คู่มือ การเรียนรู้...

70
จัดทำโดย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ72พรรษาบรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คู่มือ การเรียนรูพฤกษศาสตร์น่า รูสนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-974-8144-87-0

Transcript of คู่มือ การเรียนรู้...

Page 1: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

จัดทำโดย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คู่มือการเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้

สนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ISBN 978-974-8144-87-0

Page 2: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

คำนำ คู่มือการเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้ ได้จัดทำขึ้นโดยศูนย์วิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อเป็นคู่มือสำหรับเสริมสร้างความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่นักเรียนตลอดจนผู้สนใจได้รู้จักโครงสร้างของพืช จากกิจกรรมต่างๆ ภายในเล่ม ซึ่งสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านพฤกษศาสตร์ให้แก่นักเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร อันทรงคุณค่าเหล่านี้ และช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่กับโลกเราตลอดไป ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอขอบคุณสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาด้านวิชาการและสนับสนุนงบประมาณในการจัดพิมพ์เอกสาร เผยแพร่ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของเยาวชนและผู้สนใจ คณะผู้จัดทำ ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ

Page 3: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

สารบัญ หน้า

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ 1 พืช 5 วิสัยพืช 6 ส่วนประกอบของพืช 8 - ราก 9 - ลำต้น 13 - ใบ 17 - ดอก 34 - ผล 41 - เมล็ด 50 สนุกกับกิจกรรมมหัศจรรย์พรรณไม้ป่า 51 กิจกรรม มหัศจรรย์พรรณไม้ป่า 52 กิจกรรมที่ 1 มหัศจรรย์ของผิวเปลือกลำต้น 52 กิจกรรมที่ 2 รูปทรงมหัศจรรย์ 53 กิจกรรมที่ 3 ลักษณะของลำต้น 54 กิจกรรมที่ 4 ลักษณะของราก 55 กิจกรรมที่ 5 ใบไม้แสนสวย 56 กิจกรรมที่ 6 ดอกไม้แสนงาม 57 6.1 กิจกรรมวาดภาพดอกไม้ 58 6.2 กิจกรรมส่วนประกอบของดอกไม้ 59 6.3 กิจกรรมสำรวจชนิดและประเภทของดอกไม้ 60 กิจกรรมที่ 7 ผลไม้นานาชนิด 61 กิจกรรมที่ 8 สำรวจพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ 62 กิจกรรมที่ 9 ศิลปะจากใบไม้ 63 กิจกรรมที่ 10 นักอนุรักษ์น้อย 64 เอกสารอ้างอิง 66 คณะผู้จัดทำคู่มือการเรียนรู้ 66

Page 4: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ

1

ประวัติความเป็นมา ศนูยว์จิยัความหลากหลายทางชวีภาพ เฉลมิพระเกยีรต ิ 72 พรรษา บรมราชนินีาถ

เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ.2547 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้ขอ

พระราชทานชือ่ศนูยว์จิยัฯ ซึง่สมเดจ็พระนางเจา้สริกิติิ ์พระบรมราชนินีาถ ทรงพระราชทาน

ชื่อว่า ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ

ตามหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 00101./5033 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม

พ.ศ.2547

Page 5: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

2

สถานที่ตั้งและพื้นที่วิจัย

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมือง

จังหวัดยะลา มีพื้นที่วิจัยบริเวณหุบเขาลำพญา ในเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีสภาพ

ป่าดงดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีระดับความสูง 50-700 เมตร

จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณยอดเขาเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่มีความอุดมสมบูรณ์

บริเวณที่ราบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน ลองกอง

มังคุด ส้มแขกและยางพารา ส่วนพื้นที่ลุ่มมีการทำนาข้าว บางบริเวณเป็นพรุขนาดเล็ก

มีต้นสาคูจำนวนมากซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ปั จ จุ บั น ศู น ย์ วิ จั ย

ความหลากหลายทางชีวภาพฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้

ศึกษาสำรวจ วิจัยด้านความ

หลากหลายทางชวีภาพ ภมูปิญัญา

ท้องถิ่น โดยชุมชนลำพะยา

เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นการ

สร้างความเข้าใจและตระหนักใน

ความสำคัญของทรัพยากร

ธ ร รมช าติ อั นน ำ ไปสู่ ก า ร

อนุรักษ์ให้คงอยู่ในถิ่นกำเนิด

อย่างยั่งยืนตลอดไป

Page 6: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

3

ปรัชญา ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ เป็นหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยความ

หลากหลายทางชีวภาพ และพัฒนาไปสู่กระบวนการเรียนรู้ให้แก่ปวงชน โดยเชื่อมโยง

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

พัฒนาสู่ฐานข้อมูลด้านความ

หลากหลายทางชีวภาพ จัดเป็นแหล่ง

เรียนรู้ที่ให้บริการทั้งการศึกษาในระบบ

การศกึษานอกระบบ และการศกึษาตาม

อั ธยาศัยอันจะนำ ไปสู่ ก ารพัฒนา

ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

Page 7: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

4

พันธกิจ

1. ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในเขตภาคใต้ตอนล่าง

2. วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3. อนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

4. ศูนย์รวบรวมข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมีเครือข่ายทั้ง

หน่วยงานของรัฐและเอกชน

5. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางทางชีวภาพ ให้บริการแก่ ครู

นักเรียน และประชาชนทั่วไป

6. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จาก

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เป้าหมายของศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ

1. อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศบริเวณหุบเขาลำพญา

2. แหลง่การเรยีนรูด้า้นความหลากหลายทางชวีภาพของเดก็ นกัเรยีน และประชาชน

ในท้องถิ่น

3. พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงเกษตร

4. สร้างความสัมพันธ์อันดีของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงของประเทศ

Page 8: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

5

พืช (Plant)

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์อาหารด้วยตนเองได้มีประมาณ 300,000

ชนิด อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ประกอบด้วยหลายวิสัย ได้แก่ ไม้ต้น

ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อ ประกอบด้วย

หลายเซลล์ นิวเคลียสมีเยื่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึก

มีคลอโรฟิลล์ ลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสร้างอาหารด้วย

ตนเองได้ โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช

1. สามารถสร้างอาหารได้เอง เพราะมีคลอโรฟิลล์

2. เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่เคลื่อนไหวได้

3. มีการดำรงชีวิตแบบผู้ผลิต

4. สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีได้

5. เซลล์เป็นแบบยูคาริโอต( Eukaryotic cell ) คือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส

6. เซลล์ มีผนังเซลล์

7. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เพราะไม่มีระบบประสาท

Page 9: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

6

วิสัยพืช (Plant Habit)

ไม้เถา (Climber) ลำต้นมักจะเล็กเรียวเลื้อยพัน

กับไม้หรือวัตถุอื่นเพื่อพยุงลำต้น มีทั้ง

ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน (herbaceous) และ

ไม้เนื้อแข็ง (woody)

ไม้เถา : พวงชมพู รสสุคนธ์ เถาวัลย์

ไม้ล้มลุก (Herb) มีลำต้นอ่อนนุ่ม เนื่องจาก

ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้อไม้

เพียงเล็กน้อย ลำต้นอ่อนนุ่ม จะ

ตายเมื่อหมดฤดูของการเจริญ

เติบโต

ไม้ล้มลุก : ผักกระสัง ผักเสี้ยน

Page 10: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

7

ไม้ต้น (Tree) มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้น

สูงมากกว่า 5 เมตร มีลำต้นหลัก

เพียงลำต้นเดียว แตกกิ่งก้านบริเวณ

ยอด มีอายุยืนหลายปี

ไม้พุ่ม : หัสคุณ ต้นเข็ม โคลงเคลง

ไม้พุ่ม (Shrub) ไม้ต้นที่มีความสูงไม่เกิน

4 เมตร ลำต้นมี เนื้อ ไม้แข็ง

ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มักมี

หลายลำต้น แต่ไม่มีลำต้นหลัก

แตกกิ่งก้านบริเวณใกล้ผิวดิน

ไม้ต้น : กะออก สะตอ ชะมวงป่า

Page 11: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

8

ส่วนประกอบของต้นพืช (Parts of Plants)

2. ลำต้น

1. ราก

3. ใบ 4. ดอก

5. ผล

Page 12: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

9

ราก (Root)

รากเป็นเป็นอวัยวะของพืชที่ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ เจริญเติบโตลงสู่ดินตาม

แรงโน้มถ่วงของโลก รากส่วนใหญ่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ยกเว้น รากสังเคราะห์ด้วยแสงของ

พวกกล้วยไม้

หน้าที่ของราก

ยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน

ดูดซึมธาตุอาหารและอินทรียวัตถุต่างๆ ให้แก่พืช

เป็นทางผ่านของสารที่ดูดซึมเข้ามาไปยังส่วนลำต้น

ชนิดของรากแบ่งออกได้ดังนี้

- รากแก้ว เป็นรากแรกของพืชที่งอกจากเมล็ดและหยั่งลึกลงไปในดินทางแนว

ดิ่งทำให้ต้นไม้ยืนต้นอยู่ได้

- รากแขนง เป็นรากที่แตกจากรากแก้ว แผ่ออกไปตามแนวระดับ

- รากพิเศษ เป็นรากที่เกิดตามใบหรือลำต้นทำหน้าที่ต่างๆ กัน

Page 13: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

10

รากแก้ว รากฝอย

รากพิเศษ

รากแก้ว

รากแขนง

Page 14: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

11

รากที่ดัดแปลงไป (Modified Roots)

รากของพืชนอกจากเจริญจากรากแรกเริ่มแล้ว ยังพบงอกจากส่วนต่างๆ เช่น

ลำต้น ใบ ทำหน้าที่แตกต่างจาก รากแก้วและรากแขนง ได้แก่

รากค้ำจุน

คือ รากที่แตกจากข้อของลำต้นที่อยู่เหนือพื้นดินแล้วพุ่งลงสู่ดิน ทำหน้าที่ค้ำยัน

ลำต้นไม่ให้ล้ม

รากสังเคราะห์ด้วยแสง

คือ รากที่แตกจากลำต้นหรือกิ่งห้อยอยู่ในอากาศ ส่วนปลายมีสีเขียว ทำให้บริเวณ

นั้นที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง ช่วยให้สร้างอาหารได้ รากหายใจ

คือ รากที่งอกจากรากแก้ว แทงตั้งฉากขึ้นมาจากผิวดิน ทำหน้าที่ช่วยหายใจ พบใน

พืชที่อยู่ในที่ชื้นแฉะ มีน้ำท่วมขัง รากเกาะ

คือ รากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น ทำหน้าที่ช่วยยึดเกาะกับหลักหรือไม้อื่นเพื่อ

ชูลำต้นขึ้นสูง

รากสะสมอาหาร

คือ รากแก้วหรือรากฝอยที่อยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและ

โปรตีน ทำให้รากมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบ อุ้มน้ำ

Page 15: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

12

รากค้ำจุน : รากโกงกาง รากเตยทะเล

รากต้นข้าวโพด

รากสังเคราะห์ด้วยแสง : รากกล้วยไม้

รากหายใจ : รากลำพู รากแสม

รากลำแพน รากประสัก

รากเกาะ : รากพลู รากพริกไทย

รากแก้วสะสมอาหาร : แครอท หัวไชเท้า

Page 16: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

13

ลำต้น (Stem)

ลำต้นคืออวัยวะหรือส่วนของพืชซึ่งโดยปกติเจริญอยู่เหนือพื้นดินมีทิศทางตรง

ข้ามกับการเจริญของราก ลำต้นมีขนาด รูปร่าง และลักษณะต่างๆ กัน

ลำต้นประกอบด้วย

ข้อ(node) เป็นส่วนของลำต้นบริเวณที่มีใบหรือกิ่งงอกออกมา และเป็นรอย

ต่อของปล้องแต่ละปล้อง โดยสังเกตได้ว่าส่วนที่เป็นข้อจะมีขนาดโตหรือนูนกว่าส่วนอื่น

ของลำต้น

ปล้อง(internode) เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ

ตา (bud) เป็นที่เกิดของกิ่ง ใบ ดอก และผล

หน้าที่ของลำต้น 1. เป็นแกนสำหรับช่วยพยุงกิ่ง ก้าน ใบ ดอก

2. เป็นตัวกลางสำหรับลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และสารต่างๆ ส่งผ่านไปยังส่วน

ต่างๆ ของพืช

3. สร้างเนื้อเยื่อและส่วนต่างๆ ของพืชใหม่ เช่น ใบ ดอก ผล

ลำต้น แบ่งตามที่อยู่ ได้ 2 ประเภท คือ ลำต้นเหนือดิน (Aerial Stem)

ลำต้นใต้ดิน (Subterranean Stem)

Page 17: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

14

ลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป (Modified Stems)

ลำต้นนอกจากเป็นที่ติดของใบและดอกแล้ว ลำต้นอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างและ

หน้าที่ไปได้ ซึ่งมีทั้งลำต้นบนดินและลำต้นใต้ดิน ดังนี้ คือ

ลำต้นที่ทำหน้าที่พิเศษเฉพาะอย่าง

ลำต้นบนดิน (Aerial Stems) ไหล (Stolon หรือ runner) คือ ลำต้นที่แตกออกจากลำต้นเดิม เลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ มีปล้องยาว ที่

ข้อมีราก ใบ ดอก และสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้

ลำต้นคล้ายใบ (Phylloclade หรือ cladophyll) คือ ลำต้นที่มีลักษณะและทำหน้าที่คล้ายใบ มีสีเขียวของคลอโรพลาสต์ สามารถ

สังเคราะห์ด้วยแสงได้ คล้ายใบ

มือพัน (Stem tendril) คือ ลำต้นอ่อน ยาว บิดเป็นเกลียวทำหน้าที่เกาะหรือยึดกับสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง

ไหล : บัวบก ผักกระเฉด

ผักบุ้ง

ลำต้นคล้ายใบ : สลัดได กระบองเพชร

พญาไร้ใบ

มือพัน : ตำลึง พวงชมพู

ฟักทอง

Page 18: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

15

ลำต้นที่ทำหน้าที่พิเศษเฉพาะอย่าง

ลำต้นใต้ดิน (Subterranean Stems)

เหง้า (Rhizome) คือ ลำต้นทรงกระบอกเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นดิน มีลักษณะอวบน้ำ มีข้อ

ปล้องชัดเจน มีใบเกล็ด (scale leaf) คลุมที่ข้อ มีรากและตาที่ข้อซึ่งจะเติบโตเป็นใบ

และแทงขึ้นสู่พื้นดิน

หัวแบบมันฝรั่ง (Tuber) คือ ลำต้นใต้ดินที่มีขนาดใหญ่และอวบน้ำ ข้อและปล้องเห็นไม่ชัดเจน ไม่มีใบเกล็ด

มีตาประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญโดยรอบซึ่งมักจะบุ๋มลงไป

หัวแบบเผือก (Corm) คือ ลำต้นอวบอ้วนตั้งตรงบริเวณส่วนกลางมักพองโต มีข้อและปล้องสั้นๆเห็น

ชัดเจน มีตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบโผล่ขึ้นเหนือดินหรือแตกเป็นลำต้นใต้ดิน มีใบ

เกล็ดคลุมที่ข้อ

หัวแบบหอม (Bulb) คือ ลำต้นตั้งตรง ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นหุ้มลำต้นไว้ ใบเกล็ดด้าน

นอกบางเพราะไม่มีอาหารสะสมไว้ ส่วนในสุดเป็นลำต้นที่แท้จริง มีข้อและปล้องสั้นๆมี

รากงอกออกมาด้วย

Page 19: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

16

เหง้า : ขิง ข่า ขมิ้น

หัวแบบมันฝรั่ง : มันฝรั่ง มันมือเสือ

หัวแบบเผือก : แห้ว เผือก

หัวแบบหอม : หัวหอม กระเทียม

พลับพลึง

Page 20: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

17

ใบ (Leaf) ใบเป็นส่วนของพืชหรือรยางค์ที่เจริญออกไปทางด้านข้าง โดยมีตำแหน่งอยู่ที่ข้อ

ของลำต้นและกิ่ง ใบส่วนใหญ่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์

หน้าที่หลักของใบ คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ และการคายน้ำ

นอกจากนี้ใบยังอาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สืบพันธุ์

ช่วยยึดและค้ำจุนลำต้น ป้องกันยอดอ่อนและใบอ่อน เป็นต้น

ส่วนประกอบของใบ ใบประกอบด้วย แผ่นใบ (blade หรือ lamina) ก้านใบ (petiole หรือ leaf stalk)

และหูใบ (stipule)

แผ่นใบ ลักษณะเป็นแผ่นแบนบาง ภายในแผ่นใบมีคลอโรพลาสต์ ช่วยให้สร้างอาหารได้ แผ่นใบมีขนาด รูปร่าง และเนื้อใบแตกต่างกันไป แผ่นใบประกอบด้วย

เส้นกลางใบ เส้นใบ ปลายใบ โคนใบ ขอบใบ

ก้านใบ เป็นส่วนที่ยึดแผ่นใบให้ติดกับลำต้น ก้านใบติดกับแผ่นใบตรงโคนใบ ยกเว้นบางชนิดก้านใบติดลึกเข้ามาจากโคนใบ เช่น ใบบัว พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด

ตอนโคนของก้านใบหรือก้านใบทั้งหมดแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น เรียกว่า กาบใบ เช่น

มะพร้าว กาบใบบางชนิดอัดแน่นมองคล้ายลำต้น เรียกว่า ลำต้นเทียม เช่น กล้วย

หูใบ เป็นรยางค์หนึ่งคู่ที่มีลักษณะคล้ายใบขนาดเล็กติดอยู่ตรงโคนก้านใบ หูใบมีรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดของพืช พืชที่มีหูใบ เช่น ใบจำปาดะ พืชบางชนิดอาจไม่มีหูใบ

เช่น ใบมะม่วง ใบลองกอง

ใบที่สมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยแผ่นใบ ก้านใบ และหูใบครบทั้ง 3 ส่วน

ใบขนุนใบที่ไม่สมบูรณ์ คือใบที่ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งดังกล่าว เช่น

ใบกระถินณรงค์ ไม่มีแผ่นใบ

ใบมะม่วง ไม่มีหูใบ

ใบวาสนา ไม่มีก้านใบ

Page 21: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

18

ส่วนประกอบของใบ (Parts of Leaf)

แผ่นใบ (Lamina หรือ Blade)

ก้านใบ (Petiole หรือ Leaf Stalk)

ซอกใบ (Axile)

ปลายใบ (Apex)

หูใบ (Stipule)

เส้นกลางใบ (Midrib)

เส้นใบ (Vein)

ขอบใบ (Margin)

โคนใบ (Base)

Page 22: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

19

ชนิดของใบ (Types of Leaf)

เมื่อจำแนกตามจำนวนใบที่ติดบนก้านใบ สามารถแบ่งชนิดของใบออกเป็น

2 ประเภท คือ

1. ใบเดี่ยว (Simple leaf) คือใบที่มีแผ่นใบเดียวและมีก้านใบเดียว ตัวอย่าง : ใบมะม่วง

2. ใบประกอบ (Compound leaves) คือ ใบที่ประกอบด้วยแผ่นใบมากกว่า 1 เรียกใบเหล่านี้ว่าใบย่อย (leaflets)มีหลายแบบ ดังนี้

ใบประกอบแบบขนนก (Pinnately compound leaves) เปน็ใบประกอบ ที่

มีใบย่อยออก 2 ข้างของแกนกลาง(rachis) ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อจากก้านใบ แบ่งย่อยเป็น

- ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (Odd-pinnately compound leaves)

ใบย่อยปลายสุดของก้านใบมีเพียงใบเดียว เช่น ใบประดู่

- ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่(Even-pinnately compound leaves)

ใบย่อยปลายสุดของก้านใบมี 2 ใบ เช่น ใบมะขาม

ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bipinnately compound leaves)

เป็นใบประกอบที่แกนกลางแตกแขนงออกเป็นแกนกลางที่สองแล้วจึงจะมีใบย่อยแบบ

ขนนก เช่น ใบกระถิน ใบหางนกยูง

ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น (tripinnately compound leaves)

เป็นใบประกอบที่แกนกลางที่ 2 แตกออกเป็นแกนกลางที่ 3 จึงจะมีใบย่อยแบบขนนก

เช่น ใบมะรุม ใบเพกา

ใบประกอบแบบนิ้วมือ (Palmately compound leaves) เป็นใบ

ประกอบที่ก้านใบย่อยทุกใบออกจากตำแหน่งเดียวกับตรงปลายก้านใบ เช่น ใบหนวด

ปลาหมึก ใบมันสำปะหลัง

Page 23: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

20

ใบเดี่ยว

ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่

ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น

ใบประกอบ

ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น

ใบประกอบแบบนิ้วมือ

ใบประกอบแบบขนนปลายคู่

Page 24: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

21

การเรียงใบบนลำต้น (Phyllotaxy)

ใบ มีการเรียงบนลำต้นลักษณะต่างๆ ดังนี้

เรียงสลับ ใบเรียงสลับบนกิ่ง ไม่เป็นระเบียบ ช่วงระยะห่างไม่เท่ากัน

เรียงสลับระนาบเดียว ใบเรียงสลับระนาบเดียวกันบนกิ่งอย่างมีระเบียบ

ช่วงระยะห่างเท่ากัน

เรียงตรงข้าม ใบเรียงตรงข้ามกันบนกิ่งในระนาบเดียวกัน

เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเรียงตรงข้ามสลับกันแต่ละข้อบนกิ่ง แต่ละ

คู่ตั้งฉากซึ่งกันและกัน

เรียงวงรอบ ใบเรียงเป็นวงรอบที่จุดเดียวกันบนกิ่ง มากกว่า 2 ใบ ขึ้นไป

เรียงด้านเดียว ใบเรียงด้านเดียว เรียงกันเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย

เรียงแบบมีกาบหุ้ม โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน

เรียงสลับระนาบเดียว เรียงสลับ

Page 25: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

22

เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก

เรียงตรงข้าม

เรียงด้านเดียว เรียงวงรอบ

เรียงแบบมีกาบหุ้ม

Page 26: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

23

การเรียงตัวของเส้นใบ (Leaf Venation)

การเรียงตัวของเส้นใบ บนแผ่นใบ มี 2 แบบ คือ

1. เส้นใบขนาน (Parallel vein) ส่วนมากพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มี 2 แบบ

เส้นใบขนานตามความยาวของใบ คือเส้นใบที่เรียงขนานกันตั้งแต่ฐานใบ

ถึงปลายใบ เช่น ใบหญ้า ใบอ้อย ใบข้าวโพด

เสน้ใบเรยีงขนานกนัแบบขนนก คอื เสน้ใบทีเ่รยีงขนานกนัจากเสน้กลางใบ

ไปสู่ขอบใบ เช่น ใบกล้วย ใบขิง ใบข่า ใบพุทธรักษา

2. เส้นใบร่างแห (Netted vein) มี 3 แบบ

เส้นใบร่างแหแบบขนนก คือ เส้นใบที่แยกจากเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง เช่น

ใบมะม่วง ใบขนุน ใบลองกอง

เส้นใบร่างแหแบบขนนกปลายโค้งจรดกัน คือ ปลายของเส้นใบ

โค้งเชื่อมกัน

เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ คือ เส้นใบที่ออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ

ไปถึงปลายใบ เช่น ใบมะละกอ ใบโคลงเคลง ใบฟักทอง ใบเชียด

Page 27: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

24

เส้นใบขนานตามความยาว ของใบ

เส้นใบเรียงขนานกันแบบ ขนนก

เส้นใบร่างแหแบบขนนก เส้นใบร่างแหแบบขนนก ปลายโค้งจรดกัน

เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ

Page 28: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

25

รูปร่างใบ (Leaf Shape)

ใบ มีรูปร่างต่างๆ กันดังนี้ คือ

รูปขอบขนาน รูปใบหอก รูปร่างใบหอกกลับ

รูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ

รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด รูปไต

Page 29: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

26

รูปวงกลม รูปหัวใจ รูปเคียว

รูปเงี่ยงใบหอก รูปใบเบี้ยว รูปใบหอกสั้น

รูปหัวใจกลับ รูปใบแฉก

Page 30: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

27

รูปใบแฉกแบบต่างๆ

ใบแฉกกลาง

ใบห้าแฉก

ใบแฉกกลางรูปผีเสื้อ

ใบเจ็ดแฉก

ใบสามแฉก

ใบแฉกไม่เป็นระเบียบ

กรอบความคิด น้องๆ คิดว่าใบพืชมีรูปร่างหลายแบบเพราะอะไร

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

Page 31: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

28

ปลายใบ (Leaf apex)

ปลายยาวคล้ายหาง ปลายติ่งแหลม ปลายติ่งหนาม

ปลายใบ มีลักษณะต่างๆ ดังนี้ คือ

ปลายแหลม ปลายเรียวแหลม ปลายมน

Page 32: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

29

ปลายเว้าลึก ปลายเว้าตื้น ปลายสอบเรียว

ปลายกลม ปลายติ่งแหลมอ่อน ปลายม้วน

ปลายแหลมทู่

Page 33: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

30

โคนใบ (Leaf base)

โคนรูปลิ่ม โคนสอบเรียว โคนเฉียง

โคนใบ มีลักษณะต่างๆ ดังนี้ คือ

โคนแหลม โคนตัด โคนรูปหัวใจ

Page 34: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

31

โคนรูปเงี่ยงลูกศร โคนรูปเงี่ยงใบหอก โคนก้นปิด

โคนกลม โคนป้าน โคนรูปติ่งหู

โคนสอบ โคนเบี้ยว โคนเรียวแหลม

Page 35: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

32

ขอบใบ (Leaf margin)

ขอบใบเรียบ ขอบใบเป็นคลื่น ขอบใบคลื่นใหญ่

ขอบใบ มีลักษณะต่างๆ ดังนี้ คือ

ขอบใบหยัก ขอบใบหยักมน ขอบใบจักฟันเลื่อย

ขอบใบจักฟันเลื่อยซ้อน ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ ขอบใบมีหนาม

Page 36: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

33

ขอบใบหยักหนาม ขอบใบหยักหนามถี่ ขอบใบจักซี่หวี

ขอบใบขนครุย ขอบใบมีหนามสั้น ขอบใบเว้า

Page 37: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

34

ดอก (Flower)

ดอกไม้เป็นส่วนของใบและกิ่งที่เจริญและเปลี่ยนแปลงมาเพื่อทำหน้าที่สืบพันธุ์ ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ Parts of Flower ดอกไม้ทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนจะเรียงกันเป็นชั้นๆ หรือเป็นวงบนฐานรองดอก 1. วงกลีบเลี้ยง (Calyx) แต่ละกลีบเรียกว่า กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่ ชั้นนอกสุด มักมีสีเขียวเนื่องจากเจริญมาจากใบ ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายแก่ ดอกตูมและช่วยในการสังเคราะห์แสง มีทั้งดอกที่กลีบเลี้ยงแยกจากกันและดอกที่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน 2. วงกลีบดอก (Corolla) แต่ละกลีบเรียกว่า กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามาข้างใน มีสีสันต่างๆ สวยงาม ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยในการผสมเกสร มีทั้งดอกที่กลีบดอกแยกจากกันและดอกที่กลีบดอกเชื่อมติดกัน 3. วงเกสรเพศผู้ (Stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เกสรเพศผู้มีหลายอันเรียงกันเป็นชั้น เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ ประกอบด้วย - อับเรณู (Anter) เป็นโครงสร้างที่อยู่ปลายสุดของก้านชูอับเรณู ภายในมี ละอองเรณี (Pollen qrain) - ก้านชูอับเรณู (Filament) มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาว ทำหน้าที่ชูอับเรณู 4. วงเกสรเพศเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนที่อยู่ในสุดของดอก แต่ละดอกส่วนใหญ่จะมีเกสรเพศเมียเพียง 1 อัน เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ ประกอบด้วย - รังไข่ (Ovary) มีลักษณะพองโต ภายในรังไข่มีไข่หรือ ออวุล - ก้านเกสรเพศเมีย (Style) มีลักษณะเป็นแท่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง รังไข่และยอดเกสรเพศเมีย - ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดมักมีน้ำเหนียวๆ ทำหน้าที่ดักจับละอองเรณูของเกสรเพศผู้ นอกจากส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วนแล้วดอกยังมีส่วนประกอบอื่นอีก เช่น ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก โครงสร้างนี้มีขนาดใหญ่กว่าก้านใบ มีทั้งรูปแบน เว้ารูปถ้วย หรือโค้งนูน ก้านดอก (Peduncle) ทำหน้าที่ชูดอกให้ติดกับกิ่ง

Page 38: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

35

ส่วนประกอบของดอก (Parts of Flower)

ก้านดอก (Peduncle)

ฐานรองดอก (Receptacle)

กลีบดอก (Petal)

ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma)

ก้านเกสรเพศเมีย (Style)

เกสรเพศผู้ (Stamen)

รังไข่ (Ovary)

อับเรณู (Anther)

ก้านอับเรณู (Filament)

เกสรเพศเมีย (Pistil)

กลีบเลี้ยง (Sepl)

ริ้วประดับ (Bract)

Page 39: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

36

ตำแหน่งของรังไข่ (Position of Ovary)

ชนิดของรังไข่ เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจำแนกพรรณพืช แบ่งออกเป็น

1. รังไข่เหนือวงกลีบ (Superior ovary) เป็นดอกที่วงกลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ ติดอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำ

กว่าฐานของรังไข่และไม่เชื่อมติดกับรังไข่

2. รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ (Half-inferior ovary) เป็นดอกที่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ ติดอยู่บริเวณปลายฐาน

รองดอก และอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางรังไข่

3. รังไข่ใต้วงกลีบ (Inferior Ovary) เป็นดอกที่ส่วนฐานรองดอกเจริญหุ้มรังไข่ไว้ทั้งหมด กลีบเลี้ยง กลีบดอก

และเกสรตัวผู้ ติดอยู่บนปลายสุดของฐานรองดอกเหนือรังไข่

รังไข่เหนือวงกลีบ : ดอกพริก ดอกมะเขือ

รังไข ่ใต้วงกลีบ : ดอกฝรั่ง ดอกพลับพลึง

รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ : ดอกกุหลาบ

รังไข่ รังไข่ รังไข่

Page 40: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

37

จำแนกตามส่วนประกอบของดอก

ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) หรือดอกครบส่วน คือ ดอกที่มีส่วน

ประกอบของดอกครบทั้ง 4 วงในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ

ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) หรือดอกไม่ครบส่วน คือ ดอกที่มี

ส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 วง เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก)

ชนิดของดอก (Types of Flowers)

จำแนกตามลักษณะของเพศ ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) คือดอกที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกตำลึง พู่ระหง และกุหลาบ ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) คือดอกที่มีเพียงเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดอกที่มีเฉพาะเกสรเพศผู้เรียกดอกเพศผู้ ดอกที่มีเฉพาะเกสรเพศเมียเรียก ดอกเพศเมีย ดอกที่ไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเพศเมียเรียก ดอกเป็นกลางหรือดอกเป็นหมัน และหากในพืชต้นหนึ่งๆ มีดอกสมบูรณ์เพศหรือ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน แม้จะคนละดอกหรือต่างช่อดอก เรียก พืชต้นนั้นว่า พืชกระเทย ได้แก่ ข้าวโพด (ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อดอก) มะพร้าว (ดอกเพศผู้และเพศเมียต่างดอกในช่อเดียวกัน) ตำลึง ฟักทอง (ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกดอกกัน) ส่วนพืชที่มีดอกเพียงเพศเดียวทั้งต้น เรียกพืชแยกเพศ เช่น ส้มแขก มะเดื่อ ตาล

Page 41: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

38

จำแนกตามจำนวนดอก ดอกเดี่ยว (Solitary flower) เป็นดอกเพียงดอกเดียว ที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เช่น ชบา จำปี การะเวก ดอกช่อ (Inflorescence flower) เป็นดอกที่เกิดเป็นกลุ่มอยู่บนก้าน ดอกใหญ่เดียวกัน และประกอบด้วยก้านดอกย่อยๆ หลายดอก ลักษณะการติดของดอกทำให้เกิดช่อดอกแบบต่างๆ กัน เช่น เข็ม โสกน้ำ ถั่ว

จำแนกตามลักษณะสมมาตรของดอก ดอกสมมาตรแบบรัศมี (Regular flower) คือดอกที่ส่วนประกอบของดอกเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกขนาดเท่าๆ กัน สามารถแบ่งผ่านจุดศูนย์กลางออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยผ่าได้หลายแนวตามแนวรัศมีของดอก เช่น จำปี บัว ชบา ดอกสมมาตรครึ่งซีก (Irregular flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกมีขนาดไม่เท่ากัน การจัดระเบียบของดอกไม่เป็นรัศมี ถ้าผ่าเป็นสองซีกให้เหมือนกันจะสามารถผ่าได้เพียงแนวเดียวเท่านั้น เช่น กล้วยไม้ ชงโค อัญชัน แค

Page 42: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

39

ชนิดของช่อดอก (Types of Inflorescence flower)

ช่อดอกมีแบบต่างๆ ดังนี้

ช่อเชิงลด (Spike) ช่อดอกที่ดอกย่อยไม่มีก้าน เช่น สับปะรด มะพร้าว

ช่อกระจะ (Raceme) ช่อดอกที่ดอกย่อยมีก้าน เช่น ดอกหางนกยูงไทย

ช่อเชิงหลั่น (Corymb) ช่อดอกที่ดอกย่อยส่งก้านยาวออกไปอยู่ในระดับ

เดียวกัน เช่น ขี้เหล็ก

ช่อหางกระรอก (Catkin) ช่อดอกแบบ spike แต่ดอกมักจะมีเพศเดียว

ช่อเกิดบนกิ่งห้อยลง เช่น หางกระรอกแดง

ช่อเชิงลดมีกาบ (Spadix) ช่อแบบ spike ที่มีดอกแยกเพศ ติดอยู่กับ

แกนขนาดใหญ่ มีกาบหุ้ม (Spathe) ช่อดอก เช่น หน้าวัว อุตพิด บอน

ช่อซี่ร่ม (Umbel) ช่อดอกที่ก้านดอกย่อยทุกดอกยาวเท่ากัน และออกจากจุด

เดียวกัน เช่น พลับพลึง

ช่อกระจุก (Cyme) ช่อดอกแตกแบบ dichasium ก้านดอกย่อยเจริญขึ้นมา

เกือบอยู่ในระดับเดียวกัน เช่น มะลิ ต้อยติ่ง

ช่อกระจุกแน่น (Head) ช่อดอกที่ดอกอัดแน่นอยู่บนฐานดอกรูปถ้วยหรือ

รูปจาน เช่น ช่อดอกทานตะวัน กระถิน

ช่อกระจุกซ้อน (Dichasium) ช่อดอกที่ปลายช่อดอกย่อยแตกออกเป็น

จำนวน 3 ดอก เช่น ฝิ่นประดับ

ช่อกระจุกแยกแขนง (Cymose panicle) ช่อดอกที่แตกแขนงออกจาก

จุดเดียวกัน เช่น ลีลาวดี

ช่อแขนง (Panicle) ช่อดอกที่มีช่อดอกย่อย แตกออกอีกหลายชั้นย่อย

เช่น ดอกเข็ม

Page 43: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

40

ช่อเชิงลด ช่อกระจะ ช่อเชิงหลั่น

ช่อหางกระรอก ช่อเชิงลดมีกาบ ช่อซี่ร่ม

ช่อกระจุก ช่อกระจุกแน่น ช่อกระจุกซ้อน

ช่อกระจุกแยกแขนง ช่อแขนง

Page 44: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

41

ผลเจริญมาจากรังไข่หลังจากที่ดอกได้รับการปฏิสนธิแล้ว ผนังรังไข่เจริญไปเป็นเปลือกผลหรือผนังผล(pericarp)ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิเจริญไปเป็นเมล็ดผลประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ ก้านผล (Pedicel) เปลือกผลหรือผนังผล (pericarp)ซึ่งมี3ชั้นคือผนังผลแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ผนังผลชั้นนอก (Exocarp) เป็นเปลือกชั้นนอกสุด ส่วนมากมักเหนียว และเป็นมันประกอบด้วยเซลล์ชั้นเดียวหรือเซลล์หลายชั้น ผนังผลชั้นกลาง (Mesocarp) เป็นชั้นถัดเข้ามาจากเปลือกเข้ามาด้านใน มักเป็นเนื้ออ่อนนุ่ม หนามากและฉ่ำน้ำ บางชนิดเป็นเส้นเหนียวๆ เช่น กาบมะพร้าว ผนังผลชั้นใน (Endocarp)เป็นชั้นในสุดที่อยู่ติดกับเมล็ดอาจมีลักษณะ แข็งมาก ผลบางชนิดมีผนังผลชั้นนอกและผนังผลชั้นกลางรวมติดกันเป็นเนื้อเดียว เรียกรวมชั้นนี้เป็นexocarpเช่นมะเขือเทศกล้วยมะละกอแตงกวา

ผล (fruit)

ผลประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

ผนังผลชั้นใน (Endocarp)

ผนังผลชั้นนอก (Exocarp)

ผนังผลชั้นกลาง (Mesocarp)

เมล็ด (Seed)

ก้านผล (Pedicel)

Page 45: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

ผลเดี่ยว (Simple fruit) ผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอก ที่มีเกสรเพศเมียอันเดียว :พุทรามะม่วงแอปเปิ้ล

42

ประเภทของผล (Classification of Fruit)

ผลมี3ประเภทดังนี้คือ

ผลกลุ่ม (Aggregate fruit) ผลที่ เกิดจากดอกหนึ่ งดอกที่มี เกสรเพศเมียหลายอันแยกจากกัน เมื่ อเจริญเติบโต เป็นผลจะเบียดกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกมีลักษณะคล้ายผลเดี่ยวหนึ่งผล:น้อยโหน่งน้อยหน่ากระดังงา

ผลรวม (Multiple fruit) ผลที่เกิดจากดอกหลายดอก (ดอกช่อ)ซึ่งเบียดกันแน่นบนก้านดอก เมื่อเป็นผลดูคล้ายผลเดี่ยวขนาดใหญ่:สับปะรดยอจำปาดะ

Page 46: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

43

ผลสด (Fleshy fruit) 1. ผลเมล็ดแข็ง (Drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเดียวผนังผลชั้นกลางเป็นเนื้อนุ่มผนังผลชั้นในแข็ง

2. ผลมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry) ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อผลอ่อนนุ่ม ผนังชั้นนอกที่เป็นเปลือกมี

ลักษณะอ่อนนุ่มเช่นเดียวกัน

3. ผลแบบส้ม (Hesperidium) ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ำมันจำนวนมาก ผนังชั้นกลางอ่อนนุ่มคล้าย

ฟองน้ำสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมีบางส่วนของชั้นนี้

เปลี่ยนเป็นถุงน้ำเพื่อสะสมน้ำตาลและกรดมะนาว

4. ผลแบบแตง (Pepo) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและเหนียว ผนังชั้นกลาง

และผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่มฉ่ำน้ำ

5. ผลแบบแอปเปิ้ล (Pome) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ เนื้อส่วนที่รับประทานเป็นส่วนของฐานรอง

ดอกที่ขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นเนื้อของผล

ชนิดของผล (Types of Fruit)

Page 47: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

44

ผลเมล็ดแข็ง : พุทรา มะปราง มะม่วง มะกอก

ผลมีเนื้อหลายเมล็ด : ฝรั่ง มะละกอ มะเขือเทศ

ผลแบบส้ม : ส้ม มะนาว มะกรูด

ผลแบบแตง : แตงกวา ฟัก แตงโม ตำลึง

ผลแบบแอปเปิ้ล : แอปเปิ้ล สาลี่ ชมพู่

Page 48: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

45

ผลแห้ง (Dry fruit) ผลแห้งแก่ไม่แตก (Dry indehiscent fruit)

1. ผลแห้งเมล็ดล่อน (Achene) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ดขนาดเล็ก เปลือกผลบางและแยกจากเปลือกหุ้มเมล็ด

แต่ละผลอยู่บนฐานรองดอกที่มีขนาดใหญ่

2. ผลธัญพืช (Grain) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ดเปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับเปลือกหุ้มเมล็ด

3. ผลเปลือกแข็ง (Nut) ผลที่มีเปลือกแข็งหนาเป็นมันเมล็ดอยู่หลวมๆภายใน

4. ผลปีกเดียว (Samara) เปลือกผลแผ่ออกเป็นปีกยาวหรือผลมีปีกกลมล้อมรอบภายในมีเมล็ดเดียว

5. ผลปีกเดียวแฝด (Double samara) ผลปีกเดียว2อันเชื่อมติดกันแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

6. ผลแตกสองครั้ง (Schizocarp) ผลที่มาจากเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน แต่เมื่อแก่เต็มที่จะแยกจากกันโดยมี

ก้านยึดผลอยู่เรียกว่าซีกผลแต่ละซีกผลจะมีเมล็ด1เมล็ด

7. ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (Acorn)

ผลเปลือกแข็งที่มีกาบรูปถ้วยหุ้ม

Page 49: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

46

ผลแห้งเมล็ดอ่อน : ผลทานตะวัน บัว

ผลธัญพืช : หญ้า ข้าว

ผลเปลือกแข็ง : เกาลัด ก่อหนาม

ผลปีกเดียว : ประดู่ ยางนา

ผลปีกเดียวแฝด : ผลก่วม

ผลแตกสองครั้ง : ผักชี ยี่หร่า

ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย : ก่อหิน

Page 50: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

47

1. ฝักแตกแนวเดียว (Follicle) ผลที่มีหลายเมล็ด เมื่อแก่ผลจะแตกตามแนวตะเข็บเพียงด้านเดียว มักแตก

ทางด้านหลัง

2. ฝักแบบถั่ว (Legume) ผลของพืชวงศ์ถั่วเกิดจาก1carpelมักจะแตกตามรอยตะเข็บทั้งสองด้าน

3. ผลแตกแบบ Silique ผลเกิดจาก 2 carpel ซึ่งติดกัน เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก จากก้านไปยัง

ปลายมักมีผนังบางๆกั้นกลางเหลืออยู่

4. ผลแห้งแตกแบบ Capsule ผลที่ เกิดจากเกสรเพศเมียที่มีหลายรังไข่ เชื่อมติดกัน เปลือกผลเมื่อแห้ง

จะแตกออก

5. ผลแตกเป็นช่อง (Poricidal capsule)

ผลที่แตกเป็นช่องเล็กให้เมล็ดออกที่ปลายผล

ผลแห้ง (Dry fruit) ผลแห้งแก่แตก (Dry Dehiscent Fruit)

Page 51: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

48

ฝักแตกแนวเดียว

: สำโรง จำปา

ฝักแบบถั่ว

: ถั่วเหลือง ถั่วเขียว

ผลแตกแบบฝัก

: ต้อยติ่ง ผักกาด

ผลแห้งแตก

: ทุเรียน อินทนิล

ผลแตกเป็นช่อง

: ฝิ่น

Page 52: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

49

เมล็ด คือ ไข่ที่เจริญขึ้นมาหลังจากที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ประกอบด้วย

เปลือกเมล็ด (Seed coat) เอนโดเสปิร์ม (Endosperm)เป็นเนื้อเยื่อที่เก็บสะสมอาหารอยู่นอกเอมบริโอเมล็ดของพืชบางชนิดอาจไม่มีเอนโดเสปิร์ม

เอมบริโอ (Embryo)เป็นต้นอ่อนอยู่ในเมล็ดประกอบด้วย - ใบเลี้ยง(Cotyledon)คือใบแรกของต้นอ่อน

- ลำต้นเหนือใบเลี้ยง(Epicotyl)คือส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง

ขณะอยู่ในเมล็ดต่อมาส่วนนี้จะเจริญเป็นยอดอ่อน

- ลำต้นใต้ใบเลี้ยง(Hypocotyl)คือส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง

ขณะอยู่ในเมล็ดต่อมาส่วนนี้จะเจริญเป็นลำต้น

- รากแรกเกิด(Radicle)คือส่วนที่อยู่ล่างสุดจะเจริญเป็นรากแก้ว

เมล็ด (Seed)

เปลือกเมล็ด

เอมบริโอ

รู้หรือเปล่า พัฒนาการของรังไข่หลังจากปฏิสนธิแล้ว

Page 53: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

50

จากลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆ ของพืชโดยเฉพาะพืชที่มีดอกหรือ

เรียกว่าพืชดอก(Flowerplants)สามารถจำแนกพืชดอกออกเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือ

1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

2. พืชใบเลี้ยงคู่

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่

ลักษณะ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่

ลักษณะของ

ต้นพืช

ราก

ลำต้น

ต้นอ่อน

ใบ

ดอก

ตัวอย่างพืช

ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ไม้เนื้อ

อ่ อนบางครั้ งพบ เป็น ไม้ ต้ น

ระบบรากฝอย

เห็นข้อปล้องชัดเจน

ต้นอ่อนมีใบเลี้ยง1ใบ

ใบโดยทั่วไปมีเส้นใบเรียงแบบ

ขนาน ขอบเรียบ หายากที่มีก้าน

ใบมักพบก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ

หุ้มลำต้นไม่มีหูใบ

ดอกมีส่วนต่างๆ เป็น 3 หรือ

ทวีคูณของ3

หมากมะพร้าวรังไก่สาคูกะพ้อ

มีหลายลักษณะทั้งพืชล้มลุก

และพืชมีเนื้อไม้

ระบบรากแก้ว

เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน

ต้นอ่อนมีใบเลี้ยง2ใบ

ใบโดยทั่วไปมีเส้นใบเป็นร่างแห

ขอบเรียบหรือจัก มักมีก้านใบ

หายากที่ก้านใบเป็นกาบ มักจะ

มีหูใบ

ดอกมีส่วนต่างๆ เป็น 4 หรือ

5หรือทวีคูณของ4หรือ5

เงาะมะม่วงทุเรียนลองกอง

Page 54: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

51

Page 55: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

52

กิจกรรม มหัศจรรย์พรรณไม้ป่า

6.กรรไกรตัดกิ่ง

7.กาว/เทปใส

8. ไม้บรรทัด

9. เชือก/ตลับเมตร/สายวัด

มีอะไรในบริเวณนี้ บริเวณนี้มีพรรณพืชหลากหลาย เช่น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุกและไม้เลื้อยแต่ละ

ประเภทมีความแตกต่างกันในด้านรูปทรง ลวดลายของผิวลำต้น ความสูง จำนวนใบ

ลักษณะของใบขนาดของใบลักษณะผลเป็นต้น

วัตถุประสงค์ นักเรียนสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้

1.บอกความแตกต่างของลักษณะพืชในบริเวณที่ศึกษา

2.บอกลักษณะของรากพืช

3.บอกรูปทรงของต้นไม้

4.บอกลักษณะของลำต้น

5.บอกลักษณะและรูปทรงของใบไม้

6.บอกลักษณะของดอก

7.บอกลักษณะของผลและเมล็ด

8. เปรียบเทียบลักษณะพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

9. ร่วมกันหาแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม 1. ใบกิจกรรม

2.ดินสอ/ปากกา

3.สีไม้/สีเทียน/สีโปสเตอร์

4.กระดาษขาวA4

5.กรรไกร/มีด

Page 56: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

53

กิจกรรมที่ 1 มหัศจรรย์ของผิวเปลือกลำต้น คำชี้แจง ให้น้องๆเลือกต้นไม้ 2 ต้นตามความสนใจ เพื่อจะพิมพ์ลวดลายของต้นไม้ทั้ง

2 ต้น โดยนำกระดาษขาวไปวางทาบที่ลำต้นแล้วใช้ดินสอ สีไม้หรือสีเทียนฝนลายของ

เปลือกไม้จากนั้นใช้กรรไกรตัดมาติดลงในกรอบข้างล่างนี้

คำถาม

- น้องๆคิดว่าลวดลายของต้นไม้ทั้ง 2 ต้นนี้มีอะไรที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

.............................................................................................................................

.............................................................................................................................

.............................................................................................................................

- ลวดลายเหล่านี้มีประโยชน์อย่างไร

.............................................................................................................................

.............................................................................................................................

.............................................................................................................................

ลวดลายของผิวลำต้น

ต้นที่ 1

ชื่อพืช........................................

ต้นที่ 2

ชื่อพืช........................................

Page 57: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

54

กิจกรรมที่ 2 รูปทรงมหัศจรรย์ คำชี้แจงให้น้องๆเลือกต้นไม้2ต้นตามความสนใจแล้วปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.สังเกตรูปทรงของต้นไม้ที่นักเรียนพิมพ์ลวดลายในกิจกรรมที่ 1 ทั้ง 2 ต้น

แล้ววาดภาพรูปทรงต้นไม้ลงในตารางบันทึกผล

2. วัดเส้นรอบวงของลำต้นตรงตำแหน่งช่วงความสูงเท่ากับอกของนักเรียน

3.ประมาณความสูงของต้นไม้ โดยประมาณว่าสูงกี่เท่าของความสูงนักเรียน

เพื่อใช้ในการคำนวณเป็นความสูงของต้นไม้

ตารางบันทึกผล

เส้นรอบวง ...................เซนติเมตร ...................เซนติเมตร

ลักษณะของต้นไม้ ต้นที่ 1

ชื่อพืช............................

ต้นที่ 2

ชื่อพืช............................

รูปทรง

ความสูง ประมาณ

....................เซนติเมตร

ประมาณ

....................เซนติเมตร

Page 58: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

55

กิจกรรมที่ 3 ลักษณะของลำต้น คำชี้แจงให้น้องๆแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.สำรวจพืชในบริเวณที่ศึกษา5ชนิด

2.บันทึกลักษณะของลำต้นตามที่สังเกตได้

ที่อยู่ของลำต้น ความชัดเจนของข้อและปล้อง ชื่อของพืช

บนดิน ใต้ดิน เห็นชัดเจน เห็นไม่ชัดเจน

ให้วาดลำต้นของพืชแต่ละชนิด

Page 59: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

56

กิจกรรมที่ 4 ลักษณะของราก คำชี้แจงให้น้องๆแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้

1. รดน้ำบริเวณโคนต้นไม้ต้นเล็กๆ 2 ชนิด รอสักครู่แล้วค่อยๆ ถอนต้นไม้โดย

ให้ส่วนของรากหลุดออกมาด้วยระวังอย่าให้รากขาด

2.สังเกตและเปรียบเทียบลักษณะรากพืช2ชนิด

ลักษณะของราก

สังเกต บันทึก

ความแตกต่างของราก

ชื่อพืช................................... ชื่อพืช...................................

สรุปความแตกต่าง

........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

Page 60: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

57

กิจกรรมที่ 5 ใบไม้แสนสวย

คำชี้แจงให้น้องๆแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.สังเกตรูปทรงของใบที่เจริญเต็มที่จากต้นไม้ที่สนใจ2ชนิด

2.บันทึกลักษณะลงในตารางบันทึกผล

สรุปความแตกต่าง..................................................................................................

.............................................................................................................................

ตารางบันทึกผล

ใบกว้าง ...................เซนติเมตร ...................เซนติเมตร

ใบยาว ...................เซนติเมตร ...................เซนติเมตร

ลักษณะของใบ ต้นที่ 1

ชื่อพืช............................

ต้นที่ 2

ชื่อพืช............................

วาดรูป

เส้นใบ

รูปร่างของใบ

ปลายใบ

โคนใบ

ขอบใบ

ผิวใบ

Page 61: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

58

กิจกรรมที่ 6 ดอกไม้แสนสวย 6.1 กิจกรรมวาดภาพดอกไม้

คำชี้แจง ก่อนที่น้องๆ จะศึกษาส่วนประกอบของดอกไม้ ให้น้องวาดภาพดอกไม้

ที่นำมาศึกษาพร้อมระบายสีให้สวยงาม

Page 62: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

59

ชื่อส่วนประกอบต่างๆ ส่วนประกอบจริง

กลีบดอก

กลีบเลี้ยง

เกสรเพศผู้

ละอองเรณู

6.2 กิจกรรมส่วนประกอบของดอกไม้

คำชี้แจงให้น้องๆแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.ศึกษาส่วนประกอบต่างๆของดอกไม้

2.นำส่วนประกอบต่างๆไปติดในตารางที่กำหนดให้ถูกต้อง

ชื่อดอกไม้................................................

เกสรเพศเมีย

รังไข่

ฐานรองดอก

ก้านดอก

Page 63: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

60

สรุป ลักษณะดอกไม้ที่นำมาศึกษาเป็น

ดอกครบส่วน ดอกไม่ครบส่วน ดอกสมบูรณ์เพศ

ดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ดอกช่อ

6.3 กิจกรรมสำรวจชนิดและประเภทของดอกไม้

คำชี้แจงให้น้องๆสำรวจดอกไม้ในบริเวณที่กำหนดพร้อมทั้งระบุประเภทของดอก

ชื่อ ประเภทของดอกไม้ 1 2 3 4 5 6 7 8

หมายเหตุ :ประเภทของดอกไม้

1 = ดอกครบส่วน 2= ดอกไม่ครบส่วน 3=ดอกสมบูรณ์เพศ

4 = ดอกไม่สมบูรณ์เพศ 5= ดอกเดี่ยว 6=ดอกช่อ

7= ดอกสมมาตรครึ่งซีก8= ดอกสมมาตรรัศมี

Page 64: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

61

กิจกรรมที่ 7 ผลไม้นานาชนิด คำชี้แจง ให้น้องๆแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.สำรวจชนิดของผลในบริเวณที่ศึกษา

2. ระบุชนิดของผลที่ศึกษาพร้อมวาดรูปลงในตารางที่กำหนดให้ถูกต้อง

รายละเอียดของผล ภาพประกอบ

1.ชื่อผล.......................................................2.ชนิดของผล ผลเดี่ยว ผลรวม ผลกลุ่ม3.จำนวนเมล็ด 1เมล็ด หลายเมล็ด ไม่มีเมล็ด4.การกิน กินได้ กินไม่ได้

1.ชื่อผล.......................................................2.ชนิดของผล ผลเดี่ยว ผลรวม ผลกลุ่ม3.จำนวนเมล็ด 1เมล็ด หลายเมล็ด ไม่มีเมล็ด4.การกิน กินได้ กินไม่ได้

1.ชื่อผล.......................................................2.ชนิดของผล ผลเดี่ยว ผลรวม ผลกลุ่ม3.จำนวนเมล็ด 1เมล็ด หลายเมล็ด ไม่มีเมล็ด4.การกิน กินได้ กินไม่ได้

Page 65: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

62

ตารางบันทึกผล

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่

กิจกรรมที่ 8 สำรวจพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ คำชี้แจง ให้น้องๆ ออกสำรวจพืชในบริเวณที่ศึกษาว่ามีพืชชนิดใดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

และพืชใบเลี้ยงคู่บันทึกลงตารางบันทึกผล

Page 66: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

63

กิจกรรมที่ 9 ศิลปะจากใบไม้ คำชี้แจง ให้น้องๆ นำใบไม้รูปแบบต่างๆมาทาสีน้ำด้านที่มีเส้นใบ แล้วนำมาพิมพ์

บนกระดาษขาวสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ

Page 67: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

64

กิจกรรมที่ 10 นักอนุรักษ์น้อย คำชี้แจง ให้น้องๆ แต่งคำขวัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นไม้ และนักเรียนมีวิธีทำให้ต้นไม้

อยู่กับเรานานๆได้อย่างไร

คำขวัญ

วิธีอนุรักษ์ต้นไม้

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

...................................................................................................................

Page 68: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

แบบบันทึกข้อมูลพรรณไม้

เลขที่.................................

ชื่อสามัญ...........................................................................................................

ชื่อพื้นเมือง........................................................................................................

สถานที่เก็บ........................................................................................................

สถานที่/แหล่งที่พบ.............................................................................................

(ในน้ำ/บนดิน/บนหิน/อยู่กลางแจ้ง/ในร่ม/บนพืชอื่นฯลฯ)

ลักษณะวิสัย......................................................................................................

(ไม้ยืนต้น/ไม้พุ่ม/ไม้ล้มลุก/ไม้เลื้อย/ไม้เนื้ออ่อน/ไม้เนื้อแข็ง)

ข้อมูลใบ

-ใบเดี่ยว/ใบประกอบ - โคนใบแบบ..................................

-มีขน/ไม่มีขน - ปลายใบแบบ................................

-ขอบใบแบบ........................... - เส้นใบแบบ..................................

ข้อมูลดอก

-ดอกเดี่ยว/ดอกช่อสี..............................................

-กลิ่นหอม/กลิ่นเหม็น/ไม่มีกลิ่น

-ตำแหน่งดอก(ออกปลายกิ่ง/ซอกกิ่ง/ซอกใบ/บนลำต้น)

ข้อมูลผล

-ผลเดี่ยว/ผลกลุ่ม/ผลรวม/ผลอ่อนสี................./ผลแก่สี................

-รับประทานได้/รับประทานไม่ได้/มีกลิ่น/ไม่มีกลิ่น

ชื่อผู้บันทึก.........................................................................................................

วันที่................เดือน...............................ปี....................

65

Page 69: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่ มื อ ก า ร เ รี ย น รู้ พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ น่ า รู้

66 คณะผู้จัดทำคู่มือการเรียนรู้ “พฤกษศาสตร์น่ารู้”

ก่องกานดา ชยามฤต.2545.คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรุงเทพฯ:ส่วนพฤกษศาสตร์ ป่าไม้สำนักวิชาการป่าไม้คณะบรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านและสวน.(2546).สารานุกรมไม้ประดับในประเทศไทย เล่ม 1.กรุงเทพฯ.บ้านและสวน.วันเพ็ญ ภูติจันทร์.2547.พฤกษศาสตร์ ฉบับปรับปรุง.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี.(2550)คู่มือศึกษาพรรณไม้ในธรรมชาติ.ปทุมธานี.ศูนย์บริหาร จัดการเทคโนโลยีอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน.(2547) ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. กรุงเทพฯ:เอชเอนกรุ๊ป.

เอกสารอ้างอิง

ที่ปรึกษา ผศ.ไกรสรศรีไตรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.เฉลิมยศอุทยารัตน์ รองอธิการบดีฯฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น นายประยูรดำรงรักษ์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ นางฉันทนารุ่งพิทักษ์ไชย ผอ.ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯคณะผู้จัดทำ นายมะโซลาเซะ นักวิจัยศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ นายมูฮำหมัดตายุดินบาฮะคีรี นักวิจัยศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ นายแวอาซิเจ๊ะนะ นักวิชาการศึกษา นายกามัลกอและ ผู้นำทางและให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์วาดภาพ นายกามารูดินจันทร์สนิท พิมพ์ที่ : บริษัท เอสพริ้นท์ (2004) จำกัด

Page 70: คู่มือ การเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้lumphaya.stkc.go.th/pdf/ebook/012.pdfส่วนประกอบของพืช

คู่มือการเรียนรู้ พฤกษศาสตร์น่ารู้