ตัวอย่าง Report1

8

Click here to load reader

description

 

Transcript of ตัวอย่าง Report1

Page 1: ตัวอย่าง Report1

ตัวอย่างของการจัดหน้าเอกสาร หัวข้อต่างๆ และการอ้างอิงในเนื้อหาของรายงานค่ะ

1. เอกสารจะเรียงหัวข้อ // จัดกั้นหลังให้สวยงาม 2. มีอ้างอิงในเนื้อหา เช่นได้จากหนังสือ วารสาร และเว็บไซต์ต่างๆ ต้องเขียนให้ถูกต้องตามหนังสือ

3. หากมีภาพประกอบ ต้องระบุ “ภาพที่ 1 ............ “ อยู่ด้านล่างของภาพ

4. หากมีตาราง ต้องระบุ “ตารางท่ี 1 ...........” อยู่ด้านบนของหัวตาราง

..............

2.2 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.2.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต ( Internet) มาจากค าว่า Interconnection Network หมายถึง เครือข่าย

คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบเช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และเสียงเป็นต้น (อินเทอร์เน็ตไทย, 2545) ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุด ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางตามความต้องการโดยไม่ก าหนดตายตัวและไม่จ าเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอ่ืนๆ หรือเลือกไปเส้นทางอ่ืนได้หลายๆเส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2549 : 5)

กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 321) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต หมายถึงระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพ่ืออ านวยความสะดวกในการใช้บริการสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกลการถ่ายโอนแฟ้ม อี-เมล์ และกลุ่มอภิปราย อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวางเพ่ือการเข้าถึงของแต่ละระบบ

ทักษิณา สวนานนท์ (2539 : 157) กล่าวถึง อินเทอร์เน็ตว่า เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ เพ่ืออ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลกผ่านโมเด็ม (Modem) คล้ายกับCompuServe ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้แต่จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่งจึงจะได้ผล

Page 2: ตัวอย่าง Report1

วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ (2539 : 60) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต หมายถึงเครือข่ายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายต่างๆ จ านวนมากที่เชื่อมโยงระบบสื่อสารแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เครือข่ายที่ เป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายซึ่งกระจายอยู่ ในประเทศต่างๆเกือบ ทั่วโลก ซึ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกได้อีกว่า The Net, Cyberspace

สิทธิชัย ประสานวงศ์ (2540 : 3) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต หมายถึงระบบเครือข่าย(Network) เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุกๆ ด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไปค้นคว้าหามาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย

วนิดา จันทรุจิรากร (2540 : 1) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยๆ จ านวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดย ไม่จ ากัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์และรูปแบบของข้อมูล ท าให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว สื่อสารกันได้ทั้งแบบText Mode และGraphic Mode รวมถึงมีภาพเคลื่อนไหวและเสียงด้วย

ส านักงานโครงการ พวส. กระทรวงศึกษาธิการ (2541 : 1) กล่าวว่าอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสาร ถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวหรือที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโ ป ร โ ตคอลที่ ใ ช้ บน เ ครื อ ข่ า ย อิน เทอร์ เ น็ ต มี ชื่ อ ว่ า ที ซี พี / ไ อ พี (TCP/IP : Transmission Control/Internet Protocol)

จากความหมายทั้งหมดที่กล่าวมาสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ตหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลายเครือข่ายทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งผู้ ใช้สามารถติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครื่องบริการหรือเซิร์ฟเวอร์ ท าให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลรูปแบบต่างๆ ถึงกันได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นการน าอินเทอร์เน็ต มาใช้ประโยชน์กับการศึกษาจะมีส่วนส าคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถน าข้อมูลการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว

2.2.2 ความส าคัญของอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก ก าลังให้ความส าคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) หรือไอที (IT) ซึ่งเป็นการน าเอาสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ วิธีการประมวล จัดเก็บรวบรวมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พ้ืนฐานด้าน การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิลใยแก้วน าแสงมาผนวกกันเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่

Page 3: ตัวอย่าง Report1

อินเทอร์เน็ตถือเป็นเครื่องมือส าคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที ซึ่งปัจจุบันเราจ าเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการท างานประจ าวัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นช่องทางหลักให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารหรือเหตุการณ์ที่ต้องการได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แม้กระทั่งความต้องการในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษา หรือปฏิบัติงานในชีวิตประจ าวันก็สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ส าคัญส าหรับคนในทุกสาขาอาชีพที่จะช่วยให้เรารับรู้ข่าวสารที่เกิดข้ึนในมุมอ่ืนๆ ของโลกได้อย่างรวดเร็วกว่าสื่ออ่ืน ท าให้เปิดโอกาส ในการสื่อสารถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รวมทั้งบริเวณและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลากหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือส าคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับบุคลากรและองค์กร (สุรศักดิ์ สงวนพงษ์, 2538 : 17-21)

ปัจจุบันการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ถูกพัฒนาขึ้นให้คนเราสื่อสารถึงกันง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดการสื่อสารถึงกันด้วยค าพูดผ่านทางโทรศัพท์ย่อมไม่เพียงพออีกต่อไป เราต้องการมากกว่านั้นเช่น ภาพ เสียง และข้อความอักษร รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ฯลฯ ซึ่งอินเทอร์เน็ตสามารถเข้ ามาตอบสนองได้ ในจุดนี้เมื่อเราเชื่อมต่อเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตเราสามารถติดต่อกับเพ่ือนของเราในสห รั ฐ อ เ ม ริ ก า ผ่ า น อิ เ ล็ ก ท รอนิ ก ส์ เ ม ล์ ข้ า ม ไ ป ค้ น ห า ข้ อมู ล ที่ ยุ โ ร ป แ ล้ ว คั ด ลอก ไฟล์ ไปที่ออสเตรเลียได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่มหาวิทยาลัย หรือที่ท างานของเราโดยใช้เวลาทั้งหมดภายในไม่กี่นาที ท าให้การติดต่อสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายก็ยังถูกกว่าวิธีอ่ืนเมื่อเทียบกับการติดต่อทางโทรศัพท์ การส่งโทรสาร และ การส่งข้อมูลผ่านโมเด็มโดยตรงกับปลายทางแล้วการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตจึงมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าหลายเท่า

2.2.3 ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ส าหรับความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตนั้น นฤชิต แววศรีผ่อน และรุ่งทิวา ศิรินารารัตน์ (2543 : 10) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตถือก าเนิดขึ้นในยุคสงครามเย็น (ปี ค.ศ.1969) โดยหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหน่วยงานที่ท าหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Agency) เค รื อข่ า ยคอม พิว เตอร์ นี้ มี ชื่ อ ว่ า อาร์ พา เน็ ต (ARPANET) เป็นเครือข่ายที่สร้างข้ึนเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร ปีพ.ศ.2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความส าเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงาน จากอาร์พา มาเป็นดาร์พา (Defense Communication Agency) ในปีพ.ศ.2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ซึ่งเครือข่ายด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่าย

Page 4: ตัวอย่าง Report1

ของกองทัพใช้ชื่อว่ามิลน็ต (MILNET : Military Network) และมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นครั้งแรก

ในปีพ.ศ. 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET ต่อมาในปีพ.ศ.2533 เครือข่ายอาร์พาเน็ต ไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ เครือข่ายอาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอ่ืนๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั่วโลก โดยเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet)

2.2.4 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ท าการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันและมหาวิทยาลัย จ านวน 6 แห่ ง ซึ่ ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่ ง เอเชีย ( AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกัน และเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ว่า “ไทยสาร” (Thaisarn) เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพ่ิมขึ้นอีกจ านวนมาก แต่ยังจ ากัดอยู่ในวงการศึกษาและวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปแบบธุรกิจ เพราะทางสถาบันนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ต่อมาในปี พ.ศ.2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก โดยจัดตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ที่เรียกผู้ให้บริการนั้นว่า ISP (Internet Service Provider) จึงท าให้อินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวดเร็วดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (เสาวคนธ์ อุ่นยนต์, 2542 : 262)

2.2.5 บริการของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สาเหตุที่ท าให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ก็คือ ความหลากหลายของบริการของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ซึ่งสามารถจ าแนกตามประเภท ของบริการได้ดังนี้ (สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542 : 226)

Page 5: ตัวอย่าง Report1

1) บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้รับ ส่งจดหมาย ผ่านเครือข่ายถึงกันได้ โดยผู้ส่งสามารถส่งข้อความจากเครือข่ายที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับได้ทั่วโลก

2) บริการสนทนาแบบออนไลน์ (Online Talk) เป็นบริการที่ผู้สนทนาสามารถ พูดคุยโต้ตอบกันผ่านจอภาพคอมพิวเตอร์ การสนทนาแบบออนไลน์นี้ผู้สนทนาอาจโต้ตอบกันด้วย การพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารหรือในปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยโต้ตอบกันด้วยวาจาเหมือนการใช้โทรศัพท์

3) บริการกลุ่มสนทนาทางเครือข่าย (Newsgroup) เป็นบริการเพื่อการแลกเปลี่ยน

ข่าวสารผู้ที่สนใจข่าวสารประเภทใดประเภทหนึ่ง จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพ่ือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ซึ่งกันและกัน สมาชิกในกลุ่มสามารถอภิปรายในประเด็นต่างๆที่สนใจได้ โดยส่งข้อความผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ 4) บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (File Transfer) ผู้ใช้เครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือต่างเครือข่ายกันก็ได้ มาไว้ในเครื่องของตนไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม 5) บริการสืบค้นข้อมูล เวิล์ด ไวด์ เว็บ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลอยู่จ านวนมากที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในคลังข้อมูลของระบบที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายทั่วโลก ข้อมูลข่าวสารที่น าเสนออาจอยู่ในรูปของข้อความธรรมดา ภาพ ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นเสียง

2.2.6 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

ในปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ าวันมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถ และบริการของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะประเทศไทยเองในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ได้พัฒนาทางด้านอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังให้ความส าคัญในเรื่องนี้มากขึ้นเป็นล าดับ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โรงเรียน หน่วยงาน หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างรู้จักและเห็นประโยชน์จากการน าระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกันทั่วโลก เนื่องจากระบบเครือข่ายมีข้อมูลให้สามารถศึกษาค้นคว้าและน าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้แก่ ด้านการศึกษา ธุรกิจและการพาณิชย์ และการบันเทิง เป็นต้น ในด้านการศึกษาอินเทอร์เน็ตถือเป็นแหล่งความรู้อันดับแรกที่สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะท าหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่ต้องการมาให้ถึงคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ท างานภายในเวลาไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ข้อมูลทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม

Page 6: ตัวอย่าง Report1

สังคมศาสตร์หรือการบันเทิงต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้นักเรียน นักศึกษาในมหาวิทยาลัยยังสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอ่ืนๆ เพ่ือค้นหาข้อมูลที่ก าลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น ยืน ภู่วรวรรณ (2539 : 29) ได้ยกตัวอย่างของการน าประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมาใช้กับ วงการศึกษา เช่น 1) โลกแห่งความเสมือนจริง (Virtual Reality) ภาพเคลื่อนไหวเชิง3 มิติที่ให้ผู้เรียนรู้สึกเสมือนเข้าไปจับต้องและสัมผัส จะสร้างรูปแบบการเรียนแบบสถานการณ์จ าลอง ผู้เรียนสามารถใช้เมาส์คลิกเพ่ือพลิกดูวัตถุเสมือนจริงดูรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของวัตถุเสมือนจริงนั้น การพัฒนาโลกแห่งความเสมือนจริงบนเครือข่าย World Wide Web เข้าสู่การศึกษาคงไม่ใช่เรื่อง เกินจริง 2) ห้องสมุดความจริงเสมือน (Virtual Library) ห้องสมุดความความจริงเสมือน ที่ต าราเสมือนเข้าไปในห้องสมุดนั้นๆ จริงๆ เป็นห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรวบรวมห้องสมุดและข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้เข้าไว้ด้วยกัน 3) การศึกษาทางไกล (Tele-Education) การประยุกต์ใช้เครือข่าย World Wide Web ในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาตามความประสงค์ การอภิปรายผ่านกระดานข่าว การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาผ่านเครือข่ายและอ่ืนๆ ท าให้เกิดรูปแบบการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตขึ้น ซึ่งเป็นการศึกษาทางไกลที่ไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์และเวลา 4) การศึกษาตามความประสงค์ (Education on Demand) การศึกษาตามความประสงค์นั้น มุ่งจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ใช้ในการเรียนการสอนเก็บรวบรวมให้ผู้เรียนเลือกเรียนในเนื้อหาวิชาที่ต้องการได้ การจัดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ เทป วีดีทัศน์ หรือวีดีโอเซิร์ฟเวอร์ (Video Server) แผ่นคอมแพ็กดิสค์ (CD-Rom Server) และบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน (CAI Server) โดยให้ผู้เรียนดูผ่านเครือข่ายWorld Wide Web เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้เรียนในการทบทวนบทเรียนนอกเวลาเรียนตามเวลาที่สะดวก วีดีโอเซิร์ฟเวอร์ที่จัดท าขึ้นนอกจากจะให้ผู้เรียนเลือกดูได้แล้วยังให้ผู้เรียนสามารถบันทึกเก็บไว้ใช้งานเป็นส่วนตัวด้วย 5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Books) การคลิกเปิดเอกสารในรูปของเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดียได้ ท าให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงได้อย่างสะดวกรวดเร็วพรั่งพร้อมด้วยข้อมูลมัลติมีเดียในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นสื่อกลาง ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนสะดวก ดังนั้นการรวบรวมแหล่งข้อมูลไว้ในโฮมเพจและการพัฒนาเอกสารในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการใช้เครือข่าย World Wide Web เพ่ือการศึกษา 6) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งจากเครือข่าย

Page 7: ตัวอย่าง Report1

World Wide Web ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและตอบสนองต่อกระบวนการศึกษาได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นการผนวกคุณสมบัติของการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลเข้ากับอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างเพ่ือการศึกษาค้นคว้าที่ไร้พรมแดน (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2541 : 41-43)

2.2.7 ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต

1) ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต จากบริการบนอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายหลายด้าน ทั้งการศึกษา ธุรกิจ ความบันเทิงและอ่ืนๆ ดังนี้ (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, กันยายน 2545) 1.1) สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิชาการต่างๆ หรือธุรกิจ อินเทอร์เน็ตก็เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและ ดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว มีแหล่งข้อมูลจ านวนมหาศาลที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก 1.2) การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่ก าลังมาแรงในปัจจุบัน

1.3) สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันก าลังได้รับ ความนิยมเป็นอย่างมาก คือ E-Commerce ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการธุรกิจผ่านเว็บ 1.4) ผู้ที่ใช้เป็นหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถเปิดใช้บริการและสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้ค าแนะน าต่างๆ สอบถามปัญหาให้แก่ลูกค่าได้แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือ โปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น 1.5) การพักผ่อนหย่อนใจ สนทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ 1.6) เป็นแหล่งรวมความบันเทิง ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกมออนไลน์ โต้ตอบกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 1.7) สามารถดาวน์โหลดเพลง หรือภาพยนตร์ตัวอย่างมาดูได้ 2) โทษของอินเทอร์เน็ต โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฎหมาย ขายบริการทางเพศ หรือที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งมีดังนี้

2.1) อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของท าให้การควบคุมท าได้ยาก 2.2) มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก

Page 8: ตัวอย่าง Report1

2.3) ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ท าให้การค้นหากระท าได้ไม่ดีเท่าที่ควร 2.4) เติบโตเร็วเกินไป ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริงต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวงกลั่นแกล้งจากเพ่ือนใหม่ 2.5) ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ 2.6) ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะสมกับเด็กๆ