Dj 255420school1611edocs00431

21
ราชาศัพท์

Transcript of Dj 255420school1611edocs00431

ราชาศัพท์

แปลว่าศัพท์หรือถ้อยคำาสำาหรับพระราชา

หรือศัพท์หลวง

หมายถึงศัพท์หรือถ้อยคำาเฉพาะที่บคุคลทั่วไป

ใช้แก่บุคคลที่เคารพ 5 ระดับ1.พระมหากษัตริย์2.พระบรมวงศานวุงศ์3.พระภิกษุ4. ขุนนาง ข้าราชการ5.สุภาพชนทั่วไป

ที่มาของราชาศัพท์1.ทางสังคมและประวัติศาสตร์

พ่อขุน เจ้าชวีิต พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัว ทรงธรรม์ ทรงเดช

ทรงฤทธิ์ ภูเบศวร์ ท้าวไท อธิราช2. ทางภาษา มีคำาราชาศัพท์ที่เรารับมาจากภาษา

อื่น แล้วตกแต่งให้เปน็ ราชาศัพท์ ได้แก่ ภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาเขมร

ในทางภาษาราชาศัพท์มีที่มา 2 ทาง1.ตกแต่งขึ้นจากคำาไทยด้ังเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระกราม พระยอด พระรากขวัญ

ทรงจาม ทรงยืน ทรงขลุ่ย ทรงชา้ง ทรงคม ทรง พ่วงพี ทรงพระเจริญ

พระแท่น พระเก้าอี้ พระอู่

2.ตกแต่งขึ้นจากคำาที่มาจากภาษาอื่น อัยกา --- พระอัยกา พระบรมอัยกา ชนนี --- พระชนนี พระราชชนนี หัตถ์ --- พระหัตถ์ ขนง --- พระขนง เสโท --- พระเสโท

อนุเคราะห์ --- พระอนุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ พระบรมราชานุเคราะห์

บางคำาถือว่าเปน็ราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้อง ตกแต่ง แต่มีอยู่ไม่มาก

รับสั่ง ตรัส เสวย กริ้ว ประทาน

โปรด สวรรคต สรง ประทับ เสด็จ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำาริว่า

พระวรวงศ์เธอ พระองคเ์จ้าไตรทศประพันธ์ ได้รับราชการสนองพระเดช

พระคุณ ทั้งในหน้าที่ฝ่ายปกครอง การทูต และในกระทรวงต่างประเทศ

จนถึงปลัดทูลฉลองกระทรวงนัน้ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถ.......

จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปน็เสนาบดีกระทรวงการต่าง ประเทศ การก็สมดัง คาดหมาย ด้วยพระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ ทรง

พระสติปญัญารอบรู้ รัฏฐาภิปาลโนบาย อันได้ทรงศึกษามาแต่พระชนก

ทรงบังคบัการงาน โดยซื่อตรง จึงเปน็ผลเชิดชพูระเกียรติ พระ

เดชานุภาพ

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำาราชาศัพท์

การใชค้ำา ทรงนำาหน้าคำานาม ทรงม้า --- ขี่ม้า ทรงศร --- ถือศร ทรงศีล --- รับศีล ทรงธรรม --- ฟังเทศน์ ทรงบาตร --- ตักบาตร ทรงกีตาร์ --- เล่นกีตาร์

การใช้คำา ทรงนำาหน้าคำากริยา ทรงฟัง --- ฟัง ทรงยินดี --- ยินดี ทรงจับ --- จับ ทรงขอบใจ --- ขอบใจ ทรงเป็นศิษย์เก่า --- เปน็ศิษย์เก่า

การใช้คำา ทรง นำาหน้าคำานามราชาศัพท์

พระกรุณา--- ทรงพระกรุณา พระประชวร --- ทรงพระ

ประชวร พระดำาริ --- ทรงพระดำาริ พระอักษร --- ทรงพระอักษร พระดำาเนิน --- ทรงพระดำาเนิน

กริยาใดเปน็ราศัพท์แล้ว ไม่ใช้คำา ทรง นำาหน้าประทม เสวย ประทับ สรง

เสด็จโปรด สวรรคตยกเว้น ผนวช --- ใช้ทรงผนวชได้

คำากริยาที่มีนามราชาศัพท์ต่อท้ายจะไม่ใชค้ำา ทรง นำาหน้ามีพระมหากรุณา มีพระราชดำาริมีพระราชโองการ เปน็พระราชโอรสเปน็พระประมุข ทราบฝ่าละอองธุลี

พระบาทซูบพระองค์ สิน้พระชนม์

การใช้คำา เสด็จ นำาหน้าคำากริยาสามัญ

เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จเข้าเสด็จออก

เสด็จขึ้น เสด็จลง

การใช้คำา เสด็จ นำาหนา้คำานามราชาศัพท์ให้เป็นคำากริยาราชาศัพท์

พระราชสมภพ --- เสด็จพระราชสมภพ พระราชดำาเนิน --- เสด็จพระราชดำาเนิน

เสด็จ ในภาษาไม่เปน็ทางการหมายถึง พระองค์พระองค์เจ้า

เสด็จให้มาทูลถามเสด็จ ว่าเสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ

ถ้าเสด็จไม่เสด็จ เสด็จก็จะเสด็จ

การใช้คำา พระบรม บรม หรือ ปรม แปลว่ายิ่งใหญ่

ใช้กับพระมหากษัตริย์พระบรมเดชานุภาพพระบรมราชานุญาตพระบรมราโชวาทพระปรมาภิไธย

การใช้คำา พระราช ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี อุปราช

พระราชปฏิสันถาร พระราชหัตถเลขา พระราชนิพนธ์

การใช้คำา พระ ใช้นำาหนา้คำาสามัญหมวดเครื่องใช้ อวัยวะ

ให้เปน็ราชาศัพท์ พระบาท พระเขนย พระกร พระภูษา พระธโรน พระเก้าอี้ พระพาหา พระ

เศียร

การใช้คำาราชาศัพท์ให้ถูกต้อง เฝา้ฯรับเสด็จ ไม่ใช้ ถวายการ

ต้อนรับ มีความจงรักภักดี ไม่ใช้ ถวายความ

จงรักภักดีอาคันตุกะ พระราชอาคันตุกะทูลเกล้าฯถวาย น้อมเกล้าฯถวาย