วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ...

10
20 วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวาง ศิลาฤกษ์อาคารสานักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและทรงรับการถวายเงินจากชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นความดีใจความ ภาคภูมิใจของพวกเราทุกคน และนักศึกษาต่างช่วยกันในการเตรียมงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย แต่ในช่วงระหว่างการเตรียมงานนั้นเราประสบกับปัญหาฝนตกเกือบทุกวันทาให้การ เตรียมการเป็นได้ความลาบาก เนื่องจากถนนที่จะเข้าไปยังจุดบริเวณพิธีเป็นดินแดง ดินโคลนทาให้ การเข้าไปมีความยากลาบาก จึงมีการเปลี่ยนแผนโดยย้ายสถานที่วางศิลาฤกษ์ออกมาด้านนอก บริเวณถนนทางเข้าสาย 1 (จากแยกทางเข้าปัจจุบันไปประมาณ 500 เมตร) สามแยกเข้ามหาวิทยาลัย ถนนสาย 1 เข้ามหาวิทยาลัย การดาเนินงานต่าง ๆ ทุกฝ่ายทุกภาคส่วนได้ร่วมมือ ร่วมใจช่วยกัน ซึ่งก่อนวันที่ท่านจะ เสด็จในช่วงเย็นเสาไฟฟ้าตรงแยกทางเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียง ถนนดินแดงไม่ได้เป็นถนนลาดยาง(แอสฟันท์) และจากการที่ฝนตกมาหลายวันได้ล้มลงบนถนน ทุกฝ่ายตกใจกันมากแต่คงจะเป็นบุญบารมี การแก้ไขต่าง ๆ เสร็จได้ทัน ก่อนพระองค์เสด็จพิธีวาง ศิลาฤกษ์และเสร็จสิ้นตามหมายกาหนดการ และเป็นไปด้วยความราบรื่นทุกประการ

Transcript of วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ...

Page 1: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

20

วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้รับ

พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวาง ศิลาฤกษ์อาคารส านักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและทรงรับการถวายเงินจากชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพ่ือสนับสนุนการด าเนินงานของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นความดีใจความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคน และนักศึกษาต่างช่วยกันในการเตรียมงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัย แต่ในช่วงระหว่างการเตรียมงานนั้นเราประสบกับปัญหาฝนตกเกือบทุกวันท าให้การเตรียมการเป็นได้ความล าบาก เนื่องจากถนนที่จะเข้าไปยังจุดบริเวณพิธีเป็นดินแดง ดินโคลนท าให้การเข้าไปมีความยากล าบาก จึงมีการเปลี่ยนแผนโดยย้ายสถานที่วางศิลาฤกษ์ออกมาด้านนอกบริเวณถนนทางเข้าสาย 1 (จากแยกทางเข้าปัจจุบันไปประมาณ 500 เมตร)

สามแยกเข้ามหาวิทยาลัย ถนนสาย 1 เข้ามหาวิทยาลัย

การด าเนินงานต่าง ๆ ทุกฝ่ายทุกภาคส่วนได้ร่วมมือ ร่วมใจช่วยกัน ซึ่งก่อนวันที่ท่านจะ

เสด็จในช่วงเย็นเสาไฟฟ้าตรงแยกทางเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงถนนดินแดงไม่ได้เป็นถนนลาดยาง(แอสฟันท์) และจากการที่ฝนตกมาหลายวันได้ล้มลงบนถนน ทุกฝ่ายตกใจกันมากแต่คงจะเป็นบุญบารมี การแก้ไขต่าง ๆ เสร็จได้ทัน ก่อนพระองค์เสด็จพิธีวางศิลาฤกษ์และเสร็จสิ้นตามหมายก าหนดการ และเป็นไปด้วยความราบรื่นทุกประการ

Page 2: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

21

Page 3: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

22

จากการน าเสนอการจัดตั้งหน่วยงานที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 2 สิงหาคม 2537 มีประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยงาน

แรก ซึ่งเดิมนั้นคณะกรรมการอ านวยการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เสนอชื่อ วิทยาลัยสุราษฎร์ธานี แต่ก็ไม่เป็นไรพวกเราคิดว่า เป็นหน่วยงานแรกที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ส านักงานบริเวณศาลาประชมคม นับจากนั้นเป็นต้นมา การด าเนินงานต่าง ๆ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนา

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในนามของวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี แต่การบริหารจัดการภายใต้ชื่อโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การบริหารจัดการส านักงานโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี อาจจะพูดได้ว่าเป็น การบริหารแบบรวมศูนย์บริการประสานภารกิจมาตั้งแต่เริ่มต้นของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีก็ว่าได้ เพราะงานที่สนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ อาคารสถานที่ ธุรการ นโยบายและแผน การเงินพัสดุ ประชาสัมพันธ์ บริการวิชาการ กิจการนักศึกษา ห้องสมุด และงานทะเบียน รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมไว้ที่ส านักงานโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงเรียกได้ว่า การบริหารแบบรวมศูนย์ ซ่ึงช่วงแรกเป็นช่วงที่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคนได้ทุ่มเทก าลังกาย ก าลังใจในการติดต่อประสานงาน การจัดเตรียมพ้ืนที่ และการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เนื่องจากขณะนั้นเราเหมือนกับคนจนที่ที่มาตัวเปล่าไม่มีอะไรสักอย่าง แต่มีใจเต็มร้อย ทุกคนจึงช่วยกันแทบทุกเรื่อง จึงเป็นเรื่องที่หนักท่ีจะต้องใช้ความอดทน ความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน 2. การบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยหน่วยงานตามโครงสร้างขององค์กรดังนี้ ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการศึกษาเฉพาะทาง และฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ โดยวิทยาลัยท าหน้าที่จัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร 3 โปรแกรม คือ โปรแกรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โปรแกรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า

Page 4: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

23

ในส่วนของป่าเขาท่าเพชรมีการออกแบบและก่อสร้างอาคารส านักงาน และหอประชุมกลางเป็นอาคารหลังแรก และสนามบาสเก็ตบอล โดยบริษัททับสะแกการก่อสร้าง งบประมาณ 45.7 ล้านบาท

Page 5: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

24

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมตอินุมัติการจัดตั้งวิทยาเขต สุราษฎร์ธานี ให้จัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และการพัฒนาพ้ืนที่ การก่อสร้างอาคารบริเวณพ้ืนที่เขาท่าเพชรได้เสร็จสิ้น ซึ่งประกอบ ด้วยอาคารส านักงานโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และหอประชุมใหญ่ จึงมีการย้ายส านักงานจากอาคารชั่วคราว บริเวณศาลาประชาคม มาที่ส านักงานโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี บริเวณเขาท่าเพชร ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงของการพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านกายภาพ เนื่องจากการปรับสภาพพ้ืนที่ซึ่งเป็นดินแดง ยามหน้าแล้งลมจะพัดพาฝุ่นแดงเข้าอาคาร ยามหน้าฝนจะเป็นโคลนแดงย่ าเข้ามาในตึก แต่บุคลากรทุกคนก็ไม่หวั่นต่างร่วมด้วยช่วยกันตามโอกาสและเวลาในการจัดกิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงพ้ืนที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

Page 6: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

25

Page 7: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

26

การย้ายมาอยู่ที่ส านักงานใหม่จึงมีการจัดเตรียมแบ่งสันปันส่วนพื้นที่ในการเป็นสถานที่ท างาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ สถานที่ปฏิบัติการด้านประมง ห้องประชุม และสถานที่ในการจัดกิจกรรมของนักศึกษา ซึ่งทุกอย่างลงตัวเรียบร้อย ถึงแม้ว่าในสมัยนั้นความเป็นอยู่ของพวกเราชาววิทยาเขตสุราษฎร์ธานีค่อนข้างจะล าบากบ้าง ไม่ว่าจะการเดินทาง ไม่มีรถประจ าทาง เมื่อลงรถท่ีปากซอยพิเศษ แล้วจะต้องนั่งรอรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง บางครั้งต้องเดินเข้า-ออกก็มี ความเจริญต่าง ๆ ยังมีน้อย อาคารบ้านเรือน หอพักก็ยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ภายในวิทยาเขตระบบสาธารณูปโภคมีความพร้อมในระดับหนึ่ง แต่ก็จะพบปัญหาไฟดับ น้ าไม่ไหล กันอยู่บ่อย ๆ รถยนต์ก็มีอยู่ไม่กี่คัน แต่ทุกคนก็อยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุขและสนุกกับงาน นอกจากงานประจ าของแต่ละคนแล้ว เมื่อมีงานหรือกิจกรรมในวิทยาเขตต่างก็มาร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งเป็นภาพแห่งความประทับใจถึงความสามัคคีของบุคลากร โดยเฉพาะการสนับสนุนของผู้บริหาร และความมีน้ าใจของบุคลากรทุกคน

Page 8: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

27

นับเป็นพระมหากรุณาธิจากสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี และพระเจ้าพ่ีนางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อของชาววิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทีไ่ด้รับพระราชทานพระพุทธรูปบุชา หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรปูปางสมาธิ ที่จังหวัดพิจิตรได้ทลูเกล้าถวายสมเด็จพระศรีนครนิทรา บรมราชชนนี ในวโรกาสเสด็จทรงเปิดสวนศรีนครินทร ์พิจิตร เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2530 และได้พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยเพ่ือประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจ าวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดยอาจารย์ปัญญ์ ยวนแหล ผู้อ านวยการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี พร้อมกับอธิการบดี ได้เข้ารับพระราชทานจากพระเจ้าพ่ีนางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลงนราธิวาสราชนครินร์ ณ วัง Le Dis พระราชทานและอัญเชิญหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐาน ณ ส านักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เพ่ือให้บุคลากรและนักศึกษาได้สักการะบูชา สืบไป

ในปีเดียวกันนี้วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์น าหลักสูตรปริญญาโทภาคสมทบ มาเปิดสอนสาขาแรก คือการบริหารการศึกษา และต่อมาเปิดหลักสูตรเพ่ิม สาขาการประถมศึกษา และสาขาศึกษาศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยจัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ มีผู้ส าเร็จการศึกษาจ านวนหลายรุ่น

Page 9: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

28

การพัฒนาโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ มีความก้าวหน้าและพัฒนาเจริญก้าวหน้ามาเป็นล าดับสามารถผลิตนักศึกษาทั้ง 3 โปรแกรม เข้าสู่ตลาดแรงงานและตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ ได้แก่สถานประกอบการด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะท างานที่อ าเภอเกาะสมุยและจังหวัดภูเก็ต และสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าท างานกับสถานประกอบการด้านการเลี้ยงกุ้งกุลาด า และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ส่วนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ท างานในสถานประกอบการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

ในระยะแรกสภาพทางกายภาพ ภูมิทัศน์มีความสวยงามเป็นพื้นที่ท่ีมีสีสันสวยงาม ในช่วงตอนเย็น มีประชาชนที่อยู่ในซอยพิเศษเข้ามาเดินออกก าลัง บ้างก็มาถ่ายรูป บ้างก็มาจัดงานแต่งงาน ในช่วงนั้นจึงเป็นอีกช่วงหนึ่งที่บุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการ และการพักผ่อนในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

Page 10: วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ชาวโครงการ ...scc.surat.psu.ac.th/web/file/ep2.pdf · 2019-05-07 · วันที่ 3 ธันวาคม

29