21st+Century+Preview

50
 6  กษะแห  งอนาคตใหม  ใ ฐานะท  เปน  ค  คลหน งสอ 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn  และเปนผ  เผยแพ รใหน กกา รศกษ  ไทยและ ผหวงใยคณภาพก ารศกษาไท ยอานหนงสอเลมน    รวมท   งแนะนา แก นพ.สมศกด   ชณห รศม   เลขาธ กา รมล นธส าธา รณ สขแ หงช าต และ นพ.ประเสรฐ ผลตผลการพมพ เลขาธการมลนธสดศร -สฤษด   วงศ สอง มลน ธค  แฝดท  อย  ในต กเด ยวก นและท างานเพ  อสงคมในล กษณะสรางสรรค การพฒนาวชาการเชนเดยวก โดยมลนธสาธารณสขแหงชาตเนนดาน การพฒนาสขภาพ และมลนธสดศรฯ เนนดานพ ฒนาการศกษาหรอการ เร ยนร    ผมไดเสนอค ณหมอท   งสองวา นาจะหาทางแปลหน งสอเลมน   ออก เผยแพรแก งคมไทย ผมจงมความยนดเปนพเศษท  ม ลน สดศร ละสานกพมพ openworlds าเน นการแปลและเผยแพรหน งส อเลมน      งได านต นฉบ แปล โดยคณวรพจน  วงศ จร  งเร อง   แปลหลก และคณอธ จตตฤกษ พบว าแปลได อย างม ทาใหอ านเข าใจได ายและล  นไหล ผมย งช นใจ  ผ  คนใน สงคมไทย จะ ไดมหนงสอ  งส  อส าร ะสาคญย  งข องก าร ศกษ  าน ยม

Transcript of 21st+Century+Preview

Page 1: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 1/49

 

6   ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

 ในฐานะที ่เปนผ ูคล ่ังไคลหนังสือ 21st Century Ski l ls :  

Rethinking How Students Learn  และเปนผ ูเผยแพรใหนักการศึกษา

 ไทยและผู หวงใยคุณภาพการศึกษาไทยอานหนังสือเลมนี   ้ รวมทั  ้งแนะ���าแก นพ.สมศักด ิ์ ชุณหรัศมิ ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแหงชาติ และนพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษด ิ์ วงศ สองมูลนิธิคู แฝดที ่อยู ในตึกเดียวกันและ���างานเพื ่อสังคมในลักษณะสรางสรรคการพัฒนาวิชาการเชนเดียวกัน โดยมูลนิธิสาธารณสุขแหงชาติเนนดานการพัฒนาสุขภาพ และมูลนิธิสดศรีฯ เนนดานพัฒนาการศึกษาหรือการเรียนร ู ผมไดเสนอคุณหมอทั   ้ งสองวา นาจะหาทางแปลหนงัสือเลมนี  ้ออกเผยแพรแกสังคมไทย

ผมจึงมีความยินดีเปนพิเศษที ่ มูลนิธิสดศรีฯ และ���านักพิมพopenworlds ���าเนนิการแปลและเผยแพรหนังสอืเลมนี  ้ ยิ ่งไดอานตนฉบับแปล โดยคุณวรพจน วงศกิจร ุงเรือง ผ ู แปลหลัก และคุณอธปิ จิตตฤกษ 

ก็พบวาแปลไดอยางมีฝมือ ���าใหอานเขาใจไดงายและลื ่นไหล ผมยิ ่งชื ่นใจที ่ผ ู คนในสังคมไทยจะไดมีหนังสือดี ซ ่ึงส ่ือสาระ���าคัญยิ ่งของการศึกษา

��� านิยม

Page 2: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 2/49

 

7 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

ยุคใหม ที ่ แตกตางไปจากแนวคิดเดิมๆ โดยสิ   ้ นเชิง นักการศึกษา ครูพอแมผ ู ปกครองนักเรียน และผู สนใจคุณภาพของการศึกษาทุกคนควร ไดอานหนังสอืเลมนี  ้ เพื ่อจะไดชวยกันขับเคล ่ือนการศึกษาไทยออกไปจากความเชื ่อหรอืวิธคิีดเกาๆ ใหการเรยีนรู  ในสังคมไทยบรรลกุารเรยีนรู ทักษะ���าหรับมนษุย ในศตวรรษที ่ 21 ใหจงได 

หลังจากอานหนังสอืเลมนี  ้ (ภาคภาษาอังกฤษ) ผมเกิดแรงบันดาลใจอยางแรงกลาที ่จะเขียนขอตีความหรอืขอสรปุของผม ออกเผยแพร ในบลอ็กgotoknow.org โดยใส���าหลักวา 21st Century Skills ดังนั   ้น หากทาน

ผู สนใจเขาไปคนที ่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/tag/21st centuryskills ทานจะไดอานบันทึกความเขาใจและความร ู สึกของผม เกี ่ยวกับสาระ���าคัญของการเรียนร ูเพื ่อเตรยีมเยาวชนออกไป���ารงชีวิตในโลกแหงศตวรรษที ่ 21 ซ ่ึงแตกตางไปจากศตวรรษที ่ 20 และ 19 โดยสิ  ้นเชงิ ทั  ้งที ่เปนบันทึกจากการอานหนังสือเลมนี   ้ และจากแรงบันดาลใจที ่ไดจากกิจกรรมอื ่นๆ

แตบันทึกในบล็อกเหลานั   ้ นเขียนอยางยนยอ เนนจุดประทับใจเปนแบบตีความ ไมเนนความครบถวน และไมเปนระบบอยางหนังสือเลมนี   ้ การอานบันทึกในบล็อกเหลานั  ้นจึงไมทดแทนการอานหนังสือเลมนี  ้ทั  ้งเลมหรอืทีละบท แตอาจชวยใหอานหนังสือสนุกขึ  ้น

ที ่จรงิผมไดอานหนังสอืเลมนี  ้ภาคภาษาอังกฤษมาแลว 2 จบ และ ไดอานหนังสือ���านองเดียวกันเลมอื ่ น รวมทั   ้ งไดอานจากเว็บไซต และดูวิดี โอจาก YouTube แตเมื ่อไดอานฉบับแปลเปนภาษาไทย ผมยังรู สกึสนกุตื ่นเตน และไดสาระเพิ ่มขึ  ้นอีก

หนังสือเลมนี  ้ประกอบดวยบท���ารับเชญิ บท���าของบรรณาธกิารและบทความอีก 14 บท แตละบทเขียนโดยนักการศึกษาที ่ค��� ่าหวอดและเปนที ่นับถือท ่ัวโลกทั  ้งสิ  ้น เชน Howard Gardner เจาของทฤษฎี Multiple

Intelligences เขียนเร ่ื อง Five Minds for the Future, Richard และRebecca DuFour ผ ูริเร ่ิ มและพัฒนาศาสตรและศิลปวาดวย PLC

Page 3: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 3/49

 

8  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

(Professional Learning Communities) เขียนเร ่ื อง The Role of Professional Learning Communities in Advancing 21st CenturySkills, Linda Darling-Hammond ศาตราจารยดานการศึกษา โดยเฉพาะอยางยิ ่ งดานการพัฒนาครู แหงมหาวิทยาลัย สแตนฟอรด ใหสัมภาษณJames Bellanca ออกมาเปนบทที ่ 2 เร ่ือง New Policies for 21st CenturyDemands เปนตน

อานหนังสอืเลมนี  ้แลว ทานจะยิ ่งตระหนักวา ระบบการศึกษาไทยจะตองพัฒนาไปมากกวาที ่ระบ ุ ในแผนปฏิรูปการศึกษาแหงชาติ ทศวรรษ 

ที ่สอง อยางมากมาย เปนเร ่ืองที ่คนไทยทั  ้งชาติจะตองชวยกันผลักดันใหมีการขับเคล ่ือนการเปล ่ียนแปลงนี  ้ หากเราไม���า หรอื���าไม���าเร็จ คนไทยยุคตอไปจะเปนคนที ่ลาหลังคนในประเทศอื ่นๆ อยางนาตกใจ

ผมจึงขอขอบคุณ���านักพิมพ openworlds และคณะผ ูแปล รวมทั  ้งมูลนิธิสดศรี-สฤษด ิ์ วงศ ที ่รวมกันจัดแปลและจัดพิมพแผยแพรหนังสือดีเลมนี  ้ ใหแกสังคมไทย และขอบคุณที ่ ใหเกียรติผมเขียน���านยิมนี  ้ 

ศ.นพ. วิจารณ์ พานิชประธานกรรมการมูลนธิิสถาบันสงเสรมิการจัดการความรู เพื ่อสังคม (สคส.)รองประธานกรรมการมูลนิธสิยามกัมมาจล

Page 4: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 4/49

Page 5: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 5/49

 

10  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

มูลนิธิสดศรี-สฤษด ิ์ วงศ (มสส.) กอตั  ้งขึ   ้ นในป พ.ศ. 2537ตามเจตนารมณของพลตรีนายแพทยสฤษด ิ์ วงศ และ คุณหญิงสดศรีวงศถวยทอง ที ่จะสนับสนนุการพัฒนาทรัพยากรมนุษย โดยเฉพาะอยางยิ ่งการสนับสนุนการพัฒนากระบวนการเรียนร ู และนวัตกรรมทางการศึกษา ในตอนแรกมูลนิธิฯ ไดผลิตวารสารสานปฏิรูปใหแกวงการศึกษา  ไทย ในเวลาตอมาจึงไดศึกษาและ���างานขับเคลื ่อนประเด็นสุขภาวะทาง

จติวิญญาณซึ ่งรวมความถึงจติวิญญาณความเปนครดูวยป พ.ศ.2554 การศึกษาไทยอยู ในภาวะวิกฤตดานคุณภาพดัง

จะเห็นไดจากตัวชี  ้วัดดานการศึกษาและการสอบหลายครั  ้ง ที ่���าคัญกวาตัวชี  ้วัดคือนักเรียนนักศึกษาซ ่ึงเปนผลผลิตของการศึกษาไมมีศักยภาพที ่จะเรียนร ูความเปล ่ียนแปลงของโลกและพัฒนาตนเองอยางตอเน ่ือง มูลนิธิฯเชื ่อวาการปฏริูปการศึกษาที ่แทควรปฏริปูกระบวนทัศนดวย จากกระบวนทัศนเดิมที ่ครูเปนผ ูมอบความร ูใหแกนักเรียนนักศึกษาในสถาบันตางๆเปล ่ียนเปนชวยกันออกแบบกระบวนการเรียนร ูรวมกันระหวางครูกับเด็กและเยาวชนทุกคนในสังคม น ่ันคือ “กระบวนการเรียนรู ���าคัญกวาความรู ”และ “ครมิู ใชผู มอบความร ู” แตเปน “ผู ออกแบบกระบวนการเรยีนรู  โดยเรยีนรู   ไปพรอมๆ กันกับเด็กและเยาวชน”

เปาหมายของการเรียนรู จะมิ ใชตัวความรู อีกตอไป เพราะตัวความรู  นั  ้นมีมากมายมหาศาลเกินกวาที ่จะมอบใหนักเรียนแตละชั   ้ นปได อีกทั  ้ง

��� า��� า

Page 6: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 6/49

 

11 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

นักเรยีนในศตวรรษใหมมีหนทางคนหาความร ูดวยตนเองจากทุกหนแหงทั  ้ง ในสิ ่งแวดลอมและในอินเทอรเนต็ หากการศึกษาไทยยัง��� ่าอยู กับกระบวน-ทัศนเดิมคือมอบความร ู เปนรายวิชาก็จะไมทันสถานการณโลก ที ่ควร���าคือมีกระบวนทัศนใหมที ่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนใหเปนผ ูใฝเรียนรู ตลอดชวิีต เด็กและเยาวชนจะเรยีนร ูอะไรบางขึ  ้นอยู กับบริบทของแตละคน แตที ่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรยีนรู ตลอดเวลา ตลอดชวิีตและพัฒนาตนเองอยางตอเน ่ือง

มูลนิธิฯ ไดขับเคล ่ือนประเด็นจิตวิญญาณความเปนครูดวยการ

จัดวงแลกเปลี ่ยนเรยีนรู ระหวางครทีู ่มีความสามารถในการจดักระบวนการเรยีนรู เพื ่อความเปนมนษุยที ่สมบรูณมาแลว มูลนธิฯิ มีความตั  ้งใจขับเคลื ่อนการปฏิรูปการศึกษาใหเปนการปฏิรูปการเรียนร ูดวยการจัดการความร ูระหวางครทีู ่มีประสบการณตรงในการจัดการเรยีนการสอนแบบ Problem-Based Learning (PBL) แลวสรางชุมชนการเรยีนรู ครูเพื ่อศิษยที ่เรียกวาProfessional Learning Community (PLC) ทั  ้งนี  ้เพื ่อใหชุมชนการ

เรียนร ูครูเพื ่อศิษยในทองถิ ่ นตางๆ สามารถพัฒนาตนเองและการศึกษาของชาติอยางตอเน ่ืองและยั ่ งยืน หนังสือเลมนี  ้เปนหนึ ่งในเคร ่ืองมือสรางความเขาใจเรื ่องการปฏริปูการศึกษาดวยกระบวนทัศน ใหมดังที ่บรรยายมา

มูลนิธิฯ ขอขอบพระคุณมูลนิธิสยามกัมมาจลซ ่ึงเปนภาคีความรวมมือในการปฏิรูปการศึกษาดวยกระบวนทัศนใหมนี   ้ ขอขอบพระคุณศ.นพ.วิจารณพานชิ และ นพ.สมศักดิ ์ ชณุหรัศมิ ์ ที ่ ได ใหหลักคิดและปรัชญาการศึกษาที ่มีคายิ ่งแกมูลนธิฯิ รวมทั  ้งขอบพระคุณ���านักพิมพ openworldsที ่ชวยเหลอืดานการแปลและจัดพิมพหนังสอืที ่มีคุณคาเลมนี  ้อยางมีคุณภาพเปนที ่เรียบรอย

 

นพ. ประเสริ  ฐ ผลิตผลการพมิพ์เลขาธกิารมูลนธิสิดศร-ีสฤษดิ ์วงศ

Page 7: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 7/49

 

สารบญ

��� า��� า  รอน แบรนต์  18

บท��� า  เจมส์ เบลลันกา และ รอน แบรนต์  20

บทเกร น��� า  เคน เคย์  30

1.จตห้ าลกษณะ��� าหรบอนาคต  58

  เฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์

2.นโยบายใหม่ท ีสนองความต้องการในศตวรรษท ี21 88  ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ สัมภาษณ์โดย เจมส์ เบลลันกา 

3.การเปรยบเทียบกรอบความคิด��� าหรบทกษะแห่ ง  110

ศตวรรษที 21  ครส ดีดี ้ 

4.บทบาทของชุมชนการเรยนรู  ้ทางวชาชพ 146

ต่อความก ้าวหน้ าของทกษะแห่ งศตวรรษที 21

  รชาร์ด ดูโฟร์ และ รเบ็กคา ดูโฟร์  5วสยทศน ์ของสิ งคโปร์:สอนให้น้อยลงเรยนรู  ้ให้มากขึ  น 170  โรบิน โฟการ์ตี ้ และ ไบรอัน เอ็ม. พท

6.การออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรยนรู  ้ 196

แบบใหม่เพ อสนบสนุนทกษะแห่ งศตวรรษที 21  บ็อบ เพร์ลแมน 

Page 8: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 8/49

 

7.กรอบความคิดในการ��� าไปปฏิบติ  240

เพ อสนบสนุนทกษะแห่ งศตวรรษท ี21  เจย์ แม็คไท และ เอลเลียต ซฟ 

8.การเรยนรู  ้ จากปัญหา: 272

รากฐานส�� าหรบทกษะแห่ งศตวรรษท ี21  จอห์น แบเรลล์ 

9.การเรยนรู  ้แบบร่วมมือและการแก้ไขความขดแย้ ง: 304

ทกษะท ี ��� าเป็นแห่ งศตวรรษที 21  เดวด ดับเบิลยู. จอห์นสัน และ โรเจอร์ ที. จอห์นสัน 

10.การเตรยมนกเรยนให้เช ยวชาญทกษะแห่ งศตวรรษท ี21 332  ดักลาส ฟเชอร์ และ แนนซ เฟรย์

11.นวตกรรมจากเทคโนโลยี 358  เชอรล เลมกี 

12.เทคโนโลยี���   าหน ้าข้อมูลล้ าหล ง 394  อลัน โนเวมเบอร์ 

13.ท่องไปในเครอข่ ายส งคมในฐานะเคร องมือการเรยนรู  ้ 408  วล รชาร์ดสัน 

14.กรอบการประเมินทกษะแห่ งศตวรรษที 21 436  ดักลาส รฟส์ 

บทส่ งท ้าย:ภาวะผู  ้��� าการเปลี ยนแปลงและอนาคตของ  464

วาระทกษะแห่ งศตวรรษท ี21  แอนดี ฮาร์กรฟส์ 

Page 9: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 9/49

Page 10: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 10/49

 

ทกษะแห่ งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื อศตวรรษที ่ 21 

แปลโดยวรพจน์ วงศก์ิจรุ ่ งเรอืง

และ อธิป จตตฤกษ

21st CENTURY SKILLS

Rethinking How Students Learn

Edited by 

James Bellanca

and Ron Brandt

Page 11: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 11/49

 

16   ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

เจมส์เบลลนกา

เจมส เบลลันกา (James Bellanca, MA) เปนผ ูกอตั  ้งและผู บรหิารสูงสุดของ International Renewal Institute, Inc และรักษาการผู ���านวยการกลุ มความรวมมือในรัฐอิลลินอยสเพื ่อทักษะแหงศตวรรษ ที ่ 21 (Illinois Consortium for 21st Century Skills) เขายังเปนผู กอตั  ้งบรษัิท Skylight Professional Development ในป 1982 ในฐานะประธานเขาไดฝกสอนที ่ปรกึษานักเขียนกวา 20 คน ในชวงที ่บกุเบิกการใชวิธสีอน

เชิงยุทธศาสตรในการพัฒนาทางวิชาชีพแบบครบถวนใหกับ Skylightเขารวมแตงหนังสอืมากกวา 20 เลม ซ ่ึงสนับสนนุการประยุกต ใชวิธีคิดและความรวมมือขามหลักสตูรภายใตแนวคิด���าคัญที ่วา “ไม ใชเพียงเพื ่อการสอบแตเพื ่อการเรียนร ูทั  ้งชวิีต” ปจจบุันเขาพยายามตอยอดทฤษฎีของรอยเฟนฟอยเออรสไตน (Reuven Feuerstein) นักจิตวิทยาดานการรับร ู เพื ่อพัฒนาวิธกีารสอนที ่ตอบสนองความตองการเรยีนร ูของเดก็ที ่เรยีนชาอยาง  ไดผล เขามีงานที ่ไดรับการตีพิมพมากมายในฐานะผ ูสนับสนุนการสอนที ่สอดคลองกับแนวปฏบิัติที ่ด ีในการพัฒนาทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 อาทิ

เก ียวกบบรรณาธิการ

เจมส เบลลันกา รอน แบรนต

Page 12: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 12/49

 

17 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

Designing Professional Development for Change: A Guide for Improving 

Classroom Instruction, Enriched Learning Projects: A Practical 

Pathway to 21st Century Skills; Collaboration and Cooperation in 

21st Century Schools; 200+ Active Learning Strategies and Projects 

for Engaging Students’ Multiple Intelligences; และ A Guide to Graphic Organizers: Helping Students Organize and Process Content for 

Deeper Learning 

รอนแบรนต์รอน แบรนต (Ron Brandt, Ed.D.) เปนบรรณาธกิารสิ ่งพิมพ ใหกับ

สมาคม���ากับดแูลและพัฒนาหลักสตูร (Association for Supervision andCurriculum Development หรือ ASCD) เมืองอเล็กซานเดรยี รัฐเวอรจเินียเปนเวลาเกือบ 20 ปกอนเกษียณในป 1997 ในระหวาง���างานที ่ ASCD

เขาเปนที ่ร ูจักในฐานะบรรณาธิการบริหารของนิตยสาร Educational 

Leadership  ในชวงทศวรรษ 1980 เขาสงเสรมิการสอนใหร ูจักคิดในระดับประถมและมัธยมศึกษา โดยรวมมือกับโรเบริต มารซาโน (Robert Marzano)และทีมนักการศึกษา���าหนังสือ Dimensions of Thinking  และ���าราฝกอบรมครู Dimensions of Learning  นอกจากนี  ้แบรนตยังเปนผ ูแตงหรือเปนบรรณาธิการใหกับหนังสือ���านวนมาก กอนรวมงานกับ ASCDเขาเคยเปนครแูละหัวหนาครทีู ่เมืองราซนี รัฐวิสคอนซนิ เปนผู ���านวยการฝายพัฒนาบุคลากรที ่ เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา และเปนผู ชวยผู ���านวยการเขตการศึกษาที ่เมืองลงิคอลน รัฐเนแบรสกา

Page 13: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 13/49

 

18  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

เหลานักการศึกษา���าลังเผชิญหนากับความทาทายครั  ้งใหญ

อีกครั   ้ ง นั ่นคือการปลูกฝงทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ใหแกนักเรียน มีนักวิจารณที ่ตอตานแนวคิดนี  ้ดวยเกรงวาการเนนทักษะอยางเชนการคิดเชิงวิพากษและการแกไขปญหาอาจลดทอนการสอนเนื  ้อหาที ่���าคัญอยางเชนประวัติศาสตรและวรรณคดี ความกังวลเหลานี  ้อาจฟงดมีูเหตุผลแตการยืนกรานวา “ทักษะไม ใชสิ ่งที ่สอนหรือ���าไปประยุกต ใชอยางไดผลหากปราศจากความรู พื  ้นฐานในวิชาตางๆ”[1] นั  ้นไมถูกตอง ทั  ้งความรู  และ ทักษะลวน���าเปนและอาศัยซ ่ึงกันและกัน ซ ่ึงทั  ้งฝายที ่สนับสนนุและฝายที ่วิจารณตางเหน็พองในเร ่ืองนี  ้ ผ ูเขียนที ่ปรากฏในหนังสอืเลมนี  ้ทุกคนทราบจากประสบการณวา การสอนที ่มีประสทิธผิลนั  ้นตอง���าใหนักเรยีนใชทักษะเพื ่อแสวงหาความรู ดวยตนเอง

คนทุกยุคทุกสมัยไมอาจเล ่ียงความรับผิดชอบในการตัดสินใจวา

อะไรคือสิ ่งที ่นักเรียนควรเรียนร ู โดยวิเคราะหจากสิ ่งที ่คนร ุนกอนประสบมา สหรัฐอเมรกิาในยุคแรกๆ ประชากรในเขตนวิอิงแลนดถูกสอนใหคิดเลข

��� า��� า

รอนแบรนต์

Page 14: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 14/49

 

19 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

งายๆ เขียนจดหมาย และอานคัมภีรไบเบิล พอเขาส ู ทศวรรษ 1900เมื ่อเกษตรกรรมเจริญมากขึ   ้ น โรงเรียนมัธยมในเขตชนบทเร ่ิมสอนอาชีพการเกษตร และพอมีเทคโนโลยีเขามาเชนในปจจุบัน โรงเรียนก็ตองเพิ ่ม

วิชาวิทยาศาสตรและคณิตศาสตรความ���าเปนของการศึกษาที ่เช ่ือมโยงกับความตองการของสังคม

ถูกลอเลียนไว ในหนังสือเลมเล็กนาอานซึ ่งตีพิมพเมื ่อ 70 ปที ่แลว หนังสือเลาวาในยุคหินเกา���าไมโรงเรียนตองหันมาสอนวิธีจับปลาและขู เสือเขี  ้ยวดาบ[2] จดุมุ งหมายของหนังสอืเลมนี  ้ ไม ใชการลอเลียนความพยายาม

 ในการ���าหลักสตูรใหเขากับความตองการของสังคม แตเปนการใชอารมณขันเพื ่อเตือนใหเห็นความยาก���าบากของการกระ���าดังกลาว ตัวอยางเชนเมื ่อนกัการศึกษาในยุคหินเกาตัดสินใจสอนวิชาขู  เสือ พวกเขาหาไดแตเสือชราสองตัวที ่ ไรพิษสงมาใหนักเรียนฝกขู 

ความพยายามที ่จะคาดหมายความตองการของนักเรยีนในอนาคต ไมใชเร ่ื องของการ���าตามกระแส แตเปนเรื ่องที ่���าเปนตอง���า แนนอนวา

นี ่เปนแคการเริ ่มตน สวนที ่ยากยิ ่งกวาคือ หนึ ่ง หาวาความตองการแบบใหมนี  ้เขากับหลักสตูรที ่มีอยู อยางไร และ สอง หาวิธทีี ่จะสอนส ่ิงนั  ้นควบคู ไปกับ เนื ้ อหา แลวคอยจัดการกับขั  ้นตอนอันซับซอนของการ���าไปปฏบิัติ เจตนาของหนังสอืเลมนี  ้ก็เพื ่อชวยผู อานจัดการกับภาระอันยิ ่งใหญนี  ้ และเชนเดยีวกับชาวยุคหินเกาในหนังสือของเบนจามิน เราอาจไมบรรลุความพยายามเหลานี  ้ ไดทั  ้งหมด แตเราตองนอมรับความทาทายที ่เกิดขึ  ้น

 บรรณานกุรม

[1] Common Core. (2009). A challenge to the Partnership for 21st Century Skills.Accessed at www.commoncore.org/p21-challenge.php on November 5, 2009.

[2] Benjamin, H. R. W. (1939). The saber-tooth curriculum. New York:McGraw-Hill.

Page 15: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 15/49

 

20  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

บท��� า

แนวคิดรเิริ ่มของการเปลี ่ยนแปลงครั  ้งใหญ ในภาคสวนที ่���าคัญของสังคมมักเกิดขึ  ้นจากคนนอก เชนเดียวกับการเคล ่ือนไหวที ่ร ูจักกันในช ่ือ“ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21” ซ ่ึงสนับสนุนโดยภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 สมาชิกของภาคีฯ ประกอบดวยบรษัิทขนาดใหญ องคกรวิชาชีพระดับประเทศ และ���านักงานดานการศึกษาของรัฐ หนวยงานเหลานี  ้มีความกังวลเพราะเลง็เหน็ความ���าเปนที ่ประชาชนจะตองมีทักษะที ่ยังประโยชน ได เกินกวาทักษะที ่เนนในโรงเรียนทุกวันนี   ้ ผู ���าที ่ ไดรับเลือก รวมทั  ้งประธานาธิบดีโอบามา และผ ูวาการรัฐ���านวนมากตางเห็นพองวาการเปล ่ียนแปลงนี  ้เปนส ่ิ ง���าเปน ถาตองการเห็นนักเรียนอเมริกันมีศักยภาพพอที ่จะแขงขันในตลาดงานระดับโลก

เพื ่อบรรลเุปาหมายดังกลาว ภาคีฯ ไดแจงรายละเอียดของกรอบ

ความคิดเพื ่อการเรียนรู ในศตวรรษที ่ 21 ซึ ่งอยากเห็นทุกรัฐรับไปใชเปนวาระ���าเพื ่ อปรับปรุงการสอน (ดูแผนภาพ ก.1 ในบทเกร ่ิน���าของเคนเคย ประธานภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21) การพลิกโฉมนโยบายของรัฐที ่เขารวมคาดวาจะเริ ่มตนจากการเปลี ่ยนแปลงมาตรฐานการศึกษา ในปจจบุันกอน และในขั  ้นตอไป ภาคีฯ ตองการเหน็แนวปฏบิัติที ่สอดคลองกับมาตรฐานใหมซึ ่งจะสงผลใหนักเรยีนสามารถพัฒนาทักษะที ่���าเปนขึ  ้นได

อันที ่ จริง แนวปฏิบัติที ่หวังผลลัพธดังกลาวเร ่ิมปรากฏใหเห็นมากขึ   ้ น ครู หัวหนาครู หัวหนาเขตการศึกษา และกรรมการบริหาร

เจมส์เบลลนกาและรอนแบรนต์

Page 16: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 16/49

 

21 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

 โรงเรียนที ่รับกรอบความคิดนี  ้ไปใชกอนใครก็เร ่ิ มจะเห็นผล ครูบางคน ไดเปล ่ียนแปลงหองเรียนใหเปนสถานที ่���าหรับเรียนรู ที ่เพียบพรอมดวยเทคโนโลยี นักเรียนในชั  ้นไดลองสิ ่งใหม ได���าโครงการ เส ่ียงตัดสนิใจ และแก ไขปญหาที ่���าคัญ

แมวาโรงเรียนที ่ปรับตัวเขาสู วาระของทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ยังมี���านวนนอยกวาโรงเรยีนที ่ยังยึดติดกับแนวปฏบิัติและเนื  ้อหาของศตวรรษ ที ่ 20 แตการเปลี ่ยนแปลงก็เร ่ิมปรากฏขึ   ้ นบางแลว โดยเฉพาะในรัฐที ่เปนสมาชิกของภาคีฯ ในบางรัฐผ ู���าของการเปล ่ียนแปลงคือโรงเรียนใน

���ากับของรัฐที ่พยายามหลบหนีจากโมเดลการเรียนการสอนแบบ “เดิมๆ”ขณะที ่ในบางรัฐผ ู���าของการเปลี ่ยนแปลงคือโรงเรียนรัฐที ่นิยามความสัมพันธระหวางการเรยีนและการสอนขึ  ้นมาใหม

 ในระดับเขตการศึกษา การปฏิรปูโดยรวมสู การเรยีนรู  ในศตวรรษ ที ่ 21 ตองเผชญิกับความทาทายอยางยิ ่ง ในเมืองทูซอน รัฐแอริ โซนา และเมืองวอเรนวิลล รัฐอิลลินอยส ผู ���าของโรงเรยีนตั  ้งแตกรรมการบรหิารและ

ฝายบรหิารสวนกลาง ไดเผยวิสัยทัศนเร ่ืองการเรยีนรู  ในศตวรรษที ่ 21 และแผนเชิงยุทธศาสตรในระดับเขตแกสาธารณชน แผนการเหลานี  ้ผลักดัน ใหเกิดการปฏิบัติอยางเปนขั   ้ นตอน ซึ ่งไดแกการออกแบบตึกเรียนใหมการเปลี ่ยนหลักสตูร การพัฒนาทางวิชาชีพในระยะยาว���าหรับผู ���าและคร ูและการบรูณาการเทคโนโลยี ในแตละโรงเรยีน

  ในระดับรัฐ เวสตเวอรจิเนียซึ ่งเปนรัฐที ่สนับสนุนทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ตั  ้งแตแรกไดชักชวนใหกระทรวงศึกษาธิการของรัฐตางๆเขารวมการสงเสรมิทักษะศตวรรษใหม เวสตเวอรจเินียไดสรางเว็บไซตที ่ ใชงานงายชื ่อวา Teach 21 (http://wvde.state.wv.us/teach21/) โดยเสนอมาตรฐานสมรรถภาพ���าหรับศตวรรษที ่ 21 อันประกอบดวยแนวการสอนแผนหนวยการเรียน และแนวคิดตัวอยาง���าหรบัการเรียนรู จากโครงการ

ซึ ่งครอบคลุมเนื  ้อหาและสาขา���าหรับผู ที ่ ตองชวยเหลือเปนพิเศษ และ ไดจัดเตรียมกล ุมผู ���าครูที ่คอยชวยเหลือผู ที ่ใชวิธีการเรียนร ูผานโครงการ

Page 17: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 17/49

 

22  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

ตลอดทั  ้งปการศึกษา ครูและโรงเรยีนตางๆ อาทิ โรงเรยีนประถมประ���าเขตวอชิงตันในเมืองบูแคนนอนถูกกระตุ นใหทบทวนวิธีการสอนและการประเมินใหสอดคลองกับแนวปฏิบัติของทรัพยากรที ่มีมากมายนี   ้ และ���าการเรยีนรู จากโครงการไปใช ในการสอนประ���าวัน

รัฐอิลลินอยสเลือกใชวิธีการที ่ ตางออกไป เมื ่อกรรมาธิการดานการศึกษาแหงรัฐอิลลินอยสเขาเปนสมาชิกของภาคีฯ อยางเปนทางการกล ุมผ ู���าภาคการศึกษาและภาคธุรกิจไดตั  ้งกล ุมความรวมมืออิสระเพื ่อดึงเขตการศึกษาใหเขามารวมวางแผนการ���ากรอบความคิดของภาคีฯ

 ไปปฏบิัติ วิสัยทัศนของกล ุมความรวมมือในรัฐอิลลินอยสนี  ้มีแผนการที ่จะสรางความรวมมือระหวางเขตตางๆ เพื ่อการพัฒนาทางวิชาชพีในระยะยาวและการเปลี ่ยนแปลงโดยรวมในโรงเรียนที ่ เปนสมาชิก แกน���าของกลุ มความรวมมือซึ ่ง���างานใกลชิดกับเจาหนาที ่ ของคณะกรรมาธิการฯ ���าลังเชื ่อมโยงกระบวนการ “จากลางขึ  ้นบน” ของตนเขากับแผน���าหนดทิศทางของคณะกรรมาธกิารฯ ชื ่อของกระบวนการดังกลาวเกิดขึ  ้นที ่ โรงเรยีนมัธยม

นวิไทรเออรอีสต (New Trier East) เมืองวินเนทกา รัฐอิลลนิอยส และตั  ้งชื ่อ  โดยแมรี ไอดา แมคไกวร (Mary Ida Maguire) ผู ชวยผ ู���านวยการเขตการศึกษาในตอนนั   ้ น กระบวนการจากลางขึ  ้นบนสนับสนุนใหกล ุมตางๆอาทิ ครู ผ ู ปกครอง และผู  บริหาร ชวยกันออกความเห็นเร ่ืองส ่ิงที ่ตองปรับปรุงเพื ่ อจัดสรรงบในปการศึกษาถัดไป ความเห็นที ่ดีที ่สุดของแตละกลุ มจะอยู อันดับบน คณะกรรมการซ ่ึงประกอบดวยสมาชกิที ่สุ มเลือกจากกลุ มตางๆ จะ���าหนดเกณฑ คัดเลอืกความคิดที ่ดทีี ่สดุ และ���าขอเสนอตอกรรมการจัดสรรงบประมาณโรงเรยีน คณะกรรมการของกลุ มความรวมมือ30 คนใชกระบวนการจากลางขึ  ้นบนนี  ้ในการ���าหนดโครงการนวัตกรรมที ่สมควรไดรับเงินเพื ่อ���าเนินการ

 ในระดับประเทศ มีองคกรวิชาชีพตางๆ ���านวนหนึ ่งที ่รวมมือกับ

ภาคีฯ แตที ่โดดเดนที ่ สุดคือ สภาครูภาษาอังกฤษแหงชาติ (NationalCouncil of Teachers of English), สมาคมครูวิทยาศาสตรแหงชาติ

Page 18: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 18/49

 

23 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

National Science Teachers Association), สภาสังคมศึกษาแหงชาติ(National Council for Social Studies) และสมาคมหองสมุดแหงสหรัฐอเมรกิา (American Library Association) องคกรเหลานี  ้ ไดรวมมือกับภาคีฯ ในการพัฒนาแนวทาง���าหรับทรัพยากรทางออนไลนเพื ่อบรูณาการทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 เขาไปในเนื  ้อหา องคกรอื ่นๆ เชน สมาคมการศึกษาแหงชาติ (National Education Association) และสมาคม���ากับดแูลและพัฒนาหลักสูตร (Association for Supervision and CurriculumDevelopment) ได���าเนนิการเพื ่อชวยยกระดับการรับรู ของสมาชกิ

เราขอเริ ่มตนดวยการอธบิายวิสัยทัศนที ่จัด���าโดยภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 เราตระหนักดวีาหนังสือรวมรวมบทความเลมนี  ้ไมใชบทสรปุของการศึกษาในหัวขอดังกลาว แตเราเชื ่อมั ่นวานี ่คือกาวที ่���าคัญอีกกาวหนึ ่ง

ภารกิจแรกของเราในการคิด���าหนังสือเลมนี   ้ คือ ���าหนดประเด็นหลักที ่จะ���าไปสู  การสนทนา จากนั  ้นจึง���าหนดตัวผู เขียนที ่

ค��� ่าหวอดในวงการและมีสายตากวางไกลเพื ่อกลาวถึงประเดน็ที ่���าหนดไว เราขอใหพวกเขาชวยตอบ���าถามพื  ้นฐานสามขอที ่จะชวยอธิบายแนวคิด���าคัญของทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ดังนี  ้ (1) เหตุ ใดทักษะที ่ระบุ ในกรอบความคิดจงึ���าเปนตอการเรยีนรู  ในอนาคต (2) ทักษะใดที ่���าคัญที ่สดุ และ(3) เรา���าอะไรไดบางที ่จะชวยผลักดันใหโรงเรียนบรรจุทักษะเหลานี  ้ในรายการสอนเพื ่อใหการเรยีนรู ���าหรับศตวรรษที ่ 21 บังเกิดผล

สรุปความของบทตางๆ ที ่ปรากฏในหนังสือ ในบทเกริ ่น���า เคน เคย ประธานภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21

���าเสนอกรอบความคิดเพื ่อการเรยีนรู  ในศตวรรษที ่ 21 ซึ ่งภาคีฯ พยายามผลักดัน เขาตอบ���าถามหลักสามขอขางตนและสนับสนุนการปรับเปล ่ียน

การสอนและการเรยีนรู  ใหสัมพันธกันโดย���านึงถึงผลลัพธที ่จะเกิดขึ  ้น ในบทที ่ 1 เฮาเวิรด การดเนอร กลาวถึงจติ 5 ลักษณะที ่สังคมควร

Page 19: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 19/49

 

24  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

ปลกูฝงในคนรุ นถัดไป โดยมีสามลักษณะที ่เกี ่ยวของกับการรับรู  และอีกสองลักษณะที ่เกี ่ยวของกับมนษุย การดเนอรอธบิายลักษณะ���าคัญของจติแตละลักษณะ ใหเห็นวาเกิดขึ  ้นไดอยางไร และอาจถูกบิดเบอืนไดอยางไร เขาสรปุดวย���าแนะ���าวาลักษณะทั  ้งหาของจตินาจะหลอมรวมกันเปนหนึ ่งเพื ่อสนับสนุนการเติบโตของมนษุย ไดอยางไร

 ในบทที ่ 2 ซึ ่ งเปนการสัมภาษณลินดา ดารลิง-แฮมมอนด เธอเรียกรองใหมีการปรับนโยบายครั  ้งใหญเพื ่อใชเปนแนวทางในการพัฒนา โรงเรียน���าหรับศตวรรษที ่ 21 โดยแนะ���าใหปรับเปลี ่ยนมาตรฐาน,

หลักสูตร, วิธีการสอนและการประเมินไปในทิศทางเดียวกัน สรางความเขมแข็งทางวิชาชีพในหมู ครแูละผู บรหิารโรงเรยีน ปรับเปลี ่ยนตารางเวลา ใหครูมีสวนรวมในการตัดสินใจทางวิชาชีพมากขึ   ้ น และจัดสรรทรัพยากร ใหแก โรงเรยีนตางๆ อยางเทาเทียม เธอ���าชับใหสหรัฐอเมรกิาใชแนวทางที ่สมดลุมากขึ  ้นในการปฏริปูโรงเรยีน และเห็นวาการเปลี ่ยนแปลงเหลานี  ้ ���าเปนอยางยิ ่งหากสหรัฐฯ ตองการกอบกู ความเปนผู ���าดานการศึกษา

 ในบทที ่ 3 ครสิ ดดีี  ้ เปรยีบเทียบทักษะ���าคัญตางๆ ���าหรับศตวรรษ ที ่ 21 โดยตั  ้ง���าถามวา “���าวาทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 นั  ้นมีนิยามที ่หลากหลายเพียงใด” เขาตั  ้งขอสังเกตวาความไมชัดเจนของ���าวาทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 อาจเปนปญหา การตรวจสอบของเขาจึงใหความกระจางวากรอบความคิดทั  ้งหลายนั  ้นมีอะไรที ่เหมือนกัน และมีอะไรบางเปนจดุตางที ่ชวยเสรมิแนวคิดความหมายใหกับแนวคิดที ่���าลังมีอิทธพิลนี  ้

 ในบทที ่ 4 ริชารด และรีเบ็กคา ดูโฟร อภิปรายเรื ่องถึงสภาพแวดลอมในโรงเรยีนที ่���าเปนตอการสอนทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 พวกเขาสังเกตวา สภาพแวดลอมที ่เหมาะสมที ่สุด���าหรับการสอนทักษะชีวิตและทักษะการ���างานอยางที ่ภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ตองการ คือชุมชนการเรียนร ูวิชาชีพที ่เปนตนแบบของทักษะเหลานั   ้ น พวกเขาเชื ่อ

วาชุมชนดังกลาวคือเคร ่ืองมือ���าคัญที ่จะสรางความเปล ่ียนแปลงอยางที ่ผ ูสนับสนุนทักษะฯ อยากจะเห็น

Page 20: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 20/49

 

25 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

 ในบทที ่ 5 โรบนิ โฟการตี และไบรอัน พีท กลาวถึงประเทศสงิคโปร ที ่ซ ่ึงพวกเขา���างานเปนที ่ ปรึกษาดานการศึกษาใหกับโครงการ “สอนใหนอยลง เรียนร ู ใหมากขึ  ้น” (Teach Less, Learn More) โฟการตีและพีทเลาความคิดและความร ูสกึของครูที ่ลังเลวาจะเลือกอะไร ระหวางวิธเีดมิๆ แบบ���านาจนิยมที ่ เนนการแขงขัน กับวิธีแบบใหมที ่ใหนักเรียน���างานเปนทีมและตัดสนิใจรวมกัน ซ ่ึงชวยกระตุ นใหนักเรยีนเขาใจไดมากกวาการทอง���า

 ในบทที ่ 6 บ็อบ เพิรลแมน พาเราชมอาคารเรียนที ่ออกแบบมาเพื ่อสนับสนุนการเรียนร ู รวมกัน และชี  ้ใหเห็นวาการออกแบบสไตลกลอง

สี ่เหล ่ียมอยางที ่เราคุ นเคยในปจจุบันเหมาะกับโมเดลของโรงงานที ่ลาสมัย ไปแลว เขาแสดงใหเหน็วาในการออกแบบอาคารเรยีนแบบใหมตอง���านงึถึงประโยชนกอนรูปแบบ ซ ่ึงประโยชนที ่วาในความหมายปจจุบันคือการมีสวนรวม การแก ไขปญหา และการส ่ือสาร

 ในบทที ่ 7 เจย แม็คไท และเอลเลียต ซีฟ พยายามตอบ���าถามวา เราจะรวมผลลัพธที ่พึงประสงค���าหรับศตวรรษที ่ 21 เขาไปในหลักสตูร

ที ่อัดแนนซ ่ึงตกคางมาจากศตวรรษกอนไดอยางไร โดยใชแนวทางอยางเปนระบบที ่ ใชประโยชนจากหลักและแนวปฏิบัติของแนวทางการออกแบบการเรียนร ูเพื ่อสรางความเขาใจ ผ ูเขียนแสดงองคประกอบหลักที ่สัมพันธกัน 5 ประการ ซ ่ึงไดแก (1) พันธกิจดานการสอน (2) หลักในการเรยีนรู  (3) หลักสูตรและระบบประเมินผล (4) โปรแกรมการสอนและแนวปฏิบัติ (5) ปจจัยสนับสนุนโดยรวม ผ ูเขียน���ารวจองคประกอบแตละอยาง และเสนอแนะวิธีที ่โรงเรียนและเขตการศึกษาสามารถ���าไปปรับปรุงองคกรจนสามารถ���าแนวคิดนี  ้ ไปปฏบิัติ ในการเรียนการสอนเพื ่อสรางทักษะแหงศตวรรษใหม ใหแกนักเรียนทุกคน

 ในบทที ่ 8 จอหน แบเรลล แสดงใหเห็นวาการเรียนรู จากปญหาเปนวิธีการที ่ดทีี ่สดุในการพัฒนาทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 เขาอธิบายวิธทีี ่

ครูจะสามารถปรับเปล ่ียนหลักสูตรจากวิธีที ่สอนอยู ฝายเดยีวไปส ูการสอนที ่เปดใหนักเรยีนมีสวนรวมในการแก ไขปญหาและตั  ้ง���าถาม ตัวอยางเชิง

Page 21: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 21/49

 

26   ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

รปูธรรมของเขาแสดงใหเห็นวาการสบืคนจากปญหาสามารถปรับใช ไดกับนักเรยีนทุกวัย ทุกระดับความสามารถ และที ่มีปญหาในการเรยีนทุกรปูแบบ

 ในบทที ่ 9 เดวิด จอหนสัน และโรเจอร จอหนสัน ชี  ้ ใหเห็นความทาทาย���าคัญ 4 ประการในศตวรรษที ่ 21 ซ ่ึงไดแก (1) การพึ ่งพากันในระดับโลกที ่มากขึ  ้น (2) ���านวนประเทศประชาธปิไตยที ่เพิ ่มขึ  ้น (3) ความตองการผ ูประกอบการที ่มีหัวสรางสรรค (4) ความ���าคัญของความสัมพันธระหวางบุคคลที ่มีตอการพัฒนาอัตลักษณส วนบุคคล ทั  ้งสองอภิปรายวาเหตุ ใดการเรยีนรู แบบรวมมือ การพิพาทเชงิสรางสรรค และการตอรองเพื ่อ

แกไขปญหา จึงมีบทบาทอยางยิ ่งในการสอนนักเรียนใหมีความสามารถและคุณคาที ่���าเปนตอการรับมือความทาทายเหลานี   ้ เพื ่อ���าไปสู ชีวิตที ่สรางสรรคและสมบรูณ

 ในบทที ่ 10 ดักลาส ฟเชอร และแนนซี เฟรย อธิบายวิธกีารสามอยางที ่ครสูามารถใชรับมือกับความกาวหนาทางเทคโนโลยีที ่เปลี ่ยนแปลงอยางสุดขั  ้วและความตองการของนักเรียนในศตวรรษที ่ 21 วิธีดังกลาว

  ไดแก (1) การพิจารณาหนาที ่การใชงานมากกวาตัวเคร ่ื องมือ (2) การทบทวนนโยบายดานเทคโนโลยี และ (3) การพัฒนาความคิดของนักเรียนผานการสอนอยางจงใจ

 ในบทที ่ 11 เชอริล เลมกี แนะ���านวัตกรรม 3 อยางที ่���าคัญของการเรยีนร ูแหงศตวรรษที ่ 21 ซ ่ึงไดแก การ���าใหเห็นภาพ การ���าความรู  ใหเปนประชาธิปไตย และวัฒนธรรมการมีสวนรวมในการเรยีนร ู เธอสาธติ ไดอยางนาประทับใจใหเห็นถึงวิธีที ่เทคโนโลยีจะชวยใหเกิดความสมดุลระหวางแนวทางของการใชภาพกับการส ่ือสารแบบเดมิที ่ ใชภาษาเปนหลัก

 ในบทที ่ 12 อลัน โนเวมเบอร ตอก���  ้าเหตุผลของเพิรลแมนในการออกแบบโรงเรียนขึ  ้นมาใหม โดยชี  ้ขอควรระวังในการใชเทคโนโลยีราคาแพงเพื ่อสืบทอดแนวโนมในการมองโรงเรียนในฐานะผ ูดูแลดานการเรียนร ูของ

นักเรยีน เขากลาววาถึงเวลาแลวที ่เราไมเพียงแตจะตองออกแบบโครงสรางทางกายภาพของโรงเรยีนเทานั  ้น แตตองรวมไปถึงวัฒนธรรมของโรงเรยีน

Page 22: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 22/49

 

27 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

ดวย เทคโนโลยี���าใหนักเรียนสามารถพึ ่งพาโรงเรียนนอยลงและมีความรับผดิชอบจัดการเรื ่องการเรยีนรู ของตนเองไดมากขึ  ้น

 ในบทที ่ 13 วิล ริชารดสัน เรียกรองใหเราหันมาสนใจเทคโนโลยีเครือขายทางสังคมที ่ ไดรับความนยิมอยางลนหลาม โดยกลาววาภมิูทัศน ใหมอันทรงพลังนี  ้แมจะมีปญหามากมาย แตก็มีศักยภาพในการสรางการเรียนร ูไดอยางมหาศาล เขาอธิบายถึงความนิยมของชั  ้นเรียนเสมือนในระดับโลก, ความทาทายของการเรยีนรู แบบไรขอ���ากัดจากชั  ้นเรยีนเสมือน,ศักยภาพและหลุมพราง และหนทางที ่นักการศึกษาจะสามารถเปล ่ียน

 ไปส ูความร ูพื  ้นฐานดานเครือขายเพื ่อปรับปรุงคุณภาพของประสบการณการเรยีนรู  ใหแกนักเรียน ในบทที ่ 14 ดักลาส รีฟส ชี  ้ปญหาอันทาทายของการประเมิน เขา

แยงวาเราจะวัดทักษะตางๆ ที ่ผ ูสนับสนุนทักษะศตวรรษที ่ 21 ตองการ ไดอยางถูกตองก็ตอเมื ่อเราทิ  ้งการทดสอบแบบมาตรฐานเทานั  ้น เขาเสนอเกณฑ 3 อยางเพื ่อ���าหนดวิธีที ่นักการศึกษาจะสามารถร ูไดวานักเรียน

���าลังเรยีนร ูเนื  ้อหาและทักษะของศตวรรษที ่ 21 หรอืไม และแสดงใหเหน็วาเกณฑเหลานี  ้���าไปใช ในทางปฏบิัติ ไดอยางไร

  ในบทสงทาย แอนดี ฮารกรีฟส สรุปหนังสือเลมนี  ้ดวยการตั  ้ง���าถามเกี ่ยวกับการเคล ่ือนไหวเพื ่อสนับสนุนทักษะแหงศตวรรษที ่ 21เขาใชการเปรยีบเปรยเพื ่ออธบิายประวัติความเปนมาของการเปล ่ียนแปลง ในระบบการศึกษาทั  ้งที ่เกิดขึ   ้ นแลวและนาจะเกิดในอนาคต เขาแบงพัฒนาการดานการศึกษาออกเปนระยะตางๆ และเรียกการมุ งเนนทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 วาเปนหนทางที ่สาม เขาแจกแจงผลลัพธ ในเชิงบวกและลบที ่เกิดขึ   ้ นจากหนทางกอน และมองไปขางหนาถึงหนทางที ่ส ่ีที ่นาปรารถนายิ ่งกวา

Page 23: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 23/49

 

28  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

เคนเคย์

เคน เคย (Ken Kay, JD) ใชเวลา 25 ปที ่ผานมาสรางความรวมมือระหวางชมุชนดานการศึกษา ธรุกิจ และนโยบาย เพื ่อปรับปรงุความ

สามารถในการแขงขันของสหรัฐอเมริกา เขาเปนประธานภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) ซ ่ึงเปนองคกรระดับแนวหนาของประเทศที ่ผลักดันใหบรรจุทักษะแหงอนาคตเขาไปในระบบการศึกษา รวมถึงเตรยีมความพรอมใหเดก็ทุกคนประสบความ���าเรจ็ภายใตระบบเศรษฐกิจโลกใหม เขายังเปนผู บรหิารสงูสดุและผู รวมกอตั  ้งบรษัิทที ่ปรกึษาดานการศึกษาชื ่อ e-Luminate Group

ตลอดชวิีตการ���างาน เคยคือเสยีงสนับสนุนหลักและเปนผู กอตั  ้งกล ุม���างานที ่จับประเด็นเร ่ืองความสามารถในการแขงขันดานการศึกษาและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะนโยบายและแนวปฏิบัติที ่สนับสนุนนวัตกรรมและความเปนผู ���าทางเทคโนโลยี ในฐานะกรรมการบรหิารของเวทีผ ูบรหิารดานการศึกษาและเทคโนโลยี (CEO Forum on Education and Technology)

เขาเปนผู ���าในการพัฒนาแผนผังแนวทางการใชเทคโนโลยีและการเตรยีมความพรอมในโรงเรียน (School Technology & Readiness Guide

Page 24: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 24/49

 

29 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

หรอื StaR Chart) ที ่ โรงเรียนท ่ัวประเทศ���าไปปฏบิัติเพื ่อปรับปรุงการใชเทคโนโลยี ในชั  ้นเรยีนระดับ K-12 (ระดับอนุบาลจนถึงเกรด 12) นอกจากนี  ้  ในฐานะนักกฎหมายและผ ูสรางกล ุ ม���างานระดับชาติ เขาชวยเหลือ โครงการที ่เสนอโดยมหาวิทยาลัยและผ ู���าดานเทคโนโลยี ในการพัฒนางานวิจัยและนโยบายใหเกิดความกาวหนา รวมทั  ้งโครงการที ่เสนอโดยผ ูบรหิารสงูสดุในภาคอุตสาหกรรมคอมพิวเตอรเพื ่อพัฒนานโยบายดานการคาและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา

 ในบทเกร ่ิน���านี   ้ เคย���าเสนอกรอบความคิดเพื ่อการเรียนร ูใน

ศตวรรษที ่ 21 ที ่กล ุ มของเขาสนับสนุน เคยตอบ���าถาม���าคัญ 3 ขอ(1) เหตุใดทักษะในกรอบความคิดฯ จึง���าคัญตอการเรียนรู ในอนาคต(2) ทักษะใด���าคัญที ่สดุ และ (3) ตอง���าสิ ่งใดเพื ่อผลักดันให โรงเรยีนบรรจุทักษะเหลานี  ้ในรายการสอนเพื ่อใหการเรียนร ู���าหรับอนาคตบังเกิดผลเขายังสนับสนุนการปรับเปล ่ียนการสอนและการเรียนรู ใหสัมพันธกันโดย���านงึถึงผลลัพธที ่จะเกิดขึ  ้น

Page 25: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 25/49

 

บทเกร น��� า

ทกษะแห ่งศตวรรษที 21:��� าคญอย ่างไรคืออะไรและจะ��� า��� าเร จได้อย ่างไร

เคน เคย ์

ประธานภาคีเพือทักษะแห่งศตวรรษที 21

Page 26: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 26/49

 

31 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

นักเขียนนามวา มัลคอล์ม แกลดเวลล์[14] ได อธิบายไว อยาง

ชาญฉลาดวาการเปล ่ียนแปลงทางสังคมเกิดขึ  ้นไดอยางไรและเพราะเหตุ ใดเมื ่อเรามาถึง “จุดพลิกผัน” ซ ่ึงเปนเวลาที ่เหตุการณตางๆ มาบรรจบกันในภาวะที ่พรอมจะ���าเราไปส ูเสนทางใหมที ่ ไมอาจหยุดยั  ้งได นักวิทยาศาสตร นักเศรษฐศาสตร และนักสังคมวิทยา ตางใช���านี  ้อธิบายชวงเวลาที ่มีการเปล ่ียนแปลง���าคัญเกิดขึ   ้ น และ���าใหเกิดสิ ่งใหมที ่แตกตางจากเดิมอยางชัดเจน

ผมเช ่ือวาเรา���าลังอยู ตรงขอบของจุดพลิกผันในการศึกษาที ่รัฐ���าเนนิการ ชวงเวลาอันใกล���าหรับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที ่ 21 ซ ่ึงจะชวยเตรียมนักเรียนใหพรอมรับมือกบัขอเรียกรองของการเป นพลเมืองการเปนนักศึกษามหาวิทยาลัย และการเปนผ ูประกอบวิชาชีพอยางที ่ตองการในสหัสวรรษใหมนี  ้

ผมร ูสึกเปนเกียรติที ่บรรณาธิการขอใหผมเขียนบทเกร ่ิน���า���าหรับหนังสือเลมนี   ้ และใหผมบรรยายแนวคิด���าคัญโดยรวมของทักษะ

Page 27: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 27/49

 

32  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

แหงศตวรรษใหมโดยใช “กรอบความคิดเพื ่อการเรียนร ูในศตวรรษที ่ 21”ที ่พัฒนาขึ  ้นโดยภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 (Partnership for 21stCentury Skills)[23] หนังสอืเลมนี  ้รวบรวมงานเขียนที ่สะทอนความเปนไปได ตางๆ ของการเรยีนร ูที ่���าเปนในศตวรรษที ่ 21 โดยผู ที ่ ใส ใจระบบการศึกษา ในสหรัฐอเมริกา เปนเร ่ืองนายินดีที ่บุคคลเหลานี  ้หลายทานมีสวนในการคิดและผลักดันใหเกิดแนวทางอันเขมแข็งที ่ใหการศึกษาแกคนหน ุมสาว โดยเฉพาะอยางยิ ่งเมื ่อสมาชิกบางทานของภาคีฯ ไดรวมงานกับโครงการอันนาตื ่นเตนนี  ้มาตั  ้งแตป 2001

วิสัยทัศน���าหรับการเรยีนรู  ในศตวรรษที ่ 21 ซึ ่งพัฒนาโดยภาคีฯ(สรุปไวในภาพที ่ ก.1) ���าเสนอบริบทที ่นาสนใจซ ่ึงเกี ่ยวพันกับเนื  ้อหาที ่ปรากฏในหนังสือเลมนี   ้ วิสัยทัศนนี  ้เสนอความคิดองครวมอยางเปนระบบเพื ่อใชปรับแนวคิดและฟ  นฟูการศึกษาของรัฐขึ  ้นมาใหม โดย���าองคประกอบทั  ้งหมดมารวมกัน ทั  ้งผลการเรยีนรู ของนักเรยีนและระบบสนับสนนุการศึกษาในศตวรรษที ่ 21 ใหกลายเปนกรอบความคิดรวม ���าหรับเรา

ทุกคนแลวจุดเร ่ิมตนที ่แทจริง���าหรับกรอบความคิดนี  ้คือผลลัพธสุดทายน ่ั นคือ สิ ่งที ่ นักเรียนควรไดรับ (ในแงของความเชี ่ยวชาญในวิชาแกน,แนวคิด���าคัญในศตวรรษที ่ 21 และทักษะแหงศตวรรษที ่ 21) หลังจากจบการศึกษาเพื ่อกาวสู การศึกษาระดับสงู, การ���างาน และการ���ารงชวิีตอยางอิสระ เรา���าเปนตองเขาใจผลลัพธเหลานี  ้กอนที ่จะเริ ่มสรางโครงสรางพื  ้นฐานที ่จะชวยยกระดับการศึกษาให ไปถึงจดุที ่ตองการ เหตุผลที ่มีระบบสนับสนนุการศึกษา (มาตรฐานและการประเมินผล), หลักสตูรและการสอน,การพัฒนาทางวิชาชพี และสภาพแวดลอมในการเรยีนรู  ก็เพื ่อบรรลผุลลัพธที ่���าคัญและ���าเปนตอนักเรียนอยางแทจรงิ

หากปรับเปล ่ียนโครงสรางพื  ้นฐานกอนโดยไมเขาใจผลลัพธที ่

นักเรยีนตองการอยางถองแทแลว ก็จะเปนการชงิสกุกอนหาม เปรียบเชนการสรางบาน คงเปนเร ่ืองไมสมเหตุสมผลถาสั ่งใหติดตั  ้งทอประปากอนที ่

Page 28: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 28/49

 

33 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

สถาปนกิจะเขียนแปลนเสรจ็ การศึกษาก็เชนกัน ผลลัพธที ่เราคาดหวังจากนักเรียนในศตวรรษที ่ 21 คือแปลนที ่บอกรายละเอียดทั  ้งหมด

ภาคีฯ ไดออกแบบวิสัยทัศนที ่รอบดาน���าหรับระบบการศึกษา  ในศตวรรษใหม แมวาเรายังไมได���าตอบทั   ้ งหมด ยังมีความคิดดีๆมากมายดังเห็นไดจากบทความตางๆ ที ่ปรากฏในหนังสอืเลมนี  ้ ที ่จะเสริมความแข็งแกรงใหกับวิสัยทัศนดานการเรียนร ูในศตวรรษที ่ 21 และชวยปรับเปลี ่ยนระบบที ่มีอยู  ในทุกแงมุม

เราไมไดเครงครัดกับ���าที ่ใชอธิบายทักษะแหงศตวรรษใหม

ตัวอยางเชน เราใช���าวา ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ขณะที ่ คนอื ่นใช���าวา ความยืดหยุ น (resiliency) เราใช���าวา การคิดเชงิวิพากษ (critical thinking) สวนคนอื ่นเรียกวา การคิดอยางเปนระบบ (systemsthinking) ส ่ิงเหลานี  ้ไม���าคัญตราบใดที ่เรา���าลังพูดถึงแนวคิดเดียวกันอยางไรก็ตาม ���าวา “ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21” ก็ไมใช���าคลุมเครือที ่จะหมายถึงอะไรก็ได องคประกอบทั  ้งหมดในโมเดลที ่เรา���าเสนอไดผานการ

นิยาม การพัฒนา และการตรวจสอบอยางถี ่ถวนโดยผ ูเชี ่ยวชาญชั  ้น���านักวิชาการ นักการศึกษา นักธุรกิจ ผู ปกครอง และสมาชิกของชมุชน

เราขอเชิญชวนใหบุคคลและองคกรทั  ้งหลาย���าโมเดลนี  ้ไปประยุกต  ใช เพื ่อจดุประกายใหเกิดการสนทนาในระดับชาติที ่ถกเถียงเร ่ืององคประกอบที ่���าเปนตอการพัฒนานักเรยีนในศตวรรษใหม เปนเรื ่อง���าคัญยิ ่งตองมีนักการศึกษาและตัวแทนภาคธุรกิจเขารวมการสนทนาดังกลาว[31] รัฐ เขต และโรงเรียนตางๆ ตองพูดคุยและหาขอตกลงรวมกันถึงผลลัพธที ่ควรใหคุณคา แลวจงึสรางระบบที ่สามารถกอใหเกิดผลลัพธเหลานั  ้น

Page 29: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 29/49

 

34  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

ภาพที ่ ก.1: กรอบความคิดเพื ่อการเรียนรู    ในศตวรรษที ่ 21 โดยภาคเีพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21

วิชาแกน• ภาษาอังกฤษ การอาน • เศรษฐศาสตร

หรอืศิลปะการใชภาษา • วิทยาศาสตร• ภาษา���าคัญของโลก • ภูมิศาสตร • ศิลปะ • ประวัติศาสตร• คณิตศาสตร • การปกครองและหนาที ่พลเมือง

แนวคดิ���าคัญในศตวรรษที ่ 21• จิต���านกึตอโลก• ความรู พื  ้นฐานดานการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเปนผู ประกอบการ

ทักษะชวีิตและ

การ���างาน

ทักษะดานสารสนเทศ

สื ่อ และ

เทคโนโลยี

ทักษะการเรยีนรู และนวัตกรรม

วชิาแกนและแนวคิด���าคัญในศตวรรษที ่ 21

มาตรฐานและการประเมนิ

หลักสูตรและการสอน

การพัฒนาทางวชิาชีพ

สภาพแวดลอมการเรยีนรู  

Page 30: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 30/49

 

35 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

• ความรู พื  ้นฐานดานพลเมือง• ความรู พื  ้นฐานดานสุขภาพ• ความรู พื  ้นฐานดานสิ ่งแวดลอม

ทักษะการเรียนรู   และนวัตกรรม• ความคิดสรางสรรคและนวัตกรรม• การคิดเชงิวิพากษและการแก ไขปญหา• การสื ่อสารและการรวมมือ���างาน

ทักษะด านสารสนเทศ สื ่อ และเทคโนโลยี• ความรู พื  ้นฐานดานสารสนเทศ• ความรู พื  ้นฐานดานสื ่อ• ความรู พื  ้นฐานทางเทคโนโลยสีารสนเทศและการสื ่อสาร (ไอซีที)

ทักษะชวิีตและการ���างาน• ความยืดหยุ นและความสามารถในการปรับตัว• ความคิดริเริ ่มและการชี  ้���าตนเอง• ทักษะทางสังคมและการเรยีนรู ขามวัฒนธรรม• การเพิ ่มผลผลติและความรู รับผดิ• ความเปนผู ���าและความรับผดิชอบ

ระบบสนับสนุนการศกึษาของศตวรรษที ่ 21• มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที ่ 21• หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที ่ 21• การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที ่ 21• สภาพแวดลอมการเรียนรู ของศตวรรษที ่ 21

ที่มา: ภาคีเพ่ือทักษะแหงศตวรรษที่ 21[23] 

Page 31: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 31/49

 

36   ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

เหตุ ใดจงึต องหาโมเดลใหมด านการศกึษา���าหรับศตวรรษที ่ 21พลังที ่บีบบังคับใหการศึกษาตองเปลี ่ยนแปลงอยางไมอาจ

หลกีเล ่ียงนี  ้ ไดกอตัวขึ  ้นมาพักหนึ ่งแลว ซ ่ึงมีสาเหตุดังตอไปนี  ้ :

• โลก���าลังเปลี ่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจโลกที ่มาพรอมกับการอุบัติของภาคอุตสาหกรรมและวิชาชีพ ไดมอบโอกาสอันยิ ่งใหญ ใหแก ใครก็ตามที ่มีทักษะในการใชประโยชนจากระบบเศรษฐกิจนี  ้ ตลอดสามสบิปที ่ผานมา การแขงขันและความรวมมือในระดับโลกเกิดขึ  ้นรวดเรว็จน

นาตกใจ ซึ ่งเปนผลจากความกาวหนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคเศรษฐกิจบริการที ่ขับเคล ่ือนดวยขอมูล ความร ู และนวัตกรรมไดเขามาแทนที ่ภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและไดเปลี ่ยนแปลงวงการธรุกิจและการ���างาน กวาสามในสี ่ของ���าแหนงงานทั  ้งหมดในสหรัฐอเมรกิาขณะนี  ้อยู  ในภาคบริการ งานที ่ใชแรงแบบ���  ้าซากตองเปดทางใหกับงานที ่ใชสมองและอาศัยปฏิสัมพันธ หรือแมแตในกล ุมแรงงานมี

ฝมือก็ตาม เทคโนโลยี ไดเขามาแทนที ่การ���างานแบบ���  ้าซาก ขณะเดยีวกันก็ถูกใชเพื ่อชวยพนักงานที ่มีทักษะในขั  ้นสงูใหเพิ ่มผลผลิตไดมากขึ  ้นและสรางสรรคยิ ่งขึ  ้น[1] ผู ที ่สามารถปรับตัวและสรางประโยชน ใหองคกร, ผลิตภัณฑ และกระบวนการ���างาน ดวยการใชทักษะดานการสื ่อสาร, การแก ไขปญหา และการคิดเชงิวิพากษเพื ่อปรับเปลี ่ยนการ���างานและมีผลงานตามความคาดหวังขององคกร ก็จะไดรับผลตอบแทนจากเศรษฐกิจที ่กาวหนา, อุตสาหกรรมและบริษัทที ่มีนวัตกรรม และ���าแหนงงานที ่เติบโตอยางรวดเรว็[22] 

 ในยุคที ่การเปล ่ียนแปลงเกิดขึ  ้นรวดเร็วเชนนี   ้ สัญญาประชาคม (social contract) ที ่เคยเปนสวนหนึ ่งของศตวรรษกอนไดมลายไปจนหมดสิ   ้ น ความ���าเร็จในโรงเรียนไม ไดรับประกันวาจะมี

งานหรอือาชพีไปตลอดชวิีตดังที ่เคยเกิดกับคนอเมรกิันในยุคกอนหนาปจจุบันผ ูคนคาดหวังวาจะ���างานหลายงานในหลายสาขาไดตลอด

Page 32: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 32/49

 

37 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

วัย���างานของตน จากขอมูลของ���านักสถิติแรงงานสหรัฐอเมริกา[4] คนที ่เกิดหลังยุคเบบี  ้บูม (baby boom) โดยเฉล ่ียเคยผานงานมาแลว10.8 งานในชวงอายุ 18-42 ป สญัญาประชาคมยุคใหมแตกตางจากยุคที ่ผานมา กลาวคือ คนที ่มีความรู และทักษะในการรับมือกับการเปล ่ียนแปลงที ่เกิดขึ  ้นอยางตอเนื ่องและสามารถปรับตัวเองใหเขากับสถานการณ ใหมๆ ไดเทานั  ้นที ่จะประสบความ���าเรจ็ ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 จะชวยใหเราสามารถเรียนรู และปรับตัวตอการเปล ่ี ยนแปลงไดตลอดเวลา ดังนั   ้น ทักษะแหงศตวรรษใหมจึงเปน

 ใบเบกิทางสู การเลื ่อนสถานะทางเศรษฐกิจ สวนคนที ่ปราศจากทักษะดังกลาวก็ตองจมปลักอยู กับงานที ่ ใชทักษะนอยและคาจาง��� ่า ความเช ่ียวชาญในทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 จงึกลายเปนสิทธิพลเมืองชุด ใหมที ่���าเปนในยุคของเรา

• โรงเรียนและนักเรียนในสหรัฐอเมริกายังไมปรับตัวตามโลกที  ่

เปลี ่ยนแปลง ทุกวันนี  ้ระบบการศึกษาของรัฐไม ไดเตรียมนักเรยีน ใหพรอม���าหรับโอกาสและขอเรียกรองทางเศรษฐกิจ, แรงงาน และความเปนพลเมืองในศตวรรษที ่ 21 นักเรียน���านวนมากไมเคยไดรับการสนับสนุนที ่���าเปนตอการเรียนรู  จากครอบครัวและสังคม ยิ ่ง ไปกวานั  ้น นักเรียนไมรู สึกวามีสวนรวมหรอืไดแรงบันดาลใจจากการเรียนในโรงเรียนซึ ่งดูหางไกลจากชีวิตและไมสัมพันธกับอนาคตของพวกเขา สัดสวนของนักเรียนมัธยมปลายที ่เลิกเรียนกลางคันไดมาถึงจุดวิกฤต มีเพียงรอยละ 70 ของนักเรียนทั  ้งหมดและเพียงรอยละ 50 ของนักเรียนที ่เปนชนกลุ มนอยเทานั  ้นที ่���าเร็จการศึกษาตาม���าหนดและไดรับประกาศนยีบัตร[27]

เรา���าลังเผชิญกับปญหาชองวางทางผลสัมฤทธิ ์ที ่นาตกใจ

ทั  ้งในระดับชาติและนานาชาติ ในระดับชาติ นักเรียนผวิ���า, นักเรียนเชื  ้อสายสเปน (ฮิสแปนกิ) และนักเรยีนที ่ดอยโอกาส ���าคะแนนได��� ่า

Page 33: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 33/49

 

38  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

กวาเพื ่ อนในการประเมินผลระดับชาติ (ดูเพิ ่ มเติม[15][17][19]) ซึ ่งฉดุรั  ้งระดับความสามารถโดยรวมของแรงงานในอนาคต ส ่ิงนี  ้จะยิ ่งเปนปญหามากขึ  ้นเพราะโครงสรางประชากรในสหรัฐอเมริกา���าลังเปล ่ี ยนแปลง โดยประชากรที ่เปนชนกล ุมนอย���าลังเพิ ่มขึ  ้นเร็วกวาประชากรกลุ มที ่เหลือ[29]

  ในระดับนานาชาติ นักเรียนอเมริกัน���าคะแนนไดนอยกวาคะแนนเฉลี ่ยในโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programmefor International Student Assessment หรือ PISA) ซ ่ึงเปนเกณฑที ่

 ใชประเมินทักษะการอาน, คณิตศาสตร และวิทยาศาสตรของประเทศพัฒนาแลว (ดตัูวอยางใน[20]) ผลลัพธจาก PISA บอกความจริงบางอยางแกเรา เพราะการประเมินของ PISA ใชวัดทักษะเชิงประยุกต (ซ ่ึงเราเรียกวาทักษะแหงศตวรรษที ่ 21) ในการคิดเชิงวิพากษและการแก ไขปญหา แมแตนักเรียนอเมริกันที ่เกงที ่สุดก็ไมสามารถ���าคะแนนจากการประเมินนี  ้ ไดดเีทานักเรียนจากประเทศอื ่นๆ ที ่มีความ

กาวหนาทางเศรษฐกิจและตอใหนักเรยีนในสหรัฐอเมริกาทุกคนจะ���าเรจ็การศึกษา

ระดับมัธยมปลายและมีความร ูดเียี ่ยมในวิชาแบบเดมิ พวกเขาก็ยังไมพรอมอยู ดทีี ่จะสนองความคาดหวังของระบบเศรษฐกิจแบบใหม ทุกวันนี  ้ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 คือพลังที ่สรางความมั ่งคั ่งของประเทศทักษะที ่ชวยสงเสรมินวัตกรรมรวมทั  ้งความคิดสรางสรรค, การคิดเชงิวิพากษ และการแก ไขปญหา���าลังเปนที ่ตองการอยางมาก[6][7][18] แตฝายนายจางกลับรายงานวายังขาดแคลนทกัษะเชงิประยุกตเหลานี  ้แมจะเปนแรงงานระดับมหาวิทยาลัยก็ตาม ความ���าเรจ็ทางการศึกษาไมอาจรับประกันความสามารถทั  ้งทางวิชาการและทักษะไดอีกตอไป[30]

Page 34: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 34/49

 

39 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

• สหรัฐอเมริกาขาดเปาหมายหรือทิศทางที ่ชัดเจนในการรักษาศักยภาพในการแขงขันทางเศรษฐกจิในอนาคต สหรัฐอเมรกิายังคงเปนชาติที ่มีศักยภาพในการแขงขันสงูที ่สดุในโลก แต “ความชะลา ใจ” อาจบอน���าลาย���าแหนงผ ู���านี  ้[16] ผู เช ่ียวชาญดานวิทยาศาสตร เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร และคณิตศาสตรในภาคอุตสาหกรรมและสถาบันอุดมศึกษาไดรับ���าเตือนมาหลายปแลววา สหรัฐอเมริกา���าลังสูญเสียความไดเปรียบในการแขงขันเนื ่องจากความพรอมดานแรงงานในสาขาเหลานี   ้ ยังมีไมพอ ชาติที ่เปนคู แขงในเอเชีย

และยุโรปตระหนักดีวาทักษะเหลานี  ้มีความ���าคัญเพียงใดและ���าลัง ไลกวดสหรัฐฯ อยางกระชั  ้นชดิ ความพยายามของนานาประเทศ (ซ ่ึงประสบความ���าเร็จอยางยิ ่ง) ในการปรับปรงุระบบศึกษาและขัดเกลาทักษะแหงศตวรรษใหมเปนสัญญาณเตือนวา สหรัฐอเมริกามีคู แขงที ่เหนือกวาซ ่ึ งสามารถผลิตแรงงานคุณภาพสูง ฉลาดเฉลียว และทะเยอทะยาน���าหรับระบบเศรษฐกิจแบบใหม นอกจากนี  ้ การเติบโต

ทางเศรษฐกิจจากแรงขับเคลื ่อนของเทคโนโลยีสารสนเทศตั  ้งแตปลายทศวรรษที ่ 1980 และตนทศวรรษที ่ 1990 ก็มีแนวโนมที ่จะถึงจดุอิ ่มตัวหากไมมีการลงทุนเพิ ่มในทรัพยากรแรงงานที ่จับตองไม ได เชน ความคิด ความร ู และพรสวรรค[30]

การศกึษาในศตวรรษที ่ 21 ควรจะมีลักษณะอยางไรเพื ่อจัดการกับความทาทายที ่���าลังเผชิญอยู นี  ้ เราตองการโมเดล

 ใหมที ่���ามิติตางๆ ในระบบการศึกษามาจัดวางใหสอดคลอง เพื ่อเตรียมชาวอเมรกิันใหพรอมแขงขันได

ภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ใชเวลาในชวงทศวรรษที ่ผานมาพัฒนากรอบความคิดเพื ่อการเรยีนรู  ในศตวรรษที ่ 21 ที ่เขมแข็ง (ภาพที ่ ก.1)

ซึ ่งสามารถตอบสนองตอความตองการที ่���าลังเปลี ่ยนแปลงของสังคมซ ่ึงคนหน ุมสาว���าลังเผชญิอยู  กรอบความคิดนี  ้ ไดแรงสนับสนนุอยางตอเนื ่อง

Page 35: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 35/49

 

40  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

และกระตือรือรนจากองคกรชั   ้น���าดานการศึกษา ประชาคมธุรกิจ และผู ���าหนดนโยบาย และที ่ขาดไม ไดคือผู ปกครอง ครตัู  ้งแตระดับอนบุาลจนถึงอุดมศึกษา และองคกรชุมชน จนสามารถพัฒนาใหกลายเปนวิสัยทัศนเพื ่อการศึกษาที ่รอบดานและมีเปาหมายชัดเจน[28]

ภาพกราฟกของกรอบความคิดดังกลาวสรุปไดอยางดีเยี ่ยมเนื ่องจากแสดงใหเหน็การบรูณาการของวิชาแกน แนวคิด���าคัญในศตวรรษ ที ่ 21 และทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 โดยมีระบบสนับสนุนการศึกษาที ่สอดคลองกับผลลัพธเหลานี   ้ กรอบความคิดเพื ่อการเรียนร ูในศตวรรษ 

ที ่ 21 เสนอแนวทาง���าหรับการศึกษาสาธารณะที ่เปนไปได ตอบสนองตอสถานการณ และนาสนใจเปนอยางยิ ่ง ดวยเหตุผลหลายประการดังนี  ้

กรอบความคดินี  ้เน นผลลัพธ์ที ่���าคัญการศึกษาในศตวรรษที ่ 21 ตองยึดผลลัพธทั  ้งในแงของความรู  ใน

วิชาแกนและทักษะแหงศตวรรษใหม ซ ่ึงเปนผลลัพธที ่ โรงเรียน สถานที ่

���างาน และชมุชนตางเหน็คุณคา นับเปนความลมเหลวระดับชาติที ่นักเรยีนอเมรกิันสวนใหญจบชั  ้นมัธยมโดยขาดความสามารถหลกัที ่นายจางและครูระดับอุดมศึกษาเหน็วา���าเปนอยางยิ ่งในโลกของการ���างานและการศึกษาขั  ้นสงู การคิดเชงิวิพากษ, การแกปญหา, ความคิดสรางสรรค และทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 คือเคร ่ืองมือที ่เราตองใชเพื ่อปนบันไดทางเศรษฐกิจ

ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21จะชวยเตรียมความพรอมใหนักเรียนรู จักคิด, เรียนรู , ���างาน, แกปญหา, ส ่ือสาร และรวมมือ���างานไดอยางมีประสิทธิผลไปตลอดชีวิต บางคนวาทักษะเหลานี  ้ไมไดเปนของศตวรรษ ที ่ 21 โดยเฉพาะ ซ ่ึงผมก็เหน็ดวย แตเราเรยีกรองทักษะเหลานี  ้ดวยเหตุผล3 ประการ

ประการแรก ทักษะเหลานี  ้แทบไมเคยถูกบรรจุในหลักสูตรหรือ

ถูกประเมินเลย และถูกมองวาเปนสิ ่งที ่ “ถามีก็ด”ี มากกวา “���าเปนตองมี”ทักษะเหลานี  ้จงึถูกสอนแบบตามมีตามเกิด นักเรียนบางคนอาจเกิดทักษะ

Page 36: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 36/49

 

41 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

เหลานี  ้ โดยบังเอิญจากชีวิตประ���าวันและประสบการณ ในการ���างาน หรือบางครั  ้งอาจเกิดในโรงเรียนถาเจอครูเกงๆ หรือฉลาดพอที ่จะเห็นความ���าคัญและสรางทักษะดังกลาวขึ  ้นเอง เราไมอาจปลอยใหการพัฒนาทักษะที ่���าคัญเหลานี  ้เกิดขึ   ้ นตามยถากรรมถาอยากเห็นสหรัฐฯ แขงขันกับชาติอื ่นได

ประการที ่ สอง ทักษะเหลานี  ้มีความ���าคัญตอนักเรียนทุกคนในวันนี  ้ ไม ได���ากัดแคอภชินบางกลุ ม ในระบบเศรษฐกิจที ่ผานมา คนอเมรกิันอยู  ในโลกแหง���าดับชั  ้นซึ ่งมีวิธคิีดแบบสายการผลติ ผ ูบรหิารระดับสงูและ

ผู เชี ่ยวชาญมีหนาที ่คิด แกไขปญหา ตัดสินใจ และส ่ือสารแทนตัวองคกรพวกเขาออก���าสั ่ ง และพนักงานสวนใหญก็มีหนาที ่���าตาม���าสั ่งเทานั  ้นแต โลกปจจบุันไม ไดเปนเชนนั  ้นแลว องคกรที ่แขงขันไดตองปรับโครงสรางการบริหารใหแบนลง เพิ ่มการใชเทคโนโลยี สรางระบบงานที ่ยืดหยุ นและกระจายความรับผิดชอบใหพนักงานระดับปฏิบัติการและทีมโครงการมากขึ   ้ น การเปลี ่ยนแปลงเชิงองคกรและเชิงพฤติกรรมนี  ้ชวยเพิ ่มระดับ

ผลผลิตและนวัตกรรม [2][13][25][33] ในสภาพความจริงเชนนี   ้ นักเรียนที ่ ไมถนัดทักษะแหงศตวรรษใหมยอมไมอาจใชศักยภาพทางเศรษฐกิจของตนไดอยางเต็มที ่

ภายใต โครงสรางที ่ราบแบน พนักงานทุกคนมีขอมูลและเครื ่องมือ ใหเลือกใชมากขึ  ้นและมีอิสระกวาเดิม แตก็ตองแลกกับความคาดหวังวาจะสามารถรับผดิชอบและจัดการกับงานไดดวยตัวเอง เหมือนที ่ผู บรหิารคนหนึ ่งของบรษัิทแอปเปล (Apple) เคยบอกผมวา พนักงานคนไหนที ่ยังตองมีคนคอยจัดการเร ่ืองงานใหก็จะถูกเลิกจาง ความรับผิดชอบที ่เปล ่ียนไปเชนนี  ้เกิดขึ   ้ นกับชีวิตสวนตัวดวยเชนกัน ผู มี���านาจ���ากับดูแลผู อื ่นหรือคอยบอกวาตอง���าอะไรนับวันก็ยิ ่งลดนอยลง คนเราทุกวันนี  ้ตองรับผดิชอบเร ่ืองสขุภาพของเราเอง ตองหาขอมูล ตองเลือกกรมธรรม ตองพิทักษสทิธิ ์

ของตน และดูแลสขุภาพของตนรวมกับผู  ใหบรกิาร การใชชวิีตในสังคมก็เชนกัน เราตองแสวงหาขอมูลเพื ่อ���าความเขาใจปญหาตางๆ ดวยตัวเอง

Page 37: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 37/49

 

42  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

ขาวทองถิ ่นจะไมถูกสงตรงถึงหนาบานทุกวนัอีกตอไปเพราะหนังสือพิมพกระดาษเสื ่อมความนยิมลง

ประการที ่ สาม ทักษะตางๆ ที ่นายจางและครูระดับอุดมศึกษาเห็นวา���าเปนตอความ���าเร็จไดมาบรรจบกัน แมแตคนที ่เพิ ่งเร ่ิม���างาน ใหมๆ ก็ถูกคาดหวังวาจะสามารถใชทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 เพื ่อ���างานใหลลุวงได[6][7][18] งานในระดับที ่หาเลี  ้ยงชพีไดทุกวันนี  ้ก็ตองการวุฒิการศึกษา

 ไม��� ่ากวามัธยมปลาย โดยเฉพาะงาน 271 อยางที ่มีแนวโนมเพิ ่มขึ  ้นใน 10 ป ขางหนาตามขอมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา[3]

นักเรียนสวนมากที ่ปรารถนาจะเรยีนตอในระดับวิทยาลัยก็เพราะตระหนักในเรื ่องดังกลาว อันที ่จรงิ สัดสวนของแรงงานที ่จบการศึกษาระดับสูงก็เพิ ่มขึ  ้นอยางมีนัย���าคัญ[5] ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 มีความ���าคัญเชนกันในการเปลี ่ยนผานไปส ูวิทยาลัยและหลักสตูรฝกอบรมงาน ในบรรดาองคประกอบตางๆ ของการเตรียมความพรอมสู รั  ้ววิทยาลัยที ่���าเสนอโดยมูลนิธิเมลินดา เกตส มี “พฤติกรรมทางวิชาการ” (academic behavior)

และ “ทักษะและ���านกึเชิงบรบิท” (contextual skill and awareness) รวมอยู ดวย[8][9] ซ ่ึงเปนทักษะที ่อยู ในกรอบความคิดเพื ่อการเรียนร ูในศตวรรษ ที ่ 21 นักเรยีนทุกคนควรไดรับการฝกทักษะที ่���าเปนไมวาพวกเขาจะเลอืกเดินบนเสนทางใดในอนาคต

กรอบความคิดเพื ่อการเรียนร ูในศตวรรษที ่ 21 ยังครอบคลุม

แนวคิดหลักที ่เกิดขึ  ้นใหม ในศตวรรษที ่ 21 ซึ ่งอาจไมเปนที ่คุ นเคย นายจางและครู ตลอดจนผู ปกครอง ผ ู���าหนดนโยบาย และผู สนับสนนุของชมุชนตางเห็นวาแนวคิดหลักและทักษะใหมเหลานี  ้���าคัญอยางยิ ่ ง แตยังไมมีการเนนส ่ิงเหลานี  ้ในการศึกษาของรัฐเทาที ่ ควร แนวคิด���าคัญเหลานี  ้มีพื  ้นฐานจากชีวิตประ���าวัน และชาวอเมริกันทุกคนก็���าลงั���าเนินชีวิตอยู  ใตแนวคิด���าคัญดังกลาว พวกเขาตองการให โรงเรียนผสมผสานแนวคิด

���าคัญแบบใหมนี  ้ ซ ่ึงเปนการรวมเนื  ้อหาและทักษะเขาดวยกัน เพื ่อใหคนหนุ มสาวพรอมเผชญิกับโลกที ่ซับซอนไดดยิี ่งขึ  ้น

Page 38: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 38/49

 

43 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

ตัวอยางเชน จติ���านกึตอโลกเปนแนวคิด���าคัญในระบบเศรษฐกิจ โลก คนอเมรกิันตองเขาใจปญหาของโลกที ่สงผลกระทบตอตนเองในฐานะพลเมืองและคน���างาน ตองเรียนรู และ���างานรวมกับคนจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที ่ หลากหลาย และสามารถสื ่อสารดวยภาษาอื ่นที ่ไมใชภาษาอังกฤษได

 ใน���านองเดียวกัน ความร ูพื  ้นฐานดานการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการประกอบกิจการ คือทักษะใหมที ่���าเปน ทุกวันนี  ้เงิน���านาญแบบรับประกันแทบจะไมมีอีกแลว ดังนั  ้น ความรับผดิชอบในการวางแผน การ

ออม และการลงทุนหลังเกษียณจึงตกอยู  ในมือของแตละคน วิกฤตการณที ่เพิ ่งเกิดขึ  ้นในภาคธนาคาร ธรุกิจสนิเชื ่อและการ���านอง รวมทั  ้งภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครั  ้งใหญ เปนการตอก���  ้าความ���าคัญของความรู ความเขาใจวาพลงัทางเศรษฐกิจมีผลตอชีวิตของผู  คนมากเพียงใด การตัดสินใจที ่ผิดพลาดดานการเงินอาจสงผลรายตอคุณภาพชีวิตของเราไปอีกนาน  ในการ���างาน ผู คนตองเรียนรู วาจะปรับตัวและ���าประโยชนใหองคกรที ่

 ใหญ โตขึ  ้นไดอยางไร และตองรู จัก���าวิธคิีดแบบผ ูประกอบการมาใช ในชีวิตเมื ่อตระหนักถึงโอกาส, ความเส ่ี ยง และรางวัลแลว เราก็จะสามารถเพิ ่มผลงาน เพิ ่มทางเลือกในอาชีพ และจัดการกับสถานการณที ่เปล ่ียนแปลง ไดอยางสขุม

ประการสุดทาย กรอบความคิดเพื ่อการเรียนร ูในศตวรรษที ่ 21อธิบายทักษะหลายอยางที ่เปนของใหม (อยางนอยก็ในแวดวงการศึกษา)ซึ ่งไดแก ความคิดสรางสรรคและนวัตกรรม, ความยืดหยุ นและความสามารถ ในการปรับตัว, ความเปนผู ���าและทักษะการเรยีนรู ขามวัฒนธรรม ซึ ่งลวน���าเปน���าหรับนักเรียนทุกคน ทักษะเหลานี  ้���าใหบางคนโดดเดนกวาคนอื ่น การปรับความคิดเพียงเล็กนอยอาจ���าความกาวหนาครั  ้งใหญมาสู ชวิีตและองคกร การเต็มใจรับความเปลี ่ยนแปลงในเชิงบวก���าใหเราพรอม

ที ่จะเปดรับความเปนไปได ใหมๆ และรับมือกับการเปลี ่ยนแปลงที ่ ไมคาดฝนและไมอาจหลกีเลี ่ยงในชวิีต การรับบทบาทผู ���าชวยใหเราสามารถควบคุม

Page 39: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 39/49

 

44  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

ชีวิตของตนเองไดดีขึ   ้ น ขณะที ่ทักษะการเรียนร ูขามวัฒนธรรมชวยเพิ ่มประสิทธิผลในการมีปฏิสัมพันธกับผ ูอื ่ นไมวาในโรงเรียน ที ่ ���างาน และ ในชมุชน

ทักษะแบบใหมยังเปนสิ ่งที ่แยกองคกรหรอืชาติที ่กาวหนาออกจากกลุ มที ่ลาหลัง และยังชวยเสรมิศักยภาพการแขงขันในทุกดาน อาทิ ความแปลกใหม ความคลองตัว และการปรับปรงุอยางตอเน ่ื อง, ความสามารถที ่จะเปลี ่ยนความคิดที ่แหวกแนวใหกลายเปนนวัตกรรมของสินคา บริการและทางแกปญหา, และความสามารถที ่จะบรรลุความพยายามที ่คุ มคา

เอาชนะอุปสรรค และเช ่ือมความแตกตางทางวัฒนธรรมการผสมผสานของวิชาแกน, แนวคิด���าคัญของศตวรรษที ่ 21และทักษะแหงศตวรรษใหม ไดสรางความหมายใหม ใหกับความแข็งแกรงทางการศึกษาในยุคของเรา ชาวอเมริกัน���านวนมากตางสนับสนุนใหการศึกษาแข็งแกรงขึ  ้นเพื ่อเตรียมนักเรียนใหพรอมกอนเขาส ูรั  ้ววิทยาลัยและโลกของการ���างาน ซ ่ึงเปนจดุยืนที ่เราเหน็พองเชนกัน

อยางไรก็ตาม ความแข็งแกรงในแบบเกามีความหมายเทากับความเปนเลศิในเนื  ้อหา (ของวิชาแกน) เทานั  ้น ซึ ่งไมเพียงพออีกตอไปแลว ในยุคที ่ความรู และขอมูลขาวสารเปลี ่ยนแปลงตลอดเวลา นักเรยีนตองมีทั  ้งความรู  ในเนื  ้อหาและทักษะที ่จะประยุกต ใชและปรับเปลี ่ยนความรู เหลานั  ้น ใหเขากับเปาหมายที ่ยังประโยชนและสรางสรรค รวมถึงเพื ่อการเรยีนรู อยางตอเน ่ืองตามเนื  ้อหาและสถานการณที ่เปล ่ียนแปลงไป

ผมเคยไดยินจอหน แบรนสฟอรด (John Bransford) ศาสตราจารยดานการศึกษาและจิตวิทยาแหงมหาวิทยาลัยวอชิงตันผ ู โดงดัง และผ ูรวมเขียนหนังสอื How People Learn: Bridging Research and Practice[11] และ How Students Learn: Science in the Classroom[12] เลาไววา ในสหรัฐอเมริกา เราบอกนักเรียนเร ่ืองเดมิๆ ���  ้าเปนรอยครั  ้ง พอถึงครั  ้งที ่ 

101 เราก็จะถามพวกเขาวา���าสิ ่งที ่บอกไปรอยครั   ้ งแรกไดหรือไม ในศตวรรษที ่ 21 บททดสอบความแข็งแกรงทางการศึกษาที ่แทจรงิคือการที ่

Page 40: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 40/49

 

45 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

นักเรียนมองดสูิ ่งที ่พวกเขาไมเคยเห็นมากอนแลวรู วาจะ���าอะไรกับสิ ่งนั  ้นการรวมทักษะแหงศตวรรษใหมเขาไปในวิชาแกนชวยเพิ ่มความ

แข็งแกรงใหกับการศึกษาไดอยางแทจรงิ การจด���าขอเท็จจรงิหรือ���าศัพท  ใน���ารา หรือ���าตามขั  ้นตอนหรือกระบวนการไดเปนกิจกรรมที ่ใชความสามารถในการร ูคิดขั  ้น��� ่ า ขณะที ่การแสดงความเขาใจเชิงลึกผานการวางแผน การใชหลักฐาน และการใหเหตุผลเชิงนามธรรมนั  ้นตองใชความสามารถในการร ูคิดที ่สูงกวา การเช ่ือมโยงความคิดที ่สัมพันธกันระหวางเนื  ้อหาในสาขาเดียวกันหรอืตางสาขา หรอืการคิดคนวิธี ไขปญหาที ่ซับซอน

ตองอาศัยการตอยอดทางความคิด และการร ูคิดในระดับที ่สงูขึ  ้นไป[32]

ความเชื ่อมโยงระหวางทักษะและความแข็งแกรงทางการศึกษาสามารถดู ไดจากผลการประเมินระดับนานาชาติอยางเชน PISA นักเรียนที ่ร ูจกัใชวิธีคิดเชิงวิพากษและทกัษะการแกปญหาในวิชาคณิตศาสตรและวิทยาศาสตร���าคะแนนไดดกีวานักเรียนที ่ ไรทักษะดังกลาว ดวยเหตุนี  ้ ในระบบการศึกษาของศตวรรษที ่ 21 ความแข็งแกรงจงึหมายถึงความเปนเลศิ

 ในเนื  ้อหาและทักษะควบคู กันผมเหน็ตัวชี  ้วัดที ่นาเชื ่อ���านวนมากซึ ่งบอกวา ความเช ่ียวชาญใน

ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 คือผลลัพธที ่ใช���าหรับยุคนี   ้ จึง���าเปนตองจัดระบบการศึกษาของรัฐใหสอดคลองกับเปาหมายดังกลาว

กรอบความคดินี  ้เห็นวาระบบสนับสนุนการศกึษา โดยเฉพาะประสบการณ์ ในการเรียนรู   ทางวิชาชพี เปนส ่ิง���าคัญวิสัยทัศน���าหรับการเรยีนรู ในศตวรรษที ่ 21 ตั  ้งอยู บนความจริง

ที ่วา ถาอยากใหนักเรยีนมีทักษะแหงศตวรรษใหม ก็ตองมีระบบการศึกษาที ่สอดคลองกับเปาหมายนี  ้

อาจดูเหมือนเปนความปรารถนาอันยิ ่ งใหญ แตมีหลักฐานที ่

บอกวารัฐตางๆ ไดเตรียมพรอมโดยสมัครใจที ่���าสิ ่งนี  ้ ให���าเร็จ กอนเดอืนตุลาคม 2009 มี 14 รัฐ (แอริ โซนา, อิลลนิอยส, ไอโอวา, แคนซัส, ลยุเซยีนา,

Page 41: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 41/49

 

46   ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

เมน, แมสซาชูเซตส, เนวาดา, นิวเจอรซีย, นอรทแคโรไลนา, โอไฮโอ,เซาทดาโคตา, เวสตเวอรจเินีย และวิสคอนซนิ) ให���ามั ่นวาจะปรับเปล ่ียนมาตรฐานและเคร ่ื องมือประเมิน, หลักสูตรและวิธีการสอน, การพัฒนาทางวิชาชีพ และสภาพแวดลอมในการเรยีนรู  เพื ่อสนับสนุนใหเกิดผลลัพธตามเปาหมายของทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 รัฐและเขตที ่คืบหนาไปมาก ได  ใชแนวทางแบบองครวมและ���าเปนระบบ โดยสามารถอธิบายทักษะที ่เหน็คุณคา และจัดระบบตางๆ ของทุกภาคสวนใหสอดคลองไปในทิศทางดังกลาว

รัฐ���านวนมาก���าลังเผชญิความทาทายที ่นากังวล อุตสาหกรรมหลัก���าลังปรับโครงสรางและมีการเลกิจาง เศรษฐกิจที ่ซบเซาเมื ่อไมนานมานี  ้ยิ ่ง���  ้าเติมปญหา และกระทบกับงบประมาณของรัฐและโรงเรียนอยางรนุแรง อยางไรก็ตาม รัฐเหลานี  ้ ไดหันมาพิจารณากรอบความคิดเพื ่อการเรยีนรู  ในศตวรรษที ่ 21 อยางถี ่ถวน และสนับสนุนการใชกรอบความคิดนี  ้ เพื ่อเปนตนแบบในการจัดตั   ้ งระบบการศึกษา���าหรับศตวรรษใหม โดย

ตระหนักวาตองเปล ่ียนแปลงระบบการศึกษาเสียใหมเพื ่อพัฒนาแรงงานและเศรษฐกิจในรัฐ ยกตัวอยางเชน รัฐเวสตเวอรจเินีย���าลังทบทวนและปรับมาตรฐาน, วิธีประเมิน, วิธีการสอน, การพัฒนาทางวิชาชีพ, การเตรยีมความพรอมของคร,ู การพัฒนาเดก็กอนวัยเรียน และโครงการดานเทคโนโลยี โดยทั  ้งหมดนี  ้จะอาศัยกรอบความคิดเพื ่อการเรยีนรู  ในศตวรรษ ที ่ 21 ของภาคีฯ

การพัฒนาทางวิชาชีพคือสวนที ่���าคัญที ่สุดในการเปล ่ียนแปลงสตีฟ เพน (Steve Paine) ผ ู���านวยการเขตการศึกษาในเวสตเวอรจเินยีบอกกับผมวา เขาอุทิศเวลา���างานรอยละ 80 ไปกับการปรับปรุงประสิทธิผลของครู ในการสอนทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 น ่ันเปนสิ ่งที ่ถูกตองแลว การอธิบายเร ่ืองทักษะที ่ ���าคัญใหเขาใจเปนเพียงกาวแรก รัฐและเขตตางๆ

 ไมควรทึกทกัเอาเองวาครูทุกคนจะหนีออกจากกรอบของศตวรรษที ่ 20 ไดเองโดยไมพึ ่ งการพัฒนาทางวิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการแหงรัฐ

Page 42: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 42/49

 

47 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

เวสตเวอรจเินยี���าทุกวิถีทางเพื ่อผลักดันภารกิจนี  ้ โดยเริ ่มจากการฝกอบรมทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ในเชิงลึกใหแกครูทุกคนในชวงฤดรูอน ตามดวยการแนะแนวผานเว็บไซต ในระหวางปการศึกษา รัฐเวสตเวอรจเินยียังจัด���าเว็บไซตที ่เปดใหเขาไปมีสวนรวมชื ่อวา Teach 21 ซ ่ึงมีทรัพยากรมากมายที ่ครสูามารถ���าไปใช ในชั  ้นเรยีน

ภาคีเพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ไดพัฒนาแผนผังของเนื  ้อหาและทรัพยากรทางออนไลน ซ ่ึงมีรายละเอียดที ่เจาะจงเร ่ืองการเรยีนรู  ในศตวรรษ ที ่ 21 ���าหรับครู ทรัพยากรเหลานี  ้ชวยสนับสนนุการเรยีนรู แบบลงมือปฏบิัติ 

การแสวงหาความรู  และการพัฒนาทักษะการคิดระดับสงู ซึ ่งครทีู ่เกงมักใชวิธดีังกลาว[10] อันที ่จรงิ มีครแูละนักการศึกษา���านวนมากซ ่ึง���างานใกลชดิกับนักเรยีนไดบกุเบกิวิธกีารสอนเหลานี  ้ ทรัพยากร���าหรับการสอนทั  ้งหมดอยู ที ่เว็บไซตของ Route 21 (www.21stcenturyskills.org/route21/)

 โครงสรางพื  ้นฐานที ่ใชสนับสนุนการศึกษาทั  ้งหมดจะตองไดรับการพัฒนาใหทันสมัย เพื ่อสรางภาวะที ่ เหมาะสมตอการสอน การเรียนรู 

และผลลัพธที ่ ตองการ เราไดเรียนรู จากโครงการจัด���ามาตรฐานที ่เคยมี  ในอดีตวา การละเลยโครงสรางพื  ้นฐานเปนการโยนภาระใหนักเรียนมากเกินไป เปนการไมยุติธรรมและเปนเร ่ืองสญูเปลาที ่เราจะไปคาดหวังใหเดก็���าไดเกินความคาดหมายโดยปราศจากโครงสรางพื  ้นฐานสนับสนนุ ดังนั  ้นเพื ่อชวยใหรัฐ เขต และโรงเรียน สามารถเดินหนาตอได เราจงึพัฒนาและปรับปรงุคู มือที ่มาพรอมกับแนวปฏบิัติและเคร ่ืองมือในการประเมินตนเอง[24]

องคประกอบที ่���าคัญทั  ้งหมดของระบบการศึกษาจะชวยสนับสนนุ ใหเกิดผลลัพธจากการเรยีนรู ทักษะแหงอนาคตที ่ครบถวนไมบกพรอง

กรอบความคิดนี  ้ตรงกับความคิดของผู  ���าหนดนโยบายนักการศกึษา ประชาคมธุรกิจ องค์กรชุมชน และผู   ปกครอง

องคกรตาง ๆ ���านวนมากไดพัฒนาโมเดลเพื ่อปรับปรงุการศึกษาแตมีไมมากนักที ่กลาใหคนนับพันจากตางสาขาอาชีพ���าการตรวจสอบ

Page 43: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 43/49

 

48  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

  โมเดลของตน ซึ ่งโมเดลของเราที ่ประกอบดวยวิชาแกน แนวคิด���าคัญในศตวรรษที ่ 21 และทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 ได���าการตรวจสอบเชนนั  ้นแลว

เราพัฒนากรอบความคิดนี   ้ รวมกับองคกรเกือบ 40 องคกรที ่เปนสมาชิก ซ ่ึ งรวมถึงสมาคมการศึกษาแหงชาติ (National EducationAssociation) และสมาชิกของสมาคมฯ อีก 3.2 ลานคน เราตระเวนไปตามที ่ตางๆ ���ากรอบความคิดนี  ้ ไป���าเสนอแกผู ���าหนดนโยบาย นักการศึกษานักธุรกิจ องคกรชมุชน และผ ูปกครองนักเรียน เรารับฟงขอคิดเห็นและ���ามาปรับปรุงชุดทักษะและแนวคิด���าคัญในกรอบความคิด เรา���ารวจ

ความเห็นจากนักธุรกิจและผู ปกครองนักเรียน ซ ่ึงเห็นดวยเปนอยางยิ ่งวาทักษะแหงศตวรรษใหมเปนสิ ่ง���าเปนตอความ���าเรจ็ในปจจบุัน[6][21] พวกเขาเช ่ื อวาโรงเรียนควรสอนทักษะแหงศตวรรษใหม เปนความเชื ่อที ่อยู บนพื  ้นฐานของความเปนจริง ทั  ้งจากความคาดหวังของที ่���างาน ขอเรยีกรองของการเปนพลเมือง และความทาทายในชีวิตที ่ตองประสบทุกเมื ่อเช ่ือวันการ���ารวจและรายงานที ่���าโดยองคกรอื ่นๆ สนับสนนุสิ ่งที ่เราคนพบเชนกัน

สิ ่งนี   ้ ไมใชประเด็นเล็กๆ การเคลื ่อนไหวเพื ่อผลักดันทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 มีความแตกตางจากความพยายามปรับปรุงการศึกษาที ่มีมากอน (เชน การผลักดันใหปรับปรงุระบบการศึกษาในชวงทศวรรษ 1980)ตรงที ่ผ ู���าของการเคลื ่อนไหวครั  ้งนี  ้มีทั  ้งผ ู ���าหนดนโยบาย นักการศึกษาและประชาคมธรุกิจ ซ ่ึงตางประสานเปนเสยีงเดยีวกัน เรารวมกันวัดความสนใจและทัศนคติของผู มีสวนไดเสียหลักในการศึกษาของรัฐ และพยายามสรางพลังสนับสนุนโมเดลของเราในวงกวางทั  ้งจากระดับบนลงมาและจากระดับลางขึ  ้นไป ในรัฐตางๆ ผู วาการรัฐ, ผู บรหิารสถานบันการศึกษาของรัฐ,คณะกรรมการดานการศึกษาของรัฐ, กรรมการบริหารโรงเรยีนในทองถิ ่น,นักธรุกิจ, องคกรชมุชน, นักการศึกษา, ผ ูปกครอง และประชาชนผ ูมีสทิธิออกเสียงตางมีสวนรวมและกระตือรือรนกับโมเดลของเรา

มีงานอีกมากมายที ่เราตอง���าเพื ่อสรางความเขาใจใหเกิดขึ  ้น  ในระดับประเทศ ในทุกเขต ทุกชุมชน และทุกครัวเรือน กระนั   ้ น แรง

Page 44: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 44/49

 

49 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

สนับสนนุที ่ ไดรับบวกกับความ���าเรจ็ใน 14 รัฐที ่���ารองชวยเปดโอกาสใหเราเขารวมการอภปิรายในระดับชาติเกี ่ยวกับผลลัพธที ่เราคาดหวังจากนักเรยีนซึ ่งสงผลใหมีผู สนับสนุนโมเดลของเรามากขึ  ้น

ผ ู���าของรัฐ, เขต และโรงเรียน รวมถึงกล ุมชมุชนจะเริ ่มตรวจสอบการเปลี ่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชวง 20 ปที ่ผานมา พวกเขาจะพิจารณาทักษะใหมๆ ที ่นักเรียนควรเรียนร ู ในอีก 20 ปขางหนาหรือไกลกวานั  ้นและเมื ่อใดที ่สามารถอธิบายทักษะใหมเหลานี  ้ดวย���าพูดของตนเองไดพวกเขาก็จะพรอมที ่จะเปลี ่ยนโฉมหนาระบบการศึกษาเพื ่อ���าวิสัยทัศน ให

กลายเปนจริง

อนาคตของการเรียนรู   หนังสือเลมนี  ้เปนส ่ิงที ่เตือนวาเราไดมาถึงจุดพลิกผันของระบบ

การศึกษา เมื ่อบุคคลผ ูชื ่อเสียงทั  ้งหลายตางคร ุนคิดอยางจริงจังถึงเร ่ืองอนาคตของการเรียนร ู จึงเปนสัญญาณวาถึงเวลาที ่เราตองกลาลงมือ���า

บางอยางส ่ิงที ่เปนเดิมพันในขณะนี  ้คือขีดความสามารถในการแขงขัน

ของชาติ และสิ ่งอื ่นๆ ที ่ควบคู กัน อาทิ ประชาธปิไตยที ่มั ่นคง, ความเปนผู ���าในเวที โลก, ความมั ่งคั ่งอันยั ่งยืน และความ���าเรจ็ของคนยุคถัดไป เปนความจริงเสมอมาในประวัติศาสตรของประเทศวาชาวอเมริกันคือกลจกัรที ่ขับเคล ่ือนเศรษฐกิจใหเติบโต แตในเวลานี  ้และในยุคนี  ้เราตองมีความร ูและทักษะเพื ่อใหสามารถแขงขันได ในศตวรรษที ่ 21

 ในหองประชมุและหองเรียนท ่ั วประเทศ ผมไดพบปะผู คนนับพันที ่พรอมจะรับความทาทายนี  ้ การสนับสนุนกรอบความคิดเพื ่อการเรียนรู  ในศตวรรษที ่ 21 จากสังคมในวงกวางเปนการบอกกลายๆ วา เปนไปได อยางยิ ่งที ่จะสรางเจต���านงทางการเมืองเพื ่อระบบการศึกษา���าหรับ

ศตวรรษที ่ 21 เปนเรื ่องนาตื ่นเตนที ่กรอบความคิดนี  ้ดงึดดูความสนใจไดมากเพียงนี  ้ แตก็ยังเร็วเกินไปที ่จะประกาศชัยชนะ

Page 45: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 45/49

 

50  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

เรา���าเปนตองเดินหนาตอไป จากฉันทมติ ในวิสัยทัศนการเรยีนร ู เพื ่อศตวรรษที ่ 21 ไปสู ความเขาใจและความยึดมั ่นตอผลลัพธของการเรยีนร ู ในศตวรรษที ่ 21 อันที ่จรงิ���าวา “การศึกษาแหงศตวรรษที ่ 21”หรอื “ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21” อาจถูกตีความตามใจชอบได หลายคนตีความวาหองเรียนที ่ มีเทคโนโลยี หรือโรงเรียนสมัยใหม หรือวิชาแกนที ่มีเนื   ้ อหาแนน คือสิ ่งเดียวกับการเรียนร ูในศตวรรษที ่ 21 โดยไม���านึงวานักเรียนไดเรยีนรู ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 จนเช ่ียวชาญหรอืไม ในความเปนจรงิ ความ���านาญในการใชอุปกรณดจิติอลไม ไดหมายความวานักเรยีน

จะมีจิต���านึกตอโลกหรือมีความร ูพื  ้นฐานดานสุขภาพ, มีทักษะการเรียนร ูและนวัตกรรม, มีทักษะชวิีตและการ���างาน หรือแมแตความรู พื  ้นฐานดานสื ่อ ใน���านองเดยีวกัน นักการศึกษา���านวนมากอางวาพวกเขา���าลังสอนทักษะแหงศตวรรษใหม แตกลับไมใสทักษะโดยรวมที ่สอนลงในมาตรฐานและวิธกีารประเมิน, หลักสตูรและการสอน, หรอืการพัฒนาทางวิชาชพีและสภาพแวดลอมในการเรยีนรู 

กาวตอไปที ่���าคัญที ่สุดคือการสรางขอตกลงรวมกันถึงผลลัพธที ่คาดหวังในแงของความเชี ่ยวชาญทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 เทานั  ้นยังไมพอเรายังตองวางแผนระบบการศึกษาทั  ้งหมดดวยความมุ งมั ่นและโปรงใส โดยเริ ่มจากการใชผลลัพธของการเรยีนรู ทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 เพื ่อติดตามความคิดที ่ปรากฏในหนังสอืเลมนี  ้อยางไมลดละ

Page 46: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 46/49

 

51 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

กิตติกรรมประกาศขอขอบคุณสมาชิกทั  ้งอดีตและปจจุบันของคณะกรรมการภาคี

เพื ่อทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 และสภายุทธศาสตรเปนอยางยิ ่ง ���าหรับแรง

สนับสนนุอันยิ ่งใหญ ในการพัฒนาทักษะแหงศตวรรษที ่ 21 และขอขอบคุณมารธา วอคลีย ���าหรับความชวยเหลอืในการเขียนบทเกริ ่น���านี  ้

บรรณานกุรม

[1] Autor, D. H., Levy, F., & Murnane, R. J. (2003, November). The skill contentof recent technological change: An empirical exploration. Quarterly Journal  of Economics, 118 (4), 1279–1333.

[2] Black, S. E., & Lynch, L. M. (2004, February). What’s driving the neweconomy?: The benets of workplace innovation. The Economic Journal,

114, 97–116. Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor. (2008,June 27). Number  of jobs held, labor market activity, and earnings growth

among the youngest  baby boomers: Results from a longitudinal survey.

Washington, DC: Author. Accessed at www.bls.gov/news.release/pdf /nlsoy.pdf on December 8, 2009.

[3] Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor. (2008, June 27).Number of jobs held, labor market activity, and earnings growth among the 

youngest baby boomers: Results from a longitudinal survey . Washington,DC: Author. Accessed at www.bls.gov/news.release/pdf /nlsoy.pdf onDecember 8, 2009.

[4] Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor. (2009). Occupational 

projections and training data, 2008–09 edition. Accessed at www.bls.gov/emp/optd/optdtabi_5.pdf on December 8, 2009.

[5] Carnevale, A. P., & Desrochers, D. M. (2002, Fall). The missing middle:Aligning education and the knowledge economy. Journal for Vocational and 

Special  Needs Education, 25 (1), 3–23.[6] Casner-Lotto, J., & Barrington, L. (2006). Are they really ready to work? 

Employers’ perspectives on the basic knowledge and applied skills of new 

Page 47: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 47/49

 

52  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

entrants to the 21st century U.S. workforce. New York: The ConferenceBoard. Accessed at  www.21stcenturyskills.org/documents/FINAL_ REPORT_PDF09–29–06.pdf on June 18, 2009.

[7] Conference Board. (2007). CEO challenge 2007: Top 10 challenges 

(Research Report 1406). New York: Author.[8] Conley, D. T. (2005). College knowledge™: What it really takes for students 

to succeed and what we can do to get them ready. San Francisco: Jossey-Bass.

[9] Conley, D. T. (2007). Toward a more comprehensive conception of college 

readiness. Eugene, OR: Educational Policy Improvement Center. Accessedat www.gatesfoundation.org/learning/Documents/CollegeReadinessPaper.pdf on June 18, 2009.

[10] Darling-Hammond, L., Barron, B., Pearson, P. D., Schoenfeld, A. H., Stage,E. K., & Zimmerman, T. D., et al. (2008). Powerful learning: What we know  about teaching for understanding. San Francisco: Jossey-Bass.

[11] Donovan, S., Bransford, J., & Pellegrino, J. W. (Eds.). (2000). How people 

learn: Bridging research and practice. Washington, DC: National AcademiesPress.

[12] Donovan, S., & Bransford, J. (2004). How students learn: Science in the 

classroom. Washington, DC: National Academies Press.[13] Gera, S., & Gu, W. (2004, Fall). The effect of organizational innovation

and information technology on rm performance. International Productivity 

Monitor, 9, 37–51. Accessed at www.csls.ca/ipm/9/gera_gu-e.pdf on June18, 2009.

[14] Gladwell, M. (2000). The tipping point: How little things can make a big 

difference. Boston: Little, Brown.[15] Grigg, W., Donahue, P., & Dion, G. (2007). The nation’s report card: 12th- 

grade reading and mathematics 2005 (NCES 2007-468). U.S. Departmentof   Education, National Center for Education Statistics. Washington,DC: U.S.  Government Printing Ofce. Accessed at http://nces.ed.gov/nationsreportcard/pdf /main2005/2007468.pdf on December 7, 2009.

[16] International Institute for Management Development. (2009). IMD world 

competitiveness yearbook . Lausanne, Switzerland: Author.[17] Lee, J., Grigg, W., & Donahue, P. (2007). The nation’s report card: Reading 

Page 48: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 48/49

 

53 การศกึษาเพ อศตวรรษท ี 21

2007  (NCES 2007-496). Washington, DC: National Center for EducationStatistics, Institute of Education Sciences, U.S. Department of Education.Accessed at http://nces.ed.gov/nationsreportcard/pdf /main2007/2007496.pdf on December 7, 2009.

[18] Lichtenberg, J., Woock, C., & Wright, M. (2008). Ready to innovate: Key 

ndings. New York: The Conference Board. Accessed at www.artsusa.org/pdf /information_services/research/policy_roundtable/ready_to_innovate.pdf  on June 18, 2009.

[19] National Center for Education Statistics (2009). The nation’s report 

card: Mathematics 2009  (NCES 2009-451). Washington, DC: Institute of Education  Sciences, U.S. Department of Education. Accessed at http://nces.ed.gov/nationsreportcard/pdf /main2009/2010451.pdf on December 7,2009.

[20] Organisation for Economic Co-operation and Development (2009). Top of 

the class: High performers in science in PISA 2006. Paris: Author. Accessedat www.pisa.oecd.org/dataoecd/44/17/42645389.pdf on December 7, 2009.

[21] Partnership for 21st Century Skills. (2007). Beyond the three Rs: Voter 

attitudes toward 21st century skills. Tucson, AZ: Author. Accessed atwww.21stcenturyskills.org/documents/P21_pollreport_singlepg.pdf on June18, 2009.

[22] Partnership for 21st Century Skills. (2008). 21st century skills, education 

& competitiveness: A resource and policy guide. Tucson, AZ: Author. Accessed at www.21stcenturyskills.org/documents/21st_century_skills_ education_and_competitiveness_guide.pdf on June 18, 2009.

[23] Partnership for 21st Century Skills. (2009a). Framework for 21st century 

learning . Tucson, AZ: Author. Accessed at www.21stcenturyskills.org/documents/framework_yer_updated_april_2009.pdf on November 1, 2009.

[24] Partnership for 21st Century Skills. (2009b). The MILE guide: Milestones 

for improving learning & education. Tucson, AZ: Author. Accessedat www.21stcenturyskills.org/documents/MILE_Guide_091101.pdf onDecember 8, 2009.

[25] Pilat, D. (2004, December). The economic impact of ICT: A European 

perspective (IIR Working Paper 05–07). Paper presented to the Conferenceon IT  Innovation, Tokyo. Accessed at www.iir.hit-u.ac.jp/iir-w3/event/

Page 49: 21st+Century+Preview

5/14/2018 21st+Century+Preview - slidepdf.com

http://slidepdf.com/reader/full/21stcenturypreview 49/49

 

54  ทกษะแห่ งอนาคตใหม่

WP05–07pilat.pdf on June 18, 2009.[26] Scott, M. (2009, May 19). Competitiveness: The U.S. and Europe are tops.

Business Week. Accessed at www.businessweek.com/globalbiz/content/may2009/gb20090519_222765.htm on June 18, 2009.

[27] Swanson, C. B. (2009, April). Cities in crisis 2009: Closing the graduation 

gap. Bethesda, MD: Editorial Projects in Education. Accessed at www.edweek.org/media/cities_in_crisis_2009.pdf on December 7, 2009.

[28] Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our 

times. San Francisco: Jossey-Bass.[29] U.S. Census Bureau. (2008, August 14).   An older and more diverse 

nation by midcentury. Washington, DC: Author. Accessed at www.census.gov/Press-Release/www/releases/archives/population/012496.html onDecember 7, 2009.

[30] van Ark, B., Barrington, L., Fosler, G., Hulten, C., & Woock, C. (2009).Innovation and U.S. competitiveness: Reevaluating the contributors to 

growth. New York: The Conference Board.[31] Wagner, T. (2008). The global achievement gap: Why even our best 

schools don’t teach the new survival skills our children need—and what we 

can do about it. New York: Basic Books.[32] Webb, N. L. (1997, April). Criteria for alignment of expectations and 

assessments in mathematics and science education (Research Monograph6). Madison, WI:  National Institute for Science Education. Accessed athttp://hub.mspnet.org/media/data/WebbCriteria.pdf?media_000000000924.pdf on June 18, 2009.

[33] Zoghi, C., Mohr, R. D., & Meyer, P. B. (2007, May). Workplace organization 

and innovation (Working Paper No. 405). Washington, DC: U.S. Bureau of Labor Statistics.