1276933222 morpheme

17
รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา 86 บทที7 รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา 7.1 รูป [Form/ Morph] หนวยพื้นฐานที่เล็กที่สุดที่เปนองคประกอบของภาษา คือ หนวยเสียง [phoneme] โดยคําจํากัดความแลว หนวยเสียงไมมีความหมาย แตอาจนํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของ ความหมายหนวยเสียงในภาษามักจะรวมตัวกัน และอาจจะเกิดขึ้นซ้ําแลวซ้ําเลา ตราบที่มนุษยยัง ใชภาษาพูดในการติดตอสื่อสารกัน ในทางภาษาศาสตร เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏหนวยเสียงรวมตัว กัน เราเรียกกลุมของหนวยเสียงเหลานั้นวา "รูป" (ซึ่งมาจากคําในภาษาอังกฤษวา form หรือ morph) รูปที่กลาวถึงนี้อาจมีความหมายหรือไมก็ได เชน [kankrai] "กรรไกร" จากหนวยเสียงทีเรียงติดตอกัน เมื่อเราตัดแบงออกเปนรูป 2 รูปไดแก kan + krai และ kank + rai ซึ่งไมวาเราจะ ตัดแบงหนวยเสียงที่เรียงตัวกันแบบแรกหรือแบบหลังสวนของหนวยเสียงที่ตัดแบงออกมานั้น จะ เรียกวา "รูป" [Delbridge and Bernard, 1966 : 83-93] นักภาษาศาสตรไมไดใหความสนใจรูปทุกรูป แตจะเลือกศึกษาเฉพาะรูปที่มี ความสัมพันธหรือมีความสําคัญ หรือมีสวนเกี่ยวของกับระบบภาษาเทานั้น ซึ่งหมายความวา นักภาษาศาสตรจะศึกษาเฉพารูปที่มีความหมายเทานั้น 7.2 คํา [Word] คํา หรือ word คือ หนวยอิสระที่เล็กที่สุดที่มีความหมาย ดังนั้นจากคํานิยามนีหนวยใดๆจะเปนคําได จะตองมีคุณสมบัติครบทั้งสามประการคือ 1. อยูเปนอิสระได 2. เล็กที่สุด แบงแยกใหเล็กลงเปนหนวยอิสระไมได 3. มีความหมาย เราจึงสรุปไดวา 'dis-' ในคํา dislike ไมใชคํา เพราะอยูเปนอิสระไมได (แมวาจะเล็กที่สุด และมีความหมาย) 'bird' เปนคํา เพราะอยูเปนอิสระได เล็กที่สุด และมีความหมาย

Transcript of 1276933222 morpheme

Page 1: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

86

บทที่ 7

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

7.1 รูป [Form/ Morph] หนวยพื้นฐานที่เล็กที่สุดที่เปนองคประกอบของภาษา คือ หนวยเสียง [phoneme]

โดยคําจํากัดความแลว หนวยเสียงไมมีความหมาย แตอาจนํามาซ่ึงการเปลี่ยนแปลงของ

ความหมายหนวยเสียงในภาษามักจะรวมตัวกัน และอาจจะเกิดขึ้นซ้ําแลวซ้ําเลา ตราบที่มนุษยยัง

ใชภาษาพูดในการติดตอส่ือสารกัน ในทางภาษาศาสตร เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏหนวยเสียงรวมตัว

กัน เราเรียกกลุมของหนวยเสียงเหลานั้นวา "รูป" (ซึ่งมาจากคําในภาษาอังกฤษวา form หรือ

morph) รูปที่กลาวถึงนี้อาจมีความหมายหรือไมก็ได เชน [kankrai] "กรรไกร" จากหนวยเสียงที่

เรียงติดตอกัน เมื่อเราตัดแบงออกเปนรูป 2 รูปไดแก kan + krai และ kank + rai ซึ่งไมวาเราจะ

ตัดแบงหนวยเสียงที่เรียงตัวกันแบบแรกหรือแบบหลังสวนของหนวยเสียงที่ตัดแบงออกมานั้น จะ

เรียกวา "รูป" [Delbridge and Bernard, 1966 : 83-93]

นักภาษาศาสตรไมไดใหความสนใจรูปทุกรูป แตจะเลือกศึกษาเฉพาะรูปที่มี

ความสัมพันธหรือมีความสําคัญ หรือมีสวนเกี่ยวของกับระบบภาษาเทานั้น ซึ่งหมายความวา

นักภาษาศาสตรจะศึกษาเฉพารูปที่มีความหมายเทานั้น

7.2 คํา [Word] คํา หรือ word คือ หนวยอิสระที่เล็กที่สุดที่มีความหมาย ดังนั้นจากคํานิยามนี้

หนวยใดๆจะเปนคําได จะตองมีคุณสมบัติครบทั้งสามประการคือ

1. อยูเปนอิสระได

2. เล็กที่สุด แบงแยกใหเล็กลงเปนหนวยอิสระไมได

3. มีความหมาย

เราจึงสรุปไดวา

'dis-' ในคํา dislike ไมใชคํา เพราะอยูเปนอิสระไมได (แมวาจะเล็กที่สุด

และมีความหมาย)

'bird' เปนคํา เพราะอยูเปนอิสระได เล็กที่สุด และมีความหมาย

Page 2: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

87

'-ed' ใน talked ไมใชคํา เพราะอยูเปนอิสระไมได (แมวาจะเล็กที่สุด

และมีความหมาย)

'wished' เปนคํา เพราะอยูเปนอิสระได และมีความหมาย ถาเราแยกเปน

'wish' กับ 'ed' จะพบวา '-ed' อยูโดยอิสระไมไดทําให 'ed' ตองอยูรวมกับ 'wish' ถาพิจารณาดาน

การเกิดอิสระ เราถือวา 'wished' เปนหนวยที่เล็กที่สุดแลว เราไมสามารถแยก 'wish' กับ 'ed' ออก

จากกันได

ในภาษาหลายๆภาษา เชน ภาษาอังกฤษ ภาษามาเลย ฯลฯ ในการเขียนจะมีการ

เวนวรรคระหวางคํา [juncture] ทําใหสังเกตคําไดงาย แตสําหรับภาษาที่เขียนโดยไมมีชองวาง

ระหวางคํา เชน ภาษาไทย อาจมีปญหาบางในการสังเกตคํา เชน คํา "ลูกเสือ" [boyscout] เปนคํา

เพราะถาเราแยกเปน ลูก และ เสือ เราจะไมไดความหมายเดิมวา boyscout เราจึงถือวา "ลูกเสือ" ที่

แปลวา boyscout เปนหนวยที่เล็กที่สุด ที่แบงแยกลงไปไมไดแลว และถือวาเปน 1 คํา

7.3 หนวยคํา [Morpheme] "หนวยคํา" หรือ morpheme คือ หนวยที่เล็กที่สุดในภาษาที่มีความหมาย จะอยู

เปนอิสระไดหรือไมไดก็ได ดังนั้นขอแตกตางระหวางคําและหนวยคําที่สําคัญที่สุดก็คือการที่

หนวยคําสามารถอยูเปนอิสระไดหรือไมไดก็ได แตคําตองสามารถเปนอิสระไดเทานั้น ในกรณีที่

หนวยใดๆ เปนหนวยคําอิสระ หนวยคํานั้นก็สามารถเปนคําไดดวย

'dis' ใน 'dislike' เปนหนวยคํา แตไมเปนคํา เพราะไมสามารถปรากฏลําพังได

'bird' เปนหนวยคําอิสระ และเปนคําดวย

'ed' ใน 'wished' เปนหนวยคํา แตไมเปนคํา เพราะไมสามารถปรากฏลําพังได

'wished' เปนคําเดียว ประกอบดวย 2 หนวยคํา

'saw' เปนคําเดียว ประกอบดวย 2 หนวยคํา เพราะเปนหนวยคํา see รวมกับหนวย

คําบอกอดีตกาล [past tense] แตบังเอิญวาเปนหนวยคําที่เมื่อเติมแลวไมปรากฏรูปใหเห็น

หนวยคําเปนองคประกอบของคํา คําบางคําประกอบดวยหนวยคํา 1 หนวย บาง

คําก็ประกอบดวยหนวยคํามากกวา 1 หนวย ดังตัวอยางตอไปนี้

quickly ประกอบดวย 2 หนวยคําคือ quick + ly

play ประกอบดวย 1 หนวยคําคือ play

player ประกอบดวย 2 หนวยคําคือ play + er

players ประกอบดวย 3 หนวยคําคือ play + er + s

softening ประกอบดวย 3 หนวยคําคือ soft + en + ing

Page 3: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

88

ungentlemanliness ประกอบดวย 5 หนวยคําคือ un + gentle + man+ly + ness สําหรับกลุ มพร าก [Prague]ซึ่ ง เปนกลุ ม โครงสร า งรุ นแรก ยั งพิ จารณา

ความสัมพันธระหวางหนวยคําและหนวยเสียง และเรียกความสัมพันธดังกลาววา

'morphophonemics' หรือ 'morphophology' นั่นคือพิจารณาวาหนวยเสียงใดบางจะมีหนาที่เปน

หนวยคําใหพิจารณาจากการรวมกลุมของสวนยอยแสดงหนวยคําหรือเรียกวา morph เชน ในคํา

'girls' ประกอบดวย 5 หนวยเสียง คือ [g-з:-r-l-z] ซึ่งเมื่อพิจารณาสวนยอยแสดงหนวยคําหรือ

morph แลวจัดได 2 สวนคือ [gз:rl] และ [z] ตอไปจึงพิจารณาใหสวนยอยแสดงหนวยคํานี้เปน 2

หนวยคํา คือ {gз:rl} และ {z} (ใหสังเกตการใชเครื่องหมายวงเล็บที่แตกตางกันดวย)

สวน Leonard Bloomfield นักภาษาศาสตรในกลุมโครงสราง ไดใหคํานามวา

"หนวยคํา คือ คือหนวยเสียง 1 หนวยเสียงหรือมากกวา 1 หนวยเสียงขึ้นไปที่มีการจัดรูปแบบ

เฉพาะ" และเขายังกลาวไววา ภาษาแตกตางกันที่ระบบหนวยคํามากกวาที่จะแตกตางกันที่ระบบ

วากยสัมพันธเสียอีกปญหาสําคัญในการศึกษาเรื่องความหมายในระบบหนวยคําในภาษาใดภาษา

หนึ่ง จึงมีอยางนอยที่สุด 3 ข้ันตอน คือ

1. เนนการเรียนรูที่จะตัดคําออกเปนสวนๆ รูวาสวนใดเปนหนวยคําประเภทใด

หรืออีกนัยหนึ่ง รูวาขอบเขตของหนวยคําสิ้นสุดที่ใด รวมทั้งรูกฎเกณฑตางๆ ที่ตองใชเมื่อหนวยคํา

สองหนวยคําอยูติดกัน

2. แตละหนวยคํา มีความหมายอยางไร

3. หนวยคําใดเปนหนวยคําสําคัญ ที่ทําหนาที่เปนหลักใหหนวยคําอื่นมาเกาะ

ในทางภาษาศาสตร สัญลักษณที่ใชแสดงหนวยคํา คือวงเล็บปกกา { } ดังนั้น

ถาเราจะเขียนหนวยคํา "กระดาษ" จะเขียนเปนสัญลักษณดังนี้ {kradàat}

7.4 ประเภทของหนวยคํา เราสามารถแบงหนวยคําออกเปนชนิดตางๆไดหลายวิธี เชน จําแนกตามความเปน

อิสระและไมอิสระ และจําแนกตามหนาที่

Page 4: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

89

7.4.1. ชนิดของหนวยคําจําแนกตามความเปนอิสระหรือไมอิสระ

1. หนวยคําอิสระ [free morpheme] คือ หนวยคําที่เกิดตามลําพังได หรือ

สามารถนําไปใชเปนคําโดยไมตองเปลี่ยนรูป ในภาษาไทย เชน นก บาน สวย ในภาษาอังกฤษ เชน home person cat หนวยคําอิสระในภาษาสวนใหญมักเปนสวนสําคัญหรือแกนของคํา ซึ่ง

เรียกวา รากศัพท หรือ ธาตุ [root] เชน bean ใน beans, slow ใน slowly, use ใน useful เปนตน

ในกรณีที่หนวยคําอิสระ 1 หนวยคําขึ้นไปเปนฐานของคําใหหนวยคําอ่ืน

มาเกาะ เราเรียกสวนของคํานี้วา ตนเคาศัพท [stem] เชน man ใน manly, friend ใน friends,

bookstore ใน bookstores ในสองคําแรกตนเคาศัพทประกอบดวยรากศัพท 1 คํา แตใน

bookstores ตนเคาศัพทประกอบดวยรากศัพท 2 คํา

2. หนวยคําไมอิสระ หรือบางครั้งเรียกวาหนวยคําผูกพัน [bound morpheme]

คือ หนวยคําที่ไมสามารถปรากฏตามลําพังได ตองเกาะอยูกับหนวยคําอื่น หนวยคําเติม [affix]

ทั้งหลายมักเปนหนวยคําไมอิสระ เชน หนวยคําเติมหนา [prefix] หนวยคําเติมกลาง [infix] และ

หนวยคําเติมทาย [suffx]

ในภาษาสวนใหญ หนวยคําไมอิสระมักรวมตัวกันหรือรวมกับหนวยคํา

อิสระกลายเปนสวนสําคัญของคํา เรียกวา ตนเคาศัพท [stem] เชน re-ceive, con-cept, ab-norm,

dis-gust ในคําวา receives, conceptual, abnormal, disgusted เปนตน

- หนวยคําเติมหนา หรือ อุปสรรค [prefix] คือหนวยคําที่เติมขางหนา

หนวยคําอ่ืน เชน un- ในภาษาอังกฤษ ในคําวา unhappy, untidy, unimportant, unreleased

การ- ในภาษาไทย ในคําวา การบาน การเมือง การชุมนุม การประทวง เปนตน

- หนวยคําเติมกลาง หรือ อาคม [infix] คือหนวยคําที่เติมที่กลางศัพท

ในภาษาเขมร เชน /-am-/ ในคําวา ตํารวจ /tamruat/ (มาจาก ตรวจ /traut/) /-do-/ ในภาษา

กรีกโบราณ ในคําวา /neo:ridos/ 'of a dockyard' มาจาก /neo:ris/ 'dockyard' เปนตน

หนวยคําเติมกลาง หรืออาคม [infix] พบมากในภาษาเขมร เชน

[trɔŋ] 'straight' → [tɔmrɔŋ] 'to straighten'

[kaɤt] 'to be born' → [kɔmnaɤt] 'birth'

Page 5: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

90

- หนวยคําเติมทาย หรือ ปจจัย [suffix] คือ หนวยคําที่เติมทาย

หนวยคําอ่ืน เชน -er ในภาษาอังกฤษ ในคําวา teacher, waiter, painter -กร ในภาษาไทย ในคํา

วา จิตรกร กรรมกร พิธีกร วิทยากร ฆาตกร เปนตน

นอกจากนี้ยังมีหนวยคําเติมครอมหนวยคําอ่ืน [circumfix] เชน ใน

ภาษาเยอรมัน [German] ที่บอกความเปน past participle คือ ge - t ตัวอยางเชน

lieb 'love' → geliebt 'loved'

mach 'make' → gemacht 'made' ในบางกรณีหนวยคําไมอิสระก็ไมปรากฏรูปใหเห็นชัดเจนแยกออกมาจาก

หนวยคําหลักตามตัวอยางขางตน แตกลับทําใหสระของหนวยคําหลักเปลี่ยนไป หนวยคําไม

อิสระชนิดนี้เรียกวา simulfix พบมากในหลายภาษารวมทั้งในภาษาอังกฤษ เชน

give + หนวยคําแสดง past tense กลายเปน gave

foot + หนวยคําแสดงพหูพจน กลายเปน feet 7.4.2. ชนิดของหนวยคําจําแนกตามหนาที่

หนวยคําทําหนาที่ทางไวยากรณตางกัน เชนแปลงคําใหเปนอีกชนิดหนึ่ง

หรือผันใหมีความสัมพันธกับคําอื่นๆได เราจึงสามารถแบงประเภทของหนวยคําตามหนาที่ ไดดังนี้

1. หนวยคําแปลง [derivational morpheme] คือ หนวยคําที่ทําหนาที่แปลงคํา

ชนิดหนึ่งใหเปนอีกชนิดหนึ่ง เชน -ness แปลงคําวา lonely, dark, sad ซึ่งเปน adjective ใหเปน

loneliness, darkness, sadness ซึ่งเปน noun หรือแปลงคําที่มีความหมายหนึ่งเปนอีกความหมาย

หนึ่งซึ่งเกี่ยวของกัน เชน im- ใน impossible, impolite, immodest re- ใน replay, rewind, rewrite

เปนตน

2. หนวยคําวิภัตติปจจัย [inflectional morpheme] คือ หนวยคําที่เติมเขาไปที่

หนวยคําที่เปนรากศัพท [root] หรือศัพทตนเคา [stem] เพื่อทําใหเกิดคําที่สามารถปรากฏใน

ประโยคและมีความสัมพันธทางไวยากรณกับคําอ่ืนๆ ไดอยางถูกตอง หนวยคําประเภทนี้อยูในรูป

หนวยคําเติมประเภทตางๆ เชน หนวยคําพหูพจน หนวยคําอดีตกาล หนวยคําแสดงความเปน

เจาของ ในภาษาอังกฤษ ในคําวา houses, visited, man's ตามลําดับ

ภาษาที่มีหนวยคําประเภทนี้จํานวนมาก หรือใชหนวยคําประเภทนี้แสดง

ความสัมพันธทางไวยากรณเปนหลัก เรียกวา ภาษาวิภัตติปจจัย [inflectional language] ไดแก

ภาษาตระกูลอินโด ยูโรเปยน [Indo-European Language Family]

Page 6: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

91

7.5 หนวยตางๆที่เกี่ยวของกับหนวยคํา 7.5.1 หนวยคํายอย [allomorph] หนวยคํายอย คือรูปตางๆของหนวยคํา ซึ่งปรากฏในสิ่งแวดลอมที่อธิบาย

ได [Gleason 1955 : 61]

หนวยคําพหูพจนที่เติมทายคํานามในภาษาอังกฤษมีหลายหนวยคํายอย

(หมายความวาออกเสียงไดหลายแบบ แตความหมายเดียวกัน) ไดแก /-s/ ในคําเชน hats, /-z/

ในคําเชน dogs, /Iz-əz/ ในคําเชน churches รูปทั้งสามรูปนี้เปนหนวยคํายอยของหนวยคํา

เดียวกัน คือหนวยคําพหูพจนของคํานามในภาษาอังกฤษ เราสามารถอธิบายไดวา ในสิ่งแวดลอม

ใดรูปใดจะปรากฏ กลาวคือ รูป /əz/ หรือ /Iz/ จะปรากฏหลังนามที่ลงทายดวยเสียงเสียดแทรก

/s/, /z/, / �/, / �/, /� /, / �/ รูป /s/ ปรากฏทายคํานามที่ลงทายดวยเสียงอโฆษะ [voiceless]

อ่ืนๆ สวนรูป /z/ ปรากฏทายคํานามที่ลงทายดวยเสียงโฆษะ [voiced] ที่เหลือ หนวยคํายอย

ประเภทนี้เปน หนวยคํายอยที่มีเงื่อนไขทางเสียง [phonologically conditioned allomorph]

7.5.2 หนวยศัพท [Lexeme] หนวยศัพท หมายถึง หนวยพื้นฐานดานศัพท หนวยศัพทซึ่งเปนชุดกับ

หนวยเสียง [phoneme] หนวยคํา [morpheme] หนวยศัพทเปนหนวยนามธรรมของคํา เชน cry,

cries, crying, cried นับเปน 4 คํา แตรวมเปน 1 หนวยศัพทเทานั้นคือ CRY คําวา tooth, teeth

เปน 2 คํา (เอกพจน และพหูพจน) ของหนวยศัพท TOOTH เราสามารถกลาวไดวา หนวยศัพท

CRY เปนคํากริยา และหนวยศัพท TOOTH เปนคํานาม ในภาษาไทย หนวยศัพทกับคํามีรูป

เหมือนกันเพราะภาษาไทยไมมีวิภัตติปจจัย แตเราอาจถือวา คําวา คะ กับ คะ นาจะเปนหนวย

ศัพทเดียวกัน

7.5.3 คําประสม หรือคําผสม [Compound word]

คําประสม หรือคําผสม คือคําที่ประกอบดวยหนวยคําอิสระ 2 หนวยคํา

ข้ึนไป เชน แมน้ํา พิมพดีด เปลี่ยนแปลง ตูเย็น, aircraft waterfall housewife เปนตน คําประสม

หรือคําผสมมีความหมายเฉพาะตัวที่ไมตรงกับความหมายของทั้ง 2 หนวยคํานัก แตมีเคาอยูบาง

เชน แม ใน แมน้ํา ไมไดหมายถึง "แม" แตหมายถึง "ใหญ", "สําคัญ" ซึ่งเปนลักษณะหนึ่งของคําวา

แม

Page 7: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

92

เกณฑในการดูคําประสม หรือคําผสม 1 เกณฑการแทนที่ [substitution] ถาเปนคําประสมแลว ไม

สามารถแยกโดยนําคําอื่นไปแทนที่ไมวาในตําแหนงใด เชน cold feet "กลัว” ถาเราทดลองใชเกณฑ

การแทนที่ โดยนําคําวา hot ไปแทน cold เปน hot feet ซึ่งแปลวา เทารอน ก็จะกลายเปนนามวลี

[noun phrase] แทน หรือ ประโยคทักทายในภาษาอังกฤษวา 'Good day' ก็ไมสามารถเปลี่ยนเปน

'Excellent day' หรือ 'Bad day' ที่ใชในการทักทายได

2 เกณฑการเพิ่มสวนขยายไมได คําประสมหรือคําผสม ไมเหมือน

นามวลีและไมเหมือนวลีชนิดอื่นๆ วลีอาจมีคําขยายเติมเขาไป และทําใหความหมายเกิดเปน

ความหมายของวลีนั้นบวกความหมายของคําสวนขยายที่มาเติม เชน green house → very green

house (ขอใหสังเกตการณลงเสียงเนนหนักในนามวลี เสียงเนนหนักที่สุดจะลงที่นามตัวหลัง เสียง

เนนหนักที่สองจะลงที่นามตัวแรก แตถาเปนคําประสม เสียงเนนหนักที่สุดจะลงที่นามตัวแรก เสียง

เนนหนักที่สามจะลงที่นามตัวหลัง เชน greenhouse "เรือนกระจก")

คําประสมหรือคําผสมเปนจํานวนมากที่มีคําสวนขยายมาเติม

ไมไดถาเติมไดก็จะทําใหความหมายเปลี่ยนไป เชน "red handed' (แปลวาทําความผิดแลวถูกจับ

ไดอยางคาหนังคาเขา) → *very red handed ไมได 3 เกณฑทางความหมาย คําประสมหรือคําผสมเปนคําคําเดียวที่มี

ความหมายจําเพาะพิเศษ ในภาษาอังกฤษ เชน คําวา sister-in-law (พี่/นองสะใภ), jack-in-the-

box (ตุกตามีสปริงที่อัดไวกลอง พอเปดฝาตุกตาจะเดงออกมา), half sister (พี่สาว หรือนองสาวที่

มีพอหรือแมคนเดียวกัน), passers-by (คนที่ผานไปมาหลายคน) (ที่มา : สุริยา รัตนกุล : 2544 :

175-179)

7.5.4 คําประสานหรือคําผสาน [Complex word]

คําประสาน หรือคําผสาน คือ คําที่ประกอบดวยหนวยคําอิสระกับหนวย

คําไมอิสระ ภาษาอังกฤษมีคําประเภทนี้มากและสรางคําโดยใชหนวยคําเติม [affix] ทําใหเกิดคํา

ประสาน หรือคําผสาน เชน beautiful [beauty + ful], happiness [happy + ness], incorrect [in

+ corret], education [educate + ation] เปนตน

7.6 การวิเคราะหหนวยคํา การวิเคราะหหนวยคํา คือการระบุวาในขอมูลภาษาตางๆ ที่วิเคราะหมีหนวยคํา

อะไรบาง หรือหมายถึงการแยกขอมูลคําเปนหนวยคํานั่นเอง ในการวิเคราะหหนวยคําตองยึดหลัก

ดังนี้

Page 8: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

93

1. ความหมายเหมือนและรูปเหมือน คํา หรือสวนของคํา ที่มีความหมายเหมือนกัน และมีรูปเหมือนกันทุกที่

ที่ปรากฏ ใหถือวารูปเหลานั้นเปนหนวยคําเดียวกัน คือเปน 1 หนวยคําหรือหนวยคํายอยของ

หนวยคําเดียวตัวอยางเชน -ess ซึ่งปรากฏทายคําวา hostess, actress, waitress etc. ถือเปน 1

หนวยคํา เพราะมีความหมายเหมือนกันคือบอก "เพศ" โปรดสังเกต ที่กลาววา "มีรูปเหมือนกัน"

หมายถึง "ออกเสียงเหมือนกัน" (ไมใช สะกดเหมือนกัน) 2. ความหมายเหมือนและรูปคลายกัน คํา หรือสวนของคํา ที่มีความหมายเหมือนกัน และมีรูปทางเสียงคลายกัน

คือแตกตางกันเล็กนอย และความแตกตางนั้นสามารถอธิบายไดตามระบบเสียง [phonologically

conditioned feature] ใหถือวารูปที่แตกตางกันเล็กนอยนั้นเปนหนวยคําเดียวกัน คือเปน 1

หนวยคํา อีกนัยหนึ่ง ถาเราสามารถอธิบายเงื่อนไขทางเสียงของการปรากฏของรูปตางๆ ที่มี

ความหมายเหมือนกันไดใหถือวารูปเหลานั้นเปนหนวยคํายอย [allomorph] ของหนวยคํา

[morpheme] เดียวกัน ตัวอยางเชน ในคําภาษาอังกฤษตอไปนี้

im- (/im-/) ในคํา immortal, impossible, impolite

in- (/-in/) ในคํา intolerant, intangible, indecent

ir- (/ir-/) ในคํา irrelevant, irregular, irreplaceable

il- (/il-/) ในคํา illegal, illiterate, illogical

รูปที่ปรากฏ /im-, in-, ir-, il-/ เปนรูปทางเสียงที่มีความแตกตางกัน

เล็กนอย แตมีความหมายที่เหมือนกัน ซึ่งแปลวา "ไม” เราสามารถอธิบายความแตกตางตามระบบ

เสียงไดดังนี้

- รูป /im-/ เกิดหนาเสียงริมฝปาก [occurs before bilabial sounds]

- รูป /in-/ เกิดหนาเสียงปุมเหงือก [occurs before alveolar sounds]

- รูป /ir-/ เกิดหนาเสียงลิ้นสะบัด [occurs before flap sounds]

- รูป /il-/ เกิดหนาเสียงขางลิ้น [occurs before lateral sounds]

รูปทั้งสามนี้ เกิดสับหลีกกัน [complentary distribution] และถือวาเปนหนวยคํา

ยอย [allomorphs] ของหนวยคํา [morpheme] เดียวกัน

อนึ่ง การที่เรากลาววา การเกิดของหนวยคํายอยสามารถอธิบายไดตามระบบ

เสียงหมายความวา เราสามารถระบุการปรากฏของรูปเหลานั้นดวยกระบวนการทางเสียงนั่นเอง

Page 9: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

94

หนวยคํายอยประเภทนี้เรียกวา หนวยคํายอยที่มีเงื่อนไขทางเสียง [phonologically condition morpheme] 3. ความหมายเหมือนแตรูปตาง คํา หรือสวนของคําใดที่มีความหมายเหมือนกัน แตมีรูปทางเสียงที่

ตางกัน และการปรากฏของรูปที่แตกตางเหลานี้ ไมสามารถอธิบายไดตามระบบเสียง แตสามารถ

ใชลักษณะบังคับทางคํา [morphologically conditioned feature] มาเปนเกณฑพิสูจนได ใหถือวา

รูปเหลานั้นเปนหนวยคํายอย [allomorph] ของหนวยคํา [morpheme] เดียวกัน ตัวอยางในคํา

ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนจากคํานามเอกพจน เปนพหูพจน เชน

ox → oxen

child → children

4. ความหมายคลายและรูปเหมือน หมายความวา รูปใดก็ตามที่ปรากฏซ้ําๆ และเหมือนกันทุกประการ หรือ

ที่เราเรียกวา "พองเสียง" จะถือเปนหนวยคําเดียวกันก็ตอเมื่อมีความหมายคลายกัน หรือใกลเคียง

กัน หรือ เกี่ยวของกัน เชน They run, Their run, The run in their stocking ควรถือเปน

หนวยคําเดียวกัน แตคําวา sun กับ son ไมใชหนวยคําเดียวกันทั้งๆที่มีรูปทางเสียงเหมือนกัน

เพราะความหมายตางกัน การใชหลักขอนี้ตัดสินวาอะไรเปนหนวยคําเดียวกันหรือไม มีปญหาเสมอ

ไมวาจะวิเคราะหภาษาใด เพราะเปนเรื่องยากที่จะตัดสินวาความหมายคลายกันหรือไม ถาคลาย

จะคลายกันพอที่จะถือวาเปนหนวยคําเดียวกันหรือไม เชน He picks the pen under his chair. กับ

He picks me up.เปนตน

ปญหาในการวิเคราะหหนวยคํา ถึงแมจะมีหลักในการวิเคราะหหนวยคําดังกลาวขางตน แตเราอาจ

ประสบปญหาดังนี้

1 ในคําบางคํา เราสามารถระบุบางสวนเปนหนวยคําไดโดยงาย เพราะ

ปรากฏรูปซ้ําๆกันและมีรูปเหมือนกัน เชน berry ในคํา cranberry, raspberry แตในสวนที่เหลือ

คือ cran, rasp ไมพบวาไปปรากฏที่อ่ืนเลย และเราไมทราบดวยวาหมายความวาอะไร จึงยากที่จะ

ตัดสินใจใหเปนหนวยคําตามหลักที่กลาวมาขางตน อยางไรก็ตามนักภาษาศาสตรบางคน เชน ยู

จีน เอ ไนดา [Eugene A. Nida 1946] ถือวาสวนที่เหลือคือ cran, rasp เปนหนวยคํา ถึงแมจะไมมี

ความหมาย

Page 10: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

95

2. สวนประกอบของคําที่ปรากฏซ้ําในคําจํานวนมาก ดูเหมือนเปนหนวยคํา เชน

นา ในคํา นาฬิกา นารี นายก นาวา และ -er ในคํา hammer, ladder, hadger, under, bitter, Roger

เมื่อเราแยกหนวยคํา นา กับ -er ออกมา ปญหาที่พบคือสวนที่เหลือไมมีความหมายรวมกันเลย

ดังนั้นเราไมควรแยก นา และ -er

3. เสียงที่ฟงดูมีความหมาย เชน /sl-/ ในคํา slide, slush, slip, slime, slopper,

slick อาจถูกแยกเปนหนวยคําสําหรับบางคน ถาเราทําเชนนั้นจะเกิดปญหาวา หนวยคํา /sl-/ มี

ความหมายวาอยางไร และสวนที่เหลือก็ไมมีความหมายเชนกัน วิธีที่ปลอดภัยคือ เราไมควรแยก

เปนหนวยคํา

4. ถาเรายอมรับความคิดวา ภาษามีหนวยคํา และคําทุกคําประกอบดวย

หนวยคําอยางนอย 1 หนวย เราอาจมีปญหาเมื่อหนวยคําไมปรากฏรูปในที่ที่ควรปรากฏ เชน ใน

ภาษาอังกฤษมีการแยกความแตกตางระหวางเอกพจนและพหูพจน หนวยคําแสดงพหูพจนไมมี

ปญหาเพราะเรามองเห็นรูปเชน girls, bats, boys แตคําวา girl, bat, boy ที่เปนเอกพจนไมมี

หนวยคําแสดงเอกพจน แตมีความหมายเปนเอกพจนอยูในคํา มีผูหาทางออกใหกับปญหานี้คือ ให

หนวยคําเอกพจน = ø คือเปนหนวยไรรูป ถึงจะดูไมสมเหตุสมผลนัก แตก็ทําใหการวิเคราะหเปน

ระบบขึ้น

5. ในบางกรณีเราพบหนวยคําที่ไมธรรมดา กลาวคือไมใชหนวยคําที่เติมเขากับ

หนวยคําอื่น แลวคงรูปใหเห็นชัดเจน ในภาษาอังกฤษ เชน ในคํา spoke, drew, saw เราดูจาก

ความหมายแลว จะตองใหคํานี้ประกอบดวย 2 หนวยคํา หนวยคําหนึ่งคือ หนวยคําแสดงอดีตกาล

เมื่อเทียบกับ speak, draw, see ซึ่งมีความหมายเปนปจจุบัน แตเราไมสามารถตัดแยกหนวยคํา

อดีตกาลออกจากคําทั้งสามได ทางออกของนักวิทยาหนวยคํา คือ สรางชนิดของหนวยคําแทนที่ข้ึน

เพื่อใชอธิบายการที่ speak กลายเปน spoke, draw กลายเปน drew และ see กลายเปน saw เมื่อ

เปนอดีตกาล เพราะ /i:/ → /əʊ/ , / ɔ:/→ /u:/, / i:/ →/ ɔ: / ตามลําดับ

Page 11: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

96

7.7 แบบฝกหัดวิเคราะหหนวยคํา 1. ตัวอยางจากภาษา Tuvaluan (Polynesian) (จาก Finegan 1994)

จงพิจารณาขอมูลทางภาษา และหาหนวยคําแสดงกริยาพหูพจน

กริยาเอกพจน กริยาพหูพจน ความหมาย #1 kai kakai 'eat'

#2 mafuli mafufuli 'turn around'

#3 fepaki fepapaki 'collide'

#4 apulu apupulu 'capsize'

#5 nofo nonofo 'stay'

#6 maasei maasesei 'bad'

#7 takato takakato 'lie down'

#8 valean valelea 'stupid'

2. ตัวอยางจากภาษา Michoacan Aztec (Mexico) (จาก กมลา นาคะศิริ 2541a)

จงวิเคราะหขอมูลภาษา #1 nimoita 'I see myself'

#2 nimichita 'I see you'

#3 nikita 'I see him'

#4 tinečta 'You see me'

#5 timoita 'You see yourself'

#6 tikita 'You see him'

#7 nimoaniltia 'I dirty myself'

#8 nimicaniltia 'I dirty you'

#9 nikaniltia ' I dirty him'

#10 tinečaniltia 'You dirty me'

Page 12: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

97

#11 timoaniltia 'You dirty yourself'

#12 tikaniltia 'You dirty him'

3. จงพิจารณาภาษา Tok Pisin (Finegan, 1999) manmeri ol wokabout long rot. People they stroll on road 'People are strolling on the road.' mi harim toktok bilong yupela I listen speech of you [plural] 'I listen to your [plural] speech.' mi harim toktok bilong yu I listen speech of you [singular] 'I listen to your [singular] speech.' em no brata em ol harim toktok bilong mi. he and brother he they listen speech of me 'He and his brother listen to my speech.' mi laikim dispela manmeri long rot. I like these people on road 'I like these people [who are] on the road.' dispela man no prend bilong mi ol laikim dispela this man and friend of me they like this toktok. speech 'This man and my friend like this speech.'

Page 13: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

98

จงแปลประโยคตอไปนี้ เปนภาษา Tok Pisin 1 These people like my speech. 2 I am strolling on the road. 3 I like my friend's speech. 4 I like my brother and these people. 5 These people on the road and my friend like his speech. 6 You and my brother like the speech of these people. 7 These people listen to my friend's and my brother's speech. 4. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคําแสดงพหูพจน

#1 nibeci 'I fall.' #5 nitlakwa 'I eat.' #2 tibeci 'You fall.' #6 titlakwa 'You eat.' #3 nikoči 'I sleep.' #7 ničuka 'I cry.' #4 tikoči 'You sleep.' #8 tičuka 'You cry.' 5. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคําแสดงพหูพจนและหนวยคําแสดงอนาคต

#1 patani 'He flies.' #7 koniah 'They drink it.' #2 pina'wa 'He's ashamed.' #8 weckas 'He will laugh.' #3 wecka 'He laughs' #9 patanish 'He will fly.' #4 patanih 'They fly.' #10 pina'was 'He will be ashamed.' #5 weckah 'They laugh.' #11 koniash 'They will drink it.' #6 konia 'He drinks it. #12 pina'wah 'They are ashamed.'

Page 14: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

99

6. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคําสรรพนามแสดงเอกพจนบุรุษที่ 1 และ2

#1 laulan 'I sing.' #3 youn 'I drink.' #2 laulat 'You sing.' #4 yout 'You drinh.' 7. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคํา 'house' และหนวยคํา 'stool'

#1 kincaq٨� 'my house' #4 kint٨nc' 'my stool' #2 mincaq٨� 'your house' #5 mint٨nc' 'your stool' #3 iscaq٨� 'his house' #6 ist٨nc' 'his stool' กําหนดให { tʌpaqaʔut} 'name' จงเขียนหนวยคํา my name, your name และ his name

ของภาษาสมมุตินี้

8. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาความหมายของหนวยคํา {ka-}, {-luʔ} {-du}

#1 ñee 'foot' #8 žigi 'chin' #2 kañee 'feet' #9 kažigi 'chins' #3 ñeebe 'his chin' #10 žigibe 'his chin' #4 kañeebe 'his feet' #11 žigilu� 'your chin' #5 ñeelu� 'your foot' #12 kažigitu 'your chins' #6 kañeetu 'your feet' #13 kažigidu 'our cins' #7 kañeedu 'our feet' กําหนดใหหนวยคํา 'ear' {diaga} จงสรางหนวยคําตอไปนี้ 'his ear', 'your ears', 'our ears'

9. ภาษาสมมุต ิ

Page 15: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

100

จากพิจารณาขอมูลทางภาษาตอไปนี้

#1 k٨ye 'tree' #3 k٨yezi 'trees'

#2 p٨k٨ye 'It is a tree.' #4 p٨k٨yezi 'They are trees.' กําหนดใหหนวยคํา {zike} 'shoulder' จงหาความหมายของ {p�zikezi} , และ

กําหนดใหหนวยคํา {bišoze} 'father' จงหาความหมายของ {bišozezi}

10. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคําแสดงหูพจน

#1 fikas 'friend' #6 lenziet 'boys' #2 fikaset 'friends' #7 wala 'girl' #3 kumid 'stone' #8 walaet 'girls' #4 kumidet 'stones' #9 dibi 'man' #5 lenzi 'boy' #10 dibiet 'men'

11. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคํา 'very' #1 bumato 'red' #6 bumimato 'very red' #2 balazi 'strong' #7 bamilazi 'very strong' #3 fusal 'nice' #8 fumisal ' very nice' #4 ganað 'good' #9 gaminað 'very good' #5 payatok 'brave' #10 pamiyatok 'very brave'

12. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคํา 'my' #1 tugawko 'my chair' #3 sidako 'my food' #2 bagasko 'my rice' #4 sadamko 'my banana' กําหนดใหหนวยคํา {gözűn} 'eye' จงเขียนหนวยคํา 'my eye'

Page 16: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

101

13. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงพิจารณาหาหนวยคํา 'I', 'She', และ 'You'

#1 badam 'I sit.' #6 gagoz 'You climb.' #2 danam 'She speaks.' #7 badunlɔ 'I play.' #3 gatul 'You go.' #8 dajowa 'She smiles.' #4 batani 'I cook.' #9 gabana 'You drink.' #5 dale�im 'She wants.' 14. ภาษาสมมุต ิ

จากขอมูลทางภาษาตอไปนี้ จงหาความหมายของหนวยคํา {ma-}, {pu-} และ {la-}

#1 lalaga 'will sing' #6 lagato 'will be sung' #2 manao 'He writes.' #7 lapese 'will sweep' #3 punou 'She learns.' #8 mavavi 'He travels.' #4 naoto 'wrote' #9 puniwa 'She weaves.' #5 nouto 'learnt'

15. ภาษาสมมุต ิ

จงพิสูจน หนวยคํา {m-, n-, ŋ-} 'to be -ing'

#1 mba 'is overtaking' #7 ŋgun 'is climbing' #2 mpu 'is hiding' #8 nlǽ 'is going' #3 mphe 'is sitting' #9 nsun 'is sleeping' #4 mfɔ 'is breaking' #10 nlo 'is fighting' #5 ŋkɔ 'is writing' #11 ntз 'is speaking' #6 ŋwa 'is coming' #12 ndin 'is painting' 16. ภาษาสมมุต ิ

Page 17: 1276933222 morpheme

รูป คํา หนวยคํา และการวิเคราะหหนวยคํา

102

จงพิสูจน หนวยคํา {-na-} และ {-ma-} '-ing'

#1 pionatet 'firing' #5 �unmagok 'making' #2 temadeh 'eating' #6 epanakon 'borrowing' #3 kimabat 'joining' #7 bemadip 'stealing #4 tocinape� 'putting' 17. ภาษาสมมุต ิ

จงพิสูจน หนวยคํา {-kї-} และ {-nї-} 'can'

#1 takїsa 'can die' #5 sakїko 'can predict' #2 punїdi 'can play' #6 irnїla 'can accept' #3 zukїɒ 'can hide' #7 �ǽkїθε 'can read' #4 kõnїb 'can break' #8 wanїð 'can sing' 18. ภาษาสมมุต ิ

จากพิจารณาขอมูลทางภาษาตอไปนี้

#1 fikas 'friend' #4 fiθзkaset 'They are friends.' #2 fikaset 'friends' #5 nefiθзkas 'Is he a friend?' #3 fiθзkas 'He is a friend.' #6 nefiθзkaset 'Are they friends?' กําหนดใหหนวยคํา {žigit} 'lover'

จงหาความหมายของหนวยคํา {nežiθзgit}

จงหาหนวยคํา 'They are lovers.'