แผนธุรกิจ ( Business Plan )thaifranchisedownload.com/dl/15Production4.doc · Web...

29
แแแแแแแแแ แแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแ- แแแแแแแแ แแแแแแ

Transcript of แผนธุรกิจ ( Business Plan )thaifranchisedownload.com/dl/15Production4.doc · Web...

แผนธุรกิจ ( Business Plan )

PAGE

หน้า 16

แผนธุรกิจ

บริษัท น้ำยาปรับผ้านุ่ม-นุ๊มนุ่ม จำกัด

1. บทสรุปผู้บริหาร

วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ

บริษัท น้ำยาปรับผ้านุ่ม-นุ๊มนุ่ม จำกัด ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำยาปรับผ้านุ่ม ภายใต้ยี่ห้อ “นุ๊มนุ่ม” สำนักงานตั้งอยู่ใกล้ตลาดอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ก่อตั้งโดยนางสาวศิริขวัญ กันตา กิจการตั้งเป้าหมายการดำเนินงานว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตและพัฒนารูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น ปัญหาหลักของกิจการคือ การขาดเงินทุนในการขยายกิจการ ขาดระบบบัญชีการเงินที่มีมาตรฐาน ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของการจัดทำแผนธุรกิจ คือ ขอสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและปรับปรุงขยายกิจการ

แนวคิดทางธุรกิจ

เนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ในช่วงแรกได้ลองผลิตใช้เองและแจกจ่ายให้คนใกล้ชิดทดลองใช้ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี กิจการได้มองเห็นลู่ทางทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงมีแนวคิดที่จะทำเป็นธุรกิจผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่ม

สรุปการวิเคราะห์สถานการณ์

ปัจจัยภายใน

:

ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการผลิต แต่ยังค่อนข้างมีประสบการณ์น้อยในด้านการบริหารหรือการจัดการกิจการ แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพดี ราคาเป็นที่ยอมรับและที่ตั้งกิจการสะดวกต่อการกระจายสินค้า แต่ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นในการวางตลาด ผลิตภัณฑ์จึงยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย อีกทั้งกิจการยังขาดระบบการจัดการและการบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน

ปัจจัยภายนอก

:

การเพิ่มขึ้นของอัตราการเติบโตของภาคการผลิตและการบริโภค ประกอบกับสภาพการแข่งขันที่ยังไม่สูง ส่งผลต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์ของกิจการที่ดี แต่ปัจจัยด้านการแข่งขันภายนอกพื้นที่และการทุ่มงบด้านการโฆษณาของคู่แข่ง จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการดำเนินงานของกิจการในระยะยาว

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ

· กลยุทธ์ด้านการจัดการ

กิจการจะปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและระบบการบริหารจัดการ จัดวางระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบแยกตามส่วนงาน

· กลยุทธ์ด้านการผลิต

กิจการจะขยายกำลังการผลิต จากเดิมผลิตได้ 1,000 ลิตร/วัน โดยจะขยายให้ได้ไม่ต่ำกว่า วันละ 2,000 ลิตร โดยนำเอาวิธีการบริหารด้านการผลิต การจัดการระบบวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ รวมถึงแรงงานที่ใช้ ในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมทั้งจัดให้มีระบบการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า มีการกำหนดระยะเวลาในการส่งของให้สอดคล้องกับแผนการผลิต

· กลยุทธ์ด้านการตลาด

กิจการจะเน้นจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในเขต อ. เมือง โดยวิธีขายตรง และใช้ตัวแทนในการกระจายสินค้า ต่อจากนั้นจึงขยายตลาดไปยังพื้นที่นอกเขต อ.เมือง

· กลยุทธ์ด้านการเงิน

กิจการจะขยายพื้นที่การผลิตและเพิ่มกำลังการผลิต พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยหาเงินทุนเพิ่มเติมโดยกู้เงินจากสถาบันการเงินประมาณ 2,000,000 บาท

2. ความเป็นมาของโครงการ

บริษัท น้ำยาปรับผ้านุ่ม-นุ๊มนุ่ม จำกัด เป็นผู้ผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่ม ยี่ห้อ “ นุ๊มนุ่ม ” เดิมเป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนและขายให้ภายในกลุ่มคนที่รู้จักกัน โดยขณะนั้นยังไม่ได้มีตรายี่ห้อแต่อย่างใด ต่อมาได้ขยายการผลิตเชิงพาณิชย์และเริ่มขายตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

ปัจจุบันที่ตั้งของสำนักงานและโรงงานอยู่ เลขที่ 22 หมู่ 2 อ.เมือง จ.สระบุรี จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯเมื่อปี 2545 ทุนจดทะเบียน จำนวน 1 ล้านบาท บริหารงานโดย คุณศิริขวัญ กันตา ตำแหน่งผู้จัดการของบริษัทฯ มีหน้าที่หลักในด้านการบริหารและด้านการตลาด

แรงบันดาลใจ

เริ่มจากคุณศิริขวัญ กันตา และคุณชื่นขวัญ กันตา (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการของกิจการ) ทดลองผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มเพื่อใช้เองและขายที่บริษัทเดิมที่ทำงานอยู่ ต่อมาผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งในรูปแบบบริษัทผลิตสินค้าเพื่อขาย และมีตราสินค้าเป็นของตนเอง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงสินค้า ควบคุมคุณภาพการผลิต และขยายตลาดต่อไป

ประวัติผู้บริหาร

ชื่อ : นางสาวศิริขวัญ กันตา อายุ 36 ปี

ตำแหน่ง : ผู้จัดการ

การศึกษา : ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ :

ปี 2530 – 2534

· บริษัท เกรท ดิสทริบิวชั่น จำกัด

ปี 2535 – 2544

· บริษัท สินส่งเสริมการตลาด จำกัด

พ.ย. 2545 – ปัจจุบัน

· บริษัท น้ำยาปรับผ้านุ่ม-นุ๊มนุ่ม จำกัด

ชื่อ : นางสาวชื่นขวัญ กันตา

ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้จัดการ

อายุ : 38 ปี

การศึกษา : ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์ :

ปี 2528 – 2540

· บริษัท เจจีบี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

ปี 2540 – 2543

· บริษัท ไดฮัทสุ (ประเทศไทย) จำกัด

พ.ย. 2545 – ปัจจุบัน

· บริษัท น้ำยาปรับผ้านุ่ม-นุ๊มนุ่ม จำกัด

ลักษณะธุรกิจของโครงการ

โครงการการดำเนินงานของกิจการ เป็นโครงการเพื่อขยายและปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อรองรับเป้าหมายการดำเนินงานระยะสั้น ได้แก่การผลิตและจำหน่ายให้กลุ่มผู้ใช้ในครัวเรือนและแหล่งชุมชนใกล้เคียงและเพื่อปรับปรุงและวิจัยด้านการผลิต บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งรองรับเป้าหมายระยะยาว ได้แก่ การขยายการตลาดผลิตภัณฑ์ไปจังหวัดใกล้เคียงและดำเนินการผลิตน้ำยาล้างห้องน้ำ

3. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม

น้ำยาปรับผ้านุ่ม

น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งในกลุ่มของใช้ส่วนบุคคล ปัจจุบันตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มแบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือ สูตรธรรมดา มีสัดส่วนการตลาด 97% และสูตรเข้มข้น ซี่งมีสัดส่วนการตลาด 3%(ณ ธ.ค. 2541) ปัจจัยที่ทำให้น้ำยาปรับผ้านุ่มสูตรเข้มข้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก ราคาสูงกว่าและความเคยชินของผู้บริโภคในการใช้น้ำยาปริมาณมากๆ โดยเชื่อว่าใช้มากทำให้กลิ่นติดทนนานและเนื่องจากการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกันทั้งด้านประสิทธิภาพและบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นจุดขายจึงเน้นการปรับปรุงกลิ่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

แนวโน้มของตลาดขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและเนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่า น้ำยาปรับผ้านุ่มไม่ใช่สินค้าจำเป็นมากนัก มีการประมาณการว่า ในปี 2545-2546 จะมีอัตราการเติบโตในภาคการผลิตและการบริโภคอย่างมาก อนึ่ง ตลาดเครื่องซักผ้ามีส่วนในการกระตุ้นพฤติกรรมการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย หากตลาดเครื่องซักผ้า มีการขยายตัวย่อมส่งผลต่อตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย

4. การวิเคราะห์สถานการณ์ ( SWOT Analysis )

จุดแข็ง (Strength)

· ผู้บริหารมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

· ที่ตั้งของกิจการอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถกระจายสินค้าไปยังแหล่งต่างๆ ได้สะดวก

· ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ

· สินค้าราคาถูก

จุดอ่อน (Weakness)

· ลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น เช่น ปุ๋ยเคมี ทำให้ขาดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

· ผลิตภัณฑ์ของกิจการ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายได้เฉพาะในเขตจังหวัดใกล้เคียงและเฉพาะตลาดล่างเท่านั้น

· กิจการขาดระบบจัดการ และระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ขาดข้อมูลแสดงสถานะการผลิต และการเงินที่ช่วยพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

โอกาส (Opportunity)

· ยังไม่มีผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในเขตพื้นที่ อ.เมือง จึงไม่มีปัญหาการแข่งขัน

· การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2546 ทำให้อัตราการเติบโตในภาคการผลิตและบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย

อุปสรรค (Threat)

· มีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หลายราย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตเหล่านี้มีกำลังในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าของคู่แข่งเป็นที่รู้จักและมีภาพลักษณ์ที่ดี

· สภาวะการแข่งขันนอกเขต อ. เมือง จ. สระบุรีและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงค่อนข้างรุนแรงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ทำให้ยากต่อการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายของกิจการได้ในอนาคต

5. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ( Vision , Mission & Goals )

วิสัยทัศน์ ( Vision )

บริษัท น้ำยาปรับผ้านุ่ม-นุ๊มนุ่ม จำกัด จะเป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่คำนึงถึงมาตรฐานของทางราชการและไม่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม

พันธกิจ ( Mission )

ภารกิจของกิจการ ได้แก่ การดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำยาปรับผ้านุ่มในเขต อ. เมือง จ.สระบุรี โดยการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคาเฉลี่ยที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน

เป้าหมาย ( Goals )

· เป้าหมายการดำเนินงานในระยะสั้น

1. เพื่อผลิตและจำหน่ายให้แก่กลุ่มผู้บริโภคในครัวเรือนและแหล่งชุมชนใกล้เคียง

2. เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 80%

3. เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีมากขึ้น

· เป้าหมายการดำเนินงานระยะยาว

1. เพื่อขยายตลาดผลิตภัณฑ์ไปจังหวัดใกล้เคียง

2. เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 90%

3. กระจายความเสี่ยงของธุรกิจโดยขยายธุรกิจสู่ธุรกิจผลิตน้ำยาล้างจาน

6. กลยุทธ์ ( Strategy )

กลยุทธ์ระดับองค์กร ( Corporate Strategy )

ดำเนินธุรกิจ โดยใช้กลยุทธ์เติบโต ทั้งนี้กิจการจะมีโครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน แยกอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามส่วนงาน รวมถึงการจัดระบบการบริหารงานภายในที่มีการกระจาย เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ ( Business Strategy )

สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง เนื่องจากปัจจุบัน สภาพการแข่งขัน ยังมีน้อย ประกอบกับการเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งรายย่อยอื่นเป็นไปได้ง่ายหากสามารถรู้ขั้นตอนและกระบวนการผลิต

กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategy )

· กลยุทธ์ด้านการตลาด

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์

· ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาปรับผ้านุ่มประเภท Refilled ให้เป็นประเภททึบแสง เพื่อป้องกันการตกตะกอน

· ปรับปรุงรูปแบบขวดบรรจุภัณฑ์ของน้ำยาปรับผ้านุ่มให้มีความเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น เพื่อเป็นที่สะดุดตาสำหรับผู้บริโภค

กลยุทธ์ราคา

· วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตของกิจการ

· ประมาณการต้นทุน และราคาขายของคู่แข่ง

· กำหนดราคาโดยใช้วิธีกำหนดอัตรากำไรเพิ่มจากต้นทุนการผลิต

กลยุทธ์การจัดจำหน่าย

· จำหน่ายผ่านตัวแทนขาย และระบบขายตรง

กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย

· โฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น และวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น

· การจัดผลิตภัณฑ์เป็น Package และขายในราคาพิเศษ

กลยุทธ์ด้านการผลิต

การควบคุมต้นทุนการผลิต

· จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพและต้นทุนที่เหมาะสม โดยการติดต่อ Supplier หลายราย

· กำหนดจำนวนคนงานให้เหมาะสมกับขนาดการผลิต

การคิดมูลค่าสินค้าคงเหลือ

· ใช้วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน ( First in-First out Method : FIFO )

กลยุทธ์ด้านการเงิน

การจัดระบบ

· วางระบบสำคัญต่างๆ ได้แก่ ระบบการบริหารเงิน ระบบการควบคุมลูกหนี้และเจ้าหนี้ ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ ระบบสินทรัพย์ถาวร ระบบการจัดซื้อ และระบบการขาย เป็นต้น

· จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

· จัดวางระบบการประเมิน และการควบคุมภายใน

แหล่งเงินทุนหมุนเวียน

· ใช้สินเชื่อทางการค้า (Trade Credit)

· กู้เงินจากสถาบันการเงินเพิ่มเติม

กลยุทธ์ด้านการจัดการ

ปรับปรุงระบบการจัดการภายในองค์กร จัดโครงสร้างการบริหารงาน กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบแยกตามส่วนงาน โดยมีการรายงานตรงต่อผู้บริหารระดับสูง ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ประสานงานหน้าที่ต่างๆ ตามส่วนงาน และพิจารณาตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย

7. ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

· มีบุคลากรมีความรู้ความสามารถ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเหมาะสมกับขนาดของกิจการ

· มีระบบการจัดเก็บข้อมูล การจัดการ การตลาด การบริหารเงิน และการบัญชี มีมาตรฐานและสามารถประเมินประสิทธิภาพและวัดประสิทธิผลของการดำเนินงาน

ปัจจัยที่ทำให้โครงการไม่ประสบความสำเร็จ

· ภาวะการแข่งขันในตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคที่สูงขึ้น อาจมีผลทำให้กิจการขยายฐานการตลาดได้ไม่มากตามที่กำหนดไว้

· ผู้บริหารต้องดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตนเอง อาจทำให้กิจการไม่บรรลุผลตามแผนงานได้

8. การบริหารโครงการ

การก่อตั้งกิจการ

กิจการดำเนินกิจการเป็นผู้ผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่มยี่ห้อ “ นุ๊มนุ่ม ” โดยใช้สูตรสมุนไพร เดิมเป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนและขายให้ภายในกลุ่มคนที่รู้จักกัน ต่อมาได้ขยายการผลิตเชิงพาณิชย์และเริ่มขายตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

ปัจจุบันที่ตั้งของสำนักงานและโรงงานอยู่ เลขที่ 22/2 หมู่ 2 อ.เมือง จ. สระบุรี จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯเมื่อปี 2545 ด้วยทุนจดทะเบียน จำนวน 2 ล้านบาท บริหารงานโดย คุณศิริขวัญ กันตา ตำแหน่งผู้จัดการของบริษัทฯ มีหน้าที่หลักในด้านการบริหารและด้านการตลาด

รายชื่อผู้ถือหุ้น

ชื่อ

ตำแหน่ง

จำนวนหุ้น

ร้อยละ

1. นางสาวศิริขวัญ กันตา

ผู้จัดการ

5,000

50

2. นางสาวชื่นขวัญ กันตา

ผู้ช่วยผู้จัดการ

5,000

50

รวม

10,000

100

หมายเหตุ : ทุนจดทะเบียนบริษัท ราคาหุ้นละ 200 บาท รวมทุนจดทะเบียนสองล้านบาท

โครงสร้างองค์กรปัจจุบัน

กลยุทธ์การสรรหาและจัดเตรียมบุคลากร

· กำหนดโครงสร้างองค์กร และอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน

· กำหนดอัตราเงินเดือน และจำนวนบุคลากรที่เหมาะสม

· จัดหาบุคลากรที่มีประสบการณ์ โดยประกาศตามสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น

· คัดเลือกบุคลากรจากวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และการสัมภาษณ์ เพื่อบรรจุเป็นพนักงาน

9. การวิเคราะห์ด้านการตลาด

กลุ่มลูกค้าตลาดเป้าหมาย· กลุ่มผู้ใช้ในครัวเรือน ได้แก่ กลุ่มลูกค้าที่ได้จากการวางจำหน่ายตามตลาดนัด และจากการส่งพนักงานขายเข้าไปขายตรงต่อผู้บริโภคใน จ.สระบุรี และจังหวัดอื่นๆ

· ร้านอาหาร และภัตตาคาร โดยการส่งตัวแทนขายเข้าไปติดต่อตามโรงแรม ร้านอาหารรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดสระบุรี และบริเวณจังหวัดใกล้เคียง

ส่วนแบ่งตลาด

· ส่วนแบ่งตลาดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์น้ำยาปรับผ้านุ่มทั้งหมดในตลาดมีประมาณ 5% เนื่องจากกิจการอยู่ในช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด

โดยในปี 2546 กิจการประมาณว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ประมาณ 20% โดยจะมีการแจกสินค้าตัวอย่างให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้ รวมทั้งมีการลงสื่อโฆษณาทางวิทยุท้องถิ่นและใบปลิวเพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งมีการขยายฝ่ายการตลาดให้สามารถครอบคลุมพื้นที่การขายให้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีค่านายหน้าในการขายให้กับร้านค้าย่อยดังกล่าวด้วย โดยส่วนใหญ่ตอบรับกลับมาด้วยดีและมีการสั่งซื้อซ้ำแล้ว ในส่วนของพื้นที่ อ.เมืองเอง ผู้ค้าตามตลาดนัดเริ่มมีการสั่งซื้อซ้ำมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคที่ได้ทดลองใช้แล้วต่างพอใจในคุณภาพของสินค้า

การวิเคราะห์การแข่งขันของสินค้า

· อุปสรรคด้านคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม ( Threat of Industry Competitors )

ค่อนข้างสูง เนื่องจากภาวะการแข่งขันนอกเขต อ.เมืองค่อนข้างสูง แนวโน้มกำลังการผลิตของคู่แข่งเพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อขยายฐานการตลาดของผู้ประกอบการ

· อุปสรรคด้านคู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามา ( Threat of New Potential Entrants )

ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้เงินทุนไม่สูงมาก และขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ซึ่งง่ายสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอื่นที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจนี้

· อุปสรรคจากการที่มีผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถทดแทนได้ ( Threat of Substitutes )

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่มีการพัฒนาขึ้นมาตลอด และคุณภาพมาตรฐาน โดยราคาไม่แตกต่างกันมากนัก

· อุปสรรคด้านอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ( Threat of Growing Bargaining Power of Buyers )

ค่อนข้างมาก เนื่องจากปัจจุบัน การแข่งขันมีแนวโน้มที่สูงขึ้นประกอบกับผลิตภัณฑ์ของกิจการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เริ่มวางตลาด ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีทางเลือกมากขึ้นโดยมีราคาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาซื้อ

· อุปสรรคด้านอำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Threat of Growing Bargaining Power of Suppliers)

ค่อนข้างมาก เหตุผลเช่นเดียวกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคด้านอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ซึ่งเนื่องมาจากภาวะการแข่งขันที่สูง จึงมีความต้องการปัจจัยการผลิตมากขึ้น ผู้ขายจึงมีอำนาจต่อรองในด้านราคา และเงื่อนไขการขายมากขึ้น

ข้อได้เปรียบ / เสียเปรียบในการแข่งขัน

ข้อได้เปรียบ:

· ผู้บริหารมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้มีการปรับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

· ที่ตั้งของกิจการอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถกระจายสินค้าไปยังแหล่งต่างๆ ได้สะดวก

· ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ

· สินค้ามีคุณภาพดี ราคาถูก

ข้อเสียเปรียบ:

· ลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น เช่น ปุ๋ยเคมี ทำให้ขาดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

· ผลิตภัณฑ์ของกิจการ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายได้เฉพาะในเขตจังหวัดใกล้เคียงและเฉพาะตลาดล่างเท่านั้น

· กิจการขาดระบบจัดการ และระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ขาดข้อมูลแสดงสถานะการผลิต และการเงินที่ช่วยพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

การกำหนดตำแหน่งทางการตลาด ( Market Positioning ) รูป 1.1

ปัจจัยด้านราคา

ปัจจัยด้านคุณภาพ

กลยุทธ์ทางการตลาด

1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ จำแนกเป็น

· การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ( Product Positioning )

กิจการได้วางตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและมีราคาต่ำกว่าราคาตลาดทั่วไป ( ตามรูป 1.1 ) เพื่อเป็นการเจาะตลาดในระดับล่างและตลาดท้องถิ่น

· คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ( Product Attributes )

· ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาปรับผ้านุ่มประเภท Refilled ให้เป็นประเภททึบแสง เพื่อป้องกันการตกตะกอน

· ปรับปรุงรูปแบบขวดบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น เพื่อเป็นที่สะดุดตาสำหรับผู้บริโภค

2. กลยุทธ์ราคา

· วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตของกิจการ

· ประมาณการต้นทุน ราคาขายของคู่แข่งขัน

· กำหนดราคาโดยใช้วิธีกำหนดอัตรากำไรเพิ่มจากต้นทุนการผลิต ( Mark Up Cost Pricing )

3. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย

· จำหน่ายผ่านตัวแทนขาย และระบบขายตรง

4. กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาดและการขาย

· การจัดผลิตภัณฑ์เป็น Package และขายในราคาพิเศษ

· โฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น และวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น

เป้าหมายตามแผนกลยุทธ์

· เป้าหมายการดำเนินงานในปีระยะสั้น

· เพื่อผลิตและจำหน่ายให้แก่กลุ่มผู้บริโภคในครัวเรือนและแหล่งชุมชนใกล้เคียง

· เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีขึ้น

· เป้าหมายการดำเนินงานระยะยาว

· เพื่อขยายตลาดไปจังหวัดใกล้เคียง

· ดำเนินธุรกิจการผลิตน้ำยาล้างจาน

10. การวิเคราะห์ด้านการผลิต

· การผลิต ( Flowchart )

ขั้นตอนการผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่ม

เติมน้ำร้อนในส่วนผสม ปั่นส่วนผสมทั้งหมด

เติมสี, หัวน้ำหอม

ตามอัตราส่วน

เข้าด้วยกันแล้วทิ้งให้เย็น สารกันเสีย

ติดสติ๊กเกอร์

บรรจุภาชนะ

หมักสาร

ตามขนาด

ทิ้งไว้ 10 วัน

· เครื่องจักรและอุปกรณ์

1. เครื่องปั่นส่วนผสม จำนวน 5 เครื่อง

2. ถังหมักน้ำยา

3. ถังแสตนเลสสำหรับต้มน้ำร้อน จำนวน 2 ถัง

4. เครื่องปิดปากถุง จำนวน 1 เครื่อง

· กำลังการผลิตปัจจุบัน

1. น้ำยาปรับผ้านุ่ม เท่ากับ 1,000 ลิตรต่อวัน

· ต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วย

1. น้ำยาปรับผ้านุ่ม เท่ากับ 7 บาทต่อลิตร

· อาคารและสิ่งปลูกสร้าง

อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 3 คูหา

ขนาดพื้นที่ประมาณ 150 ตารางเมตร

· ทำเลที่ตั้ง

เลขที่ 22/2 ม.2 อ.เมือง จ.สระบุรี

· สาธารณูปโภค

ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์

· แรงงาน

เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตจำนวน 5 คน

· การบริหารวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ

1. คิดต้นทุนวัตถุดิบ และสินค้าคงเหลือตามวิธี FIFO

2. คิดต้นทุนการสั่งผลิตจากค่าแรงงานทางตรง และค่าโสหุ้ยการผลิต

· ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

· ไม่มี

· แผนการดำเนินงานด้านการผลิต

· จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพและต้นทุนที่เหมาะสม โดยการติดต่อ Supplier หลายราย

· กำหนดจำนวนคนงานที่เหมาะสมกับขนาดการผลิต

กิจการควรกำหนดปริมาณการผลิตในแต่ละครั้งให้เพียงพอต่อปริมาณการสั่งซื้อในรอบระยะเวลานั้นๆ โดยดูจากระยะเวลาการผลิตและเวลาในการจำหน่ายว่าใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน และมีปริมาณการสั่งซื้อในช่วงเวลาดังกล่าวประมาณเท่าไร จึงวางแผนการผลิตให้เพียงพอและควรมีขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตแต่ละครั้งด้วย เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและสามารถบริหารต้นทุนการผลิตได้ ทำให้มีสินค้าเพียงพอต่อการจำหน่ายตลอดเวลา และมั่นใจในคุณภาพของสินค้าว่ามีมาตรฐานเดียวกัน

11. การวิเคราะห์ด้านการเงิน

· สรุปเงินลงทุนในโครงการ

รายการ

เงินส่วนของเจ้าของ

เงินกู้ยืม

รวมเงินลงทุน

ที่ดินและค่าปรับปรุง

-

-

-

อาคารและสิ่งปลูกสร้าง

300,000

-

300,000

เครื่องจักรและอุปกรณ์

600,000

500,000

1,100,000

เครื่องใช้สำนักงาน

200,000

-

200,000

ยานพาหนะ

200,000

200,000

400,000

ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน

1,300,000

-

1,300,000

รวม

2,600,000

700,000

3,300,000

· แหล่งที่มาของเงินทุน

ทุนจดทะเบียน

2,000,000 บาท

เงินกู้ยืมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เงินกู้ 2,000,000 บาท

วัตถุประสงค์ของเงินกู้

· เพื่อดำเนินกิจการผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่มเพื่อการจำหน่าย

· เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

อัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ย 8%

การชำระคืนเงินต้น

15 ปี

หลักประกันเงินกู้

ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 5 ไร่

ราคาประเมินหลักประกัน

2,500,000 บาท

ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน กิจการได้แสดงอัตราส่วนแต่ละปีและแนวโน้มของอัตราส่วนแต่ละประเภทไว้ใน ตารางอัตราส่วนทางการเงินซึ่งอยู่ในภาคผนวก อย่างไรก็ตามภาพรวมของอัตราส่วนแต่ละประเภทสามารถอธิบายโดยภาพรวม ดังนี้

สภาพคล่องทางการเงิน

กิจการมีสภาพคล่องสูง ซึ่งปัจจัยหลักมาจากกิจการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน โดยใช้แหล่งเงินมาจากเงินกู้ยืมระยะยาว กิจการมีการให้ Credit Term กับลูกค้าเท่ากับ 20 วัน การหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือประมาณ 12 วัน และมีการซื้อวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นเงินสดจึงทำให้ไม่มียอดหนี้สินหมุนเวียน

การบริหารสินทรัพย์

ในช่วงแรก กิจการยังมียอดขายที่น้อยเนื่องจากเป็นช่วงที่กิจการเริ่มวางขายผลิตภัณฑ์ และอยู่ในช่วงขยายตลาดในขณะที่ได้มีการลงทุนในสินทรัพย์มาก ทั้งนี้ภายหลังจากที่ผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากขึ้น กิจการจึงมีการพัฒนาปรับปรุงกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ดังนั้นกิจการจึงสามารถเพิ่มยอดขายเพิ่มขึ้นโดยใช้สินทรัพย์ดำเนินการที่มีอยู่

ภาระหนี้สิน

เนื่องจากผลการดำเนินงานของกิจการอยู่ในระยะเริ่มต้นที่ยังใช้เงินลงทุนน้อย จึงส่งผลให้ Debt to Equity Ratio อยู่ในสัดส่วนต่ำประมาณ 1.0 ในช่วงปี 2546-2548 ซึ่งผลการดำเนินงานจะเริ่มมีกำไรในปี 2548 จึงทำให้กิจการมีความสามารถในการชำระหนี้สูงขึ้น

ความสามารถในการทำกำไร

กิจการมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 55% ของยอดขาย ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิในช่วงแรกอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานค่อนข้างสูง ทั้งนี้ภายหลังจากการที่กิจการได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตจนทำให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายดำเนินงานได้ ประกอบกับกิจการสามารถเพิ่มยอดขายเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้กิจการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรได้ตามลำดับ

· จุดคุ้มทุน และอัตราผลตอบแทนของโครงการในช่วงปี 2546 – 2550

ความหมาย

มูลค่าที่คำนวนได้

มูลค่าปัจจุบันโครงการสุทธิ

(Net Present Value)

ผลรวมมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ (จ่าย) สุทธิตลอดอายุของโครงการ

4,500,000 บาท

อัตราผลตอบแทนโครงการ

(Internal Rate of Return)

ผลตอบแทนระหว่างกระแสเงินสดรับแต่ละปีตลอดอายุโครงการและจำนวนสินเชื่อ

25%

ระยะเวลาคืนทุน

(Pay Back Period)

ประมาณการระยะเวลาที่กิจการจะสามารถชำระคืนเงินกู้ได้ทั้งหมด

7 ปี

12.การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ

· ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

· ความเสี่ยงจากการกีดกัน หรือการแข่งขันในเวทีการค้า

ภาวะแข่งขันในตลาดที่มีแนวโน้มสูง ประกอบกับคู่แข่งขันสำคัญเน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งการที่กิจการจะสามารถแข่งขันในตลาดได้อาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของกิจการ

· ความเสี่ยงด้านการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่

เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้เงินทุนไม่สูงมาก และขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ซึ่งง่ายสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอื่นที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ได้ หากมีการวางแผนการผลิตและการตลาดที่ดี ซึ่งกระทบต่อการขยายการตลาดของกิจการ

· แผนรองรับ

1. เพิ่มช่องทางในการจำหน่าย

2. เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน

13.แผนปรับปรุงขีดความสามารถในการประกอบการ

1. การจัดโครงสร้างองค์กร

· จัดแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ จำแนกตามส่วนงาน

2. ด้านบุคลากร

· จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

· อบรมผู้บริหาร เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการนำข้อมูลทางบัญชีการเงินเพื่อการตัดสินใจด้านบริหาร

3. การปรับปรุงระบบบัญชี

· การจัดระบบการเก็บข้อมูล และจัดทำทะเบียนต่างๆ

· วางระบบบัญชีและการเงินให้เป็นมาตรฐาน

· นำโปรแกรมทางบัญชีอย่างง่ายมาใช้ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและจัดทำรายงานทางการเงิน

· วางระบบการควบคุมภายใน และการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการแต่ละช่วงระยะเวลา เช่น ผลการดำเนินงานรายเดือน รายไตรมาส และรายปี เป็นต้น

14.ภาคผนวก

· ข้อสมมุติฐานทางการเงิน และประมาณการทางการเงินปี 2546 –2550

สมมุติฐานในการจัดทำประมาณการทางการเงิน

1

คำนวณปริมาณขายและราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยในปี 2545

ผลิตภัณฑ์

หน่วย

ขนาด (cc.)

หน่วยที่ขายได้

ปริมาตรที่ขายได้

ราคาต่อหน่วย

รวมทั้งสิ้น

 

 

ต่อหน่วย

( cc. )

(บาท)

(บาท)

น้ำยาปรับผ้านุ่ม

ถัง

 

ขวด

 

ขวด

 

Refill

รวมทั้งสิ้น

 

 

 

ปริมาตรเฉลี่ยที่ผลิตได้ต่อเดือน

cc.

 

ราคาขายเฉลี่ย

 

 

 

บาท / cc.

 

ยอดขายในปี 2546 - 2547 เพิ่มขึ้น %

ยอดขายในปี 2548 - 2550 เพิ่มขึ้น %

72

92

2

ต้นทุนขาย :

วัตถุดิบ

ต้นทุนวัตถุดิบที่ซื้อในปี 2545 เท่ากับ

บาท

หัก วัตถุดิบคงเหลือสิ้นปี 2545 เท่ากับ

บาท

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

บาท

ประมาณยอดวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตในปี 2546 - 2550

ปี 2546

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปี 2547 - 2550

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

ค่าแรงงาน

จำนวนพนักงานฝ่ายผลิต

คน อัตราเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ

บาท/คน

จำนวนผู้บริหารและพนักงานสำนักงาน

คน

ประมาณเงินเดือนในปี 2546 - 2550

ปี 2546

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปี 2547 - 2550

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

โสหุ้ยการผลิต

ค่าน้ำ และค่าไฟฟ้า

บาท / เดือน

ค่าเดินทาง / ค่าน้ำมัน

บาท / เดือน

ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา

บาท / เดือน

ค่าโสหุ้ยการผลิตอื่น

บาท / เดือน

รวม

บาท / เดือน

ประมาณโสหุ้ยการผลิตในปี 2546 - 2550

ปี 2546

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปี 2547 - 2550

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

3

ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน :

ค่าโทรศัพท์

บาท / เดือน

ค่าจัดทำและสอบบัญชี

บาท / เดือน

ค่าเช่าสำนักงาน

บาท / เดือน

ค่านายหน้า

บาท / เดือน

ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย

บาท / เดือน

ค่าภาษีซื้อ

บาท / เดือน

ค่าทำ Sticker , ฉลากข้างขวด

บาท / เดือน

รวม

บาท / เดือน

ประมาณโสหุ้ยการผลิตในปี 2546 - 2550

ปี 2546

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปี 2547 - 2550

เพิ่มขึ้น (ลดลง)

%

เมื่อเทียบกับปีก่อน

4

ค่าเสื่อมราคา

คิดตามวิธีเส้นตรง

5

ดอกเบี้ยจ่าย

คำนวณจาก

ยอดเงินกู้เดิม

- เพื่อจัดตั้งและดำเนินกิจการ

ยอดเงินที่ขอกู้เพิ่ม

- เพื่อลงทุนในอุปกรณ์ และเครื่องมือเพิ่มเติม

รวม

ทั้งนี้มีสมมุติฐานว่ากู้มาในระยะเวลา เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยเหมือนเดิม

6

อัตราภาษี

เท่ากับ

30%

ของกำไรสุทธิก่อนภาษี

7

ระยะเวลาที่ให้ Credit Term แก่ลูกหนี้การค้า เท่ากับ

วัน

8

ระยะเวลาที่ได้ Credit Term จากเจ้าหนี้การค้า เท่ากับ

วัน

9

ระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ เท่ากับ

วัน

Total Current Assets Hided

576,487.20

804,716.01

836,699.24

871,806.37

910,346.08

952,657.71

Total Current Liabilities Hided

-

-

-

-

-

-

ราคามาตรฐาน

คุณภาพสูง

ราคาสูง

คุณภาพสูง

ราคาต่ำ

คุณภาพสูง

ราคามาตรฐาน

คุณภาพมาตรฐาน

ราคาสูง

คุณภาพมาตรฐาน

ราคาต่ำ

คุณภาพต่ำ

ราคามาตรฐาน

คุณภาพต่ำ

ราคาสูง

คุณภาพต่ำ

ฝ่ายขาย

ฝ่ายขนส่ง

ฝ่ายบัญชี การเงิน และธุรการ

ผู้ช่วยผู้จัดการ

ฝ่ายผลิต

ผู้จัดการ

ราคามาตรฐาน

คุณภาพมาตรฐาน

หมายเหตุ : แผนธุรกิจนี้เป็นแผนธุรกิจตัวอย่าง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ และข้อมูลด้านการเงิน จึงเป็นข้อมูลสมมติเท่านั้น