เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์...

65
เสียงชื่นชม e IMMORTAL LIFE of HENRIETTA LACKS ของ รีเบคกา สคลูต กวาดรางวัลหนังสือสารคดีดีเด่นประจำาปีมากมาย อาทิ 2010 Chicago Tribune Heartland Prize for Nonfiction 2010 Wellcome Trust Book Prize New York Times Notable Book New Yorker Reviewer’s Favorite Entertainment Weekly Best Book of the Year O, e Oprah Magazine Best Book of the Year National Public Radio Best of the BestSellers Financial Times Nonfiction Favorite Los Angeles Times Critics’ Pick New York magazine Top Ten Book of the Year Discover magazine 2010 Must-Read Independent (U.K.) Best Book of the Year Publishers Weekly Best Book of the Year Library Journal Best Book of the Year Kirkus Reviews Best Book of the Year Times (U.K.) Best Book of the Year U.S. News & World Report Talk-Worthy Title Booklist Best Book of the Year Globe and Mail Best Book of the Year

Transcript of เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์...

Page 1: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

เสียงชื่นชม

The IMMORTAL LIFE of HENRIETTA LACKS

ของ รีเบคกา สคลูต

กวาดรางวัลหนังสือสารคดีดีเด่นประจำาปีมากมาย อาทิ

2010 Chicago Tribune Heartland Prize for Nonfiction

2010 Wellcome Trust Book Prize

New York Times Notable Book

New Yorker Reviewer’s Favorite

Entertainment Weekly Best Book of the Year

O, The Oprah Magazine Best Book of the Year

National Public Radio Best of the BestSellers

Financial Times Nonfiction Favorite

Los Angeles Times Critics’ Pick

New York magazine Top Ten Book of the Year

Discover magazine 2010 Must-Read

Independent (U.K.) Best Book of the Year

Publishers Weekly Best Book of the Year

Library Journal Best Book of the Year

Kirkus Reviews Best Book of the Year

Times (U.K.) Best Book of the Year

U.S. News & World Report Talk-Worthy Title

Booklist Best Book of the Year

Globe and Mail Best Book of the Year

Page 2: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

2 • ฮีลา เซลล์อมตะ

“วางไม่ลง...เรื่องเกี่ยวกับวงการแพทย์ยุคใหม่ จริยธรรมชีวภาพ

และเชื้อชาติ ที่ได้รับการถ่ายทอดอย่างงดงาม สะเทือนใจ”

ENTERTAINMENT WEEKLY

“การเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะมีแต่ ‘ข้อเท็จจริง’

แต่หนังสือเล่มแรกของรีเบคกา สคลูตนี้ลึกล้ำากว่า กล้าหาญกว่า และ

เยี่ยมกว่านั้นมาก”

NEW YORK TIMES BOOK REVIEW

“The Immortal Life of Henrietta Lacks คือชัยชนะ

ของงานเขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์...หนึ่งในหนังสือสารคดีที่ดีที่สุดที่

ผมเคยอ่านมา”

WIRED.COM

หนังสือที่เขียนได้อย่างประณีตเกี่ยวกับการสืบสวนการกระทำา

ผิดต่อสังคมโดยวงการแพทย์ และความอัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์และ

การแพทย์ซึ่งเป็นผลตามมา”

WASHINGTON POST

“ตราตรึงใจ...การเปิดตัวที่ประสบความสำาเร็จอย่างงดงาม”

CHICAGO SUN-TIMES

“นิยายนักสืบที่มาจากเรื่องจริง The Immortal Life of Henrietta Lacks เจาะลึกประเด็นเกี่ยวกับเชื้อชาติและจริยธรรมใน

วงการแพทย์...ผลกระทบทางอารมณ์จากเรื่องราวของสคลูตเข้มข้นจาก

การถ่ายทอดเรื่องราวของทั้งสองโลกด้วยฝีมือเหนือชั้น”

NATURE

Page 3: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 3

“เรื่องจริงที่ต้องอ้าปากค้าง...และมีคำาถามเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ

และการวิจัยเพื่อ ‘ความก้าวหน้า’ ผุดขึ้นทันที… เรื่องราวที่ให้แรง

บันดาลใจสำาหรับคนทุกวัย”

ESSENCE

“เรือ่งราวทีไ่มธ่รรมดานีแ้สดงใหเ้ราเหน็วา่มนษุยผ์ูส้รา้งปาฏหิารยิ ์

คนที่มีความเชื่อ และนักต้มตุ๋นมีอยู่มากมายในโรงพยาบาลพอๆ กับใน

โบสถ์ และแม้แต่นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีบทบาทสำาคัญ

ในตำานานของผู้อื่นได้”

THE NEW YORKER

“ยิ่งใหญ่ราวละครกรีก และไม่สามารถอธิบายสรุปได้ง่ายๆ เช่น

เดียวกันด้วย”

SF WEEKLY

“หนังสือชีวประวัติทางการแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเล่มหนึ่งในยุค

ของเรา”

THE FINANCIAL TIMES

“เชน่เดยีวกบังานวจิยัวทิยาศาสตรท์ีด่ ีหนงัสอืทีเ่ขยีนอยา่งงดงาม

และมีการค้นคว้าอย่างละเอียดลออนี้ได้ทำาให้คำาถามมากมายผุดขึ้น

ในใจเท่าๆ กับที่ได้ให้คำาตอบ...ในยุคที่การมองว่านักวิทยาศาสตร์เป็น

ปีศาจกำาลังเป็นแฟชั่น รีเบคกา สคลูตใจกว้างพอที่จะไม่นำาตราบาป

ติดลงบนปกเสื้อของพวกเขา แต่เพียงแค่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็น

มนุษย์ธรรมดา...(และ) ตั้งคำาถามกับจริยธรรม กรรมสิทธิ์ในเนื้อเยื่อ

และความเป็นมนุษย์เท่านั้น”

SCIENCE

Page 4: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

4 • ฮีลา เซลล์อมตะ

“ไม่มีวันลบเลือน... The Immortal Life of Henrietta Lacks คือผลงานทางวารสารศาสตร์เชิงวัฒนธรรมและการแพทย์ที่ยิ่งใหญ่”

Laura Miller, SALON.COM

“ไม่มีคนตายคนไหนที่ทำาประโยชน์ให้คนเป็นมากไปกว่านี้อีก...

หนังสือที่น่าทึ่ง เจ็บปวด และจำาเป็น”

Hilary Mantel, THE GUARDIAN (U.K.)

“The Immortal Life of Henrietta Lacks ทำามากกว่าที่

หนังสือเล่มเดียวสามารถทำาได้”

DALLAS MORNING NEWS

“เหนืออื่นใด...นี่คือเรื่องราวการไถ่บาปต่อครอบครัวหนึ่งที่ต้อง

เจ็บปวดจากความสูญเสีย และสำาหรับนักเขียนที่มีวิสัยทัศน์ผู้หนึ่งซึ่ง

กัดไม่ปล่อย”

BOSTON GLOBE

“หนังสือที่มีเสน่ห์และชวนติดตามของสคลูตเล่มนี้เป็นอีกเล่ม

ที่น่าอ่านที่สุดสำาหรับพวกที่อ่อนวิทยาศาสตร์”

NEWSWEEK

“โดดเด่น... หากวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากเฮนเรียตตา แล็คส์

อย่างไม่ยุติธรรม รีเบคกา สคลูตก็ตั้งใจอย่างมากที่จะไม่ทำาเช่นนั้นอีก

หนังสือชีวประวัติเล่มนี้ ทำาให้ผู้หญิงคนหนึ่งไม่มีวันถูกมองว่าเป็นเพียง

เซลลใ์นจานเพาะเลีย้งเทา่นัน้ แตจ่ะเปน็ทัง้เฮนเรยีตตาและฮลีาตลอดไป”

THE TELEGRAPH (U.K.)

Page 5: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5

“ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา... ทำาให้เฮนเรียตตา แล็คส์

เป็นอมตะในอีกรูปแบบ - จากวินัยของการเขียนหนังสือที่ดี”

BALTIMORE SUN

“หนังสือที่มีทั้งหัวใจและสมอง...ผลักดันด้วยไฟของผู้เขียนที่

ลุกโพลงขึ้นมาได้ไม่มีวันดับเช่นเดียวกับเซลล์ฮีลา”

LOS ANGELES TIMES

“ในหนงัสอืทีน่า่สนใจอยา่งมากและเตม็ไปดว้ยชวีติชวีานี ้รเีบคกา

สคลูตได้มองเลยออกไปจากความอัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์สู่ประเด็น

ทางจริยธรรมเบื้องหลังการค้นพบที่อาจจะช่วยชีวิตคุณไว้มาแล้ว”

MOTHER JONES

“กว่าสิบปีในการเขียนหนังสือเล่มนี้ทำาให้รู้สึกว่า คุณรีเบคกา

สคลูตเกิดมาเพื่อเขียน The Immortal Life of Henrietta Lacks โดยเฉพาะ...ในฐานะผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์และนักวิจัยสาวที่ไม่รู้จัก

เหน็ดเหนื่อย สคลูตได้เขียนถึงเฮนเรียตตา แล็คส์และผลกระทบที่เธอ

มีต่อวงการแพทย์จากแทบทุกแง่มุมที่เข้าใจได้และสามารถทำาให้ทุก

แง่มุมเป็นเรื่องราวที่น่าทึ่ง...การค้นหาด้วยการตั้งคำาถามทางศีลธรรม

กับความโลภและผู้ที่เต็มไปด้วยอคติ...เข้มข้นด้วยตัวละครที่น่าจดจำา”

Dwight Garner, NEW YORK TIMES,

Top Ten Book of 2010

“น่าอัศจรรย์...ไม่ว่าจะมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาขั้นพื้นฐานมาก

น้อยเพียงใด คุณจะต้องอัศจรรย์ใจกับหนังสือเล่มนี้

THE JOURNAL OF CLINICAL INVESTIGATION

Page 6: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

6 • ฮีลา เซลล์อมตะ

“รีเบคกา สคลูตทำางานของเธอได้สำาเร็จแล้ว และทำาได้อย่างดี

ด้วย...เรื่องราวที่น่าสนใจและใหม่อย่างแท้จริง”

THEROOT.COM

“สะเทือนใจ...”

THE ECONOMIST

“ประวตัคิวามเปน็มาของเซลลท์ีน่า่อศัจรรยข์องผูส้ือ่ขา่ว รเีบคกา

สคลูต เผยให้เห็นถึงความอยุติธรรมในวงการวิจัยทางการแพทย์ของ

สหรัฐ”

TIME

“The Immortal Life of Henrietta Lacks เป็นหนังสือที่

เจาะเข้าไปในชีวิตของผู้หญิงเจ้าของเซลล์เพาะเลี้ยงเซลล์แรกที่สามารถ

เตบิโตและมชีวีติไมส่ิน้สดุ ซึง่กลายมาเปน็สิง่สำาคญัยิง่สำาหรบัการแพทย์

ยุคใหม่ (โดยที่เจ้าของเซลล์ไม่ได้ยินยอม และไม่ได้รับอะไรตอบแทน)

VOGUE

“The Immortal Life of Henrietta Lacks เป็นชัยชนะที่

ยิ่งใหญ่ของการทำาข่าวเชิงสืบสวน (investigative journalism) เป็น

หนังสือสารคดีที่สะเทือนใจ ตื่นเต้นและมีชีวิตชีวาแบบนิยาย นอกจาก

นี้ยังได้หยิบยกปัญหาที่น่าอึดอัดใจและไม่มีคำาตอบที่ชัดเจนว่า เราควร

จะได้รับค่าตอบแทนสำาหรับชิ้นส่วนของร่างกายหรือพันธุกรรมที่มอบ

ให้กับการวิจัยหรือไม่ และบทบาทของผลกำาไรในวงการวิทยาศาสตร์”

NATIONAL PUBLIC RADIO

Page 7: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 7

“เรื่องราวน่าอัศจรรย์ที่ไม่อาจลบเลือนซึ่งทรงพลังพอกับเซลล์

เหล่านั้น”

PHILADELPHIA INQUIRER

“เป็นงานของการเรียกร้องความยุติธรรมมากเท่าๆ กับการ

รายงานข่าว”

SEATTLE TIMES

“หนังสือที่เหลือเชื่อ...แน่นอนว่ามันคืองานที่สมบูรณ์ที่สุด

เกี่ยวกับเรื่องนี้”

THE INDEPENDENT (U.K.)

“สง่างาม...นึกไม่ออกว่าจะมีวิธีอื่นใดในการบรรยายถึงความ

ไร้ซึ่งจริยธรรมที่กัดกร่อนวงการวิจัยทางการแพทย์ได้อีก นี่คือเรื่องราว

ที่น่าสะเทือนใจซึ่งได้รับการถ่ายทอดอย่างสวยงาม”

THE LANCET

“อ่านเสียนะ...จากการทำาให้พวกแล็คส์เป็นคน และทำาให้พวก

เขาเป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ รีเบคกา สคลูตได้ทำาให้เรามอง

เห็นภาพอันซับซ้อนของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และชีวิต

มนุษย์จากเรื่องราวของการเดินตบเท้าไปสู่ความก้าวหน้าอีกเรื่องหนึ่ง”

BOINGBOING.NET

“หนงัสอืทีย่อดเยีย่ม สะเทอืนใจ...ภาพชวีติทีช่ดัเจนของเฮนเรยีตตา

แล็คส์ซึ่งควรจะคงอยู่ตลอดไปเช่นเดียวกับเซลล์ของเธอ”

THE TIMES (U.K.)

Page 8: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

8 • ฮีลา เซลล์อมตะ

“จินตนาการไม่ออกว่าจะมีเรื่องไหนดีไปกว่านี้อีก... เรื่องราวการ

สืบสวนหาความจริงที่ทั้งยิ่งใหญ่และเป็นส่วนตัวอย่างมาก ขอแนะนำา

ให้อ่านอย่างมาก”

JadAbumrad, RADIOLAB

“สคลูตเป็นผู้มีความสามารถในการทำาให้หนังสือทางการแพทย์

กลายเป็นหนังสือยอดนิยม จากการนำาผู้อ่านไปสู่เรื่องราวที่เต็มไปด้วย

สาระด้วยวิธีที่เบาๆ และสนุก”

THE GLOBE AND MAIL (Canada)

“การผสมผสานที่หายากและทรงพลังระหว่างเชื้อชาติ ชนชั้น

เพศ การแพทย์ จริยธรรมชีวภาพ และทรัพย์สินทางปัญญา ที่หายาก

กว่านั้นก็คือ ผู้เขียนที่สามารถนำาสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงนี้มารวมกัน

เป็นเรื่องราวของคนๆ หนึ่งที่ทั้งเข้มข้นและน่าสนใจอย่างมาก”

SEED

“เรื่องราวที่ทรงพลัง...ฉันรู้สึกซาบซึ้งจนอยากจะพูดขอบคุณ

แทนชายหญิงผิวดำาที่ถูกใช้ทดลองทางการแพทย์ได้...ขอบคุณที่เขียน

หนังสือที่สำาคัญนี้ค่ะ”

Kali-Ahset Amen, RADIO DIASPORA

“สคลูตได้เขียนหนังสือสารคดีที่สำาคัญและน่าคิดซึ่งไม่เพียงแต่

ทำาให้เรื่องราวของเฮนเรียตตา แล็คส์และฮีลากระจ่างชัดขึ้นอีกครั้ง

เท่านั้น แต่ยังช่วยบรรเทาความโกรธและเจ็บปวดของครอบครัวหนึ่ง

ที่กำาลังต้องการอย่างมากด้วย”

THE TIMES LITERARY SUPPLEMENT

Page 9: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 9

“ผลงานสารคดีระดับปรมาจารย์...หนังสือที่คุณจะต้องพลิกอ่าน

ไม่หยุดอย่างแท้จริง”

Hanna Rosin, SLATE

“สคลูตขุดคุ้ยผลของการพบกันระหว่างวิทยาศาสตร์และธุรกิจ

ที่มีต่อมนุษย์ และช่วยนำาหนึ่งในผู้บุกเบิกการแพทย์ยุคใหม่ที่ไม่มีใคร

เคยให้ความสนใจขึ้นจากหลุมศพนิรนาม”

U.S. NEWS & WORLD REPORT

“(เสนอเรื่องราวได้) อย่างสมดุลและไม่เอาความเห็นตัวเองเป็น

เครื่องตัดสิน...The Immortal Life of Henrietta Lacks จะทำาให้

ผู้อ่านต้องนั่งขบคิด เป็นหนังสือที่ทรงพลังและก่อให้เกิดแรงกระเพื่อม

ที่หาได้ยากไม่ว่าจะในหนังสือประเภทใดก็ตาม และเป็นหัวข้อที่มีผล

ต่อเราทุกคน ไม่ว่าเราจะตระหนักถึงความเกี่ยวพันของเรากับของขวัญ

จากเฮนเรียตตาหรือไม่”

THE OREGONIAN

“หนังสือที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ...อ่านสนุกเหมือนนิยายแต่มี

สาระของตำาราวิทยาศาสตร์หรือชีวประวัติที่เป็นประวัติศาสตร์”

THE DAILY NEBRASKAN

“บอกเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อการวิจัยทางการแพทย์มีขึ้นในระบบ

สาธารณสุขที่ไร้ความเท่าเทียม และเรื่องราวที่เต็มไปด้วยลับลมคมใน

โศกนาฏกรรม ชัยชนะ ความน่าเวทนา และการไถ่โทษ”

MS.

Page 10: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

10 • ฮีลา เซลล์อมตะ

“ความสำาเร็จครั้งยิ่งใหญ่ – เรื่องราวทางประวัติศาสตร์สำาคัญใน

วงการวิทยาศาสตร์ที่อ่านสนุกเหมือนนิยายชั้นดี”

KANSAS CITY STAR

“การเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ง่ายเลย แต่รีเบคกา สคลูตทำาให้

มันดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย”

THE WICHITA EAGLE

“ครอบคลุมทุกประเด็นร้อนในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการปฏิบัติใน

วงการแพทย์”

MADISON CAPITAL TIMES

“ไม่ใช่หนังสือที่จะจัดประเภทได้ง่ายๆ....คาดเดาไม่ได้พอกับ

นิยายลึกลับ และแปลกพอกับนิยายวิทยาศาสตร์”

WILLAMETTE WEEK

“นี่คือความสำาเร็จ...บอกเล่าเรื่องราวของฮีลาทั้งในด้านวิชาการ

และด้านที่เป็นส่วนตัวอย่างมากได้อย่างกระจ่างแจ้งและใส่ใจ”

THE PORTLAND MERCURY

“หนังสือที่เยี่ยมยอด”

LONDON REVIEW OF BOOKS

“เป็นเครื่องเตือนใจสำาคัญว่า เซลล์มนุษย์ที่มีการเพาะเลี้ยงกัน

ในห้องทดลองทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฮีลาหรือไม่ก็ตาม มาจากคนๆ หนึ่ง

ที่มีทั้งความกลัว ความปรารถนา และเรื่องราวที่จะเล่าขาน”

CHEMICAL & ENGINEERING NEWS

Page 11: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 11

“ลบล้างความเชื่อที่ว่าในเชิงของวรรณกรรมแล้ว งานเขียนทาง

วิทยาศาสตร์เปรียบได้กับยานอนหลับเท่านั้น”

CHICAGO TRIBUNE

“น้อยครั้งมากที่คุณจะได้อ่านหนังสือที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ และ

ประวัติศาสตร์สังคมได้อย่างเพลิดเพลินจนต้องพลิกหน้าไปเรื่อยๆ ไม่

หยุด”

BRITISH MEDICAL JOURNAL

“หนงัสอืสารคดทีีแ่ปลกใหมแ่ละตืน่เตน้เรา้ใจทีไ่มอ่าจถกูยดัเยยีด

ให้อยู่ในวรรณกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งได้ง่ายๆ นี่คือหนังสือกึ่ง

วิทยาศาสตร์ยอดนิยม กึ่งชีวประวัติเชิงประวัติศาสตร์ และนวนิยาย

สืบสวนสอบสวน”

Ed Yong, DISCOVER.COM

“หนังสือที่ดีที่สุดเท่าที่ได้อ่านในรอบหลายปี”

Brian Sullivan, FOX BUSINESS NETWORK

“ขอบคุณรีเบคกา สคลูต ตอนนี้เฮนเรียตตาเป็นใคร ชีวิตของ

เธอเป็นอย่างไร และเธอเสียชีวิตลงอย่างไร จะเป็นที่จดจำาของเราแล้ว”

THE NEW REPUBLIC

“เราต้องการนักเขียนอย่างรีเบคกา สคลูตมากขึ้น”

E.O. WILSON

Page 12: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

ฮีลา เซลล์อมตะ • นรา สุภัคโรจน์ แปลจากเรื่อง The Immortal life of Henrietta Lacks Copyright © 2010, 2011 by Rebecca Skloot

Copyright arranged with : Writers House Literary Agency21 West 26th Street, New York, NY. 10010 USA.

Thai language translation copyright © 2014 by The Post Publishing Public Company Limitedthrough Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.

ลิขสิทธิ์ภาษาไทย 2557 : โพสต์บุ๊กส์เลขมาตรฐานสากลประจำาหนังสือ ISBN 978-974-228-173-1

พิมพ์ครั้งที่ 1 : โพสต์บุ๊กส์, พฤศจิกายน 2557

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติ สคลูต, รีเบคคา. The Immortal Life of Henrietta Lacks = ฮีลา เซลล์อมตะ.-- กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2557. 496 หน้า. 1. นวนิยายอเมริกา. I. นรา สุภัคโรจน์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง.813.514 ISBN 978-974-228-173-1

ราคา 295 บาท

บรรณาธิการบริหาร : ภานี ลอยเกตุผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร : จันทร์พร รักท้วม

บรรณาธิการพิเศษ : ปริสนา บุญสินสุขผู้ช่วยบรรณาธิการ : อลิสา ศิริสวัสดิ์พิสูจน์อักษร : กานดา รักธรรมชาติ

ออกแบบปก : Rozazzzรูปเล่ม : สิริกาญจน์ รัตนเกตุ

ผู้จัดการธุรกิจสำานักพิมพ์ : สุพร พรฤกษ์งาม

ฝ่ายจัดการธุรกิจสำานักพิมพ์และการตลาด : สิทธิชัย อิงคุลานนท์, พรพิมล วังอินทร์, กฤษณี เตชะวิศิษฐ์พงษ์, สงกรานต์ พสุธาสถิตย์

จัดพิมพ์โดย

บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำากัด (มหาชน) 136 ถนน ณ ระนอง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 http://www.postbooksonline.com

แยกสีและพิมพ์ที่แผนกงานพิมพ์พาณิชย์

บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำากัด (มหาชน)136 ถนน ณ ระนอง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ 0-2616-4000 ต่อ 3133จัดจำาหน่ายทั่วประเทศโดย

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำากัด (มหาชน)อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด

แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8609 http://www.se-ed.com

สงวนลิขสิทธิ์โดย บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำากัด (มหาชน)

Page 13: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

The Immortal life of Henrietta LacksRebecca Skloot

ฮีลา เซลล์อมตะนรา สุภัคโรจน์ แปล

Page 14: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

สำาหรับครอบครัวของฉัน :

คุณพ่อและคุณแม่ – เบ็ตซีและฟลอยด์,

และสามี/ภรรยาของท่าน – เทร์รีและเบเวอร์ลี

พี่ชายและพี่สะใภ้ – แม็ตต์และเรนี

และหลานสุดที่น่ารัก – นิคและจัสติน

พวกเขาต้องทำาอะไรโดยไม่มีฉันเป็นเวลานานมาก

เพราะหนังสือเล่มนี้

แต่ก็ไม่เคยหยุดเชื่อในหนังสือหรือในตัวฉัน

และในความทรงจำาถึงคุณตาที่รักยิ่งของฉัน

เจมส์ โรเบิร์ต ลี (1921-2003)

ผู้เห็นคุณค่าของหนังสือมากกว่าทุกคนที่ฉันรู้จัก

Page 15: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

คำานำาสำานักพิมพ์ 18

คำานำาผู้แปล 20

เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ 22

บทนำา : สตรีในภาพถ่าย 27

เสียงจากเด็บโบราห์ 37

ภาค 1 ชีวิต

1 ตรวจร่างกาย...1951 39

2 โคลฟเวอร์...1920-1942 45

3 การวินิจฉัยและรักษา…1951 57

4 กำาเนิดฮีลา…1951 66

5 “ตับไตไส้พุงฉันไหม้หมดแล้ว”…1951 76

6 “มีผู้หญิงโทรมา”…1999 85

7 ความเป็น ความตาย ในการเพาะเลี้ยงเซลล์…1951 94

สารบัญ

Page 16: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

16 • ฮีลา เซลล์อมตะ

8 “ตัวอย่างที่ทุกข์ทรมาน”…1951 103

9 เทอร์เนอร์สเตชัน…1999 108

10 อีกฝั่งของถนน…1999 120

11 “ปีศาจแห่งความเจ็บปวด”…1951 128

ภาค 2 ความตาย

12 พายุ…1951 134

13 โรงงานฮีลา...1951-1953 139

14 เฮเลน เลน…1953-1954 155

15 “เด็กเกินกว่าจะจำาได้”…1951-1965 161

16 “มีชีวิตนิรันดร์ในที่เดียวกัน”…1999 171

17 ผิดกฎหมาย ไร้ศีลธรรม และน่าตำาหนิ…1954-1966 182

18 “ลูกผสมที่ประหลาดที่สุด”…1960-1966 195

19 “เวลาที่สำาคัญที่สุดในโลกคือตอนนี้”…1966-1973 204

20 ฮีลาบอมบ์…1966 214

21 หมอกลางคืน…2000 221

22 “เกียรติยศชื่อเสียงที่เธอสมควรได้รับอย่างยิ่ง”… 236

1970-1973

ภาค 3 อมตะ

23 “เธอยังมีชีวิตอยู่”…1973-1974 246

24 “อย่างน้อยพวกเขาก็น่าจะ...”…1975 261

25 “ใครอนุญาตให้คุณขายม้ามผม”…1976-1988 271

26 การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล…1980-1985 281

27 ความลับของความเป็นอมตะ…1984-1995 288

28 หลังลอนดอน…1996-1999 296

Page 17: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 17

29 หมู่บ้านเฮนเรียตตา…2000 315

30 ซาคาริย์ยา…2000 326

31 ฮีลา เทพีแห่งความตาย…2000-2001 337

32 “ทั้งหมดนั้นคือแม่ฉัน”…2001 348

33 โรงพยาบาลประสาทสำาหรับนิโกร…2001 359

34 ประวัติผู้ป่วย…2001 373

35 ชำาระวิญญาณ…2001 381

36 ร่างบนสวรรค์…2001 391

37 “ไม่มีอะไรต้องกลัว”…2001 395

38 ถนนสายยาวสู่โคลฟเวอร์…2009 404

พวกเขาในขณะนี้ 411

เกี่ยวกับมูลนิธิเฮนเรียตตา แล็คส์ 415

บทส่งท้าย 416

ตัวละคร 436

ลำาดับเหตุการณ์ 441

คำาขอบคุณ 446

หมายเหตุ 460

เกี่ยวกับผู้เขียน 495

Page 18: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

คำานำาสำานักพิมพ์

คนมักจะเรียกเธอว่าเฮเลน เลนเมื่อเอ่ยถึง ทว่า

บ่อยครั้งเธอก็ไม่มีชื่อแซ่ แต่เป็นเพียง ฮีลา ชื่อรหัสชื่อแรกที่มีการตั้ง

ให้กับเซลล์มนุษย์ที่ไม่เคยตาย ฮีลาคือเซลล์ของ เธอ ... เฮนเรียตตา

แล็กส์

เฮนเรยีตตา แลก็ส ์เปน็หญงิผวิสชีาวอเมรกินั เธอไดร้บัการวนิจิฉยั

ว่าเป็นโรคมะเร็งตอนอายุยังไม่ถึงสามสิบปี และเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่

นาน ระหว่างที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลจอห์นส์ ฮ็อพกินส์ แพทย์ได้

ทำาการตัดเนื้อเยื่อของเธอ เพื่อไปเพาะเลี้ยง จนเป็นที่มาของเซลล์ฮีลา

เซลลท์ีไ่มม่วีนัตาย ซึง่มบีทบาทสำาคญั และมปีระโยชนค์ณานบัแกว่งการ

แพทย์ ตั้งแต่เป็นต้นกำาเนิดของการค้นพบวัคซีนหลายชนิด การนำาไป

ทดลองในอวกาศ ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ และยังมีส่วนในการทำาให้

นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ

...แต่ทว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักประวัติของเธอ และที่มาของเซลล์

มหัศจรรย์นี้...

Page 19: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 19

หนังสือเล่มนี้ รีเบคกา สคลูต จะพาเราสืบสาวราวเรื่องความ

เป็นมาของเซลล์ฮีลา ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของเฮนเรียตตา แล็กส ์

เจ้าของเซลล์มหัศจรรย์ ไปจนถึงคุณูปการที่เซลล์ฮีลามีต่อวงการแพทย ์

และวิทยาศาสตร์ ผ่านการเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ สืบสวนสอบสวน ที่

ให้ทั้งความรู้ และชีวิตชีวาของผู้คนที่มีอยู่จริง

The Immortal life of Henrietta Lacks กวาดรางวัลหนังสือ

สารคดีทางวิทยาศาสตร์มาแล้วมากมาย อาทิเช่น New York Times Notable Book, New Yorker Reviewer’s Favorite, Entertainment Weekly Best Book of the Year, Financial Times Nonfiction Favorite, Discover magazine 2010 Must-Read, Times (U.K.) Best Book of the Year ฯลฯ

หากคุณชื่นชอบสารคดีที่ให้ทั้งความรู้ และความบันเทิง หนังสือ

เล่มนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณไม่ควรพลาด

โพสต์บุ๊กส์

Page 20: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

คำานำาผู้แปล

นานทปีหีนจะมหีนงัสอืสารคดทีีใ่หค้วามรู ้แรง

บันดาลใจ และอ่านสนุก ไม่น่าเบื่อ The Immortal Life of Henrietta Lacks คือหนังสือเล่มนี้ รางวัลหนังสือยอดเยี่ยมประเภทสารคดีจาก

หลายสำานัก และติดอันดับท็อปเทนของนิวยอร์กไทม์ส กว่า 2 ปี คือ

หลักประกัน

The Immortal Life of Henrietta Lacks เป็นเรื่องราวการ

สบืสาวทีม่าของเซลลฮ์ลีา เซลลอ์มตะทีพ่ลกิโฉมวงการแพทย ์มอีทิธพิล

ต่อนโยบายของประเทศและการตัดสินใจของประธานาธิบดี และอาจ

เป็นกุญแจสู่ความเป็นอมตะของมนุษย์

และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้สำาหรับหนังสือเล่มนี้ก็คือ รีเบคกา

สคลูต ผู้เขียนซึ่งได้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการค้นคว้าข้อมูล ก่อนที่จะ

ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่น่าทึ่ง ซาบซึ้ง และตื่นเต้นราวกับนิยายสืบสวน

สอบสวน เพียงแต่ว่านี่คือเรื่องจริง ตัวละครที่มีชีวิตจริง เรื่องราวการ

ทำางานของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่ทุ่มเท รวมถึงประเด็นทางธุรกิจ

Page 21: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 21

และจริยธรรมอันเป็นที่ถกเถียงกัน

สำาหรับคนที่อยากอ่านเรื่องราวที่มีสาระ ได้ความรู้ ที่สำาคัญ

คือสนุก ไม่น่าเบื่อ ผู้แปลขอแนะนำาอย่างยิ่ง นี่เป็นเรื่องที่ใหม่อย่าง

แท้จริงสำาหรับคนไทย

นรา สุภัคโรจน์

Page 22: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นี่คือหนังสือสารคดี ฉันไม่ได้เปลี่ยนชื่อ ไม่ได้

ประดิษฐ์ตัวละคร หรือสร้างเรื่องราวขึ้นมา ในการเขียนหนังสือเล่ม

นี้ ฉันได้สัมภาษณ์ครอบครัวและเพื่อนฝูงของเฮนเรียตตา ตลอดจน

ทนายความ นักจริยธรรม นักวิทยาศาสตร์ และผู้สื่อข่าวซึ่งเคยเขียนถึง

ครอบครัวแล็คส์มาก่อน ทั้งหมดเป็นเวลากว่าหนึ่งพันชั่วโมง นอกจาก

นี้ยังใช้ภาพถ่ายและเอกสารที่มีการเก็บรวบรวมไว้รายงานวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ รวมทั้งบันทึกส่วนตัวของเด็บโบราห์

แล็คส์ – บุตรสาวของเฮนเรียตตาด้วย

ฉันพยายามที่สุดที่จะคงภาษาพูดและเขียนของผู้ที่คุยกับฉัน

ไว้ โดยจะเขียนคำาสนทนาในภาษาถิ่น และยกข้อความจากไดอารี

และงานเขียนส่วนตัวอื่นๆ มาอย่างที่เขียน...อย่างที่ญาติคนหนึ่งของ

เฮนเรียตตาบอกฉันว่า “ถ้าเธอพยายามเปลี่ยนแปลงอะไรหรือทำาให้

มันฟังดูดี มันก็จะเป็นการไม่ซื่อสัตย์นะ แล้วชีวิต ประสบการณ์ และ

ตัวตนของพวกเขาก็จะหายไปด้วย” ในหลายแห่ง ฉันจะใช้คำาอย่างที่

เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้

Page 23: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 23

ผู้ถูกสัมภาษณ์ใช้ในการบอกเล่าถึงโลกและประสบการณ์ของพวกเขา

โดยจะใช้ภาษาอย่างที่พวกเขาใช้กันในยุคของพวกเขา ซึ่งรวมถึงคำา

ว่า คนผิวสี ด้วย หลายครั้งที่สมาชิกในครอบครัวแล็คส์เรียกจอห์นส์

ฮ็อพกินส์ว่า “จอน ฮ็อพกิน” ซึ่งฉันจะคงไว้อย่างนั้น ข้อความที่เขียน

ในรูปของสรรพนามบุรุษที่หนึ่งใน เสียงจากเด็บโบราห์ มาจากคำาพูด

ของเธอเอง โดยฉันได้ปรับและตัดต่อให้กระชับ โดยในหลายแห่งได้

แก้ไขเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น

เนื่องจากเฮนเรียตตา แล็คส์เสียชีวิตลงก่อนที่ฉันจะเขียน

หนังสือเล่มนี้หลายทศวรรษ ฉันจึงต้องพึ่งพาการสัมภาษณ์ เอกสาร

ทางกฎหมาย และประวัติทางการแพทย์ของเธอในการสร้างฉากต่างๆ

ของชีวิตเธอขึ้นมาใหม่ คำาสนทนาในฉากเหล่านั้นจะเป็นการคาดและ

สรุปจากเอกสารต่างๆ หรือยกคำาพูดที่คนเล่าให้ฉันฟังเวลาสัมภาษณ ์

เมื่อใดที่เป็นไปได้ ฉันจะสัมภาษณ์คนหลายๆ คนจากหลายๆ แหล่ง

เพื่อความถูกต้องแม่นยำา ประวัติทางการแพทย์ของเฮนเรียตตาในบท

ที่ 1 เป็นการสรุปจากเอกสารที่มาจากหลายแหล่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน

ฉันจะใช้คำาว่า HeLa ซึ่งออกเสียงว่า ฮี-ลา กับเซลล์ที่เพาะเลี้ยง

ขึ้นจากปากมดลูกของเฮนเรียตตา แล็คส์ โดยคำานี้จะปรากฏตลอดเล่ม

สำาหรับลำาดับเหตุการณ์นั้นวันที่ต่างๆ ของการวิจัยมาจาก

วันที่ที่ทำาการวิจัย ไม่ใช่วันที่ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในบางกรณี เป็นเพียง

วันที่โดยประมาณ เนื่องจากไม่มีการระบุวันเริ่มต้นการวิจัยที่แน่นอน

นอกจากนี้เนื่องจากมีการกระโดดจากเรื่องหนึ่งสู่อีกเรื่องสลับกัน โดย

ช่วงหลายปีระหว่างนั้นได้มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่เกิด

ขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อความกระจ่าง จึงมีหลายที่ในหนังสือที่ฉัน

จะพูดถึงการค้นพบทางวิทยาศาสตร์โดยลำาดับ แม้ว่าจริงๆ แล้วมัน

จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม

ประวัติความเป็นมาของเฮนเรียตตา แล็คส์และเซลล์ฮีลาได้เปิด

Page 24: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

24 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ประเด็นสำาคัญเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ จริยธรรม เชื้อชาติ และชนชั้น

ขึ้นมากมายหลายประเด็น ซึ่งฉันได้พยายามอย่างที่สุดในการแสดง

ให้เห็นภายในเรื่องราวของพวกแล็คส์ โดยฉันจะพูดถึงการโต้แย้งใน

เชิงกฎหมายและจริยธรรมในปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิความเป็นเจ้าของ

เนื้อเยื่อและการวิจัยไว้ในบทส่งท้าย ความจริงแล้วทุกประเด็นยังมีอีก

มากที่ต้องพูดถึง แต่มันอยู่นอกขอบเขตของหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึง

ขอปล่อยเรื่องนี้ไว้ให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานี้จัดการ

กันเอง และหวังว่าผู้อ่านจะให้อภัยกับเรื่องที่ฉันไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้

ด้วย

Page 25: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

เราจะต้องไม่มองใครก็ตามว่าเป็นเพียงชื่อๆ หนึ่ง

แต่ต้องมองว่าทุกคนคือจักรวาลหนึ่งที่มีความลับของตัวเอง

มีขุมทรัพย์ของตัวเองมีสาเหตุของความเจ็บปวดรวดร้าวของตัวเอง

และมีชัยชนะในระดับหนึ่งของตัวเอง

อีลี วีเซล จาก

The Nazi Doctors and the Nuremberg Code

Page 26: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...
Page 27: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

ภาพถ่ายของผู้หญิงคนหนึ่งที่ฉันไม่เคยรู้จัก

ติดอยู่บนผนังของบ้านฉัน มุมซ้ายของภาพฉีกขาด มีเทปปะ ผู้หญิงใน

ภาพยิ้ม ตามองตรงมาที่กล้อง มือเท้าสะเอว สวมชุดสูทรีดเรียบ ทา

ปากสีแดงเข้ม มันคือปลายทศวรรษ 1940 เธอยังอายุไม่ถึงสามสิบ

ดี ผิวนวลเนียนสีน้ำาตาลอ่อน แววตายังคงอ่อนเยาว์ มีประกายขี้เล่น

ไม่รู้สึกรู้สาถึงก้อนเนื้อร้ายที่กำาลังเติบโตอยู่ในตัว ที่จะทำาให้ลูกห้าคน

ของเธอกำาพร้าแม่และเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์ไปตลอดกาล ใต้รูป

นั้นมีตัวหนังสือเขียนกำากับไว้ว่าชื่อของเธอคือ “เฮนเรียตตา แล็คส์,

เฮเลน เลน หรือเฮเลน ลาร์สัน”

ไม่มีผู้ใดรู้ว่าใครเป็นคนถ่ายภาพนี้ แต่มันปรากฏนับร้อยครั้งใน

นิตยสารและตำาราวิทยาศาสตร์ ในบล็อกและบนกำาแพงในห้องทดลอง

คนมักจะเรียกเธอว่าเฮเลน เลนเมื่อเอ่ยถึง ทว่าบ่อยครั้งเธอก็ไม่มีชื่อ

แซ่ แต่เป็นเพียง ฮีลา ชื่อรหัสชื่อแรกที่มีการตั้งให้กับเซลล์มนุษย์ที่ไม่

เคยตาย ฮีลาคือเซลล์ของ เธอ...คือเซลล์ที่แพทย์ตัดมาจากปากมดลูก

บทนำา : สตรีในภาพถ่าย

Page 28: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

28 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ของเธอเพียงไม่กี่เดือนก่อนที่เธอจะเสียชีวิต

ชื่อจริงของเธอคือ เฮนเรียตตา แล็คส์

เป็นเวลาหลายปีที่ฉันจะยืนจ้องภาพถ่ายนี้ และสงสัยว่าชีวิตของ

เธอเป็นอย่างไร มีอะไรเกิดขึ้นกับลูกๆ ของเธอ และเธอคิดอย่างไรกับ

การที่เซลล์นับล้านๆ จากปากมดลูกของเธอที่ยังคงมีชีวิตอยู่เป็นอมตะ

ถูกซื้อ ขาย แพ็ก และส่งไปตามห้องทดลองทั่วโลก ฉันพยายามนึกภาพ

ว่าเธอจะรู้สึกอย่างไรหากรู้ว่าเซลล์ของเธอถูกส่งขึ้นไปกับยานอวกาศ

ในการสำารวจอวกาศครั้งแรกๆ เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเซลล์มนุษย์

ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง หรือการที่มันมีส่วนช่วยในความก้าวหน้าครั้ง

สำาคัญในวงการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตวัคซีนโปลิโอ เคมีบำาบัด

การโคลน การทำาแผนที่ยีน (gene mapping) เด็กหลอดแก้ว ฯลฯ

ฉันเชื่อแน่ว่าเธอคงช็อกเหมือนกับพวกเราส่วนใหญ่...ถ้ารู้ว่าปัจจุบัน

เซลล์นับล้านล้านเซลล์ของเธอกำาลังเจริญเติบโตอยู่ตามห้องทดลอง

ทั่วโลก...มากมายกว่าที่เคยมีอยู่ในร่างกายของเธอเสียอีก

ไม่มีทางที่จะรู้แน่นอนว่าเซลล์ของเฮนเรียตตาที่ยังคงมีชีวิตอยู่

ในทุกวันนี้มีจำานวนเท่าใด นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งประมาณว่าถ้านำา

เซลล์ฮีลาทั้งหมดที่เพาะขึ้นมาชั่ง มันจะมีน้ำาหนักมากกว่า 50 ล้าน

ตัน เมื่อคิดว่าเซลล์แต่ละเซลล์แทบจะไร้น้ำาหนักแล้ว น้ำาหนักขนาดนี้

จะต้องหมายถึงเซลล์จำานวนมากมายมหาศาลทีเดียว นักวิทยาศาสตร์

อกีคนคำานวณวา่ถ้านำาเซลล์ฮลีามาเรียงกนั มนัจะยาวถงึกวา่ 350 ลา้น

ฟุตหรือพันรอบโลกได้อย่างน้อยสามรอบ ในขณะที่ตัวเฮนเรียตตาเอง

สูงเพียงห้าฟุตเศษ

ฉันได้ยินเกี่ยวกับเซลล์ฮีลาและผู้หญิงที่อยู่เบื้องหลังเซลล์นี้ครั้ง

แรกในปี 1988 หลังจากที่เฮนเรียตตาเสียชีวิตไปแล้วสามสิบเจ็ดปี

ตอนนั้นฉันอายุสิบหกและกำาลังเรียนวิชาชีววิทยาในวิทยาลัยชุมชน

โดนัลด์ เดฟเลอร์ ชายศีรษะล้าน ร่างแคระแกร็น ที่เป็นอาจารย์สอน

Page 29: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 29

เดินย่ำาเท้าไปมาหน้าห้องบรรยายพร้อมกดเปิดเครื่องฉายสไลด์ ก่อน

ที่จะชี้ไปยังผังภาพสองภาพซึ่งปรากฏอยู่กำาแพงเบื้องหลัง ภาพทั้ง

สองคือวงจรการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งสำาหรับฉันแล้วเหมือนรูปลูกศร

สี่เหลี่ยม และวงกลมสีสะท้อนแสงปนเปกัน มีคำากำากับที่ดิฉันไม่เข้าใจ

เช่น “MPF กระตุ้นปฏิกิริยาลูกโซ่ของโปรตีน”

ฉันเป็นเด็กที่เคยสอบตกในปีแรกที่อยู่โรงเรียนมัธยมปลายทั่วไป

เพราะไม่เคยเข้าเรียน และได้ย้ายมาอยู่ในโรงเรียนทางเลือกที่สอน

วิชาในฝันของฉันแทนชีววิทยา และมานั่งเรียนในชั้นของเดฟเลอร์เพื่อ

เอาหน่วยกิตสำาหรับมัธยมปลายเท่านั้น หมายความว่าฉันมานั่งอยู่ใน

ชั้นบรรยายของมหาวิทยาลัยตอนที่อายุเพียงสิบหกปี ศัพท์แสง เช่น

การแบ่งตัวของเซลล์ (mitosis) ตัวยับยั้ง (inhibitor) เวียนว่อนจน

ฉันปวดหัว

“เราต้องจำาทุกอย่างในผังนี้เลยเหรอครับ” นักศึกษาคนหนึ่ง

ตะโกนถาม

ถูกต้อง อาจารย์ตอบ เราต้องจำาผังนี้ และเรื่องนี้จะออกสอบ

ด้วย แต่ตอนนี้ยังไม่จำาเป็น เพียงแต่อยากให้เราเข้าใจว่าเซลล์เป็น

สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ร่างกายของเรามีเซลล์ประมาณร้อยล้านล้านเซลล์

แต่ละเซลล์เล็กมาก หลายพันเซลล์รวมกันจึงมีขนาดเท่ากับจุดๆ เดียว

เซลล์เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ กระดูก เลือด ซึ่ง

จะประกอบกันขึ้นเป็นอวัยวะต่างๆ ของเราอีกที

ภายใตก้ลอ้งจลุทรรศน ์เซลลจ์ะดคูลา้ยไขด่าวมาก สว่นทีเ่หมอืน

ไข่ขาว (cytoplasm) จะเต็มไปด้วยน้ำาและโปรตีนสำาหรับหล่อเลี้ยง

ตัวเองและนิวเคลียส (nucleus) ซึ่งเหมือนไข่แดง เป็นที่เก็บข้อมูลทาง

พันธุกรรมที่จะทำาให้ตัวเราเป็นตัว เรา ไซโตพลาสซึมของแต่ละเซลล์จะ

มีกิจกรรมวุ่นวายเหมือนท้องถนนในกรุงนิวยอร์ก ภายในเต็มไปด้วย

โมเลกุลและเส้นเลือดที่คอยส่งเอนไซม์และเลือดจากส่วนหนึ่งไปยังอีก

Page 30: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

30 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ส่วนหนึ่ง และทำาการปั๊มน้ำา อาหาร และอ็อกซิเจนเข้าๆ ออกๆ ไม่หยุด

หย่อน เจ้าโรงงานไซโตพลาสซึมเล็กๆ นี้จะทำางานตลอด 24 ชั่วโมง

ไม่มีวันหยุดในการผลิตน้ำาตาล ไขมัน โปรตีนและพลังงานเพื่อให้ทุก

สิ่งทุกอย่างขับเคลื่อนต่อไปได้ด้วยดี พร้อมทั้งคอยหล่อเลี้ยงนิวเคลียส

อันเป็นมันสมองของปฏิบัติการทั้งหมดด้วย ภายในทุกนิวเคลียสของ

เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายจะมีสำาเนาจีโนมซึ่งจะเป็นตัวกำากับดูแล

การเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ คอยดูว่าทุกอย่างทำางานด้วยดี

ไม่ว่าจะเป็นการเต้นของหัวใจหรือการช่วยให้สมองของเราเข้าใจตัว

หนังสือในหน้านี้

อาจารยเ์ดนิย่ำาเทา้ไปมาในหอ้งเรยีน พรอ้มอธบิายถงึกระบวนการ

แบ่งตัวของเซลล์ที่ทำาให้ตัวอ่อนเติบโตเป็นทารก การสร้างเซลล์ใหม่

ของร่างกายซึ่งจะทำาให้แผลหาย หรือการสร้างเลือดทดแทนที่เราเสีย

ไป ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่งดงามเหมือนกับลีลาการเต้นรำาที่ได้

รับการออกมาอย่างบรรเจิดอย่างไรอย่างนั้น...แกว่า

เพียงความผิดพลาดนิดเดียว ณ จุดใดจุดหนึ่งของกระบวนการ

แบ่งตัวเท่านั้นก็ทำาให้ทุกอย่างเริ่มสูญเสียการควบคุมได้...แกอธิบายต่อ

แค่เอนไซม์หน่วยเดียวทำางานผิดพลาด การกระตุ้นของโปรตีนผิดไป

เพียงครั้งเดียว เราก็เป็นมะเร็งได้ การที่มะเร็งแพร่กระจายไปก็เพราะ

กระบวนการแบ่งเซลล์สูญเสียการควบคุม

“เรารู้เรื่องนี้จากการศึกษาเซลล์มะเร็งที่เราเพาะเลี้ยงขึ้น”

อาจารย์อธิบายยิ้ม แล้วก็หันกลับไปที่กระดานดำา และเขียนคำาสอง

คำาด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ว่า : HENRIETTA LACKS

เฮนเรียตตา แล็คส์เสียชีวิตในปี 1951 จากมะเร็งปากมดลูก...

อาจารย์อธิบาย ก่อนจะเสียชีวิต ศัลยแพทย์คนหนึ่งได้ตัดชิ้นเนื้อ

ตัวอย่างจากก้อนเนื้องอกของเธอออกมาและทิ้งไว้ในจานเพาะเลี้ยง

เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์พยายามเพาะเลี้ยง

Page 31: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 31

เซลล์มนุษย์ แต่ว่าสุดท้ายไม่เคยมีเซลล์ใดที่มีชีวิตรอด แต่เซลล์ของ

เฮนเรียตตาไม่เป็นอย่างนั้น ทุกๆ ยี่สิบสี่ชั่วโมงมันจะแบ่งตัวออกมา

เป็นเซลล์รุ่นใหม่ไม่หยุดหย่อน และได้กลายมาเป็นเซลล์มนุษย์ที่เป็น

“อมตะ” เซลล์แรกที่เพาะเลี้ยงขึ้นในห้องทดลอง

“ปัจจุบันเซลล์ของเฮนเรียตตามีชีวิตนอกตัวเธอยาวนานกว่าที่

เคยอยู่ในตัวเธอเสียอีก” อาจารย์ว่า ถ้าเราเข้าไปในห้องทดลองที่เพาะ

เลี้ยงเซลล์ทุกแห่งในโลก แล้วเปิดตู้แช่แข็งของพวกเขาออก เราจะได้

พบกับเซลล์นับล้าน (หรือนับพันล้าน) ของเฮนเรียตตาอยู่ในหลอด

ทดลองเล็กๆ วางอยู่บนน้ำาแข็ง

เซลล์ของเฮนเรียตตาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาวิจัยยีนที่เป็น

สาเหตุของมะเร็งและยีนที่กดมันไว้ มีส่วนช่วยในการพัฒนายารักษา

เริม มะเร็งในเม็ดเลือดขาว ไข้หวัดใหญ่ ฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไม่แข็ง

ตัว) และพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังมีการนำามาใช้ในการศึกษาการย่อย

ของแลคโตส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไส้ติ่ง การมีอายุยืนยาวของ

มนุษย์ การสืบพันธุ์ของยุง และผลร้ายที่มีต่อร่างกายของผู้ที่ทำางานใน

ท่อปฏิกูล โครโมโซมและโปรตีนของมันได้รับการศึกษาอย่างละเอียด

และแม่นยำาจนนักวิทยาศาสตร์สามารถรู้ถึงทุกความผิดปกติที่เกิดขึ้น

พูดก็คือเซลล์ของเฮนเรียตตาถูกใช้เป็นเครื่องมือทดสอบมาตรฐานใน

ห้องทดลองเหมือนกับหนูตะเภาหรือหนูทดลอง

“เซลล์ฮีลาเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำาคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์

ในช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา” อาจารย์ว่า

จากนั้นแกก็เอ่ยขึ้นมาอย่างเรียบๆ เหมือนเพิ่งคิดได้ว่า “เธอ

เป็นผู้หญิงผิวดำา” แล้วก็หยิบแปรงลบกระดานลบชื่อเธอออกในรวด

เดียว เป่าผงชอล์กออกจากมือ ชั่วโมงเรียนจบลงเท่านี้

ขณะที่คนอื่นๆ พากันเดินออกจากห้องนั้น ฉันนั่งคิดว่า เท่า

นี้เองเหรอ? เรื่องทั้งหมดมีแค่เนี้ย? มันจะต้องมีมากกว่านี้แน่นอน

Page 32: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

32 • ฮีลา เซลล์อมตะ

แล้วฉันก็เดินตามอาจารย์ไปที่ห้องทำางานของแก

“เฮนเรียตตามาจากไหนคะ” ฉันถาม “แล้วเธอรู้หรือเปล่าว่า

เซลล์ของเธอสำาคัญแค่ไหน เธอมีลูกหรือเปล่า”

“ฉนัอยากจะตอบไดน้ะ” แกวา่ “แตไ่มม่ใีครรูเ้รือ่งของเฮนเรยีตตา

เลยจริงๆ”

ฉันวิ่งกลับบ้านเมื่อโรงเรียนเลิก ทิ้งตัวลงบนเตียงพร้อมตำารา

ชีววิทยา ก่อนที่จะเปิดสารบัญ “การเพาะเลี้ยงเซลล์” นั่นไงล่ะ เจอ

แล้ว เธออยู่ในวงเล็บเล็กๆ :

ในการเพาะเลี้ยง เซลล์มะเร็งสามารถแบ่งตัวได้ไม่สิ้น

สุดตราบใดที่มันได้รับอาหาร ดังนั้นจึงพูดได้ว่ามันเป็น

“อมตะ” ตัวอย่างที่น่าทึ่งมากคือ สายเซลล์ที่แบ่งตัวมา

ตั้งแต่ปี 1951 จากการเพาะเลี้ยง (เซลล์สายนี้เรียกว่า

เซลล์ฮีลา [HeLa] เพราะต้นกำาเนิดของมันมาจากก้อน

เนื้องอกที่ตัดมาจากผู้หญิงคนที่ชื่อเฮนเรียตตา แล็คส์

[Henrietta Lacks]

นีย่งัไงละ่ จากนัน้ฉนักเ็ขา้ไปคน้ขอ้มลูเกีย่วกบัฮลีาในสารานกุรม

ของพ่อกับแม่ และในพจนานุกรมของฉันเอง... แต่ไม่มีคำาว่าเฮนเรียตตา

เซลล์ฮีลาปรากฏขึ้นทุกหนทุกแห่งขณะที่ฉันเรียนมัธยมปลาย

และเข้าศึกษาต่อด้านชีววิทยาในมหาวิทยาลัย ฉันได้ยินเกี่ยวกับมัน

ในวิชาวิทยาเนื้อเยื่อ ประสาทวิทยา พยาธิวิทยา และเคยใช้มันในการ

ทดลองเพื่อดูการสื่อสารระหว่างเซลล์ ทว่าหลังจากอาจารย์เดฟเลอร์

แล้ว ไม่เคยมีใครเอ่ยถึงเฮนเรียตตาเลย

เมื่อฉันมีคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในกลางทศวรรษ 90 และเริ่ม

ใช้อินเตอร์เน็ต ฉันจึงเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเธอ แต่ก็พบแค่ข้อมูล

Page 33: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 33

กระท่อนกระแท่นชวนให้สับสน เว็บไซต์ส่วนใหญ่บอกว่า เธอชื่อเฮเลน

เลน บ้างบอกว่าเธอเสียชีวิตในทศวรรษสามสิบ บ้างก็ว่าทศวรรษสี่สิบ

หรือห้าสิบ หรือแม้แต่หกสิบก็มี บางเว็บไซต์บอกว่าเธอเสียชีวิตด้วย

มะเร็งรังไข่ บ้างก็ว่ามะเร็งทรวงอก หรือมะเร็งปากมดลูก

สุดท้ายฉันได้เจอบทความในนิตยสารสองสามเล่มในทศวรรษ

1970 ที่เขียนเกี่ยวกับเธอ บทความในนิตยสารอีโบนี (Ebony) ซึ่งลง

คำาพูดของสามีของเฮนเรียตตาว่า “เท่าที่จำาได้ แกเป็นไอ้โรคนั่น พอ

แกตายปุ๊บพวกเขาได้เรียกฉันไปหาเพื่อขอเอาตัวอย่างอะไรบางอย่าง

แต่ฉันไม่ยอม” นิตยสารเจ็ต (Jet) บอกว่าคนในครอบครัวโกรธมาก

ที่เซลล์ของเฮนเรียตตาถูกนำาไปขายในราคาหลอดละยี่สิบห้าเหรียญ

และมีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเซลล์ของเธอโดยที่พวกเขาไม่รู้เรื่อง

บทความนั้นบอกว่า “พวกเขารู้สึกไม่พอใจอยู่ลึกๆ ที่วิทยาศาสตร์และ

สื่อพากันใช้ประโยชน์จากพวกเขา”

บทความเหล่านั้นได้ลงรูปถ่ายครอบครัวของเฮนเรียตตา บุตร

ชายคนโตของเธอนั่งดูตำาราพันธุกรรมศาสตร์อยู่ที่โต๊ะอาหารในบ้าน

ที่บัลติมอร์ บุตรชายคนกลางสวมเครื่องแบบทหารหน้าตายิ้มแย้ม

ในมืออุ้มเด็กทารก แต่ภาพที่โดดเด่นกว่าภาพอื่นๆ คือ ภาพของ

บุตรสาวของเฮนเรียตตา – เด็บโบราห์ แล็คส์ยืนอยู่ท่ามกลางสมาชิก

ครอบครัวคนอื่นๆ ทุกคนหน้าตายิ้มแย้ม มือโอบกันและกัน นัยน์ตา

เป็นประกายเหมือนกำาลังตื่นเต้น มีเธอคนเดียวที่ยืนโดดออกมาด้าน

หน้า ดูโดดเดี่ยว เหมือนกับว่ามีใครเอาภาพเธอแปะเข้ามาในรูปใน

ภายหลัง เด็บโบราห์ในวัยยี่สิบหกปีมีหน้าตาสะสวย ผมสีน้ำาตาลตัด

สั้น ดวงตากลมโตเหมือนแมว แต่สายตาที่จับจ้องกล้องดูแข็งกร้าว

และจริงจัง มีคำาบรรยายภาพว่า ครอบครัวแล็คส์ได้ค้นพบความจริง

เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ว่า เซลล์ของเฮนเรียตตายังมีชีวิตอยู่ ทั้งที่

เจ้าตัวเสียชีวิตไปแล้วยี่สิบห้าปี

Page 34: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

34 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ทุกบทความบอกว่านักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มศึกษาลูกๆ ของ

เฮนเรียตตา แต่พวกแล็คส์ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร พวกเขาบอกว่าพวกเขาถูก

นำาตัวไปตรวจเพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งที่ฆ่าเฮนเรียตตาหรือไม่ แต่จาก

รายงานของนักข่าว นักวิทยาศาสตร์กำาลังศึกษาครอบครัวแล็คส์เพื่อ

จะได้รู้เกี่ยวกับเซลล์ของเฮนเรียตตามากขึ้น บทความเหล่านั้นลงคำา

พูดของลอเรนซ์ บุตรชายของเธอ ซึ่งอยากรู้ว่าการที่เซลล์ของนางเป็น

อมตะหมายความว่าเขาจะเป็นอมตะด้วยหรือไม่ คนเดียวในครอบครัว

ที่นิ่งเงียบ ไม่พูดอะไรคือเด็บโบราห์ บุตรสาวของเฮนเรียตตา

ขณะที่กำาลังเรียนปริญญาโทด้านการเขียน ฉันมีความตั้งใจ

แน่วแน่ว่าวันหนึ่งจะเขียนบอกเล่าเรื่องราวของเฮนเรียตตา ฉันถึงขนาด

โทรไปที่บริการสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ของเมืองบัลติมอร์เพื่อขอ

หมายเลขโทรศัพท์ของเดวิด แล็คส์ สามีของเฮนเรียตตา แต่ว่าไม่มี

ชื่อเขาในทะเบียน ตอนนั้นฉันมีความคิดว่าจะเขียนชีวประวัติทั้งของ

เซลล์ฮีลาและของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของเซลล์...ซึ่งจะต้องเป็นลูกสาว

ภรรยา หรือแม่ของใครสักคน

ฉันไม่เคยคิดเลยว่า การโทรศัพท์ในครั้งนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของ

การผจญภัยยาวนานเกือบสิบปีสู่ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาล

โรงพยาบาลประสาท และนำาฉนัไปพบกบัคนมากมาย มทีัง้เจา้ของรางวลั

โนเบล พนักงานซูเปอร์มาร์เก็ต นักโทษ นักต้มตุ๋น และอื่นๆ ขณะที่

พยายามทำาความเข้าใจกับประวัติความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเซลล์

และการโต้เถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เนื้อเยื่อมนุษย์ในการวิจัย

นั้น ฉันถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดและถูกเล่นงานจนน่วมทั้งทาง

กายและใจ และสุดท้ายพบว่าตัวเองตกเป็นเป้าของอะไรบางอย่างที่

เหมือนกับการขับไล่ภูตผี ทว่าในที่สุดฉันก็ได้พบกับเด็บโบราห์ ซึ่ง

ปรากฏว่าเป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่งและปรับตัวได้ดีที่สุดคนหนึ่งเท่าที่

ฉันเคยรู้จัก เราสองคนเกิดความผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง และโดยที่ไม่รู้

Page 35: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 35

ตัว...ฉันได้กลายเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องราวของเธอ ขณะที่เธอเป็น

ตัวละครหนึ่งในเรื่องราวของฉัน

เด็บโบราห์และฉันมาจากวัฒนธรรมที่ต่างกันมาก ฉันเติบโตขึ้น

ในหมู่ชาวอเมริกันผิวขาวที่ไม่เชื่อในพระเจ้าทางแปซิฟิกนอร์ธเวสต์*

บรรพบุรุษครึ่งหนึ่งเป็นชาวยิวนิวยอร์ก อีกครึ่งเป็นชาวโปรเตสแตนท์

แถบมิดเวสต์** ส่วนเด็บโบราห์เป็นคริสเตียนที่เคร่งมากจากทางใต้

ฉันมักจะเดินออกจากวงสนทนาเมื่อมีการพูดคุยเกี่ยวกับศาสนาเพราะ

รู้สึกอึดอัดกับเรื่องนี้ ส่วนครอบครัวของเด็บโบราห์จะชอบเทศนา

เชื่อว่าความศรัทธารักษาโรคได้และบางครั้งถึงขั้นใช้ไสยศาสตร์

เด็บโบราห์เติบโตขึ้นในย่านคนผิวดำาที่จัดว่ายากจนและอันตรายที่สุด

แห่งหนึ่งของประเทศ ฉันโตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบและ

ปลอดภัยของชนชั้นกลางในเมืองที่มีคนขาวเป็นส่วนใหญ่ และเรียนใน

โรงเรียนมัธยมปลายที่มีคนดำาเพียงสองคนเท่านั้น ฉันเป็นนักข่าวด้าน

วิทยาศาสตร์ซึ่งจะพูดถึงเรื่องเหนือโลกต่างๆ ว่าเป็นเรื่อง “เหลวไหล”

ขณะทีเ่ดบ็โบราหเ์ชือ่วา่วญิญาณของเฮนเรยีตตาอยูใ่นเซลลข์องเธอและ

คอยควบคุมชีวิตของใครก็ตามที่ผ่านเข้ามา รวมทั้งฉันด้วย

“ไม่อย่างงั้นเธอจะอธิบายเรื่องที่ครูสอนวิทยาศาสตร์ของเธอ

รู้ชื่อจริงของแม่ฉัน ในขณะที่คนอื่นๆ เรียกแกว่าเฮเลน เลนได้ยังไง”

เด็บโบราห์จะพูดอย่างนี้ “ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะแม่พยายามจะเรียก

ความสนใจจากเธอไง” เด็บโบราห์จะคิดแบบนี้กับทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ของฉัน เมื่อฉันแต่งงานระหว่างที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เธอบอกว่า เป็น

เพราะเฮนเรียตตาอยากให้ฉันมีใครบางคนคอยดูแลขณะที่ฉันทำางาน

และเมื่อฉันหย่า ก็เพราะว่าเฮนเรียตตาคิดว่าเขาเป็นตัวขัดขวางการ

* บริเวณชายฝั่งแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ** ภาคกลางค่อนไปทางตะวันตก

Page 36: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

36 • ฮีลา เซลล์อมตะ

เขียนหนังสือเล่มนี้ เมื่อบรรณาธิการคนหนึ่งที่ยืนกรานให้ฉันตัดพวก

แล็คส์ออกจากหนังสือเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บอย่างไม่น่าเชื่อ

เด็บโบราห์บอกว่า เพราะเขาทำาให้เฮนเรียตตาโกรธ

ครอบครัวแล็คส์ทำาให้ฉันเริ่มไม่แน่ใจในทุกอย่างที่ฉันคิดว่า

ฉันรู้เกี่ยวกับศาสนา วิทยาศาสตร์ วารสารศาสตร์ และเรื่องเกี่ยวกับ

เชื้อชาติ ที่สุดแล้ว ผลที่ออกมาก็คือหนังสือเล่มนี้...ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องราว

ของเซลล์ฮีลาและเฮนเรียตตา แล็คส์เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของ

ครอบครัวของเฮนเรียตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็บโบราห์ และการต่อสู้

ดิ้นรนตลอดชีวิตเพื่อทำาใจยอมรับเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านั้น ตลอด

จนวิทยาศาสตร์ที่ทำาให้มันเป็นไปได้ด้วย

Page 37: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

เสียงจากเด็บโบราห์

เมื่อคนถาม...และก็ดูเหมือนจะมีคนถามอยู่ตลอดเวลาเสียด้วย

สิ...ว่าทำาไมฉันถึงไม่ตัดใจจากมันเสียที ฉันจะบอกว่า อ๋อ แหงล่ะสิก็

แมฉ่นัชือ่เฮนเรยีตตา แลค็ส ์แกตายไปตัง้แตป่ ี1951 แตจ่อน ฮอ็พกนิส์

เอาเซลล์แกไป และตอนนี้พวกมันยังมีชีวิต ยังคงแบ่งตัว เติบโตและ

แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ ถ้าพวกเขาไม่แช่แข็งมัน วงการวิทยาศาสตร์

เรียกแกว่าฮีลา และแกอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งทั่วโลก...ทั้งในวงการแพทย ์

ในคอมพิวเตอร์ ในอินเตอร์เน็ต

เวลาฉันไปตรวจร่างกาย ฉันจะบอกหมอว่า แม่ฉันคือฮีลา

ทำาให้พวกเขาตื่นเต้นกันใหญ่ และเล่าเรื่องต่างๆ นานาให้ฟัง อย่าง...

เซลล์ของแกช่วยในการทำายาลดความดันและลดอาการซึมเศร้าของ

ฉัน สิ่งสำาคัญทั้งหลายแหล่ในวงการวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้เพราะแกยัง

ไง แต่พวกเขาไม่เคยอธิบายมากไปกว่านี้อีกนอกจากบอกแค่ว่า โห...

จริงหรอ รู้ไหมแม่เธอเคยไปดวงจันทร์ เคยอยู่ในระเบิดปรมาณู เคยถูก

เอาไปทำาวัคซีนโปลิโอ ฉันไม่เคยรู้เลยว่าแกทำาทั้งหมดนั่นได้ยังไง... แต่

ก็ดีใจอะนะที่แกทำา เพราะนั่นแปลว่า แกทำาประโยชน์ให้คนเยอะมาก

ฉันคิดว่าแกเองก็คงชอบใจเหมือนกันแหละ

อย่างไรก็ตาม ฉันคิดอยู่เสมอว่าแปลกแฮะ ถ้าเซลล์ของแม่เรา

ทำาอะไรมากมายให้วงการแพทย์ ทำาไมลูกหลานแกถึงจนกรอบไม่มี

ปัญญาไปหาหมอ ไม่มีเหตุผลซะเลย คนมากมายร่ำารวยเพราะแม่ของ

เรา...โดยที่พวกเราไม่เคยรู้ว่าพวกเขาเอาเซลล์แกไป และก็ไม่ได้แม้แต่

สตางค์แดงเดียว เรื่องนี้ทำาให้ฉันเคยโกรธจนล้มป่วย ต้องกินยา แต่

เอาเถอะ...ฉันไม่มีแรงต่อสู้กับเรื่องนี้ต่อไปอีกแล้ว...ตอนนี้ฉันแค่อยาก

รู้เท่านั้นแหละว่าแม่ฉันทำาอะไรบ้าง

Page 38: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

ภาค 1 ชีวิต

Page 39: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

วันที่ 29 มกราคม 1951 – เดวิด แล็คส์นั่ง

มองสายฝนอยู่เบื้องหลังพวงมาลัยรถบูอิคคันเก่าซึ่งจอดอยู่ใต้ต้นโอ๊ค

สูงตระหง่านนอกโรงพยาบาลจอห์นส์ ฮ็อพกินส์ ในรถยังมีลูกของเขา

อีกสามคน สองในสามยังใส่ผ้าอ้อม พวกเขานั่งรอเฮนเรียตตา แม่ของ

เด็กๆ เมื่อสองสามนาทีก่อน เธอกระโดดลงจากรถ ดึงเสื้อโค้ทขึ้น

คลุมศีรษะ รีบวิ่งเข้าไปในโรงพยาบาล ผ่านห้องน้ำาของ “คนผิวสี” ซึ่ง

เป็นห้องน้ำาเดียวที่เธอจะใช้ได้ ในตึกถัดไป ภายใต้หลังคาโดมมุงด้วย

ทองแดงสวยงามมีรูปปั้นหินอ่อนของพระเยซูสูงสิบฟุตครึ่งประทับยืน

โดดเด่นอยู่หน้าโถงทางเข้า พระหัตถ์ของพระองค์ผายออก ไม่มีใครใน

ครอบครวัของเฮนเรยีตตาทีจ่ะเขา้ไปหาหมอโดยไมแ่วะนำาดอกไมม้าวาง

ที่พระบาทของพระเยซู อธิษฐาน และถูนิ้วกับพระบาทของพระองค์

เพื่อความโชคดี ทว่าวันนั้นเฮนเรียตตาไม่ได้หยุดแวะทำาอะไรแบบนั้น

เธอตรงไปยังห้องนั่งรอของแผนกนรีเวชวิทยา ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง

เปิดกว้าง ไม่มีอะไรทั้งสิ้นนอกจากม้านั่งยาว พนักพิงตรง เรียงราย

1920s . 1930s . 1940s . 1950s . 1960s . 1970s . 1980s . 1990s . 2000s

1ตรวจร่างกาย

1951

t

Page 40: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

40 • ฮีลา เซลล์อมตะ

เป็นแถวยาว เหมือนแถวม้านั่งในโบสถ์

“อิฉันมีก้อนในมดลูกค่ะ” เธอบอกกับเจ้าหน้าที่ต้อนรับ “คุณ

หมออยากจะตรวจดู”

เป็นเวลากว่าปีแล้วที่เฮนเรียตตาบอกกับเพื่อนสาวว่ารู้สึก

เหมือนมีอะไรผิดปกติ วันหนึ่งหลังอาหารค่ำา ขณะที่นั่งเล่นบนเตียง

กับมาร์กาเร็ตและเซดี ญาติสาวของเธอ เธอเอ่ยขึ้นมาว่า “ฉันมีก้อน

อะไรแข็งๆ ก็ไม่รู้ข้างใน”

“อะไรนะ” เซดีถาม

“ก้อนอะไรไม่รู้แข็งๆ” เธอว่า “เจ็บมากเวลาตาเดย์นอนกับฉัน

พระคุณเจ้า ไม่เคยเจ็บอะไรขนาดนี้มาก่อน”

ครั้งแรกๆ ที่รู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เธอคิดว่าเป็นเพราะ

เพิ่งคลอดเด็บโบราห์เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา หรือไม่ก็โรคผู้หญิง...

ประเภทที่หมอจะรักษาด้วยการฉีดเพนนิซิลินและโลหะหนักที่เดวิด

มักจะนำากลับบ้านหลังจากออกไปเที่ยวสำามะเลเทเมา

เฮนเรียตตาจับมือญาติสาวมาวางบนท้องทีละคน เหมือนกับที่

เคยทำาตอนเด็บโบราห์เริ่มเตะ

“รู้สึกว่ามีอะไรมั้ย”

ญาติสาวทั้งสองกดนิ้วลงบนท้องหล่อนซ้ำาๆ หลายครั้ง

“ไม่รู้สิ” เซดีว่า “ท้องนอกมดลูกหรือเปล่า มันเกิดขึ้นได้นะ”

“ฉันไม่ได้ท้อง” เฮนเรียตตาว่า “มันเป็นก้อนแข็งๆ”

“เฮนนีฉันว่าเธอไปหาหมอเถอะ เผื่อเป็นอะไร”

แต่เฮนเรียตตาไม่ได้ไปหาหมอ และญาติของเธอก็ไม่เคยเอ่ย

ปากเล่าเรื่องที่คุยกันในห้องนอนให้ใครฟัง สมัยนั้น คนจะไม่ค่อย

คุยเรื่อง อย่าง...มะเร็งกัน แต่เซดีคิดเสมอว่า ที่เฮนเรียตตาเก็บเรื่องนี้

ไว้เป็นความลับก็เพราะกลัวหมอจะตัดมดลูกเธอ ทำาให้มีลูกไม่ได้อีก

ราวหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เล่าให้ญาติสาวฟังว่ารู้สึกว่ามีบาง

Page 41: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 41

อย่างผิดปกติ ก็ปรากฏว่าเฮนเรียตตาในวัยยี่สิบเก้าก็ท้องโจ ลูกคนที่

ห้า เซดีและมาร์กาเร็ตบอกว่าความเจ็บปวดนั่นคงเป็นเพราะเด็ก แต่

เฮนเรียตตายืนกรานว่าไม่ใช่

“มันมีก่อนที่ฉันจะท้องนะ” หล่อนบอก “มันต้องเป็นอย่างอื่น”

ทั้งสามไม่พูดเรื่องก้อนแข็งในท้องอีก และก็ไม่มีใครบอกเรื่อง

นี้กับสามีเฮนเรียตตาด้วย จากนั้น หลังจากคลอดโจได้สี่เดือนครึ่ง

เฮนเรียตตาเข้าห้องน้ำา และเห็นกางเกงในเปื้อนเลือดทั้งที่ยังไม่ถึง

เวลานั้นของเดือน

ประตหูอ้งน้ำาปดิอยู ่ลกู สาม ีและญาติๆ อยูด่า้นนอก เฮนเรยีตตา

เปิดน้ำาอุ่นลงในอ่าง หย่อนตัวลงไป แล้วกางขาออก ค่อยๆ เอานิ้ว

สอดเข้าไปในช่องคลอดแล้วไล้ไปทั่วบริเวณปากมดลูกจนกระทั่งเจอ

ก้อนแข็งที่เธอรู้ว่าจะต้องเจอ มันอยู่ลึกเข้าไปด้านใน เหมือนกับว่ามี

ใครเอาลูกหินเข้ามาฝังอยู่ทางซ้ายบริเวณปากมดลูก

เฮนเรียตตาลุกขึ้นจากอ่างน้ำา เช็ดเนื้อเช็ดตัวให้แห้ง แล้วใส่

เสื้อผ้า จากนั้นก็ออกไปบอกสามีว่า “เธอต้องพาฉันไปหาหมอแล้ว

ล่ะ ฉันมีเลือดออกทั้งที่ไม่ใช่วันนั้นของเดือน”

หมอที่อยู่ใกล้บ้านส่องดูช่องคลอดของเธอ เห็นก้อนแข็งนั่น

แต่คิดว่าน่าจะเป็นแผลซิฟิลิส ทว่าหลังจากเอาก้อนเนื้อมาตรวจ

แล้ว ปรากฏว่าไม่ใช่ จึงแนะให้เฮนเรียตตาไปตรวจที่แผนกนรีเวชของ

จอห์นส์ ฮ็อพกินส์

ฮ็อพกินส์เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา สร้าง

ในปี 1889 เพื่อเป็นโรงพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยและคนยากจน ตั้ง

อยู่บนพื้นที่กว้างขวางถึงราวสามสิบไร่ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสุสานและ

โรงพยาบาลประสาททางตะวันออกของเมืองบัลติมอร์ แผนกผู้ป่วย

นอกของโรงพยาบาลเต็มไปด้วยคนไข้ ส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำาที่ไม่มี

เงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่เดวิดขับรถเกือบยี่สิบไมล์พาเฮนเรียตตา

Page 42: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

42 • ฮีลา เซลล์อมตะ

มาที่นี่ไม่ใช่เพราะพวกเขาเห็นว่ามันดีกว่าที่อื่น แต่เพราะว่ามันเป็น

โรงพยาบาลแห่งเดียวในรัศมีหลายสิบไมล์ที่รับผู้ป่วยผิวดำา มันเป็นยุค

ที่มีการแบ่งแยกสีผิว หากคนผิวดำาเข้ามาในโรงพยาบาลเฉพาะสำาหรับ

คนผิวขาวเท่านั้น เจ้าหน้าที่จะไม่รับ แม้ว่าพวกเขาจะเจ็บหนักขนาด

อาจตายได้ในที่จอดรถก็ตาม ฮ็อพกินส์เอง แม้จะรับคนผิวดำา แต่ก็

แยกออกเป็นแผนกสำาหรับคนผิวดำาโดยเฉพาะ และแม้แต่เครื่องกด

น้ำาดื่ม ก็แยกต่างหากไว้สำาหรับคนผิวดำา

ดังนั้นเมื่อพยาบาลขานชื่อเฮนเรียตตาแล้ว จึงนำาเธอเดินเข้า

ประตูไปยังห้องตรวจสำาหรับคนผิวสีเท่านั้น ห้องหนึ่งในหลายห้องที่

เรียงรายเป็นแถวยาว มีกระจกใสกั้นระหว่างห้องเพื่อให้พยาบาลมอง

ทะลุถึงกันได้ เฮนเรียตตาถอดเสื้อผ้าออก เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวลงแป้ง

แข็งของโรงพยาบาลแล้วนอนลงบนเตียงไม้ รอคุณหมอเฮาเวิร์ด โจนส ์

แพทย์นรีเวชซึ่งอยู่เวรในวันนั้นเข้ามาตรวจ หมอโจนส์มีร่างผอม ผม

เริ่มหงอกเสียงทุ้มลึกนุ่มนวลมีสำาเนียงชาวใต้ เมื่อเขาเดินเข้ามาในห้อง

ตรวจ เฮนเรียตตาบอกเขาถึงก้อนแข็งนั่น ก่อนที่จะลงมือตรวจ เขา

พลิกดูประวัติผู้ป่วยของเธอซึ่งสรุปชีวิตคร่าวๆ และอาการป่วยต่างๆ

ที่ไม่เคยได้รับการตรวจของเฮนเรียตตาดังนี้ :

การศึกษาเกรดหกหรือเจ็ด เป็นแม่บ้าน มีบุตรห้าคน มี

ปัญหาการหายใจตั้งแต่เด็กจากคออักเสบเรื้อรังและผนัง

กั้นจมูกเบี้ยว หมอแนะนำาให้ผ่าตัดแก้ไข ผู้ป่วยปฏิเสธ

เคยปวดฟันซี่หนึ่งอยู่ราวห้าปี สุดท้ายถูกถอนออกพร้อม

กับอีกหลายซี่ มีปัญหากังวลเรื่องเดียวคือ บุตรสาวคน

โตที่ป่วยเป็นลมชักและพูดไม่ได้ ครอบครัวมีความสุข

ดี ดื่มบ้างนานๆ ครั้ง ไม่เคยเดินทางไปไหน ร่างกาย

สมบูรณ์ดี ให้ความร่วมมือดี มีพี่น้อง 10 คน เสียชีวิต

Page 43: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 43

จากอุบัติเหตุ 1 คน โรคหัวใจ 1 คน ถูกวางยา 1 คน

มีเลือดไหลจากช่องคลอดโดยไม่รู้สาเหตุ และมีเลือด

ออกมาปนกับปัสสาวะในการตั้งครรภ์ 2 ครั้งสุดท้าย

หมอแนะนำาให้ตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell) ผู้ป่วยปฏิเสธ อยู่กินกับสามีตั้งแต่อายุ 15 ไม่ชอบ

มีเพศสัมพันธ์ เป็นซิฟิลิสชนิดไม่มีอาการแต่ยกเลิกการ

รักษา โดยบอกว่าเธอสบายดี ไม่เป็นอะไร สองเดือน

ก่อนหน้าที่จะมาหาหมอครั้งนี้ ผู้ป่วยมีเลือดออกมากับ

ปัสสาวะอย่างเห็นได้ชัดหลังจากคลอดบุตรคนที่ห้า ผล

การตรวจพบว่ากิจกรรมของเซลล์ได้เพิ่มขึ้นมากบริเวณ

ปากมดลูก หมอแนะให้รับการวินิจฉัยและส่งตัวไปหา

ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจให้แน่นอนว่าไม่ใช่การอักเสบหรือ

มะเร็ง แต่ผู้ป่วยได้ยกเลิกนัด หนึ่งเดือนก่อนที่จะมาพบ

แพทย์ครั้งนี้ ผู้ป่วยมาตรวจและพบว่าเป็นหนองใน หมอ

เรียกตัวให้กลับไปรักษา แต่ผู้ป่วยไม่ได้มา

ไม่น่าแปลกใจเลยที่แทบทุกครั้งเฮนเรียตตาไม่ได้กลับไปหา

หมอตามที่บอก สำาหรับเธอแล้ว การเดินเข้าไปในฮ็อพกินส์เหมือน

การไปต่างประเทศซึ่งพูดภาษาที่เธอไม่เข้าใจ เฮนเรียตตารู้แต่การ

เก็บใบยาสูบ เชือดหมู ไม่เคยเลยที่จะได้ยินศัพท์แพทย์อย่าง cervix (ปากมดลูก) หรือ biopsy (การตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ) เธออ่านเขียน

ได้แค่งูๆ ปลาๆ ไม่เคยเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ดังนั้น เช่น

เดียวกับผู้ป่วยผิวดำาส่วนใหญ่ เธอจะไปโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อเป็นอะไร

ที่สุดๆ แล้วเท่านั้น

หมอโจนส์ฟังเฮนเรียตตาบรรยายถึงความเจ็บปวดและการ

ตกเลือด “คนไข้บอกว่า รู้ตัวว่ามีบางอย่างผิดปกติที่คอมดลูก” เขา

Page 44: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

44 • ฮีลา เซลล์อมตะ

เขียนในหนังสือในเวลาต่อมา “เมื่อถามว่ารู้ได้อย่างไร เธอบอกว่าเธอ

รู้สึกว่ามีก้อนแข็งตรงนั้น ผมไม่เข้าใจนักว่าเธอหมายถึงอะไร...นอกเสีย

จากว่าเธอได้เอามือเข้าไปคลำาบริเวณนั้นจริงๆ”

เฮนเรียตตานอนเหยียดยาวบนเตียง เท้าสอดอยู่ในห่วง ตาจับ

จ้องเพดาน แน่นอน หมอโจนส์พบก้อนแข็งตรงที่เธอบอกเป๊ะ เขา

บรรยายว่ามันเป็นก้อนแข็งขรุขระขนาดเท่าเหรียญบาท ถ้าเปรียบปาก

มดลกูกบันาฬกิา กอ้นแขง็นีอ้ยูท่ีบ่รเิวณสีน่าฬกิา เขาเคยเหน็แผลมะเรง็

ปากมดลูกมาเป็นพันแต่ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ มันเป็นก้อนสีม่วง มัน

ปลาบ (เหมือน “เยลลีองุ่น” เขาเขียนในภายหลัง) และบอบบางมาก

แค่แตะเบาๆ ก็เลือดออก หมอโจนส์จัดการตัดก้อนเนื้อตัวอย่างเล็กๆ

และส่งไปวินิจฉัยในห้องทดลองพยาธิวิทยาที่อยู่ถัดลงไป จากนั้นก็

บอกให้เฮนเรียตตากลับบ้านได้

เมื่อเฮนเรียตตาออกไปแล้ว หมอโจนส์ได้นั่งลง และบอกผู้ช่วย

ให้บันทึกอาการของเฮนเรียตตาว่า : “ประวัติผู้ป่วยของเธอน่าสนใจ

ตรงที่ว่า เธอตั้งครรภ์จนครบกำาหนดและมาคลอดที่นี่เมื่อวันที่ 19

กันยายน 1950 แต่ว่าไม่มีการบันทึกลงในประวัติในตอนนั้น หรือใน

อีกหกสัปดาห์ต่อมาเมื่อเธอกลับมาตรวจว่ามีสิ่งผิดปกติที่ปากมดลูก”

ใช่แล้ว ก้อนเนื้องอกที่ว่าเกิดขึ้นเพียงสามเดือนหลังจากนั้น ถ้า

ไม่ใช่ว่าเป็นเพราะหมอของเธอไม่เห็นในการตรวจร่างกายครั้งสุดท้าย

ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ ก็แปลว่า ก้อนเนื้อนั้นโตเร็วมากอย่างไม่น่าเชื่อ

Page 45: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

เฮนเรียตตา แล็คส์ มีชื่อตอนเกิดว่าลอเร็ตตา

เพลซึนท์ เกิดที่โรโนค เวอร์จิเนีย ในวันที่ 1 สิงหาคม 1920 ไม่มีใคร

รู้ว่าเธอได้ชื่อเฮนเรียตตามาได้อย่างไร แฟนนี หมอตำาแยทำาคลอดเธอ

ในกระท่อมเล็กๆ ปลายสุดของถนนซึ่งมองออกไปเห็นสถานีรถไฟ

แต่ละวันมีรถไฟผ่านไปมานับร้อยตู้ เฮนเรียตตาอาศัยอยู่ในบ้านกับ

พ่อแม่และพี่แปดคนจนกระทั่งปี 1924 เมื่อเอลิซา แล็คส์ เพลซึนท์

มารดาของเธอเสียชีวิตลงขณะให้กำาเนิดบุตรคนที่สิบ

จอห์นนี เพลซึนท์ บิดาของเฮนเรียตตาเป็นชายล่ำาเตี้ย เดินเขยก

ถือไม้เท้าซึ่งเขาจะใช้ฟาดคนไปด้วย เรื่องเล่าของตระกูลบอกว่า เขา

ฆ่าพี่ชายตัวเองตายเพราะพยายามจะมีอะไรกับเอลิซา จอห์นนีไม่มี

น้ำาอดน้ำาทนกับเด็กๆ นัก ดังนั้นเมื่อเอลิซาเสียชีวิต เขาจึงพาลูกๆ

กลับไปที่โคลฟเวอร์ เวอร์จิเนีย ซึ่งญาติพี่น้องในครอบครัวยังคงทำา

ไร่ยาสูบกันอยู่บนที่ดินซึ่งบรรพบุรุษเคยเป็นทาสมาก่อน ไม่มีใครใน

โคลฟเวอร์สามารถรับเด็กทั้งสิบคนไปอยู่ด้วยทั้งหมด ดังนั้นเด็กๆ จึง

1920s . 1930s . 1940s . 1950s . 1960s . 1970s . 1980s . 1990s . 2000s

2โคลฟเวอร์

1920-1942

t

Page 46: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

46 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ถูกแยกออกไปอยู่กับญาติคนนั้นคนนี้ บ้างก็ไปอยู่กับป้า บ้างก็ไปอยู่

กับลูกพี่ลูกน้อง ตัวเฮนเรียตตาถูกส่งไปอยู่กับทอมมี แล็คส์ ผู้เป็นตา

ทอมมีอาศัยอยู่ในกระท่อมซุงที่ทุกคนเรียกว่า “เรือนบ้าน”

ก่อนหน้านี้มันเป็นเรือนสำาหรับทาส มีขนาดสี่ห้องนอน พื้นปูด้วยไม้

แผ่น มีตะเกียงแก๊สให้แสงสว่าง ใช้น้ำาที่เฮนเรียตตาหาบขึ้นเขามาจาก

ลำาธารซึ่งอยู่ห่างไปค่อนข้างไกล บ้านซุงนี้ตั้งอยู่บนไหล่เขา มีลมแรง

พัดรอดเข้ามาตามรอยแยกของกำาแพง อากาศด้านในเย็นมากขนาด

ที่ว่าเมื่อใครเสียชีวิตลง พวกเขาสามารถวางร่างคนตายไว้ที่ห้องโถง

เพื่อให้คนมาเคารพศพได้หลายวัน ก่อนที่จะนำาไปฝังในสุสานที่อยู่

เลยไปด้านหลัง

ตาของเฮนเรียตตามีหลานอยู่ด้วยแล้ว 1 คนในตอนนั้น เป็น

ลูกที่ลูกสาวคนหนึ่งของแกทิ้งไว้หลังจากที่คลอดเด็กบนพื้นในเรือน

บ้าน ชื่อของเด็กคือเดวิด แล็คส์ แต่ทุกคนเรียกเขาว่าเดย์ เพราะการ

ลากเสียงแบบสำาเนียงชาวบ้านของพวกแล็คส์ทำาให้เดวิดฟังเหมือน เดย์

หนูน้อยเดย์คือเด็กที่พวกแล็คส์เรียกว่าเด็กลักลอบ หลังจาก

ที่ชายคนหนึ่งชื่อจอห์นนี โคลแมนเดินทางผ่านมาในเมือง เก้าเดือน

ต่อมาเดย์ก็ลืมตาดูโลก มันชี – หมอตำาแยวัยสิบสองปี ลูกพี่ลูกน้อง

ของเดย์เป็นคนทำาคลอดเขา ทารกน้อยเกิดมาตัวเขียวปั้ด ไม่หายใจ

หมอฝรั่งผิวขาวสวมหมวกดาร์บี้ถือไม้เท้ามาที่เรือนบ้าน เขียนลงใน

สูติบัตรว่า “เสียชีวิตเมื่อคลอด” ก่อนขับรถม้ากลับเข้าเมือง ทิ้งฝุ่น

สีแดงคลุ้งไว้เบื้องหลัง

มันชีสวดอ้อนวอนพระเจ้าขณะที่หมอขับรถออกไป พระองค์

เจ้าข้า ลูกรู้ว่าพระองค์ไม่ได้อยากจะพรากทารกน้อยนี้ไป...จากนั้นก็

จัดการทำาความสะอาดเนื้อตัวเดย์ในอ่างน้ำาอุ่น แล้วนำามาวางบนผ้า

สีขาว ลูบเนื้อลูบตัวพร้อมตบเบาๆ จนกระทั่งเขาเริ่มหายใจ ผิวเขียว

ปั้ดค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำาตาลอ่อน

Page 47: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 47

เมื่อจอห์นนี เพลซึนท์ส่งเฮนเรียตตามาอยู่กับตา เธอมีอายุ

สี่ขวบ ส่วนเดย์อายุเกือบเก้าขวบ ไม่มีใครคาดว่าเธอจะใช้เวลาตลอด

ชีวิตหลังจากนั้นกับเดย์ ตอนแรกก็ในฐานะลูกพี่ลูกน้องที่โตขึ้นมาด้วย

กันในบ้านของตา จากนั้นก็ในฐานะภรรยาของเขา

ในฐานะเด็ก ทุกวัน เฮนเรียตตาและเดย์จะตื่นตั้งแต่ตีสี่เพื่อรีด

นมวัว ให้อาหารไก่ หมู และม้า รดน้ำาพืชผักในสวนซึ่งมีทั้งข้าวโพด

ถั่ว และผักต่างๆ ก่อนที่จะออกไปทำางานที่ไร่ยาสูบกับคลิฟฟ์, เฟร็ด,

เซดี, มาร์กาเร็ต และคนอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องหรือ

ญาติของทั้งสอง พวกเขาใช้ชีวิตวัยเด็กยืนโก้งโค้งอยู่ในไร่ เพาะปลูก

ยาสูบ เบื้องหลังคันไถที่ลากด้วยล่อ ในฤดูใบไม้ผลิของทุกปี พวกเขา

จะปลิดใบสีเขียวขนาดใหญ่ออกจากต้นมัดรวมกันเป็นฟ่อนเล็กๆ จน

นิ้วมือถลอกปอกเปิกและเหนียวหนึบด้วยยางนิโคติน ก่อนจะเอามัน

ขึ้นไปแขวนตามขื่อในโรงบ่มใบยาของปู่หรือตา ทุกฤดูร้อนพวกเขาจะ

อธิษฐานขอให้มีพายุฝน เพื่อบรรเทาความร้อนให้กับผิวที่ถูกแดดเผา

จนเกรียม เมื่อฝนตก พวกเขาจะกรีดร้อง พากันวิ่งออกไปในไร่ เพื่อ

เก็บถั่ววอลนัตกับผลไม้สุกงอมที่ลมพัดร่วงจากต้นไม้จนเต็มอ้อมแขน

เชน่เดยีวกบัเดก็คนอืน่ๆ ในตระกลูแลค็ส ์เดวดิไมไ่ดเ้รยีนหนงัสอื

จนจบ เขาต้องออกจากโรงเรียนหลังจากจบเกรดสี่เพราะครอบครัว

ต้องการให้เขามาช่วยทำางานในไร่ แต่เฮนเรียตตาได้เรียนจนถึงเกรด

หก ในช่วงเปิดเรียน หลังจากให้อาหารสัตว์และรดน้ำาพืชผักในสวน

แล้ว เฮนเรียตตาจะเดินระยะทางสองไมล์ผ่านโรงเรียนของเด็กผิว

ขาวซึ่งจะขว้างปาก้อนหินและตะโกนล้อเลียนเธอไปยังโรงเรียนของ

คนผิวสีซึ่งเป็นบ้านไร่ขนาดสามห้อง ตั้งหลบอยู่ใต้ร่มเงาหมู่ไม้สูง มี

ลานด้านหน้าซึ่งครูโคลแมนจะให้เด็กหญิงและชายแยกกันเล่น หลัง

เลิกเรียนหรือเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีเรียน เฮนเรียตตาจะออกไปทำางาน

ในไร่กับญาติพี่น้องคนอื่นๆ

Page 48: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

48 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ถ้าอากาศดี หลังเลิกงาน เฮนเรียตตาและญาติพี่น้องจะพากัน

วิ่งตรงไปว่ายน้ำายังแอ่งน้ำาที่พวกเขาทำาขึ้นทุกปี โดยเอาหิน ไม้ ถุงทราย

หรืออะไรก็ตามที่ไม่ลอยขึ้นมาไปกั้นลำาธารที่ไหลผ่านหลังบ้าน ก่อน

อื่นพวกเขาจะโยนหินลงไปเพื่อไล่งูพิษซึ่งอาจซ่อนตัวอยู่ แล้วทิ้งตัวลง

จากกิ่งไม้ใหญ่ลงน้ำา หรือไม่ก็ว่ายออกไปจากฝั่งซึ่งเป็นโคลนเฉอะแฉะ

ตอนค่ำาพวกเขาจะก่อไฟโดยเอารองเท้าเก่าเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ

ไล่ยุง และนั่งชมดาวจากใต้ต้นโอ๊คขนาดใหญ่ที่พวกเขาเอาเชือกมาผูก

ทำาชิงช้า พวกเขาจะเล่นไล่จับ ตั้งเต และวิ่งร้องรำาทำาเพลงไปทั่วไร่จน

กระทั่งตาทอมมีออกมาตะโกนเรียกให้ทุกคนเข้านอน

ทุกคืนเด็กๆ จะคลานขึ้นไปนอนเบียดกันบนห้องเล็กๆ เหนือ

เรือนครัวที่สร้างด้วยไม้ ตั้งห่างไปจากเรือนบ้านไม่กี่ฟุต พวกเขานอน

เรียงราย กระซิบกระซาบเล่าเรื่องผีชาวไร่หัวขาดที่เดินท่องไปตามถนน

ตอนกลางคืน หรือชายตาโบ๋ที่อาศัยอยู่ริมธาร ก่อนที่จะผล็อยหลับไป

จนกระทั่งยายโคลอี้ก่อเตาไฟข้างล่าง และปลุกให้พวกเขาตื่นขึ้นด้วย

กลิ่นหอมหวลของบิสกิตอบใหม่

ค่ำาคืนหนึ่งของทุกเดือนในฤดูเก็บเกี่ยว ตาจะจัดการเทียมม้า

หลังจากกินอาหารเย็นเสร็จ แล้วขับเกวียนพาเด็กๆ เข้าไปยังเมือง

เซาท์บอสตัน ที่ตั้งของตลาดยาสูบใหญ่อันดับสองของประเทศ ซึ่งจะ

มีขบวนพาเหรดการประกวดนางงามยาสูบ และท่าเทียบเรือซึ่งจะขน

ใบยาแห้งไปยังคนสูบบุหรี่ทั่วโลก

ก่อนออกจากบ้าน ตาทอมมีจะเรียกหลานๆ ขึ้นเกวียน เด็กๆ

นั่งอยู่บนมัดใบยาสูบ พยายามลืมตาตื่นให้นานที่สุดก่อนที่จะพ่ายแพ้

ต่อความง่วงและจังหวะการเดินที่สม่ำาเสมอชวนให้ง่วงนอนของม้า เช่น

เดียวกับชาวไร่ทั่วเวอร์จิเนีย ทอมมี แล็คส์และหลานๆ จะขับเกวียน

ตลอดคืนเพื่อนำาผลผลิตของพวกเขามายังเซาท์บอสตัน ชาวไร่เหล่านี้

จะจอดเกวียนเรียงรายเป็นแถวยาวรอเวลาที่ประตูไม้มหึมาสีเขียวของ

Page 49: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 49

โกดังประมูลใบยาสูบเปิดออกในตอนเช้า

เมื่อมาถึง เฮนเรียตตาและลูกพี่ลูกน้องจะช่วยตาปลดม้าจาก

เกวียน เทอาหารม้าใส่ราง แล้วขนใบยาลงมาวางบนพื้นไม้ของโกดัง

ผู้ดำาเนินการประมูลจะขานตัวเลขเสียงดังก้องไปทั่วโกดังขนาดใหญ่

ที่มีเพดานสูงเกือบสามสิบเมตร ช่องกระจกบนหลังคามัวซัวจากฝุ่น

ที่เกาะทับถมกันนานนับปี ขณะที่ทอมมียืนอยู่ข้างผลผลิต ภาวนาขอ

ให้ได้ราคาดี เฮนเรียตตาและพี่ๆ น้องๆ จะพากันวิ่งเล่นอยู่รอบกอง

ใบยา รัวคำาพูดมั่วๆ ใส่กันเลียนแบบผู้ดำาเนินการประมูล ตอนกลาง

คืน พวกเขาจะช่วยตาทอมมีขนใบยาที่ยังขายไม่ได้ลงไปยังห้องใต้ดิน

ก่อนที่ตาจะเอาใบยาเหล่านั้นมาทำาเป็นเตียงให้เด็กๆ นอน ชาวไร่ผิว

ขาวจะนอนอยู่ในห้องโถงใหญ่ข้างบน บ้างก็มีห้องส่วนตัว ชาวไร่ผิว

ดำาจะลงไปนอนใต้โกดังกับม้า ล่อ และสุนัข บนพื้นที่เป็นดินอัดแน่น

มีคอกสำาหรับสัตว์เรียงราย และขวดเหล้าเปล่าๆ กองเป็นพะเนินสูง

เกือบถึงเพดาน

ตอนกลางคืนที่โกดังเป็นเวลาของการดื่ม พนัน การค้าประเวณ ี

มีฆาตกรรมเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวขณะที่ชาวไร่พากันละลายเงินที่ได้

มาจากการทำางานตลอดทั้งปี จากที่นอนใบยาสูบ เด็กๆ จะนอนจับ

จ้องขื่อขนาดเท่าลำาต้นของต้นไม้บนหลังคา ก่อนที่จะผล็อยหลับไป

ท่ามกลางเสียงหัวเราะ เสียงขวดเหล้ากระทบกันดังเคร้งคร้าง และ

กลิ่นใบยาสูบแห้ง

ในตอนเช้าทุกคนจะปีนขึ้นเกวียนพร้อมใบยาที่ขายไม่ได้เพื่อ

เดินทางอันยาวไกลกลับบ้าน เด็กๆ ที่ไม่ได้ไปด้วยต่างรู้ว่าการไป

เซาท์บอสตันหมายถึงของฝากอร่อยๆ สำาหรับทุกคน อาจจะเป็นเนย

แข็งก้อนใหญ่หรือไส้กรอกชิ้นหนา ดังนั้นพวกเขาจึงมานั่งรอกันที่ถนน

สายหลักเป็นชั่วโมงเพื่อเดินตามเกวียนกลับไปที่เรือนบ้าน

ถนนสายหลักที่คลุ้งไปด้วยฝุ่นของโคลฟเวอร์เต็มไปด้วยรถ

Page 50: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

50 • ฮีลา เซลล์อมตะ

โมเดล เอ. และเกวียนที่ลากด้วยล่อหรือม้า ตาเฒ่าสโนว์เป็นเจ้าของ

แทรกเตอรค์นัแรกของเมอืงและขบัมนัไปรา้นราวกบัมนัเปน็รถยนต ์โดย

แขนข้างหนึ่งหนีบหนังสือพิมพ์ มีเจ้าคาดิลแล็คและแดน สุนัขไล่เนื้อ

ตัวใหญ่นั่งเห่าหอนอยู่ข้างๆ ถนนสายหลักของเมืองมีโรงภาพยนตร์

ธนาคาร ร้านเครื่องประดับ ร้านหมอ ร้านเครื่องเหล็ก และโบสถ์

ตั้งเรียงราย เมื่ออากาศดี ชายผิวขาว ใส่สายเอี๊ยมดึงกางเกง หมวก

ทรงสูง คาบซิการ์อันยาว ตั้งแต่นายกเทศมนตรีจนถึงสัปเหร่อจะ

ออกมายืนจิบวิสกี้ในขวดน้ำาผลไม้ พูดคุยกันบนถนน หรือไม่ก็นั่งเล่น

หมากรุกบนถังไม้หน้าร้านขายยา บรรดาภรรยายืนซุบซิบนินทาอยู่ใน

ร้านค้าลูกน้อยของพวกหล่อนนอนเรียงรายอยู่บนเคาน์เตอร์ หัวพาด

อยู่กับม้วนผ้าตัดเสื้อ

เฮนเรียตตาและลูกพี่ลูกน้องจะรับจ้างดึงใบยาสูบให้พวกคนขาว

เพื่อจะเอาค่าจ้างสิบเซนต์ไปดูหนังคาวบอยเรื่องโปรด เจ้าของโรงหนัง

จะฉายหนังเงียบขาว-ดำา โดยผู้เป็นภรรยาเล่นเปียโนคลอ หล่อนเล่นได้

เพียงเพลงเดียว ดังนั้นทุกฉากจึงเป็นเพลงสนุกสนานแบบงานคาร์นิวัล

แม้กระทั่งฉากที่ตัวละครถูกยิงตายก็ตาม เด็กๆ ครอบครัวแล็คส์จะนั่ง

อยู่ตรงส่วนของคนผิวสี ข้างเครื่องฉาย ซึ่งจะมีเสียงดังคลิกๆ เหมือน

เครื่องเคาะจังหวะดังตลอดเรื่อง

เมื่อเฮนเรียตตากับเดย์โตขึ้น พวกเขาเปลี่ยน

จากเล่นไล่จับมาเป็นขี่ม้าแข่งกันไปตามถนนดินซึ่งทอดขนานไปกับ

พื้นที่ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกกันว่าไร่ยาสูบแล็คส์ แต่ปัจจุบันเรียกสั้นๆ ว่า

แล็คส์ทาวน์ พวกเด็กผู้ชายมักจะแย่งกันขี่เจ้าชาร์ลีฮอร์ส ม้าสีน้ำาตาล

อ่อนตัวสูงใหญ่ของตาทอมมี ซึ่งมีฝีเท้าเร็วกว่าม้าทุกตัวในโคลฟเวอร์

เฮนเรียตตาและพวกเด็กผู้หญิงจะนั่งดูจากเชิงเขาหรือไม่ก็บนกองฟาง

บนเกวียน กระโดดขึ้นๆ ลงๆ ตบมือ ร้องกรี๊ดกร๊าดเมื่อพวกผู้ชายควบ

Page 51: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 51

ม้าผ่านหน้า

เฮนเรียตตามักจะเชียร์เดย์ แต่บางครั้งก็เชียร์โจ กรินแนน หรือ

ตาโจบ้า ลูกพี่ลูกน้องอีกคนของเธอ ตาโจบ้าคือชื่อที่คลิฟฟ์ตั้งให้กับ

หนุ่ม “ที่ไม่ธรรมดา” ร่างสูง กำายำา ผิวดำา จมูกโด่ง ผมดกดำา มีขน

ปุกปุยที่แขน แผ่นหลัง และคอ ขนาดต้องโกนขนทั่วร่างในฤดูร้อน

เพราะกลัวไฟลุกติด พวกเขาเรียกโจว่าตาโจบ้าก็เพราะเขาหลงรัก

เฮนเรียตตาหัวปักหัวปำา และทำาทุกอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจจาก

เธอ เฮนเรียตตาซึ่งมีรอยยิ้มหวานหยดและตากลมโตสีวอลนัตเป็น

เด็กสาวที่สวยที่สุดในแล็คส์ทาวน์

ครั้งแรกที่ตาโจบ้าพยายามฆ่าตัวตายเพราะเฮนเรียตตานั้น

เป็นกลางฤดูหนาว เขาวิ่งวนเวียนรอบตัวเธอระหว่างที่เฮนเรียตตา

กำาลังเดินกลับจากโรงเรียน ตื๊ออ้อนวอนขอให้เธอไปเที่ยวกับเขา “น่า

นะ..เฮนนีจ๋า..ให้โอกาสฉันสักครั้งเถอะนะจ๊ะ” เมื่อเธอปฏิเสธ ตาโจบ้า

วิ่งกระโดดลงไปในสระน้ำาที่เย็นจนแข็ง และไม่ยอมขึ้นมา จนกระทั่ง

เธอใจอ่อน ยอมไปเที่ยวกับเขา

ญาติพี่น้องทุกคนพากันล้อโจว่า “สงสัยมันคิดว่าน้ำาแข็งจะช่วย

ดับความร้อนเร่าได้ แต่มันดันร้อนเกินจนน้ำาเดือดแทน!” เซดี ญาติ

สาวของเฮนเรียตตาซึ่งเป็นพี่ของตาโจบ้าเอ็ดเขาว่า “แกหลงรักผู้หญิง

หัวปักหัวปำาจนยอมตายเชียวเหรอ ทำาอย่างงี้ไม่ถูกนะ”

ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างเฮนเรียตตากับตาโจบ้านอกเสีย

จากว่าทั้งคู่ออกไปเที่ยวกันหลายครั้งและกอดจูบกันนิดๆ หน่อยๆ ที่รู้

คือเฮนเรียตตากับเดย์นอนห้องเดียวกันมาตั้งแต่เธออายุสี่ขวบ ดังนั้น

เมื่อทั้งสองเริ่มมีลูกด้วยกัน จึงไม่มีใครแปลกใจ ลอเรนซ์...ลูกชายของ

ทั้งคู่ลืมตาดูโลกหลังจากเฮนเรียตตาอายุครบสิบสี่ไม่กี่เดือน หลังจาก

นั้นสี่ปี ลูซิล เอลซี เพลซึนท์ น้องสาวของลอเรนซ์ก็ตามมา ทั้งคู่คลอด

บนพื้นของเรือนบ้าน เหมือนกับพ่อ กับปู่ ย่า ตา ยาย

Page 52: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

52 • ฮีลา เซลล์อมตะ

สมัยนั้นยังไม่คำาว่า ลมชักพิการทางสมอง หรือ ซิฟิลิสระบบ

ประสาท คำาเหล่านี้จะใช้เรียกอาการของเอลซีในอีกหลายปีต่อมา

เอลซีออกมาดูโลกเร็วมาก ยังไม่ทันที่เดย์จะพาหมอตำาแยมาถึงบ้าน

เธอก็พรวดออกมา หัวโขกพื้น และนี่เองคือสาเหตุที่ใครๆ ว่ากันว่า

ทำาให้เธอมีสมองเหมือนเด็กทารก

สมุดบันทึกเก่าแก่ฝุ่นจับเขรอะในโบสถ์ของเฮนเรียตตาเต็ม

ไปด้วยชื่อของผู้หญิงที่ถูกขับออกจากโบสถ์เพราะมีลูกโดยที่ยังไม่ได้

แต่งงาน แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ไม่มีชื่อเฮนเรียตตารวมอยู่ด้วย แม้

ชาวบ้านจะลือกันทั่วเมืองว่าตาโจบ้าอาจเป็นพ่อของลูกคนใดคนหนึ่ง

ของเธอก็ตาม

ตาโจบ้าเอามีดพกทื่อๆ เสียบอกตัวเองเมื่อรู้ว่าเฮนเรียตตาจะ

แต่งงานกับเดย์ พ่อของเขาพบเขานอนเมาไม่รู้เรื่องที่ลานบ้าน เสื้อโชก

ไปด้วยเลือด และพยายามจะห้ามเลือด แต่ตาโจบ้าไม่ยอม ดิ้นและ

อาละวาดใส่ ทำาให้เลือดยิ่งออก สุดท้ายพ่อของเขาสามารถปลุกปล้ำา

ลากตัวเขาขึ้นรถ จับมัดติดกับประตู และขับพาไปหาหมอ เมื่อโจกลับ

ถึงบ้านพร้อมผ้าพันแผลทั้งตัว เซดีได้แต่พูดว่า “แกทำาตัวเองถึงขนาด

นี้ เพียงเพื่อไม่ให้เฮนนีแต่งงานกับเดย์รึ” แต่ตาโจบ้าไม่ใช่คนเดียวที่

พยายามหยุดการแต่งงาน

แกลดีส์ พี่สาวของเฮนเรียตตาพูดอยู่เสมอว่าน้องสามารถได้คน

ที่ดีกว่านี้ เมื่อพวกแล็คส์เล่าถึงเฮนเรียตตากับเดย์ และชีวิตวัยเด็กของ

พวกเขาในโคลฟเวอร์ ส่วนใหญ่จะฟังดูสวยงามราวกับเทพนิยาย แต่

เรื่องจากปากของแกลดีส์ไม่ใช่อย่างนั้น ไม่มีใครรู้ว่าทำาไมแกลดีส์จึงไม่

เห็นด้วยกับการแต่งงานของทั้งสองนัก บางคนบอกว่า แกลดีส์อิจฉาที่

เฮนเรียตตาสวยกว่า แต่แกลดีส์ยืนกรานเสมอว่าเดย์จะไม่ใช่สามีที่ดี

เฮนเรียตตากับเดย์แต่งงานกันเองที่บ้านของศาสนาจารย์

ในวันที่ 10 เมษายน 1941 เธออายุยี่สิบ เขายี่สิบห้า ไม่มีการดื่ม

Page 53: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 53

น้ำาผึ้งพระจันทร์เพราะมีงานมากมายต้องทำาและไม่มีเงินด้วย เมื่อถึง

ฤดูหนาว อเมริกาได้เข้าร่วมสงคราม บริษัทยาสูบทั้งหลายส่งบุหรี่ไป

ให้ทหารฟรี ตลาดยาสูบจึงรุ่งมาก ทว่าขณะที่ไร่ยาสูบขนาดใหญ่ทำาเงิน

ได้มากมาย ไร่ขนาดเล็กยังคงลำาบาก สำาหรับเฮนเรียตตากับเดย์แล้ว

เพียงขายใบยาในแต่ละฤดูกาลได้พอเลี้ยงครอบครัวและสามารถปลูก

ใบยาสำาหรับฤดูกาลต่อไปก็ถือว่าโชคดีแล้ว

ดังนั้นหลังเสร็จพิธีแต่งงาน เดย์จึงกลับไปจับคันไถไม้ที่เต็มไป

ด้วยเสี้ยน ไถคราด พรวนดินต่อไป ส่วนเฮนเรียตตาเข็นรถเข็นทำาเอง

เดินตามติดมาด้านหลัง คอยหย่อนต้นอ่อนลงในหลุมดินแดงที่เพิ่ง

พรวนใหม่

บ่ายวันหนึ่งปลายปี 1941 เฟร็ด การ์เร็ต ลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่ง

ขับรถตะลุยเข้ามาตามทางดินขนานกับไร่ของพวกเขา เฟร็ดขับรถ

เชฟวีปี 36 แต่งตัวโก้เก๋ลงจากบัลติมอร์มาเยี่ยมบ้าน ก่อนหน้านี้เพียง

ปีเดียว เฟร็ดกับคลิฟฟ์ พี่ชายของเขาก็ทำางานในไร่ยาสูบที่โคลฟเวอร์นี่

แหละ ทั้งสองยังหารายได้พิเศษด้วยการเปิดร้านขายของชำา “สำาหรับ

คนผิวสี” ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อด้วยเงินเชื่อ แล้วก็ยังเปิดบาร์เล็กๆ

มีตู้เพลง ที่เฮนเรียตตาชอบไปเต้นรำาบนพื้นดินแดงอัดแน่น ทุกคน

จะหยอดเหรียญลงในตู้เพลงและดื่มอาร์ซีโคลา ร้านของพวกเขาไม่

ได้มีกำาไรมากมายนัก ในที่สุดเฟร็ดจึงนำาเงินที่มีทั้งหมดสามเหรียญ

ยี่สิบห้าเซนต์ ซื้อตั๋วรถประจำาทางเดินทางขึ้นเหนือเพื่อแสวงหาชีวิต

ใหม่ เช่นเดียวกับญาติคนอื่นๆ เฟร็ดไปทำางานที่โรงงานถลุงเหล็กที่

สแปร์โรว์พอยท์ของเบธเลเฮมสตีล โดยพักอยู่ที่เทอร์เนอร์สเตชัน –

ชุมชนคนงานผิวดำาที่ตั้งอยู่บนแหลมบริเวณแม่น้ำาพาแท็บสโก ห่าง

จากตัวเมืองบัลติมอร์ราวยี่สิบไมล์

ในปลายทศวรรษ 1800 ที่โรงงานถลุงเหล็กกล้าสแปร์โรว์พอยท์

เพิ่งเปิดใหม่นั้น พื้นที่แถบเทอร์เนอร์สเตชันยังเป็นโคลนเลน หรือไร่

Page 54: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

54 • ฮีลา เซลล์อมตะ

นาเป็นส่วนใหญ่ มีกลุ่มกระท่อมโกโรโกโส มีแผ่นไม้พาดเป็นทางเดิน

เชื่อมต่อกัน เมื่อความต้องการเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นในสงครามโลกครั้งที่

หนึ่ง คนงานผิวขาวได้พากันหลั่งไหลเข้ามาในเมืองดันดอล์คซึ่งอยู่ติด

กัน จากนั้นเรือนพักสำาหรับคนงานผิวดำาของเบธเลเฮมสตีลก็เริ่มแออัด

ทำาให้บางส่วนต้องทะลักออกมาอยู่ที่เทอร์เนอร์สเตชัน ในช่วงต้นของ

สงครามโลกครั้งที่สอง เทอร์เนอร์สเตชันได้เริ่มมีถนนแล้วสองสามสาย

มีร้านหมอ ร้านขายของจิปาถะ และคนส่งน้ำาแข็ง แต่ยังมีปัญหาเรื่อง

น้ำา ท่อน้ำาทิ้ง และโรงเรียน

ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดที่เพิร์ลฮาเบอร์

เทอร์เนอร์สเตชันเหมือนถูกหวยขณะที่ความต้องการเหล็กกล้าพุ่งขึ้น

ทำาใหค้วามตอ้งการคนงานพุง่ตามดว้ย รฐับาลเทเงนิใสเ่ทอรเ์นอรส์เตชนั

โครงการบ้านชั้นเดียวและสองชั้นผุดขึ้นมากมาย หลายโครงการสร้าง

ติดกันเป็นพรืด เคียงข้างกัน หลังชนกัน บางโครงการมีถึงสี่ร้อยห้าร้อย

หลัง ส่วนใหญ่ก่อด้วยอิฐ บางหลังมุงหลังคาด้วยกระเบื้องใยหิน บ้าง

มีสนาม ส่วนใหญ่สามารถมองออกไปเห็นเปลวไฟเต้นไหวๆ เหนือ

เตาหลอมเหล็กของสแปร์โรว์พอยท์ ควันไฟสีแดงพวยพุ่งจากปล่อง

ไฟดูน่าสะพรึงกลัว

สแปร์โรว์พอยท์กลายเป็นโรงผลิตเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดใน

โลกอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ของโรงงานมีตั้งแต่เหล็กเส้นสำาหรับทำา

คอนกรีตเสริมเหล็ก รั้วลวดหนาม ตะปู จนถึงเหล็กแผ่นสำาหรับทำา

รถยนต์ ตู้เย็น และเรือรบ แต่ละปีโรงงานเผาไหม้ถ่านหินกว่าหกล้าน

ตันในการผลิตเหล็กกล้าแปดล้านตัน มีการว่าจ้างคนงานกว่า 30,000

คน เบธเลเฮมสตีลเป็นเสมือนเหมืองทองคำาในยุคที่คนส่วนใหญ่ยากจน

โดยเฉพาะครอบครวัคนผวิดำาจากทางใต ้ขา่วแพรก่ระจายจากแมรแีลนด ์

สู่ท้องไร่ท้องนาในเวอร์จิเนียและแคโรไลนาทั้งเหนือและใต้ ครอบครัว

คนดำาพากนัอพยพจากทางใตข้ึน้มายงัเทอรเ์นอรส์เตชนั ทีเ่ปรยีบเสมอืน

Page 55: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 55

ดินแดนแห่งพันธสัญญาในพระคัมภีร์ในการอพยพครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งใน

ประวัติศาสตร์ของอเมริกา

งานในโรงงานเหล็กกล้าเป็นงานหนักมาก โดยเฉพาะสำาหรับ

ชายผิวดำา ซึ่งจะได้งานที่คนขาวไม่ทำากัน เช่นเดียวกับเฟร็ด คนงาน

ผิวดำาจะมักจะเริ่มจากงานใต้ท้องเรือรบในอู่ต่อเรือ คอยเก็บน็อต

และสกรูที่หล่นจากมือของช่างที่กำาลังเจาะและเชื่อมเหล็กซึ่งอยู่สูงขึ้น

ไปสามสิบหรือสี่สิบฟุต ก่อนที่จะได้เลื่อนขึ้นไปอยู่ในห้องบอยเลอร์

คอยโกยถ่านหินเข้าไปในเตาต้มน้ำา ต้องสูดฝุ่นถ่านหินและแร่ใยหิน

ที่เป็นพิษต่อร่างกายวันแล้ววันเล่า พร้อมนำาติดเสื้อผ้ามาให้ภรรยา

และลูกสาวสูดเข้าไปด้วยขณะที่สลัดผ้าให้ฝุ่นออกก่อนที่จะซัก คนงาน

ผิวดำาที่สแปร์โรว์พอยท์ได้ค่าจ้างราวแปดสิบเซนต์ต่อชั่วโมงเป็นอย่าง

มาก ส่วนใหญ่แล้วจะได้ต่ำากว่านี้ คนงานผิวขาวจะได้ค่าจ้างสูงกว่า

ทว่าเฟร็ดไม่บ่น พวกแล็คส์น้อยคนนักที่จะเคยเห็นค่าแรงมากมายถึง

แปดสิบเซนต์ต่อชั่วโมง

เฟร็ดประสบความสำาเร็จกับชีวิตในบัลติมอร์ และตอนนี้เขากลับ

มาโคลฟเวอร์เพื่อชวนเฮนเรียตตาและเดย์ให้ทำาแบบเดียวกัน เช้าวัน

ต่อมา เฟร็ดจึงได้ซื้อตั๋วรถไปบัลติมอร์ให้เดย์ พวกเขาตกลงกันว่าให้

เฮนเรียตตาอยู่โยงคอยดูแลเด็กๆ และไร่ยาสูบไปก่อนจนกว่าเดย์จะ

หาเงินได้มากพอที่จะมีที่อยู่ของตัวเอง รวมทั้งค่าตั๋วรถโดยสารอีกสาม

ใบ หลังจากนั้นไม่กี่เดือน เฟร็ดก็ถูกเรียกตัวไปเป็นทหารและต้องถูก

ส่งตัวไปต่างประเทศ ก่อนไปเขาได้ให้เงินเก็บทั้งหมดกับเดย์ และบอก

ว่าถึงเวลาที่จะเอาเฮนเรียตตาและเด็กๆ ขึ้นมาที่เทอร์เนอร์สเตชันแล้ว

หลังจากนั้นไม่นาน เฮนเรียตตาพร้อมลูกสองคนขนาบข้างก็ได้

ขึ้นรถไฟที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สถานีไม้เล็กๆ สุดถนนสายหลัก

ของโคลฟเวอร์ ทิ้งไร่ยาสูบในวัยเด็กและต้นโอ๊คเก่าแก่กว่าร้อยปีที่ได้

ให้ร่มเงาแก่เธอในยามบ่ายของวันที่แดดร้อนจัดมานานแสนนาน ในวัย

Page 56: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

56 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ยี่สิบเอ็ดปี เฮนเรียตตามองผ่านหน้าต่างเห็นทิวเขาสุดลูกหูลูกตาและ

ผืนน้ำากว้างใหญ่เป็นครั้งแรกขณะที่เดินทางสู่ชีวิตใหม่

Page 57: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

หลงักลบัจากหาหมอทีโ่รงพยาบาล เฮนเรยีตตา

ใช้ชีวิตปกติ ซักล้าง ทำาความสะอาด ทำาอาหารให้กับเดย์และลูก รวม

ถึงญาติพี่น้องมากมายที่แวะเวียนมาบ้าน หลังจากนั้นสองสามวัน หมอ

โจนส์ก็ได้รับผลการตรวจเนื้อจากห้องทดลอง บอกว่า “มะเร็งเยื่อบุผิว

บริเวณปากมดลูก ขั้นที่ 1”

มะเร็งทุกชนิดเริ่มจากเซลล์ผิดปกติเพียงเซลล์เดียว การแบ่ง

ประเภทมะเร็งจะขึ้นอยู่กับประเภทของเซลล์ที่เป็นจุดเริ่มต้น มะเร็ง

ปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่เยื่อบุผิว (carcinoma) ซึ่งเติบโตขึ้น

จากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวที่ปกคลุมบริเวณปากมดลูกเพื่อปกป้องบริเวณ

นั้น เป็นเรื่องบังเอิญมากที่ว่า เมื่อเฮนเรียตตาไปหาหมอที่ฮ็อพกินส์

เนื่องจากเลือดออกผิดปกตินั้น หมอโจนส์และหัวหน้าของเขา – หมอ

ริชาร์ด เวสลีย์ เทอลินด์กำาลังมีส่วนร่วมในการถกเถียงระดับชาติถึง

คำาจำากัดความของมะเร็งปากมดลูกและวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

ดร. เทอลินด์ ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งปากมดลูกชั้นแนวหน้าคนหนึ่ง

1920s . 1930s . 1940s . 1950s . 1960s . 1970s . 1980s . 1990s . 2000s

3การวินิจฉัย

และการรักษา

1951

t

Page 58: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

58 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ของอเมริกาเป็นศัลยแพทย์ที่แต่งตัวดี ขึงขัง เอาจริงเอาจัง วัยห้าสิบ

หกปี เดินกะเผลกอย่างเห็นได้ชัดจากอุบัติเหตุสเก็ตน้ำาแข็งเมื่อกว่า

สิบปีก่อน ทุกคนที่ฮ็อพกินส์เรียกเขาว่าลุงดิ๊ค เขาเป็นผู้บุกเบิกการใช้

ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการบำาบัดอาการวัยทองและเป็นผู้ค้นพบสำาคัญ

คนแรกๆ เกี่ยวกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่ (endometriosis) นอกจากนี้ยังเป็นผู้เขียนตำารานรีเวชวิทยาเชิงคลินิกเล่มสำาคัญ ซึ่งยัง

คงใช้กันอย่างแพร่หลายหลังจากที่เขียนมาแล้วหกสิบปี และตีพิมพ์มา

แล้วสิบครั้ง ชื่อเสียงของเขาจัดอยู่ในระดับโลก อย่างเช่นเมื่อมเหสีของ

กษตัรยิโ์มรอ็กโกประชวร พระองคท์รงยนืกรานทีจ่ะใหห้มอเทอลนิดเ์ปน็

ผู้ถวายการผ่าตัดให้เท่านั้น ในปี 1951 เมื่อเฮนเรียตตาไปพบแพทย์

ที่ฮ็อพกินส์นั้น ดร. เทอลินด์ได้พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

ซึ่งหากถูกต้องแล้วจะสามารถช่วยชีวิตสตรีได้นับล้าน ทว่าน้อยคนใน

วงการเชื่อในทฤษฎีของเขา

มะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ

ชนิดลุกลาม ซึ่งจะเจาะลึกเข้าไปในผิวบริเวณปากมดลูก และชนิดไม่

ลุกลาม ชนิดไม่ลุกลามจะเติบโตกระจายออกเป็นแผ่นเรียบบนผิวของ

ปากมดลูก มีชื่อเรียกทางการว่า carcinoma in situ ซึ่งมาจากภาษา

ละตินว่า “มะเร็งที่คงอยู่ ณ จุดเกิด” หรือมะเร็งเฉพาะที่

ในปี 1951 แพทย์ส่วนใหญ่ในสาขานี้เชื่อว่ามะเร็งชนิดลุกลาม

ทำาใหเ้สยีชวีติได ้แตม่ะเรง็เฉพาะทีไ่ม ่ดงันัน้พวกเขาจงึรกัษามะเรง็ชนดิ

ลุกลามอย่างก้าวร้าว แต่ไม่กังวลกับมะเร็งเฉพาะที่เพราะว่ามันไม่แพร่

กระจาย ทว่าเทอลินด์ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ เขาเชื่อว่ามะเร็งเฉพาะที่เป็น

มะเร็งขั้นต้นซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นชนิดลุกลามหากไม่ได้รับการรักษา

และทำาให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นเขาจึงจัดการกับมะเร็งชนิดนี้อย่างก้าวร้าว

ซึ่งบ่อยครั้งจะถึงขั้นผ่าตัดเอาคอมดลูก มดลูก และส่วนใหญ่ของช่อง

Page 59: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 59

คลอดทิ้ง โดยบอกว่าจะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก

ได้อย่างมาก ทว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขาเห็นว่าเป็นการกระทำาที่เกินเหตุ

ความสามารถในการวิเคราะห์มะเร็งเฉพาะที่เพิ่งจะเป็นไปได้

ในปี 1941 เมื่อจอร์จ ปาปานิโคเลา นักวิจัยชาวกรีกได้ตีพิมพ์วิธี

การตรวจร่างกายที่เขาพัฒนาขึ้นซึ่งเรียกว่า การตรวจคัดกรองมะเร็ง

ปากมดลูก (Pap smear) จากการขูดเซลล์จากปากมดลูกด้วยหลอด

แก้วโค้งเพื่อนำามาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่นำา

ไปสู่การเป็นมะเร็ง ซึ่งดร. เทอลินด์และแพทย์อีกสองสามคนได้ระบุไว้

ก่อนหน้านี้หลายปีหรือไม่ การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าครั้ง

ยิง่ใหญ ่เพราะหาไมแ่ลว้จะไมส่ามารถตรวจพบไดเ้ลย เนือ่งจากวา่เซลล์

เหล่านี้ไม่ทำาให้เกิดอาการผิดปกติและไม่สามารถคลำาพบหรือมองเห็น

ด้วยตาเปล่า กว่าที่อาการจะออก ส่วนใหญ่ก็เกินเยียวยา แต่การทำา

แปปสเมียร์ หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำาให้หมอสามารถ

ตรวจพบเซลล์ก่อมะเร็งและตัดมดลูกทิ้ง ทำาให้มะเร็งปากมดลูกเป็นสิ่ง

ที่ป้องกันได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์

ในตอนนั้นมีผู้หญิงกว่า 15,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากมะเร็ง

ปากมดลูกในแต่ละปี การทำาแปปสเมียร์สามารถลดอัตราการเสียชีวิต

นี้ลงได้ถึงร้อยละ 70 หรือกว่านั้น ทว่ามีอุปสรรคสองอย่าง คือ หนึ่ง

ผู้หญิงส่วนใหญ่...เช่น เฮนเรียตตา จะไม่เข้ารับการตรวจ และ สอง

แม้ว่าจะเข้ารับการตรวจ แต่หมอน้อยคนที่สามารถแปลผลที่ได้อย่าง

ถูกต้องแม่นยำา เพราะว่าพวกเขาไม่รู้ว่ามะเร็งปากมดลูกแต่ละระยะ

นั้นมีหน้าตาอย่างไรภายใต้กล้องจุลทรรศน์ บางคนเข้าใจผิดคิดว่าการ

อักเสบของปากมดลูกเป็นมะเร็งและตัดระบบสืบพันธุ์ทิ้งทั้งยวงก็มี

ทั้งที่แค่ใช้ยาปฏิชีวนะเท่านั้นก็พอ บางคนก็เข้าใจผิดคิดว่าเนื้อร้ายที่

เกิดขึ้นเป็นเพียงการติดเชื้อ และส่งผู้ป่วยกลับบ้านพร้อมยาปฏิชีวนะ

ทำาให้พวกเธอต้องกลับมาพร้อมมะเร็งที่ลุกลามเกินเยียวยา แต่แม้ว่า

Page 60: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

60 • ฮีลา เซลล์อมตะ

หมอจะวินิจฉัยมะเร็งเบื้องต้นได้ถูกต้องก็ตาม บ่อยครั้งพวกเขาก็ไม่รู้

ว่าจะจัดการกับมันโดยวิธีใด

ดร. เทอลินด์มุ่งมั่นที่จะลดสิ่งที่เขาเรียกว่า “การตัดมดลูกอย่าง

ไม่สมควร” ด้วยการจัดทำาเอกสารซึ่งบอกว่าอะไรบ้างที่ ไม่ใช่ มะเร็ง

ปากมดลูก และสนับสนุนให้ศัลยแพทย์ยืนยันผลการตรวจคัดกรอง

อีกครั้งด้วยการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจก่อนที่จะลงมือผ่าตัด นอกจากนี้

เขายังอยากพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเฉพาะที่ควรได้รับการ

รักษาแบบก้าวร้าว เพื่อที่มะเร็งจะไม่กลายเป็นประเภทลุกลามอีกด้วย

ไม่นานก่อนที่เฮนเรียตตาไปรับการตรวจครั้งแรก ดร. เทอลินด์

ได้ขึ้นไปนำาเสนอความคิดเกี่ยวกับมะเร็งเฉพาะที่ของเขาในการประชุม

ครั้งสำาคัญด้านพยาธิวิทยาที่วอชิงตัน ดีซี และถูกโห่จนต้องลงจากเวท ี

ดังนั้นเขาจึงกลับมาที่ฮ็อพกินส์และวางแผนการศึกษาเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ที่

ไม่เห็นด้วยนั้นผิด โดยเขาและทีมงานได้ทำาการทบทวนประวัติทางการ

แพทย์และการตรวจเนื้อเยื่อของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง

ปากมดลูกชนิดลุกลามที่ฮ็อพกินส์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเพื่อดูว่ามีกี่คน

ที่เริ่มจากมะเร็งเฉพาะที่

เช่นเดียวกับแพทย์หลายคนในยุคนั้น เทอลินด์มักจะใช้ผู้ป่วย

จากแผนกคนไข้อนาถาในการวิจัย โดยที่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาไม่รู้ตัว

นักวิทยาศาสตร์จำานวนมากที่เชื่อว่าเนื่องจากคนไข้เหล่านี้รักษาโดยไม่

เสียเงิน ดังนั้นจึงยุติธรรมแล้วที่จะถูกใช้ในการวิจัยเป็นการตอบแทน

อยา่งทีด่ร. โจนสเ์ขยีนในภายหลงัวา่ “ฮอ็พกนิสซ์ึง่มคีนไขผ้วิดำาทีย่ากจน

จำานวนมากไม่เคยขาดแคลนวัตถุดิบสำาหรับการทดลองเชิงคลินิก”

ในการศกึษาซึง่เปน็การศกึษาความสมัพนัธร์ะหวา่งมะเรง็ทัง้สอง

ประเภทครั้งใหญ่ที่สุดนี้ ดร. โจนส์และดร. เทอลินด์พบว่า ร้อยละ 62

ของสตรีที่เป็นมะเร็งชนิดลุกลามซึ่งเคยได้รับการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจมา

ก่อนแล้วนั้น เริ่มมาจากการเป็นมะเร็งเฉพาะที่ นอกจากการศึกษานี้

Page 61: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 61

ดร. เทอลินด์ยังคิดว่า เขาสามารถหาวิธีเพาะเลี้ยงตัวอย่างเนื้อเยื่อจาก

ปากมดลูกปกติและเนื้อเยื่อจากปากมดลูกที่มีเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิด

(ซึ่งไม่เคยมีการทำามาก่อน) เพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบเนื้อเยื่อทั้ง

สามชนิดได้ หากเขาพิสูจน์ได้ว่ามะเร็งเฉพาะที่และมะเร็งชนิดลุกลามมี

ลักษณะและพฤติกรรมคล้ายกันในห้องทดลอง เขาก็จะสามารถยุติข้อ

ถกเถียง และแสดงให้เห็นว่าความคิดของเขาถูกต้องมาโดยตลอด และ

หมอที่เพิกเฉยเท่ากับกำาลังฆ่าคนไข้ของพวกเขา ดังนั้นเขาจึงโทรไปหา

ดร. จอร์จ กาย หัวหน้าแผนกวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ฮ็อพกินส์

ดร. กายและมาร์กาเร็ต ภรรยาของเขา ใช้เวลาสามทศวรรษที่

ผ่านมาในการพยายามเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งนอกร่างกาย โดยหวังจะ

ใช้ในการหาสาเหตุของมะเร็งและวิธีรักษาทว่าเซลล์ส่วนใหญ่ตายลง

อย่างรวดเร็ว ที่มีชีวิตรอดไม่กี่เซลล์ก็แทบจะไม่โต ดร. กายและภรรยา

มุ่งมั่นที่จะเลี้ยงเซลล์มนุษย์ที่เป็น “อมตะ” เซลล์แรก...ซึ่งหมายถึงเซลล์

ที่สามารถแบ่งตัวออกไปจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่น จากเซลล์เริ่มแรกเซลล์

เดียว ขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันตาย ก่อนหน้านี้แปดปี ในปี 1943

นักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health หรือ NIH) ได้พิสูจน์ว่าการทำาเช่นนี้สามารถเป็นไปได้เมื่อ

ใช้เซลล์หนู และตอนนี้ ดร. กายและภรรยาจึงอยากทำาเช่นเดียวกันกับ

เซลล์มนุษย์ โดยไม่สนใจว่าจะเป็นเซลล์จากเนื้อเยื่อส่วนไหน ตราบ

ใดที่มันมาจากคน

ดร. กายใช้เซลล์ทุกเซลล์ที่เขาหามาได้ เขาเรียกตัวเองว่า “อีแร้ง

ตัวสำาคัญที่สุดของโลก ซึ่งมีชีวิตอยู่ด้วยการกินตัวอย่างเนื้อเยื่อจาก

มนุษย์เป็นอาหาร” ดังนั้นเมื่อดร. เทอลินด์เสนอเนื้อเยื่อจากมะเร็งปาก

มดลูกให้เขาแลกกับความพยายามในการเพาะเลี้ยง ดร. กายจึงไม่รีรอ

แม้แต่น้อย จากนั้นดร. เทอลินด์ก็เริ่มเก็บตัวอย่างจากผู้หญิงทุกคนที่

เดินเขา้มาทีฮ่็อพกินส์พร้อมมะเร็งปากมดลกู ซึ่งรวมถงึเฮนเรียตตาด้วย

Page 62: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

62 • ฮีลา เซลล์อมตะ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1951 หลังจากดร. โจนส์ได้

ผลการตรวจเนื้อเยื่อของเฮนเรียตตามาจากห้องแล็บแล้ว เขาจึงโทรไป

แจ้งข่าวกับเธอว่ามันเป็นเนื้อร้าย เฮนเรียตตาไม่ได้บอกเรื่องนี้กับใคร

และก็ไม่มีใครถาม เธอยังคงใช้ชีวิตปกติธรรมดาราวกับไม่มีอะไรเกิด

ขึ้น มันเป็นนิสัยของเธอที่มักจะคิดว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะทำาให้คนอื่น

ต้องเดือดเนื้อร้อนใจกับสิ่งที่เธอจัดการเองได้

คืนนั้นเฮนเรียตตาบอกสามีว่า “เดย์ ฉันต้องไปหาหมอพรุ่งนี้

หมออยากจะทดสอบอะไรบางอย่างและให้ยาฉัน” วันรุ่งขึ้นเธอลง

จากรถบูอิคที่หน้าโรงพยาบาลจอห์นส์ ฮ็อพกินส์อีกครั้ง โดยบอกเดย์

กับลูกๆ ว่าไม่ต้องเป็นห่วง

“ไม่มีอะไรหรอก หาหมอเดี๋ยวก็หาย” เธอบอก

เฮนเรียตตาตรงไปที่แผนกทะเบียนและบอกพนักงานต้อนรับว่า

มารับการรักษา จากนั้นก็ได้ลงชื่อในแบบฟอร์มที่มีคำาว่า ใบอนุญาต

ผ่าตัด บนหัวกระดาษ ข้อความในเอกสารบอกว่า :

ข้าพเจ้ายินยอมให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจอห์นส์

ฮ็อพกินส์ทำาการใดๆ เกี่ยวกับการผ่าตัดและใช้ยาชา

เฉพาะที่หรือยาสลบ ตามที่เห็นสมควรในการผ่าตัดและ

ทำาการรักษาโรคของ.................................

เฮนเรียตตาเขียนชื่อตัวบรรจงลงในช่องว่าง พยานคนหนึ่ง

ลงชื่อขยุกขยิกอ่านไม่ออกบนเส้นที่ขีดไว้ด้านล่างของแบบฟอร์ม แล้ว

เฮนเรียตตาเซ็นชื่อบนอีกเส้นหนึ่ง

จากนัน้เธอกเ็ดนิตามนางพยาบาลไปตามโถงทางเดนิสูห่อ้งตรวจ

สำาหรับสตรีผิวสี ซึ่งดร. เฮาเวิร์ด โจนส์และหมอผิวขาวอีกหลายคน

ได้ทำาการทดสอบสารพัด...มากกว่าที่เธอเคยได้รับมาตลอดชีวิต พวก

Page 63: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 63

เขาทำาการตรวจปัสสาวะ เลือด และปอด สอดท่อเข้าไปในกระเพาะ

ปัสสาวะและจมูก

คืนที่สองในโรงพยาบาล พยาบาลเวรให้เฮนเรียตตากินอาหาร

เย็นเร็วขึ้นเพื่อท้องจะได้ว่างในตอนเช้าเมื่อหมอให้ยาสลบในการรักษา

มะเร็งของเธอเป็นครั้งแรก มะเร็งของเฮนเรียตตาเป็นชนิดลุกลาม และ

เช่นเดียวกับโรงพยาบาลทั่วประเทศ หมอที่ฮ็อพกินส์จะรักษามะเร็ง

ปากมดลูกชนิดลุกลามทุกกรณีด้วยเรเดียม ซึ่งเป็นแร่กัมมันตรังสีที่

แผ่แสงสีน้ำาเงินดูน่าสะพรึงกลัวออกมา

เมื่อมีการค้นพบเรเดียมในปลายทศวรรษ 1800 เป็นครั้งแรก

นั้น หนังสือพิมพ์ทั่วประเทศได้พาดหัวข่าวยกย่องมันในฐานะ “สิ่งที่

จะใช้ทดแทนแก๊ส ไฟฟ้า และเป็นวิธีรักษาโรคทุกชนิด” ช่างทำานาฬิกา

จะผสมเรเดียมกับสีเพื่อทำาให้หน้าปัดนาฬิกาเรืองแสง ส่วนแพทย์ก็จะ

ใช้ในรูปผงเรเดียมในการรักษาทุกอย่าง ตั้งแต่ เมาเรือ จนถึงหูอักเสบ

ทว่าเรเดียมจะทำาลายเซลล์ที่สัมผัสกับมัน ทำาให้ผู้ป่วยที่ใช้เรเดียม

รักษาอาการเล็กๆ น้อยๆ เริ่มเสียชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของ

การกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำาให้เนื้อเยื่อกลายเป็นมะเร็ง และเมื่อรับ

มากเกินไป ทำาให้ผิวไหม้หลุดจากตัวผู้ป่วยได้ กระนั้นก็ตามมันก็ฆ่า

เซลล์มะเร็งด้วย

ฮ็อพกินส์เริ่มใช้เรเดียมในการรักษามะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ต้น

ทศวรรษ 1900 เมื่อดร. เฮาเวิร์ด เคลลี ศัลยแพทย์คนหนึ่งเดินทาง

ไปฝรั่งเศสเพื่อพบกับมารีและปิแอร์ คูรี สองสามีภรรยาซึ่งเป็นผู้ค้น

พบเรเดียมและความสามารถในการทำาลายเซลล์มะเร็ง เคลลีซึ่งไม่รู้

ถึงอันตรายจากการสัมผัสกับเรเดียม ได้นำามันใส่กระเป๋าเสื้อกลับ

มายังสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้ตระเวนไปทั่วโลกเพื่อสะสมเพิ่มขึ้น ใน

ทศวรรษ 1940 นั้น หลายการศึกษา รวมถึงการศึกษาของดร. เฮาเวิร์ด

โจนส์ หมอของเฮนเรียตตาด้วย แสดงให้เห็นว่าเรเดียมปลอดภัยและมี

Page 64: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

64 • ฮีลา เซลล์อมตะ

ประสิทธิภาพกว่าการผ่าตัดในการรักษามะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม

เช้าวันที่เฮนเรียตตาเข้ารับการรักษาครั้งแรกนั้น คนขับรถแท็กซี่

คันหนึ่งได้ไปรับกระเป๋าแพทย์ที่เต็มไปด้วยหลอดแก้วภายในบรรจุ

แร่เรเดียมจากคลินิกแห่งหนึ่งทางอีกฟากของเมือง หลอดแก้วเหล่า

นี้บรรจุอยู่ในกระเป๋าผ้าใบซึ่งเย็บโดยหญิงชาวบัลติมอร์คนหนึ่ง ใน

กระเป๋าทำาเป็นช่องสำาหรับสอดหลอดแก้วแต่ละหลอด กระเป๋าผ้าใบนี้

มีชื่อเรียกว่าแผ่นแบร็ค (Brack plaque) ตามชื่อของหมอคนหนึ่งของ

ฮอ็พกนิสซ์ึง่เปน็ผูอ้อกแบบกระเปา๋ โดยเปน็ผูด้แูลการรกัษาเฮนเรยีตตา

ด้วยเรเดียมด้วย แบร็คเสียชีวิตในภายหลังด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งน่าจะมา

จากการสัมผัสรังสีเรเดียมอยู่เป็นประจำา เช่นเดียวกับหมอประจำาอีก

คนหนึ่งซึ่งเดินทางไปรับเรเดียมกับหมอเคลลีเป็นประจำา โดยมักจะ

ใส่กระเป๋าเสื้อและกางเกงมา

พยาบาลคนหนึ่งนำาแผ่นแบร็ควางลงในถาดสแตนเลส อีกคน

เข็นเฮนเรียตตาเข้าไปในห้องผ่าตัดเล็กๆ สำาหรับคนผิวสีบนชั้นสอง

ภายในมีเตียงผ่าตัดสแตนเลส ไฟสว่างจ้าหลายดวง และทีมแพทย์ซึ่ง

เป็นคนผิวขาวทั้งหมดสวมเสื้อกาวน์สีขาว หน้ากาก และถุงมือ

เฮนเรียตตานอนไม่ได้สติอยู่บนโต๊ะผ่าตัดกลางห้อง เท้าสอด

อยู่ในห่วง นายแพทย์ลอเรนซ์ วอร์ตัน จูเนียร์ ศัลยแพทย์เวรนั่งอยู่

บนม้านั่งระหว่างขาของเธอ เขามองเข้าไปข้างในช่องคลอดของ

เฮนเรยีตตาทำาการขยายปากมดลกูของเธอใหก้วา้งขึน้เพือ่เตรยีมจดัการ

กับเนื้อร้าย แต่ก่อนอื่นเขาได้หยิบมีดคมกริบขูดเนื้อเยื่อขนาดเท่า

เหรียญบาทสองชิ้นจากปากมดลูกของเธอ ชิ้นหนึ่งจากเนื้อเยื่อที่เป็น

มะเร็ง อีกชิ้นจากเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ข้างๆ แล้ววางตัวอย่างทั้งสองลงใน

จานแก้ว ไม่มีใครบอกเฮนเรียตตาว่าดร. เทอลินด์จะเก็บตัวอย่างจาก

เธอ หรือถามเธอว่าต้องการจะบริจาคเนื้อเยื่อของเธอหรือไม่

จากนั้นหมอวอร์ตันก็ได้สอดหลอดแก้วที่มีเรเดียมอยู่เข้าไป

Page 65: เสียงชื่นชม · 2014-12-22 · นรา สุภัคโรจน์ แปล • 5 “ทำาให้ครอบครัวแล็คส์มีชีวิตขึ้นมา...

นรา สุภัคโรจน์ แปล • 65

ตรงปากมดลูกแล้วเย็บ เขาเย็บแผ่นแบร็คแผ่นหนึ่งที่มีเรเดียมเข้าไป

บนผิวส่วนนอกของปากมดลูกแล้วประกบอีกแผ่นเข้าไป ก่อนที่จะใส่

ผ้ากอซเข้าไปอีกหลายม้วนเพื่อตรึงให้มันอยู่กับที่ แล้วสอดท่อเข้าไป

ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้เธอสามารถปัสสาวะได้โดยไม่กระทบ

กระเทือนการรักษา

หลังจากที่หมอวอร์ตันทำาทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พยาบาลเข็น

เฮนเรียตตากลับไปที่ห้องพัก ขณะที่หมอเขียนลงไปในประวัติของ

เธอว่า “ผู้ป่วยรับมือกับการรักษาได้ดีและออกจากห้องผ่าตัดโดยไม่มี

ปัญหา” บนกระดาษอีกแผ่น เขาเขียนว่า “เฮนเรียตตา แล็คส์...เนื้อเยื่อ

ปากมดลูกสำาหรับตรวจ...ส่งให้กับดร. จอร์จ กาย”

จากนั้นหมอฝึกหัดคนหนึ่งก็นำาจานที่มีตัวอย่างเนื้อเยื่อไปที่ห้อง

ทดลองของดร. กายเช่นเดียวกับที่เคยทำามาแล้วหลายครั้ง ดร. กายยัง

คงตื่นเต้นทุกครั้งที่มีคนนำาเนื้อเยื่อมาให้ แต่คนอื่นๆ ในห้องทดลอง

มองตัวอย่างของเฮนเรียตตาว่าเป็นเพียงอีกตัวอย่างที่นักวิทยาศาสตร์

และเจ้าหน้าที่ห้องทดลองพยายามเพาะเลี้ยงและล้มเหลวเท่านั้น พวก

เขามองอย่างเบื่อหน่ายด้วยความแน่ใจว่าในที่สุดเซลล์ของเฮนเรียตตา

ก็คงจะตายเหมือนกับของคนอื่นๆ