BlueBird Perspective on TSCM - Conceptual Model

4
BlueBird Perspective ภาพ: ท่าเรือแพขนานยนต์ เกาะลันตาใหญ่ (พฤษภาคม 2552) สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์เบื้องลึกเบื้องหลังการทํา บทความวิชาการที่เพิ่งเสร็จครับ บทความนี้เป็นงานที่ส่งไปงงานประชุมวิชาการงานที่สองตั้งแต่เรียนเอกที่คาร์ดิฟฟหลังจาก ได้ร่างแผนการทํางานวิจัย (research design) เตรียมไปนําเสนอที่ฝรั่งเศสเดือนหน้าแล้ว ครั้งนี้เป็นการนําเสนอแนวความคิดการทําวิจัยเกี่ยวกับ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที ่ยว (Tourism Supply Chain Management: TSCM) โดยบทความนี้จะได้นําเสนอที่ University of Nottingham ซึ่งก็ต้องข้ามไปฝั่งอังกฤษ (อีกแล้ว) ทีNottingham นั้นเค้าก็ มีศูนย์วิจัยทางด้านการท่องเที ่ยวระดับแนวหน้าของ UK พอๆ กับที่ Surrey, Bournemouth และก็ Leeds Met. ผมเรียนทีCardiff ซึ่งชํานาญทางด้าน Logistics and Supply Chain Management เป็นหลักก็ต้องพยายามออกไปนําเสนองานให้นักวิจัยฝ่งการ ท่องเที่ยวได้วิจารณ์งานที่เราได้ศึกษามาด้วย ผมเองก็ได้รับ Email มาฉบับหนึ่ง (ไม่เยอะเท่า .คมสัน) ถามคําถามที่ค่อนข้างกว้างว่า อยากทํางานวิจัย (วิทยานิพนธ์ ) เกี่ยวกับ Tourism Logistics โดยเก็บข้อมูลจากโรงแรม (ตามความสะดวก) จะต้องทําอย่างไรบ้าง? ผมก็เลยแนะนําให้ไปอ่านงานแรกของผมซึ ่ง สามารถ Download ได้ที่ http://www.edamba.eu/userfiles/file/Piboonrungroj %20Pairach.pdf แล้วก็ตอบไปว่าผมจะมีงานชิ ้่นต่อไปที ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดของ TSCM วันนี้ก็ได้โอกาสผลงานที่น่าจะเป็นแนวทางในการทํางานวิจัยด้านนี ้มาเล่าสู ้กันฟัง ครับ เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว 1

Transcript of BlueBird Perspective on TSCM - Conceptual Model

Page 1: BlueBird Perspective on TSCM - Conceptual Model

BlueBird Perspective

ภาพ: ท่าเรือแพขนานยนต์ เกาะลันตาใหญ่ (พฤษภาคม 2552)

สวัสดีครับ

วันนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์เบื้องลึกเบื้องหลังการทํา บทความวิชาการที่เพิ่งเสร็จครับบทความนี้เป็นงานที่ส่งไปงงานประชุมวิชาการงานที่สองตั้งแต่เรียนเอกที่คาร์ดิฟฟ์ หลังจากได้ร่างแผนการทํางานวิจัย (research design) เตรียมไปนําเสนอที่ฝรั่งเศสเดือนหน้าแล้ว ครั้งนี้เป็นการนําเสนอแนวความคิดการทําวิจัยเกี่ยวกับ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว (Tourism Supply Chain Management: TSCM) โดยบทความนี้จะได้นําเสนอที ่University of Nottingham ซึ่งก็ต้องข้ามไปฝั่งอังกฤษ (อีกแล้ว) ที่ Nottingham นั้นเค้าก็ม ีศ ูนย์ว ิจ ัยทางด้านการท่องเที ่ยวระดับแนวหน้าของ UK พอๆ กับที ่ Surrey, Bournemouth และก ็Leeds Met. ผมเรียนที่ Cardiff ซึ่งชํานาญทางด้าน Logistics and Supply Chain Management เป็นหลักก็ต้องพยายามออกไปนําเสนองานให้นักวิจัยฝั่งการท่องเที่ยวได้วิจารณ์งานที่เราได้ศึกษามาด้วย

ผมเองก็ได้รับ Email มาฉบับหนึ่ง (ไม่เยอะเท่า อ.คมสัน) ถามคําถามที่ค่อนข้างกว้างว่า อยากทํางานวิจัย (วิทยานิพนธ์) เกี่ยวกับ Tourism Logistics โดยเก็บข้อมูลจากโรงแรม (ตามความสะดวก) จะต้องทําอย่างไรบ้าง? ผมก็เลยแนะนําให้ไปอ่านงานแรกของผมซึ่งสามารถ Download ได้ที ่ http://www.edamba.eu/userfiles/file/Piboonrungroj%20Pairach.pdf แล้วก็ตอบไปว่าผมจะมีงานชิ้ ่นต่อไปที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดของ TSCM วันนี้ก็ได้โอกาสผลงานที่น่าจะเป็นแนวทางในการทํางานวิจัยด้านนี้มาเล่าสู้กันฟังครับ

เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว

เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว 1

Page 2: BlueBird Perspective on TSCM - Conceptual Model

งานวิจัยที่แนบอยู่กับบทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพิื่อที่จะสร้างกรอบแนวคิดในการทํางานวิจัยด้าน TSCM ก่อนอื่นผมได้ทําการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาหรือที่เรียกกันว่า ทบทวนวรรณกรรม (literature review) เริ่มแรกผมค้นหางานที่เกี่ยวข้องจาก ฐานข้อมูลงานวิจัยต่างๆ จาก 4 แหล่งหลัก (ในทางบริหาร และ เศรษฐศาสตร)์ รวมทั้ง Google Scholar โดยใช ้คําหลักสามคํา คือ tourism supply chain, travel supply chain, และ hospitality supply chain แล้วก็มาดูว่ามีงานที่พิจารณาในระดับ Supply chain จริงๆ เท่าไหร ่ และก็ได้พบว่ามีอยู่ 44 งานที่เกี่ยวข้องจริงๆ ต่อมาผมก็ได้วิเคราะห์เนื้อหาของงานแต่ละชิ้น (ดูที่ Appendix หน้าสุดท้ายครับ) เพื ่อที ่จะได้เห็นภาพรวมของงานวิจัยด้านนี้ในปัจจุบัน (current state) ผมพบว่างานวิจัยด้านนี้กําลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่ามาก (ดูภาพที่หนึ่งครับ) มีงานออกมาในช่วงสองปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่ามีคนทําเรื่องนี้มากๆ ในช่วงประมาณสี่ปีที่ผ่านมา (การตีพิมพ์งานลงวารสารวิชาการนานาชาติจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปีครับ) ส่วนด้านอื่นๆ เช่นระเบียบวิธีที่ใช้กันก็ดูได้ใน paper ครับ

หลังจากผมได้ภาพของงานวิจัยที่ผ่านมาแล้ว ก็พบว่าการตีความ tourism supply chains (TSCs) นั้น ยังไม่สมบูรณ ์ ผมจึงได้เสนอวิธีการตีความว่า TSCs คืออะไร โดยวิธีการสี่ขั้นตอน โดยเริ่มจาก (1) กําหนดขอบเขตของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ให้สับสนกับ อุตสาหกรรมการเดินทาง หรือการต้อนรับ ซึ่งส่วนนี้ก็มีอยู่ในงานแรกเช่นเดียวกัน

หลังจากกําหนดขอบเขตที่ชัดเจนแล้วเราก็มาดูว่า (2) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นมีความพิเศษอย่างไร ซึ่งพบว่า สินค้าท่องเที่ยวนั้นเป็นส่วนผสมของทั้งสินค้าและบริการ มีความซับซ้อนสูง ความต้องการท่องเที่ยวก็มีความผันผวนสูงและคาดการณ์ได้ยาก

ต่อมาในส่วนของขั้นตอนที่สามและสี่ซึ่งมีความสําคัญอย่างมาก เป็น (3) การกําหนดองค์ประกอบของ TSCs ซึ่งในภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่า (4) เราแบ่ง TSCs ได้สามช่วงใหญ่ คือก่อนเดินทางท่องเที่ยว ช่วงที่กําลังท่องเที่ยว และ ช่วงหลังจากท่องเที่ยวเสร็จแล้ว TSCs ก็เริ่มตั้งแต ่การวางแผนท่องเที่ยว ซึ่งอาจทําได่้โดยการติดต่อ โรงเแรม จองตั๋วเครื่องบินเอง หรือติดต่อผ่าน บริษัทนําเที่ยวต่างๆ แต่ไม่ว่าอย่างไร ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ก็มาจากผู้ให้บริการการท่องเทียว (tourism service providers) ผู้ให้บริการหลักๆ ก็ได้แก ่ที่พัก การเดินทาง และสถานที่ท่องเที่ยว ตรงส่วนนี้เปรียบเสมือนว่า TSCs ก็ประกอบไปด้วย supply chains ต่างๆ เช่น supply chain ของโรงแรม ร้านอาหาร สวนสัตว์ หรือ งานพืชสวนโลก ซึ่งแต่ละ supply chain ก็จะมี suppliers ของตัวเองซึ่งก็คือผู้ป้อนวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการการท่องเที่ยวนั้นเอง เช่น โรงแรมก็จะรับวัตถุดิบต่างๆ เช่น เนื้อสัตว ์เครื่องดืมต่างๆ อุปกรณ์จัดงานเลี้ยง เป็นต้น

Introduction to Conversational French

เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว 2

Page 3: BlueBird Perspective on TSCM - Conceptual Model

ในช่วงที่สอง ซึ่งก็คือช่วงระหว่างการเดินทางนั้น นักท่องเที่ยวก็จะได้รับบริการ ณ จุดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การเดินทาง การเข้าที่พัก รับประทานอาหาร ปีนเขา ดําน้ํา นวดแผนไทย ฯลฯ หากเป็นการท่องเที่ยวโดยซื้อ package tour ก็จะมี tour operators คอยจัดการวางแผนดําเนินการให้การท่องเทียวเป็นไปอย่างราบรื่น

ช่วงสุดท้ายคือ หลังจากเที่ยวเสร็จแล้วตรงจุดนี้ยังไม่ค่อยมีงานศึกษาออกมา กิจกรรมที่น่าจะเป็นไปได ้ เช่น บริการอัดภาพ โดยปัจจุบันนี้เป็นการทําสมุดภาพสวยๆ เหมือนกับหนังสือภาพที่ขายตามร้านหนังสือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่กําลังมาแรง

การจัดการ TSCs นั้นก็คือการจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นให้เป็นไปอย่างราบรื่น ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยวนั่นเอง ฟังดูง่ายนะครับ แต่ความจริงมักไม่ใช่แบบนั้นนะครับ การจัดการ TSCs น่าจะแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ ได้แก่การจัดการฝั่งการเตรียมการให้บริการให้มีประสิทธิภาพแต่ละหน่วยผลิตมีการจัดการที่สอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ และ การจัดการให้นักท่องเที่ยวเดินทางตามโปรแกรมได้อย่างราบรื่น หากมีทั้งสองอย่างนี้ได้ก็จะเป็น Seamless Tourism Supply Chains ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก supply chain ที่มีการจัดการได้อย่างราบรื่นมาก ก็ได้แก ่Toyota ที่มีการจัดการที่เรียกว่า Toyota Production System หรือที่ฝรั่งตั้งชื่อให้ว่า Lean Operations

หลังจากเราได้ภาพของ TSCs แล้ว เราก็ได้เสนอกรอบแนวคิดในการทําวิจัยเกี่ยวกับ TSCs (ดูภาพที ่5 นะครับ) กรอบงานวิจัยน่าจะแบ่งออกได้สามส่วน คือ งานที่เกี่ยวกับการออกแบบโซ่อุทานการท่องเที่ยว ว่าจะมีระบบอย่างไร หาวัตถุดิบที่ไหน จัดส่งอย่างไร และที่สําคัญควรใช้กลยุทธ์ิแบบไหนที่จะสามารถเอาชนะโซ่อุปทานอื่นๆ ได้

ส่วนที่สองคือการศึกษาความสัมพันธ์ของหน่วยต่างๆ ใน TSCs ซึ่งผมจําแนกออกเป็นสี่ส่วน ตั้งชื่อว่า The TSC Quartet เหมือนกับวงดนตรีสี่คนเล่นเครื่องดนตรีสี่ชิ้นที่ต้องประสานกันอย่าลงตัวจึงจะสามารถบรรเลงบทเพลงได้อย่างไพเราะ ในการท่องเที่ยวทั้งสี่ส่วนนี้ก็ต้องประสานกันอย่างลงตัวเช่นกัน สี่ส่วนนี้ก็คือ ผู้ให้บริการการท่องเที่ยว ผู้ป้อนวัตถุดิบ บริษัทนําเที่ยวที่เสมือน สถาปนิกคอยออกแบบสินค้าท่องเที่ยว เช่น ดําน้ําสามวันสองคืน Home stay เดินป่า ห้าวันห้าคืน เป็นต้น และส่วนสุดท้ายที่สําคัญที่สุดก็คือ นักท่องเที่ยวเอง งานวิจัยก็จะมุ่งศึกษาประเด็นรอบด้านว่า ทั้งสี่ภาคส่วนนี้ควรจะมีการบริหารความสัมพันธ์แบบไหน เป็นต้น

ส่วนที่สามคือ การวัดผลการดําเนินงานของ TSCs เป็นการประเมินความสามารถในการแข่งขันซึ่งก็มี สี่ ประเด้นที่ควรพิจารณาดังภาพ

Introduction to Conversational French

เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว 3

Page 4: BlueBird Perspective on TSCM - Conceptual Model

หลังจากนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยแล้วผมก้ได้เสนองานวิจัยที่น่าสนใจพร้อมคําถามในงานวิจัยเพื่อเป็นตัวอย่างด้วย

หากใครสนใจในรายละเอียดก็ email มาแลกเปลี่ยนกันได้ที่ [email protected] ได้ครับน้อมรับคําติชมทุกประการครับ

ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์

Chiang Mai School of Economics

and

Logistics System Dynamics Group, Cardiff Business School

Introduction to Conversational French

เริ่มตนอยางไร กับงานวิจัย ในเรื่องโซอุป∙านการ∙องเ∙ี่ยว 4