4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

7
บันทึกทันตาภิบาลไทย สมาคมทนตาภบาลแหงประเทศไทย ทันตาภิบาลหรอชอตามตำแหนงทบรรจเปนขาราชการคอ “เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข”เปนบคลากรดานสาธารณสขเดม ดูแลสขภาพชองปากของเดกอายไมเกน14ปตามขอกำหนดเมอม มตใหผลตทนตาภบาลเนองจากการขาดแคลนทนตแพทยในการดูแล สขภาพชองปากประชาชนกระทรวงสาธารณสขไดเสนอใหคณะ- รฐมนตรพจารณาแตงตงคณะกรรมการทปรกษาทางทนต- สาธารณสขดวยเหตผลทปรกษาขององคการอนามย- โลกเกยวกบทนตสาธารณสขไดเสนอวาโรคตางๆ ภายในชองปากนนเปนโรคสำคญทจะทำให สขภาพของประชาชนดหรอเสอมไดและการ บรหารงานทเกยวกบชองปากและฟนของ ประชาชนนตองดำเนนการทงในดาน การสงเสรมปองกนและบำบดซงม สวนราชการทงภายในและภายนอก กระทรวงสาธารณสขทเกยวของหลาย หนวยงานดวยกนโดยรวมกนดำเนนงาน เพอสขภาพชองปากทด ของประชาชน ทศวรรษทันตาภิบาลไทย /กรกฎาคม - สิงหาคม 2553 17

description

ทันตาภิบาล หรือชื่อตามตำแหน่งที่บรรจุเป็นข้าราชการ คือ “เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข” เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข เดิมดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ตามข้อกำหนดเมื่อมีมติให้ผลิตทันตาภิบาลเนื่องจากการขาดแคลนทันตแพทย์ในการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน

Transcript of 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

Page 1: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

บันทึกทันตาภิบาลไทย สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย

ทันตาภิบาล หรือชื่อตามตำแหน่งที่บรรจุเป็นข้าราชการ คือ

“เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข” เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข เดิม

ดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ตามข้อกำหนดเมื่อมี

มติให้ผลิตทันตาภิบาลเนื่องจากการขาดแคลนทันตแพทย์ในการดูแล

สุขภาพช่องปากประชาชน กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้คณะ-

รัฐมนตรีพิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางทันต-

สาธารณสุข ด้วยเหตุผลที่ปรึกษาขององค์การอนามัย-

โลกเกี่ยวกับทันตสาธารณสุขได้เสนอว่า โรคต่าง ๆ

ภายในช่องปากนั้นเป็นโรคสำคัญ ที่จะทำให้

สุขภาพของประชาชนดีหรือเสื่อมได้ และการ

บริหารงานที่เกี ่ยวกับช่องปากและฟันของ

ประชาชนนี ้ ต้องดำเนินการทั ้งในด้าน

การส่งเสริม ป้องกัน และบำบัด ซึ ่งมี

ส ่วนราชการท ั ้งภายในและภายนอก

กระทรวงสาธารณสุขที ่เกี ่ยวข้องหลาย

หน่วยงานด้วยกัน โดยร่วมกันดำเนินงาน

เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

ของประชาชน

ทศวรรษทันตาภิบาลไทย

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553 17

Page 2: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

โรงเรียนทันตาภิบาลได้เปิดสอนนักเรียนรุ่นแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.

2511 ณ ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลาง จังหวัดชลบุรี (วิทยาลัยการสาธารณสุข-

สิรินธร จ. ชลบุรี ในปัจจุบัน) มีหลักการที่คล้ายคลึงกับโรงเรียน Dental Nurse ของ

ประเทศนิวซีแลนด์ และปี 2521 ได้เปิดสอนที่วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวัน-

ออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เพิ่มอีกหนึ่งแห่ง ต่อมาในช่วง ปี 2527 - ปัจจุบัน

เปิดสอนอีก 5 แห่ง คือ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัด

ยะลา จังหวัดตรัง จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดรับนักศึกษา

ประมาณปีละ 300 คน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากเดิมในการรับสมัครเข้าเรียน

คือ กำหนดให้เป็นคนในพื้นที่เพื่อป้องกันการโยกย้าย และเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว

ได้กำหนดบทบาทหน้าที่เพื ่อดูแลทันตสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กชั้น

ประถมศึกษาอายุไม่เกิน 14 ปี ภายในคลินิกทันตกรรมของกรมอนามัย กระทรวง-

สาธารณสุข มีขอบเขตในการปฏิบัติงาน คือ ตรวจและบันทึกภาวะผิดปกติของฟัน

ทำความสะอาดฟัน อุดฟันถาวรและฟันน้ำนมที่ผุ ถอนฟันน้ำนมและฟันถาวรโดย

ใช้ยาชาเฉพาะตำแหน่ง การทายาเพื่อป้องกันฟันผุ พิจารณาจัดส่งเด็กที่มีการสบ-

ฟันผิดปกติหรือความพิการอื่น ๆ ที่นอกเหนือขอบเขตการปฏิบัติงานของตนไป

รับการบำบัดจากทันตแพทย์ และให้ทันตสุขศึกษา ต่อมาในปี 2539 กระทรวง-

สาธารณสุขมีประกาศเป็นกฎกระทรวง กำหนดให้ทันตาภิบาลสามารถดูแล

สุขภาพช่องปากผู้ใหญ่ได้ในระดับหนึ่ง (ดูในล้อมกรอบ)

ทันตาภิบาลเมื ่อเรียนจบหลักสูตรจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการใน

ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขระดับ 2 ตามที่จังหวัดจัดสรร ทั้งในสำนัก-

งานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน (ตั ้งแต่ปี 2545 - ปัจจุบัน ไม่มี

ตำแหน่งบรรจุ ต้องใช้อัตราจ้าง)

ต่อมาในปี 2535 ได้มีการขยายกรอบทันตาภิบาลไปที่

สถานีอนามัยขนาดใหญ่ ซึ ่งมีความพร้อมที ่จะให้การดูแลและส่ง-

เสริมสุขภาพช่องปากได้ ตามโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนา

สถานีอนามัย (ทสอ.) และการปฏิบัติงานในพื้นที่มีการดำเนิน-

งานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อร่วมกันค้นหาและแก้ไขปัญหา

เกี่ยวกับทันตสุขภาพ โดยต้องอาศัยองค์ความรู้ที่เป็นระบบ

มากยิ่งขึ ้น ซึ ่งความรู้จากหลักสูตร 2 ปีที ่เคยเล่าเรียนมา

ประกอบกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้

ทันตาภิบาลต้องหาทางพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง

เพราะหน่วยงานต้นสังกัดไม่สามารถจัดการให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ใน

อดีตที่ผ่านมา ได้มีความพยายามที่จะให้มีการศึกษาต่อเนื่อง

เพื่อให้ได้วุฒิปริญญาตรี โดยในปี 2529 กระทรวงสาธารณสุขได้

ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อขอให้จัด

หลักสูตรต่อเนื ่องให้ทันตาภิบาล ซึ ่งได้ร ับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก

18 ปีที่ 20 ฉบับที่ 1

Page 3: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการเปิดหลักสูตร

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกทันตสาธารณสุข

และเริ ่มมีการศึกษาในปี 2535 ซึ ่งใช้เวลาในการ

ประสานหลักสูตรรวม 6 ปี แต่ต่อมาปี 2542 หลัก-

สูตรนี้ต้องปิดการเรียนการสอน เนื่องจากผู้ที่จบการ

ศึกษาไปแล้วไม่สามารถปรับตำแหน่งได้ ทั ้ง ๆ ที ่

หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกองฝึกอบรม ซึ่งเป็นหน่วยงาน-

ผู้ผลิตในขณะนั้น กองสาธารณสุขภูมิภาค เป็นหน่วย-

งานดูแลการปฏิบัติงาน กองทันตสาธารณสุข กรม-

อนามัย เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการและจัด-

ทำแผนฯ และกองการเจ้าหน้าที ่ สำนักงานปลัด-

กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานบรรจุแต่งตั้งและ

กำหนดกรอบอัตรากำลัง ได้พยายามที ่จะพัฒนา

บุคลากรกลุ่มนี้ในเรื่องการศึกษาต่อเนื่องทุกวิถีทาง

แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ในขณะเดียวกันชมรมทันตาภิบาล (จากการ

รวมตัวกันของศิษย์เก่าก่อตั้งเป็นชมรมขึ้นในปี 2530)

ได้ชักชวนผลักดันให้ทันตาภิบาลใช้เวลาว่างในการ

ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีโดยเน้นด้านสาธารณ-

สุข จนในปัจจุบันมีทันตาภิบาลที่เรียนจบแล้ว ร้อยละ

90 ในระดับปริญญาตรี และมีการศึกษาต่อเนื่องทั้ง

ในระดับปริญญาโทและเอกอีกจำนวนมาก

จะเห็นว่า ด้านการศึกษาต่อเนื่องจึงเป็นเรื่อง

ของความพยายามที่ต่างคนต่างทำ แต่ไม่ได้มีการ

ติดตามอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการประสานงานกัน

ในทุกหน่วยงานที่เกี ่ยวข้อง ผู้ที ่ได้รับผลกระทบต่อ

สภาพเช่นนี ้มากที่สุด คือ “ทันตาภิบาล” เพราะ

ตลอดเวลาเกือบ 40 ปีที ่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า

ทันตาภิบาลเป็นผู้แบกรับภาระการแก้ปัญหาทันต-

สาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท

เพราะแม้จะมีการแก้ปัญหาการกระจายทันตแพทย์

ออกสู ่ชนบทโดยโครงการทันตแพทย์คู ่สัญญาเริ ่ม

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 แต่ทันตแพทย์รุ่นแรกเพิ่งจบออก

มาทำงานเมื่อ พ.ศ. 2532 ในขณะที่ทันตาภิบาลรุ่น

แรกจบมาปฏิบัติงานตั้งแต่ พ.ศ. 2512 และต้องให้

บริการบำบัดรักษาทางทันตกรรมทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่เกินหน้าที่ความรับผิดชอบ

และความรู ้ที ่เร ียนมา แน่นอนว่าความไม่มั ่นใจ

หวาดหวั่น และความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นตามมา

เป็นลำดับ ทันตาภิบาลจึงได้พยายามขอให้หน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในด้านของความรู้เพื่อจะได้นำ

ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ซึ ่งหน่วยงานที่เข้าใจปัญหาก็ได้สนองตอบ แต่ไม่

สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553 19

Page 4: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 40 ปี (ปี พ.ศ. 2511 - 2553)

ของการก่อเกิดทันตาภิบาล และไปปฏิบัติงานในพื้นที่

เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนกลุ่มนักเรียนเป็น

ส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานถึง

ระดับ 6 (ปัจจุบันบรรจุในแท่งระดับ O2 ตามระบบ

ข้าราชการใหม่) ยังไม่สามารถเติบโตในหน้าที่การงานได้

สูงกว่านี ้ ถ้าต้องการความก้าวหน้าต้องไปสอบปรับ-

เปลี่ยนตำแหน่งอื่น ๆ เช่น นักวิชาการสาธารณสุข เจ้า-

หน้าที่บริหาร หรือเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

ตามวุฒิปริญญาตรีที่ขวนขวายเรียนมาด้วยตัวเอง ขณะ

นี้ทันตาภิบาลที่มีอายุราชการเกินกว่า 25 ปี ก็จะตัน

อยู ่แค่ระดับ 6 เงินเดือนก็เต็มเพดานมาหลายปีแล้ว

และไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ให้เลย แม้จะมีการปรับค่า-

ตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุขหลายต่อหลายครั้งก็

ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณา มีการเรียกร้องค่าตอบแทน

และสวัสดิการรวมทั้งการทำงานในภาคเอกชนภายใต้

การควบคุมของทันตแพทย์ให้แก่ทันตาภิบาลที ่เป็น

ลูกจ้าง เตรียมการเสนอเรื่องการปรับเป็นนักวิชาการโดย

การใช้วุฒิการศึกษาที่จบปริญญาตรี เพื่อเข้าสู่ระบบการ

จำแนกตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด เสนอรัฐมนตรีลงนาม

เรื่องการศึกษาต่อเนื่อง 4 ปี และการเติบโตในสายงาน

ทันตาภิบาลเพื่อให้มีการคงอยู่ของผู้ปฏิบัติงานในสถาน-

บริการนั้น ๆ (เนื่องจากมีการเปลี่ยนสายงานเพิ่มมากขึ้น

เรื่อย ๆ) โดยเฉพาะในหน่วยบริการปฐมภูมิหรือ PCU

เป็นหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพช่องปากประชาชนใน

ระดับรากหญ้า เพื่อให้รัฐมนตรีได้ลงนามสั่งการให้

ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

โดยภาพรวมแล้ว การปฏิบัติงานในสถาน-

บริการแต่ละระดับค่อนข้างชัดเจนและใกล้เคียงกัน

โดยเฉพาะในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะเน้น

เรื ่องการบริหารจัดการด้านวิชาการร่วมด้วย แต่

สถานบริการที่มีความแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงคือใน

ระดับสถานีอนามัย นอกจากจะต้องดูแลส่งเสริม-

ป้องกันสุขภาพช่องปากแล้ว ทันตาภิบาลยังต้องรับ-

ผิดชอบงานอื่น ๆ ของสถานีอนามัย รวมทั้งการอยู่-

เวรบริการนอกเวลาด้วย ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งของ

ความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ จึงทำให้เกิดปัญหา

ในการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล และในปัจจุบัน

มีนโยบายปรับสถานีอนามัยที ่มีความพร้อมเป็น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต.) จึงเป็น

เรื่องที่ต้องน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ภาระความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ของทันตา-

ภิบาล ประกอบกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้รุมเร้า

ทำให้ทันตาภิบาลต้องใช้ความอดทนอย่างสูง โดย-

เฉพาะทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยที่

ขาดแรงจูงใจทำให้มีการเคลื่อนย้ายของบุคลากร

กลุ่มนี้มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การสอบปรับ-

เปลี่ยนตำแหน่งหรือสายงาน ลาออกไปประกอบ-

อาชีพอื่น ดังข้อมูลในปี 2548 มีผู้ออกจากสายงาน

ไปแล้ว 348 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ของทันตาภิบาล

ทั้งหมด และจากการสำรวจในปี 2549 มีผู้เปลี่ยน

สายงานเพิ่มขึ้น 190 คน และเกือบร้อยละ 80 เป็น

ทันตาภิบาลที ่ปฏิบัติงานอยู ่สถานีอนามัย เป็น

สถานการณ์ที่บ่งบอกถึงการสูญสลายของงานส่ง-

เสริมสุขภาพช่องปากในระดับปฐมภูมิที่มีแนวโน้ม

มากขึ้น ๆ เป็นลำดับ

(มีต่อฉบับหน้า)

ขอเชิญชวนพี่น้องทันตาภิบาลส่งข้อเสนอแนะ/ซักถาม/เรื่องราวหรือประสบการณ์ทำงานเพื่อเผยแพร่

ได้ที่...คุณรัชนีลิ้มสวัสดิ์ผู้ประสานงานเครือข่ายทันตาภิบาล0865671627หรือ[email protected]

20 ปีที่ 20 ฉบับที่ 1

Page 5: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข

ว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวงทบวงกรมกรุงเทพมหานคร

เมืองพัทยาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทยมอบหมาย

ให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่

ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม

พ.ศ.2539

.........................................

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 28 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม

พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกระเบียบไว้ ดังนี้

ข้อที่1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม

กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้อง-

ถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่ง

เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2539”

ข้อที่2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อที่3 ในระเบียบนี้

“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างสังกัดกระทรวง ทบวง กรม

กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้อง-

ถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย

“องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น” หมายความว่า ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รัฐมนตรี-

ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา

“ควบคุม” หมายความว่า การดูแลหรือการกำกับดูแล

ข้อที่4 บุคคลที่ กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วน-

จังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทย จะมอบหมายให้

ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ต้องเป็นบุคคลซึ่งระเบียบนี้กำหนด

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553 21

Page 6: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

ข้อที่5 ให้บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้เฉพาะ

5.1 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่ระเบียบนี้กำหนด

5.2 เป็นการปฏิบัติราชการหรืออยู่ในระหว่างการปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตามที่

ได้รับมอบหมาย และ

5.3 ต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม

ข้อที่6 ให้บุคคลที่มีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพทันตาภิบาล ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์

(ทันตกรรม) ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้ดังต่อไปนี้

6.1 ด้านทันตกรรมป้องกัน

6.1.1 ใช้สารฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ

6.1.2 ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันโรคฟันผุ

6.1.3 ขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

6.2 ด้านทันตกรรมบำบัดฉุกเฉิน

6.2.1 บำบัดฉุกเฉินด้านทันตกรรมเบื้องต้น เพื่อลดความเจ็บปวด การกรอฟันเพื่อ

ระบายหนอง

6.2.2 ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาทาง

ทันตกรรม เช่น ภาวะเลือดออกมาก

6.2.3 คัดแยกโรคและส่งต่อผู้ป่วยด้านทันตกรรม เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ

(systemic disease)

6.3 ด้านทันตกรรมบำบัด

6.3.1 ตรวจวินิจฉัยและคัดแยกโรคภายในช่องปาก

6.3.2 อุดฟันชนิดไม่ซับซ้อนด้วยวัสดุอุดฟัน

6.3.3 ถอนฟันที่ขึ้นปกติที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

6.4 รักษาโรคเหงือกอักเสบโดยการขูดหินน้ำลาย

ข้อที่ 7 ให้ผู ้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั ้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการ-

พยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและ-

ผดุงครรภ์ ประกาศนียบัตรพนักงานอนามัย ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข (พนักงานอนามัย)

ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ และประกาศนียบัตรพนักงานสาธารณสุขชุมชน ทำการจ่ายยาเพื่อ

บำบัดฉุกเฉินด้านทันตกรรมเบื้องต้น หรือลดความเจ็บป่วยและการอักเสบ

22 ปีที่ 20 ฉบับที่ 1

Page 7: 4 ทศวรรษ ทันตาภิบาล ไทย

ข้อที่8 ให้บุคคลตามข้อ7ที่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรทันตกรรมป้องกันที่กระทรวง-

สาธารณสุขกำหนดแล้ว ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมได้ ดังนี้

8.1 ขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

8.2 ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อป้องกันโรคฟันผุ

8.3 อุดฟันเริ่มแรกชั่วคราวด้วยวัสดุอุดฟันชนิดที่มีสารป้องกันโรคฟันผุ

ข้อที่ 9 ให้บุคคลที่ได้รับมอบหมายทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามระเบียบนี้ สามารถ

ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ได้เป็นการเฉพาะรายหรือกรณี

โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ซึ่งได้มอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อที่10 ในกรณีที่มีปัญหาตามระเบียบนี้ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

ข้อที่11ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

ประกาศณวันที่9กันยายนพ.ศ.2539

เสนาะเทียนทอง

(นายเสนาะเทียนทอง)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำเนาถูกต้อง

ศิริเกียรติเหลียงกอบกิจ

(นายศิริเกียรติเหลียงกอบกิจ)

ทันตแพทย์8

/กรกฎาคม - สิงหาคม 2553 23