ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ

4

Click here to load reader

Transcript of ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ

Page 1: ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ

1

ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศล าดับแรกท่ีได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การท าให้เครื่องคอมพิวเตอร์ท างานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ - ลดจ านวนพนักงาน - องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว - ลูกค้ามีจ านวนเพิ่มมากขึ้น

ระบบสารสนเทศเพ่ือการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการค านวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศท่ีถูกต้องทันสมัย

- ระบบ MIS สนับสนุนการท างานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน - ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการท างานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร - ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ - ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงขององค์กร - ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจ ากัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ท าหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพ่ือผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จ าเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพ่ือช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอ่ืน ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพ่ือช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น

- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ - ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้ - ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์

Page 2: ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ

2

- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจ าลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ส าหรับช่วยเหลือผู้ท าการตัดสินใจ - ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยท่ีสุดหรือไม่ต้องพ่ึงเลย - ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ - ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว - ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้ - ระบบ DSS ต้องท างานโดยไม่ขึ้นกับระบบการท างานตามตารางเวลาขององค์กร - ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

ระบบสารสนเทศเพ่ือผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาส าหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพ่ือเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันท าให้ผู้บริหารไม่ต้องจ าค าสั่ง

- มีการใช้งานบ่อย - ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง - ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการท างานของผู้บริหาร - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน - ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย - การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการน าเสนอต่างๆ - ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด

1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน 2. การใช้งานไม่จ าเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ 3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ 4. ท าให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น 5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา 6. ท าให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น

1. มีข้อจ ากัดในการใช้งาน 2. อาจท าให้ผู้บริหารจ านวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป 3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ 4. ไม่สามารถท าการค านวณท่ีซับซ้อนได้ 5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้ 6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

Page 3: ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ

3

ระบบส านักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยท่ีสุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , FAX เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video - Conferencing) ส านักงานที่จัดว่าเป็นส านักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบส าคัญ คือ 1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร 2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน 3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ 4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ อาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขายและรายละเอียดอ่ืนที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ Electronic Funds Transfer (EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารโลก

ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ท าให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพ่ือให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะที่ท าให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิด

ที่มา : http://samai101.multiply.com/journal/item/9?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem

Page 4: ใบความรู้ที่ 2 ระบบสารสนเทศ

4

สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริงและเชื่อถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความส าคัญ หากไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นย าจะต้องเกิดจากการป้อนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการน าไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียน จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย หากหมายเลขโทรศัพท์ล้าสมัยก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศท่ีมีความครบถ้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนักเรียน ก็จะต้องมีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนให้ได้มากท่ีสุด เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ ชื่อผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์ โรคประจ าตัว คะแนนที่ได้รับในแต่ละวิชา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครูสามารถน าข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีข้อมูลของหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้เช่นเดียวกัน สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ กล่าวคือ การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง จึงจะสามารถสรุปสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียนก็ต้องถามครูว่าต้องการเก็บข้อมูลใดบ้าง เพ่ือให้ครูสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้จริง สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ทั้งนี้เพ่ือให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้

ที่มา : https://sites.google.com/site/kroonom/laksna-khxng-sarsnthes-thi-di