป ็นการแปลงโฉมสินค ้าหัตถกรรมไทยประเภท เครื่องเขินครั้งใหญ่ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าของใช้ในบ้านไปสู่ของใช้ในชีวิตประจ�าวัน และเข้าสินค้าที่คนรุ่นใหม่สามารถใช้ได้ทั้งสินค้าเคสโทรศัพท์มือถือ เคสไอแพด การสร้างสินค้าให้เข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่มไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นการปรับลุคของเครื่องเขินจากเดิมจะมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เป็นแฟนพันธุ์แท้เคร่ืองเขินท่ีนิยมน�าไปใช้เป็นของตกแต่งบ้าน ของใช้ในวัด หรือส่งออกไปต่างประเทศ การขยายกลุ่มสินค้าเครื่องเขินไปยังสินค้ากลุ่มไอทีหลากหลายมิติ ทั้งเคสโทรศัพท์มือถือเคสไอแพดหรือสินค้าไอทีต่างๆ รวมทั้งมีการน�าวัสดุโพลีเมอร์มาผสมใช้กับงานไม้ เพื่อให้สินค้ามีความคงทนและมีสีที่ติดทนนาน คงลวดลายไทยไว้ได้ยาวนาน จึงได้สินค้าแต่ละแบบที่มีเอกลักษณ์ และสินค้าบางรายการมีชิ้นเดียวในโลก

Page 30: Nantaram Lacquerware

28 เครื่องเขินนันทาราม

Page 31: Nantaram Lacquerware

เครื่องเขินนันทาราม

© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สิริญา จิโนตัน

สงวนลิขสิทธิ์

พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงและออกแบบโดย สิริญา จิโนตัน

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Sarabun New

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Page 32: Nantaram Lacquerware