�� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...

95
เขตอํานาจศาล

Transcript of �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...

Page 1: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

เขตอํานาจศาล

Page 2: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

หลักทั่วไป

Page 3: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๒

❖ สภาพแห่งคําฟ้อง

❖ ชั้นของศาล (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม)

❖ อํานาจศาล

❖ เขตศาล

Page 4: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๔

❖ คดีมีข้อพิพาท มาตรา ๔ (๑)

❖ ศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนา

❖ ศาลที่มูลคดีเกิด

❖ คดีไม่มีข้อพิพาท มาตรา ๔ (๒)

❖ ศาลที่มูลคดีเกิด

❖ ศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลําเนา

Page 5: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ภูมิลําเนา

❖ บุคคลธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา ๓๗ ถึง ๔๗)

❖ นิติบุคคล (ป.พ.พ. มาตรา ๖๘ และ ๖๙)

Page 6: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มูลคดี

❖ เหตุที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่

❖ ศาลแปลความอย่างกว้าง

❖ ละเมิด

❖ สัญญา

Page 7: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2545

ตามบทบัญญัติมาตรา 4(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กําหนดให้การเสนอคําฟ้องสามารถกระทําได้ต่อศาลที่จําเลยมีภูมิ ลําเนาหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ที่ตําบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี ประกอบอาชีพค้าขายส่งไรให้แก่ลูกค้าทั่วไปจําเลยเป็นลูกค้าสั่งซื้อไรจากโจทก์ ตามคําฟ้องจึงพอฟังได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ซึ่งในคําให้การจําเลยอ้างเพียงประการเดียวว่าจําเลยมีภูมิ ลําเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น มิได้ให้การว่ามูลคดีมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ดังนั้น เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีอํานาจฟ้องที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้ ทั้งการฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องบรรยายมาในฟ้องว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด เป็นเรื่องที่ศาลสามารถพิจารณาได้จากสภาพแห่งข้อหาที่ปรากฏตามคําฟ้องได้ การที่ศาลจังหวัดชลบุรีรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

Page 8: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7788/2546

มูลคดี หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้โจทก์เกิดอํานาจฟ้อง แต่ตามคําฟ้องของธนาคารโจทก์ที่ว่า ในทางบัญชีหลังจากจําเลยได้ทําสัญญาและรับบัตรเครดิตไปจากโจทก์จําเลยใช้บัตรเครดิตชําระค่าสินค้าและบริการหลายครั้งหลายหน ประกอบกับสถานที่รับบัตรเครดิต คือ ธนาคารโจทก์สาขาหนองคาย ดังนั้น การอนุมัติและการออกบัตรเครดิตจึงเป็นเพียงขั้นตอนปฏิบัติระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาหนองคาย เมื่อจําเลยทําสัญญาและรับบัตรเครดิตจากโจทก์สาขาหนองคายอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จําเลยจะสามารถนําบัตรเครดิตไปชําระหนี้ค่าสินค้าและบริการจนเป็นเหตุพิพาทซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิและมูลหนี้ตามฟ้อง มูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตศาลชั้นต้นที่สํานักงานใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่

Page 9: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2556

โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคล โจทก์มีสิทธิเสนอคําฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์มีภูมิลําเนาที่อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่วนจําเลยมีภูมิลําเนาที่อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ในการติดต่อสั่งซื้อสินค้าระหว่างโจทก์กับจําเลยนั้น จําเลยจะส่งใบสั่งซื้อสินค้าทางโทร สารไปยังที่ทําการโจทก์ที่อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นโจทก์จะจัดส่งสินค้าให้จําเลย ณ ที่ทําการ บริษัทจําเลยที่อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เห็นว่า การที่จําเลยทําคําเสนอส่งให้แก่โจทก์ทางโทรสารเป็นเพียงการแสดงเจตนาต่อโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวสนองรับไปถึงจําเลย ณ ที่นั้นเวลานั้นแต่อย่างใด ทั้งจําเลยไม่ได้แสดงเจตนาโดยให้ถือว่าการดําเนินการจัดส่งสินค้าเป็นการสนองรับหรือปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจําเลยมีประเพณีปฏิบัติในการค้าต่อกัน โดยไม่จําต้องมีคําสนองรับที่จะก่อให้เกิดสัญญาจนทําให้เกิดมูลหนี้ ณ ภูมิลําเนาของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอํานาจศาลชั้นต้น(ศาลจังหวัดพัทยา) การที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคําสั่งซื้อไปให้จําเลย ณ ที่ทําการบริษัทจําเลยซึ่งตั้งอยู่ที่อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และจําเลยได้ยอมรับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับ จึงถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น โจทก์จึงต้องฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาและมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันในอันที่โจทก์จะเสนอคําฟ้องได้ทั้งสองศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจําเลยที่ศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาว่า การแสดงเจตนา ของจําเลยมีผลนับแต่เวลาที่โจทก์ได้ทราบการแสดงเจตนา สัญญาซื้อขายจึงเสร็จสมบูรณ์ ณ ที่ทําการโจทก์นั้นเป็นเรื่องผลของการแสดงเจตนา เมื่อไม่มีการสนองรับในขณะนั้น จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันกับที่มีคําเสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356

Page 10: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2556

คําว่า มูลคดี ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 4 นั้น หมายถึง มูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้เกิดอํานาจฟ้องแก่โจทก์ คดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกค่าสินค้าฝากขายที่จําเลยทั้งสองค้างชําระอันเนื่องจากโจทก์ตั้งให้จําเลยทั้งสองเป็นตัวแทนจําหน่ายสินค้าที่โจทก์ผลิตในจังหวัดพัทลุง โดยพนักงานของ โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับจําเลยทั้งสองที่จังหวัดพัทลุง แม้มิได้ทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ แต่จําเลยทั้งสองก็ได้แสดงเจตนาสนองรับเป็นตัวแทนที่จังหวัดพัทลุงนั้นเอง ดังนั้น สัญญาที่เป็นมูลเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงเกิดขึ้นที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดพัทลุง ส่วนที่ตั้งของสํานักงานโจทก์เป็นเพียงสถานที่ที่พนักงานโจทก์ทํางานอยู่ในเวลาที่จําเลยทั้งสองโทรศัพท์มาติดต่อเพื่อให้ส่งสินค้า เท่านั้น ซึ่งสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อส่งสินค้าไม่ใช่ติดต่อทําสัญญา ย่อมไม่ใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิด

การรับสภาพหนี้โดยการทําเป็นหนังสือเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่ลูกหนี้กระทําได้เองโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจําเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ที่จังหวัดพัทลุง หนังสือรับสภาพหนี้ก็มีผลโดยสมบรูณ์ทันที ศาลแขวงดุสิตจึงไม่ใช่ศาลที่มีเขตอํานาจ ศาลแขวงดุสิตจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องเพื่อให้โจทก์นําคดีไปฟ้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจต่อไป

การที่โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งและศาลแพ่งมีคําสั่งรับฟ้องไว้แล้ว ต่อมาศาลแพ่งมีคําสั่งให้โอนคดีมายังศาลแขวงดุสิตตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ และศาลแขวงดุสิตรับคดีไว้พิจารณา ไม่ถือว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจรับคดีที่ไม่ได้อยู่ในเขตอํานาจไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสาม เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่ง ส่วนที่ศาลแขวง ดุสิตรับคดีนี้ไว้พิจารณาก็เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ศาลแขวงดุสิตใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาเอง

Page 11: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5298/2551

ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิ ลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิ ลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คําว่า มูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้อง เมื่อโจทก์อนุมัติวงเงินสินเชื่อบุคคลให้แก่จําเลย ณ ที่ทําการของโจทก์ ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจ ของศาลแขวงปทุมวัน ต่อมาจําเลยผิดสัญญาไม่ชําระหนี้ให้แก่โจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเห็นได้ว่าเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้องจําเลยเกิดขึ้น ณ ที่ทําการของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่ อนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จําเลย อันอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวงปทุมวัน ดังนั้น โจทก์จึงมีอํานาจเสนอคําฟ้องคดีนี้ต่อศาลแขวงปทุมวันได้ ตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายดังกล่าว การที่โจทก์ใช้โทรศัพท์แจ้งเรื่องการอนุมัติสินเชื่อบุคคล ให้แก่จําเลยเป็นเพียงการอํานวยความสะดวกให้แก่จําเลยซึ่งเป็นลูกค้าเท่านั้น หาทําให้มูลคดีที่เกิดขึ้น ณ ที่ทําการของโจทก์เปลี่ยนแปลง

Page 12: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4472/2551

จําเลยเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์มีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร การตกลงรับ ก. ผู้ตายเป็นสมาชิกของจําเลยพิจารณาอนุมัติที่กรุงเทพมหานคร แต่เมื่อการสมัครสมาชิกของจําเลยและการขอเปิดบัญชีเงินฝากของ ก. กระทําโดยผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินท์ และต่อมาจําเลยได้ตกลงรับ ก. เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินทร์จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่ง การโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในการเป็นสมาชิกของจําเลย ถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาสุรินทร์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

Page 13: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 9430/2554

สัญญาจ้างระหว่างจําเลยกับห้างหุ้นส่วนจํากัด ว. ทําขึ้น ณ ที่ทําการของจําเลยซึ่งอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดพล แม้ห้างหุ้นส่วนจํากัด ว. ทําสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ โจทก์ก็เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจํากัด ว. ในอันที่จะบังคับชําระหนี้ตามมูลหนี้เดิมจากจําเลยแทนห้างหุ้นส่วนจํากัด ว. เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้น ณ ที่ทําการของจําเลย และจําเลยปฏิเสธไม่ชําระหนี้ตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ มูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้องจึงเกิดขึ้น ณ ที่ทําการของจําเลย ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดพล

Page 14: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาฎีกาที่ 362/2558

คําว่า มูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้อง ตามฟ้องระบุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจําเลยที่ 1 ทําที่โรงแรมเรดิสัน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 92 ถนน พระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจ ของศาลแพ่ง ต่อมาจําเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่า จําเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้คํ้าประกันไม่ชําระหนี้ให้แก่โจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เห็นได้ว่า เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้องจําเลยที่ 1 เกิดขึ้นในเขตอํานาจของศาลแพ่ง โจทก์จึงมีอํานาจเสนอคําฟ้องต่อศาลแพ่งได้

Page 15: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2559

แม้ตามคําฟ้องโจทก์จะระบุภูมิลําเนาของจําเลยอยู่ที่จังหวัดนครปฐม แต่โจทก์บรรยายคําฟ้องว่า โจทก์กับจําเลยทําสัญญาซื้อขายกันที่อําเภอหาดใหญ่ และโจทก์ได้แนบสําเนาหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งระบุว่ามีการทําสัญญาที่โรงแรมซากุระ แกรนด์วิว หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) การที่โจทก์เสนอคําฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

Page 16: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2550

โจทก์เสนอคําฟ้องโดยระบุว่าจําเลยที่ 3 มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าโจทก์มีสิทธิเสนอคําฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 5 แม้ต่อมาโจทก์จะขอแก้ไขคําฟ้องเกี่ยวกับภูมิลําเนาของจําเลยที่ 3 โดยภูมิลําเนาที่ขอแก้ไขใหม่ไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าขณะโจทก์เสนอคําฟ้องนั้นจําเลยที่ 3 มิได้มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้น จําเลยที่ 3 อาจเปลี่ยนภูมิลําเนาภายหลังที่โจทก์เสนอคําฟ้องแล้วก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นคดีก็ยังคงอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ เมื่อโจทก์มิได้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ปรากฏแน่ชัด จะอ้างว่าเป็นความบกพร่องของศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนคําสั่งรับฟ้องและไม่จําหน่ายคดีหาได้ไม่ นอกจากนี้ เมื่อจําเลยที่ 3 ยื่นคําให้การก็ได้ยกเรื่องเขตอํานาจศาลขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องเขตอํานาจศาลที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนําสืบ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 3 มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้นขณะโจทก์เสนอคําฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอํานาจพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องคํานึ่งว่าโจทก์เสนอคําฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยสุจริตหรือไม่ เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) และมาตรา 5 มิได้บัญญัติเปิดช่องให้ศาลที่รับคําฟ้องพิจารณาถึงความสุจริตของผู้เสนอคําฟ้อง หากเป็นกรณีที่โจทก์เสนอคําฟ้องผิดเขตอํานาจศาล การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกปัญหาเรื่องเขตอํานาจศาลขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องจึงหาเป็นการไม่ชอบไม่

Page 17: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 398 - 399/2555

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คําฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรหรือไม่ และคําว่า "มูลคดีเกิด" หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้อง คดีสํานวนแรกโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยทั้งสองชําระเงินคืนแก่โจทก์ด้วยเหตุลาภมิควรได้ โดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ การที่จําเลยทั้งสองเรียกเอาหลักประกันการปฏิบัติผิดสัญญาจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซึ่งเป็นผู้คํ้าประกันโจทก์และธนาคารจ่ายเงินให้จําเลยทั้งสองไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แล้วธนาคารใช้สิทธิไล่เบี้ยหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชําระหนี้ดังกล่าว ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายเช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้องเกิดขึ้น ณ ที่ทําการของธนาคาร ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจ่ายเงินให้จําเลยทั้งสองแล้วหักเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด มีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอํานาจเสนอคําฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่จําเลยทั้งสองอ้างในฎีกาว่า มูลคดีนี้เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นสถานที่ที่ทําสัญญาซื้อขายตู้สาขาโทรศัพท์นั้น เห็นว่า โจทก์มิได้ฟ้องจําเลยทั้งสองเป็นข้อพิพาทเรื่องผิดสัญญาซื้อขายโดยตรง สัญญาดังกล่าวเป็นแต่เพียงเหตุที่มาของการหักเงินชําระแก่จําเลยทั้งสองเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์มีอํานาจฟ้องจําเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฏีกาของจําเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

Page 18: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2554

จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. ณ สํานักงานตั้งอยู่ถนนสาธรใต้แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้น ณ สถานที่ที่จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิทําให้เกิดอํานาจฟ้อง ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท อ. จึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

Page 19: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5298/2551

ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คําว่า มูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้อง เมื่อโจทก์อนุมัติวงเงินสินเชื่อบุคคลให้แก่จําเลย ณ ที่ทําการของโจทก์ ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวงปทุมวัน ต่อมาจําเลยผิดสัญญาไม่ชําระหนี้ให้แก่โจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเห็นได้ว่าเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้โจทก์มีอํานาจฟ้องจําเลยเกิดขึ้น ณ ที่ทําการของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่อนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จําเลย อันอยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวงปทุมวัน ดังนั้น โจทก์จึงมีอํานาจเสนอคําฟ้องคดีนี้ต่อศาลแขวงปทุมวันได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การที่โจทก์ใช้โทรศัพท์แจ้งเรื่องการอนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จําเลยเป็นเพียงการอํานวยความสะดวกให้แก่จําเลยซึ่งเป็นลูกค้าเท่านั้น หาทําให้มูลคดีที่เกิดขึ้น ณ ที่ทําการของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่

Page 20: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2551

เห็นว่า เขตอํานาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคําฟ้องนั้นย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคําฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอํานาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยศาลที่จะรับคําฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กําหนดเขตศาลด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2 เมื่อโจทก์และจําเลยที่ 2 ทําสัญญาคํ้าประกันที่สํานักงานของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งมาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่" ดังนั้น คําฟ้องของโจทก์จึงอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไป คือ ศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ข้อตกลงที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่งนั้น จึงขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่อาจใช้บังคับได้

Page 21: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2551

จําเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าผ่านพนักงานของโจทก์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นภูมิลําเนาของจําเลยทั้งสอง จากนั้นพนักงานของโจทก์ส่งใบสั่งซื้อสินค้ามายังโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการในเขตศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อโจทก์มีคําสั่งอนุมัติก็จะจัดส่งสินค้าไปให้จําเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐม ดังนี้ เป็นการที่จําเลยทั้งสองทําคําเสนอต่อโจทก์ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า หากโจทก์ประสงค์ทําสัญญาซื้อขายกับจําเลยทั้งสองก็ต้องแสดงเจตนาบอกกล่าวสนองรับไปถึงจําเลยทั้งสอง อย่างไรตามการที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคําสั่งซื้อไปให้จําเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐมและจําเลยทั้งสองได้รับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับก็ถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลแห่งคดีได้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

Page 22: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มูลคดีเกิดขึ้นในเขตอํานาจของศาลชั้นต้นหรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคล โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเสนอคําฟ้องต่อศาลที่จําเลยทั้งสองมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) ตามคําฟ้องได้ความว่าจําเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าผ่านพนักงานของโจทก์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นภูมิลําเนาของจําเลยทั้งสอง จากนั้นพนักงานของโจทก์ส่งใบสั่งซื้อสินค้ามายังโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการในเขตศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อโจทก์มีคําสั่งอนุมัติก็จะจัดส่งสินค้าไปให้จําเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐม ดังนี้ เป็นการที่จําเลยทั้งสองทําคําเสนอต่อโจทก์ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า หากโจทก์ประสงค์ทําสัญญาซื้อขายกับจําเลยทั้งสอง ก็ต้องแสดงเจตนาโดยบอกกล่าวสนองรับไปถึงจําเลยทั้งสอง อย่างไรก็ตามการที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคําสั่งซื้อไปให้จําเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐมและจําเลยทั้งสองได้รับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับก็ถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลแห่งคดีได้เกิดขึ้น ที่โจทก์ฎีกาว่า มูลคดีเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่โจทก์อนุมัติและดําเนินการจัดส่งสินค้าแก่จําเลยทั้งสองโดยมิต้องบอกกล่าวสนองรับนั้น เห็นว่า ตามคําเสนอของจําเลยทั้งสอง จําเลยทั้งสองมิได้แสดงเจตนาให้ถือว่าการกระทําของโจทก์ดังกล่าวเป็นการสนองรับ ทั้งทางนําสืบของโจทก์และจําเลยทั้งสองก็ไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีประเพณีปฏิบัติเช่นนั้นที่จะทําให้ก่อเกิดสัญญาในอันจะทําให้เกิดมูลคดี ณ ภูมิลําเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์ฎีกาเรื่องคู่สัญญาอาจตกลงทําสัญญากันทางโทรศัพท์หรือเครื่องโทรสาร เห็นว่า คดีนี้เป็นเรื่องสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง มิใช่เรื่องสัญญาระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า ที่คู่สัญญาอาจเสนอและสนองรับกัน ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 และ 356 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกฟ้องมาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

Page 23: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2549

เมื่อคําขอ/สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมเป็นอํานาจของสํานักงานใหญ่ของโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสัญญา และเมื่อได้อนุมัติสัญญาแล้ว พร้อมกันนั้นสํานักงานใหญ่ของโจทก์ก็จะเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุที่อยู่ที่สํานักงานใหญ่ของโจทก์ หลังจากนั้นจําเลยก็จะสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมตามคําขอที่ยื่นไว้ได้ การอนุมัติและการเปิดสัญญาณโดยสํานักงานใหญ่ของโจทก์ในลักษณะนี้ จึงเป็นการกระทําอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคําเสนอของจําเลยตามคําขอที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานสาขา หรือตัวแทนของโจทก์ แม้ถึงจะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทําต่อจําเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทําสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์ กับจําเลยในลักษณะเช่นนี้ย่อมได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสํานักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคําเสนอโดยเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมที่สํานักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งมีผลทําให้จําเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์โดยไม่จําเป็นต้องมีคําบอกกล่าวสนองไปถึงจําเลย ผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสอง แต่ประการใดอีก ดังนั้น เมื่อสัญญาใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์จําเลยได้เกิดขึ้นที่สํานักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

Page 24: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550

ความรับผิดของจําเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูก ปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอํานาจของศาลชั้นต้นย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงเสนอคําฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้

Page 25: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944/2549

เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีไม่อยู่ในเขตอํานาจศาลของศาลชั้นต้นแล้วก็ย่อมที่จะ พิพากษายกฟ้องได้ไม่จําต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นเพราะไม่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องเขตอํานาจศาลนี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คําฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์สามารถเสนอคําฟ้องของโจทก์ต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตก็ได้ เมื่อพิจารณาใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเอกสารหมาย จ.2 ที่ระบุว่า สถานที่ส่งใบเรียกเก็บเงินคือที่ทํางานของจําเลยซึ่งตั้งอยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแสดงว่าจําเลยได้เลือกเอาที่ทํางานของจําเลยโดยมีเจตนาชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลําเนาเฉพาะการเพื่อการติดต่อกับโจทก์ในเรื่องสัญญาบัตรเครดิต จึงถือว่าที่ทํางานของจําเลยเป็นภูมิลําเนาเฉพาะการสําหรับการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 42 โจทก์จึงมีอํานาจยื่นคําฟ้องจําเลยต่อศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอํานาจยื่นคําฟ้องจําเลยต่อศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

Page 26: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2548

ห้างหุ้นส่วนจํากัด ท. ทําสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโดยทําสัญญาที่จังหวัดเชียงใหม่ และจําเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ตามมูลหนี้ค่าก่อสร้างเกี่ยวกับสัญญาจ้างดังกล่าว ถือว่ามูลหนี้ตามเช็คเกิดจากสัญญาจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้โจทก์เกิดอํานาจฟ้อง มูลหนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์มีอํานาจฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

Page 27: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2548

โจทก์ทําสัญญาซื้อขายเครื่องกําเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์กับจําเลย ที่บริษัทจําเลยซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครโดยมีข้อตกลงให้จําเลยนําเครื่องกําเนิดไฟฟ้าไปส่งมอบและติดตั้งให้แก่โจทก์ ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่า เครื่องกําเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตามคุณสมบัติที่ตกลงกัน โจทก์จึงจะชําระราคาที่เหลือให้แก่จําเลย เมื่อโจทก์อ้างว่าจําเลยนําเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อกําหนดในสัญญาไปส่งมอบและติดตั้งอันเป็นการผิดสัญญา ก็เท่ากับมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการ ส่งมอบและติดตั้ง จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องมีการส่งมอบและติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้า จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้

Page 28: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2546

คําว่า "มูลคดีเกิด" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาของคําฟ้อง โจทก์ฟ้องหย่าจําเลย ต้นเหตุของคําฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภริยากัน สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงมิใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด เมื่อโจทก์ จําเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จําเลยได้กระทําการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทําร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด

Page 29: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2543

จําเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนร่วมกันก่อสร้างบ้านพักรับรอง จําเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจําเลยที่ 1 ได้ทําข้อตกลงกับโจทก์ ณ ที่ทําการบริษัทโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดลําปาง ให้โจทก์ติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างจากบริษัท ล. ในนามของโจทก์เพื่อนําไปก่อสร้างบ้านพักรับรองแล้วจําเลยที่ 2 จะชําระเงินให้บริษัท ล. ในนามของโจทก์หากบริษัท ล. เรียกเก็บเงินค่าสินค้าและค่าเสียหายที่จําเลยที่ 2สั่งซื้อไปในนามโจทก์และโจทก์ชําระเงินให้แก่บริษัท ล. ไป จําเลยที่ 2 จะชดใช้คืน จึงได้มีการติดต่อเปิดเครดิตกับบริษัท ล. โดยทางโทรศัพท์และโทรสาร ซึ่งบริษัท ล. ตกลงด้วย แม้บริษัท ล. มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ข้อตกลงในการเจรจาติดต่อเปิดเครดิตในการซื้อสินค้าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีคู่สัญญาสามฝ่ายคือ ฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจําเลยทั้งสองโดยจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจําเลยที่ 1 และฝ่ายบริษัทล. โดยการทําข้อตกลงเพื่อเปิดเครดิตได้ติดต่อกันทางโทรศัพท์และโทรสารระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดลําปาง ดังนั้น มูลคดีในการก่อให้เกิดสัญญาสามฝ่ายเกี่ยวกับการทําข้อตกลงในการเปิดเครดิต จึงเกี่ยวเนื่องกันทั้งในเขตอํานาจทั้งศาลจังหวัดลําปาง และศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จึงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

Page 30: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2548

ผู้ร้องเคยถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คําฟ้องระบุว่าผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ 1 ตําบลเวียงกาหลง อําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาลงโทษผู้ร้องจําคุก 2 ปี ผู้ร้องถูกอายัดตัวมาดําเนินคดีที่จังหวัดนครปฐม ไม่ใช่ผู้ร้องสมัครใจมายึดถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสําคัญที่จังหวัดนครปฐม และผู้ร้องมิได้ประกอบอาชีพใดเป็นกิจลักษณะที่จังหวัดนครปฐมที่จะถือว่าเป็นแหล่งสําคัญของถิ่นที่อยู่ การที่ผู้ร้องถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดนครปฐมแต่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ก็ไม่ใช่กรณีถูกจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคําสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะถือว่าเรือนจําจังหวัดนครปฐมเป็นภูมิลําเนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ผู้ร้องจึงไม่มีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดนครปฐม

ผู้ร้องมีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องยื่นคําร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลจังหวัดนครปฐม อ้างว่าเป็นคนสัญชาติไทยเกิดที่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดําเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน แสดงว่ามูลคดีอาญาของผู้ร้องเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคําร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย ไม่ใช่ศาลจังหวัดนครปฐม

Page 31: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

กรณีเฉพาะ

Page 32: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๔ ทวิ

คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์

❖ ฟ้องที่บังคับเอากับอสังหาริมทรัพย์ เช่น เรียกที่ดินตามสัญญาซื้อขาย

❖ ฟ้องที่ต้องพิจารณาความเป็นอยู่ของอสังหาริมทรัพย์ เช่น จํานอง ขับไล่

❖ ฟ้องเกี่ยวกับทรัพยสิทธิตามบรรพ ๔ เช่น สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

Page 33: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ศาลที่มีเขตอํานาจ

❖ ศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่

❖ ศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนา

Page 34: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 14640/2556

การที่โจทก์ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยที่มิได้เข้าไปดูห้องชุดก่อน ย่อมเป็นการยอมรับเสี่ยงภัยกับสภาพของห้องชุดดังที่เป็นอยู่ในขณะที่ทําการซื้อขายนั้น ไม่ว่าจะมีสภาพอย่างไรโจทก์ก็จะซื้อตามสภาพที่เป็นอยู่นั้น เมื่อ การรั่วซึมของสระว่ายนํ้ามีมาก่อนที่โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด การที่จําเลยทั้งสองไม่ดูแลรักษาตามหน้าที่ย่อมเป็นการละเมิดต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดเดิม ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่มูลละเมิดมิใช่ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์จึงไม่อาจโอนไปยังโจทก์ผู้รับโอน ทั้งจําเลยที่ 1 ก็ซ่อมแซมให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้องให้จําเลยทั้งสองรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดดังกล่าว

Page 35: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2542

โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยและขอให้บังคับจํานองแก่ที่ดินของจําเลยด้วย คําฟ้องบังคับจํานองที่ดินเช่นนี้ย่อมเป็นคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากจะต้องมีการบังคับคดีแก่ตัวทรัพย์นั้น โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคําฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ใน เขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทว ิ

Page 36: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10342/2551

การฟ้องขอให้จําเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจํานอง ไถ่ถอนจํานองตาม ป.พ.พ. มาตรา 737 แม้เป็นคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 ทวิ โจทก์ผู้รับจํานองจะเลือกฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลหรือ ต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาก็ได้

Page 37: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2537

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จําเลยที่ 1 ทําสัญญาจะขายที่ดินในเขตลาดกระบัง มีนบุรี ให้โจทก์ โดยจําเลยที่ 1 รับค่าที่ดินบางส่วนไปแล้ว ต่อมาจําเลยที่ 1 ไม่สามารถนําที่ดินมาโอนขายให้โจทก์ได้จึงได้มีการเลิกสัญญาซื้อขายต่อกันโดยจําเลยที่ 1 ตกลงจะคืนเงินค่าที่ดินที่รับไว้ พร้อมทั้งชดใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจําเลยที่ 1 นํา น.ส.3 ก. และ น.ส.3 จํานวน 42 แปลง มอบให้โจทก์ไว้ เพื่อนําไปขายนําเงินมาชําระหนี้แก่โจทก์ ต่อมาจําเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันนํา น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ที่จําเลยที่ 1 มอบให้โจทก์ไว้ดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนขายให้จําเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ การที่จําเลยที่ 1 ได้มอบเอกสาร น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ให้โจทก์ยึดถือไว้ ไม่ได้มอบการครอบครองหรือมอบสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงมิใช่คําฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ หากแต่เป็นคําฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งต้องฟ้องต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาตามมาตรา 4(1) การที่จําเลยที่ 1 เพียงแต่มอบเอกสาร น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ให้แก่โจทก์ไว้ไม่ทําให้โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินตาม น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ทั้งตามคําฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากจําเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหรือร่วมกระทําการโดยทุจริต กับจําเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จําเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้อง

Page 38: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2537

คําฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจําเลยไปถอนคํา คัดค้านการขอโอนมรดกที่โจทก์ได้ยื่นคําร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินอําเภอเมืองปราจีนบุรีเท่านั้น มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดิน จึงไม่ใช่คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) เดิม หาได้ไม่

Page 39: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2534

โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจําตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืน กับเรียกค่าเสียหายเพราะจําเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว เป็นการฟ้องให้บังคับตัวจําเลยเป็นหนี้เหนือบุคคลไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่ได้ฟ้องขอให้บังคับเกี่ยวกับตัวทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจําเลยต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาได้

Page 40: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2532

คดีฟ้องให้ส่งมอบที่ดินตามสัญญาซื้อขาย เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ต้องยื่นคําฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

Page 41: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

กรณีตามมาตรา ๔ ตรี

❖ ฟ้องอื่นนอกจาก ม. ๔ ทวิ เช่น หนี้เหนือบุคคล คดีเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์

❖ จําเลยไม่มีภูมิลําเนาในราชอาณาจักร

❖ มูลคดีไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร

❖ โจทก์มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลําเนาในราชอาณาจักร

Page 42: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ศาลที่มีเขตอํานาจ

❖ ศาลแพ่ง

❖ ศาลที่โจทก์มีภูมิลําเนา

❖ ศาลที่จําเลยมีทรัพย์สินอยู่ในราชอาณาจักรไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร

Page 43: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

กรณีตามมาตรา ๓

❖ มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร เสนอคําฟ้องต่อศาลแพ่ง

❖ จําเลยไม่มีภูมิลําเนาในราชอาณาจักร

❖ ให้ถือเอาภูมิลําเนาภายใน ๒ ปีก่อนวันฟ้อง

❖ ให้ถือสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อ หรือถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือผู้ติดต่อในวันฟ้องหรือภายใน ๒ ปี ก่อนวันฟ้องเป็นภูมิลําเนา

Page 44: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2541

ป.วิ.พ. มาตรา ๓ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอํานาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอ คําฟ้องต่อศาลในกรณีที่จําเลยไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ หากจําเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทน หรือเพียงแต่จําเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคําฟ้องหรือภายในกําหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลําเนาของจําเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคําฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้

จําเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจําเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนําเรือให้ถึงท่าปลายทางและติดต่อนําเรือออกจากท่าปลายทาง ตลอดจนติดต่อทํา หน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจําเลยที่ 2 แม้จําเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจําเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจําเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฏตามคําฟ้องว่าจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจําเลยที่ 1 มีภูมิลําเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลําเนาของจําเลยที่ 2 เป็นภูมิลําเนาของจําเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอํานาจฟ้องจําเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นศาลที่ถือว่าจําเลยที่ 1 มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

Page 45: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําร้องขอกรณีเฉพาะ

Page 46: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

มาตรา ๔ จัตวา

❖ เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาในขณะตาย

❖ หากไม่มีภูมิลําเนาในราชอาณาจักร เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่

Page 47: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การขอตั้งผู้จัดการมรดก

❖ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๑๓

❖ มรดกมีพินัยกรรมหรือไม่มีพินัยกรรม

❖ ทรัพย์สินที่จัดการเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์

Page 48: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544

อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือ ที่ดินน.ส. 3 ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคําร้องขอ แต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 ผู้ร้องยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดมหา สารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 4 จัตวา และขอแต่งตั้ง ผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคําร้องเดียวกันได้

Page 49: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550

พระภิกษุ พ. มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัดหัวป่าและวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลําเนาของบุคคลนั้น จึงต้องถือว่าวัดหัวป่าเป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุเพิ่มแห่งหนึ่งด้วย ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง

Page 50: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ร้องขอเกี่ยวกับนิติบุคคล

มาตรา ๔ เบญจ

❖ เพิกถอนมติที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่

❖ ขอเลิกนิติบุคคล

❖ ตั้งหรือถอนผู้ชําระบัญชี

❖ เรื่องอื่น ๆ เช่น ขอให้กําจัดหุ้นส่วน ตาม ม. ๑๐๕๘

ให้เสนอต่อศาลที่สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่

Page 51: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

กรณีต้องจัดการทรัพย์สินในราชอาณาจักร

มาตรา ๔ ฉ

❖ มูลคดีไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร และ

❖ ผู้ร้องไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร แต่

❖ คําร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือ มีกรณีต้องให้จัดการหรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร

ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในเขตศาล

Page 52: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลหลายแห่ง

มาตรา ๕

❖ จําเลยร่วมมีภูมิลําเนาแตกต่างกันหลายแห่ง

❖ ทรัพย์สินตั้งอยู่ในเขตศาลหลายแห่ง

❖ มูลคดีเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตศาลหลายแห่ง

❖ หลายข้อหา

❖ มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน

เสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้

Page 53: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550

จําเลยที่ 1 มีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจําเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจําเลยที่ 2 ซึ่งมี ภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น (จังหวัดร้อยเอ็ด) ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5

Page 54: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2541

คําฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจํานองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขต อํานาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอํานาจศาลจังหวัดราชบุรี แล้วโจทก์ยังฟ้องขอ ให้บังคับจําเลยที่ 1 ชําระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จําเลยที่ 2 ชําระเงินตามสัญญาคํ้าประกันหนี้ของจําเลยที่ 1 กับให้จําเลยที่ 3 ชําระเงินตามสัญญาคํ้าประกันหนี้ของจําเลยที่ 1 กับสัญญาจํานองเพื่อประกันหนี้ของจําเลยที่ 1และที่ 3 โดยอ้างว่าจําเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทํากันที่สํานักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคําฟ้องส่วนที่ให้ บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาคํ้าประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรีแม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจํานองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคําฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจําเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 5

Page 55: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 11216/2558

ผู้ร้องยื่นคําร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกสามราย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “คําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย" แต่เจ้ามรดกทั้งสามรายมีภูมิลําเนาต่างท้องที่กัน ตามมาตรา 5 บัญญัติว่า "คําฟ้องหรือคําร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลําเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิด มูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นได้" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่จะพิจารณารวมกันได้ ผู้ร้องย่อมมีอํานาจ ที่จะยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายต่อศาลชั้นต้นเดียวกัน

Page 56: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2550

จําเลยที่ 1 มีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ฟ้องให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดอันเนื่องมาจากการเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงฟ้องจําเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และจําเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5

Page 57: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2540

จําเลยที่ 1 ได้ทําบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทําการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอํานาจของศาลแพ่ง จําเลยทั้งสามมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจของศาลแพ่งธนบุรี จําเลยที่ 2 จํานองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจําเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจําเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จําเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคําฟ้องของโจทก์ อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จําเลยทั้งสามร่วมกันชําระหนี้แก่โจทก์โดยจําเลยที่ 2 จํานองที่ดินเป็นประกันและจําเลยที่ 2 และที่ 3 ทําสัญญาคํ้าประกันหนี้ของจําเลยที่ 1 จึงเป็นคําฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคําฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จําต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอํานาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้

Page 58: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การเสนอคดีตามมาตรา ๗

❖ คําฟ้องหรือคําร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดต้องเสนอต่อศาลนั้น

❖ คําฟ้องหรือคําร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีต้องเสนอ ต่อศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี

❖ คําร้องขอให้สืบพยานไว้ก่อนตาม ม. ๑๐๑

❖ คําร้องขอให้ถอนหรือเปลี่ยนคําสั่งศาลให้เสนอต่อศาลที่มีคําสั่ง

Page 59: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําฟ้องหรือคําร้องขอที่เสนอภายหลัง

Page 60: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549

ป.พ.พ. มาตรา 1532 กําหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่า โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจําเลยแล้ว ได้ฟ้องขอให้แบ่งสินสมรส จําเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จําเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้น ประกอบ กับโจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจําเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จําเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาล ชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4 (1) และมาตรา 4 ทวิ

Page 61: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2551

สิทธิของผู้ร้องที่จะขอให้ศาลมีคําสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการ มรดกของผู้ตายเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากในธนาคาร เป็นคนละส่วนกับสิทธิในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในที่ดินที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรม การที่ผู้ร้องยื่นคําร้องขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในบัญชีเงินฝากดังกล่าว จึงเป็นการยื่นคําร้องขอใหม่เข้ามาในคดีเดิม มิใช่เป็นคําร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคําร้องขอเป็นคดีใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคําร้องขอในคดีเดิมจึงเป็นการมิชอบ

Page 62: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2559

แม้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ศาล หมวด 1 เขตอํานาจศาลได้บัญญัติเกี่ยวกับคําฟ้องหรือคําร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลว่าให้ฟ้องหรือร้องขอเข้ามาในคดีเดิมได้ตามมาตรา 7 (1) แต่คดีนี้เป็นคดีที่ผู้ร้องยื่นคําร้องขอว่า ช. และ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถ ขอให้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล มีผู้คัดค้านและผู้ร้องสอดต่างขอให้ตั้งตนเป็นผู้อนุบาลด้วย ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ ช. และ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งผู้ร้อง ผู้คัดค้านและ ผู้ร้องสอดเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน การที่ผู้ร้องมายื่นคําร้องขอให้บังคับ ศ. ซึ่งเป็น ผู้ดูแลและรักษาเงินรายได้ของ ซ. ให้ส่งมอบเงินให้ ซ. โดย ศ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ได้เป็นคู่ความในคดีและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นผู้อนุบาลแต่อย่างใดว่าไม่ยอมส่งมอบเงินรายได้ของคนไร้ความสามารถ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ชอบที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลจะไปฟ้องร้องดําเนินคดีกับ ศ. เป็นอีกคดีต่างหาก คําร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ใช่คําร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ผู้ร้องไม่อาจยื่นคําร้องขอในคดีนี้ได้

Page 63: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําฟ้องหรือคําร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี

Page 64: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10665/2550

การเสนอคําร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคํา พิพากษานั้น ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอํานาจ ในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอํานาจทําคําวินิจฉัย ชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งตามมาตรา 302 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีใน ชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคําสั่งว่าผู้ร้อง เป็นหนี้จําเลยที่ 1 และให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคําสั่งอายัดเงินของเจ้า พนักงานบังคับคดี จึงเป็นการเสนอคําร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคําพิพากษา ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะต้องขอให้ดําเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิม มิใช่เสนอคําร้องเป็นคดีใหม่

Page 65: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2549

ตามคําฟ้องโจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนคําสั่งของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ขายที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุดและเป็นราคาที่ไม่ตํ่ากว่าราคาประมูลครั้งก่อนซึ่งโจทก์เห็นว่าเป็นคําสั่งที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง เป็นสาระสําคัญ กับมีคําขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นคําขอต่อเนื่อง ฟ้องของโจทก์จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวในคดีของศาลแพ่งซึ่งออกหมายบังคับคดีส่งไปให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีบังคับคดีแทน และจําต้องมีคําวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดําเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 15 วรรคท้าย และมาตรา 302 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย เช่นกัน โจทก์จะต้องเสนอคําฟ้องต่อศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี คือศาลแพ่งหรืออาจยื่นต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีและบังคับคดีแทนเท่านั้น โจทก์จะนําคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรีที่จําเลยทั้งสามมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติมาตรา 4 อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 7

Page 66: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําร้องขอให้สืบพยานไว้ก่อน

Page 67: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

1. ถ้าได้เสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดแล้ว ให้เสนอต่อศาลนั้น

2. ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคลหรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

Page 68: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําร้องขอให้ถอนหรือเปลี่ยนคําสั่งศาลให้เสนอต่อศาลที่มีคําสั่ง

Page 69: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2549

โจทก์ฟ้องว่า จําเลยหลอกลวงโจทก์ให้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเพื่อให้จําเลยนําไปถอนฟ้อง แต่จําเลยกับ อ. กลับสมคบกันกรอกข้อความลงในแบ่งทนายความดังกล่าวเป็นว่า โจทก์แต่งตั้ง อ. เป็นทนายความมีอํานาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ แล้วจําเลยกับ อ. ตกลงทําสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 138 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบมีอํานาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ระเบียบนั้นเสียได้ โจทก์จึงชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้

Page 70: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2546

การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่ง ผู้คัดค้านจึงเป็นบุคคลภายนอกคดีมีอํานาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 (2) ผู้คัดค้านชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทเป็นคดีใหม่ และกรณีนี้มิใช่เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 (4) เพราะคําสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ไม่ใช่คําสั่งเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการแต่งตั้งตามความหมายของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 (4)

Page 71: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2538

ผู้ร้องยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนคําสั่งที่สั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถ ต่อศาลชั้นต้นเดียวกันกับที่มีคําสั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้คัดค้าน โดยแนบคําร้องและคําสั่งในคดีที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถมาพร้อมคําร้อง แม้ปรากฏว่ามีการลงเลขคดีดําใหม่ในคําร้องก็เป็นเพียงทางปฏิบัติในทางธุรการของศาล ถือได้ว่าผู้ร้องได้เสนอคําร้องต่อศาลในคดีที่ได้มีคําสั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(4) แล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องนําส่งสําเนาคําร้องให้ผู้คัดค้าน ต่อมาผู้ร้องนําพนักงานเดินหมายไปส่งหมายนัดไต่สวนและสําเนาคําร้องให้ผู้คัดค้านณภูมิลําเนาของผู้คัดค้านโดยผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกับ ผู้คัดค้านรับไว้แทนถือว่าผู้คัดค้านทราบเรื่องที่ผู้ร้องยื่นคําร้องแล้ว

Page 72: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การโอนคดี การรวมคดี และการแยกคดี

Page 73: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การขอโอนคดีตามมาตรา ๖

❖ ศาลมีเขตอํานาจเหนือคดีนั้นมากกว่าหนึ่งแห่ง

❖ จําเลยเท่านั้นมีสิทธิขอโอนคดี

❖ ยื่นคําร้องก่อนยื่นคําให้การ

❖ ต้องอ้างเหตุความไม่สะดวกหรืออาจไม่ได้รับความเป็นธรรม

❖ ศาลที่รับโอนต้องยินยอม หากไม่ยินยอมให้ประธานศาลอุทธรณ์ชี้ขาด

Page 74: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การขอโอนคดีไปศาลแพ่ง

มาตรา ๖/๑ คดีที่ยื่นฟ้องไว้ต่อศาลชั้นต้นซึ่งไม่ใช่ศาลแพ่ง ก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน หากศาลที่คดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาเห็นว่าผลของคดีดังกล่าวอาจกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบํารุง รักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หรือ ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่สําคัญ และการโอนคดีไปยังศาลแพ่งจะทําให้การพิจาร ณาพิพากษาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็ให้ศาลแจ้งคู่ความทราบและทําความเห็นเสนอประธานศาลอุทธรณ์เพื่อมีคําสั่งให้โอนคดีนั้นไปยังศาลแพ่งได้ คําสั่งของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

การโอนคดีตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนถึงกระบวนพิจารณาที่ได้ดําเนินการไปก่อนที่จะมีคําสั่งให้โอนคดี และให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาที่ได้ดําเนินการไปแล้วนั้นเป็นกระบวนพิจารณาของศาลแพ่งด้วย เว้นแต่ศาลแพ่งจะมีคําสั่งเป็น อย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

Page 75: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

เงื่อนไข

❖ ศาลชั้นต้นอื่นรับฟ้องไว้แล้ว (ศาลจังหวัดหรือศาลแขวง)

❖ ก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน(กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน)

❖ ศาลที่รับฟ้องไว้เห็นว่า

❖ ผลของคดีดังกล่าวอาจกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่สําคัญ

❖ การโอนคดีไปยังศาลแพ่งจะทําให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

❖ แจ้งคู่ความทราบและ

❖ ทําความเห็นเสนอประธานศาลอุทธรณ์เพื่อมีคําสั่งให้โอนคดีนั้นไปยังศาลแพ่งได้

Page 76: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การรวมคดี

❖ การรวมคดีตามมาตรา ๘

❖ การรวมคดีตามมาตรา ๒๘

❖ การรวมคดีตามมาตรา ๙

Page 77: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๘

❖ คดีมีประเด็นอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลต่างกัน

❖ คู่ความขอให้โอนคดีไปรวมการพิจารณาได้

❖ ศาลที่รับโอนต้องยินยอม

❖ หากไม่รับโอน คู่ความยื่นคําร้องต่อประธานศาลอุทธรณ์ให้มีคําสั่งโอนได้ คําสั่งเป็นที่สุด

Page 78: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๒๘

❖ คดีหลายเรื่องค้างพิจารณาในศาลชั้นต้นเดียวกันหรือต่างศาลกัน

❖ คู่ความทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นรายเดียวกัน

❖ คดีเหล่านั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันและสะดวกต่อการพิจาร ณา

❖ ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอก่อนมีคําพิพากษา

Page 79: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๒๘

❖ หากคดีเหล่านั้นอยู่ในศาลเดียวกัน เมื่อศาลเห็นสมควรก็สั่งได้เลย

❖ หากอยู่ต่างศาลกัน ศาลที่รับโอนต้องยินยอม ถ้าไม่ยินยอมให้ศาลที่จะโอนคดีส่งเรื่องให้ประธานศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คําสั่งเป็นที่สุด

Page 80: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

ข้อแตกต่างระหว่างมาตรา ๘ และ ๒๘

มาตรา ๘

❖ ถือประเด็นของคดีเป็นสําคัญ

❖ ศาลที่รับโอนไม่จําต้องมีเขตอํานาจเหนือคดีที่รับโอน

มาตรา ๒๘

❖ ถือคู่ความเป็นสําคัญ

❖ ศาลที่รับโอนต้องมีเขตอํานาจเหนือคดีที่รับโอน

Page 81: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555-1558/2553

โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จําเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่าง ๆ แยกเป็นรายสํานวน การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอํานาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสํานวน แม้ภายหลังศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณา คดีเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุทําให้จํานวนทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอํานาจของศาลแขวง หรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)

Page 82: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7000/2545

โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าโดยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชี กู้ยืมเงิน ซื้อลดเช็ค หรือด้วย ประการอื่นที่ทําได้ในการให้เงินหรือหลักประกันแก่ลูกค้า โดยรับประโยชน์ ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่น จําเลยทั้งสองเป็นลูกค้าโจทก์ย่อมสามารถทําธุรกิจกับโจทก์ได้ไม่จํากัดว่าต้องเป็นวิธีใดเพียงอย่างเดียว การที่จําเลยที่ 1 ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี กู้ยืมเงิน และขายลดเช็คแก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์ จําเลยที่ 2 คํ้าประกันการชําระหนี้และจดทะเบียนจํานองที่ดินเป็นประกันโดยมิได้แบ่งแยกว่า ประกันหนี้ประเภทไหนรายการใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้

Page 83: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๙

❖ คดีมีประเด็นอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกัน

❖ คดีหนึ่งมีการอุทธรณ์ อีกคดีหนึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น

❖ คู่ความอาจขอให้ศาลอุทธรณ์งดการพิจารณาคดีที่อยู่ในศาลอุทธรณ์ไว้ก่อน

❖ เมื่อคดีหลังมีการอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์รวมการพิจารณา

❖ หากไม่มีการอุทธรณ์ ให้เป็นไปตาม ม. ๑๔๖

Page 84: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

การแยกคดีมาตรา ๒๙

Page 85: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง

❖ คดีมีหลายข้อหา

❖ ข้อหาใดข้อหาหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาอื่น

❖ ศาลเห็นสมควร หรือคู่ความร้องขอให้แยกคดี

Page 86: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

มาตรา ๒๙ วรรคสอง

❖ คดีหลายข้อหา

❖ ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอว่าการแยกคดีจะเป็นการ สะดวก

❖ เมื่อศาลฟังทุกฝ่ายแล้ว สามารถสั่งแยกคดีได้

Page 87: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2543

คําฟ้องตามมาตรา 1(3) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล เมื่อพิจารณาประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 แสดงให้เห็นว่าในการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลในคําฟ้องฉบับหนึ่งนั้นอาจมีข้อหาหลายข้อด้วยกันได้ และให้อํานาจแก่ศาลมีคําสั่งแยกคดีได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าข้อหาหนึ่งข้อหาใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้อหาอื่น ๆ หรือแม้ว่าข้อหาเหล่านั้นเกี่ยวพันกัน แต่ศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะเป็นการสะดวกศาลก็มีอํานาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปได้เท่านั้น มิได้บังคับว่าถ้าศาลสั่งแยกข้อหาแล้วจะเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มไม่ได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสี่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าในคําฟ้องใดหรือฉบับเดียวกันในกรณีที่มีหลายข้อหาย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ ซึ่งต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคําขอบังคับของโจทก์ในคําฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไปว่าเกี่ยวข้องกันหรือแยกกัน

Page 88: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2520

ฟ้องจําเลย 16 คนว่าคัดค้านการที่โจทก์ขอ น.ส.3 สําหรับที่ดินเนื้อที่ 20 ไร่ของโจทก์ อ้างว่าเป็นของจําเลย ขอให้แสดงว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจําเลยโต้แย้ง จําเลยให้การว่าได้ครอบครองที่ดินมาเป็นส่วนสัดดังนี้ เป็นคดีมีข้อหาเดียว จะสั่งแยกคดีให้ฟ้องจําเลยแต่ละคนไม่ได้

Page 89: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2540

มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จําเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ ที่จําเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายมีราย ละเอียดแห่งข้อหา แต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวันต่างเวลากันทั้งข้อ เท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกันการนําสืบพยานหลักฐานต่าง ๆ ย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาลและการที่รถยนต์ที่จําเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายก็มิได้หมายความว่ารถยนต์ที่จําเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วย เป็นการแสดงชัดแจ้งว่าข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหาย มีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตาม โจทก์จะนํามารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่

Page 90: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541

ตามมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้ 2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับ ข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคําสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคําร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทําให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอํานาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคําร้องขอ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนําเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง มีจํานวนเงินที่ขอให้จําเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยกพิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้องพิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คําฟ้องมีสภาพแห่งข้อหาและคําขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความรายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อมสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคําฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้ พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28 โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจําเลยเป็นคดีเดียวกันได้แต่อย่างไรก็ตาม ตามคําฟ้องของโจทก์จํานวน 94 ข้อซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคํานวณจํานวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จําเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จําเลยคืนเงินรวมกันมาจํานวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่าโจทก์ เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคําฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน แม้โจทก์ สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดี แต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็น ประเภทออกจากกันแล้วจะทําให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมีอํานาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้

Page 91: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

กรณีที่ไม่อาจดําเนินคดีในศาลที่มีเขตอํานาจ

มาตรา ๑๐

❖ คู่ความไม่อาจดําเนินคดีในศาลที่มีเขตอํานาจภายในกําหนด เวลา เพราะเหตุสุดวิสัย

❖ คู่ความอาจยื่นคําร้องต่อศาลที่ตนมีภูมิลําเนาหรือศาลที่ตนอยู่ในเขต

❖ ศาลมีอํานาจสั่งตามที่เห็นสมควร

Page 92: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําสําคัญ

❖ เหตุสุดวิสัย

❖ ศาลที่ตนมีภูมิลําเนา

❖ ศาลที่ตนอยู่ในเขตอํานาจ

Page 93: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๙๕/๒๕๐๙

"เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทําให้ศาลไม่สามารถมีคําสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคําขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดําเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า "พฤติการณ์พิเศษที่ทําให้การดําเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทําได้ภายในกําหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จําต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคําสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้ในการดําเนินกระบวนพิจารณา ย่อม นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอํานาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ ระยะเวลา 14 วันที่กําหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกําหนดเวลาได้

Page 94: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๕๘/๒๕๓๙

ทนายโจทก์ได้ยื่นคําร้องขออนุญาตขยายเวลากําหนดยื่นฎีการวมสองครั้งแล้ว ต่อมาทนายโจทก์อ้างว่าต้องเดินทางไปจัดการปัญหาเรื่องที่ดินที่จังหวัดระนอง เมื่อเสร็จธุรกิจแล้ว เช้ามืดของวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกาทนายโจทก์ขับรถยนต์กลับกรุงเทพมหานคร แต่รถยนต์ออกจากจังหวัดระนองไปได้ประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ ก็เกิดอุบัติเหตุตกคูนํ้าข้างถนนต้องนํารถยนต์ไปซ่อมทนายโจทก์นั่งรถยนต์โดยสารเข้ากรุงเทพมหานครทําฎีกาใหม่ไปยื่นต่อศาลหลังจากพ้นกําหนดเวลาที่ขอขยายไว้ ดังนี้ ถึงแม้ว่ารถยนต์ส่วนตัวของทนายโจทก์จะเกิดเสียหายในวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นฎีกา แต่ทนายโจทก์มิได้ดําเนินการยื่นคําร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 เปิดโอกาสไว้หรือแจ้งต่อกรรมการโจทก์หรือผู้รับมอบอํานาจโจทก์เพื่อให้ตัวความไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นเอง ฉะนั้นเหตุการณ์ตามที่ทนายโจทก์กล่าวอ้างจึงถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่โจทก์ได้

Page 95: �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %)...Title �� ' 4 A H 2 Q @ 4 ( @ - 3 2 ( 2 %) Created Date 2/29/2020 1:58:27 AM

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๘๑/๒๕๕๐

ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ มาแล้ว 3 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 4 เดือน แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายของกําหนดเวลาดังกล่าว มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานที่เป็นทนายความ ข้ออ้างของทนายโจทก์ที่ว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียในระหว่างทางและการจราจรติดขัด ทําให้ไม่สามารถเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอํานาจเหนือคดีนั้นได้ และขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทําให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์อยู่ในขณะนั้นตามมาตรา 10 ได้