พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐....

32

Transcript of พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐....

Page 1: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา
Page 2: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร และอนุปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาและวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๑๒

“...ทุกคนมีชาติบ้านเมืองเป็นที่เกิดที่อาศัย ทุกคนจะมีความสุขความเจริญได้ก็เพราะบ้านเมืองเป็นปรกติมั่นคง ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมย่อมได้รับประโยชน์เป็นส่วนของตนด้วย ผู้ที่ทำงานโดยเห็นแก่ตัวเบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวมย่อมบั่นทอนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ...”

Page 3: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

บทบรรณาธิการ

สารบัญ

สืบเนื่องจากปก

หน้า ✤ พระบรมราโชวาท ๒✤ บทบรรณาธิการ ๓✤ ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ๔-๕✤ พลิกประวัติศาสตร์จุฬาราชมนตรี ๖-๗✤ งานกรมการศาสนา ๘-๙ เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา๗รอบ ๕ธันวาคม๒๕๕๔ ✤ อุบาสก พุทธสาวก ๑๐-๑๑ อุคคคฤหบดีอุบาสกผู้เลิศทางถวายโภชนะที่ชอบใจ ✤ ศาสนาอิสลาม (ต่อจากฉบับที่แล้ว) ๑๒-๑๓✤ มุมธรรมะ ๑๔-๑๕ ความดีเปรียบประดุจแสงสว่าง ✤ ภาพกิจกรรม ๑๖-๒๐✤ เข้าวัดวันธรรมสวนะ ๒๑-๒๔ - วัดพระยายัง - วัดวิเศษการ - วัดราษฎร์บำรุง - วัดท่าพระ✤ นิทานธรรมะ ๒๕-๒๖ จิ้งจอกกับราชสีห์✤ อาโรคยา ปรมา ลาภา ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ๒๗-๒๘ คุณค่าจากปลา...ราชาของโปรตีน✤ ธรรมภาษิต ๒๙ คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก✤ ปกิณกสารธรรม ๓๐ ทะเลชีวิต✤ ภาพกิจกรรม ๓๑✤ ภาษิตนิทัศน์ ๓๒ ครอบครัวไผ่

กรมการศาสนา ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ วารสารสายตรงศาสนา สารประชาสัมพันธ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

Journal of the Religious Affairs Department

วิสัยทัศน์ กรมการศาสนา นำหลักธรรม เสริมภูมิคุ้มกัน

สานสัมพันธ์ศาสนา สร้างคนดีสู่สังคม

สารคดี บทความ บทวิจารณ์ ความคิดเห็น และข้อเขียนต่าง ๆ

ที่ปรากฏในสายตรงศาสนาฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ของผู้เขียน กรมการศาสนาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย

หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด

โปรดให้ข้อเสนอแนะหรือส่งข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์งานของท่านได้ที่...

งานบริหารทั่วไป

สำนักงานเลขานุการกรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

๖๖๖ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ

เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๒๒-๘๗๗๖-๙

เจ้าของ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมคณะที่ปรึกษา นายสดแดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา นายกฤษศญพงษ์ศิริ รองอธิบดีกรมการศาสนา นายเอนกขำทอง ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม นายพิสิทธิ์นิรัตติวงศกรณ์ ผู้อำนวยการ กองศาสนูปถัมภ์บรรณาธิการ นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์จิปิภพเลขานุการกรมการศาสนา ผู้ช่วยบรรณาธิการ นางพัทธ์ธีราวรมิศร์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการกองบรรณาธิการ ๑. นายสุเทพเกษมพรมณี ๒. นายชุมพลอนุกานนท์ ๓. นายชวลิตศิริภิรมย์ ๔. นางฉวีวรรณวงค์ศรี ๕. นายอรรถกรมณีจันทร์ ๖. นางอมรศรีหอมาลัยกุล ๗. นางสาวดวงเด่นเด็นหลี ๘. นางสาววรกรวัฒนวงศ์สกุล ๙. นางสุปรียาฉลาดสุนทรวาที ๑๐.นางสาวสุทิศาเถื่อนถาด

วารสารสายตรงศาสนาฉบับประจำเดือนกันยายน๒๕๕๓ ขอนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ทั้งที่เป็นทั้งสาระความรู ้ บทความธรรมะ และข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆที่กรมการศาสนาได้ดำเนินงานผ่านมา โดยในตอนต้นขอเสนอเรื ่องเกี ่ยวกับผ้าอาบน้ำฝนซึ ่งหลายท่านอาจสงสัยว่าผ้าอาบน้ำฝนนั้นมีที่มาอย่างไร ทำไมจึงต้องมีผ้าอาบน้ำฝนด้วย ต่อด้วยเรื ่องราวของจุฬาราชมนตรีคนที่๑๘ของไทยนายอาศิสพิทักษ์คุมพลจุฬาราชมนตรีจากภาคใต้คนแรกและในมุมธรรมะของฉบับนี้ขอนำเสนอ“ความดีเปรียบประดุจแสงสว่าง” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา-สังฆปริณายก คณะผู ้จ ัดทำหวังเป ็นอย่างย ิ ่งว ่า วารสารสายตรงศาสนาฉบับนี้ คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้างตามสมควร

สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้า

ทรงอนุญาตให้ภ ิกษุสงฆ์ ใช ้ผ ้า

๓ ผืน คือ ผ้านุ ่ง ผ้าห่ม และผ้า

คลุมชั้นนอก รวมเรียกว่า “ไตรจีวร”

เท ่าน ั ้น แต ่เม ื ่อเวลาพระภิกษุ

จะอาบน้ำไม่มีผ้าผลัดนุ่งอาบจึงต้องเปลือยกายอาบน้ำ

พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์มีผ้าอาบน้ำฝน

ใช้ได้ตามคำกราบทูลของนางวิสาขามหาอุบาสิกา

Page 4: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา �

ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน

าอาบน้ำฝนหรือผ้าวัสสิกสาฎก คือผ้าเปลี ่ยน

สำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะ

เดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเคร ื ่องใช ้สอยของพระภิกษุ

ตามพุทธานุญาตที ่ให้มีประจำตัวนั ้น มีเพียงอัฎฐบริขาร

ซึ่งได้แก่สบงจีวรสังฆาฏิเข็มบาตรรัดประคดหม้อกรองน้ำ

และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น

พระสงฆ์ที ่ม ีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้อง

เปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา

นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย “ผ้าวัสสิกสาฎก”

หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์

ได้ผลัดเปลี ่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญ

สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

มูลเหตุที่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์

ใช้ผ้า๓ผืนเท่านั้นคือผ้านุ่ง(อันตรวาสก)ผ้าห่ม(อุตราสงค์)

และผ้าคลุมชั้นนอก(สังฆาฏิ)ซึ่งรวมเรียกว่า“ไตรจีวร”

จนเมื่อครั้งนางวิสาขามหาอุบาสิกาใช้ให้หญิงรับใช้

(นางทาสี) ไปพระวิหารเพื่อนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหาร

ที่บ้าน ในวันนั้นฝนตกหนักเมื่อหญิงรับใช้ไปถึงวัดเห็นพระภิกษุ

เปลือยกายอาบน้ำอยู่ เกิดเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกชีเปลือย

จึงกลับมาบอกนางวิสาขาว่า ในวัดไม่มีพระภิกษุเลย มีแต่

พวกชีเปลือยกำลังอาบน้ำฝนอยู่ นางรู ้ได้ทันทีว่านั่นไม่ใช่

ชีเปลือยอย่างที่หญิงรับใช้เข้าใจ แต่เป็นพระภิกษุที่เปลือยกาย

อาบน้ำฝนอยู ่ ดังนั ้นหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวก

ฉันภัตตาหารแล้ว นางวิสาขาจึงได้กราบทูลขอพระพุทธเจ้า

เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำ

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การทำผ้าอาบน้ำฝน ผ้าอาบน้ำฝน ถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาต

ให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั ้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตาม

พระวินัยปิฎกมิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์

การทำผ้าอาบน้ำฝน ในพระวินัยบัญญัติโดยประมาณ

ตามที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ คือ เป็นผ้าผืนยาว ๖ คืบ

พระสุคต กว้าง ๒ คืบครึ่ง คำนวณโดยประมาณในปัจจุบัน

ยาวรวม๔ศอกกับ๓กระเบียดกว้างราว๑ศอก๑คืบ

กับ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดเศษ ถ้าทำให้ยาวหรือกว้างเกินกว่า

ที่กำหนดนี้ พระภิกษุรูปใดนำไปใช้สอยต้องอาบัติ และต้อง

ตัดส่วนที่กว้างหรือยาวเกินไปออกจึงแสดงอาบัติได้ นอกจากนี้

ย ังทรงบัญญัติเขตกาลที ่จะแสวงหา เขตกาลที ่จะทำผ้า

เขตกาลที่จะนุ่งห่มและเขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอยดังนี้

๑. เขตกาลแสวงหา ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึง

วันเพ็ญเดือน ๘ รวมเวลา ๒ ปักษ์ เป็นเวลา ๑ เดือน

ในปลายฤดูร้อน

๒. เขตกาลที่จะทำผ้าและนุ่งห่ม ตั้งแต่ขึ ้น ๑ ค่ำ

เดือน๘ถึงวันเพ็ญเดือน๘เป็นเวลากึ่งเดือนท้ายฤดูร้อน

๓. เขตกาลอธิษฐานใช้สอย ต ั ้งแต่แรม ๑ ค่ำ

เดือน๘ไปจนสิ้นฤดูฝนคือเพ็ญเดือน๑๒รวมเวลา๔เดือน

กรณียังไม่ถึงเขตกาลที ่ทรงอนุญาตไว้นี ้ พระภิกษุ

แสวงหาได้มา หรือทำนุ่งห่มหรืออธิษฐานใช้สอยท่านให้ปรับ

อาบัติ

การถวายผ้าอาบน้ำฝน มีระเบียบวิธีปฏิบัติดังนี้ ๑. ก่อนการถวายเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุผู้สามารถ

รูปหนึ ่ง แสดงธรรมอนุโมทนาวัสสิกสาฎกทานของทายก

๑กัณฑ์

๒. เมื่อแสดงธรรมจบแล้ว หัวหน้าทายกนำกราบพระ

และว่านะโมพร้อมกัน๓จบต่อด้วยนำถวายผ้าอาบน้ำฝน

ซึ่งตั้งไว้เบื้องหน้าพระสงฆ์ โดยกล่าวคำถวายเป็นคำๆทั้งบาลี

และคำแปล

๓. ในระหว่างทายกกล่าวคำถวายผ้าอาบน้ำฝน

พระสงฆ์ทั้งหมดประนมมือ เมื่อจบคำกล่าวถวายผ้าอาบน้ำฝนแล้ว

พระสงฆ์ขานรับว่า“สาธุ”พร้อมกัน

๔. เมื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนเสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนา

เป็นเสร็จพิธี

ผ้

Page 5: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

�สายตรงศาสนา

ผู ้ถวายผ้าอาบน้ำฝน จะได้รับอานิสงส์เหมือนการ

ถวายผ้าชนิดอื่น ๆ ตามนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้

เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความ

สะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน ภาษาบาลี

อิมานิ มะยัง ภันเต, วัสสิกะสาฏิกานิ. สะปะริวารานิ.

ภิกขุสังฆัสสะ. โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,

อิมานิ, วัสสิกะสาฏิกานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ,

อัมหากัง,ทีฆะรัตตัง,หิตายะ,สุขายะ.

คำแปล

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย,

ผ ้าอาบน้ำฝนกับทั ้งบร ิวารเหล่าน ี ้ , แด ่พระภิกษุสงฆ์,

ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ, ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารเหล่านี้,

ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์, เพื่อความสุข, แก่ข้าพเจ้า

ทั้งหลาย,ตลอดกาลนานเทอญ.

อานิสงส์การถวายผ้าอาบน้ำฝน การถวายผ้าอาบน้ำฝนมีผลานิสงส์อย่างไร เป็นใจ

ความว่า เมื่อครั้งที่นางวิสาขานำผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแด่

องค์พระศาสดาพร้อมภิกษุทั้งหลาย แล้วได้กราบทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้มีผลานิสงส์

เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า

พระองค์ได้ตรัสเทศนาว่า ดูกรนางวิสาขา ถ้าบุคคลใด

มีจิตศรัทธานำผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระภิกษุในพุทธศาสนา

จะมีผลฯอนิสงส์เป็นอเนกประการแล้วพระองค์ทรงนำอดีตนิทาน

มาแสดงต่อไปว่า ในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

มีหญิงเข็ญใจคนหนึ ่งมีนามว่า อมัยทาสี อยู ่มาวันหนึ ่ง

นางได้เห็นคนทั้งหลายนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปสู่สำนักภิกษุสงฆ์

ให้เป็นทานโดยกระทำให้เป็นผ้าอาบน้ำฝน นางอมัยทาสีก็มี

ศรัทธาอยากจะทำบุญกับเขาบ้าง นางก็คิดว่าจะทำอย่างไร

ดีหนอที่เราจะได้ทำบุญในคราวนี้บ้าง

พิจารณาผ้าที่จะให้ทานก็ไม่มี รีบไปหามารดาแล้วบอก

ความจำนงของตนให้มารดามารดาก็ตอบว่าเราจะเอามาแต่

ที่ไหนเราก็เป็นทาสเขาอยู่นางอมัยทาสีเมื่อได้ยินดังนี้น้ำตา

ก็ไหลด้วยความเสียใจ มารดาของนางก็มีจิตสงสารจึงแนะนำ

ให้นางอมัยทาสีไปขึ้นค่าตัวกับนาย

นางได้รับคำแนะนำเช่นนั้นแล้วก็มีความยินดีจึงรีบไป

หานายของนาง ฝ่ายเศรษฐีผู ้เป็นนายก็ปฏิเสธไม่ยอมให้

นางอมัยทาสีขึ้นค่าตัว นางไม่มีความสบายใจนางมาคิดว่า

เมื่อชาติก่อนนี้เราไม่ทำบุญให้ทานมาชาตินี้เราจึงได้ตกระกำ

ลำบากถึงเวลาจะทำบุญกับเขาบ้างก็จะไม่ได้ทำกับเขาคราวนี้

จะเป็นตายอย่างไรจะต้องขอทำบุญให้ได้ในครั้งนี้ ด้วยจิต

ศรัทธาแรงกล้านางอมัยทาสีทนความอับอายขายหน้าได้สละ

ผ้าห่มแล้วนำใบไม้มาเย็บกลัดพอปกปิดบรรเทาความอาย

แล้วเอาผ้าซักฟอกให้หมดความสกปรก แล้วนำดอกไม้

ธูปเทียนพร้อมด้วยผ้าไปสู่ธรรมศาลา ถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น

ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ก่อนเข้าพรรษา พร้อมกับมหาชน

ทั้งหลาย

แล้วตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ที่ตนได้กระทำ

บุญในคราวครั ้งนี ้ ขึ ้นชื ่อว่าความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์

อย่าได้มีในชาติต่อ ๆ ไปจนถึงพระนิพพาน และขอให้พบ

พระศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย เมื ่อคำปรารถนาของ

นางจบลงแล้วเทวดาทั้งหลายก็ซ้องสาธุการสนั่นหวั่นไหว

ด้วยอานิสงส์ของนางอมัยทาสีทำบุญในคราวครั้งนั้น

อยู่มาได้ ๗ วัน พระเจ้าพันธุมหาราช ได้เสด็จไปพบนาง

กำลังหาบฟืนมาในระหว่างทางก็เกิดความปฏิพัทธ์รักใคร่

ในตัวนางมาก จึงตรัสปราศรัยไต่ถามความตลอดแล้ว จึงยกนาง

ขึ้นราชรถนำเข้าไปสู่พระนคร อภิเษกนางให้อยู่ในตำแหน่ง

อัครมเหสี ครั ้นทำลายขันธ์แล้วนางได้ไปเกิดบนสวรรค์

มีวิมานทองสูง๑๕โยชน์มีนางฟ้าเป็นบริวาร๓พันครั้นเสวย

ทิพย์สมบัติแล้วจนในชาติสุดท้ายนางจะได้เกิดในศาสนา

พระศรีอาริยเมตไตรยได้บรรลุธรรมพิเศษดังนี้แล

พระองค์ได ้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว

ชนทั้งหลายก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางวิสาขาก็ตั้งอยู่ใน

พระรัตนตรัย

Page 6: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา �

พลิกประวัติศาสตร์จุฬาราชมนตรีจากภาคใต้คนแรก

ระเทศไทยเป็นราชอาณาจักรท ี ่ให ้ความอุปถ ัมภ์ศาสนาต่าง ๆ โดยพระมหากษัตร ิย ์ทรงเป ็นองค์

อัครศาสนูปถัมภกภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์นั ้นมีจุดมุ่งหมายให้คนไทยที่นับถือศาสนาแตกต่างกันมีความรักใคร่สมานสามัคคี สามารถอยู ่ร ่วมกันด้วยความสุขสงบ ร่มเย็นโดยทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามศาสนาของตนเองโดยไม่เบียดเบียนกัน ประเทศไทยมีศาสนาที่รับรองเป็นทางราชการทั้งหมด ๕ ศาสนา หนึ่งในนั้นคือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีจำนวนศาสนิกชนมากเป็นอันดับที ่สองรองจากศาสนิกชนชาวพุทธมี “จุฬาราชมนตรี” เป็นตำแหน่งประมุขสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามในเมืองไทยที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และเป็นผู ้นำทางจิตวิญญาณของชาวไทย-มุสลิมที่จะได้รับฟังความคิดหรือเทศนาธรรมของท่าน ตำแหน่งประมุขสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศไทยคือ จุฬาราชมนตรี ตำแหน่งนี้ปรากฏมีครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยาและมีสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ตามพระราชบัญญัติองค์กรศาสนาอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๔๐มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั ้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ ่งเพื ่อเป็นผู ้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยและให้ม ีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เดิมเป็นตำแหน่งข้าราชการในสำนักราชเลขานุการในพระองค์ เทียบเท่าตำแหน่งหัวหน้ากอง(ตามกฎฉบับที่ ๑๔๖ และ ๑๔๗ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘)

นายอาศิส พิทักษ์คุมพล

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนตามพระราชอัธยาศัยมีหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามพ.ศ.๒๔๘๘มาตรา๓ซึ่งบัญญัติว่า “ให้จุฬาราชมนตรีมีหน้าที่ปฏิบัติราชการส่วนพระองค์เกี่ยวแก่การที่จะทรงอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม” ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที ่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามพ.ศ. ๒๔๘๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน“มาตรา ๓ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรี เพื่อให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามสมควร” จากการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทำให้ฐานะของจุฬาราชมนตรีพ้นจากตำแหน่งข้าราชการในพระองค์ไปรับเงินอุดหนุนจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันเป็นกระทรวงวัฒนธรรม เปลี่ยนโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.๒๕๔๕) ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. ๒๔๘๘ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๔๙๑และให้ใช้มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่งเพื ่อเป็นผู ้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย มาตรา ๘จุฬาราชมนตรีมีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม ในประวัต ิศาสตร์ของตำแหน่งจ ุฬาราชมนตรีท ี ่ม ีมายาวนานในประเทศไทยกว่า ๕๐๐ ปี ผู ้ดำรงตำแหน่งสำคัญนี้ล้วนมีภูมิลำเนามาจากภาคกลางมาตลอด จนกระทั่ง นายสวาสดิ์สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี คนที่ ๑๗ ได้ถึงแก่อนิจกรรมไปเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดวันสรรหาจุฬาราชมนตรีเป็นวันที่๑๖พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติเขตหนองจอกกรุงเทพมหานครต้องมีการสรรหาผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนจึงได้มีการเลือกตั้งจุฬาราชมนตรีคนที่ ๑๘ ขึ้นผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายอาศิส พิทักษ์คุมพล ประธาน

Page 7: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

�สายตรงศาสนา

คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาได้รับคะแนนท่วมท้นถึง ๔๒๓ คะแนน จาก ๗๔๐ เสียง และจากผล การเลือกตั้งนั้น เป็นที่ฮือฮาของพี่น้องชาวมุสลิมทั่วประเทศ เนื่องจากจุฬาราชมนตรีคนที่ ๑๘ นี้ เป็นตัวแทนจากภาคใต้ตอนล่างคนแรก และเมื ่อวันที ่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุมชั้น ๑๔อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรม-ราชวโรกาสให้นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี พร้อมด้วยคณะข้าราชการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานพระบรมราโชวาทในการเข้ารับตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่๑๘ของประเทศไทย ความโดดเด่นของนายอาศิสไม่ได้มีเพียงเพราะเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้เท่านั้น แต่เป็นเพราะนายอาศิสเคยมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคดีสำคัญ ๆ ในภาคใต้และยังเป็นสมาชิกสภาที ่ปร ึกษาเสร ิมสร ้างสันติส ุขจ ังหวัดชายแดนใต้ ฉะนั้นการได้รับตำแหน่งจุฬาราชมนตรีของนายอาศิสในครั้งนี้ จึงได้รับความสนใจจากประชาชนชาวมุสลิมโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ไม่น้อย “เป็นธรรมดาครับที่ต้องรู้สึกขอบคุณพระเจ้าเพราะ งานทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของพระองค์มันอยู่เหนือการกระทำของมนุษย์ เพราะฉะนั้นความรู้สึกเรื่องที่ต้องตระหนักคือความกตัญญูที่มีต่อพระองค์อย่างสุดซึ้ง”เป็นคำพูดของจุฬาราชมนตรีคนล่าสุดหลังจากที่ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีครบ ๓ เดือน ซึ ่งอยู ่ในช่วงเดือนรอมฎอนพอดีทำให้ต้องปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดซึ่งนายอาศิสก็ได้เล่าถึงโครงการต่างๆที่จะริเริ่มทำหลังจากนี้ว่า“หลังรอมฎอนจะจัดเสวนาคณะกรรมการอิสลามทั่วราชอาณาจักร คือให้ทุกคนได้มาพบปะพูดคุยกันเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ผมมองว่าองค์กรหลักที่สำคัญที่สุดในชุมชนพี่น้องมุสลิมก็คือมัสยิด หากมัสยิดนั้นสามารถที่จะทำให้มีการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และก็ผู้บริหารมัสยิดก็คืออิหม่ามนั้นก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะไปให้แนวความคิดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับยุคสมัย จุดประกายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” ในด้านการศึกษานายอาศิสเล็งเห็นว่าเป็นความจำเป็นเร่งด่วน และน่าจะสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน โดยหารือกับภาครัฐบาลจะสร้างสถาบันภาษาที่ได้มาตรฐานในภาคใต้สักหนึ่งแห่ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง โดยเน้นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษามลายู และภาษาจีน “ผมมองดูระบบการจัดการศึกษาต่อมิติทางภาษาค่อนข้างจะอ่อนด้อยเป็นอย่างมาก ในภาคใต้เรามีนักเรียนที่ไปเรียนต่างประเทศ

หลายราย กว่าจะได้เข้าเรียนในชั้นเรียนได้ต้องไปเรียนภาษาอีกไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งเป็นความสูญเสียเป็นอย่างมาก ผมได้ประสานกับส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการบางส่วนแล้ว ซึ่งหลายคนก็เห็นด้วยในหลักการ ในแนวคิดผมอยากให้เป็นส่วนราชการไม่อยากให้เป็นเอกชน แต่ว่าให้พวกเรามีส่วนเข้าไปร่วมดูแลเรื่องการจัดการหรือหลักสูตรต่าง ๆ” นอกจากนี ้นายอาศิสมีความตั ้งใจที ่จะใช้หลักศาสนาช่วยแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ “ผมจะตั้งคณะที่ปรึกษา ซึ่งจะทำงานเกี่ยวกับศาสนสัมพันธ์ขึ้น จะประกอบด้วยคนหลายฝ่าย นักวิชาการที่ต้องการเห็นการดำรงอยู่ในภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น จะต้องอยู่กันอย่างสมานสามัคคี สมานฉันท์ เป็นการ ทำงานในเชิงวิชาการที่ต้องการจะเผยแพร่สร้างความเข้าใจในความเป็นพหุวัฒนธรรมของเมืองไทย ผมก็ดีใจที่วันนี้ พหุนิยมในทางศาสนาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น ท่านนายกรัฐมนตรีก็จัดเลี้ยงละศีลอดพร้อมกับพี่น้องมุสลิมกับทูตานุทูตจากประเทศอิสลาม ผมคิดว่านี่คือนิมิตหมาย ที่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยนั้นมีความเอื้ออาทรในการอยู่ ร่วมกัน และก็พยายามที่จะตระหนักและให้การยอมรับ ในความแตกต่างทางพหุวัฒนธรรมตรงนี้” นายอาศิสตระหนักดีว่าสังคมมีความคาดหวังให้จุฬาราชมนตรีเข ้ามามีส ่วนร่วมในการหาแนวทางเพื ่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ ่งนายอาศิสได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเรื ่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจระหว่างที่บันทึกเทปรายการโทรทัศน์ใต้ฟ้าเมืองไทยซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานรัฐพลตรีอำนาจสมประสงค์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที ่ ๕ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรร่วมรับฟังด้วย “การใช้ความรุนแรงตอบโต้ความรุนแรง ก็รังแต่จะทำให้ปัญหาขยายตัวมากขึ้น มันไม่มีความรุนแรงที่ไหนที่จบลงได้ด้วยความรุนแรง เพราะฉะนั้นผมคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดก็คือยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ เข้าใจการสร้างความเข้าใจคนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันคนในพื้นที่ก็จะต้องเข้าใจ ในความเป็นพี่น้องร่วมชาติ และก็เข้าถึงพัฒนา ผมว่า เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งที่หน่วยราชการพึงรับใส่เกล้า เพราะว่านั่นคือวิธีที่ดีที่สุดในการคลี่คลายปัญหาความรุนแรง ส่วนตัวผมก็ขอเสริมเพิ่มเติมอีกว่า มาตรการในการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่สุดคือ การยกระดับการศึกษาของคนเพราะพวกเค้าจะเข้าใจกันได้เองว่าอะไรควรจะทำ หรืออะไรควรจะเป็น ผมคิดว่าเรื่องใหญ่ที่สุดคือ การให้โอกาส ทางการศึกษาและการลดเงื่อนไขดีที่สุด”

ที่มา:หนังสือพิมพ์สยามรัฐฉบับที่๒๐,๙๕๑

Page 8: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา �

งานกรมการศาสนา

นไทยส่วนใหญ่น ับถ ือพระพุทธศาสนา

จึงได้นำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็น

หลักสำคัญในการดำรงชีวิตทำให้คนไทย

สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนับตั้งแต่บรรพชน

โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดงานต่าง ๆ ทั้งทาง

ด้านสังคมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและอื่นๆ

วัดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน

และม ีอ ิทธ ิพลต ่อว ิถ ีช ี ว ิตของคนไทยในอด ีต

หลายประการ ท ั ้งในด้านอุปนิส ัย ส ังคม และ

ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย

ในอด ีตพ ุทธศาสน ิกชนน ิยมไปว ัดเพ ื ่อทำบ ุญ

ตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ สมาทานศีล

(ร ับศ ีล) ฟ ังพระธรรมเทศนา และบำเพ็ญทาน

รักษาศีลเจริญจิตภาวนาที่วัด

ส ังคมไทยจ ึงม ีพระพ ุทธศาสนาเป ็นหล ัก

ยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญ เป็นหนึ่งในสามสถาบันหลัก

ของชาติ ที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาจิตใจของคนในสังคม

เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

มาช้านานแล้ว โดยมีว ัดเป็นองค์กรหลักในการ

ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธธรรมคำสอน เป็นแหล่งบ่มเพาะ

ความดีทางสังคม และเป็นต้นทุนทางสังคมและ

วัฒนธรรมที่สำคัญในการสร้างเสริมความสุข โดยมี

พระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตใจ

เน ื ่ องจากว ิถ ีช ี ว ิตด ั ้ ง เด ิมของส ังคมไทย

ในอดีตให้ความสำคัญกับวันธรรมสวนะหรือวันพระ

ท ี ่พระพุทธเจ ้าทรงบัญญัต ิไว ้ และในปัจจ ุบ ัน

พุทธศาสนิกชนก็ยังคงให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวอยู่

ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนไทย เป็นวิถีชีวิตของ

พุทธศาสนิกชนชาวไทย

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ส่งเสริม

สนับสนุนให้พุทธศาสนิกชนเข้าวัดวันธรรมสวนะ

โดยได้จัดโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ

มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้กำหนด

วันทำงาน คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และกำหนดให้

วันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นวันหยุด โดยไม่ได้กำหนด

ให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุด เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้

ประชาชนส่วนหนึ่งไม่มีโอกาสไปวัดในวันธรรมสวนะ

เพื่อฟังธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาแต่ครั้ง

สมัยพุทธกาลอันเป็นวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนที่ทุกคน

ควรปฏิบัติ

กรมการศาสนา กระทรวงว ัฒนธรรม

ได้ตระหนักถึงความต้องการของพุทธศาสนิกชน

ที ่ต ้องการเข้าว ัดปฏิบัต ิธรรมในวันหยุดราชการ

Page 9: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

�สายตรงศาสนา

จึงได้กำหนดโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา

ได้พบพระภิกษุสงฆ์ ได้รับฟังหลักธรรมคำสอน และ

พบความสุขทั้งตนเอง ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อน ๆ

สามารถเข ้าว ัดในว ันอาทิตย ์ และเพื ่อเป ็นการ

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน

โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

๗รอบ๕ธันวาคม๒๕๕๔ที่จะมาถึงนี้

เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในสถาบัน

ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จะได้ประกอบ

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เจริญจิตภาวนา รักษาศีล

เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเพื ่อถวายเป็นพระราชกุศล

เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ ๑.เพื ่อให้พุทธศาสนิกชนได้เจริญรอยตาม

พระยุคลบาท เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล

เฉลิมพระชนมพรรษา๗รอบ๕ธันวาคม๒๕๕๔

๒.เพ ื ่อให ้พ ุทธศาสนิกชนได้แสดงตนเป็น

พุทธมามกะ ใกล้ชิดพระรัตนตรัย น้อมนำหลักธรรม

คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

๓.เพื่อให้สถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์

ดำรงอยู่อย่างมั่นคงสืบไป

เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ

๑. จำนวนวัดที่เข้าร่วมโครงการฯ มีวัดเข้าร่วม

โครงการ๑วัด:๑ตำบลแบ่งเป็น๔ระยะดังนี้

ระยะที ่ ๑ ว ันท ี ่ ๑๐ ต ุลาคม ๒๕๕๓

มีวัดเข้าร่วมโครงการ๙๙๙วัด(เปิดตัวครั้งแรก)

ระยะที ่ ๒ ว ันท ี ่ ๓๑ ต ุลาคม ๒๕๕๓

มีวัดเข้าร่วมโครงการ๑,๙๙๙วัด

ระยะที่ ๓ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

มีวัดเข้าร่วมโครงการ๓,๙๙๙วัด

ระยะที ่ ๔ ว ันที ่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๔

ครบทุกตำบล

๒. จำนวนพุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ

ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๓-เดือนธันวาคม ๒๕๕๔

วัดละ๕๐คนรวม๔ระยะมีจำนวน๑๖,๔๗๕,๔๐๐คน

ดังนี้

ระยะที ่ ๑ จำนวนพุทธศาสนิกชนที ่ร ่วม

โครงการ๑๙๙,๘๐๐คน

ระยะที ่ ๒ จำนวนพุทธศาสนิกชนที ่ร ่วม

โครงการ๓๙๙,๘๐๐คน

ระยะที ่ ๓ จำนวนพุทธศาสนิกชนที ่ร ่วม

โครงการ๓,๙๙๙,๐๐๐คน

ระยะที ่ ๔ จำนวนพุทธศาสนิกชนที ่ร ่วม

โครงการ๑๑,๘๗๖,๘๐๐คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม

ทางพระพุทธศาสนา จากการเข ้าร ่วมกิจกรรม

สามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต

Page 10: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 10

อุบาสก พุทธสาวก

๗๕ อุบาสก พุทธสาวก

อดีตชาติ สมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ เขาเกิดในเรือนสกุลหนึ่งในกรุงหงสาวดี ต่อมา เขาเข้าเฝ้าฟังธรรม แล้วได้เห ็นพระพุทธเจ้าทรงสถาปนาอุบาสกผู ้หนึ ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะทางถวายโภชนะ (อาหาร) ที่น่าชอบใจ จึงทำกุศลให้ยิ่งขึ้นเพื่อปรารถนาตำแหน่งนั้นชาติล่าสุด บรรลุธรรม ถึงความเป็นเลิศ เขาเกิดในสกุลเศรษฐีเมืองเวสาลี ในวัยเด็กมีชื ่อเรียกไม่แน่นอน ต่อมามีร่างกายสูงขึ ้น สง่างามเหมือนเสาระเนียดที ่ตกแต่งแล้ว และเหมือนแผ่นผ้าที ่ว ิจ ิตรด้วยลวดลาย และมีคุณความดีทั้งหลายฟุ้งขจรไป จึงได้ชื่อว่าอุคคเศรษฐี เพราะเรือนร่างและคุณทั้งสองนี้ฟุ้งขจรไป(อุคฺโค-ผู้สูงด้วยคุณทั้งหลาย) ต่อมา ท่านเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งแรกก็บรรลุโสดาปัตติผล และบรรลุเป็นพระอนาคามีในการฟังธรรมครั้งต่อมา ครั้นแก่เฒ่าท่านคิดว่า “สิ ่งใดเป็นที ่ร ักที ่พอใจของเรา เราจะถวายสิ ่งนั ้นแด่พระพุทธเจ้า เพราะเราได้ฟังพระพุทธดำรัสว่า บุคคลผู้ถวายของ ที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ” แล้วคิดต่อไปว่า “พระศาสดาทรงทราบจิตใจของเราบ้างหรือไม่หนอ ? หากทรงทราบ ก็ขอให้พระองค์เสด็จมาที่บ้านเรา” พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของอุบาสกแล้ว จึงเสด็จมาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ในทันทีอุบาสกรู้ว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้วก็ร่าเริงดีใจเหลือเกินรีบออกไปต้อนรับกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์รับบาตรแล้วนิมนต์เข้าสู ่เรือน แล้วถวายอาหารเลิศรสต่าง ๆแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ จนเสวยเสร็จ เขาจึงกราบทูลถึงความคิดที่ตนเองคิด แล้วพระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณทำให้เสด็จมา ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเลิศกว่าอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่น่าชอบใจ

(องฺ. อ. ๑/๒/๗๑-๓, องฺ. เอก. ข้อ ๑๕๑)

อดีตชาติของพุทธสาวกในสมัยพุทธกาล

อุคคคฤหบดี

อุบาสกผู้เลิศทางถวายโภชนะที่ชอบใจ

ท่านว่าทุกๆวัน ในเรือนของอุคคคฤหบดีจะจัดตั้งอาสนะไว้๕๐๐ที่เพื่อให้ภิกษุมาฉันในเรือนเป็นประจำ(องฺ.อ.๔/๔๒๔)ประกาศความอัศจรรย์ ๘ ประการของตนให้ภิกษุฟัง สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวันใกล้กรุงเวสาลี ครั ้งนั ้น พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องอุคคอุบาสกให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า “ภิกษุท ั ้งหลาย เธอทั ้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ” ตรัสเพียงเท่านี้แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร เวลาเช้าภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปรับภัตในเรือนของอุคคคฤหบดีได้เล่าเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ถึงท่านให้ฟัง อ ุคคอุบาสกกล่าวว่า ตนเองไม่ทราบเลยว่าพระผู ้ม ีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์กระผมด้วย ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา๘ประการ และไม่รู้ด้วยว่าธรรม ๘ ประการนั้นเป็นอย่างไร แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรม๘ประการในความเข้าใจของข้าพเจ้ามีดังนี้ ๑.คราวที ่ข ้าพเจ้าได้เห็นพระผู ้ม ีพระภาคเจ้าแต่ไกลเป็นครั ้งแรก ทันทีที ่เห็น จิตของข้าพเจ้าก็เลื ่อมใสในพระผู ้มีพระภาคเจ้านี่เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่๑ ๒.ข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนา“อนุบุพพิกถา”ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุธัมมจักษุ... ๓.ข้าพเจ้ามีภรรยารุ่นสาวอยู่ ๔ คน บอกแก่พวกเธอว่าข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ ผู้ใดปรารถนาทำบุญก็จงใช้โภคะของเราทำบุญหรือปรารถนาจะกลับไปสู่ตระกูลญาติก็ได้หรือประสงค์จะมีสามีใหม่ข้าพเจ้าก็จะยกเธอให้แก่เขา ภรรยาคนแรกได้พูดกับข้าพเจ้าว่า ขอท่านมอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เถิดเจ้าค่ะ ข้าพเจ้าก็ได้เชิญชายคนนั้นมา เอามือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำ หลั่งน้ำมอบนางให้แก่ชายนั้น ข้าพเจ้าบริจาคภรรยา (ปชาบดี) เป็นทานข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่ามีจิตแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย... ๔.ข ้าพเจ ้าบร ิจาคโภคทร ัพย ์จำนวนมากแก่ผู ้ม ีศ ีลมีกัลยาณธรรมทั่วไป... ๕.ข้าพเจ้าเข้าไปหาภิกษุรูปใด ก็เข้าไปหาด้วยความเคารพเสมอไม่ใช่เข้าไปด้วยความไม่เคารพ... ๖.หากภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ฟังด้วยความเคารพ ไม่ใช่ฟังด้วยความไม่เคารพ หากท่านไม่แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าข้าพเจ้าก็จะแสดงธรรมแก่ภิกษุนั้น... ๗.มีเทวดาทั ้งหลายเข้ามาหาและบอกแก่ข้าพเจ้าว่า“ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว” ข้าพเจ้าจึงบอกแก่เทวดาเหล่านั้นว่าท่านทั้งหลายจะบอกหรือไม่บอกก็ตามแท้ที่จริงธรรมนั้นก็ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าไม่ได้เกิดความรู้สึกถูกใจตามที่ท่าน

Page 11: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

11สายตรงศาสนา

ทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จลุกออกจากเรือนไป(องฺ. ปญฺจก. ข้อ ๔๔)

ท่านอธิบายว่า สาลปุบผกะคือของเคี้ยวคล้ายดอกสาละทำด้วยแป้งข้าวสาลีปรุงด้วยของอร่อย ๔ ชนิด ตกแต่งให้มีสีนำกลีบและเกสรทอดในน้ำมันเนย ปรุงด้วยเครื ่องเทศมียี ่หร่าเป็นต้นสุกแล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำบรรจุภาชนะมีฝาปิดอบไว้ให้หอม คำว่า สมฺปนฺนวรสูกรมํสํ คือ เนื้อสุกรที่ปรุงด้วยเครื่องเทศกับพุทรามีรสดี ทำให้สุกแล้วเก็บไว้ ๑ ปี จึงกิน นาลิยสากะคือฝักนาลิยสากะคลุกกับแป้งสาลี แล้วทอดน้ำมันเนยปรุงด้วยของอร่อย๔ชนิดแล้วอบไว้ เตียงไม้จันทน์เป็นแผ่นไม้ใหญ่นัก ยาวประมาณ ๒ ศอกคืบเป็นของมีราคามาก พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วโปรดให้ซอยเป็นชิ้นเล็กๆให้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อทำเป็นยาหยอดตา

(องฺ. อ. ๓/๑๐๓-๔) ตายแล้วเกิดในพรหมโลกสุทธาวาส ต่อมาไม่นานนัก อุคคคฤหบดีก็ตายเกิดเป็นเทวดาในหมู่มโนมยะ เทพบุตรนั้นได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเชตวันกรุงสาวัตถี ในเวลากลางคืน ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนอุคคะ ตามที่ท่านตั้งความประสงค์ไว้ สมประสงค์แล้วหรือยัง?” กราบทูลว่า “ความประสงค์ของข้าพระองค์สำเร็จแล้ว พระเจ้าข้า” พระพุทธเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า “ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิดในที่ใด ๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ”

(องฺ. ปญฺจก. ข้อ ๔๔) ท่านว่า ภูมิที่อุบาสกนี้ไปเกิดในหมู่เทพมโนมยะ หมายถึงหมู ่เทพ (พรหม) ที ่บังเกิดด้วยใจที ่อยู ่ในฌานอย่างหนึ ่งในชั ้นสุทธาวาส พระพุทธเจ้าตรัสถามถึงความสมประสงค์ ก็เพราะครั้งเป็นมนุษย์เขาเคยปรารถนาจะบรรลุพระอรหัต เขากราบทูลว่าสำเร็จแล้วเพราะครั้งนี้เขาได้บรรลุอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว

(องฺ. อ. ๓/๑๐๓-๔)

ที่มา:หนังสือ๗๕อุบาสกพุทธสาวกอดีตชาติของพุทธสาวกในสมัยพุทธกาล

บอกเลย การที่เทวดาทั้งหลายมาหาข้าพเจ้าและได้ปราศรัยกันก็เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่๗ ๘.ข ้าพเจ ้าพ ิจารณาแล้ว ไม ่พบเห ็นส ังโยชน์ใด ๆในโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (กิเลส คือ สังโยชน์เบื ้องสูง เช่นกามราคสังโยชน์ เป็นต้น) ที ่ข้าพเจ้ายังละไม่ได้ นี ่ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่๘ อุคคคฤหบดีกล่าวจบแล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ลากลับไปเข้าเฝ้ากราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบความทั ้งหมด พระพุทธเจ้าตร ัสชื ่นชมว่า อ ุคคคฤหบดีอธิบายธรรม ๘ อันน่าอัศจรรย์ถูกต้องแล้วขอให้ภิกษุทั้งหลายจงทรงจำธรรม๘ประการนั้นไว้

(ดู องฺ. อฏฐก. ข้อ ๑๑๑) ทูลถามเหตุให้ปรินิพพาน ขณะที ่พระพ ุทธเจ ้าประท ับอยู ่ท ี ่กูฏาคารศาลาน ั ้นอุคคคฤหบดีเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า “ด้วยเหตุปัจจัยอะไรหนอ สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ? และด้วยเหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน ?” ตรัสตอบมีความสรุปว่า ที ่ไม่ปรินิพพานก็เพราะยังละตัณหาไม่ได้และที่ปรินิพพานได้ก็เพราะละตัณหาได้แล้ว

(ดู สํ. สฬ. ข้อ ๑๙๑) ถวายของชอบใจก่อนตาย ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จจากกูฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้กรุงเวสาลี เข้าไปยังเรือนของอุคคคฤหบดีประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ อุคคคฤหบดีเข้าไปถวายบังคม นั่งแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู ้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาจากพระองค์ว่า ผู ้ให้ของ ที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ดังนั้นข้าพระพุทธเจ้าขอให้พระองค์ ทรงรับสาลปุบผกะ ซึ่งเป็นอาหารที่ข้าพระพุทธเจ้าชอบใจด้วยเถิด”พระพุทธเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ทรงรับแล้ว อุคคคฤหบดีถวายเนื ้อสุกรอย่างดี ถวายนาลิยสากะซ ึ ่งทอดด้วยน้ำมัน ถวายข้าวสุกแห่งข ้าวสาลีท ี ่ขาวสะอาดม ีก ับข ้าวมาก ถวายผ้าท ี ่ทำในแคว้นกาสี พร ้อมกับย ้ำว ่าตนถวายก็เพราะสิ ่งเหล่านี ้เป็นของที ่ตนชอบใจ พอใจ ได้ทำตามพระพุทธดำรัสที่ว่า“ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ” จากนั ้น ถวายเตียงไม้จันทน์ซึ ่งมีค่ามากกว่า ๑ แสนกหาปณะ พระพุทธเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ทรงอนุโมทนาว่า “ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้สิ่งที่พอใจ ผู้ใดให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว และปัจจัยมีประการต่าง ๆ ด้วยความพอใจแก่ท่าน ผู ้ประพฤติตรง สิ ่งของที ่ให้ไปแล้วนั ้น ย่อมเป็นของที ่บริจาค สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน ผู ้นั ้นเป็นสัปบุรุษรู ้ชัดว่า พระอรหันต์ เปรียบเหมือนนาบุญ บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้ของ ที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ”

Page 12: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 12

ศาสนาอิสลาม

ปัญหาที่ ๕ การชักชวนให้นักศึกษาไทยมุสลิมไปร่วมในพิธี

และงานพิธีต่างๆที่ขัดกับหลักการศาสนาอิสลาม

เช่นวันสงกรานต์วันลอยกระทงการแห่เทียนพรรษา

เป็นต้นย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดความแตกแยก

ควรหาทางแก้ไขปัญหาป้องกันอย่างไร

คำตอบ วิธีป้องกันคืองานนี้ไม่ต้องเชิญมุสลิมเข้าร่วม

เพราะขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามอยู่แล้ว

ปัญหาที่ ๖ การที่หน่วยราชการได้ให้ใช้พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน

เพื่อให้ชาวไทยมุสลิมที่เป็นคู่กรณีหรือพยานสาบานตัว

จะขัดกับหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่

คำตอบการสาบานต้องสาบานต่ออัลเลาะห์(ซ.บ.)

และการใช้อัลกุรอานมาถือไว้ขณะสาบาน

ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

ปัญหาที่ ๗ การร่วมในพิธีวันสำคัญของชาติเช่นวันปิยมหาราช

มีการนำพวงมาลาแล้วมีการถวายบังคม

พระบรมรูปทรงม้าหรือพระบรมฉายาลักษณ์

ถ้าชาวไทยมุสลิมทำความเคารพด้วยการยืนตรง

หรือคำนับจะขัดกับหลักศาสนาอิสลามหรือไม่

และควรปฏิบัติตนอย่างไร

คำตอบการนำพวงมาลาไปถวายบังคม

พระบรมรูปทรงม้านั้นผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

เพราะอิสลามห้ามเคารพรูปปั้นไม่ว่าจะเป็น

รูปปั้นอะไรก็ตาม

- การยืนตรงต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์นั้น

ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลามเพราะมิใช่รูปปั้น

นักวิชาการอิสลามมีความเห็นว่า

๑.รูปปั้นหรือสลักหรือหลอมทุกชนิดเป็นสิ่งต้องห้าม

(ฮะรอม)

๒.รูปภาพไม่เป็นสิ่งต้องห้ามเมื่อรูปภาพไม่เป็นสิ่ง

ที่ต้องห้ามการจะแขวนไว้ที่ไหนก็ไม่ต้องห้าม

และการยืนต่อหน้ารูปภาพโดยมิได้เจตนาบูชา

จึงไม่เป็นการต้องห้าม

ปัญหาที่ ๘ การแต่งกายตามเครื่องแบบต่างๆเพื่อความเหมาะสม

ตามสถานการณ์และสถานที่เช่นการแต่งกาย

เครื่องแบบลูกเสือเครื่องแต่งกายนักกีฬาที่จำเป็นต้อง

นุ่งกางเกงขาสั้นเป็นต้นขัดกับหลักการศาสนาอิสลาม

หรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไร

คำตอบการแต่งกายแบบนั้นถือว่าผิดบทบัญญัติ

ศาสนาอิสลาม

ข้อแนะนำ ให้นุ่งกางเกงขายาวพ้นหัวเข่าหรือสวมถุงเท้า

ให้สูงขึ้นมา

ปัญหาที่ ๙ การจัดพิธีเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของ

พระบรมศาสดานบีมูฮำหมัดมีขอบเขตเพียงใด

ควรจะพิจารณา

๑. การแห่โดยเอาสุภาพสตรีถือบายศรีมาร่วมขบวนแห่

๒.การแต่งรถนำประกวดบางคันแต่งเป็นรูปสัตว์

เช่นเป็นรูปนก

คำตอบ ขอบเขตของงานเมาลิดกลางคือ

๑. อ่านกุรอาน

๒. อ่านประวัติท่านศาสดา

๓. อ่านบทขอพร(ดุอา)

๔.อ่านบทซิกรุลเลาะห์

๕.อ่านซอลาหวาด

๖.เลี้ยงอาหารแก่ผู้ร่วมพิธี

- การแห่สุภาพสตรีผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม

- การแต่งรถประกวดไม่ผิดบทบัญญัติทั้งนี้

ถ้าผู้แต่งไม่ยึดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา

โดยถือเป็นเพียงการประกวดตามระเบียบ

ประเพณี

- การแต่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆผิดบทบัญญัติ

ศาสนาอิสลาม

ปัญหาที่ ๑๐ ทำไมในท้องถิ่นที่มีคนไทยมุสลิมมากโรงเรียน

และสถานที่ราชการจึงไม่หยุดในวันศุกร์และวันเสาร์

คำตอบจุฬาราชมนตรี (ประเสริฐ มะหะหมัด)

เกี่ยวกับปัญหาขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม จากการรวบรวมโดย ศอ.บต.

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

Page 13: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

13สายตรงศาสนา

เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและข้าราชการมุสลิม

ไปละหมาดในวันศุกร์ได้

ตำตอบเพราะทางราชการมีคำสั่งไว้อย่างนั้น ความจริง

สมัยแรกก็อนุโลมให้ท้องถิ่นที่มีมุสลิมหยุดวันพฤหัส

วันศุกร์แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงเป็นวันเสาร์-อาทิตย์

ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามข้อใช้ทางศาสนา

ปัญหาที่ ๑๑พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์

ฝ่ายศาสนาอิสลามกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ

ไม่เหมาะสมกับปัจจุบันทางสำนักจุฬาราชมนตรี

จะดำเนินการอย่างไร

คำตอบ กระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง

คณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งทำหน้าที่ร่าง

“พระราชบัญญัติบริหารกิจการศาสนาอิสลาม”

ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ส่งต้นฉบับที่เสร็จเรียบร้อย

มาให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

พิจารณาและจะส่งกลับกระทรวงมหาดไทย

เพื่อดำเนินการต่อไป

ปัญหาที่ ๑๒ ให้พิจารณาปัญหาการให้สลามของนักเรียนในห้อง

และในโรงเรียน

คำตอบ ถ้าครูและนักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิม

ก็ควรให้มีการกล่าวสลามเพื่อฝึกวัฒนธรรมทางศาสนา

แต่การจะใช้คำสวัสดีและการไหว้ก็ไม่ขัดกับหลักการ

ศาสนาอิสลามทั้งนี้หากกระทำต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม

ก็ทำอย่างหลัง

ปัญหาที่ ๑๓ ให้พิจารณาหนังสือ“ศาสนาเปรียบเทียบ”

ของเสถียรพันธุรังษีได้เขียนข้อความที่ขัดกับ

หลักการศาสนาอิสลามสมควรให้สำนักจุฬาราชมนตรี

พิจารณาดูว่าข้อความใดที่ควรจะต้องทอนออกหรือไม่

อย่างไร

คำตอบศอ.บต.ควรจะจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการ

ในเรื่องนี้ด้วยเพราะมีงบประมาณของทางราชการพร้อมมูล

ส่วนสำนักจุฬาราชมนตรีนั้นไม่มีงบประมาณดำเนินการ

อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

ปัญหาที่ ๑๔ ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ว่า

เมื่อนักเรียนเข้าแถวเชิญธงชาติแล้วให้มีการสวดมนต์

ไหว้พระซึ่งเรื่องนี้นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม

ไม่สามารถจะปฏิบัติได้และตามระเบียบไม่ได้กำหนด

หรือชี้แนะไว้ว่าให้นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม

ทำอย่างไรเรื่องนี้ควรจะได้เสนอแนวทางปฏิบัติ

ที่เหมาะสมแก่กระทรวงศึกษาธิการ

คำตอบ สำหรับนักเรียนมุสลิมควรทำดังต่อไปนี้

๑.ให้นักเรียนกล่าวทบทวนรูก่นอีหม่านรูก่นอิสลาม

๒. ให้นักเรียนอ่านดุอาเช่นความว่า“โอ้อัลลอฮ์/

โปรดเปิดความรู้แก่พวกเรา และโปรดแผ่กระจายคลัง

แห่งเมตตาของพระองค์แก่พวกเราโอพระผู้ทรงเมตตา

ยิ่งกว่าบรรดาผู้เมตตาทั้งปวง”

๓. จบด้วยการซอลาหวาดแก่ท่านนบีซ.ล.

ปัญหาที่ ๑๕ปัญหาคำว่า“เมือง” ที่เป็นอำเภอมีสถานีตำรวจ

เทศบาลฯลฯแล้วถือเป็นเมืองที่จะแยกมัสยิดไม่ได้

แต่มุสลิมกลุ่มหนึ่งตีความว่า“เมือง”ที่จะแยกมัสยิด

ไม่ได้จะต้องเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยมุสลิมเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยคนศาสนาอื่น

ถือว่าไม่เป็นเมืองสามารถแยกมัสยิดได้เช่นในกรณี

๓จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่าคนไทยพุทธปกครอง

ใคร่ขอทราบความจริงที่ถูกต้อง

คำตอบ ความเห็นเช่นนั้นไม่ถูกต้องการสร้างมัสยิด

เพื่อทำละหมาดวันศุกร์นั้นให้สร้างได้ทั้งสิ้นในพื้นที่

ทุกลักษณะคือ

๑. เมืองใหญ่คือเมืองที่มีสถานที่ทำการทางราชการ

เช่นศาลสถานีตำรวจที่ว่าการอำเภอ

และแหล่งทำการค้าและธุรกิจต่างๆอย่างกว้างขวาง

๒. เมืองเล็กคือเมืองที่มีสิ่งดังกล่าวน้อยกว่า

ไม่ครบถ้วนเหมือนเมืองใหญ่

๓. หมู่บ้านหมู่บ้านที่ไม่มีที่ทำการต่างๆและไม่มี

แหล่งธุรกิจตามที่กล่าวมาเลยส่วนการจัดสร้างเพิ่ม

เพื่อละหมาดวันศุกร์ซ้อนขึ้นมาอีกนั้นหากมัสยิดเก่าแคบ

ไม่จุคนละหมาดก็สามารถจะทำซ้อนขึ้นมาได้

ปัญหาที่ ๑๖ปัญหาพวก“ดะวะห์” ซึ่งมีความหมายว่า

การเผยแพร่ศาสนาจะพูดเกี่ยวกับหลักศาสนาทั่วๆไป

พูดถึงบาปบุญทั้งโลกนี้และโลกหน้าปัญหาที่เกิดขึ้น

ก็คือพวกดะวะห์พูดให้คนมุสลิมสามัคคีกัน

แต่มีความหมายเท่ากับไม่ให้สามัคคีกับคนที่นับถือ

ศาสนาอื่นในบางครั้งพวกถือรุนแรงไปห้ามคนมุสลิม

เข้าร้านคนไทยพุทธใคร่ขอทราบความจริงที่ถูกต้อง

คำตอบได้ค้นคว้าหลักการของ“ดะวะห์”แล้ว

ไม่มีระบุให้แตกสามัคคีกับคนต่างศาสนา

หลักการของดะวะฮฺก็คือหลักอิสลามนั่นเอง

ส่วนบางคนที่มีความคิดรุนแรงไปนั้นก็เรื่องของ

คนส่วนน้อยซึ่งต้องค่อยๆชี้แจงให้เข้าใจ

ข้อเสนอแนะ ควรเชิญหัวหน้ากลุ่มดะวะห์มาพบ

เพื่อซักซ้อมความเข้าใจกันบ่อยๆและทางราชการ

ควรอำนวยความสะดวกแก่การจัดกิจกรรมดะวะห์

อย่างจริงจังเพราะเป็นผลดีต่อทางราชการโดยตรง

(อ่านต่อฉบับหน้า)

ที่มา:หนังสือศาสนาสร้างสันติกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม

Page 14: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 1�

มุมธรรมะ

เลสมีมากเพียงใด ทุกข์มีมากเพียงนั้น ความทุกข์จะต้องมีอยู่ ตราบที่กิเลสทั้งสามกอง

คือ โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่ กิเลสมีมากเพียงใด ทุกข์มีมาก

เพียงนั้น เมื่อใดกิเลสสามกองหมดไปจากจิตใจอย่างสิ้นเชิง

แล้วนั่นแหละความทุกข์จึงจะหมดไปจากจิตใจอย่างสิ้นเชิงได้

จึงควรพยายามทำกิเลสให้หมดสิ้นให้จงได้ มีมานะพากเพียร

ใช้สติใช้ปัญญาให้รอบคอบ เต็มความสามารถให้ทุกเวลา

นาทีที่ทำได้แล้วจะเป็นผู้ชนะ

ความทุกข์ทั้งสิ้น เกิดจากกิเลสในใจเป็นสำคัญ เราทุกคนต้องการเป็นสุข ต้องการพ้นทุกข์ แต่ไม่ปฏิบัติ

เพื่อความเป็นสุข เพื่อความสิ้นทุกข์ แล้วผลจะเกิดได้อย่างไร

ความคิดเร่าร้อนต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้เป็นทุกข์กันอยู่ในทุกวันนี้

ล้วนเกิดจากกิเลสในใจเป็นเหตุสำคัญทั้งสิ้น กิเลสนั่นแหละ

เป็นเครื่องบัญชาให้ความคิดเป็นไปในทางก่อทุกข์ทุกประการ

ถ้าไม่มีกิเลสพาให้เป็นไปแล้ว ความคิดจะไม่เป็นไปในทาง

ก่อทุกข์เลย ความคิดจะเป็นไปเพื่อความสงบสุขของตนเอง

ของส่วนรวมตลอดจนถึงของชาติของโลก

ทำความเชื่อมั่นว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริง จักสามารถ แก้ปัญหาทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งปวงได้ ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่าต้องพยายามทำความเชื่อมั่น

ให้เกิดขึ้นเสียก่อนว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริงคือกิเลสนี้แหละ

ทำให้คิดไปในทางเป็นทุกข์ต่าง ๆ เมื่อยังกำจัดกิเลสไม่ได้

จริง ๆ ก็ต้องฝืนใจหยุดความคิดอันเต็มไปด้วยกิเลสเร่าร้อน

เสียก่อน การหยุดความคิดที ่เป็นโทษ เป็นความร้อนนั ้น

ทำได้ง่ายกว่าตัดรากถอนโคนกิเลส ฉะนั้นในขั้นแรกก่อนที่จะ

สามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ก็ให้ฝืนใจไม่คิดไปในทางเป็นทุกข์

เป็นโทษให้ได้เป็นครั้งคราวก่อนก็ยังดี

หยุดความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของกิเลส อย่าเข้าข้างตัวเองผิด ๆ ดูตัวเองให้เข้าใจ เมื่อโลภ

เกิดขึ ้นให้รู ้ว่ากำลังคิดโลภแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย

เมื่อโกรธเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโกรธแล้ว และหยุดความคิด

นั้นเสียเมื่อหลงให้รู้ว่ากำลังคิดหลงและหยุดความคิดนั้นเสีย

หัดหยุดความคิดที่เป็นกิเลสเสียก่อนตั้งแต่บัดนี้เถิด จะเป็น

การเริ่มฐานต่อต้านกำราบปราบทุกข์ให้สิ้นไปที่จะให้ผลจริงแท้

แน่นอน ความคิดของคนทุกคนแยกออกได้เป็นสองอย่าง

หนึ่งคือความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง

อีกอย่างหนึ่งคือความคิดที่พ้นจากอำนาจของความโลภ โกรธ

หลง ความคิดอย่างแรกเป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อน ความคิด

อย่างหลังไม่เป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อน

นับถือผู้สั่งสอนความถูกต้องดีงามเป็นครู จะถือผู้ใด สิ่งใดเป็นครูได้ ก็ต้องเมื่อผู้นั้นสอนความ

ถูกต้องดีงามให้เท่านั้น ต้องไม่ถือผู้ที่สอนความไม่ถูกไม่งาม

เป็นครูโดยเด็ดขาด และที่ว่าต้องไม่ถือเป็นครูหมายความว่า

ต้องไม่ปฏิบัติตามที่ว่าให้ถือเป็นครูก็คือให้ปฏิบัติตาม

ทุกคนมีหน้าที่เป็นศิษย์ หน้าที่ของศิษย์ก็คือปฏิบัติ

ตามครูอย่างให้ความเคารพ กล่าวได้ว่าให้เคารพและปฏิบัติ

ตามคนดี แบบอย่างท ี ่ด ี รำล ึกถ ึงคนดีและแบบอย่าง

ที ่ดีไว้เสมอ อย่างมีกตัญญูกตเวที คือรู ้พระคุณท่านและ

ความดีเปรียบประดุจแสงสว่าง

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

กิ

Page 15: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

1�สายตรงศาสนา

ตอบแทนพระคุณท่าน การตอบแทนก็คือทำตนเองให้ได้

เหมือนครู นั่นเป็นการถูกต้องสมควรที่สุด จะได้รับความสุข

สวัสดีตลอดไป

ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ ผู้ที่ทำบุญ

ทำกุศลอยู่สม่ำเสมอเพียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของ

ความดี บางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ดี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ

เช่นนี ้ก ็เหมือนจุดไฟในท่ามกลางแสงสว่างยามกลางวัน

ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากแสงสว่างนั้น แต่ถ้าตกต่ำมีความมืด

มาบดบัง แสงสว่างนั้นย่อมปรากฏขจัดความมืดให้สิ ้นไป

สามารถแลเห็นอะไรๆได้ เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้จึงย่อม

สามารถหลีกพ้นอันตรายเสียได้ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน

เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด ย่อม

ไม่อาจขจัดความมืดได้ไม่อาจเห็นอันตรายได้ไม่อาจหลีกพ้น

อันตรายได้

ผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว สามารถดำรงตนอยู่ ได้ด้วยความดี ที่ทำอยู่ ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว ไปถึงที่มืด

คือที่คับขันย่อมสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีพอสมควรกับ

ความดีที่ทำอยู่ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดีซึ่งเหมือนกับ

ผู ้ไม ่ม ีแสงสว่างอยู ่ก ับตัว ขณะยังอยู ่ในที ่สว ่าง อยู ่ใน

ความสว่าง ก็ไม่ได้รับความเดือดร้อน แต่เมื ่อใดตกไปอยู่

ในที่มืด คือที่คับขันย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสวัสดี

ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็นไม่อาจหลีกพ้นคนทำดีไว้เสมอ

กับคนไม่ทำดีแตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง

การทำความดี ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ การทำดีต้องไม่มีพอ ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพราะ

ไม่ม ีใครอาจประมาณได้ว ่าเม ื ่อใดจะตกไปในที ่ม ืดมิด

ขนาดไหน ต้องการแสงสว่างจัดเพียงใด ถ้าไม่ตกเข้าไป

ในที่มืดมิดมากมายนัก มีแสงสว่างมากไว้ก่อนก็ไม่ขาดทุน

ไม่เสียหายแต่ถ้าตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมายแสงสว่างน้อย

ก็จะไม่เพียงพอจะเห็นอะไรๆได้ถนัดชัดเจนการมีแสงสว่างมาก

จะช่วยให้รอดพ้นจากการสะดุดหกล้มลงเหวลงคู หร ือ

ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายจนถึงตายถึงเป็น

อานุภาพของความดีหรือบุญกุศล อานุภาพของความดีหรือบุญกุศลนั้น เป็นอัศจรรย์จริง

เชื ่อไว้ดีกว่าไม่เชื ่อ และเมื ่อเชื ่อแล้วก็ให้พากันแสวงหา

อานุภาพของความดีหรือของบุญกุศล

นำกิ เลสออกจากใจหมดสิ้นเชิง ใจก็บริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพที่แท้จริงของใจ ที่จริงนั้นใจบริสุทธิ์ผ่องใส กิเลสเข้าจับทำให้สกปรกไป

ตามกิเลส ปล่อยให้กิเลสจับมากเพียงไรใจก็สกปรกมากขึ้น

เพียงนั้น นำกิเลสออกเสียบ้าง...ใจก็จะลดความสกปรกลงบ้าง

นำกิเลสออกมาก...ใจก็ลดความสกปรกลงมาก นำกิเลส

ออกหมดสิ้นเชิง...ใจก็บริสุทธิ ์สิ ้นเชิง เป็นสภาพที่แท้จริง

มีความผ่องใส เมื่อใจกับความสกปรกหรือกิเลสเป็นคนละอย่าง

ไม่ใช่อย่างเดียวอันเดียวกัน ทุกคนจึงสามารถจะแยกใจของตน

ให้พ้นจากกิเลสได้คือสามารถจะนำกิเลสออกจากใจได้

การทำใจให้เป็นสุข ต้องทำด้วยตัวเอง การจะทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั ้น ไม่มีใครจะทำให้

ใครได้ เจ้าตัวต้องทำของตัวเอง วิธีทำก็คือ เมื ่อเกิดโลภ

โกรธ หลงขึ ้นเมื ่อใด ให้พยายามมีสติรู ้ให้เร ็วที ่สุด และ

ใช้ปัญญายับยั ้งเสียให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะ

จะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้าก็ยิ่งดับยาก และเสียหายมาก

โดยไม่จำเป็น

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ชี้ชัดได้ว่า สิ่งใดคือดี สิ่งใดคือชั่ว อย่างถูกต้อง ถ้าไม่รู้จริง ๆ ว่าอะไรคือดีอะไรคือชั่วก็ศึกษาพระธรรม

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเชื่อตามที่ทรงสอน ก็จะรู้ว่า

อะไรคือดี อะไรคือชั่ว ที่จริงแล้วทุกคนรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว

แต่ไม่พยายามรับรู้ความจริงนั้นว่าเป็นความจริงสำหรับตนเอง

ด้วยมักจะให้เป็นความจริงสำหรับผู้อื่นเท่านั้น ดังที่ปรากฏ

อยู่เสมอ ผู้ที่ว่าคนนั้นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ และตัวเองก็เป็น

เช่นนั้นด้วย โดยตัวเองก็หาได้ตำหนิตัวเองเช่นที่ตำหนิผู้อื่นไม่

ถ้าจะให้ดีจริงๆถูกต้องสมควรจริงๆแล้วก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า

ท่านทรงสอนให้เตือนตน แก้ไขตน ก่อนจะเตือนผู้อื่น แก้ไข

ผู้อื่น

Page 16: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 1�

ภาพกิจกรรม

ประชุมรวมพลังหน่วยพุทธศาสนาในสถานศึกษา กรมการศาสนาร่วมกับเครือข่ายหน่วยพุทธศาสนาในสถานศึกษาส่วนกลางกรุงเทพมหานครจัดโครงการประชุมรวมพลัง

หน่วยพุทธศาสนาในสถานศึกษาส่งเสริมคุณธรรม ประจำปี ๒๕๕๓ ณ โรงละครแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันจันทร์ที่๒สิงหาคม๒๕๕๓โดยมีนายวิทูร กรุณาที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในพิธีเปิด

การประชุม

Page 17: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

1�สายตรงศาสนา

ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานโครงการลานบุญลานปัญญา กรมการศาสนาได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการลานบุญลานปัญญา ภายใต้แผนปฏิบัติการ

ไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒) ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรม

แกรนด์ เดอ วิว กรุงเทพมหานคร โดยมีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด

การประชุม

Page 18: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 1�

เข้าวัดวันธรรมสวนะ วัดจันทร์ประดิษฐาราม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ รองอธิบดีกรมการศาสนา พร้อมด้วยข้าราชการ

เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา หน่วยงานราชการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน

เข้าร่วมกิจกรรมในวันธรรมสวนะ ณ วัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ

กรุงเทพมหานครเมื่อวันอังคารที่๑๐สิงหาคม๒๕๕๓

Page 19: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

1�สายตรงศาสนา

เข้าวัดวันธรรมสวนะ วัดศาลาแดง นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนาพร้อมด้วยข้าราชการเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาหน่วยงานราชการนักศึกษา

และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมในวันธรรมสวนะ ณ วัดศาลาแดง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร เมื่อวันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม

๒๕๕๓

Page 20: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 20

เข้าวัดวันธรรมสวนะ วัดเจ้าอาม นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนาพร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาหน่วยงานราชการนักเรียน

นักศึกษาและประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมในวันธรรมสวนะณวัดเจ้าอาม เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร เมื่อวันพุธที่๒๕

สิงหาคม๒๕๕๓

Page 21: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

21สายตรงศาสนา

เข้าวัดวันธรรมสวนะ

ประวัติความเป็นมา หนังสือสวดมนต์สำหรับภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชน

ทั่วไป วัดพระยายังได้กล่าวถึงประวัติของชื่อวัดไว้ดังนี้

นามวัดในหนังสืออนุสรณ์ที่พิมพ์แจกในงานพระราชทาน

เพลิงศพ พระครูวิสุทธิคุณาธาร (สังข์ ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาส

วัดพระยายัง รูปที่ ๗ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ หน้า ๑๒

สันนิษฐานชื่อวัดพระยายังไว้ว่า เมื่อสร้างวัดนั้น น่าจะไม่ได้ขอ

พระราชทานนามวัดหรือชื่อวัด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดหรือผู้ที่รู้จักชื่อ

ผู้สร้างวัดจึงพากันเรียกว่า วัดพระยายัง ตามชื่อเดิมของผู้สร้างวัด

ผู้สร้างวัดพระยายัง คือ พระยามหานิเวศนานุรักษ์ (ยัง รักตะประจิตต์)

ซึ่งเคยเป็นแม่ทัพได้ยกทัพไปตีหัวเมืองเขมรมีชัยชนะ ได้กวาดต้อน

ครัวเขมรมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู ่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั ้งบ้านเรือนอยู ่ใกล้

ริมคลองแสนแสบซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือบ้านครัว

ในหนังสือสวดมนต์ดังกล่าวได้ระบุว่า มูลเหตุที่สร้าง

วัดพระยายังนั้น เนื่องมาจากที่ดินริมคลองแสนแสบฝั่งเหนือเมื่อได้

จัดตั้งบ้านเรือนให้ครัวเขมรอยู่เรียบร้อยแล้ว ด้านตะวันตกของ

บ้านครัวเขมรยังมีที่ดินเหลืออยู่ถึงคลองส้มป่อยฝั่งตะวันออกพอที่

จะสร้างวัดได้ อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพระยามหานิเวศนานุรักษ์

เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ยึดมั่นเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาแรงกล้าที่จะสร้างวัดถวายเป็น

พุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา อีกประการหนึ่งเป็นประเพณี

สืบต่อกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อแม่ทัพผู้มีชัยชนะกลับมานิยมสร้างวัดเป็นอนุสรณ์

วัดพระยายัง

กรมการศาสนาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทุกวันธรรมสวนะ ณ วัดใกล้บ้านหรือร่วมเข้าวัดกับกรมการศาสนา ซึ่งในเดือนกันยายน ๒๕๕๓ กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดพระยายัง (วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน), วัดวิเศษการ (วันพุธที่ ๘ กันยายน), วัดราษฎร์บำรุง (วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน), วัดท่าพระ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน) จึงขอนำเสนอประวัติวัดดังกล่าวโดยย่อ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ

ต่อมาวัดพระยายังได้ชำรุดทรุดโทรมสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระดำริว่า วัดพระยายังเป็น

วัดราษฎร์ขนาดเล็กมีพระภิกษุสงฆ์อยู่ไม่มากวัดก็ชำรุดทรุดโทรม

บูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นดังเดิมได้ยาก แต่เมื่อรวมกับวัดบรมนิวาส

ก็จะเจริญขึ้น และจะง่ายต่อการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้รับสั่งให้

วัดพระยายังขึ้นอยู่ในการปกครองของวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

พระอารามหลวงในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)

เมื ่อครั ้งยังเป็นพระญาณรักขิต เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

เรียกว่า คณะพระยายัง พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จึงได้ให้พระครู

ใบฎีกาเพ็ง วัดบรมนิวาส ฐานานุกรมของท่าน (ต่อมาได้เป็น

พระราชาคณะที่พระปราจีนมุนี เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี)มาอยู่

เป็นเจ้าคณะพระยายังพร้อมกันนี้ได้ให้พระครูสมุห์ใช้วัดบรมนิวาส

ฐานานุกรมของท่าน ซึ่งเป็นพระที่มีความรู้ความเข้าใจถนัดในการ

ก่อสร้างมาอยู่ด้วย

สถานะและที่ตั้ง วัดพระยายัง ตั ้งอยู ่เลขที ่ ๑ ถนนพระราม ๖ แขวง

ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน

๘๙ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับช่อฟ้า ใบระกา

หางหงส์หลังคาลด๓ชั้นขนาดกว้าง๘.๐๕เมตรยาว๒๓.๗๕

เมตร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๐ นิ ้ว

สูง๑๑๘นิ้วเป็นพระประธาน

ปัจจุบ ัน พระเทพกวี (สฤษฎิ ์ โชติปญฺโญ ป.ธ. ๘)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 22: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 22

ประวัติความเป็นมา วัดวิเศษการ เดิมชื่อว่า วัดหมื่นรักษ์ สร้างขึ้น

โดยกรมหลวงรักษรณเรศ (หม่อมไกรสร) ซ ึ ่งได้

สร้างวัดลบล้างบาปหลังจากเสร็จศึกสงคราม ต่อมา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อ

เป็นวัดวิเศษการ

สถานะและที่ตั้ง วัดวิเศษการ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒ แขวงบ้านช่างหล่อ

เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีเนื ้อที่ ๖ ไร่

๓งาน๓๔ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๖.๕๐

เมตร ยาว ๑๓ เมตร มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม

แบบศิลปะจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับ

ชามสังคโลก มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก

กว้าง ๓ ศอก เชื่อกันว่า นำมาจากวัดพระเชตุพน

วิมลมังคลาราม ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อมงคลวิเศษ

เชียงแสน

วัดวิเศษการ

ฝาผนังอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธรูปปางต่าง ๆ

และเหตุการณ์ในพุทธประวัติ

วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๗ เมตร

ยาว๑๘เมตร

เจดีย์สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับวัด

ปัจจุบันพระศรีวิสุทธิดิลก(วันอุตฺตโมป.ธ.๙)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 23: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

23สายตรงศาสนา

ประวัติความเป็นมา วัดราษฎร์บำรุง สร ้างเม ื ่อ พ.ศ. ๒๔๒๕

ไม่ปรากฏนามผู ้สร้าง เดิมเป็นวัดมอญ ต่อมาได้

เปลี่ยนมาสังกัดธรรมยุติกนิกาย ได้รับพระราชทาน

วิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙

สถานะและที่ตั้ง วัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่เลขที่๑๐ถนนเพชรเกษม

แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่

๑๕ไร่

วัดราษฎร์บำรุง

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนศิลปะประยุกต์

สร้างเมื ่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยการบริจาคทรัพย์ของ

คุณพ่อสง่า คุณแม่ทองอยู่ คุณวณี คุณวนิดา นาควัชระ

ขนาดกว้าง ๘ วา ยาว ๑๒ วา ม ีพระพุทธรูป

ปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง๙ศอกเศษซึ่งสร้าง

เมื่อพ.ศ.๒๕๔๖เป็นพระประธาน

ส่วนอุโบสถหลังเก่าสร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๗๓

ศาลาการเปรียญ กว ้าง ๒๒.๕๐ เมตร

ยาว๔๖.๒๐เมตร

ปัจจุบันพระราชวิสุทธิมุนี (สำราญ อนิสฺสิโต)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 24: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 2�

ประวัติความเป็นมา วัดท่าพระ ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงผู ้สร้าง

เดิมชื่อว่า วัดเกาะ แต่เอกสารทางราชการใช้ว่า วัดเกาะ

ท่าพระ ปัจจุบ ันคำว่า เกาะ หายไป คงเหลือแต่เพียง

วัดท่าพระประวัติการสร้างวัดนั้นเล่ากันสืบมาว่า เดิมสถานที่

สร้างวัดเป็นเกาะใหญ่มีน้ำล้อมรอบ เป็นที่พักร้อนพักเหนื่อย

ของชาวบ้าน ต่อมาเมื ่อเห็นว่าเป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน

จึงได้มีการสร้างเป็นวัดเพื่อปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา และ

หล่อหลวงพ่อเกษรขึ้นเพื่อสักการบูชา

สถานะและที่ตั้ง วัดท่าพระ ตั้งอยู ่เลขที ่ ๒๐/๑ ถนนจรัญสนิทวงศ์

แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีเนื ้อที่

๒๓ไร่๑งาน๔๔.๖ตารางวา

วัดท่าพระ

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนประดับช่อฟ้าใบระกา

หางหงส์ หลังคาลด ๓ ชั้น หน้าบันมีพระปรมาภิไธย สก

และปั ้นเป ็นรูปคร ุฑ กว ้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๘ เมตร

สร้างเมื ่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ผนังด้านนอกทำเป็นรูปเทพนม

ทั้ง ๔ ด้าน มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง

๘๐นิ้วเป็นพระประธาน

วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน แบบจัตุรมุข กว้าง

๒๔ เมตร ยาว ๒๘ เมตร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเกษร

ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว ปางสมาธิ หล่อด้วยโลหะ ลงรัก

ปิดทอง

หลวงพ่อเกษร ประวัติการสร้างหลวงพ่อเกษรนั้น

ไม่ปรากฏหลักฐาน มีตำนานเล่ากันสืบมาว่า เป็นพระพี ่

พระน ้องก ับหลวงพ่อโสธรและหลวงพ่อว ัดบ ้านแหลม

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ทางวัดได้บูรณะองค์หลวงพ่อเกษรใหม่

ได้พบจารึกที่องค์พระซึ่งนั่งอยู่ด้านหน้าของหลวงพ่อเกษร

ซึ ่งมีลักษณะเป็นหญิงมากกว่าเป็นชาย เพราะมีลักษณะ

ใส่เสื้อคอปิดมีกระดุมกลัดที่คอเสื้อนั้น๑ เม็ดสันนิษฐานว่า

เป็นพระภิกษุณี มีรอยจารึกด้านหน้าว่า หลวงมหานาก

วัดประสาด ด้านหลังจารึกว่า สักราชใด ๒๒๖๙ พระวะสา

ปีมะเมียอัฎ๓เดือน๔วัน๕

ปัจจุบันพระครูมงคลกิจจานุกูล (ธงชัย โชติโย)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 25: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

2�สายตรงศาสนา

นิทานธรรมะ

จิ้งจอก กับราชสีห์

ค รั ้งหนึ ่งในป่าหิมพานต์ มีราชสีห์ฝูงหนึ ่งเป็น

พี ่น ้องร่วมท้องเดียวกัน เมื ่อราชสีห์ตัวพ่อ

ตายไปแล้ว ได้พากันอาศัยอยู่ในถ้ำกาญจนคูหา (ถ้ำมีสี

ดังทอง) ราชสีห์ทั้งหลายต่างมีความรักใคร่กันเป็นอย่างดี

ตัวสุดท้องเป็นตัวเมีย จึงถูกแบ่งหน้าที่ให้เป็นผู้เฝ้าถ้ำ

ไม่ต้องออกไปหากิน เมื่อราชสีห์ตัวพี่ ๆ หามาได้ก็คาบ

เอาเนื้อมาฝากเสมอได้อยู่กันด้วยความผาสุกตลอดมา

ณถ้ำใกล้กาญจนคูหาของราชสีห์นั้นมีถ้ำแก้วผลึก

อยู ่ถ้ำหนึ ่ง นัยว่าถ้ำแก้วผลึกนี ้มีหินใสคล้ายกระจก

สัตว์ข้างนอกอาจมองเห็นสัตว์ที่อยู่ภายในได้ชัดเจนจึงได้

ชื ่อว่าถ้ำแก้วผลึก ในถ้ำนี ้มีสุนัขจิ ้งจอกตัวหนึ่งอาศัย

เป็นที่หลับนอนตลอดมา

วันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกนึกครึ้มใจ ใคร่จะเข้าไปเที่ยว

ถ้ำราชสีห์ เมื ่อสังเกตเห็นว่า ราชสีห์ตัวผู ้ออกจากถ้ำ

ไปหากินกันหมดแล้ว เหลือแต่ราชสีห์สาวน้อยเฝ้าถ้ำ

จึงค่อยๆย่องเข้าไปแล้วแสดงอาการล้อเลียนหวังให้เกิด

ความพอใจแก่ราชสีห์สาว นางราชสีห์เห็นว่าสุนัขจิ้งจอก

เป็นสัตว์ชั ้นต่ำ จึงมิได้สนใจในอาการกิร ิยาของมัน

เจ้าสุนัขจิ ้งจอกจึงได้ใจ เข้าใจว่าราชสีห์สาวคงพอใจ

ในตัวบ้าง จึงแสดงอาการของสัตว์เป็นเชิงเกี้ยวพาราสี

กล่าวถ้อยคำด้วยภาษาสัตว์

“แม่สาวน้อยเธอก็เป็นสัตว์สี่เท้า ฉันก็เป็นสัตว์สี่เท้า

ชื่อว่าเรามีศักดิ์ศรีเสมอกัน ถ้าเราจะอยู่ร่วมกันฉันท์สามี

ภรรยาคงไม่เป็นไร เชิญมาอยู่ร่วมกับฉันเถิด”

นางราชสีห์ได้ฟังดังนั้นก็โกรธมาก จึงแผดเสียง

คำรามจนสุนัขจิ้งจอกสะดุ้งกลัวแล้วหลีกหนีไป แต่นาง

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

อย่าทำการโดยผลีผลาม

มาน้อยใจว่า ตนเก ิดมาในตระกูลราชสีห ์เป ็นสัตว ์

ประเสร ิฐ มาถูกเจ ้าส ุน ัขจ ิ ้งจอกสัตว ์ช ั ้นต ่ำกล่าว

เหยียดหยามลวนลามดังนั้นก็เสียใจ ใคร่จะฆ่าตัวตายเสีย

แต่หวนรำลึกถึงพี ่ชายทั้งหลายซึ ่งก็ยังไม่กลับจากป่า

Page 26: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 2�

จึงคิดว่า“ควรแจ้งเรื่องทั้งหมดให้พี่ ๆ รับทราบจึงค่อยตาย

เก็บเรื่องนั้นไว้เพื่อบอกแก่ราชสีห์พี่ชายตน”

ราชสีห์ผู้ตัวน้องมาถึงถ้ำก่อนเห็นราชสีห์น้องน้อย

มีหน้าไม่เบิกบานเหมือนก่อน ๆ และไม่ยอมรับชิ้นเนื้อ

ที่คาบมาให้ เข้าใจว่าคงไม่สบายด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง

จึงถามขึ้น

“น้องเอ๋ย วันนี้ดูน้องไม่มีสุขเลย เกิดเจ็บไข้หรือ

มีใครมารังแกประการใด บอกพี่มาเถิดจะช่วยจัดการให้”

ราชสีห์สาวเล่าความทั้งน้ำตาว่า

“พี่จ๋า เมื่อสักครู่นี้เจ้าสุนัขจิ้งจอกชาติชั่วเข้ามา

ในถ้ำของเรา มันบังอาจใช้วาจาหยาบเกี ้ยวพาราสี

ชวนให้ไปอยู่ร่วมกันกับมัน น้องฟังแล้วทั้งเจ็บทั้งอาย

อยากจะตายไปเสียให้พ้นอาย จึงไม่มีความสบายใจ”

ลูกสีหะตัวพี่ได้ฟังดังนั้นก็โกรธจึงถามว่า

“เวลานี้เจ้าสุนัขจิ้งจอกตัวนั้นมันอยู่ที่ไหนพี่จะไป

จับมันฉีกเนื้อเสียในบัดนี้” เมื่อได้ทราบว่าสุนัขจิ้งจอก

นอนอยู ่ในถ้ำแก้วผลึกอีกถ้ำหนึ ่ง ด ้วยอารามโกรธ

ไม่ทันได้พิจารณา เข้าใจว่าสุนัขจิ้งจอกนอนอยู่ในที่โล่ง

จึงกระโจนอย่างสุดแรงพุ่งตัวเข้าหาหวังจะจับฉีกเนื้อเสีย

ศีรษะจึงปะทะเข้ากับกำแพงผลึกอย่างถนัด ทำให้ศีรษะแตก

มันสมองไหลคอหักตายกลิ้งตกลงมาจากเชิงเขา

ฝ ่ายลูกส ีหะตัวถ ัดไป มาถึงถ ้ำเห ็นน ้องสาว

ไม่สบายใจจึงถามเช่นคราวก่อน เมื่อทราบว่าสุนัขจิ้งจอก

มาลวนลามถึงถ้ำก็โกรธจัดเช่นกัน จึงวิ ่งไปโดยเร็ว

โดดเข้าหาสุนัขจิ ้งจอกหวังจะตะปบฉีกเนื ้อเสีย แต่

ด้วยความหุนหันพลันแล่นมิได้พินิจพิเคราะห์ให้ถ่องแท้

เอาศีรษะไปกระแทกหินใสคอหักตายไปในที ่เดียวกัน

แม้ราชสีห์พี่ชายอีกหนึ่งตัวก็ตายตามกันไปเพราะโกรธ

พระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นราชสีห์ตัวพี่ มาถึงถ้ำช้ากว่า

ตัวอื่น เมื่อถามนางราชสีห์น้องสาวได้ความว่า มีสุนัข

จิ้งจอกมาลวนลาม พี่ ๆ ต่างพากันไปแก้แค้นยังไม่กลับ

ก็สงสัย จึงตามไปยังที่สุนัขจิ้งจอกนอนพักอยู่ เห็นรอย

เลือดเปรอะไปทั่วบริเวณ จึงลงไปสำรวจดูรอบ ๆ ก็พบ

สีหะน้องๆนอนตายทับกันอยู่ทุกตัวจึงนึกปลงสังเวช

“น้องเรา มีแต่กำลัง แต่ไร้ปัญญาความรอบคอบ

จึงถึงความพินาศไปตาม ๆ กัน การทำอะไรโดยผลีผลาม

มิได้พิจารณาให้รอบคอบ ย่อมถึงความพินาศ ฉะนี้”

เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงค้นหาสุนัขจิ้งจอก เห็นนอน

สงบอยู่บนแผ่นหินใสคล้ายกระจกจึงรู้ว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอก

นี้นอนบนหินเป็นที ่กำบัง จึงหาวิธีการทำให้สุนัขตาย

ด้วยอุบาย เดินไต่เลียบไปตามทางขึ้นของสุนัขจิ้งจอก

แล้วเปล่งสีหนาท (เสียงคำรามของราชสีห์) ออกเต็มเสียง

สุนัขจิ้งจอกกำลังหลับ ครั้นถูกปลุกให้ตื่นด้วยเสียงสีหะ

เช่นนั้นก็ตกใจสุดขีด ทะลึ่งขึ้นเอาศีรษะชนแง่หินอย่างแรง

นอนสิ้นใจอยู่ณที่นั่นเอง

เมื่อได้ฆ่าสุนัขจิ้งจอกด้วยอุบายแล้วจึงลงมามอง

ศพสีหะน้องชายที ่ตายทับกันอยู ่ แล ้วกลับไปบอก

แก่น้องสาวด้วยความเศร้า ปลอบประโลมให้หายโศก

อยู่ณถ้ำนั้นจนถึงกาลอวสานแห่งชีวิต

ชาดกเรื ่องนี ้มีคติธรรมสอนว่า คนเราแม้จะมี

กำลังแข็งแรง มีอำนาจเช่นราชสีห์ผู้เป็นเจ้าสัตว์

ทั้งหลาย แต่ถ้าทำสิ่งใดโดยผลีผลามไม่ทันได้

พินิจพิเคราะห์โดยถี่ถ้วนเสียก่อนแล้ว ย่อมถึง

ความพลาดพลั้งถึงสิ้นชีวิตได้ ดูตัวอย่างเช่นราชสีห์

ผู้น้อง ๆ เพียงการจับสุนัขจิ้งจอกตัวเล็ก ๆ ซึ่งนับว่า

ง่ายมาก แต่อาศัยการทำด้วยผลีผลามไม่รอบคอบ

มิได้ใช้ปัญญา จึงกลายเป็นงานใหญ่เอาชีวิตสีหะ

เข้าแลกถึง ๓ ตัว แต่พระโพธิสัตว์ทรงมีปรีชา

สามารถใคร่ครวญทีหนีทีไล่โดยแท้ แล้วทำด้วย

ความไม่ประมาท เพียงใช้เสียงเท่านั้นก็ฆ่าได้สำเร็จ

จึงควรที่เราทั้งหลายจะได้ถือเป็นแบบอย่างในการ

ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบเสมอไป สมดังนัย

ธรรมภาษิตว่า นิสมฺมกรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญ

เสียก่อน แล้วจึงทำการนั่นแหละเป็นความดี

สิคาลชาดก

อรรถ.ทุก.ขุ.ชา.๓๐/๗

Page 27: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

2�สายตรงศาสนา

อาโรคยา ปรมา ลาภา

ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง

ปรตีนมีดีที่ย่อยง่าย โดยทั ่วไปในเนื ้อปลา

มีโปรตีนประมาณร้อยละ๑๗-๒๓ ซึ่งเป็นโปรตีน

ที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ทำให้ระบบการย่อย

อาหารของเราไม่ต้องทำงานหนัก อีกทั ้งโปรตีนยังมี

ประโยชน์ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อหรือส่วนต่าง ๆ ที่สึกหรอ

และเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตตามวัยอันควร

นอกจากนี ้ปลายังมีกรดอะมิโนที ่จำเป็นต่อร่างกาย

หลายชนิด โดยเฉพาะไลซีนและทรีโอนินซึ ่งมีผลต่อ

พัฒนาการสมองและการเจริญเติบโตในวัยเด็กทั้งยังเป็น

ส่วนประกอบของสารสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้นอนหลับสนิท

สมองทำงานได้ดี ไม่แก่เกินวัย และลดความหิวชนิด

รับประทานไม่หยุดได้ โดยถ้าคิดเป็นหน่วยร้อยละจะมีสูง

ถึงร้อยละ ๙๒ เมื่อเทียบกับน้ำนมวัวซึ่งมีร้อยละ ๙๑

เนื้อวัวมีร้อยละ๘๐และถั่วเหลืองมีร้อยละ๖๓

ไขมันต่ำและเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

ปลายังมีไขมันต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ ่มตัวหรือที ่เรียกว่า

โอเมก้า ๓ ซึ ่งเป็นไขมันที ่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เรา

ไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากกรดไขมันโอเมก้า ๓

ที่มีอยู่ในปลาช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัว

หรือคอเลสเตอรอล อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดอุดตัน

ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตกได้ กรดไขมัน

โอเมก้า๓ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกมากมายเช่น

✓ช่วยในการลดน้ำหนัก ในปี ๑๙๙๙ นักวิจัย

ออสเตรเล ีย พบว่า การบร ิโภคปลาที ่ม ี

โอเมก้า ๓ สูง เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอล

จะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดียิ่งขึ้น

✓บำรุงสมอง ผลวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่า

กรดไขมัน ด ีเอชเอ (DHA) ในโอเมก้า ๓

มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะ

ในส่วนของความจำและการเรียนรู้

คุณค่าจากปลา...ราชาของโปรตีน

✓ช่วยลดความเครียด Archives of General

Psychiatry ได้รายงานการวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันปลา

ว่าสามารถลดความเครียดในผู้ป่วยโรคประสาท

ที่มักจะอาละวาด ทำให้มีอารมณ์ที่เยือกเย็น

ลงได้

✓ บรรเทาอาการซึมเศร้า การศึกษาของมหาวิทยาลัย

ออกซ์ฟอร ์ด พบว่า การขาดโอเมก้า ๓

ซึ ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อสมอง อาจเป็น

สาเหตุทำให้คนมีอาการซึมเศร้า สมาธิสั ้น

และขาดความสามารถในการอ่านหนังสือได้

✓บรรเทาอาการของโรคไขข้ออักเสบ จากการ

วิจัยในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาพบว่า น้ำมันปลา

ช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ

จนสามารถลดการใช้ยาบางส่วนลงได้

Page 28: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 2�

✓ลดการอักเสบของโรคผิวหนัง การศึกษาวิจัย

ระบุว ่า การกินปลาที ่ม ีไขมันมาก จะช่วย

บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง อย่างสะเก็ดเงิน

(เรื้อนกวาง) เพราะปลามีวิตามินดีจากกรดไขมัน

โอเมก้า๓ในปริมาณที่มากนั่นเอง

✓ลดความเสี ่ยงของโรคหัวใจ จากการวิจ ัย

ในปี ๑๙๙๘พบว่า การบริโภคปลาอย่างน้อย

สัปดาห์ละ๑-๒ครั้ง จะช่วยลดความดันโลหิต

ซ ึ ่งเป ็นป ัจจ ัยเส ี ่ยงให ้ เก ิดโรคหัวใจลงได ้

นอกจากนั ้นจากการวิจัยของมหาวิทยาลัย

โอเรกอน ยังระบุว่า ในไขมันปลามีกรดไขมัน

อีพีเอ(EPA)ซึ่งเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า๓

ย ังช ่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด

และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลงได้ซึ่งเป็นสาเหตุ

สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยเช่นกัน

ถึงแม้ปลาทุกชนิดจะจัดว่ามีค่าไขมันและพลังงาน

ต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ชนิดของปลา

ยังมีผลต่อปริมาณไขมันของปลาที่มีอยู่ในเนื้อปลาสด

ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกทานตามความเหมาะสม เราสามารถ

จัดแบ่งชนิดของเนื้อปลาสดออกเป็น๔กลุ่มได้แก่

๑.ปลาที ่มีไขมันต่ำมาก (น้อยกว่าหรือเท่ากับ

๒ กรัม ต่อ ๑๐๐ กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย

ปลานิลปลากะพงแดงและปลาเก๋า

๒.ปลาที ่ม ีไขม ันต ่ำ (มากกว ่า ๒-๔ กร ัม

ต ่อ ๑๐๐ กร ัม) ได ้แก ่ ปลาทูน ึ ่ง ปลากะพงขาว

ปลาจะละเม็ดดำและปลาอินทรี

๓.ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า ๔-๘ กรัม

ต่อ ๑๐๐ กรัม) ได้แก่ ปลาสลิด ปลาตะเพียน และ

ปลาจะละเม็ดขาว

๔.ปลาที ่ม ีไขม ันสูง (มากกว ่า ๘-๒๐ กร ัม

ต่อ๑๐๐กรัม)ส่วนมากมีเนื้อสีเหลืองชมพูหรือเทาอ่อน

ได้แก่ปลาช่อนปลาสวายปลาดุกและปลาสำลี

ไขมันของปลาด้วยเช่นกัน จากการวิจัยพบว่า

ปลาดิบและปลาที่ทำให้สุกโดยการต้มและนึ่งทุกชนิด

จัดว่าให้ค่าไขมันและพลังงานต่ำ แต่ถ้านำปลาเหล่านี้

ไปย่างหรือทอด จะให้ไขมันและพลังงานสูงขึ้น เนื่องจาก

น้ำที่ระเหยหายไประหว่างการย่างและน้ำมันที่ถูกดูดซับ

เข้าไปในเนื้อปลาระหว่างการทอด ดังนั้นหากเราจะเลือก

เมนูปลาครั้งหน้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที ่ต้องการ

ควบคุมน้ำหนักด้วยแล้ว อย่าลืมสังเกตทั้งชนิดของปลา

และวิธีการปรุงกันก่อนรับประทาน

แร่ธาตุไอโอดีน ป้องกันเอ๋อ เมื ่อรับประทาน

ปลาทะเลร่างกายจะได้รับแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งมีคุณสมบัติ

ป้องกันโรคคอหอยพอกชนิดที ่ เก ิดจากการขาดธาตุ

ไอโอดีน เด็กที่กำลังเจริญเติบโตหากขาดแร่ธาตุชนิดนี้

โอกาสที่จะเป็นโรคเอ๋อหรือภาวะปัญญาอ่อนก็มีมากขึ้น

และยังทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า

แร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส เกราะป้องกัน

กระดูก การร ับประทานปลาตัวเล ็กต ัวน ้อย เช ่น

ปลาข้าวสาร ปลาฉิ ้งฉั ้ง รวมทั ้งปลากระป๋องอย่าง

ปลาซาร์ดีนที่รับประทานได้ทั้งเนื้อและก้าง จะช่วยเพิ่ม

ธาตุแคลเซียมที ่ได้จากกระดูกปลา ช่วยทำให้กระดูก

และฟันของเราแข็งแรง อีกทั้งป้องกันโรคกระดูกพรุนและ

กระดูกหักง่ายได้ นอกจากนี้การรับประทานปลายังได้

วิตามินที่หลากหลายทั้งวิตามินเอและวิตามินดี (ซึ่งมีมาก

ในน้ำมันตับปลา) รวมทั้งวิตามินบี ๑ วิตามินบี ๒ และ

ไนอาซีนถึงแม้จะมีในปริมาณเล็กน้อยแต่วิตามินเหล่านี้

ล้วนมีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะสมองของเรา

ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะ

ทุกส่วนในร่างกายให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ถึงแม้

ปลาจะมีคุณค่าและสารอาหารดี ๆ มากมาย แต่สำหรับ

ชาวชีวจิตก็เลือกรับประทานปลาในปริมาณที่พอเหมาะ

เพียงสัปดาห์ละ๑-๒ครั้งหรือประมาณ๒๐๐กรัมเท่านั้น

เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

ที่มา:www.ku.ac.th/e-magazine

Page 29: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

2�สายตรงศาสนา

ธรรมภาษิต

มายถึง บ้านเล็กห้องน้อยถ้าอยู่แล้วสบายใจก็อยู่ได้ไม่ลำบากแต่ถ้าอยู่แล้วไม่สบายใจแม้จะ

เป็นคฤหาสน์ก็อยู่ไม่ได้

ลักษณะครอบครัวที่เป็นเช่นนี้เพราะทุกคนในบ้านประพฤติตามธรรมะที่ว่า

๑. สมสัทธา เคารพนับถือในลัทธิศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และหลักการต่าง ๆ

อย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกัน

๒. สมสีลา มีศีล มีความประพฤติที่อบรมมาสอดคล้องกัน มีจรรยามารยาทที่ไป

ด้วยกันได้

๓. สมจาคา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีความเสียสละพร้อมที่จะช่วยเหลือ

ซึ่งกันและกัน มีใจกว้างไม่ขัดแย้งกันและกัน

๔. สมปัญญา มีความรู้ มีเหตุ มีผล สามารถปรับเข้าหากันได้ไม่ขัด

ลักษณะครอบครัวที่มีธรรมะ๔ประการนี้ แม้จะอยู่บ้านหลังไม่ใหญ่โตนักก็จะอยู่อย่างมีความสุข

แต่ถ้าขาดหลักธรรมดังกล่าวแม้จะมีบ้านใหญ่โตมีรถเก๋งขับมีเงินมากมายก็จะหาความสุขไม่พบ

ที่มา:หนังสือธรรมะกับสำนวนไทย

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก

Page 30: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

สายตรงศาสนา 30

ปกิณกสารธรรม

ะเลหลวง มีอันตรายใหญ่แก่เรือที่สำคัญ ๆ พอจะประมวลได้ ๓ ประการ คือคลื่นลม

แก่งหิน และการหลงทิศทาง แต่สำหรับทะเลชีวิต ก็มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นอันตราย

อันสามารถจะทำอัตภาพนาวาให้อับปางลงได้ เหมือนคลื่นลมแก่งหิน และการหลงทิศทางที่เป็น

อันตรายของสำเภาพาณิชฉะนั้น

โลภะ เท่ากับคลื่นลม เพราะอกุศลมูลข้อนี้ อาจทำให้บุคคลหวั่นไหวตามอำนาจตัณหาละโมบ

โลภลาภจนไม่คำนึงถึงฐานะของตนเพราะคนโลภย่อมไม่เห็นอรรถเห็นธรรมหรือเหตุผล

โทสะ เท่ากับแก่งหิน เพราะเป็นอกุศลมูลที่กระทบกระทั่งจิตใจอย่างแรง คนมีความโกรธหรือ

โทสะประทุษร้ายจิตใจ ย่อมทำทุจริตได้ทุกอย่างไม่ว่าหนักร้ายเพียงใด ฉะนั้น โทสะจึงเท่ากับแก่งหิน

ที่อาจทำให้เรืออับปางลงได้ทันใด

โมหะ เท่ากับความมืดมัวครึ้มฟ้าไปด้วยหมอกเมฆเต็มท้องทะเล อันอาจทำเรือให้หลงทิศ

หลงฝั ่งได้ คนหลงด้วยอำนาจโมหะ ย่อมไม่รู ้จักบาปบุญคุณโทษ สิ ่งที ่ควรไม่ควร ฉะนั้น โมหะ

คือความหลงนี้จึงเป็นอันตรายใหญ่หลวงของนาวาชีวิต

ทะเลชีวิต สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

Page 31: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

31สายตรงศาสนา

รวมพลังทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ กรมการศาสนาร่วมกับองค์การศาสนาทั้ง ๕ ศาสนา จัดงานรวมพลัง

ทางศาสนาเสริมสร้างความสมานฉันท์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงละครแห่งชาติ

เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน

Page 32: พระบรมราโชวาท · 2015-09-14 · ๑๐. นางสาวสุทิศา เถื่อนถาด วารสารสายตรงศาสนา

ภาษิตนิทัศน์

ขอรับบริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ชั้น ๑๕/ติดต่อสอบถาม/แจ้งข่าวสาร/ข้อร้องเรียน ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และคำชมเชย

ได้ที่ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๘๗๗๖-๙ www.dra.go.th, E-mail : [email protected]

ต้นไผ่น้อย ค่อยแตกหน่อ เป็นกอใหญ่

สูงขึ้นไป เป็นปล้องปล้อง มองเห็นทั่ว

แตกเรียวหนาม ไว้ป้องกัน เผ่าพันธุ์ตัว

สร้างครอบครัว ดูต้นไผ่ ไว้เป็นครูฯ

ครอบครัวไผ่

ที่มา:หนังสือภาษิตนิทัศน์โดยพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโชป.ธ.๙ราชบัณฑิต)