ใบความรู้ หน่วยที่3สมบูรณ์

12
1 ใบความรูหน่วยที3 เรื่องการใช้ นวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 20205 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท1-2 1. การกําหนดภาพให้พอดีกับหน้าจอ 1.1 การแสดงภาพแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ 1. ให้ดับเบิ้ลคลิกเม้าส์ที่เครื่องมือ Zoom ใน Tool box 2. หรือ คลิกที่เมนู View > Actual Pixels 3. หรือพิมพ์ค่า 100 ลงไปในช่องเปอร์เซ็นต์ที่แถบสถานะ (Status Bar )แล้วกด Enter 1.2 การใช้งาน Navigator Panel ผู้ใช้งานสามารถใช้พาเนล Navigator เพื่อเปลี่ยนการวิวหรือมองดูงานอาร์ตเวิร์กได้ตามต้องการ 1. กําหนดให้แสดงพาเนล Navigator ให้คลิกที่เมนู Window > Navigator 2. หรือคลิกปุ่ม... บนพาเนลก็ได้ 3. ปุ่มเมนูพาเนล เพื่อเลือกรายการเมนู 4. ส่วนแสดงภาพชิ้นงาน 5. หน้าต่างพรีวิวแสดงกรอบพื้นที่ที่แสดงภาพ สามารถใช้เม้าส์ลากไปยังตําแหน่งที่ต้องการ 6. ช่องแสดงเปอร์เซ็นต์ในการซูม 7. ปุ่มซูมภาพออกมา 8. สไลเดอร์ เพื่อซูมเข้าออก 9. คลิกเมื่อต้องการซูมเข้าไปในภาพ

Transcript of ใบความรู้ หน่วยที่3สมบูรณ์

1    

ใบความรู้

หน่วยที่ 3 เรื่องการใช้นวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์

วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก ง20205 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2

1. การกําหนดภาพให้พอดีกับหน้าจอ 1.1 การแสดงภาพแบบ 100 เปอร์เซ็นต์  

1. ให้ดับเบิ้ลคลิกเม้าส์ที่เครื่องมือ Zoom ใน Tool box

2. หรือ คลิกที่เมนู View > Actual Pixels

3. หรือพิมพ์ค่า 100 ลงไปในช่องเปอร์เซ็นต์ที่แถบสถานะ (Status Bar )แล้วกด Enter

1.2 การใช้งาน Navigator Panel ผู้ใช้งานสามารถใช้พาเนล Navigator

เพื่อเปลี่ยนการวิวหรือมองดูงานอาร์ตเวิร์กได้ตามต้องการ

1. กําหนดให้แสดงพาเนล Navigator ให้คลิกที่เมนู Window > Navigator

2. หรือคลิกปุ่ม... บนพาเนลก็ได ้

3. ปุ่มเมนูพาเนล เพื่อเลือกรายการเมน ู

4. ส่วนแสดงภาพชิ้นงาน

5. หน้าต่างพรีวิวแสดงกรอบพื้นที่ที่แสดงภาพ สามารถใช้เม้าส์ลากไปยังตําแหน่งที่ต้องการ

6. ช่องแสดงเปอร์เซ็นต์ในการซูม

7. ปุ่มซูมภาพออกมา

8. สไลเดอร์ เพื่อซูมเข้าออก

9. คลิกเมื่อต้องการซูมเข้าไปในภาพ

2    

1.3 การเพิ่มขอบเขตของภาพ (Canvas Size)

Canvas Size เป็นปรับขนาดพื้นที่ของขอบภาพให้กว้างขึ้น หนาขึ้น ทําได้โดยเลือกคําสั่ง

Image–>Canvas Size

1.การกําหนดขอบเขตใหม่ของภาพ

-สามารถปรับขอบเขตของภาพให้กว้างขึ้นได้โดย ใส่ตัวเลขบอกขนาดขอบเขตที่ต้องการ ในช่อง Width

-สามารถปรับขอบเขตของภาพให้สูงขึ้นได้โดย ใส่ตัวเลขบอกขนาดขอบเขตที่ต้องการ ในช่อง Height

3    

2.เลือกทิศทางของการปรับขอบเขตของภาพ (Anchor)

3.เลือกสีพื้นหลังสําหรับขอบเขตที่เพิ่มขึ้นมา

2.การใช้ไม้บรรทัด การเรียกใช้ไม้บรรทัด

ทําให้เราสามารถกําหนดตําแหน่งในการวาดหรือวางวัตถุต่างๆได้แม่นยําขึ้นและช่วย

ในการสร้างเส้นไกด์ได้อีกด้วย คุณสามารถแสดงไม้บรรทัดได้โดย

1.คลิกเลือกเมนู View–>Rulers

2.แถบไม้บรรทัดจะแสดงขึ้นมา

3.เปลี่ยนหน่วยวัดโดยการคลิกขวาที่ไม้บรรทัด แล้วเลือกหน่วยวัดจากเมน ู

4    

3.การใช้เส้นกริดและเส้นไกด์ 3.1 การใช้งานเส้นกริด(Grid)

เส้นกริด (Grid)

เป็นตารางสมมติที่ใช้กะระยะในการทํางานกับรูปภาพโดยมีลักษณะเป็นเส้นสีเทาที่มีระยะห่างของแต่ละช่อง

เท่าๆกัน ทําได้โดย เลือกเมน ูView > Show > Grid

3.2 การใช้งานเส้นไกด์(Guides)

5    

ไกด์ (Guides) เป็นเส้นสมมุติที่เราสร้างขึ้นเพื่อวางแนวของวัตถุให้ตรงกัน

โดยเราสามารถแสดงเส้นไกด์ได้โดย

1.แดรกเมาส์จากไม้บรรทัดมาวางในตําแหน่งที่ต้องการ

2.ปรับเปลี่ยนตําแหน่งของเส้นไกด์โดยใช้เครื่องมือ Selection Tool เพื่อเลื่อนตําแหน่ง

3.ในกรณีที่ต้องการล็อคเส้นไกด์ ให้คลิกเมนู View–>Lock Guides

4.หากต้องการเปลี่ยนสีเส้นไกด์เพือ่สะดวกในการใช้งานในกรณีสีพื้นเหมือนกันกับเส้นไกด ์

ทําได้โดยคลิกเมน ูEdit > Preferences > Guides&Grid

4.การย้ายพ้ืนที่ (Move Tool) 1. เปิดไฟล์รูปขึ้นมา 2 ไฟล์ โดยไปที่ File > Open

6    

2. กด Ctrl ค้าง และคลิกภาพที่ต้องการ 2 ภาพ จากนั้นคลิก Open

3. จะได้หน้าต่างรูปภาพที่ซ้อนกัน ให้แยกเป็นหน้าต่างอิสระ โดยคลิกขวากที่แถบชื่อรูปภาพ เลือก Move

to New Window

4. เลือกเครื่องมือ (Move tool) > คลิกค้างภาพที่ต้องการ > ลากมาพื้นที่ที่ต้องการ > ปล่อยเม้าส ์

5.การตัด สําเนา และวางภาพ

5.1 การตัดและวางภาพ

1. เปิดไฟล์ภาพขึ้นมา 2 ไฟล์ โดยไปที่ File > Open > เลือกภาพ > คลิกที่ Open

7    

2. เลือก (Marquee Tool) ที่ Tool Box > คลิกซ้ายค้างแล้วลากบนบริเวณที่ต้องการตัด

3. เลือก Edit > Cut เพื่อตัดภาพ

4. คลิกพื้นที่ที่ต้องการวางภาพ > เลือก Edit > Paste จะได้ภาพที่ตัดออกมา วางในพื้นที่ใหม ่

5.2 การสําเนาและวางภาพ

1. 1. เปิดไฟล์ภาพขึ้นมา 2 ไฟล์ โดยไปที่ File > Open > เลือกภาพ > คลิกที่ Open

8    

2. เลือก (Marquee Tool ) ที่ Tool Box > คลิกซ้ายค้างแล้วลากบนบริเวณที่ต้องการคัดลอก

3. เลือก Edit > Copy เพื่อคัดลอกภาพ

4. คลิกพื้นที่ที่ต้องการวางภาพ > เลือก Edit > Paste

5.ใช้เครื่องมือ Move Tool ในการเคลื่อนย้ายภาพที่คัดลอกแล้ว ไปในพื้นที่ที่ต้องการ

6. การเปลี่ยนแปลงภาพในลักษณะต่างๆ

6.1 การปรับเปลี่ยนพื้นที่เลือกด้วย Transform ในรูปแบบต่าง ๆ

สามารถปรับพื้นที่ที่เลือกในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยวิธีการ ดังนี้ คือ

1. คลิกเมนู Edit --> Transform --> … ปรากฏรูปแบบต่าง ๆ โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้

- Again กลับสู่รูปแบบเดิมก่อนหน้านี้ 1 ขั้น

- Scale ขยายแบบ Scale ตามแนวตั้งแนวนอน และแนวทแยง

- Rotale หมุนพื้นที่ที่เลือก

9    

- Skew บิดเกลียวพื้นที่เลือก

- Distort การบิดเบือนให้ภาพเพี้ยนจากความจริง

- Perspective ปรับรูปแบบของภาพ/ตัวอักษร แบบมีมิติ แบบมีความกว้าง มีความยาว และ

มีความลึก

- Rotate 180 องศา หมุน 180 องศา

- Rotate 90 องศา CW หมุน 90 องศา ตามเข็มนาฬิกา

- Rotate 180 องศา CCW หมุน 180 องศา ทวนเข็มนาฬิกา

- Flip Horizontal กลับจากซ้ายเป็นขวา จากขวาเป็นซ้าย

- Flip Vertical กลับจากบนเป็นล่าง จากล่างเป็นบน

2. เปิดรูปภาพบนหน้าจอภาพ

3. คลิกปุ่ม 1 เลือกรูปภาพเฉพาะส่วนที่ต้องการเลือกให้มีเส้นประ

4. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Scale จะปรากฏ Scale ปรับขยายตามแนวตั้งแนวนอน และ แนวทแยง

5. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Rotate หมุนพื้นที่เลือก

6. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Skew บิดเกลียวพื้นที่เลือก

7. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Distort การบิดเบือนพื้นที่เลือก ทําให้ผิดเพี้ยน จากความจริง

8. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Perspective ปรับรูปแบบของภาพ/ตัวอักษร แบบมีมิต ิแบบมีความกว้าง

มีความยาว และมีความลึก

          9. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Rotate 180 ํ หมุน 180 ํ

10. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Rotate 90 ํ CW หมุน 90 ํ ตามเข็มนาฬิกา

10    

11. คลิกเมนู Edit --> Transform --> Rotate 90 ํ CCW หมุน 90 ํ ทวนเข็มนาฬิกา

12. คลิกเมนู Edit --> Transform -->Flip Horizontal กลับจากซ้ายเป็นขวา เหมือนส่องกระจกเงา

13. คลิกเมนู Edit --> Transform -->Flip Vertical กลับจากบนเป็นล่าง จากล่างเป็นบน

     

7.การย่อ – ขยาย หมุนภาพและบิดภาพแบบต่างๆ

7.1 การย่อ-ขยายภาพด้วยคําสั่ง Free Transform มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดรูปภาพ chicken.jpg บนจอภาพ

2. คลิกเมนู Select --> All (Ctrl+A) จะปรากฏเส้นประวิ่งล้อมรอบภาพทั้งหมด

3. คลิกเมนู Edit --> Free Transform (Ctrl+T)

4. ปรากฏเส้นประวิ่งมีจุด Handle สี่เหลียมโปร่ง

5. เลื่อนเมาส์วางจุด Handle ด้านล่างขวา ให้มีลูกศร 2 หัว

6. คลิกค้างไว้ลากทแยงขึ้นด้านซ้าย จะย่อขนาดรูปภาพ

7. ปรับรูปภาพตําแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูป

คลิกเมาส์และลากหมุนปรับพื้นที่ที่เลือก

8. กดแป้น Enter เพื่อยกเลิกการใช้ Free Transform

11    

 

7.2 การปรับขนาดรูปภาพ (Image Size)

การปรับขนาดของภาพสามารถทําได้ทั้งให้ใหญ่ขึ้นและเล็กลง แต ่

มักไม่นิยมทํากันเพราะไม่ได้ทําให้คุณภาพของภาพสูงขึ้นแต่อย่างใด

ภาพที่ปรับให้ใหญ่ขึ้นความคมชัดจะลดลงไปมาก ตามกําลังขยายที่ปรับตั้ง

แต่สําหรับการปรับภาพให้เล็กลงนั้น ภาพจะสูญเสียรายละเอียดไปบ้าง

เนื่องจากภาพมีขนาดเล็กนั่นเอง และจะได้ไฟล์ที่มีขนาดเล็กลงไปด้วย

การปรับขนาดภาพใน Photoshop CS4 ทําได้โดย เลือกคําสั่ง Image–>Image Size

1 Pixel dimensions บอกขนาดของภาพเป็นพิกเซล และขนาดความกว้างและความสูงของภาพ

- สามารถปรับขนาดความสูง ได็โดยใส่ตัวเลขในช่อง Height

-และปรับความกว้างใหม่โดยใส่ตัวเลขในช่อง Width

12    

2 รูปแบบการย่อ-ขยาย

Constrain Proportions เมื่อถูกเลือกแล้ว ขนาดของภาพที่เปลี่ยนไปจะมีสัดส่วนเช่นเดียวกับภาพต้นฉบบั

Resample Image นั้น ถ้าไม่ถูกคลิ๊กเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ภาพต้นฉบับได้เลย