บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด...

14
บทที3 วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยทดลอง (experimental research) แบบมีกลุมควบคุมวัดกอน และหลังการทดลอง (pre test-post test control group design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม การสงเสริมสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคมตอพฤติกรรมการควบคุมโรค และ ระดับครีเอตินินในเลือดในผูสูงอายุโรคไตวายเรื้อรัง ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้เปนผูที่อายุ 60 ขึ้นไป และเปนโรคไตวายเรื้อรังที่ไดรับการ รักษาแบบประคับประคอง และการดําเนินของโรคยังไมเขาสูไตวายเรื้อรังระยะสุดทาย ที่มารับการ รักษาที่แผนกผูปวยนอกโรงพยาบาลกุดบาก อําเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร การคัดเลือกกลุตัวอยางเปนการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยใชการวิเคราะหอํานาจการ ทดสอบ (power analysis) ของเบอรน และโกรฟ (Burns & Grove, 2005) ในการวิจัยครั้งนี้ได กําหนดขนาดกลุมตัวอยางโดยการใชคาขนาดอิทธิพลขนาดกลาง (medium effects) เทากับ .50 มี ระดับอํานาจการทดสอบ (level of power) เทากับ .80 และคาแอลฟาเทากับ .05 จะไดขนาดกลุตัวอยางทั้งหมด 44 ราย จากนั้นแบงเปนกลุมทดลอง 22 ราย กลุมควบคุม 22 ราย โดยใหกลุตัวอยางมีคุณสมบัติ ดังนี1. มีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรค คะแนนการรับรูสมรรถนะแหงตนในการ ควบคุมโรค และคะแนนการสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมโรคอยูในระดับต่ําถึงปานกลาง 2. แพทยวินิจฉัยเปนโรคไตวายเรื้อรังที่ไมใชระยะสุดทาย และมีระดับครีเอตินินในเลือด ตั้งแต 1.3 มิลลิกรัมตอเดซิลิตรขึ้นไป 3. อาศัยอยูกับสมาชิกในครอบครัวที่มีคุณสมบัติ ดังนี3.1 เปนผูดูแลหลัก 3.2 สามารถเขาใจและสื่อภาษาไทยได 3.3 ยินยอมและใหความรวมมือในการวิจัย 4. สามารถเขาใจและสื่อภาษาไทยไดดี

Transcript of บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด...

Page 1: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

บทท่ี 3

วิธีดําเนินการวิจัย

การวิจัยคร้ังนี้เปนการวิจัยทดลอง (experimental research) แบบมีกลุมควบคุมวัดกอนและหลังการทดลอง (pre test-post test control group design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคมตอพฤติกรรมการควบคุมโรค และระดับครีเอตินินในเลือดในผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง ประชากรและกลุมตัวอยาง ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้เปนผูท่ีอายุ 60 ป ข้ึนไป และเปนโรคไตวายเร้ือรังท่ีไดรับการรักษาแบบประคับประคอง และการดําเนินของโรคยังไมเขาสูไตวายเร้ือรังระยะสุดทาย ท่ีมารับการรักษาท่ีแผนกผูปวยนอกโรงพยาบาลกุดบาก อําเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร การคัดเลือกกลุมตัวอยางเปนการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยใชการวิเคราะหอํานาจการทดสอบ (power analysis) ของเบอรน และโกรฟ (Burns & Grove, 2005) ในการวิจัยคร้ังนี้ไดกําหนดขนาดกลุมตัวอยางโดยการใชคาขนาดอิทธิพลขนาดกลาง (medium effects) เทากับ .50 มีระดับอํานาจการทดสอบ (level of power) เทากับ .80 และคาแอลฟาเทากับ .05 จะไดขนาดกลุมตัวอยางท้ังหมด 44 ราย จากน้ันแบงเปนกลุมทดลอง 22 ราย กลุมควบคุม 22 ราย โดยใหกลุมตัวอยางมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรค คะแนนการรับรูสมรรถนะแหงตนในการควบคุมโรค และคะแนนการสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมโรคอยูในระดับตํ่าถึงปานกลาง 2. แพทยวินจิฉัยเปนโรคไตวายเร้ือรังท่ีไมใชระยะสุดทาย และมีระดับครีเอตินินในเลือดต้ังแต 1.3 มิลลิกรัมตอเดซิลิตรข้ึนไป 3. อาศัยอยูกับสมาชิกในครอบครัวท่ีมีคุณสมบัติ ดังนี้ 3.1 เปนผูดูแลหลัก 3.2 สามารถเขาใจและส่ือภาษาไทยได 3.3 ยินยอมและใหความรวมมือในการวิจัย 4. สามารถเขาใจและส่ือภาษาไทยไดดี

Page 2: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

53

5. ยินยอมและใหความรวมมือในการวิจัย ในการศึกษานี้กลุมตัวอยางถูกสุมเขากลุมทดลอง 22 ราย กลุมควบคุม 22 ราย โดยใชวิธีการสุมตัวอยางเขากลุมโดยการจับฉลากทีละคู ถาจับเลขค่ีเขากลุมทดลอง แตถาจับเลขคูเขากลุมควบคุม ท้ังนี้จะคํานึงถึงความคลายคลึงกันของคะแนนการรับรูสมรรถนะแหงตน คะแนนการสนับสนุนทางสังคมและคะแนนพฤติกรรมควบคุมโรค เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย เคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัยคร้ังนี้มี 2 ประเภท คือ 1. เคร่ืองมือท่ีใชในการรวบรวมขอมูล ไดแกแบบสัมภาษณ ซ่ึงประกอบดวย 1.1 แบบสัมภาษณขอมูลสวนบุคคลของผูปวย ไดแกขอมูลเกี่ยวกับ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายไดของครอบครัว จํานวนสมาชิกในครอบครัว ระยะเวลาที่เปนโรค การรักษาท่ีไดรับในปจจุบัน ระดับครีเอตินินในเลือดกอนและหลังการเขารวมวิจัย 1.2 แบบสัมภาษณขอมูลสวนบุคคลของผูดูแลหลัก ไดแกขอมูลเกี่ยวกับ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได ความสัมพันธกับผูสูงอายุ 1.3 แบบวัดพฤติกรรมการควบคุมโรคของผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง ซ่ึงผูวิจัยสรางข้ึนจากการศึกษา ตํารา เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของ ประกอบดวยขอคําถามดานบวก 20 ขอ ดานลบ 10 ขอ ลักษณะขอคําถามเปนแบบมาตราสวนประมาณคา (rating scale) 4 ระดับ สําหรับการใหคะแนนขอคําถามท่ีเปนดานลบผูวิจัยจะกลับคะแนนกอน โดยประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคไตวายเร้ือรัง ดังนี้

ปฏิบัติสมํ่าเสมอ หมายถึง ปฏิบัติกิจกรรมควบคุมโรคอยางสมํ่าเสมอ 3 คร้ังข้ึนไปตอสัปดาห ใหคะแนนเทากับ 4

ปฏิบัติบอยคร้ัง หมายถึง ปฏิบัติกิจกรรมควบคุมโรคอยางสม่ําเสมอ 2 คร้ัง ตอสัปดาห ใหคะแนนเทากับ 3

ปฏิบัตินานๆ คร้ัง หมายถึง ปฏิบัติกิจกรรมควบคุมโรคอยางสมํ่าเสมอ 1 คร้ังตอสัปดาห ใหคะแนนเทากับ2

ไมปฏิบัติเลย หมายถึง ไมปฏิบัติกิจกรรมในการควบคุมโรคเลย ใหคะแนน เทากับ 1

Page 3: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

54

คะแนนจากแบบสอบถามอยูระหวาง 30 ถึง 120 ในการศึกษาคร้ังนี้ผูวิจัยจะแบงคะแนนออกเปน 3 ระดับ ไดแก ระดับสูง ปานกลาง และตํ่า จากการคํานวณหาอันตรภาคช้ัน (กานดา พูนลาภทวี, 2539) สามารถกําหนดตามเกณฑดังนี้ คะแนน 90.01 ถึง 120.00 หมายถึง มีพฤติกรรมควบคุมโรคในระดับสูง คะแนน 60.01 ถึง 90.00 หมายถึง มีพฤติกรรมควบคุมโรคในระดับปานกลาง คะแนน 30.00 ถึง 60.00 หมายถึง มีพฤติกรรมควบคุมโรคในระดับตํ่า 1.4 เค ร่ืองตรวจระดับครีเอตินินในเลือดในหองปฏิบัติการทางคลินิกของโรงพยาบาลกุดบาก ช่ือ Erba smartlab Automated batch analyser 2. เคร่ืองมือท่ีใชในการดําเนินการวิจัย ไดแก 2.1 แบบวัดการรับรูสมรรถนะแหงตนในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคไตวายเร้ือรังในผูสูงอายุ ท่ีผูวิจัยสรางตามทฤษฎีสมรรถนะแหงตนของแบนดูรา (Bandura,1997) ประกอบดวยขอคําถามทางบวก 8 ขอ ลักษณะขอคําถามเปนแบบมาตราสวนประมาณคา (rating scale) 4 ระดับ โดยประเมินความม่ันใจในความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรค ดังนี้

ม่ันใจมากท่ีสุด หมายถึง มีความม่ันใจในการปฏิบัติกจิกรรมนั้นมาก ใหคะแนน เทากับ 4

ม่ันใจมาก หมายถึง มีความม่ันใจในการปฏิบัติกจิกรรมนั้นเปนสวนมากหรือเกือบทุกคร้ังใหคะแนนเทากับ 3

ม่ันใจนอย หมายถึง มีความม่ันใจในการปฏิบัติกจิกรรมนั้นนอย ใหคะแนนเทากับ 2

ไมม่ันใจเลย หมายถึง ไมมีความม่ันใจในการปฏิบัติกิจกรรมนัน้เลยใหคะแนนเทากับ 1

คะแนนจากแบบสอบถามอยูระหวาง 8 ถึง 32 ในการศึกษาคร้ังนี้ผูวิจัยจะแบงคะแนนออกเปน 3 ระดับ ไดแก ระดับสูง ปานกลาง และตํ่า จากการคํานวณหาอันตรภาคช้ัน (กานดา พูนลาภทวี, 2539) สามารถกําหนดตามเกณฑดังนี้ คะแนน 24.01 ถึง 32.00 หมายถึง มีการรับรูสมรรถนะแหงตนในระดับสูง คะแนน 16.01 ถึง 24.00 หมายถึง มีการรับรูสมรรถนะแหงตนในระดับปานกลาง คะแนน 8.00 ถึง 16.00 หมายถึง มีการรับรูสมรรถนะแหงตนในระดับตํ่า 2.2 แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมโรคไตวายเร้ือรังในผูสูงอายุ ท่ีผูวิจัยสรางตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส (House, 1981) ประกอบดวยขอคําถามทางบวก 12 ขอ ลักษณะขอคําถามเปนแบบมาตราสวนประมาณคา (rating scale) 4 ระดับ โดยประเมินการ

Page 4: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

55

ไดรับการสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกในครอบครัวในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรค ดังนี้ เห็นดวยมาก หมายถึง มีความคิดเห็นตรงกับขอความนั้นมากใหคะแนนเทากับ 4 เห็นดวยปานกลาง หมายถึง มีความคิดเห็นตรงกับขอความนั้นเปนสวนมาก

ใหคะแนนเทากับ 3 เห็นดวยนอย หมายถึง มีความคิดเห็นตรงกับขอความนั้นนอย ใหคะแนนเทากับ 2 ไมเห็นดวย หมายถึง ไมเห็นดวยกับขอความนั้นเลย ใหคะแนนเทากับ 1

คะแนนจากแบบสอบถามอยูระหวาง 12 ถึง 48 ในการศึกษาคร้ังนี้ผูวิจัยจะแบงคะแนนออกเปน 3 ระดับ ไดแก ระดับสูง ปานกลาง และตํ่า จากการคํานวณหาอันตรภาคช้ัน (กานดา พูนลาภทวี, 2539) สามารถกําหนดตามเกณฑดังนี้ คะแนน 36.01 ถึง 48.00 หมายถึง ไดรับการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง คะแนน 24.01 ถึง 36.00 หมายถึง ไดรับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง คะแนน 12.00 ถึง 24.00 หมายถึง ไดรับการสนับสนุนทางสังคมในระดับตํ่า 2.3 โปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคม ท่ีผูวิจัยสรางข้ึนจากการศึกษาตํารา เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวของ ซ่ึงเปนโปรแกรมท่ีผูวิจัยสงเสริมกลุมตัวอยางใหมีความเช่ือม่ันในความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคตามทฤษฎีการรับรูสมรรถนะแหงตนของแบนดูรา (Bandura,1997) รวมกับสงเสริมใหสมาชิกในครอบครัวใหการสนับสนุนกลุมตัวอยางในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส ( House, 1981) ประกอบดวยกิจกรรม ดังนี้ 2.3.1 การสงเสริมสมรรถนะแหงตนเปนการใหกลุมตัวอยางไดรับขอมูลท่ีจะทํา ใหรับรูถึงความสามารถของตนเองจาก 4 แหลง ไดแก 2.3.1.1 การได เห็น ตัวแบบหรือประสบการณ จ าก ผู อ่ืน ( vicarious experience) โดยผูวิจัยใหกลุมตัวอยางชมวีดีทัศนตัวแบบผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังท่ีนําเสนอพฤติกรรมการควบคุมโรคท่ีเหมาะสม 2.3.1.2 สภาวะดานรางกายและอารมณ (physiological and affective states) โดยผูวิจัยประเมินสภาวะทางดานรางกายจากสัญญาณชีพของกลุมตัวอยาง ไดแก อุณหภูมิรางกาย ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต อาการและอาการแสดง สําหรับดานอารมณ ไดแก ความเครียด ความวิตกกังวล ประเมินไดจากการสังเกตสีหนา ทาทาง การพูดคุย และสนทนาเม่ือพบปญหา 2.3.1.3 ประสบการณท่ีเคยประสบความสําเร็จดวยตนเอง (enactive mastery experience) โดยใหกลุมตัวอยางฝกปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคไตวายเร้ือรัง แลวใหมีการสาธิตยอนกลับ

Page 5: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

56

2.3.1.4 การชักจูงดวยคําพูด (verbal persuasion) โดยผูวิจัยพูดชักจูง ใหคําแนะนํา กลาวชมเชย และใหกําลังใจขณะกลุมตัวอยางฝกปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรค 2.3.2 การสงเสริมการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เปนการเตรียมสมาชิกในครอบครัวใหรวมในการสนับสนุนการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค 4 ดาน ไดแก 2.3.2.1 ดานขอมูลขาวสาร (informational support) โดยสมาชิกในครอบครัวใหขอมูลเร่ืองโรคไตวายเร้ือรัง การปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคไตวายเร้ือรัง เชน การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมปจจัยเสริมการเกิดโรค การออกกําลังกาย การรับประทานยา รวมท้ังขอเสนอแนะเม่ือกลุมตัวอยางเผชิญกับปญหา 2.3.2.2 ดานการประเมินคา (appraisal support) โดยสมาชิกในครอบครัวประเมินยอนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค ขณะกลุมตัวอยางฝกปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค โดยใหการยอมรับ กลาวยกยองชมเชยวากลุมตัวอยางสามารถปฏิบัติไดเหมือนตัวแบบและผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังรายอ่ืน 2.3.2.3 ดานทรัพยากร (instrumental support) โดยสมาชิกในครอบครัวใหการชวยเหลือจัดเตรียมอุปกรณในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค และชวยดูแลในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค 2.3.2.4 ดานอารมณ (emotional support) โดยสมาชิกในครอบครัวใหกําลังใจกลุมตัวอยางขณะปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค และดูแลเอาใจใสใหกลุมตัวอยางปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคอยางตอเนื่อง 2.3.3 ส่ือวีดีทัศนการเสนอตัวแบบสัญลักษณพฤติกรรมการควบคุมโรคสําหรับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง ตัวแบบจะเลาถึงประสบการณการเปนโรค อาการของโรค การรักษาท่ีเคยไดรับ โดยเนนเร่ืองการควบคุมโรคไตวายเร้ือรัง และกระตุนใหกลุมตัวอยางเกิดความรูสึกวาตนเองสามารถปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคได พรอมท้ังสาธิตการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคไตวายเร้ือรังใชเวลาในการนําเสนอวีดีทัศนรวม 20 นาที 2.3.4 คูมือการปฏิบัติตนสําหรับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับไตวายเร้ือรัง สาเหตุ อาการและอาการแสดง ภาวะแทรกซอน การรักษา การปฏิบัติตนเพ่ือควบคุมโรคไตวายเร้ือรัง 2.3.5 คูมือบทบาทการเปนผูใหการสนับสนุนผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังในการ ปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคสําหรับสมาชิกในครอบครัว โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับโรคไตวายเร้ือรัง บทบาทการเปนผูใหการสนับสนุนผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค แบบบันทึกการใหการสนับสนุน

Page 6: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

57

2.4 เคร่ืองเลนวีดีทัศน และโทรทัศนสี การตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือ ผูวิจัยนําเคร่ืองมือดําเนินการวิจัยท่ีสรางข้ึนใหมไดแก 1. โปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนรวมกับการสนับสนุนทางสังคม คูมือการปฏิบัติตนสําหรับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง คูมือบทบาทการเปนผูใหการสนับสนุนผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคสําหรับสมาชิกในครอบครัว และวีดีทัศนการเสนอตัวแบบสัญลักษณพฤติกรรมการควบคุมโรคในผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง ไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยตรวจสอบความคิดเห็นของกลุมผูทรงคุณวุฒิทางดานโรคไตวายเร้ือรัง ดานทฤษฎีการปรับพฤติกรรมและดานการพยาบาลผูสูงอายุ รวม 5 ทาน จากน้ันผูวิจัยนําเคร่ืองมือดําเนินการวิจัยท้ังหมดไปทดลองใชกับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังท่ีมีลักษณะคลายคลึงกับกลุมตัวอยาง จํานวน 3 ราย เพื่อประเมินความเขาใจในเนื้อหา และนํามาปรับปรุงแกไขกอนนําไปใชในการทดลอง 2. เคร่ืองมือเก็บรวบรวมขอมูลไดแก แบบวัดการรับรูสมรรถนะแหงตนในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรค แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรค และแบบวัดพฤติกรรมการควบคุมโรคของผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง ผูวิจัยนําไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผูทรงคุณวุฒิกลุมเดียวกันและคํานวณหาคาดัชนีความตรงตามเน้ือหา (content validity index) ไดคาดัชนีความตรงตามเน้ือหาเทากับ .847, .838 และ .88 ตามลําดับ หลังจากนั้นนําแบบวัดมาปรับปรุงแกไขและนําไปหาความเช่ือม่ัน(reliability) โดยนําไปทดลองใชกับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังท่ีมารับการรักษาท่ีแผนกผูปวยนอกโรงพยาบาลสกลนครท่ีมีลักษณะคลายคลึงกับกลุมตัวอยางจํานวน 20 ราย และนําคะแนนท่ีไดมาคํานวณหาคาสัมประสิทธ์ิอัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ไดคาเทากับ .86, .96 และ .70 ตามลําดับ การพิทักษสิทธ์ิของกลุมตัวอยาง การวิจัยคร้ังนี้ผูศึกษาไดพิทักษสิทธ์ิกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวโดยนําโครงรางวิทยานิพนธเสนอตอคณะกรรมการจริยธรรมของคณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม เ ม่ือได รับอนุญาตใหดํา เนินการวิจัย ผูวิจัยนําหนังสือพิ ทักษ สิทธิกลุมตัวอยางเสนอตอคณะกรรมการจริยธรรมในโรงพยาบาลที่เก็บขอมูล เม่ือคณะกรรมการจริยธรรมของโรงพยาบาล

Page 7: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

58

อนุมัติแลว ผูวิจัยไดจัดทําเอกสารชี้แจงวัตถุประสงคของการวิจัย ประโยชนของการวิจัย วิธีการรวบรวมขอมูลและสิทธิในการตอบรับหรือปฏิเสธการเขารวมการวิจัยซ่ึงจะไมมีผลกระทบใดๆตอกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัว โดยใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวเซ็นยินยอมเขารวมการวิจัยพรอมท้ังมอบหนังสือเซ็นยินยอมใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัว และแจงใหทราบวาขณะดําเนินการวิจัยหากกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวไมตองการเขารวมการวิจัยจนครบกําหนดเวลา สามารถบอกเลิกไดทันทีโดยไมมีผลกระทบใดๆ โดยขอมูลท่ีไดในการวิจัยคร้ังนี้ผูวิจัยจะถือเปนความลับและนํามาใชเฉพาะการวิจัยในคร้ังนี้เทานั้นโดยจะนําเสนอขอมูลท่ีไดในภาพรวม หากมีขอสงสัยเกี่ยวกับการวิจัยกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวสามารถสอบถามผูวิจัยไดตลอดเวลา สวนกลุมควบคุมผูวิจัยไดจัดทําเอกสารช้ีแจงวัตถุประสงคของการวิจัย ประโยชนของการวิจัย วิธีการรวบรวมขอมูลและสิทธิในการตอบรับหรือปฏิเสธการเขารวมการวิจัยซ่ึงจะไมมีผลกระทบใดๆตอกลุมควบคุม โดยใหกลุมควบคุมเซ็นยินยอมเขารวมการวิจัยพรอมท้ังมอบหนังสือเซ็นยินยอมใหกลุมควบคุมและแจงใหทราบวาขณะดําเนินการวิจัยหากกลุมควบคุมไมตองการเขารวมการวิจัยจนครบกําหนดเวลา สามารถบอกเลิกไดทันทีโดยไมมีผลกระทบใดๆ ภายหลังส้ินสุดการวิจัยผูวิจัยไดใหคําแนะนําเกี่ยวกับโรคไตวายเร้ือรัง การควบคุมโรคไดแก การรับประทานอาหารท่ีเหมาะสม การควบคุมปจจัยเสริมการเกิดโรค การออกกําลังกาย การรับประทานยา และมอบคูมือการปฏิบัติตนสําหรับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังแกกลุมควบคุม การรวบรวมขอมูล การวิจัยคร้ังนี้ผูศึกษาดําเนินการรวบรวมขอมูลดวยตนเองตามข้ันตอน ดังนี้ 1. ผูวิจัยนําหนังสือแนะนําตัวจากคณบดีคณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหมถึง ผูอํานวยการโรงพยาบาลท่ีเก็บขอมูล เพื่อช้ีแจงวัตถุประสงคของการวิจัยและขอความรวมมือในการรวบรวมขอมูลตามข้ันตอน 2. เม่ือไดรับหนังสืออนุมัติจากผูอํานวยการโรงพยาบาลแลว ผูวิจัยพบหัวหนากลุมงานการพยาบาล หัวหนางานพยาบาลแผนกผูปวยนอก เพื่อช้ีแจงวัตถุประสงคของการวิจัยและขอความรวมมือในการทําวิจัย 3. ผูวิจัยสํารวจรายช่ือผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังจากแฟมประวัติผูปวยท่ีมาตรวจตามนดัท่ีแผนกผูปวยนอก แลวคัดเลือกกลุมตัวอยางตามคุณสมบัติท่ีกําหนด 4. ผูวิจัยแนะนําตนเอง อธิบายวัตถุประสงคของการวิจัย ประโยชนของการวิจัย วิธีการรวบรวมขอมูลและขอความรวมมือในการทําวิจัยกับกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัว พรอม

Page 8: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

59

ท้ังอธิบายวิธีการพิทักษสิทธ์ิของกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวในการเขารวมการวิจัย 5. ผูวิจัยสัมภาษณกลุมตัวอยางเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของกลุมตัวอยาง ขอมูลสวนบุคคลของผูดูแลหลัก การรับรูสมรรถนะแหงตนในการควบคุมโรค การสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมโรคและพฤติกรรมการควบคุมโรค โดยวิธีการอานคําถามแลวใหผูสูงอายุตอบเพื่อเปนขอมูลพื้นฐานกอนใหโปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนรวมกับการสนับสนุนทางสังคม 6. ผูวิจัยเจาะเลือดเพื่อสงตรวจระดับครีเอตินินในเลือดในกลุมตัวอยางทุกรายกอนเขารวมการวิจัย 7. ผูวิจัยดําเนินการรวบรวมขอมูลในกลุมทดลองและกลุมควบคุม ตามข้ันตอนดังนี้ กลุมทดลอง ผูวิจัยสงเสริมสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคแกกลุมตัวอยางตามโปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนรวมกับการสนับสนุนทางสังคม โดยผูวิจัยดําเนินกิจกรรมเปนรายกลุมๆ ละ 5 -6 ราย จนครบ 22 ราย ท่ีโรงพยาบาล กุดบาก ใชระยะเวลาคร้ังละประมาณ 45-60 นาที ซ่ึงมีข้ันตอนดังนี้ 1. สัปดาหท่ี 1 (วันเวนวัน) คร้ังท่ี 1 ผูวิจัยใหขอมูลแกกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัว 1.1 ผูวิจัยสรางสัมพันธภาพ กลาวทักทายแนะนําตนเอง พูดคุยท่ัวๆไปและซักถามเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของโรคไตวายเร้ือรัง พรอมท้ังเปดโอกาสใหกลุมตัวอยางแลกเปล่ียนประสบการณในการดูแลตนเองเม่ือเปนโรคไตวายเร้ือรัง 1.2 ผูวิจัยช้ีแจงวัตถุประสงคและรายละเอียดของกิจกรรมคร้ังท่ี 1 ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกครอบครัวรับทราบ 1.3 ผูวิจัยใหขอมูลแกกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวเร่ือง โรคไตวายเร้ือรัง โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายสาเหตุ อาการและอาการแสดง ภาวะแทรกซอน การรักษา และการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคโดยครอบคลุมเนื้อหาการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมปจจัยเสริมการเกิดโรคซ่ึงไดแก โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การออกกําลังกาย การปองกันภาวะแทรกซอน การจัดการกับความเครียดและการพักผอนท่ีเพียงพอ การดูแลการขับถายใหเปนปกติ และการรับประทานยา รวมทั้งบอกประโยชนของการปฏิบัติพฤติกรรมแตละอยาง และแจกคูมือการปฏิบัติตนสําหรับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังแกกลุมตัวอยาง 1.4 ผูวิจัยใหกลุมตัวอยางชมวีดีทัศนตัวแบบผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังท่ีมีการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคท่ีเหมาะสม ซ่ึงตัวแบบสามารถควบคุมอาการของโรคไดดี ไมมีภาวะแทรกซอนตางๆ ท่ีเกิดจากการปฏิบัติตนไมถูกตอง โดยตัวแบบจะเลาประสบการณการเปน

Page 9: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

60

โรคไตวายเร้ือรังเกี่ยวกับอาการของโรค การปฏิบัติตนเพ่ือควบคุมโรครวมท้ังผลดีและผลเสียของการปฏิบัติพฤติกรรม และแสดงวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกําลังกาย การปองกันภาวะแทรกซอน การขับถาย การจัดการกับความเครียดและการพักผอนใหเพียงพอ และการรับประทานยา พรอมท้ังพูดชักจูงใหกลุมตัวอยางปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคเพื่อใหเห็นตัวแบบหรือประสบการณจากผูอ่ืน 1.5 ผูวิจัยเปดโอกาสใหกลุมตัวอยางซักถามปญหาเกี่ยวกับโรคไตวายเร้ือรังและอธิบายเพิ่มใหกลุมตัวอยางเขาใจ 1.6 หลังส้ินสุดกิจกรรม ผูวิจัยกลาวสรุปกิจกรรม พรอมนัดหมายในคร้ังตอไป 2. สัปดาหท่ี 1 คร้ังท่ี 2 สงเสริมสมรรถนะแหงตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคไตวายเร้ือรังแกกลุมตัวอยางโดยผูวิจัยสงเสริมสมรรถนะแหงตนในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคไตวายเร้ือรังใหกับกลุมตัวอยางตามลําดับดังนี้ 2.1 กลาวทักทายซักถามและพูดคุยเร่ืองท่ัวๆ ไป และช้ีแจงเกี่ยวกับกิจกรรมคร้ังท่ี 2 ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวทราบ 2.2 การเตรียมสภาวะดานรางกายและอารมณ โดยผูวิจัยประเมินสภาพรางกายของกลุมตัวอยางโดยการประเมินสัญญาณชีพรวมท้ังความไมสุขสบายตางๆ การประเมินดานอารมณ การใหขอมูลยอนกลับท่ีแสดงถึงผลดีของการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค และแกไขเม่ือพบปญหา 2.3 ผูวิจัยใหกลุมตัวอยางชมวีดีทัศนตัวแบบผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังอีกคร้ังเชนเดียวกับคร้ังท่ี 1 2.4 ดําเนินการใหไดรับประสบการณการประสบความสําเร็จในการปฏิบัติดวยตนเอง โดยใหกลุมตัวอยางฝกปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคทีละกิจกรรมอยางเปนข้ันตอน พรอมท้ังใหสาธิตยอนกลับ โดยเร่ิมจากกิจกรรมจากงายไปหายาก โดยเร่ิมจากการรับประทานยา ผูวิจัยเสนอวิธีการจัดยาเพื่อใหไดรับประทานยาตามเวลาและใหกลุมตัวอยางลองนําไปปฏิบัติ 2.5 การชักจูงดวยคําพูด ผูวิจัยพูดชักจูงกลุมตัวอยางให มีความเ ช่ือ ม่ันในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค พรอมท้ังใหคําแนะนํากลาวชมเชย ใหกําลังใจ 2.6 เม่ือส้ินสุดการปฏิบัติกิจกรรมกับกลุมตัวอยางแลว ผูวิจัยเตรียมบทบาทการใหการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคแกสมาชิกในครอบครัวดังนี้ 2.6.1 ผูวิจัยซักถามบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลกลุมตัวอยาง พรอมท้ังเปดโอกาสใหสมาชิกในครอบครัวแลกเปล่ียนประสบการณในการดูแลผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง

Page 10: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

61

และช้ีแจงใหสมาชิกในครอบครัวทราบถึงบทบาทในการใหการสนับสนุนกลุมตัวอยางในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคไตวายเร้ือรัง 2.6.2 ผูวิจัยเตรียมบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการสนับสนุนดานขอมูลขาวสาร โดยใหขอมูลเร่ืองโรคไตวายเร้ือรัง การปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคท่ีเหมาะสมสําหรับกลุมตัวอยาง โดยใหสมาชิกในครอบครัวทราบผานส่ือวีดีทัศน 2.6.3 ผูวิจัยเตรียมบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการสนับสนุนดานการประเมินคา โดยแนะนําวิธีการประเมินยอนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคของกลุมตัวอยางใหสมาชิกในครอบครัวทราบ แนะนํา ใหการยอมรับและกลาวยกยองชมเชยเม่ือกลุมตัวอยางสามารถปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคได 2.6.4 ผูวิจัยเตรียมบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการสนับสนุนดานทรัพยากร โดยแนะนําสมาชิกในครอบครัวใหชวยเหลือในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค เชน การจัดเตรียมอาหารและยา การเตรียมอุปกรณในการออกกําลังกาย 2.6.5 ผูวิจัยเตรียมบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการสนับสนุนดานอารมณ โดยแนะนําและกระตุนใหสมาชิกในครอบครัวดูแลเอาใจใสใหกลุมตัวอยางปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค 2.6.6 ผูวิจัยเปดโอกาสใหสมาชิกในครอบครัวซักถามขอสงสัย และมอบคูมือการใหการสนับสนุนทางสังคมแกผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรัง 3. สัปดาหท่ี 1 คร้ังท่ี 3 สงเสริมสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคมแกกลุมตัวอยาง โดยการฝกเดินออกกําลังกายและฝกการจัดการกับความเครียด มีรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ 3.1 กลาวทักทาย ซักถามและพูดคุยเร่ืองท่ัวๆ ไปและช้ีแจงเกี่ยวกับกิจกรรมคร้ังท่ี 3 ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวทราบ พรอมกับซักถามเกี่ยวกับการรับประทานยา ปญหาท่ีพบในการรับประทานยาพรอมใหคําแนะนํา 3.2 การเตรียมสภาวะดานรางกายและอารมณ โดยผูวิจัยประเมินสภาพรางกายของกลุมตัวอยางจากการประเมินสัญญาณชีพ รวมทั้งความไมสุขสบายตางๆ การประเมินดานอารมณ การใหขอมูลยอนกลับท่ีแสดงถึงผลดีของการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค และแกไขเม่ือพบปญหา 3.3 ใหกลุมตัวอยางฝกการเดินออกกําลังกาย โดยการเดินอยางเปนข้ันตอน โดยเร่ิมจากการอบอุนรางกายประมาณ 5 นาที เดินออกกําลังกาย 5 นาที และผอนคลายกลามเน้ือ 5 นาที หลังกลุมตัวอยางฝกปฏิบัติได กลาวยกยอง ชมเชย ใหกําลังใจและแนะนําใหฝกเดินท่ีบานโดยเพิ่ม

Page 11: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

62

เวลาการเดินสัปดาหละ 3 นาที เชนสัปดาหท่ีผานมาระยะเวลาการเดิน 5 นาที สัปดาหตอไปเพิ่มเวลาข้ึนเปน 8 นาที, 11 นาที, 14 นาที, 17 นาที จนมีระยะเวลาการเดิน 20 นาที ตามลําดับ 3.4 ใหกลุมตัวอยางฝกการจัดการกับความเครียดโดยสอนและฝกเทคนิคคลายเครียดไดแก การฝกการหายใจ การทําสมาธิและการนวด กลาวยกยองชมเชยใหกําลังใจเม่ือกลุมตัวอยางสามารถปฏิบัติไดถูกตอง 3.5 ขณะกลุมตัวอยางฝกเดินออกกําลังกายและฝกการจัดการกับความเครียด สมาชิกในครอบครัวใหการดูแลแนะนําชวยเหลือ ใหกําลังใจกลาวชมเชยเม่ือกลุมตัวอยางทําไดสําเร็จ พรอมท้ังใหคําแนะนําและขอเสนอแนะหากพบวาสมาชิกในครอบครัวใหการสนับสนุนไมถูกตอง 3.6 เปดโอกาสใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัว ซักถามปญหาเกี่ยวกับการฝกเดินออกกําลังกายและการฝกการจัดการกับความเครียด 3.7 หลังส้ินสุดกิจกรรม ผูวิจัยกลาวสรุปกิจกรรม พรอมนัดหมายในคร้ังตอไป 4. สัปดาหท่ี 2 คร้ังท่ี 1 ใหการสงเสริมสมรรถนะแหงตนตอโดยมีรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ 4.1 กลาวทักทายซักถามและพูดคุยเร่ืองท่ัวๆ ไป และช้ีแจงเกี่ยวกับกิจกรรมคร้ังท่ี 4 ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวทราบ พรอมซักถามเกี่ยวกับการฝกเดินออกกําลังกายท่ีบาน การจัดการกับความเครียด ปญหาท่ีพบในการปฏิบัติพรอมใหคําแนะนํา 4.2 ผูวิจัยประเมินสภาพรางกายของกลุมตัวอยาง ประเมินสัญญาณชีพ รวมท้ังความไมสุขสบายตางๆ ประเมินดานอารมณ การใหขอมูลยอนกลับท่ีแสดงถึงผลดีของการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคและแกไขเม่ือพบปญหา 4.3 ผูวิจัยซักถามแบบแผนการรับประทานอาหารของกลุมตัวอยางแตละราย แนะนําหลักในการควบคุมอาหารท่ีเหมาะสมพรอมนําเสนอตัวอยางอาหารท่ีควรรับประทาน และเสนอวิธีการควบคุมอาหารท่ีถูกตองโดยการจัดตารางการรับประทานอาหารในแตละวัน โดยใหกลุมตัวอยางทดลองจัดตารางการรับประทานอาหารของตนเองโดยมีสมาชิกในครอบครัวคอยชวยใหคําแนะนํา จากนั้นใหนําเสนอในกลุมโดยใหสมาชิกในกลุมแสดงความคิดเห็นตอรายการอาหารท่ีจัด ผูวิจัยชวยช้ีแนะและเพิ่มเติมใหรายการอาหารที่จัดมีความเหมาะสมกับผูสูงอายุและใหกลุมตัวอยางลองนําไปปฏิบัติท่ีบาน 4.4 เปดโอกาสใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวซักถามปญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การจัดอาหารท่ีเหมาะสมกับโรค 4.5 หลังส้ินสุดกิจกรรม ผูวิจัยกลาวสรุปกิจกรรมพรอมนัดหมายในคร้ังตอไป

Page 12: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

63

5. สัปดาหท่ี 2 คร้ังท่ี 2 ผูวิจัยใหการสงเสริมสมรรถนะแหงตน โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ 5.1 กลาวทักทายซักถามและพูดคุยเร่ืองท่ัวๆ ไป และช้ีแจงเกี่ยวกับกิจกรรมคร้ังท่ี 5ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวทราบ พรอมซักถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ปญหาอุปสรรคและเสนอแนะวิธีแกไข และกลาวยกยองชมเชยเม่ือสามารถปฏิบัติได 5.2 ผูวิจัยประเมินสภาพรางกายของกลุมตัวอยาง ประเมินสัญญาณชีพ รวมท้ังความไมสุขสบายตางๆ ประเมินดานอารมณ การใหขอมูลยอนกลับท่ีแสดงถึงผลดีของการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคและแกไขเม่ือพบปญหา 5.3 ผูวิจัยใหขอมูลแกกลุมตัวอยางเร่ืองการควบคุมปจจัยเสริมการเกิดโรคไตวายเร้ือรัง ไดแก การควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง การปองกันภาวะแทรกซอนท่ีเปนอันตรายตอไตและการดูแลการขับถายใหเปนปกติ 5.4 เปดโอกาสใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวซักถามปญหาและขอสงสัย 5.5 หลังส้ินสุดกิจกรรม ผูวิจัยกลาวสรุปกิจกรรมพรอมนัดหมายในคร้ังตอไป 6. สัปดาหท่ี 2 คร้ังท่ี 3 มีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ 6.1 ผูวิจัยกลาวทักทาย ซักถามและพูดคุยเร่ืองท่ัวๆ ไป และช้ีแจงเกี่ยวกับกิจกรรมคร้ังท่ี 6 ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวทราบ 6.2 ผูวิจัยประเมินสภาพรางกายของกลุมตัวอยาง ประเมินสัญญาณชีพ รวมท้ังความไมสุขสบายตางๆ ประเมินดานอารมณ การใหขอมูลยอนกลับท่ีแสดงถึงผลดีของการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค และแกไขเม่ือพบปญหา 6.3 ใหกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวชมวีดีทัศนตัวแบบผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังท่ีมีพฤติกรรมควบคุมโรคท่ีเหมาะสมอีกคร้ัง 6.4 ผูวิจัยกลาวสรุปกิจกรรมทั้งหมด ซักถามปญหา อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมพรอมเสนอแนวทางแกไขและกลาวอําลา พรอมนัดเวลาเยี่ยมบานในสัปดาหถัดไปแกกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัว 7. สัปดาหท่ี 3-6 7.1 ใหกลุมตัวอยางปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคเองท่ีบาน โดยมีสมาชิกในครอบครัวเปนผูดูแลชวยเหลือ ใหคําแนะนําหรือขอเสนอแนะในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค ซ่ึงในการใหการสนับสนุนแตละคร้ังสมาชิกในครอบครัวจะลงบันทึกการใหการสนับสนุนในคูมือบทบาทการเปนผูใหการสนับสนุนผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรค สวนผูวิจัยจะไปติดตามเย่ียมบานของกลุมตัวอยางแตละราย สัปดาหละคร้ังในสัปดาห

Page 13: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

64

ท่ี 3 และ 4 สวนสัปดาหท่ี 5 และ 6 ผูวิจัยโทรศัพทหรือสงไปรษณียบัตรในรายท่ีไมมีโทรศัพทเพื่อติดตามเยี่ยม 7.2 ผูวิจัยสัมภาษณการรับรูสมรรถนะแหงตนในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรค และการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคท่ีบานกลุมตัวอยาง โดยวิธีการอานใหฟงแลวใหผูสูงอายุตอบในสัปดาหท่ี 6 เพื่อติดตามและประเมินคะแนนการรับรูสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคของกลุมตัวอยาง 7.3 ในสัปดาหท่ี 6 ผูวิจัยกําหนดวากลุมตัวอยางรายท่ีผลการประเมินการรับรูสมรรถนะแหงตนในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคและการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมโรคไมเปล่ียนแปลงจากกอนใหโปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนรวมกับการสนับสนุนทางสังคม ผูวิจัยจะเร่ิมตนใหโปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนรวมกับการสนับสนุนทางสังคมใหมตอไปอีก 2 สัปดาห โดยปฏิบัติเชนเดียวกับสัปดาหท่ี 1 ถึง 2 และประเมินการรับรูสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคในสัปดาหท่ี 8 สวนรายท่ีคะแนนการรับรูสมรรถนะแหงตนและคะแนนการสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมโรคอยูในระดับสูง ผูวิจัยจะโทรศัพทหรือสงไปรษณียบัตรในรายท่ีไมมีโทรศัพทเพื่อติดตามเยี่ยมตอไปอีก 4 สัปดาหจนครบ 10 สัปดาห อยางไรก็ตามในการศึกษานี้ไมพบกลุมตัวอยางท่ีไมมีการเปล่ียนแปลงของการรับรูสมรรถนะแหงตนและการสนับสนุนทางสังคม 8. หลังสัปดาหท่ี 10 ผูวิจัยสัมภาษณพฤติกรรมการควบคุมโรคโดยวิธีการอานคําถามแลวใหผูสูงอายุตอบ เพื่อประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคภายหลังไดรับโปรแกรมการสงเสริมสมรรถนะแหงตนรวมกับการสนับสนุนทางสังคม และเจาะเลือดเพื่อสงตรวจระดับครีเอตินินใน กลุมทุกรายพรอมกลาวขอบคุณกลุมตัวอยางและสมาชิกในครอบครัวท่ีใหความรวมมือ กลุมควบคุม ผูวิจัยดําเนินการกับกลุมควบคุม ดังนี้ เม่ือส้ินสุดสัปดาหท่ี 10 ผูวิจัยสัมภาษณพฤติกรรมการควบคุมโรคของกลุมตัวอยางเพื่อประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคโดยวิธีการอานคําถามแลวใหผูสูงอายุตอบ พรอมเจาะเลือดเพื่อสงตรวจระดับครีเอตินินในเลือดในกลุมทุกราย พรอมใหคําแนะนําเกี่ยวกับโรคไตวายเร้ือรัง การปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรค ไดแก การรับประทานอาหารท่ีเหมาะสมกับโรค การควบคุมปจจัยเสริมตอการเกิดโรค การออกกําลังกาย การรับประทานยา และมอบคูมือการปฏิบัติตนสําหรับผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังแกกลุมตัวอยาง พรอมท้ังกลาวขอบคุณแกกลุมตัวอยางท่ีใหความรวมมือ

Page 14: บทที่ 3archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/nuad0951st_ch3.pdfบทท 3 ว ธ ด าเน นการว จ ย การว จ ยคร งน เป นการว

65

การวิเคราะหขอมูล นําขอมูลท่ีไดมาวิเคราะหโดยใชโปรแกรมคอมพิวเตอรสําเร็จรูป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขอมูลสวนบุคคลใชความถ่ี รอยละ คาเฉล่ียและสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบขอมูลสวนบุคคลโดยใชสถิติ Chi-Square test โดยกําหนดระดับนัยสําคัญท่ี .05 2. ขอมูลพฤติกรรมควบคุมโรคและระดับครีเอตินินในเลือดวิเคราะหโดยการหาคาเฉล่ีย สวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และหาคาความถ่ี รอยละของพฤติกรรมแตละระดับในกลุมตัวอยางท้ัง 2 กลุม ระดับครีเอตินินในเลือดไดแบงระดับออกเปน ระดับสูงซ่ึงหมายถึงคาครีเอตินินในเลือดมากกวา 1.2 มิลลิกรัมตอเดซิลิตร และระดับปกติซ่ึงหมายถึงคาครีเอตินินในเลือดอยูในชวง 0.5-1.2 มิลลิกรัมตอเดซิลิตร จากนั้นหาคาความถ่ีและรอยละของแตละระดับในกลุมตัวอยางท้ังสองกลุม 3. เปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับครีเอตินินในเลือดในผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังระหวางกลุมทดลองและระหวางกลุมควบคุม โดยทดสอบการกระจายของขอมูลของกลุมตัวอยางโดยใชสถิติ Kolmogorov-Smirnov one sample test พบวาเปนการแจกแจงแบบโคงปกติจึงใชสถิติ t-test for independent sample ในการเปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนระหวางกลุม โดยกําหนดระดับนัยสําคัญท่ี . 05 4. เปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับครีเอติ นินในเลือดของผูสูงอายุโรคไตวายเร้ือรังกอนและหลังการทดลอง โดยทดสอบการกระจายของขอมูลของกลุมตัวอยางโดยใชสถิติ Kolmogorov-Smirnov one sample test พบวาเปนการแจกแจงแบบโคงปกติจึงใชสถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบความแตกตางของคะแนนภายในกลุม โดยกําหนดระดับนัยสําคัญท่ี .05