Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective...

17
Collective review Management of primary spontaneous pneumothorax นายแพทเถง กระณต อาจารปกษา วยศาสตราจารนายแพทวรท ตถาวร ภาคชาลยศาสตคณะแพทศาสต มหาทยยสงขลานคนท

Transcript of Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective...

Page 1: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

Collective review

Management of primary spontaneous pneumothorax

ผู้จัดทำ

นายแพทย์เถกิง พิทักษ์ธีระบัณฑิต

อาจารย์ที่ปรึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์วรวิทย์ จิตติถาวร

ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์

Mydocument
Typewriter
Mydocument
Typewriter
Mydocument
Typewriter
Mydocument
Typewriter
Mydocument
Typewriter
Mydocument
Typewriter
Mydocument
Textbox
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วรวิทย์ จิตติถาวร
Mydocument
Textbox
Mydocument
Textbox
Mydocument
Textbox
Mydocument
Textbox
Mydocument
Typewriter
Page 2: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

Management of primary spontaneous pneumothorax

Introduction

ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) มาจากภาษากรีก pneuma แปลว่าลมและ thorakos แปลว่าทรวงอก ซึ่งเกิดจากการที่มีลมสะสมในช่องเยื่อหุ้มปอดจนทำให้เกิดการกดเบียดของเนื้อปอดบางส่วนหรือทั้งหมด ภาวะดังกล่าวถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1803 โดย jean Marc หลังพบผู้ป่วยมีลมรั่วในบริเวณทรวงอกภายหลังจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ1

ในปี ค.ศ. 1819 René Laennec2 ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดและการมีถุงลมโป่งในปอด (subpleural blebs) ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเอง (Spontaneous pneumothorax) จากนั้น Kjærgaard ได้อธิบายถึงกลไกลการเกิดภาวะดังกล่าว3

Epidemiology

มีการศึกษาถึงการเกิดภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเอง(Sponanteous pneumothorax) ในประเทศญี่ปุ่นในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าอายุเฉลี่ยของการเกิด Primary และ Secondary spontaneous pneumothorax อยู่ที่ 27 และ70 ปี ตามลำดับ โดยพบว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะดังกล่าวข้างต้น4

นอกจากนี้ยังมีรายงานจากประเทศอังกฤษ พบว่า ภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) มักเกิดในช่วงวัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มที่มีถุงลมโป่งในปอด(subpleural bleb)อยู่เดิม อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองในเพศชายและหญิงประเทศอังกฤษ คือ 24 และ 10 ราย จาก 100,000 คนตามลำดับ โดยครึ่งหนึ่งเป็น ภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax)5

ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานผู้ป่วยที่เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ(Primary spontaneous pneumothorax) สูงถึงปีละ 20,000 ราย6

ผู้ป่วยที่มักจะเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ(Primary spontaneous pneumothorax) ได้แก่ กลุ่มที่รูปร่างผอมสูง อายุระหว่าง 10-30 ปี ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ความยาวของทรวงอกมากขึ้นทำให้เกิดถุงลมโป่งในปอด (subpleural blebs) เนื่องจากพบว่าทุกๆ 1 cm ของความยาวทวงอกที่เพิ่มขึ้น ความดันในช่องเยื่อหุ้มปอดจะลดลง 0.2 cmH2O โดยจะมีผลมากบริเวณยอดปอด(Apex of lung) ความแตกต่างของความดันนี้ทำให้ถุงลมปอดบริเวณยอดปอดขยายขนาดขึ้นเกิดเป็นถุงลมโป่งในปอด(subpleural blebs )7

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax)เพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า8

หลังการเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax)ครั้งแรก โอกาสการกลับเป็นซ้ำอยู่ระหว่าง 16-54% โดยการศึกษาส่วนใหญ่พบค่าเฉลี่ยการกลับเป็นซ้ำอยู่ที่ 30%9

จากการศึกษาพบว่า การพบถุงลมโป่งพองในปอด(subpleural blebs) จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สัมพันธ์กับโอกาสเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดซ้ำถึง 68% เทียบกับ 6.1% ในกลุ่มที่ไม่พบถุงลมโป่งพองในปอด(subpleural blebs)จากภาพเอกซเรย์ โดยการกลับเป็นซ้ำมักพบในช่วง 6 เดือนถึง 2 ปีหลังมีอาการครั้งแรก10

Page 3: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

หลังการกลับเป็นซ้ำครั้งแรก โอกาสการเป็นซ้ำอีกจะเพิ่มสูงขึ้น บางรายงานพบว่าอาจมีโอกาสสูงถึง 83%11

Etiologic factor

ภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) ซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพของปอด เชื่อว่าเกิดจากการแตกของถุงลมโป่งในปอด(subpleural blebs )บริเวณยอดปอด12

จากการศึกษาแบบย้อนกลับพบว่าผู้ป่วย 461 จาก 505 ราย คิดเป็น 90% เป็นผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยมีประวัติการสูบบุหรี่มาก่อน โดยที่โอกาสการเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นกับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่ 1-12 มวนต่อวันเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) 7 เท่าเทียบกับกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ ส่วนกลุ่มที่สูบ 13-22 มวนต่อวันและกลุ่มที่สูบมากกว่า 22 มวนต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงขึ้นเป็น 21 เท่าและ 102 เท่าตามลำดับ เชื่อว่าการสูบบุหรี่กระตุ้นให้เกิดพยาธิภาพบริเวณหลอดลมฝอยซึ่งทำให้เกิดถุงลมโป่งในปอด(subpleural blebs ) ตามมา8

นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax)สัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุรรม โดยกลุ่มอาการ Birt-Hogg-Dubé syndrome ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกับแบบยีนส์เด่น (Autosomal dominant) บนโครโมโซมคู่ที่ 17 (17p11.2) เพิ่มอุบัติการของการเกิดภาวะดังกล่าว นอกจากนั้นยังพบเนื้องอกผิวหนังและเนื้องอกของไตร่วมด้วย (benign skin tumors, and renal tumors)ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยพบว่า 40% ของผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการดังกล่าวจะเกิดภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดขึ้น นอกจากนั้นยังพบอุบัติการณ์ของภาวะภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ(Primary spontaneous pneumothorax)สูงขึ้น ในคนไข้ Marfan syndrome and homocystinuria อีกด้วย13

แนวคิดเริ่มแรกเชื่อว่าอากาศที่รั่วออกมาจากถุงลมโป่งในปอด(subpleural bleb)ออกมาจากหลอดลมฝอยเพียง 1 ตำแหน่ง14 แต่ภายหลังมีการศึกษาโดยใช้ลิ้นเปิดปิดหลอดลม (endobronchial one-way valve) พบว่าถุงลมโป่งในปอด(subpleural bleb)เชื่อมต่อกับหลอดลมฝอยหลายตำแหน่ง15

Clinical manifestration

ภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยอายุประมาณ 20-40 ปี โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในขณะพักมากกว่าขณะออกกำลังกายหรือทำงานหนัก16

อาการเจ็บหน้าอกฉับพลันด้านเดียวกับที่เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอด ร่วมกับหายใจเหนื่อยมักเป็นอาการแสดงหลัก บางครั้งอาจพบภาวะ Honer syndrome ร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการดึงรั้งกลุ่มประสาทซิมพาเทติก (sympathetic ganglion)

โดยทั่วไปสัญญาณชีพมักจะปกติ ยกเว้นอัตราการเต้นของหัวใจที่อาจเพิ่มขึ้นได้ แต่หากอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นมากกว่า 140 ครั้งต่อนาที ร่วมมีภาวะความดันต่ำหรือเขียว ให้สงสัยว่าอาจจะเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดปริมาณมากจนดันปอดอีกข้างหนึ่ง (Tension pneumothorax)17

การตรวจร่างกายจะพบว่าเสียงหายใจเบาลง(diminished breath sounds), เคาะปอดโปร่งมากขึ้น(hyperresonance) แต่ในกรณีที่ลมในเยื่อหุ้มปอดมีปริมาณไม่มาก อาจตรวจไม่พบความผิดปกติ โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) มักมีอาการไม่รุนแรงเนื่องจากอายุน้อยและมีสภาพปอดที่ดี แตกต่างจากผู้ป่วยที่เกิด

Page 4: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

ภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบทุติยภูมิ (Secondary spontaneous pneumothorax) ซึ่งมักจะมีอาการแสดงที่รุนแรงกว่าเกิดจากมีพยาธิภาพของเนื้อปอดอยู่เดิม18

มีการศึกษาในผู้ป่วยที่เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) ทั้งหมด 78 ราย พบว่าประมาณ 90% มักมีอาการเจ็บหน้าอก อาการที่พบได้รองลงมาคืออาการหายใจเหนื่อย ซึ่งพบได้ราว 20%19

Diagnosis

การวินิจฉัยโรคอาศัย ประวัติ การตรวจร่างกายร่วมกับภาพทางรังสีวิทยา ซึ่งจะพบเป็นเส้นขอบเยื้อหุ้มปอดด้านใน (viseral pleural line) คั่นระหว่างเนื้อปอดปกติกับลมในเยื่อหุ้มปอด บางครั้งอาจดูคล้ายกับรอยย่นผิวหนัง (skinfold) ซึ่งมีหลักสังเกต ดังนี้17

ในรายที่ภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดในท่าปกติแยกได้ไม่ชัดแนะนำให้ถ่ายในท่าตะแคงเพิ่มเติม (lateral decubitus) หรืออาจใช้อัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัย การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดในท่าหายใจออกมีความไวในการตรวจพบลมในช่องเยื่อหุ้มปอดสูงกว่าภาพเอกซเรย์ปอดปกติเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปไม่ได้แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยทุกราย12

ประมาณ 15%ของผู้ป่วยที่มีภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) พบว่ามีน้ำในช่องเยื้อหุ้มปอดร่วมด้วย โดยจากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดจะเห็นเป็น air-fluid level โดยหากนำน้ำไปตรวจจะพบเม็ดเลือดขาวแบบ eosinophils ปริมาณมาก20

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถพบร่วมกับภาวะเลือดออกในช่องเยื้อหุ้มปอด (Hemopneumothorax) ซึ่งโอกาสพบค่อนข้างน้อย แต่หากพบเลือดออกปริมาณมากร่วมกับผู้ป่วยมีสัญญาณชีพไม่ปกติ ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด21

ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดนั้น ผู้รักษาจะต้องสามารถประเมินปริมาตรปอดส่วนที่ถูกดันหายไปโดยลมจากเยื่อหุ้มปอดได้ โดยคำนวนจากขนาดของปอด (lung diameter) เทียบกับขนาดของครึ่งทรวงอก (hemithorax) โดยใช้ Light index22

ขนาดของปอด(lung diameter)ให้วัดระยะจากขั้วปอดถึงเส้นขอบเยื้อหุ้มปอดด้านใน (viseral pleural line)

Page 5: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

ขนาดของครึ่งทรวงอก (hemithorax) ให้วัดระยะจากขั้วปอดถึงผนังทวงอก (chest wall)จากนั้นให้นำมาเข้าสูตรคำนวณ ดังนี้

นอกจากนั้น Rhea และคณะ23 ได้ศึกษาวิธีการคำนวณปริมาตรของลมในเยื่อหุ้มปอด ดังแสดง

หลังจากนั้น นำมาคำนวณโดยใช้สมการ ดังนี้

ในปี 1995 Collins และคณะ24 ได้เสนอวิธีการคำนวนโดยใช้สมการ ดังนี้%Pneumothorax = 4.2 + [4.7x(A+B+C)]

โดยตัวแปร A,B และ C จากสมการข้างต้นใช้ตัวแปรอ้างอิงตามการศึกษาของ Rhea และคณะ

มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความเที่ยงตรงของการใช้เครื่องมือทั้งสามแบบข้างต้น แต่ยังไม่สามารถมีข้อสรุปถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือดังกล่าวได้25

Page 6: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

American College of Chest Physicians Delphi Consensus Statement 200126และ British Thoracic Society pleural disease guideline 201027ได้กำหนดนิยามคำว่า ลมในเยื่อหุ้มปอดขนาดใหญ่(Large pneumothorax) แตกต่างกัน โดยใช้ระยะห่างระหว่าง lung apex กับ cupola ที่มากกว่า 3 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่าง lung margin กับ the chest wall ที่มากกว่า 2 เซนติเมตร ตามลำดับ

ปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงเรื่องการใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยที่มีภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax)เพื่อประเมินว่า ว่ามีถุงลมโป่ง(subpleural blebs) ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากการพบถุงลมโป่งขนาดใหญ่หรือหลายตำแหน่ง (large or multiple subpleural blebs) จากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ28

โดยกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้มองว่าการตัดสินใจการรักษาไม่ควรขึ้นกับการพบถุงลมโป่ง(subpleural blebs) เพียงอย่างเดียว29

แม้ว่าในปัจจุบันเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้นำมาใช้ในการประเมินผู้ป่วยทุกราย แต่จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่พบถุงลมโป่ง(subpleural blebs) มีโอกาสกลับเป็นซ้ำมากกว่า10

Recurrence rate

ภายหลังการเกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) มักมีการกลับเป็นซ้ำเกิดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกๆ มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยที่เกิดภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) 153 ราย เป็นระยะเวลา 39 เดือน พบว่า 54% ของผู้ป่วย มีการกลับเป็นซ้ำของภาวะลมในช่องเยื้อปอดในด้านเดิม โดยมักกลับเป็นซ้ำในช่วงปีแรก นอกจากนั้นยังพบว่า 15%ของผู้ป่วยมีการกลับเป็นซ้ำของภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดในด้านตรงข้าม30

มีการพยายามหาวิธีที่จะทำนายการกลับเป็นซ้ำของภาวะดังกล่าว โดยพบว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโดยการสารเครือบปอด ผู้ป่วยที่รูปร่างสูง กลุ่มที่มีดัชนีมวลกายต่ำและกลุ่มที่สูบบุหรี่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงกว่า31

นอกจากนี้ยังพบโอกาสการกลับเป็นซ้ำที่สูงในกลุ่มที่พบถุงลมโป่ง(subpleural bleb)จากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยหลังจากที่มีการกลับเป็นซ้ำครั้งแรก ความเสี่ยงของการเป็นซ้ำอีกครั้งจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% หากไม่ทำการรักษา10

Management

เป้าหมายหลักของการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) มีสองประการคือ เพื่อกำจัดอากาศที่อยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

American College of Chest Physicians และ British Thoracic Society ได้กำหนดแนวทางการรักษาของภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด แต่หลักฐานที่ใช้ในการอ้างอิงของแนวทางการรักษาดังกล่าว ยังขาดการศึกษาที่มีการควบคุมการทดลองที่ดี โดยแนวทางการรักษานั้นพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ ขนาดของลมในช่องเยื่อหุ้มปอด สภาพผู้ป่วย เป็นการเกิดขึ้นครั้งแรกหรือเป็นซ้ำ มีพยาธิสภาพของปอดอยู่เดิมหรือไม่

Page 7: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

**Algorithms for the management of spontaneous pneumothorax range from established management protocols to operative intervention ดัดแปลงจาก American College of Chest Physicians [ACCP] Consensus Statement**

Page 8: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

ส่วนทาง British Thoracic Society pleural disease guideline 2010 ได้สรุปแนวทางการรักษาดังนี้

Page 9: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งแนวทางการรักษาตามวิธีการรักษาได้ดังนี้

Observation

ในกรณีที่ทางเชื่อมต่อระหว่างถุงลมและช่องเยื่อหุ้มปอดปิดลง ลมในช่องเยื่อหุ้มปอดจะค่อยๆถูกดูดซึมไป โดย Kircher and Swartzel32 ศึกษาพบว่าปริมาณลมในช่องเยื่อหุ้มปอดจะถูกดูดซึม 1.25% ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีปริมาตรลมในช่องเยื่อหุ้มปอด 20% จะถูกดูดซึมหมดภายในเวลา 16 วัน

ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการผิดปกติ ควรรักษาแบบประคับประคอง26 โดยการติดตามอาการ ตรวจร่างกาย วัดระดับออกซิเจนในกระเลือดจากปลายนิ้ว รวมทั้งถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดซ้ำภายใน 3-6 ชั่วโมง หากขนาดของลมในช่องเยื่อหุ้มปอดขยายใหญ่ขึ้นแนะนำให้ทำการรักษา โดย American College of Chest Physicians ไม่แนะนำให้ใส่สายระบายทรวงอกหรือใช้เข็มดูดระบายลมในช่องเยื่อหุ้มปอดในผู้ป่วยที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดขนาดเล็ก(small pneumothoraces) ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือหลังติดตามภาพเอกซเรย์ปอดแล้วลมในช่องเยื่อหุ้มปอดไม่ได้มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นโดยทั่วไปแนะนำให้สังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหรืออาจให้สังเกตอาการที่บ้านได้ โดยนัดมาติดตามอาการอีกครั้งในอีก 12-24 ชั่วโมงถัดไป โดยปกติลมในช่องเยื่อหุ้มปอดขนาดเล็ก(small pneumothoraces) มักจะหายไปได้เอง26

Supplemental Oxygen

ในภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีการเคลื่อนที่ของอากาศผ่านเข้าออกระหว่างหลอดเลือดฝอยและถุงลมในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยขึ้นกับความแตกต่างของความดันระหว่างหลอดเลือดฝอยกับช่องเยื่อหุ้มปอด ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริวเวณหลอดเลือดฝอยที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ซและความสามารถในการละลายของก๊าซในเนื่อเยื่อบริเวณรอบๆ33

ในอากาศปกติผลรวมของความดันของหลอดเลือดฝอยขณะหายใจในอากาศปกติประมาณ 706 มิลลิเมตรปรอท ในกรณที่เกิดลมในช่องเยื่อหุ้มปอดขึ้น ความดันในช่องเยื่อหุ้มปอดเท่ากับ 0 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นความแตกต่างของความดันซึ่งจะทำให้เกิดการดูดซึมของก๊าซจะเท่ากับ 54 มิลลิเมตรปรอท (760-706 mmHg)

หากเราให้ออกซิเจน 100% ผลรวมของความดันของหลอดเลือดฝอยขณะหายใจในอากาศจะลดลงต่ำกว่า 200 มิลลิเมตรปรอด จะทำให้เกิดความดันในการดูดซึมของก๊าซมากกว่า 550 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่าปกติถึง 10 เท่า17

มีการศึกษาโดยการให้ออกซิเจน 100% ในผู้ป่วยที่มีภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดแบบเกิดขึ้นเอง พบว่าสามารถเพิ่มอัตราเร็วในการดูดซึมได้มากขึ้น 4 เท่า จึงมีคำแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอดรับออกซิเจนขนาดสูง34

Aspiration

แนะนำให้ใช้เข็มเจาะระบายลม (aspiration)ในการรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax)ขนาดใหญ่ โดยพบว่าอัตราการกลับเป็นซ้ำเท่ากันในกลุ่มที่ทำการเจาะระบายลมเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการใส่สายระบายลม แต่ไม่แนะนำให้ใช้เจ็มเจาะระบายในคนไข้กลุ่มที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบทุติย

Page 10: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

ภูมิ (Secondary spontaneous pneumothorax)หรือกลุ่มที่มีการกลับเป็นซ้ำ(Recurrent primary spontaneous pneumothorax)เนื่องจากมีอัตราความสำเร็จต่ำ27,35

Seldinger technique เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม36โดยใช้เข็มขนาดเล็กแทงบริเวณขอบบนของกระดูกซี่โครงของช่องทรวงช่องที่ 2 บริเวณ midclavicular line โดยต่อกับหัว three-way stopcock และ syringe จากนั้นทำการดูดลมจนรู้สึกว่ามีแรงต้าน ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการที่ปอดขยายตัวเต็มที่แล้ว จากนั้นให้ทำเอกซเรย์ปอดซ้ำเพื่อยืนยัน หากพบว่าไม่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดเหลือค้างแล้วก็สามารถทำการดึงเข็มออกได้37

ในกรณีที่ดูดลมออกมาได้มากกว่า 2.5 ลิตรแต่ยังไม่รู้สึกว่ามีแรงต้านแสดงว่าวิธีการนี้ใช้ไม่ได้ผล ให้เปลี่ยนไปใช้วิธีการอื่นแทน27

อุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ได้คือ one-way valves (Heimlich valve)11 โดยลมจะสามารถผ่านออกไปได้อย่างเดียว ไม่สามารถไหลกลับเข้าไปได้ โดยสามารถใส่คาไว้จนปอดขยายตัวเต็มที่จึงค่อยเอาออกได้

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้เข็มเจาะระบายลม คือ การเกิดภาวะเลือดออก รวมทั้งอาจเกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อปอดได้ แต่พบได้ไม่บ่อยนักและหากพบก็มักจะไม่ได้มีอาการรุนแรง

รายงายความสำเร็จของการใช้วิธีการนี้อยู่ที่ 66-83% ในกลุ่มที่มีภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) ส่วนกลุ่มที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบทุติยภูมิ (Secondary spontaneous pneumothorax) พบอัตราความสำเร็จในการรักษาเพียง 37% โดยในกลุ่มที่รักษาด้วยวิธีการนี้ไม่สำเร็จแนะนำให้ใส่สายระบายทรวงอก38

Tube thoracostomy

การใส่สายระบายทรวงอกแนะนำให้ใช้ในกลุ่มที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดปริมาณมากหรือมีอาการ รวมทั้งแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบทุติยภูมิ (Secondary spontaneous pneumothorax) เนื่องจากกลุ่มหลังนี้มีอัตรการสำเร็จต่ำในการรักษาโดยการใช้เข็มเจาะระบายลม

การใส่สายระบายทรวงอกจะทำให้เกิดการขยายของตัวของเนื้อปอดอย่างรวดเร็ว ทำให้ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้ มีการศึกษาในผู้ป่วยที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด 81 รายพบว่า กลุ่มที่การใส่สายระบายทรวงอกมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยเพียง 4 วัน โดยมีเพียง 3 รายที่ยังคงมีลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดทำให้ต้องคาสายระบายเป็นระยะเวลานาน39

สายระบายลมขนาดเล็ก(8-16 Fr) หรือ pigtail catheters 8-10 Fr ก็เพียงพอสำหรับการระบายลมขนาดใหญ่ในช่องเยื่อหุ้มปอด และควรต่อลง water-seal chamber และหลีกเลี่ยงการต่อกับเครื่อง suction ใน 24 ชั่วโมงแรงเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะ Reexpansion pulmonary edema27

หลังจากปอดขยายตัวเต็มที่และลมในเยื่อหุ้มปอดหยุดรั่วเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ก็สามารถ นำสายระบายออกได้ โดยสังเกตลมที่รั่วได้จากฟองอากาศจากขวดแก้ว หากไม่มีฟองอากาศแล้วแนะนำให้ผู้ป่วยไอเพื่อยืนยันอีกครั้ง หากไม่เห็นฟองอากาศแสดงว่าไม่มีภาวะลมรั่วแล้ว ส่วนการ clamp สายระบายนั้นเพื่อประเมินให้แน่ใจว่ายังมีลมรั่วอยู่หรือไม่นั้นยังไม่มีข้อมูลว่ามีประโยชน์ชัดเจน26

หากยังคงมีลมรั่วเกิน 72 ชั่วโมงหลังการใส่สายระบาย แนะนำให้พิจารณาใช้ blood patch หรือ thoracoscopy ในกรณีที่ต้องการเลือกวิธีแบบไม่ทำผ่าตัด สามารถเลือกใช้ Heimlich valve ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำกลับบ้านได้ ส่วนการต่อ thoracic suction ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสามารถทำให้ลมในเยื่อหุ้มปอดในกลุ่มที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองลดลงเร็วมากขึ้นได้40

Page 11: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

มีการศึกษาพบว่าความสำเร็จในการใช้สายระบายทรวงอกเพื่อรักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) สูงถึง 90% ในครั้งแรก แต่ลดลงเหลือเพียง 50% ในกลุ่มที่กลับเป็นซ้ำในครั้งแรก และเหลือเพียง 15% ในกลุ่มที่กลับเป็นซ้ำครั้งที่สอง41

Pleurodesis

การรักษาโดยการส่องกล้องเพื่อเย็บลุงลมโป่งและทำการขูดเยื่อหุ้มปอด (Thoracoscopy with stapling of blebs and pleural abrasion reduces) สามารถลดอัตราการกลับเป็นซ้ำเหลือต่ำกว่า 5% ซึ่งกลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน42

Pleurodesis เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) ในกลุ่มที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการผ่าตัด โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบทุติยภูมิ (Secondary spontaneous pneumothorax) ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีโรคร่วมเยอะ มีการศึกษาโดยทำการใส่ pleurodesing agents (Talc slurry or doxycycline) เข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด พบว่าสามารถลดอัตราการกลับเป็นซ้ำจาก 40% เหลือเพียง 25%43

มีรายงานว่าการใช้ talc ในปริมาณมากทำให้เกิด Respiratory distress syndrome ขึ้นได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ dose สูงกว่า 5 gm44 ในทางทฤษฎีพบว่า talc สามารถลดโอกาสมะเร็งปอดได้แต่ไม่พบหลักฐานยืนยันชัดเจนในมนุษย์45

อัตราการกลับเป็นซ้ำของหลังจากการใช้ doxycycline อยู่ระหว่าง 8-40%46 ส่วน Bleomycin ไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากไม่สามารถทำให้เกิดผังผืดขึ้นได้ในสัตว์ทดลองและไม่มีการศึกษาในการนำมาใช้กับภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดในมนุษย์47

Autologous Blood Patch for Persistent Air Leak

การเกิดลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดเรื้อรัง (Persistent air leak) ทำให้เพิ่มระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล การใช้ autologous blood patch เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ราคาถูกและไม่ต้องทำการผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยการดูดเลือดดำของผู้ป่วยประมาณ 50-100 มิลลิลิตรใส่ผ่านสายระบายเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด โดยไม่ต้องใส่สารกันการแข็งตัวของเลือด จากนั้นยกสายระบายขึ้นประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อให้เลือดไหลเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยไม่ต้องทำการ clamp สายระบายเนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Tension pneumothorax ในกลุ่มที่ยังมี Persistent air leak อยู่48

จากการศึกษาในผู้ป่วย 107 ราย พบว่าวิธีการนี้สามารถหยุดการรั่วของลมในช่องเยื่อหุ้มปอดได้ถึง 91.7% ส่วนข้อมูลของการป้องกันการกลับเป็นซ้ำยังไม่ชัดเจน โดยมีเพียงหนึ่งการศึกษาที่มีผู้ป่วย 32 ราย ติดตามไป 12-48 เดือน ยังไม่พบการกลับเป็นซ้ำ49

Surgery

ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) ได้แก่ เกิดการกลับเป็นซ้ำ มีลมรั่วขนาดใหญ่หรือเกิด Perisistent air leaks รวมทั้งปอดไม่เกิดการขยายตัวเต็มที่หลังการใส่สายระบายทรวงอก นอกจากนี้ข้อบ่งชี้อื่นๆ ได้แก่ กลุ่มที่เคยมีประวัติลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองทั้งสองข้าง (Bilateral

Page 12: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

spontaneous pneumothorax) และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีทำอาชีพที่เสี่ยงในกรณีที่เกิดภาวะลมช่องเยื่อหุ้มปอดเกิดขึ้น เช่น นักบิน นักดำน้ำ เป็นต้น26

มีบางการศึกษาแนะนำให้ทำการผ่าตัดในผู้ป่วยทุกรายที่รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) ตั้งแต่ในครั้งแรก ในกรณีที่จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบว่ามีถุงลมโป่งปอดร่วมด้วย28 แต่บางการศึกษาก็ยังมีความเห็นแย้งกันในเรื่องดังกล่าว

Video-assisted thoracic surgery(VATS)

VATS เป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเอง (Spontaneous pneumothorax) แทนการผ่าตัดทรวงอกแบบเปิดในอดีต โดยมีเป้าหมายของการรักษาคือเพื่อจัดการกับถุงลมโป่ง(subpleural bleb) ทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่และทำการปิดช่องเยื่อหุ้มปอดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ50

จากการศึกษาแบบ meta-analysis พบอัตราการกลับเป็นซ้ำเพียง 5.4%42 กระบวนการผ่าตัดประกอบด้วยการกำจัดถุงลมโป่งโดยการใช้ endo-stapling หรือการเย็บปิด51 จากนั้นทำการเชื่อมปิดช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยการ pleural abrasion52หรือการทำ pleurectomy53

การผ่าตัดกำจัดถุงลมโป่งโดยไม่ทำการปิดเยื่อหุ้มปอดนั้นมีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูงจึงไม่เป็นที่นิยม แต่มีการศึกษาจากประเทศเกาหลีใต้ พบว่าการกำจัดถุงลมโป่งอย่างเดียวโดยไม่ทำการปิดเยื่อหุ้มปอดไม่ได้ทำให้อัตราการกลับเป็นซ้ำสูงขึ้น54

อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่ยังนิยมทำการปิดช่องเยื่อหุ้มปอดตามหลังการกำจัดถุงลมโป่ง โดยทั่วไปนิยมทำเป็น Mechanical pleurodesis โดยใช้ Bovie scratch pad ดังรูป33

Page 13: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

Standard three-port VATS technique ยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน หลังจากใส่ double-lumen endotracheal tube เพื่อทำ one-lung ventilation เสร็จแล้ว เริ่มต้นด้วยการสำรวจปอดทั้งหมด โดยเฉพาะตำแหน่งยอดปอดและปอดกลีบบนซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบถุงลมโป่งบ่อย การใส่ NSS เข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดจะช่วยให้หาตำแหน่งรอยรั่วได้ง่ายขึ้น ศัลยแพทย์บางกลุ่มเลือกตัด lung apex ทุกรายถึงแม้จะไม่พบถุงลมโป่งก็ตาม แต่ส่วนใหญ่จะเลือกตัดเฉพาะในรายที่พบถุงลมโป่งเท่านั้น ดังรูป33 หลังการตัดโดยใช้ endo-stapling ไม่จำเป็นต้องทำการเย็บเสริมในปอดที่ไม่ได้มีพยาธิสภาพอยู่เดิม

นอกเหนือจากการปิดช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยกันทำ mechanical pleurodesis ยังมีรายงานการทำ parietal pleurectomy ซึ่งพบว่าผลที่ได้ไม่ต่างกัน55

หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นศัลยแพทย์จำเป็นต้องประเมินซ้ำดูว่ายังมีลมรั่วในปอดอยู่อีกหรือไม่เสมอ จากนั้นให้สายระบายทรวงอก โดยวางไปยังตำแหน่ง lung apex เพื่อทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ โดยคาสายระบายให้จนกระทั่งเอกซเรย์ปอดพบว่าปอดขยายตัวเต็มที่และไม่มีฟองอากาศในขวดแก้วแล้ว

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดหลังการทำ VATS เพื่อรักษาภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เกิดขึ้นเองแบบปฐมภูมิ (Primary spontaneous pneumothorax) คือการเกิด Persistent air leak โดยพบได้ประมาณ 6% โดยข้อดีข้อ VATS คือมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลสั้นกว่าและความปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด56

มีการศึกษาโดยการใส่สาร talc เข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดโดยการส่องกล้องโดยไม่ตัดถุงลมโป่งพอง(subpleural bleb) พบว่า มีอัตราการกลับเป็นซ้ำประมาณ 5% หลังการติดตาม 5 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับการทำ VATS แต่ยังไม่มีการศึกษาที่เป็น RCT57

มีบางการศึกษาพบว่าการทำ VATS เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดแล้วยังคงมีอัตราการกลับเป็นซ้ำที่สูงกว่าเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาการนอนโรคพยาบาลและ mobidity อื่นๆแล้ว โดย

Page 14: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

ภาพรวม VATS ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบเปิดใช้ในกรณีที่ทำ VATS ไม่สำเร็จหรือในรายที่มีถุงลมโป่งขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามารถทำ VATS ได้42

มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการผ่าตัดรักษาภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดที่เปิดขึ้นเองในรูปแบบต่างๆ พบว่า กลุ่มที่ทำ wedge resection + chemical pleurodesis และกลุ่มที่ทำ wedge resection + pleural abrasion + chemical pleurodesis มีอัตราการกลับเป็นซ้ำต่ำที่สุด ส่วนกลุ่มที่ทำ staple line covering จะมีระยะเวลาในการใส่สายระบายทรวงอกที่สั้นที่สุด58

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเปรียบเทียบ standard three-port VATS เทียบกับ single-port VATS พบว่ากลุ่มที่ทำ single-port มีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลสั้นกว่า โดยอัตราการกลับเป็นซ้ำไม่ต่างกัน59

Open thoracotomy

โดยทั่วไปการผ่าตัดแบบเปิดจะในกรณีที่ไม่สามารถทำ VATS ได้ มีการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่าอัตราการกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัดแบบเปิดพบเพียง 1.1% ซึ่งน้อยกว่าการทำ VATS ซึ่งมีอัตราการกลับเป็นซ้ำ 5.1% อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิ42

วิธีการปิดช่องเยื่อหุ้มปอดนั้นสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่ การทำ pleural abrasion หรือ การทำ pleurectomy แต่เนื่องการผลการรักษาใกล้เคียงกัน จึงนิยมใช้การทำ plerual abrasion เนื่องจาก less invasive กว่า นอกจากนี้หากจำเป็นต้องทำ Thoracotomy ในครั้งถัดไปก็สามารถทำได้ง่ายกว่า

Reference

1. Myers JA: Simple spontaneous pneumothorax. Dis Chest 1954; 26: pp. 420-441. 2. Driscoll PJ, and Aronstam EM: Experiences in the management of recurrent.

spontaneous pneumothorax. J Thorac Cardiovasc Surg 1961; 42: pp. 174-178. 3. Kjærgaard H, and Anderson H: Spontaneous pneumothorax in the apparently healthy.

Copenhagen: Levin & Munksgaard, 1932. 4. Onuki T, Ueda S, Yamaoka M et al: Primary and Secondary Spontaneous

Pneumothorax: Prevalence, Clinical Features, and In-Hospital Mortality. Can Respir J.2017; 2017: 6014967.

5. Gupta D, Hansell A, Nichols T, et al: Epidemiology of pneumothorax in England. Thorax 2000; 55: pp. 666-671.

6. Melton LJ, Hepper NG, and Offord KP: Incidence of spontaneous pneumothorax in Olmsted County, Minnesota: 1950 to 1974. Am Rev Respir Dis 1979; 120: pp. 1379-1382.

7. Tan J ,Yang Y, Zhong J et al: Association Between BMI and Recurrence of Primary Spontaneous Pneumothorax. World J Surg (2017) 41:1274–1280 DOI 10.1007/s00268-016-3848-8.

8. Bense L, Eklund G, and Wiman LG: Smoking and the increased risk of contracting spontaneous pneumothorax. Chest 1987; 92: pp. 1009-1012.

9. Lippert HL, Lund O, Blegvad S, et al: Independent risk factors for cumulative recurrence rate after first spontaneous pneumothorax. Eur Respir J 1991; 4: pp. 324-331.

Page 15: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

10. Casali C, Stefani A, Ligabue G, et al: Role of Blebs and Bullae Detected by High-Resolution Computed Tomography and Recurrent Spontaneous Pneumothorax. Ann Thor Surg 2013; 1: pp. 249-255.

11. Baumann MH, and Strange C: Treatment of spontaneous pneumothorax: a more aggressive approach? Chest 1997; 112: pp. 789-804.

12. Schramel FM, Sutedja TG, Braber JC, et al: Cost-effectiveness of video-assisted thoracoscopic surgery versus conservative treatment for first time or recurrent spontaneous pneumothorax [see comments]. Eur Respir J 1996; 9: pp. 1821-1825.

13. Menko FH, van Steensel MAM, Giraud S, et al: Birt-Hogg-Dubé syndrome: diagnosis and management. Lancet Oncol 2009; 10: pp. 1199-1206.

14. Noppen M, Dekeukeleire T, Hanon S, et al: Fluorescein-enhanced autofluorescence thoracoscopy in patients with primary spontaneous pneumothorax and normal subjects. Am J Respir Crit Care Med 2006; 174: pp. 26-30.

15. Travaline JM, McKenna RJ, Degiacomo T, et al: Treatment of persistent pulmonary air leaks using endobronchial valves. Chest 2009; undefined.

16. Light RW: Pleural diseases. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins, 2013.17. V.Courtney Broaddus. Murray and Nadel's Textbook of Respiratory Medicine, Sixth

Edition. London: Elsevier Saunders; 2015.18. Sahn SA, and Heffner JE: Spontaneous pneumothorax. N Engl J Med 2000; 342: pp.

868-874.19. Shih CH, Yu HW, Tseng YC et al: Clinical Manifestations of Primary Spontaneous

Pneumothorax in Pediatric Patients: An Analysis of 78 Patients. Pediatrics and Neonatology (2011) 52, 150-154.

20. Smit HJ, Wienk MA, Schreurs AJ, et al: Do bullae indicate a predisposition to recurrent pneumothorax? Br J Radiol 2000; 73: pp. 356-359.

21. Wu YC, Lu MS, Yeh CH, et al: Justifying video-assisted thoracic surgery for spontaneous hemopneumothorax. Chest 2002; 122: pp. 1844-1847.

22. Noppen M, Alexander P, Driesen P, et al: Quantification of the size of primary spontaneous pneumothorax: accuracy of the Light index. Respiration 2001; 68: pp. 396-399.

23. Rhea JT, DeLuca SA, Greene RE: Determining the size of pneumothorax in the upright patient. Radiology 1982;144: 733–6.

24. Collins C, Lopez A, Mathie A, et al: Quantification of pneumothorax size on chest radiographs using interpleural distances: regression analysis based on volume measurements from helical CT. AJS 165:1127–1130, 1995.

25. Antonio J. Salazar, Diego A. Aguirre, Juliana Ocampo, et al: Evaluation of Three Pneumothorax Size Quantification Methods on Digitized Chest X-ray Films Using Medical-Grade Grayscale and Consumer-Grade Color Displays. J Digit Imaging (2014) 27:280–286.

26. Baumann MH, Strange C, Heffner JE, et al: Management of spontaneous pneumothorax: an American College of Chest Physicians Delphi Consensus Statement. Chest 2001; 119: pp. 590-602.

27. MacDuff A, Arnold A, and Harvey J: Management of spontaneous pneumothorax: British Thoracic Society pleural disease guideline 2010. Thorax 2010; 65: pp. ii18-ii3.

28. Sawada S, Watanabe Y, and Moriyama S: Video-assisted thoracoscopic surgery for primary spontaneous pneumothorax: evaluation of indications and long-term outcome compared with conservative treatment and open thoracotomy. Chest 2005; 127: pp. 2226-2230.

29. Massard G, Thomas P, and Wihlm JM: Minimally invasive management for first and recurrent pneumothorax. Ann Thorac Surg 1998; 66: pp. 592-599.

30. Sadikot RT, Greene T, Meadows K, and Arnold AG: Recurrence of primary spontaneous pneumothorax. Thorax 1997; 52: pp. 805-809.

Page 16: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

31. Guo Y, Xie C, Rodriguez RM, et al: Factors related to recurrence of spontaneous pneumothorax. Respirology 2005; 10: pp. 378-384.

32. Kircher LTJ, and Swartzel RL: Spontaneous pneumothorax and its treatment. JAMA 1954; 155: pp. 24-29.

33. David C Sabiston. Sabiston and Spencer Surgery of the Chest,Ninth Edition. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2010.

34. Northfield TC: Oxygen therapy for spontaneous pneumothorax. BMJ 1971; 4: pp. 86-88.

35. Noppen M, Alexander P, Driesen P, et al: Manual aspiration versus chest tube drainage in first episodes of primary spontaneous pneumothorax: a multicenter, prospective, randomized pilot study. Am J Respir Crit Care Med 2002; 165: pp. 1240-1244.

36. Ayed AK, Chandrasekaran C, and Sukumar M: Aspiration versus tube drainage in primary spontaneous pneumothorax: a randomised study. Eur Respir J 2006; 27: pp. 477-482.

37. Vallee P, Sullivan M, Richardson H, et al: Sequential treatment of a simple pneumothorax. Ann Emerg Med 1988; 17: pp. 936-942.

38. Hamilton AA, and Archer GJ: Treatment of pneumothorax by simple aspiration. Thorax 1983; 38: pp. 934-936.

39. Seremetis MG: The management of spontaneous pneumothorax. Chest 1970; 57: pp. 65-68.

40. So SY, and Yu DY: Catheter drainage of spontaneous pneumothorax: suction or no suction, early or late removal? Thorax 1982; 37: pp. 46-48.

41. Ain SK, Al-Kattan KM, and Hamdy MG: Spontaneous pneumothorax: determinants of surgical intervention. J Cardiovasc Surg (Torino) 1998; 39: pp. 107-111.

42. Barker A, Maratos EC, Edmonds L, and Lim E: Recurrence rates of video-assisted thoracoscopic versus open surgery in the prevention of recurrent pneumothoraces: a systematic review of randomised and non-randomised trials. Lancet 2007; 370: pp. 329-335.

43. Light RW, O’Hara VS, Moritz TE, et al: Intrapleural tetracycline for the prevention of recurrent spontaneous pneumothorax. Results of a Department of Veterans Affairs cooperative study. JAMA 1990; 264: pp. 2224-2230.

44. Kennedy L, Rusch VW, Strange C, et al: Pleurodesis using talc slurry. Chest 1994; 106: pp. 342-346.

45. NTP Toxicology and Carcinogenesis Studies of Talc (CAS No. 14807-96-6) (Non-Asbestiform) in F344/N Rats and B6C3F1 Mice (Inhalation Studies). Natl Toxicol Program Tech Rep Ser 1993; 421: pp. 1-287.

46. Heffner JE, Standerfer RJ, Torstveit J, et al: Clinical efficacy of doxycycline for pleurodesis. Chest 1994; 105: pp. 1743-1747.

47. Vargas FS, Wang NS, Lee HM, et al: Effectiveness of bleomycin in comparison to tetracycline as pleural sclerosing agent in rabbits. Chest 1993; 104: pp. 1582-1584

48. Manley K, Coonar A, Wells F, and Scarci M: Blood patch for persistent air leak: a review of the current literature. Curr Opin Pulm Med 2012; 18: pp. 333-338.

49. Chambers A, Routledge T, Billè A, and Scarci M: Is blood pleurodesis effective for determining the cessation of persistent air leak? Interact Cardiovasc Thorac Surg 2010; 11: pp. 468-472.

50. Simansky DA, and Yellin A: Pleural abrasion via axillary thoracotomy in the era of video assisted thoracic surgery. Thorax 1994; 49: pp. 922-923.

51. Yim AP: Video-assisted thoracoscopic suturing of apical bullae. An alternative to staple resection in the management of primary spontaneous pneumothorax. Surg Endosc 1995; 9: pp. 1013-1016.

Page 17: Collective review Management of primary spontaneous ...medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2560/13.Managent of... · Management of primary spontaneous pneumothorax ด$ นายแพท+เถง

52. Casadio C, Rena O, Giobbe R, et al: Stapler blebectomy and pleural abrasion by video-assisted thoracoscopy for spontaneous pneumothorax. J Cardiovasc Surg (Torino) 2002; 43: pp. 259-262.

53. Chen J-S, Hsu H-H, Huang P-M, et al: Thoracoscopic pleurodesis for primary spontaneous pneumothorax with high recurrence risk: a prospective randomized trial. Ann Surg 2012; 255: pp. 440-445.

54. Park JS, Han WS, Kim HK, et al: Pleural abrasion for mechanical pleurodesis in surgery for primary spontaneous pneumothorax: is it effective? Surg Laparosc Endosc Percutan Tech 2012; 22: pp. 62-64.

55. Nkere UU, Kumar RR, Fountain SW, et al: Surgical management of spontaneous pneumothorax. Thorac Cardiovasc Surg 1994; 42: pp. 45-50.

56. Crisci R, and Coloni GF: Video-assisted thoracoscopic surgery versus thoracotomy for recurrent spontaneous pneumothorax. A comparison of results and costs. Eur J Cardiothorac Surg 1996; 10: pp. 556-560.

57. TYim AP, and Ng CS: Thoracoscopy in the management of pneumothorax. Curr Opin Pulm Med 2001; 7: pp. 210-214.

58. Sudduth CL, Shinnick JK, Geng Z: Optimal surgical technique in spontaneous pneumothorax: a systematic review and meta-analysis. J Surg Res. 2017 Apr;210:32-46. doi: 10.1016/j.jss.2016.10.024. Epub 2016 Nov 3.

59. Xu W, Wang Y, Song J et al: One-port video-assisted thoracic surgery versus three-port video-assisted thoracic surgery for primary spontaneous pneumothorax: a meta-analysis. Surg Endosc. 2017 Jan;31(1):17-24. doi: 10.1007/s00464-016-4940-8. Epub 2016 Apr 29.