(ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน)...

8
Address: ๑๙๙ หมู่ ๒ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๕๐ โทร. ๐-๕๓๔๗-๐๘๒๐ สารจากบก. บทบรรณาธิการ บรรณาธิการ: นายภัทวี ดวงจิตร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง รองบรรณาธิการ: นายรังสิต จันทร์ศิริปิติกุล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม นายกระแสร์ ฤกษ์ดำเนินกิจ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน กองบรรณาธิการ: ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ Fax. ๐-๕๓๔๗-๐๘๒๐ สารบัญ • สารจากบก. • วันกองทัพเรอ • มอบส่งของบรจาคช่วยเหลอ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม • ภาพกจกรรม • พธทอดผ้าป่า(๒) • มุมสุขภาพ • มุมขำขัน • วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวหาร ๘ ปีท่ ๒ ฉบับที่ ๔๑ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ วารสารรายปักษ์ ชลประทานแม่แตง สชป.๑ http://www.irrmaetang.net (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตง วันกองทัพเรือ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษามหาราชาเพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา (๙๘๔)ในปี๒๕๕๔ ขณะนี้ได้สร้างพระเจ้าทันใจ๙๘๔แล้ว ยังเหลือพิธีสืบชะตาล้านนา๙๘๔ ณ ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ (ตรงข้ามเทศบาลบ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่) ในวันเสาร์ที่ ๑๙พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ( แรม๙ค่ำเดือน๑๑ ) ซึ่งมีกำหนดการดังนีเวลา๐๙.๐๙ น. พิธีบวงสรวง/พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์/พิธีสืบชะตา/ บรรจุหัวใจพระพุทธเจ้า เวลา ๑๑.๐๙ น. ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ร่วมพิธี จำนวน ๑๑๑ รูป เวลา ๑๙.๕๙ น. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าทันใจ๙๘๔ทั้งคืน (เทศน์ ๓ กัณฑ์) เวลา ๐๑.๕๙ น. พิธีเบิกเนตร และร่วมถวายข้าวมธุปายาส(๒๐พ.ย.๕๔.) ขอกราบเรียนท่านกัลยาณมิตรให้ทราบว่า งานนี้จัดเต็มอย่างสมพระเกียรติ ได้โปรดอย่าลืมมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดี อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านนา อีกทั้งยังได้ฮอมบุญกุศลอีกด้วยครับ

Transcript of (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน)...

Page 1: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

Address: ๑๙๙ หมู่ ๒ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๕๐ โทร. ๐-๕๓๔๗-๐๘๒๐ สารจากบก.

บทบรรณาธิการบรรณาธิการ: นายภัทวี ดวงจิตร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง รองบรรณาธิการ: นายรังสิต จันทร์ศิริปิติกุล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมนายกระแสร์ ฤกษ์ดำเนินกิจ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน กองบรรณาธิการ: ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ Fax. ๐-๕๓๔๗-๐๘๒๐

สารบัญ

• สารจากบก. ๑

• วันกองทัพเรือ ๒

• มอบสิ่งของบริจาคช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ๓

• ภาพกิจกรรม ๔

• พิธีทอดผ้าป่า(๒) ๖

• มุมสุขภาพ ๗

• มุมขำขัน ๗

• วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ๘

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔๑ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

วารสารรายปักษ์

ชลประทานแม่แตง สชป.๑

http://www.irrmaetang.net

(ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน)

ชลประทานแม่แตง

วันกองทัพเรือวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี

โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษามหาราชาเพื่อถวายเป็น

พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา (๙๘๔)ในปี๒๕๕๔

ขณะนี้ได้สร้างพระเจ้าทันใจ๙๘๔แล้ว ยังเหลือพิธีสืบชะตาล้านนา๙๘๔

ณ ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

(ตรงข้ามเทศบาลบ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่) ในวันเสาร์ที่ ๑๙พฤศจิกายน ๒๕๕๔

( แรม๙ค่ำเดือน๑๑ ) ซึ่งมีกำหนดการดังนี้

เวลา๐๙.๐๙ น. พิธีบวงสรวง/พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์/พิธีสืบชะตา/

บรรจุหัวใจพระพุทธเจ้า

เวลา ๑๑.๐๙ น. ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ร่วมพิธี จำนวน ๑๑๑ รูป

เวลา ๑๙.๕๙ น. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าทันใจ๙๘๔ทั้งคืน (เทศน์ ๓ กัณฑ์)

เวลา ๐๑.๕๙ น. พิธีเบิกเนตร และร่วมถวายข้าวมธุปายาส(๒๐พ.ย.๕๔.)

ขอกราบเรียนท่านกัลยาณมิตรให้ทราบว่า งานนี้จัดเต็มอย่างสมพระเกียรติ

ได้โปรดอย่าลืมมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดี อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านนา

อีกทั้งยังได้ฮอมบุญกุศลอีกด้วยครับ

Page 2: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี

วันกองทัพเรือ

ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกจวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม

เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกเมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น

กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตาม

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

อาทิผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆต่อมาภายหลังเหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒(พ.ศ.๒๔๓๖)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่ากิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำ

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆนั้นไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเองพระองค์มีพระราชประสงค์

ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทยให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆในเรือแทนชาวต่างชาติที่

จ้างไว้ต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พระราชโอรสเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ

ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือและกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมทหารเรือจัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น

โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆังตรงข้ามท่าราชวรดิฐสำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน

หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๓๔ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้นและในปีพ.ศ.๒๔๔๐ได้จัดตั้งโรงเรียน

นายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่งจนถึงปีพ.ศ.๒๔๔๒ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้นสถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือ

ครั้งแรกอยู่ที่วังนันทอุทยาน(สวนอนันต์)มีนายนาวาโทไซเดอลิน(Seidelin)เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก

ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๔๓เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์สิ้นพระชนม์พระราชวังเดิม

กรุงธนบุรีซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทาน

พระราชวังเดิมกรุงธนบุรีให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือตั้งแต่วันที่๒๓กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๔๔๓เป็นต้นมากับได้

พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนความว่าวันที่๒๐พฤศจิกายนร.ศ.๑๒๕เราจุฬาลงกรณ์ปร.

ได้มาเปิดโรงเรียนนี้มีความปลื้มใจซึ่งได้เห็นการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้วจะเป็นที่มั่นสืบต่อไปในภายหน้า

ทางราชการทหารเรือจึงได้ถือเอาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันกองทัพเรือตราบจนปัจจุบันเป็นกำลัง

สำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งองค์บุคคลและองค์วัตถุตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาในสมัยโบราณยังมิได้มี

การแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกจวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่ม

มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกเมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้นกิจการทหารเรือบางประเภทยัง

ขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

Page 3: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า ๓

ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกจวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม

เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกเมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น

กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตาม

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

อาทิผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆต่อมาภายหลังเหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒(พ.ศ.๒๔๓๖)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่ากิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำ

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆนั้นไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเองพระองค์มีพระราชประสงค์

ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทยให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆในเรือแทนชาวต่างชาติที่

จ้างไว้ต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พระราชโอรสเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ

ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือและกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมทหารเรือจัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น

โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆังตรงข้ามท่าราชวรดิฐสำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน

หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๓๔ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้นและในปีพ.ศ.๒๔๔๐ได้จัดตั้งโรงเรียน

นายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่งจนถึงปีพ.ศ.๒๔๔๒ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้นสถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือ

ครั้งแรกอยู่ที่วังนันทอุทยาน(สวนอนันต์)มีนายนาวาโทไซเดอลิน(Seidelin)เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก

ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๔๓เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์สิ้นพระชนม์พระราชวังเดิม

กรุงธนบุรีซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทาน

พระราชวังเดิมกรุงธนบุรีให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือตั้งแต่วันที่๒๓กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๔๔๓เป็นต้นมากับได้

พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนความว่าวันที่๒๐พฤศจิกายนร.ศ.๑๒๕เราจุฬาลงกรณ์ปร.

ได้มาเปิดโรงเรียนนี้มีความปลื้มใจซึ่งได้เห็นการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้วจะเป็นที่มั่นสืบต่อไปในภายหน้า

ทางราชการทหารเรือจึงได้ถือเอาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันกองทัพเรือตราบจนปัจจุบันเป็นกำลัง

สำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งองค์บุคคลและองค์วัตถุตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาในสมัยโบราณยังมิได้มี

การแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกจวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่ม

มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบกเมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้นกิจการทหารเรือบางประเภทยัง

ขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

ที่ กษ ๐๓๑๐.๐๙/๔๒๑ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง

ต. แม่แตง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ ๕๐๑๕๐

๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔

เรื่อง ขอมอบสิ่งของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม “ชลประทานแม่แตง ปันน้ำใจสู้ภัยน้ำท่วม”

เรียน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่

ตามที่ได้เกิดเหตุอุทกภัยในหลายจังหวัด ทำให้พี่น้องชาวไทยประสบภัยน้ำท่วม ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

เกิดความเดือดร้อนความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอันมาก ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยได้แผ่ขยายเป็นวงกว้าง และมีความเสียหายเพิ่มมากขึ้นนั้น

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มิอาจเพิกเฉยต่อความเดือดร้อน ความลำบากของพี่น้องประชาชนที่ประสบภัย

น้ำท่วมในขณะนี้ ด้วยสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม เจ้าหน้าที่ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง จึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการ “ชลประทานแม่แตง

ปันน้ำใจสู้ภัยน้ำท่วม” เพื่อร่วมกันบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในครั้งนี้ เพื่อร่วมเยียวยาจิตใจเพื่อนร่วมชาติ

ดังนั้น จึงขอมอบสิ่งของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตามโครงการปันน้ำใจสู้ภัยน้ำท่วม โดยมีสิ่งของบริจาค เช่น ข้าวสาร

บะหมี่สำเร็จรูป น้ำมันพืช ผ้าอ้อมเด็ก ผ้าอนามัย สบู่ ยาสีฟัน ปลากระป๋อง นมกล่อง กระดาษชำระ ผงซักฟอก เป็นต้น

จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการจัดส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

( นายภัทวี ดวงจิตร )

ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง

งานบริหาร

โทร.๐๕๓-๔๗๑๓๙๖, โทรสาร ๐๕๓-๔๗๐๘๒๐

ที่ ชม ๐๐๓๔/๔๖๑๓ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

ถนนโชตนา กม ๗ ชม ๕๐๓๐๐

๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

เรื่อง ขอขอบคุณ

เรียน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง

ตามที่ท่านได้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน/สิ่งของให้จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัย

จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างอยู่ในขณะนี้

ในนามของผู้ว่าราชการจังหวัด กระผมพร้อมด้วยประชาชนชาวจังหวัดขอขอบคุณในเมตตาจิตของท่านที่ได้ในการสงเคราะห์และ

ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย ขออำนาจสิ่งศักดิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือ พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ จงดลบันดาลพระราชทานพรให้ท่าน และครอบครัวตลอดจนหน่วยงาน

ของท่านประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ขอแสดงความนับถือ

( หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล )

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่

โทร./โทรสาร ๐-๕๓๒๒-๑๔๗๐

Page 4: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า ๔

พิธีสร้างพระเจ้าทันใจ(๙๘๔)๑๑/๑๑/๑๑ ณ ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Page 5: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า ๕

๑๑/๑๑/๑๑ ณ ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Page 6: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า ๖

ประเภทของผ้าป่า

ความจริงแล้วการทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียวคือการนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้วแต่ในปัจจุบันนิยม

ทำในรูปแบบต่างๆแตกต่างกันไปจึงมีชื่อเรียกเป็น๓อย่างคือ๑.ผ้าป่าหางกฐินหรือผ้าป่าแถมกฐิน๒.ผ้าป่าโยง

และ๓.ผ้าป่าสามัคคี

๑.ผ้าป่าหางกฐินได้แก่ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐินคือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้วก็ให้มี

การทอดผ้าป่าด้วยเลยจึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐินหรือผ้าป่าแถมกฐิน

๒.ผ้าป่าโยงได้แก่ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆกันหลายกองนำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่างๆซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ

จึงเรียกว่าผ้าป่าโยงจะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้

๓.ผ้าป่าสามัคคีได้แก่ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่างๆให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา

โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกันจะเป็นกี่กองก็ได้เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน

บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่างๆเช่นโบสถ์วิหารศาลาการเปรียญและอื่นฯลฯ

พิธีทอดผ้าป่า

ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาสวัดที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอดเรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า

เมื่อกำหนดวันเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่าซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ๑.ผ้า๒.กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า

และ๓.ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง

การตั้งองค์ผ้าป่า

เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุมาผืนหนึ่งอาจเป็นสบงจีวรสังฆาฏิหรือทั้ง๓อย่างแล้วแต่ศรัทธาเพราะ

ไม่มีข้อกำหนดนำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควรเพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่าและใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที ่

จะถวายพระเช่นสบู่ยาสีฟันผ้าเช็ดตัวผ้าอาบน้ำฝนสมุดดินสอฯลฯสำหรับเงินหรือปัจจัยนั้นนิยมเสียบไม้ปักไว้กับ

ต้นกล้วยเล็กๆในกองผ้าป่านั้น

การนำผ้าป่าไปทอด

ในสมัยโบราณไม่ต้องมีการจองผ้าป่าเมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงวัดแล้วก็จุดประทัดส่งสัญญาณด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่าเป็นอันเสร็จพิธีหรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้แต่ในปัจจุบันการทอดผ้าป่านับว่าเป็น

งานค่อนข้างใหญ่ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัดทราบหมายกำหนดการจะได้เตรียมต้อนรับเมื่อถึงกำหนดก็จะม ี

การแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวงเป็นที่ครึกครื้นสนุกสนานยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่าง

เจ้าภาพต่างแห่มาพบกันที่วัดจนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆมีการละเล่นพื้นบ้านหรือร่วมร้องรำทำเพลงร่วมรำวงกันเป็นที ่

สนุกสนานบางทีก่อนวันทอดก็จะจัดให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ

การทอดผ้าป่า

ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์กล่าวคำถวายผ้าป่าพระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ก็จะ

ลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสกุลที่องค์ผ้าป่าโดยกล่าวคำปริกรรมว่า“อิมังปังสุกูลละจีวะรังอัสสามิกังมัยหัง

ปาปุณาติ”แปลใจความได้ว่า“ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ ไม่มีเจ้าของหวงแหนย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า”

ต่อจากนั้นพระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญเจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลเป็นอันเสร็จพิธี

ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่า

สิ่งสำคัญที่สุดในการทอดผ้าป่าก็คือผู้ที่ถวายต้องตั้งใจหรือกล่าวคำถวายอุทิศแด่ภิกษุสงฆ์ผู้ต้องการผ้าบังสกุล

อย่างเดียวจึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า

พิธีทอดผ้าป่า(๒)โดย..ดวงจิตรตระการ

Page 7: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง สำนักชลประทานที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ หน้า

มุมสุขภาพ

มุมขำขัน

“เสพเนื้อสัตว์ทำอายุสั้น”

วันนี้มุมสุขภาพจะกล่าวถึงผิดภัยของการเสพเนื้อสัตว์หรือการกินเนื้อสัตว์มากจนเกินไปเป็นอันตราย

ต่อสุขภาพแบบที่คุณคิดไม่ถึง!!!

ในเนื้อสัตว์ที่อุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกายทว่ากินเกินความจำเป็นโปรตีนส่วนเกินจะ

ถูกเปลี่ยนเป็นไขมันพอกพูนตามร่างกายจนกลายเป็นคนอ้วนที่สำคัญการที่ร่างกายมีโปรตีนมากไปตับและ

ไตต้องทำงานหนักจนอวัยวะดังกล่าวเกิดความเครียดส่งสัญญาณที่สังเกตได้คือเหนื่อยล้าขาดความสดช่ืน

เนื่องจากตับจะสร้างเกลือแอมโมเนียก่อนจะเปลี่ยนเป็นยูเรียส่งให้ไตขับออกมาเป็นปัสสาวะบ่อยครั้งเข้า

ร่างกายอาจขาดน้ำ

การกำจัดโปรตีนส่วนเกินในขั้นตอนของไตหากยิ่งทำงานหนักการขับปัสสาวะนั้นจะทำให้แคลเซียมซึม

ออกมาเจือปนกับปัสสาวะและเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน

นอกจากนี้ในเนื้อสัตว์ยังมีฟอสฟอรัสมีผลกระตุ้นต่อมพาราธัยรอยด์

ให้หลั่งฮอร์โมนละลายแคลเซียมให้ล่องลอยในกระแสเลือดก่อนไปจับตัวตามข้อเท้า

ข้อสะโพกข้อสันหลังอันเป็นที่มาของโรคข้อกระดูกเสื่อม

อาหารการกินหากเน้นแต่เนื้อสัตว์WHOหรือองค์การอนามัยโลก

บอกว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงป่วยด้วยโรคหัวใจและมะเร็งทั้งทำให้อายุสั้น

สอดคล้องกับลักษณะการกินของชาวเอสกิโมที่เน้นกินเนื้อกับไขมันร่างกายเสื่อมโทรมแก่เร็ว

อายุไขเฉลี่ยอยู่ที่๒๗ปีขณะที่ผู้คนที่อายุในแถบเขาไม่ได้กินเนื้อสัตว์บ่อยๆเน้นกินพืชผักกลับมีอายุยืน

อยู่ได้นานถึง๑๑๐ปี

สิ่งที่หลายคนควรรู้ คือ คนเราเกิดมามีเซลล์อยู่ทั่วร่างกาย ๕๐ ล้านล้านเซลล์ แต่ละเซลล ์

สามารถแบ่งตัวได้ ๕๐ ครั้ง ครั้งหนึ่งมีอายุ ๒ ปี เพราะฉะนั้นอายุขัยของคนเราสามารถอยู่ได้ถึง๑๐๐ ปี

แต่ทุกวันนี้ พฤติกรรมการกิน การอยู่ที่ไม่เหมาะสม ทำลายเซลล์นั่นล่ะ เป็นการทำให้อายุสั้นลงเรื่อย ๆ.

ขณะนั่งดูทีวีกันอยู่ในห้องนั่งเล่น

จู่ๆสามีก็ถามภรรยาว่า

“ที่รัก…ถ้าผมตายคุณจะแต่งงานใหม่ไหม”

ภรรยาบอกว่า”น่าจะแต่ง..คุณก็รู้ี่ีนี่ฉันกลัวความเหงา”

“แล้วคุณจะให้สามีใหม่ของคุณมาขับสปอร์ตของผมไหม”สามีถาม

“ก็คงให้ขับ”ภรรยาตอบ

“แล้วชุดสูทแสนแพงของผมล่ะ…คุณจะยกให้เขาใส่ไหม”สามียังไม่หยุดถาม

ภรรยาส่ายหน้าตอบว่า“คงไม่หรอก…เพราะเขาเตี้ยกว่าคุณ”

ความลับแตก

Page 8: (ทุกวันที่ ๑๓ และ ๒๘ ของเดือน) ชลประทานแม่แตงinformation.rid.go.th/mag/news/doc/irrigation/irrmaetang41.pdf ·

พุทธพจน์ นิสมฺม กรณํ เสยฺโยใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ เป็นวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุดวัดหนึ่ง ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆัง ทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก ๒ ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาค เจ็ดเศียรก่อปูน

ประวัติ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๙ ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรง เก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง๑๓ ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทาย สถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก ๘ ศอก กว้าง ๖ วา ๓ ศอก หาแท่นหินใหญ่ ๖ แท่นมาวางเป็น รูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรี เข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. ๒๐๘๑ สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง ๖ วา สูง ๑๑ ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บน ยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. ๒๑๐๐ พระมหาญาณมงคลโพธ์ิ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวง ทั้ง ๒ ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และจนกระทั่งถึงสมัยท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง ๑๑.๕๓ กิโลเมตร วัดนี้เป็นวัดประจำปีเกิดปีมะแม ถ้ามาเชียงใหม่ หากยังไม่ได้ขึ้นนมัสการวัดนี้ถือว่า ยังมาไม่ถึงเชียงใหม่ครับ

โดย.........บะเกี๋ยงหลวง