¸าร... · Web view8. 1 ส งเสร มแนวค ดเร องการประก...

47
129 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคค 5 คคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคค

Transcript of ¸าร... · Web view8. 1 ส งเสร มแนวค ดเร องการประก...

158

(เรื่องที่ 5 การเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา)

เอกสารเสริมความรู้เรื่องที่ 5

การเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

...........................................................................

รายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

รายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาซึ่งการรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษานับเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ติดตามตรวจสอบคุณภาพถือเป็นการรายงานผลการตรวจสอบจากข้อเท็จจริงที่ตรวจพบการวิเคราะห์ผลกระทบตลอดจนข้อเสนอแนะ/แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือผู้รับติดตามตรวจสอบคุณภาพ สำหรับคุณภาพของรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพจะดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของการปฏิบัติงานของผู้ติดตามตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูลที่รวบรวมได้ความชัดเจนและสาระสำคัญของรายงานการดึงประเด็นที่สำคัญและนำเสนอในรูปแบบที่กระชับง่ายต่อการศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติ

ประเภทของรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

1. รายงานระหว่างดำเนินการ (Interim Report)เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทันทีเมื่อพบปัญหาหรือเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนมีผลกระทบต่อความเสียหายขององค์กรนอกจากนี้ยังใช้ในกรณีมีการเปลี่ยน แปลงขอบเขตของการตรวจสอบหรือยืดขยายระยะเวลาโครงการตรวจสอบรายงานระหว่างกาลอาจเป็นการรายงานด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้

2. รายงานสรุป (Summary Report)เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอบังคับบัญชา ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้องโดยสรุปภาพรวมของการตรวจสอบจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาหรือควรแก้ไขและประเด็นที่สำคัญ ที่ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้องควรทราบ

3. รายงานการตรวจสอบครั้งสุดท้าย (Final Audit Report)เป็นรายงานที่ต้องจัดทำหลังจากมีการประชุมสรุปผลการตรวจสอบและต้องจัดทำทุกครั้งแม้ว่าจะได้มีการรายงานระหว่างดำเนินการแล้วหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการแก้ไขตามประเด็นที่ตรวจพบเรียบร้อยแล้ว

4. สรุปรายงานการติดตามตรวจสอบประจำปี (Annual Reports)รายงานประเภทนี้มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง Audit Committee ผู้บริหารและผู้ติดตามตรวจสอบ เพื่อที่จะนำมาพัฒนาภาพรวมการติดตามตรวจสอบในรอบปีที่ผ่านมา

รูปแบบของการรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพ

1. รายงานด้วยวาจาควรใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อแจ้งข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ติดตามตรวจสอบรับทราบทันทีที่ตรวจพบ

2. รายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นวิธีการรายงานที่มีลักษณะเป็นทางการใช้รายงานผลการติดตามตรวจสอบตามปกติและหลังเสร็จสิ้นการติดตามตรวจสอบ

ลักษณะของการเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาที่ดี

1. ตรงประเด็นรายงานควรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการติดตามตรวจสอบมีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/สถานศึกษา

2. ความถูกต้องเป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ตรวจพบไม่มีการบิดเบือนมีหลักฐานประกอบสามารถสรุปผลได้

3. ความชัดเจนเป็นรายงานที่เข้าใจได้ง่ายมีความเป็นเหตุเป็นผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไม่ใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำทางวิชาการ

4. ความเที่ยงธรรมเป็นรายงานที่มีความอิสระเป็นธรรม เขียนขึ้นโดยปราศจากอคติ

5. ความกะทัดรัดเป็นรายงานที่สั้นกระชับแต่ครบถ้วนสมบูรณ์ตรงประเด็นใช้คำน้อยที่สุดหลีกเลี่ยงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

6. ความสร้างสรรค์เป็นรายงานในเชิงบวกหลีกเลี่ยงการเน้นข้อผิดพลาดมีข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขที่เป็นประโยชน์นำไปสู่การปรับปรุงที่ดีขึ้น

7. ทันเวลาเป็นการนำเสนอรายงานในเวลาที่เหมาะสมสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา

เนื้อหาสาระของรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

เนื้อหาสาระของรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาควรครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ของการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าทำไมต้องมีการติดตามตรวจสอบหรือติดตามตรวจสอบไปเพื่ออะไร

2. ขอบเขตของงานติดตามตรวจสอบและวิธีที่ใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจะต้องกำหนดไว้ว่าจะติดตามตรวจสอบกิจกรรมงาน/โครงการอะไรการติดตามตรวจสอบประเภทใดและกำหนดช่วงเวลาหรือระยะเวลาในการตรวจสอบด้วยเช่นเดือนมกราคม – มีนาคม 25xx เพื่อให้ผู้อ่านรายงานทราบกรอบการปฏิบัติงานติดตามตรวจสอบตามรายงานดังกล่าว

3. ผลสรุปการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและข้อเสนอแนะเป็นบทสรุปความเห็นในเรื่องที่ติดตามตรวจสอบพบแล้วเสนอแนะถึงแนวทางแก้ไข(อาจรวมถึงความเห็นของหน่วยงานที่รับการติดตาม/สถานศึกษา) การชมเชย ผลการดำเนินงานการปฏิบัติงานที่ดีของหน่วยงาน/สถานศึกษา โดยที่การติดตามตรวจสอบภายใน ในปัจจุบันจะมุ่งเน้นการติดตามตรวจสอบในเชิงพัฒนาปรับปรุงเสริมสร้างสิ่งที่ดีกว่าในอดีตที่เคยปฏิบัติมา

ดังนั้นการสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องใดๆในรายงานจึงควรสอดคล้องกับประเภทของการติดตามตรวจสอบและสามารถสื่อให้เห็นในประเด็นต่างๆดังนี้

1.มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเปรียบเทียบเช่นกฎระเบียบข้อบังคับมาตรฐานวิชาชีพมาตรฐานสำหรับเรื่องนั้นๆเป้าหมายที่กำหนดเป็นต้น

2.หลักฐานประกอบข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบซึ่งอาจได้จากการสัมภาษณ์สังเกตการณ์การรวบรวมข้อมูลจากการติดตามตรวจสอบ

3.เหตุผลของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นกับสิ่งที่ตรวจพบ/ที่เป็นอยู่จริงและผล ของความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นสามารถก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายแก่องค์กรเพียงใด

ขั้นตอนการทำรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพ

เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการติดตามตรวจสอบ และปฏิบัติงานตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วจำเป็น ที่จะต้องจัดทำรายงานผลการติดตามตรวจสอบเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องซึ่งควร มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. รวบรวมข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในกระดาษ/แบบติดตามฯเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน

2. สอบทานวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่ได้จากกระดาษ/แบบติดตามโดยนำหลักฐานข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบ (Condition) มาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์มาตรฐานหรือสิ่งที่ควรจะเป็น (Criteria) แล้วหาสาเหตุ (Case) หรือเหตุผลของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นกับข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ตรวจพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากอะไรรวมทั้งแยกแยะว่าผลกระทบ (Effect) จะเกิดมากน้อยเพียงใดเพื่อจะได้กำหนดข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขไว้ในรายงานต่อไป

3. พิจารณาและคัดเลือกเรื่องที่จะเสนอในรายงานโดยแยกออกเป็นเรื่องที่สำคัญจำเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วนเรื่องที่ไม่มีความสำคัญหรือสำคัญน้อยซึ่งผู้ติดตามตรวจสอบควรจะรายงานเฉพาะปัญหาที่อาจสร้างความเสียหายแก่องค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญหากไม่แก้ไขทันท่วงทีสำหรับปัญหาที่ไม่มีความสำคัญไม่ควรเสนอไว้ในรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อาจชี้แจงโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติหรือผู้บังคับบัญชาของผู้ปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

4. พิจารณาว่าควรใช้รายงานในรูปแบบใดโดยปกติควรรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ ในกรณีที่ตรวจพบเหตุการณ์ที่ไม่ปกติและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่มีผลกระทบสูงควรรายงานด้วยวาจา ในเบื้องต้นก่อน

5. ร่างรายงานเมื่อพิจารณารูปแบบรายงานแล้วในกรณีที่จะเสนอรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของรายงานแล้วผู้ตรวจสอบควรนำร่างรายงานไปหารือกับหน่วยรับตรวจด้วย

6. ในการหารือกับหน่วยงาน/สถานศึกษาที่รับการตรวจสอบคุณภาพผู้ติดตามตรวจสอบควรจะปรึกษา หารือกับผู้รับผิดชอบงานโดยตรงเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดในสถานการณ์ขณะนั้นทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับและเกิดผลดีต่อหน่วยงานจะทำให้รายงานที่เสนอออกไปสามารถไปสู่การปฏิบัติได้นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงาน/สถานศึกษาในกรณีที่ผู้ติดตามตรวจสอบมีความเห็นหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแตกต่างจากผู้บริหารครูและผู้เกี่ยวข้องที่รับการติดตามตรวจสอบผู้ติดตามตรวจสอบจะต้องบันทึกความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผู้บริหารครูและผู้เกี่ยวข้องเสนอไว้ควบคู่กับความคิดเห็นของผู้ติดตามตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป

7. ปรับปรุงร่างรายงานผู้ติดตามตรวจสอบต้องปรับปรุงหรือแก้ไขร่างรายงานให้สมบูรณ์และนำเสนอหัวหน้า/ประธานคณะกรรมการติดตามตรวจสอบพิจารณาก่อนเสนอผู้บังคับบัญชาได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป

เทคนิคการเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

เทคนิคการเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาที่ดีควรพิจารณาหรือคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้

1. คำนึงถึงว่าใครเป็นผู้รับรายงานถ้ารายงานจัดทำถึงผู้บังคับบัญชา ควรเน้นที่ประเด็นสำคัญและไม่ควรยาวเกินหนึ่งหรือสองหน้ากระดาษ

2. ควรจัดลำดับเรื่องที่สำคัญหรือเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงและมีผลกระทบสูงไว้ในลำดับแรกๆ

3. เขียนในเชิงบวกหรือสร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน/การปฏิบัติงาน

4. หลีกเลี่ยงการวิพากย์ติเตียนหรือวิจารณ์การทำงานของหน่วยที่รับติดตามตรวจคุณภาพ

5. หลีกเลี่ยงการระบุชื่อตัวบุคคลเพราะอาจทำให้มีข้อขัดแย้งหรือสร้างความไม่พอใจให้กับหน่วยรับตรวจ

6. ควรหลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิคแต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรมีคำอธิบายประกอบในแต่ละประเด็นให้เขียนเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องเช่นผลจากการประชุมสรุปผลหรือที่ได้จากการหารือถ้ามีรายละเอียดประกอบมากกว่าหนึ่งหน้าควรทำเป็นเอกสารแนบประเด็น

7. เขียนให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนข้อเสนอแนะว่าดำเนินการแล้วเสร็จหรือแก้ไขแล้วจะได้อะไรเช่นการลดค่าใช้จ่ายหรือการทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น

8. เขียนให้ชัดเจนสั้นกระชับครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญ

9. ใช้ภาษาหรือคำที่เข้าใจง่าย

แบบรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

ของสถานศึกษา

รายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

โรงเรียน…………………………………………………

ตำบล……………..อำเภอ…………….จังหวัด………………

รายชื่อคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

1………………………………………

2………………………………………

3……………………………………...

4………………………………………

5………………………………………

วันเดือนปีที่ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

วันที่…………เดือน………………พ.ศ.…………

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา................

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

ส่วนที่ 1

ข้อมูลพื้นฐาน

1. ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน…………………………………………………..ที่ตั้ง…………….ตำบล………..….........................อำเภอ……......…….จังหวัด……….............................สังกัด…………………..…. โทร…………………...โทรสาร………….………e-mail…………………website………………

เปิดสอนระดับชั้น……………….………….ถึงระดับชั้น………………………..เนื้อที่….….…..ไร่………....ตารางวา

2. ข้อมูลผู้บริหาร

1) ผู้อำนวยการโรงเรียน ชื่อ-สกุล................................................................................

โทรศัพท์.........................................................e - mail……………………………………………………………….…..

วุฒิการศึกษาสูงสุด ….…………………..……………สาขา…………………………….………………………………………….

ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ .......................... จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ....... ปี ........ เดือน

2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน….................. คน

2.1 ชื่อ-สกุล .............................วุฒิการศึกษาสูงสุด ………..…………......................โทรศัพท์............................................e-mail…………………………………………………………….……………………..

รับผิดชอบกลุ่ม(ตามโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษา) ....................................................

2.2 ชื่อ-สกุล ................................วุฒิการศึกษาสูงสุด ………..……………………….......โทรศัพท์..........................................e-mail……………………………………………………………….……………………..

รับผิดชอบกลุ่ม(ตามโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษา) ....................................................

3 ข้อมูลครูและบุคลากร

ประเภท

บุคลากร

เพศ

ระดับการศึกษาสูงสุด

อายุเฉลี่ย

ประสบการณ์สอนเฉลี่ย

ชาย

หญิง

ต่ำกว่า ป.ตรี

ป.ตรี

สูงกว่า

ป.ตรี

ผู้อำนวยการ

ครูประจำการ

ครูอัตราจ้าง

นักการ / ภารโรง

รวม

4 ข้อมูลนักเรียน (ณ วันที่ 10 มิถุนายน ของปีการศึกษาที่รายงาน)

1) จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งสิ้น …………คนอัตราส่วนครู : นักเรียน...............

2) จำนวนนักเรียนในโรงเรียนทั้งสิ้น ……………คน จำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน

ระดับชั้นเรียน

จำนวนห้อง

เพศ

รวม

เฉลี่ยต่อห้อง

ชาย

หญิง

อ.1

อ.2

อ.3(เอกชน)

รวม

ป.1

ป. 2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

รวม

ม.1

ม.2

ม.3

ม.4

ม.5

ม.6

รวม

รวมทั้งหมด

ส่วนที่ 2 ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

องค์ประกอบที่ 1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.1 ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาประกาศใช้

1.2 พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่สะท้อน

อัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา

1.3 กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้

1.4 ประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 1กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

......................................................................................................................................................

3. จุดเด่น

....................................................................................................................................................

4. จุดที่ควรพัฒนา

5. ข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพ

ตาม มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

2.1 ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง

2.2 กำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายด้านต่าง ๆโดยมุ่งเน้น ที่คุณภาพผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

2.3 กำหนดวิธีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยหรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้การส่งเสริมการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

2.4 กำหนดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ

2.5 กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.6 กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดามารดาผู้ปกครององค์กรหน่วยงานชุมชนและท้องถิ่น

2.7 กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรม โครงการ

2.8 เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและหรือคณะกรรมการสถานศึกษาและหรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

2.9 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

2.10 กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน

2.11 เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและหรือคณะกรรมการสถานศึกษาและหรือคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 2จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา)

....................................................................................................................................................

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

.....................................................................................................................................................

3. จุดเด่น

..................................................................................................................................................

4. จุดที่ควรพัฒนา

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

5. ข้อเสนอแนะ

....................................................................................................................................................

องค์ประกอบที่ 3 ระบบบริหารและสารสนเทศ

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

3. ระบบบริหารและสารสนเทศ

3.1จัดโครงสร้างระบบการบริหารของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

3.2 กำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุมเป็นปัจจุบันสะดวกต่อการเข้าถึงและให้บริการหรือการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต้นสังกัด

3.3 นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาและการพัฒนาการเรียนการสอน

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 3ระบบบริหารและสารสนเทศ

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับระบบบริหารและสารสนเทศ)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

...............................................................................................................................................

3. จุดเด่น

.............................................................................................................................................

4. จุดที่ควรพัฒนา

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

5. ข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่ 4 ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

4.1นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติตามกรอบระยะเวลาและกิจกรรมโครงการที่กำหนดไว้

4.2 ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 4ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

...............................................................................................................................................

3. จุดเด่น

4. จุดที่ควรพัฒนา

5. ข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่ 5 การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

5. การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

5.1กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา

5.2ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

5.3รายงานและนำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ในการปรับปรุงพัฒนา

5.4เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 5การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

......................................................................................................................................................

3. จุดเด่น

4. จุดที่ควรพัฒนา

5. ข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่ 6 การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

6. การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

6.1 กำหนดคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คนที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย 1 คน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

6.2การดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือ ที่หลากหลายและเหมาะสม

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

ขององค์ประกอบที่ 6การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 6การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

3. จุดเด่น

4. จุดที่ควรพัฒนา

5. ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………..

องค์ประกอบที่ 7 จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

7.1สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา ตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด

7.2นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและหรือคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

7.3เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระดับคุณภาพเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 7จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

...............................................................................................................................................

3. จุดเด่น

4. จุดที่ควรพัฒนา

5. ข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่ 8 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

8. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

8. 1 ส่งเสริมแนวคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่มุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นกับครูอย่างต่อเนื่องบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาและการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จนเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงานปกติของสถานศึกษา

8.2นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาจากการประเมินตนเองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารและการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

8.3 เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

ระดับคุณภาพเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวมขององค์ประกอบที่ 8การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง)

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

3. จุดเด่น…………………………………………………………………………………………………………………

4. จุดที่ควรพัฒนา……………………………………………………………………………………………………

5. ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………………………………………..

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

คะแนนเฉลี่ย

ระดับคุณภาพ

แปลความหมาย

องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตาม

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ

องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

องค์ประกอบที่ 6 การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 7 การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

องค์ประกอบที่ 8 การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ผลการติดตามตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

เกณฑ์ระดับคุณภาพ

ช่วงคะแนนเฉลี่ย

ระดับคุณภาพ

แปลคุณภาพ

4.50 – 5.00

5

ดีเยี่ยม

3.75 – 4.49

4

ดีมาก

3.00 – 3.74

3

ดี

2.50 – 2.99

2

พอใช้

0.00 – 2.49

1

ปรับปรุง

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาโดยรวมตามองค์ประกอบที่ 1 - 8

จุดเด่นระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

รายชื่อคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

ลงชื่อ.............................................................................ประธานกรรมการ

(………………………………………………………………………………….)

ลงชื่อ.............................................................................กรรมการ

(…………………………………………………………………………………)

ลงชื่อ...................................................................กรรมการและเลขานุการ

(…………………………………………………………………………………)

วันที่ .......... เดือน .....................................พ.ศ. ……………….

ภาคผนวก

1. กำหนดการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

(ระบุกิจกรรม วิธีการดำเนิน แหล่งข้อมูลในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา)

2. ตัวอย่างแผนภูมิแสดงผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

(ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา)

องค์ประกอบที่ 1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ระดับคุณภาพ

 

 

 

 

 

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.วิเคราะห์มาตรฐานของ กระทรวง ศธ.

2.กำหนดสาระสำคัญของ มฐ.

3.กำหนด

ค่าเป้าหมาย

ความสำเร็จ

4.ประกาศค่าเป้าหมาย

องค์ประกอบที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.ทำแผนพัฒนาการจัด

2.ทำแผนปฏิบัติการ

การศึกษาฯ

ประจำปี

องค์ประกอบที่ 3 ระบบบริหารและสารสนเทศ

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.จัดโครงสร้าง

2.กำหนดผู้รับผิดชอบ

3.นำสาร สนเทศไปใช้

องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.นำแผนปฏิบัติการ

2.ทำแผนปฏิบัติการ

ประจำปีไปปฏิบัติ

ประจำปี

องค์ประกอบที่ 5 การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

องค์ประกอบที่ 6 การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาฯ

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.ให้มีกรรมการร่วมประเมิน

3.ประเมินอย่างเหมาะสม

องค์ประกอบที่ 7การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.สรุปและจัดทำรายงาน

2.เสนอรายงานต่อกก. สถานศึกษา

3.เผยแพร่ต่อสาธารณชน

องค์ประกอบที่ 8 การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ระดับคุณภาพ

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.ส่งเสริมการประกันคุณภาพให้เป็นงานปกติ

2.นำผลการประเมินมาใช้พัฒนา

3.เผยแพร่ผลการพัฒนา

สรุปภาพรวมผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพ

ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาทั้ง 8องค์ประกอบ

ระดับคุณภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5

4

3

2

1

ประเด็น

1.การกำหนดมาตรฐานฯ

2.การจัดทำแผน พัฒนาฯ

3.การจัดระบบบริหารฯ

4. การดำเนินงานตามแผนฯ

5.การติดตามตรวจสอบคุณภาพฯ

6.การประเมินคุณภาพภายในฯ

7.การทำรายงานฯ

8.การพัฒนาคุณภาพอย่าง

ต่อเนื่อง

จุดเด่น

จุดที่ควรพัฒนา

ข้อเสนอแนะในการพัฒนา

(ใบงานกิจกรรม 4.1)

สื่อประกอบกิจกรรม

ใบงาน การสรุปความรู้สู่การสะท้อนคิด (Mind map)

ชื่อ.........................................................สังกัด.................................เลขที่....................

คำชี้แจง

1. ให้สมาชิกแต่ละคนศึกษาเอกสารเสริมความรู้ เรื่อง การเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา (สื่อรายการที่ 2)และตัวอย่างรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา(สื่อรายการที่ 3) แล้วเขียนแผนผังความคิด (Mind map) สรุปความรู้ของตนเองลงในใบงานที่ 4

2. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา(Learnand Share) และหลอมรวมสรุปความรู้เป็นแผนผังความคิด (Mind map) ของกลุ่ม เช่น

· ความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนรายงานฯ

· องค์ประกอบของการเขียนรายงานฯ

· ความแตกต่างของรายงานที่ดี/ไม่ดี

· ข้อบกพร่องที่พบเห็นในการเขียนรายงาน

3. แต่ละกลุ่มนำผลงานแผนผังความคิด (Mind map) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม

แผนผังความคิด (Mind map) สรุปความรู้ของตนเอง

แผนผังความคิด (Mind map) สรุปความรู้ของกลุ่ม

(ใบงานกิจกรรม )ใบงาน

การสื่อสารผ่านการเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

ชื่อ.........................................................สังกัด.................................เลขที่....................

คำชี้แจง

1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำข้อมูลสารสนเทศจากกิจกรรมที่ 3การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล มาลงมือฝึกปฏิบัติเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาในองค์ประกอบที่ 1การจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และองค์ประกอบที่ 6การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยให้ครอบคลุมครบ ตามประเด็นการติดตามตรวจสอบฯ

2. นำผลงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันตรวจสอบคุณภาพการเขียนรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

องค์ประกอบที่ 1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.1 ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาประกาศใช้

1.2 พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา

1.3 กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้

1.4ประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวมขององค์ประกอบที่ 1กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา)

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

......................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................... จุดเด่น

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

3. จุดที่ควรพัฒนา

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

4. ข้อเสนอแนะ

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

องค์ประกอบที่ 6 การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

องค์ประกอบ/ประเด็นการติดตามตรวจสอบ

ระดับคุณภาพ

คะแนน

ที่ได้

6. การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

6.1กำหนดคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คนที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย 1 คน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

6.2การดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม

สรุประดับคุณภาพและคะแนนเฉลี่ย

แปลความหมาย

สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวม ขององค์ประกอบที่ 6การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1. วิธีดำเนินการของสถานศึกษา(โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา)

……………..

2. ผลงานที่ปรากฏจากการดำเนินงาน

......................................................................................................................................................

3. จุดเด่น

…………..

4. จุดที่ควรพัฒนา

5. ข้อเสนอแนะ

คู่มือฝึกอบรมผู้ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน