รายงานสรุปผลการสัมมนา เรื่อง · ค าน...

43
รายงานสรุปผลการสัมมนา เรื่อง เรื่อง กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้าวันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง ธันวาคม 2557 กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Transcript of รายงานสรุปผลการสัมมนา เรื่อง · ค าน...

รายงานสรุปผลการสัมมนา

เรื่อง

เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า”

วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

ธันวาคม 2557

กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ค าน า

เอกสารสรุปผลการสัมมนาเรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” ที่ได้จัดท าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือสรุปข้อคิดเห็นที่ได้จากการระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของการสัมมนา วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน ๒๕๕7 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง เพ่ือเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรได้น าไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณวิทยากร ผู้ที่มีส่วนช่วยให้เกิดการสัมมนา และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีมา ณ โอกาสนี้

ส่วนบริหารกองทุนภาคการเกษตร ส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สารบัญ

หน้า

ส่วนที่ 1 พิธีเปิดการสัมมนา 1 ค ากล่าวต้อนรับ โดย นายสาธร นราวิสุทธิ์ 2 ค ากล่าวรายงาน โดย นางสาวราตรี เม่นประเสริฐ 4 ค ากล่าวเปิดสัมมนา โดย นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ 6

ส่วนที่ 2 การบรรยายและการอภิปราย 8 สรุปการบรรยายเรื่อง “แนวโน้ม ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรไทย” 9 สรุปการบรรยายเรื่อง “FTA ผลกระทบ และการปรับตัว” 14 สรุปการบรรยายเรื่อง “การค้าสินค้าเกษตร ปัจจุบัน อนาคต” 17 สรุปการบรรยายเรื่อง “กองทุน FTA : สร้างเกษตรไทยเข้มแข็ง” 20

ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและการตอบข้อซักถาม 23 สรุปความคิดเห็นและการตอบข้อซักถาม 24

ส่วนที่ 4 สรุปการประเมินผลการสัมมนา 25 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 26 ข้อเสนอแนะ 31 สรุปผลภาพรวม 31

ประมวลภาพการสัมมนา 33

ภาคผนวก 36 ก าหนดการสัมมนา 37 โครงการสัมมนา 38

ส่วนท่ี 1

พิธีการเปิดสัมมนา

2

ค ากล่าวต้อนรับเนื่องในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า”

โดย นายสาธร นราวิสุทธิ์

รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 09.00 – 09.15 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

*************

กล่าวต้อนรับและบรรยายให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟังถึงจังหวัดตรัง ว่า “จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ภาคใต้ของประเทศ มีพ้ืนที่ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3.09 ล้านไร่ มีประชากรประมาณ 6.8 แสนคน ผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ณ ปี ๒๕๕5 มีมูลค่าเท่ากับ 75,291 ล้านบาท มีรายได้ต่อหัว 123,790 บาทต่อคนต่อปี ภาวะเศรษฐกิจหลักขึ้นกับภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การค้าปลีก และการท่องเที่ยว มีความพร้อมและบรรยากาศที่เอ้ือต่อการลงทุน มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดทะเล เป็นจังหวัดเดียวที่มีเส้นทางรถไฟที่เข้ามาสู่พื้นท่ีชายฝั่งอันดามัน มีเศรษฐกิจที่ส าคัญตั้งแต่สมัยโบราณ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และต าแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อกับหลายจังหวัดในภาคใต้ ท าให้จังหวัดตรังมีนักลงทุนเข้ามาประกอบธุรกิจเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ และปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1.2 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ 4,500-4,800 ล้านบาทต่อปี หรือขยายตัว 10-12% การเติบโตในทุกภาคเศรษฐกิจท าให้จังหวัดตรังกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 8 ของภาคใต้ และเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศ และคาดว่าอันดับจะสูงยิ่งขึ้นไป หรือก็คือ การสร้างรายได้เข้าประเทศมากยิ่งขึ้น เพราะจังหวัดตรังมีทรัพยากรที่สมบูรณ์และหลากหลาย ทางด้านการเกษตรมีพืชทางเศรษฐกิจที่ส าคัญคือ ยางพาราและปาล์มน้ ามัน โดยมีพ้ืนที่ปลูกยางพาราประมาณ 1.5 ล้านไร่ มูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่ปาล์มน้ ามัน มีพ้ืนที่เพาะปลูกประมาณ 1-2 แสนไร่ มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี

การสัมมนาเรื่อง “กองทุน FTA : เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” ที่จัดขึ้นในวันนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร สถาบันเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้เกี่ยวข้องใน

3

ทุกภาคส่วน ที่จะได้ตระหนักรับรู้ถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า และผลจากรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้งด้านบวกและลบอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านได้ร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ อันจะน าไปสู่การปรับตัวเพ่ือรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพ่ือให้สามารถแข่งขันด้านการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน

ท้ายที่สุดนี้ ผมหวังว่าท่านเลขาธิการส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร คณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนสถาบันเกษตรกร และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการสัมมนาในวันนี้ และผมขออวยพรให้การสัมมนา เรื่อง “กองทุน FTA : เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” ประสบผลส าเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดงานทุกประการ

************************

4

ค ากล่าวรายงานเนื่องในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า”

โดย นางสาวราตรี เม่นประเสริฐ

เศรษฐกรเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อ านวยการส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 09.15 – 09.30 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

*************

เรียน เลขาธิการส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ดิฉันในนามฝ่ายเลขานุการกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านได้สละเวลามาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กองทุน FTA : เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” ในวันนี้

กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือเรียกชื่อย่อว่า “กองทุน FTA” ว่า กองทุน FTA มีวัตถุประสงค์เพ่ือเป็นแหล่งเงินทุนส าหรับช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ในการปรับโครงสร้างการผลิต ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพและแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนการปรับเปลี่ยนการผลิตจากสินค้าที่ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าท่ีมีศักยภาพ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา กองทุน FTA ได้ด าเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้การช่วยเหลือเกษตรกรผ่านโครงการต่างๆ ไปแล้ว 22 โครงการ 10 ชนิดสินค้า ได้แก่ ปาล์มน้ ามัน กาแฟ ข้าว ชา โคเนื้อ โคนม สุกร พริกไทย มะพร้าว และผักเมืองหนาว คิดเป็นวงเงิน 746.73 ล้านบาท

กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ ตระหนักถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ก าลังจะเกิดขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ และเป็นจุดเปลี่ยนครั้งส าคัญของเศรษฐกิจไทยในทุกด้าน ทั้งการค้าสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายการลงทุน แรงงานและเงินทุน มีแนวโน้ม ที่ไทยจะหันมาค้าขายกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากข้ึน การเปิดเสรีจะส่งผลให้การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรง โดยเฉพาะการค้าขายสินค้าเกษตร ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนมีการผลิตสินค้าเกษตรที่ ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ภาคเกษตรมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันตามศักยภาพของผู้ผลิตสินค้าเกษตร ในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบด้านลบจ าเป็นต้องปรับตัวเพ่ือรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรง ซ่ึงเกษตรกรในภาคใต้ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 เช่น เกษตรกรปาล์มน้ ามัน กาแฟและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังนั้น เพ่ือให้เกษตรกรไทยสามารถแข่งขันทั้งด้านการผลิตและการตลาดกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน กองทุนฯ จึงเห็นความจ าเป็นในการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรเหล่านั้น ได้ตระหนักรับรู้ถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนรับทราบแนวทางการช่วยเหลือของกองทุน ฯ เพ่ือน าไปสู่การจัดท าโครงการเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อการปรับโครงสร้างการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

การสัมมนาเรื่อง “กองทุน FTA : เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” ที่จัดขึ้นในวันนี้ จะแบ่งการสัมมนาออกเป็น ๒ ช่วง คือ

5

ภาคเช้า เป็นการบรรยายเรื่อง“แนวโน้ม ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรไทย” โดย เลขาธิการส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการบรรยายเรื่อง “FTA ผลกระทบ และการปรับตัว” โดย ผู้อ านวยการส านักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ภาคบ่าย เป็นการบรรยาย เรื่อง “การค้าสินค้าเกษตร ปัจจุบัน อนาคต” โดย ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง และ การบรรยาย เรื่อง “กองทุน FTA : สร้างเกษตรไทยเข้มแข็ง” โดย หัวหน้ากลุ่มกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร พร้อมการตอบข้อซักถาม รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ส าหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ สถาบันเกษตรกร เกษตรกร และเจ้าหน้าที่กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ จ านวนประมาณ ๓0๐ คน

*************************

6

ค ากล่าวเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า”

โดย นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เลขาธิการส านักงานเศรษฐกจิการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 09.30 – 09.45 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

***************

กล่าวว่า ปัจจุบันความตื่นตัวเรื่องการเปิดเขตการค้าเสรีหรือ FTA โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2558 เป็นที่สนใจของประชาชนในทุกภาคส่วนว่าจะมีผลกระทบต่อการด าเนินชีวิต และการประกอบอาชีพอย่างไร โดยเฉพาะภาคเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย การเปิดเสรีทางการค้านั้น จะท าให้สินค้าเกษตรและอาหารสามารถเคลื่อนย้ายผ่านกลไกการขนส่งได้อย่างเสรี เพ่ิมปริมาณการค้าและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เพ่ิมขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรที่แต่ละประเทศได้เคยก าหนดไว้ ผู้ผลิตแต่ละประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบในการแข่งขัน มีการพัฒนาคณุภาพสินค้าให้สูงขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ าลง การเปิดเสรีการค้าจะมีผู้รับประโยชน์เป็นจ านวนมาก แต่ก็จะมีผู้ผลิตอีกจ านวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศคู่แข่ง พ้ืนที่ภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่ส าคัญของประเทศหลายชนิด เช่น ปาล์มน้ ามัน ยางพารา กาแฟ และปศุสัตว์ อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะปาล์มน้ ามัน เนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อ่ืนๆ และราคาน้ ามันปาล์มสูงกว่ามาเลเซียที่เป็นทั้งผู้ผลิตและ ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลให้น้ ามันปาล์มจากมาเลเซียและอินโดนีเซียเข้ามาแข่งขันกับน้ ามันปาล์มในประเทศมากขึ้น เพ่ือปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรมีความจ าเป็นต้องเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต การช่วยเหลือให้เกษตรกรมีขีดความสามารถการแข่งขันเพ่ิมมากขึ้น จ าเป็นต้องมี

7

เงินทุนเพ่ือการพัฒนา ซึ่งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่ากองทุน FTA จะเป็นเครือ่งมือช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องของเงินทุน การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพ่ือเร่งประชาสัมพันธ์แนวทาง การขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน FTA ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคาดว่าสถาบันเกษตรกร หน่วยงานราชการ ตลอดจนภาคเอกชนในภาคใต้ จะเสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ เพ่ือเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีทุกกรอบการค้า โดยเฉพาะการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 และคาดว่าการจัดสัมมนาในครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพ่ือด าเนินการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ให้มีศักยภาพการแข่งขันท่ีทัดเทียมหรือดีกว่าสินค้าจากต่างประเทศ จะท าให้เกษตรกรมีรายได้ท่ีดีและม่ันคง

*************************

8

ส่วนท่ี 2

การบรรยายและการอภิปราย

9

สรุปการบรรยาย เรื่อง “แนวโน้ม ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรไทย”

โดย นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เลขาธิการส านักงานเศรษฐกจิการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 09.45 – 10.45 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

******************************

กล่าวถึงภาพรวมของประเทศว่า ประเทศไทย มีพ้ืนที่ทั้งหมดประมาณ 321 ล้านไร่ เป็นพ้ืนที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ประมาณ 149 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 47% ของพ้ืนที่ทั้งหมด ในพ้ืนที่เกษตร 149 ล้านไร่ เป็นพ้ืนที่ที่ได้รับประโยชน์จากชลประทาน ประมาณ 30 ล้านไร่ ที่เหลืออีก 119 ล้านไร่ยังเป็นพ้ืนที่อยู่นอกเขตชลประทาน นโยบายรัฐบาลพยายามเพ่ิมพ้ืนที่ชลประทานให้มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสาน เนื่องจากพ้ืนที่ในภาคอีสานพัฒนาค่อนข้างยาก ในภาคใต้มีเขตชลประทานอยู่ในพ้ืนที่ที่เป็นแหล่งปลูกข้าว เช่น อ าเภอระโนด กระแสสินธุ์ ทุ่งสง และในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช การใช้ที่ดินของประเทศไทยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในภาคกลางเมื่อมีระบบชลประทานท าให้สามารถท านาได้ปีละ 3 ครั้ง ในภาคใต้มีการปรับการใช้ที่ดินให้เข้ากับระบบชลประทานมากขึ้น บางพ้ืนที่เปลี่ยนจากการปลูกข้าวไปปลูกปาล์มแทน โครงสร้าง GDP ของประเทศ แบ่งตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกเป็นภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร GDP ภาคนอกเกษตรจะเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ส าคัญของประเทศ เนื่องจากสัดส่วนมูลค่า GDP ภาคนอกเกษตร คิดเป็น 90% ของ GDP ประเทศ และมีแนวโน้มขยายตัวเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ GDP ภาคเกษตร มีสัดส่วนไม่ถึง 10% ของ GDP ประเทศ และมีแนวโน้มลดลง แต่ GDP ภาคเกษตร มีแนวโน้มเพ่ิมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากภาคเกษตรจะมีบทบาทในการสร้างรายได้ให้กับประเทศแล้ว เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น “วิกฤตต้มย ากุ้ง” ในปี 2540-2541 และวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า “วิกฤตแฮมเบอเกอร์” ในปี 2550-2551 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการของไทยหดตัว ภาคการผลิตต้องลดการจ้างงานลงภาคเกษตรได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมและบริการ และเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่ประสบปัญหาจากภาคภาคอุตสาหกรรมและบริการอีกด้วย ชี้ให้เห็นว่าภาคเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมเมื่อคราวที่เศรษฐกิจตกต่ า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารที่ส าคัญรายใหญ่ของโลก เช่น ข้าว มันส าปะหลัง อ้อยโรงงาน ทุเรียน ล าไย มังคุด สับปะรด เป็นต้น และยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกในสินค้าอาหารที่ส าคัญ ได้แก่ ข้าว มันส าปะหลัง และผลไม้ เมื่อพิจารณาดุลการค้า จะเห็นว่าดุลการค้ารวมลดลงจนขาดดุลการค้า เป็นผลมาจากการขาดดุลการส่งออกในสินค้านอกภาคเกษตร ส าหรับในภาคเกษตรมีมูลค่าการส่งออกเกินดุลอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลมี Road Map ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพ่ือแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร แบ่งเป็น ระยะสั้น – แก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกร ท าให้เศรษฐกิจพื้นฐานเดินต่อไปได้ ปฏิรูปการท างานให้รวดเร็ว และสร้างความปรองดองในชาติ

10

ระยะกลาง – พัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้พ่ึงพาตนเองได้ เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต ผลิตสินค้าปลอดภัยได้มาตรฐานรองรับ AEC และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระยะยาว – สนับสนุนองค์กรเกษตรกรในการเชื่อมโยงเครือข่าย เกษตรกรมีสวัสดิการที่ดี บริหารจัดการสินค้าเกษตรเพ่ือสร้างมูลค่าเพ่ิม และเป็นศูนย์กลางของ AEC ขยายโครงสร้างพ้ืนฐานการผลิตให้ครอบคลุม ผลการด าเนินงานตามมาตรการเร่งด่วนตาม Road Map ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรการเรื่องข้าว – เรื่องที่ได้ด าเนินการไปแล้ว คือ การจ่ายชดเชยรายได้ให้ชาวนาผู้ปลูกข้าว ปี 2557/58 และได้ก าหนดมาตรการช่วยเหลือเพ่ิมเติม โดยการลดราคาปัจจัยการผลิตและค่าบริการทางการเกษตร และมีมาตรการสนับสนุน ในเรื่องของ 1) การให้สินเชื่อและการลดดอกเบี้ยเงินกู้ เพ่ือการผลิตแก่เกษตรกร 2) การส่งเสริมการตลาด โดยเร่งหาตลาดใหม่ เชื่อมโยงตลาดข้าวในประเทศและต่างประเทศ 3) ผลักดันโครงการประกันภัยข้าวนาปีเพ่ือลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพของชาวนา 4) ส่งเสริมการเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน การก าหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ การบริหารจัดการแหล่งน้ าเพ่ือการเกษตร 5) ผลักดันการจัดตั้งกองทุนพัฒนาข้าวและชาวนาแห่งชาติ วัตถุประสงค์เพ่ือสนับสนุนและช่วยเหลือชาวนาในด้านการจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและทั่วถึงให้แก่ชาวนา เป็นแหล่งเงินทุนเพ่ือสนับสนุนกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพ่ือสร้างและพัฒนาอาชีพชาวนาให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ร่างยุทธศาสตร์ 4 สินค้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดท ายุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส าปะหลัง ปาล์มน้ ามัน และอ้อย เพ่ือสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และพลังงาน และจัดท าโซนนิ่งพ้ืนที่เพาะปลูกให้เหมาะสมและเป็นระบบ ร่างยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้ก าหนดเป้าหมายในอีก 12 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะสามารถเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต โดยเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 671 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2557 เป็น 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2569 โดยคงพ้ืนที่ปลูกไว้เท่าเดิม คือ 7.4 ล้านไร่ โดยมีมาตรการและแนวทางการด าเนินงาน 4 ระยะ ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ การปรับโครงสร้างการผลิต การบริหารจัดการพ้ืนที่ การสร้างมูลค่าเพ่ิม การบริหารจัดการภายใต้ AEC การสร้างเสถียรภาพราคา การวิจัยและพัฒนา และการสร้างความชัดเจนในนโยบายการใช้ GMOs เป็นต้น ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน คือ ร้อยละ 40 ของพ้ืนที่เพาะปลูก มาจากพ้ืนที่บุกรุก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะในภาคเหนือ พ้ืนที่เหล่านี้น ามาซึ่งการเกิด ภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ดินสไลด์ เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องวางแผนและควบคุมพ้ืนที่ให้ได้ ประเทศเพ่ือนบ้านได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ต่ ากว่า ภาคเอกชนในประเทศบางส่วนได้ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพ่ือนบ้าน ท าให้เกษตรไทยอยู่ในภาวะคับขันและต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นเกษตรผืนเล็ก และภาคเอกชนรวมตัวกันเป็นเกษตรผืนใหญ่ นโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่า ผลกระทบตรงนี้จะเกิดขึ้น จึงพยายามท าให้เกิดเกษตรผืนใหญ่ภายใน 1-2 เดือนนี้ และจะมีนโยบายเกี่ยวกับเกษตรผืนใหญ่ เพราะจากการวิเคราะห์ ถ้าเปิด AEC ประเทศไทยจะเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนและขนาดของพ้ืนที่ ในปี 2558 จะเป็นเรื่องของการจัดการให้มีฟาร์มขนาดใหญ่ มีการรวมพ้ืนที่ กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะเข้ามามีบทบาทให้เกิดการรวมตัวของเกษตรกร เพ่ือลดต้นทุนและเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ร่างยุทธศาสตร์มันส าปะหลังและผลิตภัณฑ์ ได้ก าหนดเป้าหมายในอีก 12 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะสามารถเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต โดยเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 3.5 ตันต่อไร่ ในปี 2557 เป็น 7 ตันต่อไร่ ใน

11

ปี 2569 โดยคงพ้ืนที่ปลูกไว้เท่าเดิม คือ 8.5 ล้านไร่ โดยมีมาตรการและแนวทางการด าเนินงาน ใน ระยะเร่งด่วน คือ การรักษาระดับราคามันส าปะหลังและบริหารจัดการมันส าปะหลังจากประเทศเพ่ือนบ้าน ระยะสั้น(1-3 ปี) เน้นการเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต การจัดการพ้ืนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ การจัดตั้งและพัฒนาเขตเกษตรเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน และการบริหารจัดการเชิงพ้ืนที่ ระยะปานกลาง(3-5 ปี) เน้นการสร้างมูลค่าเพ่ิมจากมันส าปะหลัง และการผลักดันนโยบายการใช้พลั งงานทดแทน ระยะยาว(5-12 ปี) เดินหน้าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ มันส าปะหลังของโลก ทิศทางของมันส าปะหลัง คือ เน้นการส่งออกเป็นหลัก ประเทศไทยต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ นโยบายรัฐบาลพยายามสร้างกันชนตามเขตแนวชายแดน ก าหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมให้มีการควบคุมและรวบรวมผลผลิตของประเทศเพ่ือนบ้านเอามาบริหารจัดการ เพ่ือส่วนแบ่งตลาดที่สูงกว่า ในอนาคตมันส าปะหลังจะแปรรูปได้หลายอย่าง พัฒนาไปถึงขั้นพลาสติกชีวภาพ (Bio-Plastic) เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่าย และประเทศไทยจะเป็น Hub ใหญ่ในเรื่องพลาสติกชีวภาพ ร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ ามันและน้ ามันปาล์ม ได้ก าหนดเป้าหมายในอีก 12 ปีข้างหน้า จะขยายพ้ืนที่ปลูกเพ่ิมขึ้น 3 ล้านไร่จากเดิม 4.5 ล้านไร่ในปี 2557 เป็น 7.5 ล้านไร่ในปี 2569 และสามารถเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต โดยเพิม่ผลผลิตต่อไร่จาก 3.2 ตันต่อไร่ในปี 2557 เป็น 3.5 ตันต่อไร่ในปี 2569 และมีอัตราน้ ามันจากผลปาล์มน้ ามันเพ่ิมขึ้นร้อยละ 3 จากเดิมมีอัตราน้ ามันที่ร้อยละ 17 ในปี 2557 เพ่ิมเป็นร้อยละ 20 ในปี 2569 และมีมาตรการและแนวทางการด าเนินงาน ในระยะเร่งด่วน จะบริหารจัดการสต็อกเพ่ือรักษาระดับราคา ระยะสั้น(1-3 ปี) เน้นการเพ่ิมผลผลิตและประสิทธิภาพเพ่ือสนองความต้องการพลังงานทดแทน และเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศ การจัดการตามกลไกตลาด และ พรบ.ปาล์มน้ ามัน ระยะปานกลาง(3-5 ปี) เน้นการเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม และจัดท าระบบโลจิสติกส์ เร่งวิจัยและพัฒนาเพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพ่ิม ระยะยาว(5-12 ปี) คือ การเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ แต่ท าเพ่ือความมั่นคงและความยั่งยื น และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการใช้ที่ดินไม่ถูกต้องเกิดจากการที่ไม่สามารถบริหารจัดการพ้ืนที่ได้ ไม่มีระบบโซนนิ่ง และไม่มีกฎหมายควบคุม เมื่อเปิด AEC จะเกิดปัญหาการลักลอบขนน้ ามันเข้ามาในประเทศ ร่างยุทธศาสตร์อ้อยโรงงานและน้ าตาลทราย ได้ก าหนดเป้าหมายในอีก 12 ปีข้างหน้า จะขยายพ้ืนที่ปลูกเพ่ิมขึ้น 6 ล้านไร่ โดยใช้พ้ืนที่นาข้าวที่ไม่เหมาะสม จากเดิมมีพ้ืนที่ปลูกอ้อยประมาณ 10 ล้านไร่ในปี 2557 จะเพ่ิมข้ึนเป็นเป็น 16 ล้านไร่ในปี 2569 นอกจากนี้ ยังไดว้างเป้าหมายเพ่ิมผลผลิตต่อไร่จาก 10 ตันต่อไร่ในปี 2557 เป็น 12 ตันต่อไร่ในปี 2569 และมีมาตรการและแนวทางการด าเนินงาน ในระยะเร่งด่วน คือ การด าเนินการทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้ครบทั้งวงจรและยั่งยืน พร้อมน าเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ (Modern Farm) มาใช้ ระยะสั้น(1-3 ปี) เน้นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการอตุสาหกรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระยะปานกลาง(3-5 ปี) คือ การสร้างมูลค่าเพ่ิมการขยายการผลิตเอทานอล อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ระยะยาว(5-12 ปี) เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องและสร้าง Value added เช่น อุตสาหกรรมไบโอเคมีคัล เป็นต้น อุตสาหกรรมอ้อยและน้ าตาลเป็นอุตสาหกรรมที่มีระบบ มีการบริหารโรงงาน มีคณะกรรมการอ้อยและน้ าตาลในการวางแผนและก าหนดนโยบาย ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ าตาลรายใหญ่ ส่งออกไปที่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย แต่ส่งไปที่เวียดนามน้อยลง เพราะเวียดนามสามารถผลิตน้ าตาลใช้ในประเทศได้แล้ว ควรมีการแก้กฎหมายอ้อยให้สามารถท าเป็นเชื้อเพลิงได้ทันทีโดยไม่ต้องท าเป็นน้ าตาลก่อน

12

ร่างยุทธศาสตร์ 4 สินค้า มี Road Map ที่ชัดเจน แตกต่างจากในอดีตที่ไม่มีการก าหนดทิศทาง ไม่มีการดูในเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน การส่งออกที่เห็นชัดเจน คือ มันส าปะหลังและอ้อย และที่ใช้ในประเทศ คือ ข้าวโพดและปาล์มน้ ามัน ใช้เพื่อความมั่นคงทางอาหาร การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเลจากโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ปัญหาการระบาดของโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งระบบ โดยท าให้ผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงลดลงอย่างมาก จาก 480,000 ตันในปี 2555 ลดเหลือเพียง 256,000 ตันในปี 2556 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงด าเนินการโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพ่ือควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเลจากกลุ่มอาการตายด่วน EMS เพ่ือด าเนินการใน 3 กิจกรรมส าคัญ ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การน าเข้าพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกพันธ์กุ้งคุณภาพ โดยจะน าเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวจากต่างประเทศ เพ่ือน ามาเลี้ยงขุนพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกพันธุ์กุ้งขาวคุณภาพให้แก่เกษตรกร กิจกรรมที่ 2 เพ่ิมประสิทธิภาพระบบคัดกรอง ป้องกัน เฝ้าระวังโรคกุ้งเพ่ือยับยั้ง EMS ด้วยการเพ่ิมศักยภาพห้องปฏิบัติการ เพ่ือให้บริการตรวจคัดกรองโรคกุ้งทะเลแก่เกษตรกร และเพ่ิมศักยภาพบุคลากรเพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค EMS กิจกรรมที่ 3 เพ่ิมก าลังการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1 เพ่ือฟ้ืนฟูแหล่งเลี้ยงกุ้งทะเล โดยเพิ่มก าลังการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1 สูตรผง ส าหรับแจกจ่ายให้เกษตรกรทั่วประเทศ และจัดตั้งหน่วยผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรน้ า ในเขตพ้ืนที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ การแก้ไขปัญหาแรงงานประมง รวมถึง IUU ตามรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจ าปี 57 สหรัฐฯ ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในบัญชีกลุ่มท่ี 3 (Tier 3) คือ ประเทศที่ด าเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ าของกฎหมายสหรัฐอเมริกาและไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากพบว่ามีแรงงานต่างด้าวตกเป็นเหยื่อบังคับใช้แรงงานตามเรือประมงของไทย รวมทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย ท าให้เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบและอาจน าไปสู่ความเสียหายต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย ประกอบกับที่สหภาพยุโรปได้ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการขาดความเข้มงวดในการด าเนินการตรวจสอบการส่งออกสินค้าประมงของไทยไปยั งอียูให้เป็นไปตาม “กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการท าประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม” หรือที่เรียกว่า “กฎระเบียบ IUU“ จึงท าให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องเร่งผลักดันแผนแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมง ประกอบด้วย 9 แนวทางหลัก ดังนี้ 1) การขยายผลการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีหรือ GLP เต็มรูปแบบ 2) การจัดท า GLP Platform ร่วมกันกับกระทรวงแรงงานภายใต้ความร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO 3) จัดระเบียบเรือประมงไทยเพ่ือป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) และการค้ามนุษย์ในภาคการประมง 4) การเร่งรัดการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวส าหรับแรงงานบนเรือประมง 5) สนับสนุนการบูรณาการการตรวจร่วมเรือประมงและแรงงานประมง 6) การตรวจตราเรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ าที่เข้า-ออกจากท่า ๗) การสนับสนุนจากกองทัพเรือ ช่วยตรวจตราเรือประมงร่วมกับประเทศเพ่ือนบ้านในลักษณะ Joint Patrol 8) จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการเรือประมง 9) การส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าประมงของไทยในต่างประเทศ ทั้งนี้ กรมประมงได้ด าเนินการออกประกาศการจัดระเบียบเรือประมง เพ่ือเร่งรัดให้ผู้ประกอบการมายื่นค าขออาชญาบัตรให้ถูกต้องภายใน 30 วัน ในส่วนการจัดท าฐานข้อมูลและจัดระเบียบแรงงานประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด ให้ทราบถึงวิธีการด าเนิน

13

โครงการและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการด้านการประมงต่างๆ ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ก าหนดไว้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรือประมง อาชญาบัตรท าการประมง และแรงงานประมง ให้เป็นฐานข้อมูลออนไลน์เดียวกัน เพื่อให้สามารถน าไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคใต้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องภัยแล้งสักเท่าไร ถ้าเป็นไปตาม Road Map ที่วางไว้ เกษตรกรก็จะมีความมั่นคงและยั่งยืน การไปสู่จุดนั้นได้ต้องได้รับความร่วมมือจากเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรต้องสร้างความเข้มแข็งด้วยตนเอง ในต่างประเทศภาครัฐลดความช่วยเหลือทางด้านการเงินลง แต่ให้ความรู้และสมรรถนะแก่เกษตรกรแทน จะให้ประเทศไทยผลิตของที่มีคุณภาพได้อย่างไร จะเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรและกระทรวงเกษตรฯ ที่จะช่วยกันท าให้อยู่รอดจากการรวมกลุ่มเป็น AEC ในอีก 5 ปี หลังจากเปิด AEC ประเทศที่มีอิทธิพล คือ จีน สินค้าไทยที่ขายในประเทศจีนจะโดนเพ่ือนบ้านแย่งตลาด และคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหายไป 1.7 แสนล้านบาท ผลกระทบที่เกิดกับประเทศไทยโดยตรง คือ ส่วนแบ่งตลาดข้าว จะลดลงเหลือร้อยละ 30 จากเดิมที่ร้อยละ 90 ประเทศไทยต้องมีการแปรรูปข้าว จะมีงานวิจัยและพัฒนาข้าวเพ่ิมข้ึนหลังจากเปิด AEC สินค้าท่ีไทยได้ประโยชน์จากการเปิด AEC คือ มันส าปะหลัง คาดว่าจะเพ่ิมสูงขึ้น ยางพารา คาดว่าจะมีการส่งออกเพ่ิมมากขึ้นเพราะใช้ยางมากขึ้น มีการบริโภคผลไม้และอาหารแปรรูปเพ่ิมขึ้น ผลิตภัณฑ์ไม้และผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ต้องดูพฤติกรรมการบริโภคควบคู่กัน ถ้าพฤติกรรมเปลี่ยนก็ต้องวิเคราะห์และปรับกระบวน ดูประเทศที่มีก าลังซื้อสินค้าจากไทย ประเทศคู่ค้าส าคัญ คือ เกาหลีและญี่ปุ่น เพราะประเทศเหล่านี้ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ จะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและสามารถขายประเทศเหล่านี้ได้ ควรปลูกฝังวินัยในการผลิตให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ต้องมีการบริหารจัดการผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้เพียงพอ เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ประเทศเกษตรกรรมจะสามารถอยู่ได้ เพราะไม่ต้องน าเข้าสินค้าจากต่างประเทศ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 เขต แม่สอด-ข้าวโพด, มุกดาหาร-อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, สระแก้ว-มันส าปะหลัง, ตราด-ท่องเที่ยว และสงขลา-ยางพารา และในปีหน้าอีก 7 เขต

*************************

14

สรุปการบรรยาย

เรื่อง “FTA ผลกระทบ และการปรับตัว”

โดย นางจารุวรรณ สุขรมย์

ส านักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 11.00 – 12.00 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

******************************

กล่าวถึงภาพรวมสินค้าเกษตรไทยว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคเกษตรมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด ใน ร้อยละ 12 ของ GDP ภาคเกษตร มาจาก 5 สาขา ได้แก่ พืช, ประมง, ปศุสัตว์, บริการทางการเกษตร และ ป่าไม้ ในปี 2556 ไทยขาดดุลการค้า 7.6 แสนล้านบาท การค้าของไทยกับตลาดโลกเพ่ิมขึ้นร้อยละ 8 ต่อปี คู่ค้าที่ส าคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น อเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน สินค้าส่งออกที่ส าคัญ เช่น อุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อัญมณีและเครื่องประดับ น้ ามันส าเร็จรูป ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยาง ฯลฯ สินค้าน าเข้าที่ส าคัญ เช่น น้ ามันดิบ เครื่องจักร เหล็กและเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารที่ส าคัญ สามารถเลี้ยงประชากรโลกได้ 250 ล้านคน ส่งออกอาหารประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตในประเทศ และประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 17 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด และน าเข้าสินค้าเกษตรเพียงร้อยละ 5 ประเทศไทยเกินดุลการค้าเพราะสินค้าเกษตร การค้าสินค้าเกษตรของไทยกับตลาดโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี สินค้าเกษตรส่งออกที่ส าคัญ เช่น ข้าว ไก่ กุ้ง มัน ผลไม้ และอาหารแปรรูป ฯลฯ ประเทศไทยมีความสามารถในเรื่องการแปรรูปสินค้า สินค้าเกษตรที่น าเข้ามา น ามาแปรรูปแล้วส่งออกต่างประเทศ การเจรจาเปิดเสรีทางการค้า ความตกลงการค้าระหว่างประเทศน าไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องมีกฎเกณฑ์หรือข้อตกลง ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) มีข้อจ ากัดในเรื่องเฉพาะส่วนสินค้า และขอบเขตไม่กว้าง ซึ่งต่อมาภายหลังพัฒนาเป็น WTO องค์การการค้าโลก (WTO) ขยายขอบเขตไปในเรื่องการลงทุน การบริการ และอ่ืนๆ

15

รูปแบบของการรวมกลุ่มทางการค้า เช่น ความตกลงการค้าที่ให้สิทธิพิเศษเฉพาะกลุ่ม ความตกลงการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ องค์การการค้าโลก (WTO) จัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีการกีดกันทางการค้า จึงต้องก าหนดกติกากลางข้ึนมา หลักการของ WTO ต้องไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ขัดขวางการค้า มีความโปร่งใส เก็บภาษีในอัตราที่เท่ากันในทุกประเทศสมาชิก ตอบโต้การทุ่มตลาด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต้องเผยแพร่ให้ทุกประเทศสมาชิกได้รับทราบ การเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้กรอบ WTO ประเทศพัฒนาแล้วต้องเปิดตลาดมากกว่าประเทศก าลังพัฒนา ลดการอุดหนุนทั้งการผลิตและการส่งออกท่ีบิดเบือนราคาตลาด ยกเว้นประเทศก าลังพัฒนาในเรื่องการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและการลงทุน เหตุผลของประเทศไทยในการท า FTA • เศรษฐกิจของประเทศไทยพ่ึงพาการค้าระหว่างประเทศ พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก • การชะงักงันของกรอบ WTO เพราะการเจรจาท าได้ค่อนข้างยากเนื่องจากต้องให้ประเทศสมาชิกเห็นพ้องต้องกัน • ลดการพ่ึงพาสิทธิ GSP (GSP คือ เป็นการให้เปล่า เป็นการให้ฝ่ายเดียว ประเทศที่พัฒนาแล้วให้กับประเทศก าลังพัฒนา) • เพ่ิมโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุน ประเด็นเกี่ยวกับการเจรจา (ในภาคเกษตร) • การเปิดเสรีการค้าในด้านสินค้า การบริการ และการลงทุน เป็นการเจรจาเพ่ือลดอุปสรรคทางการค้าทางด้านภาษ ี • มาตรฐานสินค้า เป็นการเจรจาเพ่ือลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี หน่วยงานในกระทรวง เกษตรฯ ที่มีหน้าที่ดูแล คือ ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) โดยมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับกรมวิชาการเกษตร • กฎว่าด้วยถิ่นก าเนิดสินค้า เป็นตัวที่ส าคัญที่สุด แม้การเจรจาในเรื่องการลดภาษีจะเสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศได้ เพราะต้องมีแหล่งก าเนิดที่ผลิตในประเทศตามที่ก าหนดไว้ และใช้วัตถุดิบในประเทศตามที่ก าหนดจึงจะสามารถส่งขายได้ เนื่องจากข้อก าหนดที่ยากท าให้ไม่สามารถผลิตในอัตราส่วนที่ก าหนดไว้ได้ • สิ่งแวดล้อมและแรงงาน สหภาพอยู่ยุโรปหยิบยกเรื่องนี้มาเจรจากับไทย โดยอ้างว่ามีปัญหาเหล่านี้ เพ่ือกีดกันทางการค้า การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก กฎและกติกาใหม่ เช่น การลงทุนโดยค านึงถึงสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิทธิมนุษยชนและการใช้แรงงานเด็ก ขั้วเศรษฐกิจ การเปิดประเทศของจีนและรัสเซีย ท าให้เข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่อาจน ามาซึ่งภัยคุกคามจากการโจรกรรมข้ามชาติ ความม่ันคงทางอาหารและพลังงาน แหล่งผลิตพลังงานมีจ ากัด แต่ใช้พลังงานเพ่ิมมากข้ึน การแข่งขันสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก

16

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเกษตรในระบบการผลิต การแปรรูป กฎระเบียบทางการค้า ภาวะโลกร้อน ความกังวลของประเทศผู้น าเข้าสินค้าเกษตร และพฤติกรรมการบริโภค มีผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งสิ้น ถ้าต้องการให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการพัฒนา กระทรวงเกษตรฯ มีหน้าที่ต้องดูแลการด ารงชีพและคุณภาพของเกษตรกรไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อการเปลี่ยนแปลง จึงจ าเป็นต้องปรับองค์กร บุคลากร และยุทธศาสตร์การท างาน เพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร แนวทางการปรับตัว เกษตรกร – ลดต้นทุนและเพ่ิมผลผลิตต่อไร่ ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ผลิตสินค้าปลอดภัยที่มีคุณภาพและไดม้าตรฐาน และติดตามข่าวสารทางการตลาด สถาบันเกษตรกร – เชื่อมโยงธุรกิจกับผู้ประกอบการในประเทศและผู้น าเข้าจากต่างประเทศ จดัระบบรวบรวมสินค้า บริหารต้นทุนโลจิสติกส์ให้ต่ า และให้ความรู้แก่สมาชิกสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ – เพ่ิมประสิทธิภาพในการจัดการสินค้า ลดต้นทุนแปรรูปในด้านวัตถุดิบ สร้างมูลคา่เพ่ิมใหก้ับสินค้า และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ สร้างเครือข่ายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐ – เน้นการเพ่ิมประสิทธิภาพ ในการพัฒนาพันธุ์ สนับสนุนแหล่งน้ า จัดการที่ดินในการจัดการสินค้า จัด Zoning ตามความเหมาะสมของพ้ืนที่ในการเพาะปลูก วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพ่ิมให้กับผลิตภัณฑ์ จัดการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โกดัง และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร

*************************

17

สรุปการบรรยาย

เรื่อง “การค้าสินค้าเกษตร ปัจจุบัน อนาคต”

โดย นายธีรวัฒน์ หวังศิริเลิศ

รองประธานหอการค้าจังหวัดตรัง วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 13.00 – 14.00 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

******************************

ส าหรับในวันที่ผมจะพูดในมุมมองของภาคเอกชน จึงท าให้ไม่มีข้อมูลเป็นตัวเลข จากการสัมมนาในช่วงเช้าจะมองเห็นภาพบ้างแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้มาจากภาคใต้ทั้งหมด สินค้าที่ส าคัญ คือ ยางพารา ปาล์มน้ ามัน และภาคประมง แต่ส าหรับข้อส าคัญที่เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ ข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งเราที่อยู่ ในภาคใต้อยู่กฏเกณฑ์มานายแล้ว ภายใต้เงื่อนไข MTGT มี 3 ประเทศโดย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และการปรับภาษีเป็น 0 เปอร์เซ็น มีการท าต่อเนื่องมาประมาณ 10 ปีแล้ว ส าหรับ FTA ที่จะเปิดในปี 2558 จะมีเพียงบางประเทศที่ยังไม่ปรับภาษีเป็น 0 เปอร์เซ็น จะเป็นประเทศ พมา ลาว กัมพูชา ซึ่งต้องมีการปรับตัวมากและสินค้าเป็นคนละชนิดกับทางภาคใต้ท่ีมีการท าสวนยางพารา และปาล์มน้ ามันเป็นหลัก เรามีการซึมซับกฏเกณฑ์ ที่ผ่านมาแล้วเรื่องของอัตราภาษี การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ แต่ในตัวเกษตรกรเองนั้นอาจไม่ได้ศึกษา เพราะว่าเราเป็นเกษตรกรท าสวนยางพารา สวนปาล์มน้ ามัน ไม่ได้อยู่ในรูปแบบโรงงาน การส่งออกจึงไม่มีการศึกษา ในขณะนี้โลกการค้าการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปมาก บวกกับความรวดเร็วของการสื่อสาร ท าให้ข้อมูลต่างๆ ไหลอย่างรวดเร็ว เช่น ภาคราชการถ้าดูข้อมูลต่างๆ รวดเร็วที่สุดก็จะได้สถิติของปี 2556 ในขณะที่วันนี้สามารถดูข้อมูลได้จากโทรศัพท์มือถือรู้ได้ทันที แต่ข้อมูลที่จะศึกษาเป็นของปี 2556 ฉะนั้นความรวดเร็วของข้อมูลก็จะช้าไป ส าหรับวันนี้มีอีกหลายเรื่องที่เกิดจากภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคม ข้อมูลข่าวสาร มีข้อมูลหลายด้านที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเราสามารถไปอยู่ในอนาคตโดยที่ท าเหมือนเดิมได้หรือไม่ ในวันนี้ราคายางพาราอยู่ที่ 40-50 บาทต่อกิโลกรัม ราคาอาจไม่ขึ้นเร็วมากนัก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเพ่ิมพ้ืนที่ปลูกยางพารามากขึ้น สิ่งที่ต้องปฏิรูปคือ ความคิดของเราก่อนว่าจะเข้าใจข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่เราท าให้ลึกซึ้งมากขึ้น อีกประการหนึ่งคือว่าเราเคยรู้ว่าสินค้าเกษตรที่เราผลิ ตขึ้นมาเมื่อไปถึงมือผู้บริโภคสุดท้ายไปอย่างไร เป็นสิ่งที่เราต้องรู้ว่ามีการเดินทางอย่างไร และท าอย่างไร เมื่อเราไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่การท าอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากมีข้อจ ากัดในการด าเนินการ ถ้าเรายอมรับว่าสินค้า 1 ตัว ที่ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้างก่อนถึงมือผู้บริโภค แล้วถ้าเราท าเองจะท าได้หรือไม่ ในกระบวนการที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่กระทบมาถึงเราในสุดท้าย จึงมีความจ าเป็นต้องรู้ถ้าเรายังใช้มิติเดิมก็จะรู้อยู่อย่างเดียวคือ เรารู้แต่การปลูก การใส่ปุ๋ย นอกจากนั้นไม่ใช่หน้าที่แล้ว เราคงจะไม่สามารถที่จะปรับแนวคิดที่จะไปสู่โ ลกปัจจุบันได้ ในกระบวนการนี้ถ้ามองถึงมูลค่าเพ่ิมจะเห็นว่า GDP ของประเทศอยู่ในภาคเกษตร 12 เปอร์เซ็น แต่คนที่อยู่ในภาคเกษตรของไทยมีเกินครึ่ ง จึงเห็นแล้วว่ามูลค่ามีความแตกต่างกันมากระหว่างภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันมองอีกมุมเห็นว่ามูลค่า GDP ภาคเกษตร ที่เป็นการส่งออกและการน าเข้ามูลค่าที่ได้เป็นดุลการค้า แต่ของภาคอุตสาหกรรมขาดดุลการค้า เพราะว่าสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่เราผลิตให้เพ่ิมมูลค่าในตนเอง เราปลูก 1 เมล็ด ใช้เวลา 3-4 เดือน ได้กลับมามากกว่า 1 เมล็ด การปลูกยางพารา 1 ต้น ใช้เวลา 7 ปีจึงกรีดยาง แต่กรีดได้ถึง 20 ปี ต่างกับภาคอุตสาหกรรมที่ซื้อยางพารา 1 ตัน แล้วน าไปผลิตเป็น

18

สินค้าขายได้ราคาสูงขึ้น และบางส่วนมีการท าในภาคเกษตรแล้วเราไม่มีวัตถุดิบเอง เช่น ปลากระป๋อง ในตอนนี้ปลาทูน่าในทะเลไทยไม่มีแล้วต้องน าเข้าจากต่างประเทศท าให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ได้ก าไรน้อยลง ในขณะที่ต่างประเทศขายชิปตัวเล็กๆ ให้เราราคาหลายพันบาทเพราะต่างประเทศเป็นเจ้าของเทคโนโลยีท าให้มูลค่าสูงมาก บางครั้งเรามองแต่ตัวเลขที่เป็นภาพใหญ่ แต่จริงแล้วในภาคเกษตรมีการเพ่ิมมูลค่าในตัวเองเพียงแต่วันนี้ในยุคสมัย ระบบต่างๆเปลี่ยนแปลงไป อยากให้ทุกคนปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการท างาน วิธีการศึกษา ว่าเราจะใช้อุปกรณ์ที่เรามีท้ังโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต เพ่ือหาข้อมูลข่าวสารให้เป็นประโยชน์กับเราได้อย่างไร สินค้าเกษตรที่เราท าในกระบวนการตั้งแต่ต้นถึงจบนั้นจะมีผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง เพ่ือที่จะประมวลว่าเราจะยังผลิตสินค้าตัวเดิมอยู่หรือไม่ ในอดีตที่ผ่านมาเป็นการท าตามบรรพบุรุษ ถ้าเราได้ศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผู้บริโภค ว่าต้นทุนจะอยู่ตรงไหน ถ้าศึกษาอย่างครบถ้วนแล้วจะสามารถบูรณาการสินค้าที่เราท าอยู่ให้สอดคล้องกันก็จะท าให้สินค้าของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเป็นสินค้าเสียหายง่าย จึงควรมีการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ถ้าไม่มีการรวมกลุ่มก็จะไม่สามารถต่อรองด้านราคาได้ แต่ถ้าสามารถรวมตัวให้เข้มแข็งได้ก็จะมีอ านาจในการต่อรองมากกว่า และสามารถท างานประสานงานกับภาครัฐได้ง่ายมากขึ้น ทางภาครัฐเองถ้าต้องการวางนโยบายให้สินค้าไปทิศทางไหนก็สามารถท าได้ แต่ผู้ผลิตสินค้าจะต้องมีข้อมูลของตัวเองว่าท าอะไรอยู่ จะไปในทิศทางไหน ตลอดจนภาครัฐเองก็ต้องปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้รวดเร็วสามารถน ามาใช้ได้ทันที ไม่อย่างนั้นสถิติต่างๆ ก็ได้แต่มองย้อนหลังไม่สามารถมองไปข้างหน้าได้ เพราะการมองไปข้างหน้าเป็นเรื่องของการคาดเดาถ้าเราน าข้อมูลของวันนี้มองไปพรุ่งนี้ความแม่นย าก็มีมาก นี้เป็นเรื่องที่ควรปรับกระบวนการคิดใหม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างไร เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยากที่สุด ในการวางแผนผลิตสินค้าควรมองถึงกระบวนการบูรณาการไปสู่สาขาอ่ืนๆ ด้วย เราท าการเกษตรอยู่ไม่ควรมองว่าท าสวนอย่างเดียว ถ้าจะมองปัจจุบันกับอนาคตเรื่องของพลังงานเป็นเรื่องที่ทั่วโลกค านึงถึง วันนี้ปาล์มน้ ามันจะเป็นพืชที่รัฐบาลให้ความส าคัญในการส่งเสริมให้เปลี่ยนจากยางพาราเป็นปาล์มน้ ามัน เราจะท าอย่างไรที่จะมองให้เป็นพลังงาน ถ้าท าสวนยางพาราอยู่แล้วเราจะท าอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าได้หรือไม่ เช่นผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ การน าต้นยางพาราที่อายุมากมาผลิตไฟฟ้า เป็นการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม อ่ืน การท าเกษตรคู่กับการท่องเทียวเกษตรกรจะท าอย่างไรให้เกิดการท่องเทียวในสวนของตัวเองได้ ซึ่งตอนนี้ที่จังหวัดระยองจะเป็นสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าชมท าให้มีรายได้มากขึ้น เป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมาก ในปัจจุบันกระแสโลกเป็นเกษตรอินทรีย์ จะท าอย่างไรได้บ้าง ภาคเกษตรต้องซื้อปุ๋ยราคาแพง เป็นปุ๋ยเคมี ถ้าเราท าปุ๋ยชีวภาพมาใช้จะเป็นการลดต้นทุนให้เกษตรกรได้ดี ในภาคประมงจะมีปัญหาเรื่องราคาน้ ามันในช่วงนี้ราคาลดลงท าให้ภาคประมงพ่ืนตัวได้มากขึ้น ในสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ไม่มีปัญหามากแต่ถ้าไม่มีวัตถุดิบเองก็ต้องมีการน าเข้าท าให้มีก าไรไม่มาก อีกอย่างควรมีการท าเป็นอุตสาหกรรมแบบต่อเนื่องที่สามารถท าได้ แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมแล้วไม่สามารถรวมกลุ่มได้จะไม่สามารถก าหนดกฏเกณฑ์ในการสร้างวัตถุดิบได้ จะท าให้ด าเนินการล าบาก ความส าคัญคือแนวคิดถ้าคิดตรงกันรวมกลุ่มกันได้ สามารถพูดคุยและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภาครัฐจะให้การส่งเสริมหลายรูปแบบทั้งด้านการลงทุน วิชาการ ในเรื่องของวิชาการในแต่ละด้านมีจ านวนมากแต่ข้ึนอยู่กับเราจะน าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร รวมทั้งเงินทุนที่มีจ านวนมาก แต่เมื่อเกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มกันได้ก็จะขาดคุณสมบัติในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ความเป็นอยู่ของเกษตรกรควรเดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จะสามารถแก้ปัญหาภายในครวบครัวได้เป็นอย่างดี แต่ในภาคของการค้าเราต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง ความจริงแล้วทุกท่านในที่นี้เป็นพ่อค้าส่งออกสินค้าทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่ได้ท าเองให้คนอ่ืนท าโดยมีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้ท า ในส่วนนี้เราควรดูสิทธิ์ของเราในการส่งออกด้วยถ้าเราไม่รู้แล้วให้ผู้ อ่ืนท าให้เราจะเสียประโยชน์ซึ่งเราควรทบทวนว่าจะรวมกลุ่มกันอย่างไร ให้รวมกลุ่มในชุมชนของเราใกล้โรงงานที่รับซื้อก็สามารถร่วมกันก าหนดราคาได้ แต่ส่วนใหญ่เราท าไม่ได้เพราะเราไม่ได้เอาข้อมูลไปต่อรอง หัวใจส าคัญต้องรู้เท่าทัน

19

ข้อมูลให้ทันเวลาการท างานก็ต้องแบ่งหน้าที่ในการท าทั้งโรงงาน การผลิต การตลาด แต่ทุกคนที่ท าแต่ละหน้าที่ต้องรู้ในระบบของสินค้า ที่กล่าวมาท้ังหมดเป็นแนวคิดในการก้าวสู่การค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่เราได้เปรยีบกว่าภาคอ่ืนเนื่องจากเราอยู่ในเงื่อนไขมานานแล้วจึงไม่มีผลกระทบมาก แต่อยากให้ทราบถึงการค้าในขณะนี้ เงื่อนไขการส่งออกอย่างหนึ่งคือการคมนาคมซึ่งจังหวัดตรังมี 3 ทาง คือน้ า บก อากาศ ทางเรือเราได้มีการท าท่าเรือเสร็จเรียบร้อยแล้วเหลือการวางระบบ การบริหารก็จะสามารถใช้งานได้ ทางรถไฟเรามีสถานีรถไฟซึ่งเป็นทางสะดวกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามในภาคเอกชนที่มีหน่วยงานหลักคือ สถาหอการค้า สถาอุตสาหกรรม สามารถท างานร่วมกันเพ่ือประสานงานกับภาครัฐได้ง่ายขึ้น ในชุมชนต่างๆ ควรไปสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นชุมนุม สหกรณ์ แล้วท างานร่วมกัน คิดว่าในอนาคตเราคงไม่สามารถท าการค้าโดยที่ยังไม่เปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการที่จะสามารถอยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องท าและเริ่มปรับเปลี่ยนที่เราก่อน สุดท้ายผมคิดว่าเราสามารถผ่านสถาวะต่างๆไปได ้

************************

20

สรุปการบรรยาย

เรื่อง “กองทุน FTA : สร้างเกษตรไทยเข้มแข็ง”

โดย นายเอกราช ตรีลพ

หัวหน้ากลุ่มกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 14.15 – 15.15 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

******************************

กองทุน FTA มีชื่อเต็มว่า กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถ

การแข่งขันของประเทศ FTA คือ การเปิดเขตการค้าเสรี การค้าเสรี คือ การว่าด้วยการค้าโดยไม่มีอุปสรรค เช่นการน าข้าวไปขายที่ฟิลิปปินส์มีการเก็บภาษีการน าเขา แต่เมื่อมีการเปิดเสรีการค้าจ าไม่มีการเก็บภาษี

การเปิด FTA มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในส่วนข้อดีท าให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากการน าเข้าก่อนมี FTA จะมีการตั้งภาษีการน าเข้า เมื่อมีการน าเข้าสินค้า จะมีการบวกราคาสินค้าและภาษีไปเป็นต้นทุน ท าให้ต้นทุนสูง หลังจากเปิด FTA การเก็บภาษีน้อยลงหรือไม่มีเลย ท าให้ต้นทุนส่วนนี้น้อยลง กรณีผู้ผลิตอุตสาหกรรมรายใหญ่มีการน าเข้าเครื่องจักรเสียภาษี เมื่อเปิด FTA แล้ว การน าเข้าเครื่องจักรในอาเซียนด้วยกันจะไม่เสียภาษี เมื่อมีเครื่องมือที่ดีขึ้นท าให้ต้นทุนการผลิตลดลง ท าให้เรามีความพยายามเพ่ิมขีดความสามารถในการพัฒนามากขึ้น เมื่อมีการเปิด FTA เราต้องเร่งให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นเนื่องจากคู่แข่งเรามีมากขึ้น ล าดับต่อมาคือมีการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์มีเทคโนโลยีที่สูงมาก เมื่อมีการเปิด FTA จะท าให้มีความร่วมมือกันด้านเทคโนโลยี ท าให้เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีกับประเทศสิงคโปร์ ในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภค ท าให้มีสินค้าที่หลากหลาย ผู้บริโภคมีอ านาจต่อรอง และเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น ส าหรับผลเสียจะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่แข็งแรง คนที่อ่อนแอจะได้รับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรี เพราะคนที่เก่งกว่าสามารถผลิตสินค้าได้ดีกว่า แล้วน าสินค้าตัวนั้นเข้ามาขายแข่งกับเรา จึงเป็นปัญหาของผู้ที่ผลิตสินค้าท่ีไม่มีคุณภาพ ต้นทุนสูง และจะมีสินค้าราคาถูกเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น มีการแข่งขันมากขึ้น จึงเป็นผลกระทบที่เกิดจากการเปิดการค้าเสรี ซึ่งในปัจจุบันจะมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจับสัตว์น้ าขนาดเล็ก การจับเต่าทะเล การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ มาตรการ HACCP, SPS เป็นต้น หากไม่ผ่านมาตรฐานก็ไม่สามารถส่งออกสินค้าไปขายได้ ในขณะเดียวกันเราก็ใช้มาตรการนี้กับต่างประเทศเหมือนกัน

21

การเปิด AEC ปี 2558 จะมี 3 ด้านคือ ด้านความมั่นคงอาเซียน จะเป็นทางด้านการทหาร และการเมือง ด้านสังคม วัฒนธรรมอาเซียน จะเป็นเรื่องของศิลปวัฒนธรรม และด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเป็นเก่ียวกับด้านสินค้า บริการ การเคลื่อนย้ายแรงงานร่วมกัน AEC จะแตกต่างกับ AFTA คือ AEC เป็นการพัฒนาต่อจาก AFTA ซ่ึง AFTA เป็นการลดภาษเีป็น 0 เปอร์เซ็นต์ และยกเลิกระบบโควต้า โดยบังคับกับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ปรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ AEC เป็นการขยายจาก AFTA เดิมในปี 2553 ไปสู่ความร่วมมือในปี 2558 ประเทศอาเซียนทุกประเทศรวม CLMV ต้องลดภาษีเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ และการยกเลิกโควต้าภาษีที่มีอยู่ นอกจากนั้นความแตกต่างของ AFTA กับ AEC ไม่ได้เป็นเพียงขยายความร่วมมือเฉพาะทางด้านการค้า แต่จะเป็นด้านตลาด และฐานการผลิตเดียวกัน ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นใน AEC จะมีการท ากฎกติการทางการค้าขึ้นมาใหม่ จะเป็นเรื่องของข้อตกลงทางการลงทุนร่วมกัน สิ่งที่เพ่ิมจาก AFTA อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี การท ากติการในการระงับข้อพิพาททางการค้า และการท าสิทธิเยี่ยงชนชาติ หมายความว่าผู้ที่เข้ามาค้าขายในประเทศไทยจะได้สิทธิเท่ากับผู้ค้าขายของไทย ในขณะเดียวกันคนไทยที่ไปค้าขายในต่างประเทศจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประเทศนั้น

ความส าคัญของอาเซียน หากท าการค้าขายให้คนไทยกินจะมี 65 ล้านคน แต่ถ้าขายให้ 10 ประเทศอาเซียน มีประชากร 580 ล้านคน GDP ของไทย 0.27 ล้าน ถ้ารวมอาเซียน GDP 1.5 ล้าน ท าให้มีอ านาจต่อรองในตลาดโลก ท าให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น มูลค่าการค้ารวมเพ่ิมขึ้นจากเดิม 0.35 ล้านล้าน เพ่ิมเป็น 1.7 ล้านล้าน อาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย บรูไน พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย ในปี 2558 หรือปี 2015 จะรวมเป็นหนึ่งเดียว มีเสรีการค้า การบริการ แรงงานฝีมือ การลงทุน และตลาดทุน ต่อมาอาเซียน+3 ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมไปถึง อาเซียน+6 ได้แก่ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะเห็นว่าประชากรครึ่งหนึ่งของโลกอยู่ที่อาเซียน ดังนั้น อเมริกาและยุโรป ก็จะร่วมเจรจาด้วย แนวโน้มการค้าสินค้าเกษตรในอนาคต จะมีการแข่งขันกันมาขึ้น ตลาดขยายมากขึ้น เปิดเสรีทางการค้า WTO FTA มีการสร้างกฎ ระเบียบทางการค้า เพ่ือกีดกันทางการค้า พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การผลิตที่ค านึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น ส าหรับแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร คือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น

กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ช่วยเหลือในเรื่องดังต่อไปนี้ พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพ่ิม ปรับโครงสร้างการผลิต ปฏิรูปการผลิต และการปรับเปลี่ยนอาชีพ ทั้งหมดนี้เพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้ที่จะขอใช้เงินกองทุน ได้แก่ ผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก FTA เช่น เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และหน่วยงานภาครัฐ กองทุนให้ความช่วยเหลือในรูปเงินสนับสนุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. เงินจ่ายขาด ในเรื่องการทดลอง/สาธิต/น าร่อง หรืองานวิจัยประยุกต์ภายใน 1 ปี การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ ค่าบริหารโครงการร้อยละ 3

2. เงินยืมปลอดดอกเบี้ย ในเรื่องเครื่องจักร เครื่องมือ อาคาร โรงเรือน ครุภัณฑ์ เป็นต้น

ซึ่งการช าระคืนขึ้นอยู่กับความสามารถในการช าระคืน วิธีการขอเงินแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ในนามเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร/ภาคเอกชนจัดท าโครงการเสนอผ่านส่วนราชการ แล้วส่วนราชการส่งโครงการเข้าสู่กองทุน ส่วนที่ 2 ในนามส่วนราชการต้องเป็นกระทรวง ทบวง กรม จัดท าโครงการต้องเกิดจากความต้องการของเกษตรกร แล้วส่งโครงการเข้าสู่กองทุน ต่อมากองทุนฯ ก็จะน าโครงการมาประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ และน าเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเพ่ือเสนอขอรับเงิน

22

สนับสนุนกองทุน ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เพ่ือพิจารณาความเหมาะสมของโครงการว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ ถ้าที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการมีความเหมาะสม โดยกองทุนฯ จะน าโครงการดังกล่าว เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เพ่ือพิจารณา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เมื่อโครงการอนุมัติ กองทุนฯ จะโอนเงินให้แก่เจ้าของโครงการ

วิธีการเขียนโครงการต้องเริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อมูลพ้ืนฐานต่าง ๆ และมีแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างไร จึงจัดท าโครงการส่งให้กองทุนฯ ซึ่งโครงการที่จะได้รับการอนุมัติต้องเป็นโครงการที่มีศักยภาพ มีความเป็นไปได้ สามารถเพ่ิมความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรได้ และต้องไม่มีปัจจัยใดเข้ามามีผลกระทบต่อความส าเร็จของโครงการ หรือถ้ามี โครงการก็จะต้องมีแผนรับมือเตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายโครงการต้องมีรายได้และช าระหนี้คืนได้ในอนาคต ส าหรับเกณฑ์การพิจารณาสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ได้แก่ สินค้าในกลุ่ม TRQ 23 รายการ เช่น มะพร้าว ชา กาแฟ เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น สถิติการน าเข้าก่อน-หลังการเปิดตลาด ราคาสินค้าภายในประเทศเปลี่ยนแปลงไป ต้นทุนการผลิตเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง หรือผลการศึกษาของหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการที่จะได้รับการอนุมัติต้องมีความน่าเชื่อถือ มีข้อมูลพ้ืนฐานเกี่ยวกับโครงการ มีหน่วยงานให้การสนับสนุน มีแผนการผลิตการตลาดที่เหมาะสม แผนการด าเนินงานโครงการ งบกระแสเงินสด เทคนิควิธีการน ามาใช้ มีความชัดเจนด้านการตลาด และการบริหารความเสี่ยง

ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนโครงการด้านพืช 10 โครงการ และโครงการด้านปศุสัตว์ 12 โครงการ รวมทั้งหมด 22 โครงการ เป็นจ านวนเงิน 700 กว่าล้านบาท โดยโครงการด้านพืช ได้แก่ โครงการเพ่ิมคุณภาพข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพ่ือรองรับ AEC ได้รับเงินจากกองทุนฯ โดยการชดเชดดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. 11 ล้านบาท โครงการปรับโครงสร้างสินค้ากาแฟแบบครบวงจร เป็นการตัดฟ้ืนต้นท าสาวกาแฟ ซึ่งช่วยให้ต้นกาแฟที่โทรม ผลผลิตน้อย ให้มีความสมบูรณ์ ให้ผลผลิตได้มากขึ้น ในงบประมาณ 54 ล้านบาท นอกจากนี ้ยังให้เครื่องมือ เครื่องจักรมาแปรรูปเป็นกาแฟ 3 in 1 เพ่ือเพ่ิมมูลค่า รวมถึงการให้เงินในการรวบรวมสารกาแฟ ต่อมาโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นการท าศูนย์ข้าวชุมชน งบประมาณ 50 กว่าล้านบาท โดยการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โครงการเพ่ิมประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพพืชผักวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการจัดท าโรงเรือน เพ่ือปลูกผักในฤดูฝน ให้เงินช่วยเหลือ 12 ล้านบาท เป็นต้น ส าหรับโครงการด้านปศุสัตว์ ได้แก่ โคเนื้อ คือโครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์ก าแพงแสนเพ่ือใช้ผลิตน้ าเชื้อ และโคนม คือโครงการลดต้นและปรับปรุงประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนม เป็นการจ้างที่ปรึกษา สัตวแพทย์ในค าแนะน า รวมถึงการท าโครงการเลี้ยงโคนมทดแทนในระบบชีวภาพ หรือวัวหลุม เป็นการจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงโคนมทดแทนและส่งคืนให้เกษตรเมื่อโคตั้งท้องได้ 5 เดือน และโครงการเพ่ิมศักยภาพการเลี้ยงโคนมเพ่ือรองรับเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเสีย-นิวซีแลนด์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการคัดเพศโค โดยเพิ่มปริมาณลูกโคเพศเมีย ฉะนั้น กองทุนฯ จึงเป็นโอกาสส าหรับเกษตรกรที่ต้องการพัฒนาตัวเองให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่ก าลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าหากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถติดต่อกองทุนฯ ได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 0-2561-4727 เบอร์โทรสาร 02-561-4726 หรือติดต่อได้ที่ E-mail : [email protected] หรือ [email protected]

*************************

23

ส่วนท่ี 3

ความคิดเห็น และการตอบข้อซักถาม

24

สรุปความคิดเห็นและการตอบข้อซักถาม

1. นางโสรมาท อยู่อ าไพ เกษตรกรจังหวัดตรัง มีข้อซักถามว่ามีการก าหนดงบประมาณหรือไม่ว่าจะให้โครงการละจ านวนเท่าไร และการเขียนโครงการต้องส่งให้หน่วยงานในพื้นท่ีหรือไม่

นายเอกราช ตรีลพ หัวหน้ากลุ่มกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตอบข้อซักถามว่าส าหรับงบประมาณของโครงการแต่ละโครงการขึ้นอยู่กับกิจกรรมด าเนินงานของโครงการว่ามีการท ากิจกรรมอะไร เป็นเงินจ่ายขาดหรือเงินหมุนเวียน ในการเขียนโครงการต้องมีการเสนอไปยังหน่วยงานในพ้ืนที่ก่อน จะเป็นเกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัดหรือ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดก็ได้

2. นายชัยฟทธิ์ ถ่ายย้วบ เกษตรกรจังหวัดตรัง มีข้อซักถามว่ากรณีปัญหาการน าเข้าของผลไม้จากประเทศเพ่ือนบ้าน ว่าเรามีมาตรการอย่างไร ควบคุมคุณภาพสินค้าอย่างไร เพราะเป็นการปลอดภาษีอาจจะท าให้คุณภาพสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐาน ท าให้ผู้บริโภคไม่ทราบ แต่ยังอุดหนุนสินค้าจากประเทศเพ่ือนบ้าน เนื่องจากราคาถูก นางสาวราตรี เม่นประเสริฐเศรษฐกรเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อ านวยการส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรตอบข้อซักถามว่าในกรณีนี้ว่า ด้านการน าเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรโดย ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และตรวจสอบด้านความปลอดภัยจากสารเคมี โดยองค์การอาหารและยา (อย.) ก่อนที่จะน ามาจ าหน่ายให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้รัฐบาลก็ได้ด าเนินการด้านนโยบายที่จะตรวจสอบเพ่ือไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการน าเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพ่ือบ้าน เพ่ือลดการเลื่อมล้ าทางด้านภาษีของสินค้าเกษตร

*************************

25

ส่วนท่ี 4

สรุปการประเมินผลการสัมมนา

26

สรุปการประเมินผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา 08.00 – 16.30 น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

**************************

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เข้าร่วมสัมมนาตอบแบบประเมินการสัมมนา จ านวน 175 คน มีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 หน่วยงานผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จ านวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมาเป็นหน่วยงานราชการ จ านวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 16 และภาคเอกชน จ านวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 9

1.2 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมสัมมนา 1.2.1 สิ่งอ านวยความสะดวก (1) การให้บริการของเจ้าหน้าที่

พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 22.9 มีความพึงพอใจมาก ร้อยละ 62.3 มีพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 13.7 และมีความพึงพอใจน้อย ร้อยละ 1.1

27

(2) อาหารและเครื่องดื่ม พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 28.0 มีความพึงพอใจมาก

ร้อยละ 52.6 มีพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 18.9 และมีความพึงพอใจน้อย ร้อยละ 0.6

(3) ความเหมาะสมของระยะเวลาการสัมมนา

พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 14.3 มีความพึงพอใจมาก ร้อยละ 49.1 มีพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 32.6 มีความพึงพอใจน้อย ร้อยละ 2.9 และมีความเห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 1.1

28

(4) ความสะดวกสบายของสถานที่จัดสัมมนา พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 26.9 มีความพึงพอใจมาก

ร้อยละ 50.3 และมีความพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 20.6 มีความพึงพอใจน้อย ร้อยละ 1.7 และมีความเห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 0.6

.

(5) เอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสัมมนา พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 28.0 มีความพึงพอใจมาก

ร้อยละ 54.3 และมีความพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 16.0 มีความพึงพอใจน้อย ร้อยละ 0.6 และมีความเห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 1.1

29

1.2.2 การบรรยายเนื้อหาวิชาการ (1) ความเหมาะสมของวิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 15.4 มีความเหมาะสมมากร้อยละ 55.4 มีความเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 25.1 มีความเหมาะสมน้อยร้อยละ 3.4 และมีความเห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 0.6

(2) เนื้อหาสาระท่ีบรรยายอยู่ในความสนใจ ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นว่ามีความน่าสนใจมากที่สุด ร้อยละ 18.3 มีความน่าสนใจมาก

ร้อยละ 54.3 มีความน่าสนใจปานกลาง ร้อยละ 23.4 มีความเหมาะสมน้อยร้อยละ 3.4 และมีความเห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 0.6

30

(3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร (กองทุน FTA)

พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจมากที่สุดร้อยละ 14.3 มีความเข้าใจมาก ร้อยละ 49.7 มีความเข้าใจปานกลาง ร้อยละ 30.1 มีความเหมาะสมน้อยร้อยละ 4.6 และมีความเห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 0.6

(4) การเปิดโอกาสให้ร่วมเสนอแนะแสดงความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นได้รับโอกาสมากที่สุดร้อยละ 12.0 ได้รับโอกาสมากร้อยละ 45.1

ได้รับโอกาสปานกลาง ร้อยละ 33.7 และได้รับโอกาสน้อย ร้อยละ 9.1

31

1.2.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนา พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับประโยชน์มากที่สุดร้อยละ 20.6 ได้รับประโยชน์มาก ร้อยละ

61.1 ได้รับประโยชน์ปานกลาง ร้อยละ 16.0 และได้รับโอกาสน้อย ร้อยละ 2.3

2. ข้อเสนอแนะ ดังนี้

2.1 ควรเพ่ิมเวลาในการจัดสัมมนา เพราะเนื้อหามีจ านวนมาก และควรเพ่ิมเวลาให้เกษตรกรได้ซักถามแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น 2.2 ควรมีการจัดสัมมนาระดับจังหวัด 2.3 ควรเพิ่มการฝึกปฏิบัติในการเขียนโครงการขอสนับสนุน 3. สรุปผลภาพรวม

ภาพรวมในการสัมมนา พบว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนามีระดับความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 3.89 ซึ่งอยู่ในเกณฑม์าก โดยมีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมสัมมนาในแต่ละข้อ ดังนี้

หัวข้อ คะแนนที่ได้รับจากการประเมิน

๑. สิ่งอ านวยความสะดวกและบริการ 1.1 การให้บริการของเจ้าหน้าที่ 1.2 อาหารและเครื่องดื่ม 1.3 ความเหมาะสมของระยะเวลาการสัมมนา 1.4 ความสะดวกสบายของสถานที่จัดสัมมนา 1.5 เอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสัมมนา ๒. การบรรยายเนื้อหาวิชาการ 2.1 ความเหมาะสมของวิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 2.2 เนื้อหาสาระท่ีบรรยายอยู่ในความสนใจ 2.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือ

4.07 4.08 3.72 4.01 4.07

3.81 3.86

32

หัวข้อ คะแนนที่ได้รับจากการประเมิน

ของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร 2.4 การเปิดโอกาสให้ร่วมเสนอแนะความคิดเห็นและ การตอบข้อซักถาม ๓. ประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนา

3.72

3.6 4.0

ภาพรวมการสัมมนาทุกด้าน 3.89

*************************

33

ประมวลภาพการสัมมนา

34

35

36

ภาคผนวก

37

ก าหนดการสัมมนา เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

******************************

๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน ๐๙.๐๐ - 0๙.๑๕ น. กล่าวต้อนรับ โดย นายสาธร นราวิสุทธิ ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. กล่าวรายงาน

โดย นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร

๐๙.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. กล่าวเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ เรื่อง “แนวโน้ม ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรไทย”

โดย นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร ๑๐.๔๕ – ๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๑.๐๐ – ๑๒.00 น. การบรรยาย เรื่อง “FTA ผลกระทบ และการปรับตัว” โดย นางจารุวรรณ สุขรมย์ เศรษฐกรช านาญการพิเศษ ส านักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร ๑๒.00 - ๑๓.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. การบรรยาย เรื่อง “การค้าสินค้าเกษตร ปัจจุบัน อนาคต” โดย นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ๑4.00 - ๑4.15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14.15 – 15.45 น. การบรรยาย เรื่อง “กองทุน FTA : สร้างเกษตรไทยเข้มแข็ง” โดย นายเอกราช ตรีลพ หัวหน้ากลุ่มกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร ๑๕.4๕ - ๑๖.๓๐ น. ตอบข้อซักถามและรับฟังข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ๑๖.๓๐ น. ปิดการสัมมนา

********************************

38

โครงการสัมมนา เรื่อง “กองทุน FTA: เสริมสร้างเกษตรไทย ก้าวทันโลกเสรีการค้า” วันพฤหัสบดีที่ ๒7 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

๑. หลักการและเหตุผล การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี เช่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-จีน อาเซียน-จีน หรือแม้แต่ WTO จะส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างเสรี และมีแนวโน้มที่ประเทศไทยจะหันมาค้าขายกับประเทศในกลุ่มประเทศคู่เจรจาเพ่ิมมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจากภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ดี สินค้าเกษตรกรรมมีการผลิตในชนิด ประเภทสินค้าที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมจะมีทั้งผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ มาก หรือน้อยแตกต่างกันตามศักยภาพของเกษตรกรผู้ผลิต

ในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจ าเป็นต้องปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรง เพ่ือบรรเทาผลกระทบโดยทั่วไปในทุกชนิดสินค้า ซึ่งการด าเนินการของภาครัฐโดยการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน เช่น พัฒนาระบบชลประทาน ปรับปรุง ฟ้ืนฟู อนุรักษ์ดิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการศึกษาอบรมเกษตรกร พาไปศึกษาดูงาน ถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อต่างๆ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ การบริการข้อมูลข่าวสารการผลิต และการตลาดให้กับเกษตรกร การสร้างระบบมาตรฐาน และตรวจสอบรับรองสินค้า เพ่ือความปลอดภัยของผู้บริโภค สร้างความเชื่อม่ันแก่ผู้น าเข้าจากต่างประเทศ และเพ่ิมมูลค่าของผลผลิต ท าให้ขายได้ราคาสูงขึ้น การสร้างระบบประกันความเสี่ยงเพ่ือลดความเสี่ยงในด้านราคา รวมทั้งลดความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ การจัดท ามาตรการป้องกันการน าเข้าที่ไม่ขัดกับข้อตกลงทางการค้า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพ่ือลดอุปสรรคทางการค้า ขยายฐานตลาดให้เพ่ิมมากขึ้น การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของการผลิต และการสร้างมูลค่าเพ่ิม (Value Chain) การปรับตัวของเกษตรกรเพ่ือรองรับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพ่ือเพ่ิมผลผลิตต่อไร่ (Yield) และลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพ่ือรองรับกลุ่มผู้บริโภค เช่น กลุ่มประชาคมยุโรป เน้นอาหารปลอดสารหรือสินค้าอินทรีย์ ส าหรับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศมุสลิม เน้นอาหารฮาลาล เป็นต้น นอกจากนี้ควรให้ความส าคัญในด้านความปลอดภัยต่อการบริโภค ด้านคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดโรคและแมลงศัตรูพืช พัฒนาระบบตรวจรับรอง (Certification) และระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่เป็นมาตรฐานสากล นอกจากนี้การสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าเกษตร เพ่ือเพ่ิมมูลค่าโดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้า (Brand) มีจุดเด่นเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์หรือเป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) และมีกระบวนการผลิตที่ไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม (Green Productivity) ก็เป็นสิ่งส าคัญ

ในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบนี้เอง กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ จึงต้องเข้ามามีบทบาทส าคัญในการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น สามารถด ารงอาชีพเกษตรต่อไปได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดสัมมนา เพ่ือให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรรายย่อยในพ้ืนที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือของกองทุนฯ ตลอดจนผลกระทบจาก

39

การเปิดเสรีทางการค้า ทั้งด้านบวกและลบอย่างถูกต้อง และน าไปสู่การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพ่ือให้สามารถแข่งขันทั้งด้านการผลิต การตลาด และการค้าสินค้าเกษตรกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน

๒. วัตถุประสงค ์ ๒.๑ เพ่ือให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร ได้ตระหนักรับรู้ถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าทั้งด้านบวกและลบอย่างถูกต้อง และน าไปสู่การปรับตัวในการแข่งขันกับนานาประเทศ ให้สามารถด ารงอาชีพเกษตรต่อไปได้อย่างยั่งยืน ๒.๒ เพ่ือรับทราบปัญหาของสินค้าเกษตรที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนความต้องการที่แท้จริงในการเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร ๒.๓ เพ่ือเป็นการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนเงินของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

๓. รูปแบบการสัมมนา 3.1 บรรยายจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้า (FTA) ผลกระทบ และการ

ปรับตัว ดังนี้ (๑) ด้านนโยบายและการปรับโครงสร้างการผลิต (๒) ด้านต่างประเทศ (๓) ด้านกองทุนปรับโครงสรา้งการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

๓.๒ ระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา

๔. วัน เวลา และสถานที่ วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน ๒๕๕7 เวลา ๐๘.0๐-๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จ.ตรัง

๕. ผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ สถาบันเกษตรกร เกษตรกร และเจ้าหน้าที่กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ ประมาณ ๓0๐ คน

๖. หน่วยงานรับผิดชอบ กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ ส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๗. งบประมาณด าเนินการ

งบค่าบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ ปีงบประมาณ ๒๕๕8 วงเงินประมาณ ๖0๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)

40

๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ ได้รับทราบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าทุกกรอบการค้า โดยเฉพาะรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตลอดจนข้อเสนอเพ่ือการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งจะเป็นการเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของสถาบันเกษตรกร เกษตรกรและภาคเอกชน อันจะน ามาซึ่งการจัดท าโครงการเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ๘.๒ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาท และแนวทางการให้ความช่วยเหลือของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ