· 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖...

8
จดหมายข่าว ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๐ เอกสารเผยแพร่ ข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีท่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ กันยายน ๒๕๕๕ ISSN ๐๘๕๗-๗๐๖๔ *** ขอแสดงความยินดีในโอกาสทีศ.เกียรติคุณ ดร.ปัญญา บริสุทธนายกราชบัณฑิตยสถาน นางสุจิตรา กลิ่นเกสร กรรมการวิชาการ และนางสาวดุษฎีพร ชำนิโรคศานตกรรมการวิชาการ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ นายจุลทรรศน์ พยาฆรานนทราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ผศ.วินัย ภู่ระหงษภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม รศ. ดร.นิตยา กาญจนวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม รศ. ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม รศ. ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ กรรมการวิชาการ และ ผศ.กิติยวดี บุญซื่อ กรรมการวิชาการ ได้รับการคัดเลือกเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันภาษาไทย แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.นพมาศ อุ้งพระ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ความเอื้อเฟื้อ และการช่วยเหลือผู้อื่น (Altruism: Helping Others) ความโดย สรุปว่า ทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมเอื้อเฟื้อมี ๓ ทฤษฎี คือ ทฤษฎี การแลกเปลี่ยนทางสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า การ ช่วยเหลือเหมือนพฤติกรรมทางสังคมอื่น ๆ ได้รับการจูงใจโดยความ อยากลดความเสียหายและเพิ่มรางวัล แต่ความห่วงใยซึ่งเกิดจาก ความเอื้อเฟื้อที่แท้จริง ทำเพื่อความผาสุกของผู้อื่นก็จูงใจคนได้ ไม่ใช่ว่าทำเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เท่านั้น ปทัสถานทางสังคมได้กำหนดการช่วยเหลือ และปทัสถานของ การต่างตอบแทน กระตุ้นให้เราตอบแทนผู้ช่วยเหลือ ปทัสถานของ ความรับผิดชอบต่อสังคม เรียกร้องให้เราช่วยคนที่ต้องการความ ช่วยเหลือจริง ๆ แม้ผู้รับความช่วยเหลือจะตอบแทนไม่ได้ ความเอื้อเฟื้อในทางจิตวิทยาวิวัฒนาการ คือ การอุทิศตน ให้ญาติ และการตอบสนองหรือการต่างตอบแทน ซึ่งนักจิตวิทยา วิวัฒนาการส่วนใหญ่เชื่อว่ายีนของคนที่เห็นแก่ตัวจะอยู่รอดได้มาก กว่ายีนที่เสียสละตนเอง ดังนั้น สังคมจึงควรสอนพฤติกรรม เอื้อเฟื้อเพื่อให้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง จากข้อมูลการวิจัยพบว่า มีสถานการณ์หลายอย่างที่มีอิทธิพล ต่อการยับยั้งความเอื้อเฟื้อ เช่น เมื่อคนรอบข้างที่ยืนดูเหตุฉุกเฉิน เพิ่มขึ้น พวกเขาอาจไม่ค่อยสังเกตเห็นเหตุการณ์ ไม่ค่อยตีความว่า มันเป็นเหตุฉุกเฉิน และไม่ค่อยยอมรับผิดชอบ ส่วนเหตุการณ์ที่ส่ง เสริมความเอื้อเฟื้อ เช่น หลังจากเห็นคนอื่นช่วย และเมื่อไม่รีบร้อน รวมทั้งภาวะด้านอารมณ์คือ หลังจากทำผิดคนมักยินดีช่วยเหลือ มากขึ้น เพื่อต้องการบรรเทาความรู้สึกผิดและฟื้นคืนภาพพจน์ คนที่มีภาวะโศกเศร้ามักให้การช่วยเหลือผู้อื่นเนื่องจากรู้สึกแย่และ อยากทำความดี ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่มีในเด็ก แสดงว่าการได้รางวัล ทางใจจากการช่วยเหลือเป็นผลผลิตของสังคมประกิต และคนรู้สึกดี ก็ชอบช่วยเหลือคือมีความรู้สึกดีอยากช่วย อย่างไรก็ตาม มีคนบาง พวกชอบช่วยเหลืออยู่เสมอ ความศรัทธาทางศาสนาทำให้เกิดความ เอื้อเฟื้อระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นในงานอาสาสมัครและการ ทำบุญ เราสามารถสอนความเอื้อเฟื้อได้ด้วยค่านิยมทางศีลธรรม และกฎของความยุติธรรมของตน และสามารถเพิ่มการช่วยเหลือ ด้วยการเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบ และสอนให้มีความเอื้อเฟื้อไดวันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจการเมืองเรื่องความมั่นคงของรัฐบาล ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบันรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ มักจะเผชิญกับปัญหาการอยูรอดทางการเมือง หรือความมั่นคงและเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งมัก เกิดจากปัญหาและการแก้ปัญหาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และ การกระทำของรัฐบาลหรือนักการเมือง ซึ่งถ้าประชาชนเป็น

Transcript of  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖...

Page 1:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

จดหมายข่าว

ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๐

เอกสารเผยแพร่

ข่าวราชบัณฑิตยสถาน

ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ กันยายน ๒๕๕๕ ISSN ๐๘๕๗-๗๐๖๔

*** ขอแสดงความยนิดใีนโอกาสที ่ศ.เกยีรตคิณุ ดร.ปญัญา บรสิทุธิ ์นายกราชบณัฑติยสถาน นางสจุติรา กลิน่เกสร กรรมการวชิาการ และนางสาวดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์ กรรมการวิชาการ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕

นายจลุทรรศน ์พยาฆรานนท ์ราชบณัฑติ สำนกัศลิปกรรม ผศ.วนิยั ภูร่ะหงษ ์ภาคสีมาชกิ สำนกัศลิปกรรม รศ. ดร.นติยา กาญจนวรรณ ภาคสีมาชกิ สำนกัศลิปกรรม รศ. ดร.ชลดา เรอืงรกัษล์ขิติ ภาคสีมาชกิ สำนกัศลิปกรรม รศ. ดร.มณปีิน่ พรหมสทุธริกัษ ์กรรมการวชิาการ และ ผศ.กิติยวดี บุญซื่อ กรรมการวิชาการ ได้รับการคัดเลือกเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕

สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก

สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.นพมาศ อุง้พระ ภาคสีมาชกิ บรรยายเรือ่ง ความเอือ้เฟือ้

และการช่วยเหลือผู้อื่น (Altruism: Helping Others) ความโดยสรุปว่า ทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมเอื้อเฟื้อมี ๓ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า การช่วยเหลือเหมือนพฤติกรรมทางสังคมอื่น ๆ ได้รับการจูงใจโดยความอยากลดความเสียหายและเพิ่มรางวัล แต่ความห่วงใยซึ่งเกิดจากความเอื้อเฟื้อที่แท้จริง ทำเพื่อความผาสุกของผู้อื่นก็จูงใจคนได้ ไม่ใช่ว่าทำเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เท่านั้น

ปทัสถานทางสังคมได้กำหนดการช่วยเหลือ และปทัสถานของการต่างตอบแทน กระตุ้นให้เราตอบแทนผู้ช่วยเหลือ ปทัสถานของความรับผิดชอบต่อสังคม เรียกร้องให้เราช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ แม้ผู้รับความช่วยเหลือจะตอบแทนไม่ได้

ความเอื้อเฟื้อในทางจิตวิทยาวิวัฒนาการ คือ การอุทิศตน ให้ญาติ และการตอบสนองหรือการต่างตอบแทน ซึ่งนักจิตวิทยาวิวัฒนาการส่วนใหญ่เชื่อว่ายีนของคนที่เห็นแก่ตัวจะอยู่รอดได้มากกว่ายีนที่เสียสละตนเอง ดังนั้น สังคมจึงควรสอนพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเพื่อให้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง

จากข้อมูลการวิจัยพบว่า มีสถานการณ์หลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการยับยั้งความเอื้อเฟื้อ เช่น เมื่อคนรอบข้างที่ยืนดูเหตุฉุกเฉิน

เพิ่มขึ้น พวกเขาอาจไม่ค่อยสังเกตเห็นเหตุการณ์ ไม่ค่อยตีความว่ามันเป็นเหตุฉุกเฉิน และไม่ค่อยยอมรับผิดชอบ ส่วนเหตุการณ์ที่ส่งเสริมความเอื้อเฟื้อ เช่น หลังจากเห็นคนอื่นช่วย และเมื่อไม่รีบร้อน รวมทั้งภาวะด้านอารมณ์คือ หลังจากทำผิดคนมักยินดีช่วยเหลือมากขึ้น เพื่อต้องการบรรเทาความรู้สึกผิดและฟื้นคืนภาพพจน์ คนที่มีภาวะโศกเศร้ามักให้การช่วยเหลือผู้อื่นเนื่องจากรู้สึกแย่และอยากทำความดี ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่มีในเด็ก แสดงว่าการได้รางวัลทางใจจากการช่วยเหลือเป็นผลผลิตของสังคมประกิต และคนรู้สึกดีก็ชอบช่วยเหลือคือมีความรู้สึกดีอยากช่วย อย่างไรก็ตาม มีคนบางพวกชอบช่วยเหลืออยู่เสมอ ความศรัทธาทางศาสนาทำให้เกิดความเอื้อเฟื้อระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นในงานอาสาสมัครและการทำบุญ เราสามารถสอนความเอื้อเฟื้อได้ด้วยค่านิยมทางศีลธรรม และกฎของความยุติธรรมของตน และสามารถเพิ่มการช่วยเหลือด้วยการเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบ และสอนให้มีความเอื้อเฟื้อได้

๏ วันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง

เศรษฐกิจการเมืองเรื่องความมั่นคงของรัฐบาล ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบันรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ มักจะเผชิญกับปัญหาการอยู่รอดทางการเมือง หรือความมั่นคงและเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งมักเกิดจากปัญหาและการแก้ปัญหาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และการกระทำของรัฐบาลหรือนักการเมือง ซึ่งถ้าประชาชนเป็น

Page 2:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน

พลเมืองที่มีคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย จะสามารถเลือกนักการเมืองที่ดีเข้าไปใช้อำนาจบริหารปกครองประเทศ ให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองและประชาชนมีความอยู่ดีกินดีได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ไร้การศึกษา และเป็นคนเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนแล้วอาจทำให้นักการเมืองที่ไม่ดีเข้าไปมีอำนาจ โดยมักจะอ้างว่าตนได้อำนาจมาจากประชาชน จนอาจจะทำให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลเผด็จการหรือเป็นทรราชได้

ถ้ารัฐบาลบริหารประเทศโดยใช้นโยบายประชานิยมเป็นหลัก ไม่ทำการปฏิรูประบบภาษีอากรควบคู่กันไป จะทำให้เกิดปัญหาการขาดดุลทางการคลัง และหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ในที่สุดจะเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชนเดือดร้อน ในขณะเดียวกัน ถ้าหากธุรกิจเอกชนขาดความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจโดยที่สถาบันการเงินและธุรกิจขนาดใหญ่เอารัดเอาเปรียบประชาชนจนทำให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ เช่น เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการเงิน และรัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาได้ ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาของประเทศวิกฤติมากยิ่งขึ้น ทำให้ยากต่อการแก้ไข และถ้ารัฐบาลใช้จ่ายแบบประชานิยมมากเกินไป ไม่สัมพันธ์กับการจัดเก็บภาษีอากรแล้ว ในที่สุดก็จะต้องเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ทางการคลังและทางเศรษฐกิจ เช่น ในประเทศกรีซ สเปน อิตาลี ไอร์แลนด์ โปตุเกส

ความมั่นคงของรัฐบาลจะเกิดจากการบริหารงานทางเศรษฐกิจการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล เริ่มต้นจากการได้อำนาจรัฐมาด้วยความชอบธรรมทางการเมืองและได้บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ประชาชนพอใจ มีความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจ คือต้องทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตในอัตราที่สูง ทำให้องค์กรทางเศรษฐกิจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องป้องกันมิให้เกิดการใช้อำนาจทางการเมืองที่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง

ในด้านการใช้จ่ายและการเก็บภาษี รวมถึงการกู้ยืมของรัฐบาล รัฐบาลต้องพิจารณาถึงดุลยภาพทางการคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทำให้เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศสามารถเจริญเติบโตในอัตราที่สูงและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี การใช้นโยบายประชานิยมต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาถึงการขาดดุลทางการคลังในอัตราที่เหมาะสม การใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลจะต้องพิจารณาถึงการจัดเก็บภาษีและการหารายได้ของรัฐบาลประกอบด้วย

๏ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จุดตัด

ทางรถไฟ ความโดยสรุปว่า จุดตัดทางรถไฟในปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ จุดตัดทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร และจุดตัดทางรถไฟที่เป็นทางลักผ่าน ค่าเฉลี่ยของการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟพบว่า เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟประเภททางลักผ่าน และจุดตัดทางรถไฟที่ควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจรไม่ครบถ้วน ไม่ได้มาตรฐาน หรืออยู่ในสภาพชำรุด จุดตัดทางรถไฟมีความลาดชัน สภาพผิวจราจรชำรุด มีสิ่งปลูกสร้าง พุ่มไม้หรือหญ้าสูงบริเวณข้างทางรถไฟ ไม่มีไฟฟ้าและแสงสว่าง ทำให้ระยะ

การมองเห็นรถไฟมีไม่เพียงพอ หรือผู้ขับขี่มีพฤติกรรมขับฝ่า เครื่องกั้น

การลดอุบัติเหตุที่เกิดในบริเวณจุดตัดทางรถไฟทำได้โดยใช้ หลักการทางด้านวิศวกรรม ติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องหมาย ก่อสร้างทางตัดผ่านต่างระดับ ควบคุมผู้ขับขี่ยานพาหนะ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งเสริมวินัยจราจร ปิดจุดลักผ่านหรือปิดจุดตัดรถไฟที่ไม่จำเป็น การปิดกั้นจุดตัดทางรถไฟเพื่อให้รถไฟผ่านควรใช้เวลาที่น้อยที่สุดเพื่อให้ผู้ขับขี่มีความอดทนและไม่ฝ่าฝืนเครื่องกั้น การจัดทำจุดตัดผ่านทางรถไฟแต่ละจุดต้องสำรวจและวางแผนถึงพื้นที่และความจำเป็น การรถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต้องร่วมมือกันหาแนวทางการแก้ไข และจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนติดตั้งสัญญาณเตือนแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะให้ครบถ้วนและได้มาตรฐาน จัดทำทางลอดหรือทางต่างระดับในจุดตัดทางรถไฟที่สำคัญให้ครบ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและปัญหาจราจร ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญเพราะเป็นความปลอดภัยของประชาชน

นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยควรจัดทำทะเบียนประวัติของจุดตัดรถไฟต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบริหารความปลอดภัย และจัดลำดับความสำคัญของจุดตัดรถไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและให้ทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ในทะเบียนประวัติจุดตัดทางรถไฟควรระบุถึงจำนวนขบวนรถไฟและปริมาณรถยนต์ที่ผ่าน ความเร็วของรถยนต์และรถไฟที่วิ่งผ่าน ลักษณะทางเรขาคณิตในการมองเห็น สิ่งที่บดบังสายตา การควบคุมจุดตัดทางรถไฟและเครื่องหมายจราจรที่ใช้บริเวณนั้น และจุดตัดทางรถไฟที่มีการลักลอบตัดถนนผ่าน ควรปิดบางจุดตัดที่มีอันตรายหรือจุดตัดที่ไม่มีความจำเป็นลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอีก

รศ. ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ชนบทไทยในวิถีทุนนิยม ความโดยสรุปว่า ในช่วงเวลาประมาณ ๑๕๐ ปีที่ผ่านมา ชนบทไทยเปลี่ยนผ่านจากชุมชนที่ทำการผลิตแบบพอยังชีพเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ไปสู่การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายใต้วิถีทุนนิยม พลังที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มจากภายนอก แล้วค่อย ๆ แผ่ขยายไปสู่ชนบทที่อยู่ห่างไกล ครัวเรือนในชนบทซึ่งเป็นหน่วยการผลิตขั้นพื้นฐานทางการเกษตรได้เข้าสู่การเป็นเกษตรทุนนิยมอย่างเต็มตัว ใช้ต้นทุนการผลิตสูงและใช้เทคโนโลยีมาก บรรษัทธุรกิจการเกษตรทั้งในประเทศและบริษัทข้ามชาติเข้ามามีบทบาท และบางครั้งก็กลายเป็นคู่แข่งสำหรับผู้ผลิตรายเล็กคือครัวเรือนเกษตรกรในชนบท เกษตรทุนนิยมในชนบทจึงเชื่อมโยงกับทุนนิยมเสรีในระดับสากล ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีส่วนทำให้ครัวเรือนเกษตรกรและแรงงานในภาคเกษตรลดลง เนื่องจากในปัจจุบันเป็นการผลิตที่ใช้ทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง แต่ให้ผลตอบแทนต่ำและไม่แน่นอน เกษตรกรจำนวนมากจึงหันไปหารายได้จากแหล่งอื่น เช่น ไปทำงานในเมือง บางส่วนเลิกทำการเกษตร

ระบบทุนนิยมเสรีทำให้เกิดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน และส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรจำนวนมากสูญเสียที่ดินอันเป็น

Page 3:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

3ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕

ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เกษตรกรจึงเป็นกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดในบรรดากลุ่มอาชีพทั้งหมด

ปัจจุบัน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนบางส่วนเริ่มตระหนักถึงปัญหาและเสนอทางออกในรูปของการปฏิรูปที่ดินและปรับตัวในการผลิต มุ่งลดความเสี่ยง ลดการพึ่งตลาด และมุ่งทำการผลิตที่ปลอดภัย ทั้งแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มุ่งลดการทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศด้วย

สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.อมรเรศ ภูมิรัตน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง งานวิจัย

วิทยาศาสตร์พื้นฐานในประเทศไทย...ยังถูกละเลยเช่นเดิม...” ความโดยสรุปว่า เป็นที่ทราบกันดีว่างานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญยิ่งต่อการเกิดนวัตกรรม และส่งผลต่อเนื่องถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศ อย่างไรก็ดี ในการก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่ผ่านมาในอดีตประเทศไทยไม่ได้เห็นความสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานมากเท่าที่ควร เป็นผลให้ผลงานวิชาการที่สร้างองค์ความรู้ใหม่มีน้อยมาก ดังปรากฏว่าในปี ๒๕๕๓ ผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติของไทยมีประมาณ ๙,๕๐๐ เรื่อง ในขณะที่ในปีเดียวกันประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหราชอาณาจักรมีถึง ๑๒๔,๐๐๐ เรื่อง และหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียพบว่ามีการตีพิมพ์ถึง ๑๓,๐๐๐ เรื่อง ทั้ง ๆ ที่ประชากรและจำนวนนักวิจัยของประเทศมาเลเซียมีน้อยกว่าประเทศไทยมาก ซึ่งหากคำนวณผลงานตีพิมพ์ต่อปีต่อนักวิจัยแล้วประเทศมาเลเซียจะมี ๐.๙๒ เรื่อง ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง ๐.๒๒ เรื่อง

ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสถาน (สำนักวิทยาศาสตร์) อาจพิจารณาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้มีการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานในประเทศไทยให้มากขึ้น เช่น อาจมีการผลักดันเชิงสังคมเพื่อสร้างความตระหนักในสังคมไทยถึงความสำคัญของการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ไทยทุ่มเทให้กับงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานมากขึ้น เป็นต้น

๏ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อย่าเป็น

เหยื่อการลงพิมพ์ในวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน ความโดยสรุปว่า นโยบายของมหาวิทยาลัยแหลายแห่ง ต้องการเพิ่มจำนวนผลงานวิจัยในวารสารทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนักศึกษาหลังปริญญา (ปริญญามหาบัณฑิต, ดุษฎีบัณฑิต) จะจบหลักสูตรได้ต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีกรรมการตรวจสอบ (peer review) เมื่อเป็นดังนี้จึงได้มีสำนักพิมพ์จำนวนมากรับลงพิมพ์ในวารสาร โดยอ้างว่ามีกรรมการตรวจสอบประกอบกับการมีสำนักพิมพ์อ้างว่าเป็น open access จะเป็นสำนักพิมพ์ที่เปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์ถึงวารสารได้ โดยลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ใช่ของสำนักพิมพ์ และบทความนี้จะอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-journal โดยจะไมม่ ีhard copy บทความผลงานวิจัยจะอยู่ใน web หรือ internet

access เท่านั้น การมีสำนักพิมพ์เป็น electronic access หรือ open access

เป็นของดี ต้นทุนต่ำ ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลนั้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ สำหรับผู้ใช้ข้อมูลทำให้ลงพิมพ์เผยแพร่ได้เร็ว และเป็นที่ต้องการของสมาชิกโดยทั่วไป วารสารดังกล่าวจึงมีจำนวนมาก ดำเนินการแบบยุติธรรม ดำเนินการนโยบายดังกล่าว เช่น วารสารในกลุ่ม PLoS (Public Library of Science) เช่น PLoS One, PLoS Pathogen เป็นต้น วารสารดังกล่าวเป็นที่ยอมรับนิยมอย่างแพร่หลายและค่าใช้จ่ายในการลงพิมพ์ผู้รับผิดชอบเป็นเจ้าของบทความ จึงมีการเก็บค่าใช้จ่ายจากเจ้าของบทความงานวิจัยประมาณตั้งแต่ ๕๐๐-๒๐๐๐ เหรียญสหรัฐ และงานวิจัยต่าง ๆ ก็สามารถตั้งงบเป็นค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ได้จากเจ้าของทุน

ในขณะเดียวกันมีสำนักพิมพ์จำนวนมากได้เห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจในวิธีการดังกล่าว โดยสำนักพิมพ์จะตั้งชื่อวารสารให้เป็นที่ติดตาต้องใจของนักวิจัย วารสารดังกล่าวมักจะขึ้นต้นด้วย American Journal of …, British Journal of Medicine …, European Journal of …, International Journal of …, Advance… โดยที่บางแห่งจะใช้ชื่อล้อกับวารสารที่มีชื่อให้แตกต่างเพียงเล็กน้อย เช่นเติม S เข้าไปในชื่อวารสารให้แตกต่างจากวารสารเดิมที่ไม่มี S บางสำนักพิมพ์จะมีวารสารจำนวนมากครบทุกสาขาวิชา หรือมากกว่า ๓๐๐ วารสาร ซึ่งความเป็นจริง รักษาคุณภาพของวารสาร และวารสารดังกล่าวก็จะเก็บค่าลงวารสาร (page charge) โดยใช้คำว่าค่าดำเนินการ (process) และหลีกเลี่ยงคำว่า page charge บางสำนักพิมพ์ที่มีวารสารที่มีมาตรฐานใน ISI อยู่เพียงเล็กน้อยแต่มีวารสารจำนวนมากอยู่นอกมาตรฐาน ISI ค่าลงพิมพ์จะแตกต่างกันตั้งแต่ ๔๐๐ เหรียญสหรัฐ จนถึงมากกว่า ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐและมีนโยบายที่เรียกว่า “จ่ายตรง ลงแน่” ในวารสารจำนวนมากเหล่านี้ มีนักวิจัยจากประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยไปลงเผยแพร่ในวารสารเหล่านี้จำนวนมาก นับเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก

การมีวารสารในลักษณะต้นทุนต่ำ และ open access จำนวนมาก จึงได้เกิดมีขบวนการที่เรียกว่า “ฮั้วอ้างอิง” หรือ “citation cartel” โดยที่สำนักพิมพ์มีวารสารหลายวารสารก็อาจจะทำให้เกิดการอ้างอิง ปลอม หรือ สร้างขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนการอ้างอิง วารสารให้มีผลต่อ impact factor จากผลดังกล่าวทำให้ในปี ๒๐๑๒ ISI ได้พบขบวนการดังกล่าว และได้ถอดถอนวารสารจำนวน ๕๑ วารสารออกจาก ISI เช่น วารสาร Cel l transplantation, The Scientific World Journal, Medical Science Monitor

ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะต้องมาทบทวนดูบทความวิจัยของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและไม่สนับสนุนการลงพิมพ์ในวารสารที่ไม่ได้มาตรฐานสากล เพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อในการลงพิมพ์ในวารสารที่ไม่เหมาะสม

๏ วันพุธที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.เกียรติคุณ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต บรรยาย

เรื่อง Liberal Arts/Arts & Sciences Studies ความโดยสรุปว่า Arts โดยทั่วไปหมายถึงองค์ความรู้ที่ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ มิใช่วิทยาศาสตร์ humanities เป็นกลุ่มวิชาที่เกี่ยวกับความเป็น

Page 4:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน

มนุษย์ จึงน่าจะคล้ายกับ arts ซึ่งรวมทั้ง social sciences ในประเทศไทย มนุษยศาสตร์มักจะเป็นศัพท์ที่ใช้แทนอักษรศาสตร์ liberal arts ได้รวม ๓ กลุ่มสาขาวิชาหลัก ได้แก่ humanities, social sciences และ natural sciences การสอนกลุ่มวิชา liberal arts ในมหาวิทยาลัยใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาเป็นหน้าที่ของวิทยาลัย arts & sciences เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์, วิสคอนซิน และวิทยาลัย letters & sciences เช่น UC Berkeley จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยมีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะศลิปศาสตรข์องมหาวทิยาลยัธรรมศาสตร ์กเ็คยสอน liberal arts

คำว่า ศิลปะวิทยาศาสตร์ น่าจะสื่อความหมายของ liberal arts ให้แก่นักเรียนและผู้ปกครองส่วนมากได้ดีกว่าศิลปศาสตร์ ถ้านักศึกษาได้เรียน liberal arts ใน ๒ ปีแรก ก็จะเลือกเรียนและเรียนสาขาวิชาเฉพาะทางใน ๒ ปีหลังได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสาขาวิชาประเภท multidisciplinary และ interdisciplinary และก็สามารถเรียนสาขาวิชาด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ได้ด้วย ซึ่งมีตัวอย่างใน liberal arts colleges และ colleges of arts & sciences ของสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาในประเทศหลายแห่ง ยังให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งสถาบันเรียนกลุ่มวิชา liberal arts ด้วยกันในปีแรก เช่น สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตรซึ่งมีคณะศิลปศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยเอเชียนได้มีมติให้คณะศิลปศาสตร์รับผิดชอบในการจัดสอน liberal arts ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาเรียนใน ๓ ภาคการศึกษาแรกร่วมกัน ๕๔ หน่วยกิต โดยให้เรียนอักษรศาสตร์ ๑๘ หน่วยกิต สังคมศาสตร์ ๑๕ หน่วยกิต วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ๑๒ หน่วยกิต และกลุ่มวิชาเลือก ๙ หน่วยกิต แผนในระยะยาวจะให้นักศึกษาเรียน ๔ ภาคการศึกษาแรกร่วมกัน

ในปัจจุบันและอนาคต ที่สภาพของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและวัฒนธรรม มีความยุ่งยากและความซับซ้อนมากขึ้น บัณฑิตจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่กว้างของ liberal arts ในการแก้ไขปัญหาและทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน ตัวอย่างปัญหาที่เกิดในประเทศไทย เช่น การจัดการทรัพยากรน้ำเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมากในสังคมที่แตกต่างกัน เช่น เกษตรกรรม ป่าไม้ เมือง ชุมชน อุตสาหกรรม ถ้าผู้ที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย มีความรู้พื้นฐานทางศิลปะวิทยาศาสตร์ ก็จะสามารถบูรณาการข้อมูลที่หลากหลายมาใช้ในการบริหารจัดการอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนและน้ำทะเลให้ดีขึ้นได้

สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ม้าใน

นาฏกรรมไทย ความโดยสรุปว่า ม้า ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวว่า “ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว ใช้เป็นพาหนะขับขี่และเทียมรถ” สำหรับชื่อม้านั้นมีมากมายดังนี้ กัณฐัศ, กัณฐัศว์ (ม้า, ม้าตระกูลกัณฐกะ) พาชี พาชินี (ม้าตัวเมีย) มโนมัย (ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ) วฬวา (ม้าตัวเมีย) สินธพ (ม้าพันธุ์ดีเกิดที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ) อาชา อาชาไนย (ม้าที่มีตระกูลดี, ม้าที่

ฝึกหัดมาดี) ดุรค (สัตว์ไปเร็วคือม้า) ดุรงค์ (ม้า, คนขี่ม้า) ดุรงคมี (ม้าตัวเมีย) อัศว อัสดร (ม้าดี)

ศิลปะการแสดง ปรากฏเรื่องที่เกี่ยวเนื่องด้วยม้าอยู่หลากหลายแขนงด้วยกัน ได้แก่ ศิลปกรรม วรรณกรรม ดุริยางคกรรม และนาฏกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้

๑. ด้านศิลปกรรม ปรากฏในรูปของการสร้างสรรค์งานด้านการออกแบบม้าแผง เครื่องแต่งกาย หัวม้า และแส้ม้า ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง

๒. ด้านวรรณกรรม ปรากฏในเรื่องราวของตัวละคร เป็นม้าอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่น ม้านิลพาหุของวิรุญจำบังในโขนเรื่องราม-เกียรติ์ ม้าสีหมอกของขุนแผนในละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ม้านิลมังกรของสุดสาครในละครนอกเรื่องพระอภัยมณี และนางแก้วหน้าม้าในละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า

๓. ด้านดุริยางคกรรม ปรากฏชื่อเพลงม้ารำ ม้าย่อง ม้าโขยก ม้าวิ่ง และอัศวลีลา เป็นต้น

๔. ด้านนาฏกรรม ปรากฏกระบวนท่ารำเฉพาะที่มีลักษณะของม้า เช่น การกระโดด การกระทืบเท้า โขยกเท้า และเสียง

นาฏกรรมไทยกล่าวถึงม้าอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ได้แก่ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท สุวรรณหงส์ สังข์ทอง ขุนช้างขุนแผน รถเสน ราชาธิราช พระอภัยมณี โกมินทร์ และแก้วหน้าม้า แต่ละเรื่องก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งลักษณะของม้า และการนำไปใช้ประกอบการแสดง ตลอดจนกระบวนท่ารำต่างๆ ผู้เขียนได้วิเคราะห์สรุปพอสังเขปดังนี้

๑. ม้าแผงเป็นพาหนะ อุปกรณ์ประกอบการแสดง ๒. ม้าคนเทียมรถไม่มีบทบาท ๓. ม้าคนเป็นระบำประกอบการแสดง ๔. ม้าคนเป็นพาหนะมีบทบาท ๕. ม้าจริงเป็นพาหนะ ๖. ม้าคนเป็นพาหนะ แต่เป็นม้าลูกผสม ๗. ม้าคนเป็นตัวเอกของเรื่อง ไม่ได้เป็นพาหนะ บทบาทของม้าแต่ละหัวข้อมีปะปนกันอยู่ในนาฏกรรมการแสดง

ซึ่งมีจารีตเฉพาะ ปรากฏเป็นรูปแบบของการแสดงโขน ละครใน ละครนอก ละครพันทาง ละครเสภา และละครชาตรีทรงเครื่อง โดยเฉพาะม้าที่มีบทบาทก็จะมีกระบวนท่ารำตามจารีตของการแสดงแต่ละประเภท

ม้าแผง ทำด้วยหนังวัวแกะสลักเขียนสีเป็นรูปม้า มีความกว้าง ๑๗ นิ้ว ยาว ๒๓ นิ้ว ข้างตัวแผงม้าใช้ลวดทำเป็นตะขอ เวลาแสดงใช้ตะขอลวดเกี่ยวที่สายเข็ดขัดข้างลำตัวผู้แสดง ในระหว่างแสดง ผู้แสดงจะทำท่ากระโดดไปมาตามกิริยาของม้าประหนึ่งว่าเป็นเท้าม้า ส่วนท่อนบนก็แสดงกระบวนท่ารำตามบทบาทที่ได้รับ อุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบการแสดงทั้งม้าแผง และม้าคน คือ แส้ม้า ทำด้วยหวายติดพู่สีแดง ยาวประมาณ ๓๔ นิ้ว

ม้าเป็นสัตว์ที่ถูกจินตนาการให้มีความสามารถมากมาย สามารถเหาะเหินได้รวดเร็ว สามารถพูดได้ เป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษาได้ ในกระบวนท่ารำก็จะมีกิริยาท่าทางของม้าผสมผสาน ดูแข็งแรง น่าเอ็นดูยิ่งนัก มีความเฉลียวฉลาด ช่างเจรจา อุปนิสัยของม้าพอสรุปได้ดังนี้

Page 5:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

5ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕

๑. มีความแข็งแรง ปราดเปรียว ว่องไว ๒. มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อผู้เป็นนาย ๓. มีความกตัญญู รู้จักบุญคุณ ๔. มีความรับผิดชอบ ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ๕. มีความเฉลียวฉลาด หลักแหลม บทบาทของม้าปรากฏในนาฏกรรมการแสดงโขน ดังนี้ บทบาทม้าแผง ๑. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ - ม้าของพญาทูษณ์ ผ่านดำ พญาทูษณ์น้องร่วมครรภ์

ทศกัณฐ์ กายสีม่วงแก่ มงกุฎกระหนก - ม้านิลพาหุ ลำตัวสีดำ ปากแดง ม้าของวิรุญจำบัง พญา

ยักษ์วิรุญจำบังกายสีม่วงแก่ มงกุฎหางไก่ เป็นโอรสพญาทูษณ์ เจ้ากรุงจารึก สามารถหายตัวได้ทั้งตนและม้า เมื่อครั้งออกรบกับพระราม ม้านิลพาหุถูกศรพระรามฆ่าตาย

- ม้าวิรุญมุข ตัวสีขาว หัวสีดำ วิรุญมุขโอรสวิรุญจำบัง หน้ายักษ์กุมาร กายสีเขียว มีหอกเป็นอาวุธ

- ม้านิลพาหุ พื้นขาว แซมดำ ม้าของนนยวิก ผู้เป็นโอรสของมารีจกับนางเจษฎา มีน้องชายชื่อวายุเวก กายสีเขียว

- ม้าเมฆมาลา ผ่านดำ ม้าของวายุเวก กายสีมอคราม - ม้าของทศคิรีวัน ผ่านขาว ทศคิรีวันเป็นโอรสทศกัณฐ์

กับนางช้างพัง กายสีเขียว มงกุฎกาบไผ่ จมูกเป็นงวงช้าง - ม้าของทศคิรีธร ผ่านดำ เป็นพี่น้องฝาแฝดกับทศคิรีวัน

กายสีหงดิน มงกุฎกาบไผ่ จมูกเป็นงวงช้าง ๒. การแสดงละครใน เรื่องอิเหนา - ม้าแผงสังคามาระตา ม้าแผงวิหยาสะกำ - ม้าแผงอิเหนา ม้าแผงกะหมังกุหนิง ปรากฏในการแสดง

ละครในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง การแสดงละครในเรื่องอุณรุท - ม้าแผงพระอุณรุท ปรากฏในการแสดงละครในเรื่อง

อุณรุท ตอนกลอุบายเทพไท ๓. การแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน - ม้าแผงพลายชุมพล สีกะเลียว (สีเขียวอมดำ) ปรากฏใน

การแสดงละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายชุมพลแต่งตัว ๔. การแสดงละครพันทางเรื่องราชาธิราช - ม้าแผงสมิงพระราม ปรากฏในการแสดงละครพันทาง

เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา ๕. การแสดงละครนอก เรื่องสังข์ทอง - ม้าแผงพระอินทร์ และม้าแผงพระสังข์ ปรากฏในการ

แสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี บทวิเคราะห์ม้าแผง ๑. อุปกรณ์ประกอบการแสดงอย่างหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวลักษณะไว้

แล้วในช่วงต้น ๒. สีของม้าเป็นไปตามพงศ์ของม้าแต่ละตัว ๓. ใช้ตะขอที่ติดอยู่ข้างม้าแผง เกี่ยวกับสายเข็มขัดด้านขวา

ของลำตัวผู้แสดง ๔. เป็นม้าที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่บทบาทจะไปเน้นอยู่ที่ผู้ขี่

มากกว่า

๕. เพื่อให้ผู้แสดงสามารถแสดงกระบวนท่ารำได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว

๖. การแสดงในตอนขี่ม้าเน้นในเรื่องของการต่อสู้และการติดตาม

๗. ที่สำคัญคือผู้ขี่จะร่ายรำกระบวนท่า โดยใช้เท้าแทนการเต้นของม้าในท่าต่าง ๆ

๘. กระบวนท่าหลักของการขี่ม้าคือ มือซ้ายจับที่หูม้าแผงในลักษณะจีบมือ เมื่อหยุดยืนจะยกเท้าซ้าย ให้ส้นเท้าติดอยู่ที่เข่าขวา มือขวาถือแส้ประกอบการรำ

๙. ในระหว่างแสดง ผู้แสดงจะต้องใช้ความระมัดระวังไม่เช่นนั้นม้าแผงอาจจะหลุดจากสายเข็มขัด แล้วตกลงมาได้

ม้าแผงนี้มีกล่าวถึงเป็นข้อมูลสำคัญอยู่ในสูจิบัตรการแสดงละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ หน้า ๑๔ ความว่า

“ท่านผู้ดูจะสังเกตเห็นแผงรูปม้าผูกห้อยติดอยู่ ณ สะเอวข้างขวาของตัวละคร ตามแบบแผนการแสดงนาฏกรรมไทย สมมติว่าตัวละครที่ผูกแผงรูปม้าเช่นนี้กำลังนั่งอยู่บนหลังม้า และท่านจะสังเกตเห็นจังหวะลีลาท่าเหยาะย่าง เผ่นโผน อย่างน่าดู ซึ่งอาจารย์นาฏศิลป์ไทยได้เลียนกิริยาอาการของม้า นำมาประดิษฐ์ขึ้นไว้เป็นแบบฉบับของนาฏศิลป์ไทยสืบมา”

บทบาทม้าคนเทียมรถไม่มีบทบาท ๑. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ - ม้าเทียมราชรถท้าวมาลีวราช สวมหัวม้าเปิดหน้า แต่ง

กายสีเทา ปรากฏในการแสดงโขนชุดท้าวมาลีวราชว่าความ - ม้าเทียมราชรถพระราม สวมหัวม้าเปิดหน้า แต่งกาย

สีเทา หรือสีน้ำตาล ออกทำสงครามกับบรรดายักษ์ที่เป็นปรปักษ์กับพระองค์

- ม้าเทียมราชรถพระสัตรุด สวมหัวม้าเปิดหน้า แต่งกายสีเทา หรือสีน้ำตาล ออกทำสงครามกับบรรดาพญายักษ์ที่เป็นปรปักษ์กับพระองค์ในการแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณี

- ม้าเทียมราชรถนางสุวรรณมาลี ปรากฏในการแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณี ตอนหึงละเวง

บทวิเคราะห์ม้าคนเทียมรถไม่มีบทบาท ๑. แต่งกายด้วยชุดติดกัน คอกลมผ่าหลังติดซิป แขน และขา

ยาว สีเทา น้ำตาล หรือขาว มีกรองคอ และผ้าผูกเอว เมื่อผูกเป็นโบว์แล้วก็หันโบว์ไปไว้ด้านหลังแทนหางม้า สวมหัวม้าเปิดหน้า

๒. ใช้ผู้แสดง ๒ คน และควรคัดเลือกให้มีความสูงเท่ากัน เพราะผู้แสดงจะต้องลากราชรถ โดยใช้มือทั้งสองจับที่คานด้านหน้ารถ ลากออกไปด้านหน้าเวที หากขนาดความสูงไม่เสมอกันราชรถก็อาจจะเอียงได้

๓. ผู้แสดงจะต้องได้รับการฝึกลากราชรถเข้าออก ไม่เช่นนั้นอาจลากรถถูไปกับประตูทางออกหรือข้างเวที

๔. ที่สำคัญคือเมื่อผู้แสดงขึ้นหรือลงราชรถ ผู้แสดงเป็นม้าจะต้องกดราชรถไว้ ไม่เช่นนั้นรถก็จะหงายได้

๕. การลากราชรถ ผู้แสดงเป็นม้าจะต้องรู้จักการตีวง เพื่อให้ราชรถอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ และจะต้องมีความสามัคคี

บทบาทม้าคนเป็นระบำประกอบการแสดง ม้าหลายตัวหลากสีจับเป็นคู่ ออกเต้นตามจังหวะด้วยท่วงท่า

Page 6:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน

เลียนแบบอากัปกิริยาของม้า มีการแปรแถวเป็นกระบวนต่าง ๆ จำนวนผู้แสดงตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป ผู้หญิงแสดงล้วน แต่บางครั้งก็ใช้ผู้ชายแสดง จัดแสดงประกอบในการแสดงมากมาย เช่น การแสดงโขนชุดปล่อยม้าอุปการ การแสดงละครชาตรีทรงเครื่องเรื่องรถเสน ตอนรถเสนจับม้า การแสดงละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนเลือกม้า

บทวิเคราะห์ม้าคนเป็นระบำประกอบการแสดง ๑. แต่งกายด้วยชุดกางเกงขายาวมีระบายที่ปลายขาใส่กระ

พรวน เสื้อแขนยาวผ่าอกมีระบายที่ปลายแขนเสื้อ กรองคอ ผ้ารัดเอว เข็มขัด สวมหัวม้าเปิดหน้า สีเป็นคู่ ดำ น้ำตาล เทา ฟ้า ขาว เป็นต้น

๒. ผู้แสดงตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป เป็นหญิงล้วนหรือชายล้วนก็ได้ ๓. กระบวนทา่เนน้การแปรแถว และความคกึคะนอง สนกุสนาน

สวยงาม บทบาทม้าคนเป็นพาหนะมีบทบาท ๑. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ - ม้าอุปการ ลำตัวสีขาว หัวดำ ม้าของพระรามกษัตริย์แห่ง

กรุงอโยธยา ปรากฏในการแสดงโขน ชุดพระรามครองเมือง การแสดงละครในเรื่องอิเหนา

- ม้าอิเหนา สีขาวทั้งตัว ปรากฏในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาจากถ้ำ การแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณี

- ม้าพระอภัยมณี ปรากฏในการแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณี ตอนพบนางละเวง

๒. การแสดงละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ - พญาม้าต้นของสุวรรณหงส์ ปรากฏในการแสดงละครนอก

เรื่องสุวรรณหงส์ ตอน กุมภณฑ์ถวายม้า การแสดงละครชาตรีทรงเครื่องเรื่องรถเสน

- ม้ารถเสน ปรากฏในการแสดงละครชาตรีทรงเครื่อง ตอนรถเสนจับม้า

๓. การแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน - ม้าสีหมอก ปรากฏในการแสดงละครเสภาเรื่องขุนช้าง

ขุนแผน ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี ๔. การแสดงละครนอกเรื่องโกมินทร์ - มา้โกเมศ โกมล ปรากฏในการแสดงละครนอกเรือ่งโกมนิทร ์

ตอนปราบไพราพ ไพรัญ ถึงรบธนูกกลด บทวิเคราะห์ม้าคนเป็นพาหนะมีบทบาท ดังนี้ ๑. สีกายเป็นไปตามพงศ์ของม้าแต่ละตัว ๒. แต่งกายทรงเครื่อง สวมหัวม้าเปิดหน้า มีรองเท้าสวมเพื่อ

ให้มีเสียงเวลากระโดด ตามฐานันดรของผู้เป็นเจ้าของ ๓. นอกจากจะเป็นพาหนะแล้วยังเป็นเพื่อนคู่คิด คอยดูแล ตัก

เตือน และช่วยเหลือ ข้อสำคัญคือเป็นม้าพูดได้ผู้แสดงต้องมีความแข็งแรง โดยเฉพาะกำลังขา ที่จะใช้ในการเต้นท่าม้า

๕. กระบวนท่าในบางครั้ง ผู้ขี่อาจต้องขึ้นเหยียบม้าเรียกว่าขึ้นลอย เพราะฉะนั้น ผู้แสดงเป็นม้าต้องเป็นฐานได้อย่างแข็งแรง มั่นคงในระหว่างแสดง ม้ากับผู้ขี่ต้องมีความสามัคคี ถ้อยทีถ้อยอาศัย รู้จักผ่อนปรน เพราะม้ากับผู้ขี่เสมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องแสดงให้ได้ตามจังหวะที่รวดเร็ว สนุกสนาน

บทบาทม้าจริงเป็นพาหนะ การแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายชุมพล

ออกรบ - ม้ากะเลียวใช้บทเช่นเดียวกับม้าคนแสดง และเป็นการแสดง

เฉพาะครั้งคราวในโอกาสพิเศษเท่านั้น บทวิเคราะห์ม้าจริงเป็นพาหนะ ๑. เป็นการแสดงเฉพาะกิจเท่านั้น ไม่ได้จัดแสดงเป็นประจำ ๒. ม้าที่นำมาประกอบการแสดง จะต้องเป็นม้าที่ได้รับการ

ฝึกหัดมาเป็นอย่างดี ไม่ตื่นต่อเสียงดนตรี และผู้ชมจำนวนมาก ๓. ผู้แสดงจะต้องได้รับการฝึกหัดขี่ม้า จนเกิดความชำนาญ ๔. การแสดงต้องแสดงกลางแจ้ง จึงจะเหมาะสม ๕. ต้องมีผู้ดูแลม้าโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิด

ขึ้นกับผู้แสดง และผู้ชม บทบาทม้าคนเป็นพาหนะ แต่เป็นม้าลูกผสม ๑. การแสดงละครนอก เรื่องพระอภัยมณี - ม้านิลมังกร อาศัยอยู่ในทะเล เป็นม้าดี มีเขี้ยวเป็นเพชร

เกล็ดเป็นนิล และมีลิ้นเป็นปาน คงทนต่อศาสตราวุธสารพัด ปรากฏในการแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณี ตอนสุดสาครจับม้า

บทวิเคราะห์ม้าคนเป็นพาหนะ แต่เป็นม้าลูกผสม ๑. การแต่งกาย แต่งตามพงศ์ของม้า สวมหัวปิดหน้า ๒. นอกจากจะเป็นพาหนะแล้วยังเป็นเพื่อนคู่คิด คอยดูแล ตัก

เตือน และช่วยเหลือ ๓. ผู้แสดงต้องมีความแข็งแรง โดยเฉพาะกำลังขา ที่จะใช้ใน

การเต้นท่าม้า ๔. ในระหว่างแสดง ม้ากับผู้ขี่ต้องมีความสามัคคี ถ้อยทีถ้อย

อาศัย รู้จักผ่อนปรน เพราะม้ากับผู้ขี่เสมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องแสดงให้ได้ตามจังหวะที่รวดเร็ว สนุกสนาน

บทบาทม้าคนเป็นตัวเอกของเรื่อง ไม่ได้เป็นพาหนะ การแสดงละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า - ม้าในความหมายของคนไม่สวย กระโดกกระเดก ปรากฏใน

การแสดงละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า บทวิเคราะห์ม้าคนเป็นตัวเอกของเรื่อง ไม่ได้เป็นพาหนะ ๑. ผู้แสดงสวมบทบาทผู้หญิง แสดงด้วยท่าทางกระโดกกระเดก

ประหนึ่งกิริยาของม้า ๒. แต่งกาย ตามฐานันดร แต่สวมหัวม้าเปิดหน้า ๓. มีความคล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง ๔. มีความแข็งแรง โดยเฉพาะขาที่จะต้องวิ่งไป-มา หรือ

กระโดดขึ้น-ลงเตียง ๕. มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ๖. มีความสามารถแสดงได้หลายบทบาท ดีใจ เสียใจ ร้องไห้

ริษยา และตลก นอกจากความไพเราะของวรรณกรรม ความวิจิตรงดงามของ

เครื่องแต่งกาย และหัวม้า รวมทั้งเสียงของดนตรีที่มีความไพเราะดังกล่าวแล้ว ยังปรากฏมีการสืบทอดกระบวนท่ารำของม้า ในการแสดงโขน ละคร อีกมากมาย ซึ่งแสดงออกถึงความสวยงาม สนุกสนาน ปราดเปรียว คล่องแคล่ว ว่องไว และท่วงทีของม้าโดยธรรมชาติ ผสมผสานกับกระบวนท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ไทย

Page 7:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒

หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

7ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕

เน้นการรำทำบทให้กระฉับกระเฉง เน้นจังหวะให้เข้ากับเพลง นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำเสียงอย่างม้า การเจรจาสื่อสารที่จะต้องแสดงออกเพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ และเกิดความสนุกสนานโดยเน้นเสียงสูง เสียงต่ำ ให้เป็นจังหวะโดยเฉพาะตัวนางแก้วหน้าม้าที่มีท่าทีกระโดกกระเดกเหมือนสำนวนไทยที่ว่าท่าทางอย่างกับม้าดีดกะโหลก

๏ วันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง

ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรัง่เศสจากอดตีถงึปจัจบุนั ความโดยสรุปว่า บทความนี้เป็นการศึกษาภูมิหลัง นวนิยายของเอมีล โซลา (Emile Zola) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของกรรมกรเหมืองแร่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวรรณกรรมแนวธรรมชาตินิยม (naturalism) ซึ่งนักเขียนได้ค้นคว้าและบันทึกข้อมูลจริงแล้วนำไปสร้างสรรค์วรรณกรรม

ประวัติศาสตร์เรื่องแรงงานเป็นเรื่องของความขมขื่น ความทุกข์ยาก และการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีและสิทธิ นักปราชญ์สมัยโบราณแสดงถึงทัศนคติด้านลบต่อแรงงาน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ นักปราชญ์และนักเขียนมีทัศนคติที่ดีต่อแรงงาน ในวรรณกรรมเรื่อง Candide วอลแตร์ (Voltaire) กล่าวไว้ว่า การทำงานทำให้เราหลุดพ้นจากสิ่งเลวร้าย ๓ ประการ อันได้แก่ ความเบื่อ ความชั่ว และความยากจน รูโซ (Rousseau) เสนอความคิดว่ามนุษย์จำเป็นต้องทำงาน การทำงานถือเป็นหน้าที่ของมนุษย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แรงงานได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ ง อาแล็กซ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด (Alexandre de Laborde) เขียนไว้ว่าแรงงานเป็นผู้สร้างทรัพย์สมบัติ ความมั่งคั่งทั้งปวง และเป็นแหล่งกำเนิดของอุตสาหกรรม

“สหภาพ” เป็นองค์กรซึ่งกลุ่มบุคคลมารวมตัวกันเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ในประเทศฝรั่งเศสมีสำนักงานสหภาพ (chambre syndicale) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสหกรณ์ กฎหมายชาเปอลีเย (Chapelier) ซึ่งออกบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๗๙๑ (พ.ศ. ๒๓๓๔) กำหนดว่า กลุ่มบุคคลในทุกสาขาอาชีพห้ามก่อตั้งสหภาพ ห้ามแต่งตั้งประธานหรือเลขาธิการสหภาพ ห้ามออกกฎระเบียบใด ๆ โดยอ้างว่าเพื่อจุดประสงค์ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มอาชีพตน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เกิดความคิดที่แพร่หลายในประเทศฝรั่งเศสว่าระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ได้แก่ ระบบที่ให้เสรีภาพแก่บุคคลอย่างสมบูรณ์ในการเลือกประกอบกิจกรรมและทำสัญญา ในตอนต้นสมัยสาธารณรัฐที่ ๓ จึงปรากฏผู้นำกรรมกรที่เข้มแข็งคือ ฌูล แกด (Jules Guesde) และพรูดง (Proudhon) พรูดงได้หยิบยกปัญหาทางสภาพสังคมของผู้ใช้แรงงานขึ้นมาอภิปราย เขาเชื่อว่าการให้เสรีภาพต่อผู้ใช้แรงงานจะไม่ทำให้ระบอบทุนนิยมล่มสลาย พรูดง กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองทางการเมืองไม่

สามารถเปลี่ยนสภาพความยากไร้ของผู้ใช้แรงงานได้ การเมืองต้องสัมพันธ์กับสังคมและเศรษฐกิจ

สหภาพแรงงานในฝรั่งเศส อาจแยกออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพวกหัวรุนแรงและปฏิวัติ กลุ่มนิยมมากซ์ แกด และเลนิน (Lenin) กลุ่มปฏิรูป และกลุ่มคริสเตียน สหภาพแรงงานที่สำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ สหภาพเซเฌเต (Confédération générale du travail) และสหภาพเซแอฟเตเซ (C.F.T.C: Confédération française des travailleurs chrétiens) รูปแบบการต่อสู้ของสหภาพที่สำคัญมี ๒ แนวทาง ได้แก่ การนัดหยุดงาน และการเจรจา สหภาพแรงงานของฝรั่งเศสได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในรูปของการศึกษาและการฝึกอบรม

ผลงานที่สำคัญของสหภาพแรงงาน ตัวอย่างเช่น ค.ศ. ๑๙๒๕ (พ.ศ. ๒๔๖๘) เสนอร่างกฎหมายให้มีการจ่ายเงินตอบแทนระหว่างการลาหยุดพักผ่อน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) ตรากฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเฉลี่ยผลประโยชน์จากการประกอบการ ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ตรากฎหมายขยายการลาหยุดพักผ่อนเป็น ๕ สัปดาห์ต่อปี โดยได้รับเงินตอบแทนและกำหนดเวลาทำงานเป็น ๓๙ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ค.ศ. ๑๙๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ตรากฎหมายกำหนดเวลาทำงานเป็น ๓๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จารกึภาษาสนัสกฤตสมยัพระเจา้มเหนทรวรรมนัแหง่อาณาจกัรเจนละ ความโดยสรุปว่า พระเจ้ามเหนทรวรรมันเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระองค์ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าภววรรมันที่ ๑ จากหลักฐานด้านจารึกแสดงว่าอาณาเขตส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละอยู่ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้พบจารึกของพระเจ้ามเหน- ทรวรรมันที่มีข้อความคล้ายกัน ๔ หลักคือ จารึกทะเบียนเลขที่ ขก. ๑๕ อบ.๑ อบ.๒ และ อบ.๔ ตามที่ตีพิมพ์ไว้ในจารึกในประเทศไทย เลม่ ๑ ของกรมศลิปากร เมือ่เรว็ ๆ นีไ้ดพ้บจารกึสมยัพระเจา้มเหน-ทรวรรมันที่จังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งใช้เป็นหลักในบทความนี้ จารึก แต่งโดยใช้ฉันท์ อนุษฺฏุภฺ มีทั้งหมด ๔ โศลก ซึ่งมากกว่าจารึก ๔ หลักที่กล่าวมาแล้ว ๑ โศลก เนื้อหาของจารึกกล่าวว่า เจ้าชายจิตรเสนเป็นโอรสของศรีวีรวรรมันและเป็นพระนัดดาของจักรพรรดิ (แห่งอาณาจักรฟูนัน) พระองค์แม้จะเป็นพระอนุชาองค์เล็กที่สุดของพระเจ้าภววรรมันที่ ๑ (กษัตริย์องค์ที่ ๑ แห่งอาณาจักรเจนละ) แต่ด้านพระราชอำนาจก็หาได้ยิ่งหย่อนกว่าไม่ พระองค์จึงได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ศรีมเหนทรวรรมัน โศลกที่ ๔ ของจารึกบ่งชี้ว่า พระเจ้ามเหนทรวรรมันอาจจะเป็นผู้ที่สถาปนาศาสนาพราหม์ไศวนิกายขึ้นมาแทนศาสนาพุทธนิกายสรรวาสติกวาทซึ่งใช้ภาษาสันสกฤตที่มีอยู่ก่อนในดินแดนที่พระองค์มีชัยชนะ อาณาเขตของอาณาจักรเจนละสมัยพระเจ้ามเหนทรวรรมันคงจะขยายมาถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Page 8:  · 2015-04-02 · ปีที่๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกันยายน ๒๕๕๕ 3 ปัจจัยการผลิตที่ ...

8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน

ชำระคา่ฝากสง่เปน็รายเดอืนใบอนญุาตที่๑๘๖/๒๕๕๐

ไปรษณยีด์สุติ

ราชบณัฑติยสถาน สนามเสอืปา่เขตดสุติ

กทม.๑๐๓๐๐

จดหมายขา่วราชบณัฑติยสถาน เพือ่เผยแพรง่านวชิาการขา่วสารกจิกรรมตา่งๆของราชบณัฑติยสถาน

จดัทำโดย บรรณาธกิาร กองบรรณาธกิาร

ฝา่ยประชาสมัพนัธ์ศนูยบ์รกิารวชิาการราชบณัฑติยสถานนางสาวบญุธรรมกรานทอง

พิมพ์ที ่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลางกรงุเทพฯ๑๐๓๑๐ โทร.๐๒๙๖๖๑๖๐๐-๖ โทรสาร๐๒๕๓๙๒๕๑๒,๐๒๙๖๖๑๖๐๙

นางทพิาภรณ์ ธารเีกษนางสาวพชันะ บญุประดษิฐ์นางสาวอารี พลดีนางสาวปยิรตัน์ อนิทรอ์อ่นนางสาวกระลำภกัษ์แพรกทอง

‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬

นางกนกวรรณ ทองตะโกนางสาวกลุศรินิทร์นาคไพจติรนางพรทพิย์ เดชทพิยป์ระภาพนายอาคม คงทนนายอภเิดช บญุสงค์

ถาม คำว่า ศัพท์, ศัพท์เฉพาะวิชา, ศัพท์บัญญัติ, ศัพทมูลวิทยา, ศัพท์สำเนียง และ ศัพท์แสง มีความหมายอย่างไรบ้าง

ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำเหล่านี้ดังนี้

ศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด.

ศัพท์เฉพาะวิชา เป็นคำนาม หมายถึง คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.

ศัพท์บัญญัต ิ เป็นคำนาม หมายถึง คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรศัพท์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.

ศัพทมูลวิทยา อ่านว่า สับ-ทะ-มูน-ละ-วิด-ทะ-ยา หรือ สับ-ทะ-มูน-วิด-ทะ-ยา เป็นคำนาม หมายถึง วิชาว่าด้วยที่มาและประวัติของคำ.

ศัพท์สำเนียง เป็นคำนาม หมายถึง เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟังไม่ได้ศัพท์สำเนียง.

ศัพท์แสง เป็นคำนามที่ใช้เป็นภาษาปาก หมายถึง คำยาก ที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสงฟังไม่รู้เรื่อง.

ถาม คำวา่ ศาสนกจิ, ศาสนจักร, ศาสนธรรม, ศาสนบคุคล, ศาสน-พธิ,ี ศาสนวตัถ ุและ ศาสนสถาน มคีวามหมายอยา่งไรบา้ง

ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำเหล่านี้ดังนี้

ศาสนกิจ เป็นคำนาม หมายถึง งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณร เป็นต้นปฏบิตั ิเชน่ การทำวตัรสวดมนตแ์ละการเผยแผ่ศาสนาเปน็ศาสนกจิของสงฆ.์

ศาสนจักร เป็นคำนาม หมายถึง อำนาจปกครองทางศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่ายคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่ งหมายความว่า อำนาจการปกครองทางบ้านเมือง.

ศาสนธรรม เป็นคำนาม หมายถึง คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติตามศาสนธรรมในศาสนาของตน. ศาสนบุคคล เป็นคำนาม หมายถึง นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็นศาสนาบุคคลของพระพุทธศาสนา.

ศาสนพิธี เป็นคำนาม หมายถึง พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา. ศาสนวัตถุ เป็นคำนาม หมายถึง วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.

ศาสนสถาน เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสน-สถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็นศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.